เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - Wisdom

หน้า: 1 2 [3] 4 5
31
หมวดที่ ๑ พระพุทธสรีระ



"มหาบุรุษ ลักษณะ ๓๒ ประการ"

ผู้ที่มีมหาบุรุษลักษณะ เป็นคำที่ใช้เรียกพระพุทธเจ้าเมื่อก่อนตรัสรู้ ลักษณะของมหาบุรุษมี ๓๒ ประการ คือ

๑. มีพระบาทราบเสมอกัน (พระบาท = เท้า)
๒. ลายพื้นพระบาทเป็นจักร (จักร = รูปลอยล้อรถ คือธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุลล้อนำไป สู่ที่หมาย)
๓. มีส้นพระบาทยาย (ถ้าแบ่ง ๔ ส่วน พระชงฆ์ตั้งอยู่ในส่วนที่ ๓) (พระชงฆ์ = แข้ง)
๔. มีนิ้วยาวเรียว (หมายถึงนิ้วพระหัตถ์และพระบาทด้วย)(นิ้วพระหัตถ์ = นิ้วมือ)
๕. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม
๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย
๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ อัฐิข้อพระบาทตั้งลอยอยู่หลังพระบาท กลับกลอกได้คล่อง เมื่อทรงดำเนินผิดกว่าสามัญชน (อัฐิ = กระดูก ดำเนิน = เดิน)
๘. พระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย
๙. เมื่อยืนตรง พระหัตถ์ทั้งสองลูบจับพระชานุ (พระชานุ = เข่า)
๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก (พระคุยหะ = อวัยวะที่ลับ)
๑๑. มีฉวีวรรณดุจสีทอง (ฉวีวรรณ =สีผิวกาย)
๑๒. พระฉวีละเอียด (พระฉวี = ผิว)
๑๓. มีเส้นพระโลมาเฉพาะขุมละเส้น ๆ (พระโลมา = ขน)
๑๔. เส้นพระโลมาดำสนิทเวียนเป็นทักขิณาวัฏ มีปลายงอนขึ้นข้างบน (ทักขิณาวัฏ = วนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา)
๑๕. พระกายตั้งตรงดุจท้าวมหาพรหม
๑๖. มีพระมังสะอูมเต็มในที่ ๗ แห่ง (คือ หลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ และหลังพระบาททั้ง ๒ , พระอังสาทั้ง ๒, กับลำพระศอ) (พระมังสะ = เนื้อ , ชิ้นเนื้อ พระอังสา = บ่า,ไหล่ พระศอ = คอ)
๑๗. มีส่วนพระสรีระกายบริบูรณ์ (ล่ำพี) ดุจกึ่งท่อนหน้าแห่งพญาราชสีห์ (สรีระ = ร่างกาย)
๑๘. พระปฤษฎางค์ราบเต็มเสมอกัน (พระปฤษฎางค์ = ส่วนหลัง,ข้างหลัง)
๑๙. ส่วนพระกายเป็นปริมณฑล ดุลปริมณฑลแห่งต้นไทร(พระกายสูงเท่ากับว่าของพระองค์)(วา = เท่ากับ ๔ ศอก ประมาณ 2 เมตร)
๒๐. มีลำพระศอกกลมงามเสมอตลอด
๒๑. มีเส้นประสาทสำหรับรสพระกระยาหารอันดี
๒๒.มีพระหนุดุจคางแห่งราชสีห์ (โค้งเหมือนวงพระจันทร์)(พระหนุ = คาง)
๒๓.มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ (ข้างละ ๒๐ ซี่) (พระทนต์ = ฟัน)
๒๔.มีพระทนต์เรียบเสมอกัน
๒๕.พระทนต์เรียบสนิทมิได้ห่าง
๒๖.เขี้ยวพระทนต์ทั้ง 4 ขาวงามบริสุทธ์
๒๗.พระชิวหาอ่อนและยาว (อาจแผ่ปกพระนลาฏใต้)(พระชิวหา = ลิ้น พระนลาฎ = หน้าผาก)
๒๘.พระสุรเสียงดุจท้าวมหาพรหม ตรัสมีสำเนียงดุจนกการเวก
๒๙.พระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด
๓๐.ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด
๓๑.มีอุณาโลมระหว่างพระโขนง เวียนขวาเป็นทักขิณาวัฏ (อุณาโลม = ขนระหว่างคิ้ว)
๓๒.มีพระเศียรงามบริบูรณ์ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ (พระเศียร = ศีรษะ)

32


สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยมีพระรูปพระโฉมงดงาม ตามพระพุทธลักษณะครบถ้วนทุกประการ คือพระองค์มีพระ วรกายสูงได้ ๘๘ ศอก พระองค์ใหญ่กว้างได้ ๒๕ ศอก ตั้งแต่ ฝ่าพระบาทถึงพระชานุ (เข่า) มีประมาณ ๒๒ ศอก ตั้งแต่พระ ชานุขึ้นไปถึงพระนาภี (ท้อง) ประมาณ ๒๒ ศอก ตั้งแต่พระ นาภีขึ้นไปถึงพระรากขวัญ (ไหปลาร้า) ทั้ง ๒ ประมาณ ๒๒ ศอก ตั้งแต่พระรากขวัญขึ้นไปถึงพระเศียรเกล้าที่สุดยอดพระ

อุณหิตเปลวพระพุทธรัศมีนั้น ประมาณ ๒๒ ศอก เสมอกันทั้ง ๔ ส่วน พระรากขวัญทั้ง ๒ แต่ละอันนั้นยาวได้ ๕ ศอก อันว่าพระหัตถ์ทั้ง ๒ ซ้ายขวานั้น ยาวได้ ๔๐ ศอก ใน ระหว่างภายในแห่งพระพาหา (แขน) ทั้ง ๒ ซ้ายขวานั้นมีประมาณ ๒๕ ศอก พระอังคุลี (นิ้ว) แต่ละอันยาวได้ ๕ ศอก ฝ่าพระหัตถ์ แต่ละข้างกว้างได้ ๕ ศอก พระศอ (คอ) โดยกลมรอบมีประมาณ ๕ ศอก โดยยาวก็ ๕ ศอก

พระโอษฐ์ (ปาก) เบื้องบนเบื้องล่างกว้าง ๑๐ ศอก เสมอ กันเป็นอันดี พระชิวหา (ลิ้น) อยู่ภายในพระโอษฐ์ยาว ๑๐ ศอก พระนาสิก (จมูก) สูงยาวลงมาได้ ๗ ศอก ดวงพระเนตรทั้ง ๒ โดยกว้างได้ ๗ ศอก แววพระเนตรทั้ง ๒ ข้าง ที่ดำกลมเป็น ปริมณฑลอยู่นั้นมีประมาณ ๕ ศอก พระขนง (คิ้ว) แต่ละข้าง ยาวได้ ๕ ศอก ในระหว่างพระขนงทั้ง ๒ กว้างได้ ๔ ศอก พระ กรรณ (หู) ทั้ง ๒ แต่ละข้างยาวได้ ๗ ศอก ดวงพระพักตร์นั้น เป็นปริมณฑลกลมดังดวงพระจันทร์เมื่อวันเพ็ญมีประมาณ กลมได้ ๒๕ ศอก.

