เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อปฏิบัติก่อนนอนที่ชาวพุทธควรทำทุกวัน  (อ่าน 9242 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
บทสวดมนต์ก่อนนอนโดยย่อ
   
... อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
   
... สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
   
... สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)



นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบ)

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

สมาทานศีล ๕

... ๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

... ๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

... ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

... ๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

... ๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ


สรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
   
... โย โส ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา โย  อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพรฺหมฺ(พัม-มะ)กัง สัสสะมะณะพรฺาหมฺ(พาม-มะ)ณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตฺ(กัด-ตะ)วา ปะเวเทสิ โย ธัมมัง เทเสสิ อาทิกัลฺ(กัน-ละ)ยาณัง มัชเฌกัลฺยาณัง ปะริโยสานะกัลฺยาณัง สาตถัง สะพะยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พรฺหมฺ(พัม-มะ)จะริยัง ปะกาเสสิ ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ ฯ.
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ ฯ.
   
... สวากฺขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฺฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี(ฮี)ติ ฯ.

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม ฯ.
   
... สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ  ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ  ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ.

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ ฯ.

นมัสการทศโพธิสัตว์
     
... นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา เมตเตยยะ เมตเตยโย นามะ ราโม จะ รามะสัมพุทโธ โกสะโล ธัมมะราชา จะ มาระ มาโร ธัมมะสามี ทีฆะชังฆี จะ นาระโท โสโณ รังสิมุนีตะถา สุภูเต เทวะเทโว โตเทยโย นะระสีหะโก ติสโส นามะ ธะนะปาโล ปาริเลยโย สุมังคะโล เอเตทะสะ พุทธานามะ ภะวิสสันติ อะนาคะเต เตสาหัง  สิระสา ปาเท วันทามิ ปะริสุตฺตะ เม วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเม เต ตะถาคะเต สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทาฯ.

ตักบาตร
   
... หลังจากสวดมนต์เสร็จแล้วให้ใส่บาตร โดยจะใช้เงิน ๑ บาท หรือข้าวเปลือกข้าวสาร ๑ ช้อนก็ได้ จบใส่หัวแล้วว่า ข้าพเจ้าขอถวายเงินค่าอาหารแก่พระสงฆ์ หรือ ข้าพเจ้าขอถวายข้าวนี้เป็นอาหารแก่พระสงฆ์ แล้วใส่ในกระปุกไว้ เมื่อได้เยอะแล้วก็เอาไปถวายพระ ทำอย่างนี้เช้าเย็นทุกวันห้ามขาด แล้วเงินทองจะไม่ขาดมือ ทำมาหากินเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆขึ้นไป ดังที่ท่านท่านพระสุธรรมยานเถร (พระมหาวีระ ถาวโร) วัดจันทาราม จ.อุทัยธานี สอนไว้ว่า   
     
... " เป็นเครื่องเตือนใจให้ทราบว่า การที่จะมีทรัพย์สินมากหรือน้อยก็ตามได้มาจากผลของการบริจาคทาน การให้ทานเป็นบ่อเกิดแห่งทรัพย์สินในชาติต่อไป ความจริงถ้าเป็นนักบุญที่เนื่องในการให้ทานจริงๆ ทำบุญให้ทานในเขตทานที่ให้ผลมาก ไม่ต้องทำคราวละมากๆ ทำน้อยๆ พอไม่เดือดร้อน แต่ให้ทำบ่อยๆ ให้ติดต่อกันเป็นประจำ เช่น “ การถวายสังฆทาน ” เป็นปกติ  สังฆทานก็ไม่ต้องลงทุนมาก ใส่บาตรวันละองค์สององค์ หรือเอาข้าวเปลือกข้าวสารใส่ที่เก็บเล็กๆ ไว้วันละนิดหน่อย ตั้งใจไว้ว่า “ ข้าวที่เก็บไว้นี้เราจะรวมไว้ เมื่อมีมากพอสมควรจะเอาไปถวายเป็นอาหารของพระ ” อย่างนี้เรียกว่าถวายสังฆทานทำอย่างนี้เสมอๆ ขอให้ค่อยๆ พิจารณาเมื่อวันเวลาผ่านไปสักปีหรือสองปี จะเห็นว่าผลของทานแม้เล็กน้อยเพียงเท่านี้ จะทำให้ความเป็นอยู่เพิ่มพูนขึ้นกว่าปกติมาก มีการหาได้คล่องตัวขึ้น ถ้าชาติหน้าจะรวยขั้นมหาเศรษฐี ฯ. "                                                                                     