พระเจ้าสังขจักร



การบำเพ็ญบารมีของพระองค์ครั้งหนึ่งปรากฏชัดเจนเป็น ปรมัตถบารมี อันยิ่งยอดกว่าพระบารมีทั้งปวง ฉะนั้น สมเด็จองค์ปัจจุบันจึงนำมาซึ่งอดีตนิทาน แห่งการสร้างพระบารมีของพระศรีอาริยเมตไตรยมาตรัสแสดงแก่ พระสารีบุตร มีใจความว่า

อตีเต กาเล.. ในกาลล่วงมาช้านาน ได้มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระสิริมิตร ครั้งนั้น พระศรีอาริยเมตไตรยได้เสวยศิริราชสมบัติใน เมืองอินทปัตรมหานคร ทรงพระนามว่า บรมสังขจักร มีแก้ว ๗ ประการ

อยู่มาในกาลวันหนึ่ง พระเจ้าสังขจักรเสด็จนั่งอยู่ภาย ใต้เศวตฉัตร มีพระทัยปรารถนาว่า ผู้ใดมาบอกข่าวว่า พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ บังเกิดมีแล้ว พระองค์จะสละราชสมบัติบรมจักร พระราชทานให้แก่บุคคลผู้นั้นแล้ว พระองค์ก็จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า

ในกาลนั้น ยังมีกุลบุตรเข็ญใจผู้หนึ่ง ไปบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ในพระพุทธศาสนา ด้วยมารดาของสามเณรเป็นทาสีอยู่ในตระกูลหนึ่ง สามเณรนั้นคิดแสวงหาทรัพย์จะไปให้แก่มารดา เพื่อให้พ้นจากการเป็นทาสรับใช้ จึงเที่ยวไปโดยลำดับจนถึงกรุงอินทปัตร ฝูงมหาชนชาวพระนครไม่รู้จักว่าสามเณรเป็นอย่างไร ครั้นเห็นเข้าก็สงสัยว่าเป็นมหายักษ์ ต่างก็พากันจับไม้ไล่ทุบตีสามเณร ฝ่ายสามเณรมีความกลัวก็วิ่งหนีมหาชนเข้าไปจนถึงพระราชวัง ไปยืนอยู่ตรงพระพักตร์ของพระราชา พระองค์จึงตรัสถามว่า มานพนี้มีนามว่าอย่างไร?

เจ้าสามเณรจึงกราบทูลว่า อาตมภาพมีนามว่า "สามเณร" จึงตรัสถามว่า สามเณรนั้นด้วยเหตุใด สามเณรจึงทูลว่า ข้าพเจ้า มีนามว่าสามเณรนั้น ด้วยเหตุว่าข้าพเจ้ามิได้กระทำบาปในภายนอก แล้วตั้งอยู่ภายในแห่งกุศล เหตุดังนั้นจึงมีนามว่า "สามเณร" พระองค์ก็ทรงตรัสถามต่อไปว่า นามกรของท่านนั้น บุคคลผู้ใด ตั้งให้แก่ท่าน สามเณรจึงทูลว่า พระอาจารย์ของข้าพเจ้าตั้งให้

พระองค์จึงตรัสถามอีกว่า อาจารย์ของท่านนั้นชื่อใด สามเณรจึงถวายพระพรว่า อาจารย์ของอาตมาท่านมีนามว่า "ภิกษุ" จึงตรัสถามต่อไปว่า พระอาจารย์ของท่านนั้นมีนามว่า "ภิกษุ" ด้วยเหตุอะไร สามเณรจึงทูลว่า อาจารย์ของข้าพเจ้านั้นชื่อ "รัตนะ" เป็นแก้วอันหาค่ามิได้

ครั้นพระราชาได้ทรงสดับว่า"พระสังฆรัตนะ" ในพระพุทธศาสนาหาได้เป็นอันยากยิ่งนัก พระองค์ก็มีความชื่นชมยินดีหาที่จะอุปมามิได้ คำนึงอยู่ในพระราชหฤทัยว่า จะเสด็จลงจากพระราชอาสน์ไปทรงนมัสการเจ้าสามเณร

ในทันใดนั้นเอง...พระวรกายของพระองค์ก็ลอยไปตกลง ตรงหน้าเจ้าสามเณรด้วยอำนาจแห่งธรรมปีติ ด้วยเดชะที่พระ องค์มีความเลื่อมใสในคุณพระสังฆรัตนะ ดอกปทุมชาติ คือดอก บัวก็บังเกิดผุดขึ้นรองรับพระองค์ไว้มิได้เป็นอันตราย จึงถวาย นมัสการเจ้าสามเณรโดยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วจึงตรัสถามต่อ ไปว่า "พระสังฆรัตนะ" อาจารย์ของท่านนั้น บุคคลผู้ใดให้นามกร

เจ้าสามเณรก็ทูลว่า อาจารย์ของข้าพเจ้านั้น คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงพระนามว่า "พระสิริมิตร" พระองค์โปรดประทานให้นามว่า "พระสังฆรัตนะ" แก่พระอาจารย์ของ ข้าพเจ้า พระเจ้าสังขจักรบรมโพธิสัตว์เจ้า ผู้ทรงพระอุตสาหะรอ การสดับข่าวว่า เมื่อใดพระพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้นในโลก ครั้น ได้ทรงฟังสามเณรออกวาจาว่า องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัม มาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ก็ถึงกับทรงวิสัญญีภาพ คือสลบ ลงอยู่ตรงนั้นเอง

ครั้นพระองค์ได้พระสติขึ้นมา จึงตรัสถามสามเณรอีกว่า ดูก่อน...เจ้าสามเณรผู้เจริญ บัดนี้ องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าเสด็จ ประทับอยู่ที่ไหน สามเณรจึงทูลว่า สมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จยับยั้งอาศัยอยู่ใน บุพพารามวิหาร อันมีอยู่ในทิศอุดร คือ ทางเหนือของกรุงอินทปัตรนี้ไปไกลกันมีประมาณ ๑๖ โยชน์ ครั้น ได้ทรงสดับข่าวจากสามเณรว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าบังเกิดแล้วในโลก จึงตรัสว่า ดูก่อน...สามเณร! หากว่าองค์สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าเสด็จอยู่ในทางทิศใด เราก็จะไปในประเทศทิศนั้น

สมเด็จพระเจ้าสังขจักรบรมบพิตรผู้ประเสริฐ หาความห่วง ใยในศิริราชสมบัติบรมจักรของพระองค์ไม่ ด้วยมีพระทัยนั้นผูกพันอยู่ในการที่จะได้พบเห็นองค์สมเด็จพระศรีสรรเพชรเป็นที่ยิ่งอย่างอุกฤษฏ์ ก็กระทำการราชาภิเษกเจ้าสามเณรนั้น ให้สึกออกมาเสวยราชสมบัติแทนพระองค์เป็นพระราชาอันประเสริฐ

ครั้นกระทำการราชาภิเษกเจ้าสามเณรแล้ว เสด็จลำพังแต่เพียงพระองค์เดียว มีพระทัยเฉพาะต่อทิศอุดร ตั้งพระทัยไปสู่บุพพารามวิหาร อันเป็นที่ประทับแห่งองค์สมเด็จพระสิริมิตรสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พระเจ้าสังขจักรเป็นสุขุมาลชาติ พระสรีรกาย นั้นละเอียดอ่อนเป็นอันดี เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปตามหนทาง แต่พระบาทเปล่า เพียงเวลาวันเดียวเท่านั้น พระบาททั้งสองข้างก็แตกจนพระโลหิตไหลไปตามฝ่าพระบาททั้งสอง

เมื่อพระบาททั้งสองบาดเจ็บจนเดินไปมิได้แล้ว ในกาลนั้น พระองค์ก็ลงนั่งคุกเข่าคลานไปทีละน้อย ไปตามหนทางที่เจ้าสามเณรบอกมานั้น ไม่ยอมละเสียซึ่งความเพียร ครั้นล่วงไปถึง ๔ วัน พระหัตถ์ซ้ายขวาและพระชงฆ์ (แข้ง) ทั้งสองข้างนั้นก็แตกช้ำ โลหิตไหลออกมา จะคุกคลานไปก็มิได้ให้เจ็บปวดแสนสาหัส เห็นขัดสนพระทัยนักแล้ว ถึงกระนั้นพระองค์จะได้คิดท้อถอยย้อน รอยกลับคืนมาหามิได้ ทรงมุ่งมั่นในพระทัยว่า จะต้องไปให้ถึง สำนักขององค์สมเด็จพระจอมไตรให้จงได้

ครั้นพระองค์คุกคลานมิได้แล้ว ก็ทรุดลงพังพาบไถลไปแต่ ทีละน้อย ด้วยพระอุระ (อก) ของพระองค์ ประกอบไปด้วยทุกข เวทนาเหลือที่จะอดกลั้น พระองค์ยึดหน่วงเอาพระพุทธคุณของสมเด็จพระพุทธองค์เป็นอารมณ์ ด้วยเจตนาใคร่จะทรงพบเห็นพระองค์ผู้ทรงประเสริฐยิ่งกว่าใครในโลก แล้วก็ทรงอดกลั้นซึ่งทุกขเวทนานั้นเสีย หาได้ทรงอาลัยในพระวรกายของพระองค์ไม่

ครั้งนั้น สมเด็จพระสิริมิตรสัพพัญญูผู้ประเสริฐ พระองค์ทรงพระมหากรุณาเล็งแลดูสัตวโลกทั้งหลายด้วยพระสัพพัญญุตญาณ ก็รู้แจ้งเห็นด้วยกำลังความเพียรของพระเจ้าสังขจักรนั้น เป็นอุกฤษฏ์ยิ่งโดยวิเศษแล้ว ก็มิใช่อื่นมิไช่ไกล เป็นหน่อพระพุทธางกูรพุทธพงศ์วงศ์เดียวกันกับพระตถาคตนั่นเอง สมควร ที่ตถาคตจักเสด็จไปสู่ที่ใกล้แห่งบรมสังขจักร

เมื่อพระพุทธองค์ทรงพระดำริแล้ว ก็เสด็จพระพุทธดำเนินมาด้วยพระศิริวิลาสเป็นอันงาม แล้วพระองค์กระทำอิทธิฤทธิ์ เนรมิตพระวรกายของพระองค์ให้อันตรธานหาย กลับกลายเป็น มานพน้อย ขึ้นขับรถทวนมรรคามาเฉพาะหน้าแห่งสมเด็จพระบรมสังขจักรนั้น แล้วสมเด็จพระพุทธสัพพัญญูเจ้าจึงร้องถาม ไปว่า ผู้ใดมานอนอยู่กลางทางขวางหน้ารถเรา จงหลีกไปเสีย..เรา จะขับรถไป..!

ฝ่ายพระบรมโพธิสัตว์เจ้าจึงตรัสตอบว่า ดูก่อน...นายสารถี ผู้ขับรถ ท่านจะมาขับเราไปให้พ้นจากหนทางนั้นด้วยเหตุใด ตัว เราผู้รู้จักคุณสมเด็จพระจอมไตรเป็นอารมณ์ยิ่งนัก หากแต่นายสารถีจะยั้งรถของท่านให้หลีกเราไปเสียจึงจะสมควร ถ้าท่านไม่หลีกก็ให้ท่านขับรถไปเหนือหลังเราเถิด ซึ่งจะให้เราหลีกนั้นเรา หาหลีกไม่ แล้วจึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ถ้าท่านจะไปยังสำนักพระพุทธเจ้าแล้ว จงมาขึ้นรถไปกับเราเถิด เราจะพาท่านไปให้ถึง สำนักสมเด็จพระประทีปแก้วให้สมดังความปรารถนา