ภาวนา
     
... เมื่อใส่บาตรแล้ว ให้นั่งขัดสมาธิหรือนั่งพับเพียบ เอาแค่สบาย พิจารณาร่างกายของเรา โดยนัยว่า “ ร่างกายนี้เป็นอนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ ทุกขัง ร่างกายนี้มีแต่ความทุกข์หาความสุขไม่ได้  อนัตตา ในที่สุดก็ต้องสลายตัว คือ ต้องตาย ถ้าเราตายเมื่อไหร่ขอไปพระนิพพานเมื่อนั้น ”  แล้วดูลมหายใจเข้าออก โดยหายใจเข้าภาวนาว่า “ พุท ”  หายใจออกภาวนาว่า “ โธ ” เมื่อนั่งพอใจสบายมีความสุขแล้ว ให้อุทิศส่วนกุศลต่อดังนี้

คำอุทิศส่วนกุศล
     
... อิทํ ปุญฺญผลํ ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำมาแล้ว ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน และจักบำเพ็ญต่อๆ ไป จนกว่าจะถึงพระนิพพาน ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่ปู่ย่าตายายทั้งหลาย พ่อแม่ทั้งหลาย ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ญาติสนิทมิตรสหาย ท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย ลูกหลานบริวารทั้งหลายของข้าพเจ้า ตั้งแต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงได้อนุโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงได้รับประโยชน์และความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้ด้วยเถิด
     
... และข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลทั้งหลายเหล่านี้ ให้แก่ท่านเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่เคยได้ล่วงเกินมาแล้ว ตั้งแต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอท่านเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงได้อนุโมทนาส่วนกุศลนี้ และขอจงได้ให้อโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้า นับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเถิด
     
... และข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่ท่านเทพเจ้าทั้งหลายที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และท่านเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ และท่านพระยายมราช ขอท่านเทพเจ้าทั้งหลายและท่านพระยายมราช จงได้อนุโมทนาส่วนกุศลนี้ และขอจงได้เป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้า ในกาลวันนี้ด้วยเถิด
     
... และข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลทั้งหลายเหล่านี้ ให้แก่ท่านทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เป็นญาติก็ดี ไม่ใช่ญาติก็ดี สัมภเวสี ภูตผี ปีศาจ เปรต  อสุรกาย และบรรดาท่านทั้งหลายที่รอตัดสินโทษอยู่  ณ สำนักพระยายมราช ขอท่านทั้งหลายจงได้อนุโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงได้รับประโยชน์และความสุขเช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด ถ้าหากท่านทั้งหลายยังไม่รู้จัก ขอท่านพระยายมราชและเทวดาทั้งหลาย จงบอกสัตว์เหล่านั้นให้อนุโมทนาส่วนกุศลนี้ด้วยเถิด
     
... อิทํ ปุญฺญผลํ ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำมาแล้ว ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน และจักบำเพ็ญต่อๆ ไป จนกว่าจะถึงพระนิพพาน ขอผลบุญทั้งหลายเหล่านี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าเข้าถึงพระนิพพานในชาตินี้ด้วยเถิด
     
... ตราบใดที่ข้าพเจ้ายังเป็นผู้มีบารมียังอ่อน ยังจักต้องเร่ร่อนไปในชาติภพใดใด ขอความขัดข้องต่างๆ ความอดอยากยากจน ความทุกข์ยากลำบากเข็ญใจ คำว่าไม่รู้ คำว่าไม่มี และคำว่าความปรารถนาไม่สมหวัง จงอย่าพึงบังเกิดมีแก่ข้าพเจ้าเลย นับตั้งแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเถิด


คำขอขมาพระรัตนตรัย

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, อุกาสะ ทะวาระตะเยนะกะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม  ภันเต, อุกาสะ ขะมามิ ภันเต ฯ. (ว่า ๓ จบ)
   
... ถ้าหากข้าพเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหมด แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ด้วยกายหรือวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี และด้วยมีเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี
       
... ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยะสงฆ์ทั้งหมด พระโพธิสัตว์ทุกๆ พระองค์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหมด ขอจงได้โปรดอดโทษให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ ฯ.

คาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์
     
... สาธุ ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมีพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ คุณพระปัจเจกโพธิ์ คุณพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย คุณครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ กันมา มีคุณครูผึ้ง คุณอาจารย์เนียร คุณหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค คุณหลวงปู่พระราชพรหมยาน วัดท่าซุงเป็นที่สุด พรหมและเทวดาทั้งหมด ขอจงได้มาโปรดลูกด้วยเถิด ฯ.

พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ  (ว่า ๑ จบ)
     
... วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม ฯ.