สมเด็จพระราชาธิบดีจึงตรัสตอบว่า ถ้าท่านเอ็นดูกรุณาแก่ เรา เราก็มีความยินดีสาธุอนุโมทนาด้วย แล้วก็อุตสาหะดำรงทรง พระวรกายขึ้นสู่รถแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธ องค์ก็ทรงหันหน้ารถไปตามถนนหนทาง ในระหว่างทางนั้น สมเด็จอมรินทราธิราชกับนางสุชาดาผู้เป็นอัครมเหสี จึงได้นำเอา โภชนาหารอันเป็นทิพย์กับทั้งน้ำทิพย์ลงมา จำแลงเพศเป็นบุรุษ ยืนอยู่ตรงหน้ารถแล้วร้องว่า

ดูก่อน...นายสารถีผู้เจริญ! ท่านต้องการข้าวน้ำโภชนาหาร หรือ...เราจะให้ เมื่อท้าวโกสีย์สักกเทวราชกับนางสุชาดากล่าว ดังนั้น องค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาซึ่งแปลงเพศเป็นนาย สารถีขับรถจึงกล่าวว่า มานพผู้เจริญ.! บุรุษทุพพลภาพผู้หนึ่งมา ในรถด้วยกับเรา มีความลำบากเวทนานัก ท่านจะให้ข้าวน้ำโภชนา หารแก่เราก็ให้เถิด เราจะได้ให้แก่บุรุษผู้นี้บริโภค องค์อัมรินทร์ปิ่นธานีกับนางสุชาดาก็ให้ข้าวน้ำโภชนาหารอันเป็นทิพย์ แด่องค์สมเด็จพระธรรมสามิสตร์ แล้วพระองค์ก็ทรงประทานให้แก่พระบรมโพธิสัตว์สังขจักรเสวยข้าวน้ำอันเป็นทิพย์นั้น

ครั้นพระองค์เสวยอิ่มหนำสำเร็จแล้ว ด้วยอานุภาพแห่งข้าวน้ำอันเป็นทิพย์นั้น ทำให้ทุกขเวทนาในพระสรีรกายอันตรธานหาย มีพระวรกายเป็นสุขสมบูรณ์เสมอเหมือนแต่ก่อน องค์สมเด็จ พระชินวรเจ้าจึงพาพระยาสังขจักรไปใกล้ "บุพพารามวิหาร" แล้ว พระองค์ก็ประทับนั่งบนพระพุทธอาสน์ในพระวิหาร

ส่วนหน่อเนื้อพระบรมพงศ์โพธิสัตว์ก็เสด็จลงจากรถเข้าไปสู่บุพพาราม ทอดพระเนตรไปเห็นองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบไปด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะอีก ๘๐ ทั้งประดับด้วยพระพุทธรัศมีอันโอภาส สว่างรุ่งเรืองออกจากพระวรกาย อันเสด็จประทับนั่งอยู่ในที่นั้น พระองค์ก็ทรงสลบลงตรงพระพักตร์แห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระ ภาคเจ้าด้วยความโสมนัส เกิดความปีติยินดีหาที่สุดมิได้

ส่วนสมเด็จพระบรมศาสดาจึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูก่อน มหาบุรุษราชผู้ประเสริฐ พระตถาคตเสด็จอยู่ในที่นี้แล้ว ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมสังขจักรก็ได้พระสติฟื้นขึ้นมา เกิดความเลื่อมใสศรัทธาน้อมเศียรเกล้าคลานเข้าไป แล้วเสด็จนั่งยังที่อันสมควร จึงยกพระกรขึ้นประนมถวายบังคมเหนือเศียรเกล้า กระทำการ อภิวาทนมัสการกราบทูลว่า

"ภันเต ภควา...ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ข้าพระบาทได้ถึงสำนักของพระองค์แล้ว ขอจงทรงพระกรุณาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพระพุทธเจ้า โปรดตรัสแสดง พระสัทธรรมเทศนาให้ข้าพระบาทฟังเถิด...พระพุทธเจ้าข้า"

สมเด็จพระศาสดาจารย์จึงมีพระพุทธบรรหารว่า "ดูก่อน.. มหาบพิตรผู้ประเสริฐ.! จงตั้งโสตประสาทสดับรสพระพุทธพจน์ เทศนาของพระตถาคต แล้วพิจารณาธรรมกถาอันกล่าวในคุณ พระนิพพานนี้เถิด"

ปางนั้นองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์จึงตรัสพระสัทธรรมเทศนาโปรดแก่พระยาสังขจักร เมื่อพระองค์ได้ทรงสดับพระสัท ธรรมเทศนาบทหนึ่งสิ้นเนื้อความลงแล้ว ก็กราบทูลห้ามสมเด็จ พระประทีปแก้วว่า ขอพระองค์จงหยุดการแสดงธรรมเสียเถิด

มีคำถามว่า... เหตุไฉนพระเจ้าสังขจักรจึงทูลห้ามเช่นนี้ เพราะเดิมทีมีพระทัยผูกพันในพระพุทธศาสดา ระลึกถึงซึ่งคุณ พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า เป็นอันมาก สู้ทรงสละราชสมบัติบรมจักร เสด็จมาด้วยความลำบากแทบถึงซึ่งชีวิต ครั้นมาประสบพบองค์พระสัพพัญญูเจ้า พระองค์ประทานธรรมเทศนาแล้ว กลับห้ามเสียด้วยเหตุประการใด..?

มีคำตอบว่า... สมเด็จพระบรมสังขจักรทรงพระดำริว่า ถ้า สมเด็จพระบรมศาสดาโปรดประทานพระสัทธรรมเทศนาเป็นอัน มาก แล้วพระองค์ก็เสด็จมาแต่เพียงลำพังพระองค์เดียวเปลี่ยวพระทัยนัก จะหาเครื่องไทยธรรมอันสมควรที่จะสักการบูชาให้สมควรแก่รสพระสัทธรรมนั้นหามีไม่ บัดนี้เราได้สดับรับรสแห่งอมตธรรมแต่บทเดียว เครื่องสักการบูชาของเรานี้ มิพอสมควรกันกับพระสัทธรรม พระองค์ทรงดำริดังนี้แล้ว จึงกราบทูลห้ามองค์สมเด็จพระประทีปแก้วเสีย แล้วพระองค์จึงกราบทูลว่า

"ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับพระสัทธรรมของพระองค์ในกาล ครั้งนี้ พระองค์ทรงพระมหากรุณาตรัสพระธรรมเทศนาแสดง พระนิพพานอันเดียวเป็นที่สุดพระสัทธรรมอยู่แล้ว ข้าพระพุทธ เจ้าจะตัดเศียรเกล้าอันเป็นที่สุดสรีระกายแห่งข้าพระพุทธเจ้า ออกกระทำการสักการบูชาพระสัทธรรมเทศนาของสมเด็จพระ ผู้มีพระภาคเจ้าก่อน"

33
ดวงจิตจะมีขั้นตอนการเวียนว่ายตายเกิดทั้ง ๕ ระยะดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งกว่าจะได้บรรลุธรรม พ้นความทุกข์นั้น จะต้องผ่านการเวียนว่ายตายเกิดมายาวนานแตกต่างกัน หากหลงทางก่อกรรมทำเข็ญมาก และไม่มีสติรู้สำนึก ก็จะต้องเวียนว่ายตายเกิดชดใช้กรรมต่อไปอีกยาวนาน กว่าที่กรรมจะเบาบางจนเกิดดวงตาเห็นธรรมได้ ดวงจิตต่างๆ ทั้งสามประเภท คือ พุทธภูมิ, ปัจเจกภูมิ และสาวกภูมิ นี้ ต่างก็ต้องผ่านกระบวนการเวียนว่ายตายเกิดนี้เช่นกัน โดยช่วงแรกดวงจิตจะยังไม่มีความแตกต่างกัน ดวงจิตจะมาจากแหล่งเดียวกันก่อน มีความบริสุทธิ์ประภัสสรเหมือนกันมาก่อน เมื่อได้รับการเพาะบ่มพลังจนพร้อมที่จะเวียนว่ายตายเกิดแล้ว จึงเริ่มเข้าสู่สังสารวัฏ หรือกระบวนการเวียนว่ายตายเกิด จากนั้น ก็จะเข้าสู่ช่วงทีมีความหลากหลายเกิดขึ้น โดยผลจากกระบวนการเวียนว่ายตายเกิดของดวงจิต ก็เริ่มถูกพัฒนาให้แตกต่างกันไปเป็นสามแบบดังกล่าว มีดังนี้
๑) พุทธภูมิ




คือ บุคคลที่มี "มโนธาตุ" หรือจิต ที่มุ่งช่วยเหลือสรรพสัตว์ ยังไม่ยอมหลุดพ้นไปเพียงผู้เดียว บางครั้งบางชาติ ยังไม่ได้มีการปรารถนาพุทธภูมิ กล่าวคือ ยังนึกไม่ออกว่าจะต้องบรรลุนิพพานก่อนจึงจะสอนให้คนหมดทุกข์ได้อย่างแท้จริง จึงช่วยเหลือคนทั่วไป เช่น ช่วยชีวิตคนไข้ แม้ไม่ได้อยู่ในหน้าที่หรือตนไม่ได้มีตำแหน่งก็ตาม ฯลฯ และไม่ยอมหลุดพ้นสู่นิพพาน ดังนั้น จึงเกิดและตายวนเวียนในสังสารวัฏ ตราบเมื่อได้พบพระพุทธเจ้า และได้ฟังธรรม จนเห็นหนทางที่ตนจะบรรลุความปรารถนาแล้ว ก็เกิดความมั่นใจศรัทธาตรงต่อการเป็นพระพุทธเจ้า ในชาตินั้น จึงปรารถนาพุทธภูมิ เป็นพระโพธิสัตว์เต็มองค์ บุคคลที่เวียนว่ายตายเกิดหลายชาติเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า แบ่งออกเป็น ๕ ระยะ ดังนี้คือ
ก่อนพุทธภูมิ
เมื่อจุติในสังสารวัฏแรกๆ จวบจนกระทั่งเริ่มมีบารมีโดยธรรมชาติ ได้เกิดเป็นหัวหน้าคณะ ช่วงนี้ยังไม่รู้ตัว และยังไม่มีความปรารถนาพุทธภูมิ ยังหลงทางในสังสารวัฏ ยังไม่รู้จะเวียนว่ายตายเกิดไปเพื่ออะไร แต่จะเป็นหัวหน้าที่ดี มีความเมตตาดูแลบริวารในปกครองอย่างดี จึงจะเป็นพุทธภูมิได้ ยกตัวอย่างเช่น พระสารีบุตรในอดีตชาติ ที่ได้เกิดเป็นหัวหน้าคนมากมาย เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดจนบริวารสำเร็จอรหันต์ทั้งหมด ตนเองมีปัญญาสูงกว่าแต่ยั้งใจ เพราะปรารถนาเป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าสมณโคดม จึงได้มาเกิดเป็นพระสารีบุตร ซึ่งยังไม่รู้ว่าตนเองปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า จนเมื่อได้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาแล้ว พระพุทธเจ้าสมณโคดม ก็ได้แสดงธรรมโดยอ้อมถึงสุขาวดี ในที่สุดพระสารีบุตรก็รู้ตัวว่าปรารถนาพุทธภูมิ นอกจากนี้พุทธภูมิบางท่าน ก็จุติมาจากภาคแบ่งของดวงจิตพระมหาโพธิสัตว์ หรือพระพุทธเจ้าบางพระองค์ ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้ดีมากกว่าดวงจิตคนอื่นๆ และบำเพ็ญเพียรได้รวดเร็วกว่า จะดวงจิตลักษณะนี้ จะไม่ลัดเข้าแย่งลำดับการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จากพระโพธิสัตว์อื่นๆ จะหลีกทางให้ผู้อื่นเป็นพระพุทธเจ้าแทนตน
เลือก-ลอง-หลง (แรกรู้ตน)
เมื่อรู้ตนเองว่าปรารถนาพุทธภูมิแล้ว จะรู้สึกเบื่อสิ่งต่างๆ ทางโลก รอหรือเริ่มค้นหาสิ่งที่เหนือกว่าขึ้นไป แต่ยังไม่รู้ว่าจะอยู่ไปเพื่ออะไร สมควรจะทำอะไร จวบจนได้พบพระพุทธเจ้า ก็จะทำการปรารถนาพุทธภูมิ ยกตัวอย่างเช่น พระสังขจักร เมื่อได้ข่าวว่ามีพระพุทธเจ้าสิริมิตรเกิดขึ้นแล้วในโลก ก็สละราชบัลลังก์ แล้วเดิมทางมุ่งไปยังที่ประทับของพระพุทธเจ้า และตัดเศียรบูชาพระพุทธเจ้า จึงได้จุติเป็นพระโพธิสัตว์ที่สวรรค์ชั้นดุสิต หลังจากรู้ตนนี้ จะไม่หลงในสังสารวัฏอีก เพราะเข้าใจว่าจะตายเกิดในสังสารวัฏไปเพื่ออะไร และจะเริ่มเข้าสู่การบำเพ็ญเพียรทศบารมีเพื่อพุทธภูมิอย่างชัดเจน ในขั้นแรกรู้ตนนี้ บางท่านยังไม่ได้ทำการถวายพุทธบูชาด้วยสิ่งต่างๆ แต่บางท่านก็ถวายสิ่งต่างๆ เป็นพุทธบูชาเลย ตั้งแต่ ทรัพย์, อวัยวะ, และชีวิต เป็นต้น ซึ่งแม้ถวายชีวิตแล้วก็ยังบารมีไม่ถึง ๓๐ ทัศ ยกตัวอย่างเช่น อดีตชาติของพระโพธิสัตว์พระยามาราธิราช ซึ่งได้เกิดเป็นขุนนางของพระราชาที่ประกาศห้ามผู้อื่นใดไปถวายพุทธบูชาก่อนตน หากฝ่าฝืนต้องโทษประหาร แต่ขุนนางผู้นั้นไม่สนใจ จึงถวายข้าวห่อเป็นพุทธบูชาประกอบกับพระพุทธเจ้าเพิ่งเสด็จออกจากนิโรธสมาบัติ ผลบุญจึงมีมากมาย สุดท้ายต้องโทษประหาร ยอมตายเพราะพุทธบูชานั้น และยังผลให้ไปเกิดเป็นพระยามาร จวบจนหลังพุทธกาล ๒๐๐ ปีแล้ว พระอุปคุตจึงมาปราบพระยามารลง พระโพธิสัตว์จึงทรงละทิฐิมานะ และพ้นจากความเป็นมาร มีบารมีเต็ม ๓๐ ทัศ (หากบารมีเต็ม ๓๐ ทัศ จะได้อานิสงค์ไม่เกิดเป็นพระยามาร) ดังนั้น แม้จะฆ่าตัวตายเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังต้องเกิดอีกเพื่อชดใช้กรรมและบำเพ็ญบารมีตัวอื่นๆ ให้เต็มด้วย
บำเพ็ญพุทธภูมิ
ในการบำเพ็ญบารมีของพุทธภูมินั้น จะบริจาคทรัพย์จนหมดก่อนจึงเรียกว่า บารมี ๑๐ ทัศ จากนั้นจะอุทิศแรงกายจนอาจต้องเสียสละเลือดเนื้อหรืออวัยวะ เช่น การออกศึก ปกป้องประเทศ ช่วยเหลือมวลมนุษย์ หรือ การบริจาคอวัยวะถวายเป็นพุทธบูชาจึงเรียกว่า บารมี ๒๐ ทัศ จากนั้น จะเข้าสู่การเสียสละชีวิต เช่น การยอมตายเพื่อผู้อื่น, ฆ่าตัวตายถวายพุทธบูชา จึงได้เข้าสู่บารมี ๓๐ ทัศ ช่วงนี้แบ่งได้เป็นสามระยะคือ