... ว่า ๕, ๗, ๙ จบ ให้สวดเช้าเย็น ไม่มีเวลาก็เดินสวด วิ่งสวด หรือทำงานสวดก็ได้ ผู้ที่สวดจะต้องรักษาศีลสองข้อห้ามลักขโมยและกินเหล้าเบียร์หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เด็ดขาด
   
... สาธุ ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย คุณครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ กันมา มีคุณครูผึ้ง คุณอาจารย์เนียร คุณหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค คุณหลวงปู่พระราชพรหมยาน วัดท่าซุงเป็นที่สุด พรหมและเทวดาทั้งหมด ขอจงได้มาโปรดลูกด้วยเถิด




ด้วยผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้บรรลุพระอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ
ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระพุทธมหามุนีธัมมสามีวิริยาธิกะสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอนาคต
เพื่อจะปลดเปลื้องสัตว์ทั้งหลายจากวัฏฏะสงสาร เข้าสู่แดนเอกันตบรมสุข คือ เมืองแก้วพระนิพพาน
                                                                                                                                                                                           
ดนัย  ศิริเวช
๒๘  ตุลาคม ๒๕๕๗































     




   
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 28, 2014, 10:03:11 PM โดย DHAMMASAMEE »

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
Re: ข้อปฏิบัติก่อนนอนที่ชาวพุทธควรทำทุกวัน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2014, 11:24:25 PM »
... ถ้าทำอย่างนี้ทุกๆ วัน เป็นการบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ ๓ เป็นนิจ คือ

... ๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน

... ๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล

... ๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา (คือ พระสมถกรรมฐานและพระวิปัสนากรรมฐาน)

... การทำอย่างนี้ทุกวัน เป็นการสั่งสมบารมีให้แก่กล้า ถ้าเป็นสาวกวิสัยสามารถไปพระนิพพานได้ในชาตินี้ ถ้ายังเกิดอีก ชาติหน้าก็จะไม่ลำบากและเป็นอุปนิสัยแก่อุฆฏิตัญญู ฟังเทศน์จบเดียวเป็นพระอรหันต์พร้อมปฏิสัมภิทาญาณ

... ถ้ามีนิสัยเป็นพระโพธิสัตว์ผู้ปรารถนาพุทธภูมิ ก็จะไม่อดอยากสามารถเลี้ยงประชาชนผู้คนได้สบายๆ ถ้าตรัสเป็นพระพุทธเจ้า ก็จะเป็นพระพุทธเจ้าที่มีลาภสักการะมากเป็นพิเศษ


ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
Re: ข้อปฏิบัติก่อนนอนที่ชาวพุทธควรทำทุกวัน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2014, 11:36:55 PM »
คำสมาทานพระกัมมัฏฐาน

นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบ)
     
... อิมาหัง  ภะคะวา  อัตตะภาวัง  ตุมหากัง  ปะริจัชชามิ ฯ.

... ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯ. 
   
... ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนาบารมีพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทุกๆ พระองค์ ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ กันมา มีหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค หลวงปู่พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง เป็นที่สุด ขอได้โปรดยกจิตของข้าพระพุทธเจ้าขึ้นสู่ภาวะพระกัมมัฏฐานทั้ง ๔๐ ทัศ พระปีติทั้ง๕ และวิปัสสนาญาณทั้ง๙ ขอพระกัมมัฏฐานทั้ง ๔๐ ทัศ พระปีติทั้ง ๕  และวิปัสสนาญาณทั้ง ๙  จงมาบังเกิดปรากฏ ในกายทวาร ในวจีทวาร ในมโนทวาร ของข้าพระพุทธเจ้า ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
     
... ขอได้โปรดยกจิตของข้าพระพุทธเจ้าขึ้นสู่ภาวะแห่งเมฆจิต สามารถกำหนดจิต รู้ภาวการณ์ต่างๆ ทั้งเหตุผล อดีต อนาคต และปัจจุบัน  ได้ทุกขณะจิตที่ปรารถนาจะรู้  เมื่อรู้แล้วขอให้เห็นภาพนั้นได้ชัดเจนแจ่มใส และพยากรณ์ได้  ตามความเป็นจริงทุกประการ  เหตุใดที่จะพึงบังเกิดแก่ข้าพระพุทธเจ้า ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าได้รู้เหตุนั้น โดยมิต้องกำหนดจิตแม้แต่ประการใด ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด ฯ.


การเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐานแบบหลวงปู่ปาน  โสนันโท  วัดบางนมโค
     
... ท่านที่สนใจการทำสมาธิในพระพุทธศาสนา ขอให้ท่านทำดังนี้อันดับแรกไหว้พระสวดมนต์ เอาแค่อิติปิโสสวากขาโตสุปฏิปันโนก็พอ  จากนั้นสมาทานพระกัมมัฏฐาน  เสร็จแล้วนั่งขัด สมาธิเอาขาขวาทับขาซ้ายมือขวาทับมือซ้าย  ตั้งตัวให้ตรงให้  แล้วนึกรักใคร่พอใจในการปฏิบัติกัมมัฏฐานว่า ด้วยการปฏิบัติกัมมัฏฐานนี้เราจะข้ามพ้นจากวัฏฏะสงสารเข้าถึงพระนิพพานเป็นแน่แท้ 

... เริ่มต้นให้พิจารณาขันธ์ ๕ ก่อน โดยพิจารณาว่า ขันธ์ ๕ นี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ท่านสอนให้รู้เรื่องของขันธ์ ๕ จนละเอียด แล้วสั่งให้พิจารณาไป ท่านบอกว่าการพิจารณาอย่างนี้ถ้าพิจารณาได้ตลอดไป โดยที่จิตไม่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ท่านให้พิจารณาเรื่อยไป ท่านบอกว่าพิจารณาได้ตลอดวันตลอดคืนยิ่งดี แต่ท่านไม่ได้บอกว่าเป็นวิปัสสนาญาณ เพียงแต่ท่านบอกว่าก่อนภาวนาควรพิจารณาขันธ์เสียก่อน และไม่ต้องรีบภาวนา ถ้าใครพิจารณาจนเห็นว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราเราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา อัตภาพตัวตนเป็นเพียงธาตุ ๔ ประชุมเป็นร่าง เป็นที่อาศัยชั่วคราวของจิต จนละความห่วงใยในขันธ์ ๕ เสียได้ โดยที่ไม่ได้ภาวนาเลยก็ยิ่งดี 

... ต่อเมื่อจิตจะส่าย พิจารณาไม่ได้ดี ท่านให้ภาวนาโดยตั้งอารมณ์ดังต่อไปนี้ กำหนดลมหายใจไว้สามฐาน คือ ที่จมูก อก และศูนย์เหนือสะดือ ลมจะกระทบสามฐานนี้ ให้กำหนดรู้ทั้งสามฐานเพื่อลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา พร้อมกันนั้นท่านก็ให้ภาวนาว่า พุท ภาวนาเมื่อสูดลมหายใจเข้า โธ ภาวนาเมื่อหายใจออก  แล้วท่านให้นึกถึงภาพพระพุทธรูปที่ผู้ปฏิบัติเคารพมากจะเป็นพระพุทธรูปวัดใด องค์ใดก็ได้ตามใจชอบ ท่านสอนดังนี้

... ผู้เขียนเรียนกับท่าน ไม่เคยรู้เลยว่าตอนแรกท่านให้เจริญวิปัสสนาญาณคิดว่าเป็นสมถะ ตอนที่ภาวนา คิดว่าเป็นพุทธานุสสติล้วน ต่อมาถึงได้ทราบว่า ท่านให้กรรมฐาน ๔อย่างร่วมกัน คือ ตอนพิจารณาขันธ์ ๕ เป็นวิปัสสนาญาณ ตอนกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอานาปานานุสสติกรรมฐาน ตอนภาวนา เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ตอนเพ่งรูปพระเป็นกสิณ ท่านมีความฉลาดสอนรวมคราวเดียว ๔ อย่าง กำลังพุทธานุสสติมีเพียงอุปจารฌาน อานาปานและกสิณมีกำลังถึงฌาน ๔ รู้สึกว่าท่านฉลาดสอน ท่านสอนเผื่อเหนียวไว้พร้อมมูล หากพบท่านที่มีอุปนิสัยสุกขวิปัสสโกเข้า ท่านเหล่านั้นก็พอใจในวิปัสสนาญาณ ท่านก็จะพากันได้มรรคผลไปตาม ๆ กัน ฯ. 
                                                                 

คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน โดยพระมหาวีระ ถาวโร วัดท่าซุง หน้า ๑๒๒

ออฟไลน์ Anglesodado

  • สมาชิก
  • *
  • กระทู้: 2
  • ญาติธรรม
    • ดูรายละเอียด
Re: ข้อปฏิบัติก่อนนอนที่ชาวพุทธควรทำทุกวัน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 15, 2015, 03:31:42 PM »
เป็นสิ่งที่วัยรุ่นยุคใหม่ควรนำมาศึกษามากครับ

ออฟไลน์ Inomooeiei

  • สมาชิก
  • *
  • กระทู้: 2
  • ญาติธรรม
    • ดูรายละเอียด
Re: ข้อปฏิบัติก่อนนอนที่ชาวพุทธควรทำทุกวัน
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2015, 10:53:53 AM »
การสวดมนต์ถือว่าเป้นการฝึกสมาธิอย่างนึง