บารมีต้น ช่วงเสวยบุญเป็นเศรษฐี มีทรัพย์ในการทำบุญทำทานได้มากมาย เป็นช่วงที่ดวงจิตหลังได้รู้ตนเองว่าปรารถนาพุทธภูมิแล้ว จะบำเพ็ญ "ทศบารมี" ในขั้นต้น ในขั้นนี้พระโพธิสัตว์ จะทรงใช้ "ทรัพย์สิน" ในการบำเพ็ญเพียรเสียโดยมาก จะเกิดมาร่ำรวย เป็นผลบุญจากการได้ถวายพุทธบูชา จะได้มาเกิดในพระพุทธศาสนาและทำนุบำรุงพุทธศาสนาด้วยทรัพย์ของตนนั้น แต่ยังไม่สามารถที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงหรือบริหารงานด้านพุทธศาสนามากนัก ช่วงนี้ จะไม่ได้พบพระพุทธเจ้า จำต้องบำเพ็ญเพียรด้วยความคิดของตนเอง ไม่มีผู้ใดสั่งสอน จึงมีทั้งทำดีและทำพลาดไปบ้าง แต่ผลยังไม่ขยายวงกว้างนัก ได้ทั้งผลบุญและบาปกรรมเปื้อนติดตัวไประดับหนึ่ง ยังไม่มีบริวารมากนัก ความเสี่ยงที่จะทำงานผิดพลาดจึงยังน้อย เพียงสะสมคุณงามความดีเบื้องต้นไปก่อน ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมที่เลวร้ายได้ กำลังบารมียังไม่พอ

บารมีกลาง ช่วงเสวยบุญเป็นราชามีอำนาจและบริวารมากมายทำกิจได้มาก เป็นช่วงที่ดวงจิตมีบุญบารมีมากมาย เหนือกว่ามารในสวรรค์ชั้นสูงสุด เป็นผลจากการบำเพ็ญบารมีที่สะสมมา จะมีทั้งบริวารมากมาย และทรัพย์มากมาย ในขั้นนี้ จะเริ่มเปลี่ยนแปลงสังคมตามความคิดของตนเอง ทำให้พระโพธิสัตว์อาจจะเริ่มหลงทาง เพราะหลงในผลบุญที่มีมากมายนั้น เริ่มได้รับอนุญาตให้เกิดมาพร้อมทรัพย์สินและบริวาร และเริ่มได้ปกครองประเทศ ได้เกิดเป็นพระราชา ซึ่งหากปกครองประเทศได้ดี ก็จะได้ผลบุญมากก็จะยิ่งต่อยอดบุญได้มากขึ้นไปอีก หากหลงทางก็จะกลายเป็นมารได้ จะต้องไปจุติยังสวรรค์ชั้นมาร เพื่อปกครองพวกมารอยู่ยาวนาน ต้องเป็นมารเพื่อปกครองมารได้ และรอเวลาอีกยาวนานกว่าจะได้มาเกิดเป็นมนุษย์อีกรอบหนึ่ง




บารมีปลาย เป็นช่วงที่ดวงจิตมีบุญบารมีสูงสุด พร้อมที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เนื่องจากได้พ้นภพมารแล้ว ได้ละเลิกทิฐิจากความเป็นมารแล้วเพราะได้พบกับคู่ปรับแล้ว แต่ยังมีกรรมที่สะสมมาในแต่ละชาติต้องชดใช้ จากนั้น จึงมาเกิดเป็นคนยากจน ไร้ทรัพย์สินและบริวาร เพื่อแสวงหาสิ่งที่เป็นพื้นฐานธรรมดา เหมือนพระพุทธเจ้าช่วงที่ทรงสละราชสมบัติเพื่อออกผนวช ซึ่งไม่สนใจลาภยศเงินทอง หรือเรื่องราวความวุ่นวายทางโลก ใช้เพียงลำพังตัวคนเดียว ด้วยกำลังสติปัญญา ยังความเมตตาโปรดสัตว์ ตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้าในชาติที่ทรงปราบ "รากษส" ทรงเกิดเป็นคนยากจน และมีแม่ที่อดอยาก ดังนั้น จึงทรงอาสาปราบรากษสเสี่ยงตายเพื่อหาเงินเลี้ยงแม่ จนในที่สุด ปราบรากษสได้ด้วยตัวคนเดียว เป็นต้น ช่วงบารมีปลายนี้ยิ่งต้องระวังกรรมที่เปื้อนไปสู่ชาติที่ได้ตรัสรู้ให้มาก เพราะหากยังมีเศษกรรมเปื้อนไป ก็จะยังผลให้พระศาสนาในชาติที่ตรัสรู้นั้น ได้รับผลกรรมไปด้วย เช่น การฆ่ารากษสของพระพุทธเจ้าในชาติที่บำเพ็ญเพียร ยังผลให้ท่านมีอายุเพียง ๘๐ พรรษา ไม่อาจทำกิจตามพุทธศาสนาได้สมปณิธานที่ตั้งใจ ในชาติที่บำเพ็ญบารมีปลาย จึงต้องใช้ "ปัญญาและเมตตา" ให้มากขึ้น แม้มีสิ่งยั่วยุก็ตาม เพื่อไม่ให้กรรมเปื้อนติดตนไปในชาติสุดท้าย
ไถ่ถอนกรรมเก่า
นอกจากจะได้บารมีครบ ๓๐ ทัศแล้ว ในระยะต่อมายังต้องมาเติมบารมีตัวอื่นในทศบารมีให้เต็มอีกด้วย จากนั้นยังต้องชดใช้กรรมเก่าที่ได้สร้างสมมาในชาติต่างๆ ให้เบาบางลงไป เพื่อไม่ให้ผลกรรมเปื้อนและกระทบชาติสุดท้ายที่ตรัสรู้ ดังนั้น เมื่อบารมีครบ ๓๐ ทัศแล้ว ยังต้องบำเพ็ญบารมีต่ออีกสองระยะ จุดนี้จะมีความแตกต่างกันระหว่างพุทธภูมิ ที่ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งจะเรียกว่า "พระโพธิสัตว์" กับพุทธภูมิที่ปรารถนาช่วยสรรพสัตว์ตลอดไป ไม่หวังเป็นพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า "พระมหาโพธิสัตว์" เนื่องจากพระโพธิสัตว์ จะบำเพ็ญทศบารมีให้เต็ม จะก่อกรรมน้อย จะเปลี่ยนแปลงสังคมที่ผิดไปน้อยกว่า และชดใช้กรรมให้เบาบาง แต่สำหรับพระมหาโพธิสัตว์แล้ว จะบำเพ็ญดุจดั่งเช่น พระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง อันเป็นแนวการสอนของพระอมิตาภพุทธเจ้า ที่ให้พระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลาย ช่วยสรรพสัตว์เช่นนั้น ดังนั้น พระมหาโพธิสัตว์จะมีบทบาทปราบมาร เปลี่ยนแปลงสังคมมากกว่าพระโพธิสัตว์
ซักฟอกมโนธาตุ
เมื่อผ่านระยะการชดใช้กรรมจนเบาบางสิ้นแล้ว ชาวพุทธภูมิจะเริ่มเดินตามความปรารถนาของตน ทั้งนี้ เมื่อพุทธภูมิมีบารมีครบ ๓๐ ทัศ กล่าวคือ นับจากชาติที่ได้สละชีวิตถวายเป็นพุทธบูชาแล้ว พุทธภูมิจะมีแนวทางในการบำเพ็ญสองสาย สายที่หนึ่ง จะบำเพ็ญตรงทางไปตามเดิมคือ บำเพ็ญทศบารมีที่เหลือให้เต็มและหลีกเลี่ยงกรรม ชดใช้กรรมในอดีตที่ติดตัวมาให้มาก เพื่อรอคิวตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ในยุคสมัยที่เหมาะสมกับความปรารถนาของตน จนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็จะซักฟอกมโนธาตุให้บริสุทธิ์ และทำหน้าที่พระพุทธเจ้าอย่างสมบูรณ์ ส่วนสายการบำเพ็ญแบบที่สอง จะไม่รอคิว และไม่สนใจที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าหรือไม่ แต่จะทำกิจดุจดั่งเช่น พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในชาติต่อไปทันที คือ การบำเพ็ญ "ยูไล" หรือ การอุทิศชีวิตเคลื่อนพระธรรมจักร ให้พุทธศาสนาดำเนินต่อไปอย่างถูกมรรคถูกผล ได้ถึงนิพพาน ไม่หลงออกไปสู่ทางอื่น และจะบำเพ็ญเช่นนี้เรื่อยๆไป จึงเรียกว่า "มหาโพธิสัตว์" ซึ่งจะซักฟอกมโนธาตุจนบริสุทธิ์จากกิเลสและยังสามารถเกิดใหม่ได้อีก

๒) ปัจเจกภูมิ




คือ บุคคลที่มี "มโนธาตุ" หรือจิต ที่มุ่งไปสู่ความเป็นหนึ่งแต่เพียงผู้เดียว ด้วยตนเอง ไม่ยอมเป็นสาวกใคร และไม่สนใจช่วยเหลือผู้ใด ในช่วงชาติแรกๆ และกลางๆ ของดวงจิตปัจเจกภูมินี้ ยังมีธาตุแท้แห่งมโนธาตุไม่มาก จะไม่เด่นชัดถึงความไม่ขอความช่วยเหลือผู้ใดและความไม่ยินดีช่วยเหลือผู้ใด แต่เมื่อชาติหลังๆ ที่ใกล้จะได้หลุดพ้นจะมีความเป็นปัจเจกบุคคลสูงมาก มีความสามารถสูงมีปัญญาสูง แต่ไม่สนใจช่วยผู้ใด แต่เมื่อละความทะนงตน ละความเย่อหยิ่งในความสามารถของตนได้แล้ว ก็จะตรัสรู้ พบความสุขพื้นฐานที่เรียบง่ายธรรมดา ละความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่เกินตัวลง จะเริ่มมีจิตที่อ่อนน้อมสุขุม และมีเมตตา ทว่า ในชาติที่ได้ตรัสรู้ธรรมนี้ จะพบแต่บุคคลที่สั่งสอนได้ยาก ดื้อด้าน, ปัญญาต่ำ, หรือมีความจิตใจต่ำทราม ไม่ควรแก่การสอน ทั้งยังไม่มีสาวกผู้อุปการะหรืออุปถัมภ์ค้ำจุน ทำให้ไม่สามารถประกาศศาสนาได้ สุดท้ายแม้ตรัสรู้ได้ "สัพพัญญูญาณ" แต่กลับต้องเก็บตัวหลบซ่อนแต่ตามลำพัง หลีกลี้หนีออกจากผู้คน ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้คนได้ ดุจดั่ง "นอแรด" ที่ฉลาดหลักแหลมโดดเดี่ยวอยู่นอเดียว ทั้งนี้จำต้องผ่านขั้นตอนดังนี้
ก่อนปัจเจกภูมิ
เมื่อจุติในสังสารวัฏแรกๆ จวบจนกระทั่งเริ่มมีบารมีโดยธรรมชาติ ได้เกิดเป็นหัวหน้าคณะ ช่วงนี้ยังไม่รู้ตัว และยังไม่มีความปรารถนาอะไร ยังหลงทางในสังสารวัฏ ยังไม่รู้จะเวียนว่ายตายเกิดไปเพื่ออะไร แต่จะเป็นหัวหน้าที่ไม่ดี ไม่มีความเมตตา ไม่ดูแลบริวารในปกครอง หรือกดขี่ข่มเหงบริวารของตนเอง จึงไม่สามารถเป็นพุทธภูมิได้ ในที่สุดบริวารจะหนีถอยห่างไป จนตนเองไม่มีบริวารอีกในชาติต่อๆ ไป จากนั้น จึงพยายามเอาบริวารของตนคืนมาให้ได้ ยังไม่ละความอยากเป็นหัวหน้า ไม่ละความอยากเป็นเลิศเหนือผู้อื่นใด จึงพยายามใช้อำนาจต่างๆ ใช้อิทธิฤทธิ์ ในการทำให้คนนับถือบูชาตน เพื่อให้บริวารกลับมาหลงตน และเชื่อถือตนเหมือนดังเช่นในอดีตอีก ยกตัวอย่างเช่น พระเทวทัต ก็ยุยงให้พระสงฆ์แตกแยก แล้วนำพระสงฆ์คณะหนึ่งแยกออกไป เพื่อตั้งตนเป็นหัวหน้าคนใหม่ แต่ภายหลังก็ไม่มีผู้ใดนับถือเลย
เลือก-ลอง-หลง
ชาติต่อๆ มาได้พบพระโพธิสัตว์ ก็มีจิตคิดปรารถนาเป็นแบบพระโพธิสัตว์บ้าง ก็ทดลองทำตามพระโพธิสัตว์ แต่เนื่องจากจิตไม่มีความเมตตา มีแต่ความอยากเหนือผู้อื่น อยากเป็นคนเหนือคน เป็นยอดคน แต่ไม่สนใจคน ไม่ดูแลคน ไม่ช่วยเหลือคน จึงได้เลือกทางเดิน ทดลองทำตามพระโพธิสัตว์ หลงทางแก่งแย่งแข่งขันกับพระโพธิสัตว์ ช่วงนี้ "ปัจเจกภูมิ" จะหลงตนเอง คิดว่าตนเองเป็นพุทธภูมิ แต่ไม่มีความจริงใจและความพยายามในการเปลี่ยนแปลงตนเอง เพื่อปรับเปลี่ยนจากปัจเจกภูมิ เป็นพุทธภูมิ ยังไม่เข้าใจว่าการสร้างบุญบารมีนี้เพื่อยังประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น ยังคงมีความคิดเห็นแก่ตัว สร้างทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อตนเอง สนองความต้องการตนเอง ไม่สนใจคิดทำเพื่อผู้อื่นใด ในช่วงนี้ จึงชอบครอบงำผู้คนให้หลงเชื่อตนไปหลายชาติ เพราะไม่ยอมละทิ้งความอยากเด่นอยากดังเหนือคน และไม่มีความสามารถในการดูแลผู้คน ยังคงหลงในอดีตชาติที่ตนเองได้เป็นผู้นำ ได้เป็นใหญ่เหนือคนอยู่อีก ในช่วงชาตินี้ ยังไม่ได้พบพระโพธิสัตว์ เพียงแต่สะสมบริวารของตนจนมีมากมาย
บำเพ็ญปัจเจกภูมิ
จากนั้น ในชาติต่อๆ มาจะเริ่มก่อกรรมหนักมากขึ้น และบำเพ็ญเสมือนว่าตนก็เป็นพระโพธิสัตว์ไปด้วย และช่วงในระยะว่างชาตินี้ จะได้พบกับพระโพธิสัตว์และได้บำเพ็ญบารมีแข่งกัน หรืออาจเปลี่ยนใจเป็นพุทธภูมิได้ ยกตัวอย่างเช่น พระเทวทัตในชาติที่บำเพ็ญเพียรคู่กับพระพุทธเจ้า ทั้งคู่ต่างเป็นหัวหน้าคนและมีบริวารมากมาย และมักทะเลาะเบาะแว้งกัน เพราะพระเทวทัตมีความอยากเด่นอยากดัง อยากเหนือกว่าพระพุทธเจ้า ในช่วงระหว่างหลายชาตินี้ ปัจเจกภูมิ จึงบำเพ็ญความเด่นดังให้เหนือคน เช่น ปัญญาบารมี พร้อมกับพระโพธิสัตว์ไปด้วย แต่ไม่ได้สนใจบำเพ็ญเมตตาบารมีเลย จึงมักก่อกรรมและเป็นเครื่องช่วยในการบำเพ็ญบารมีให้กับพระโพธิสัตว์ และจะทำเช่นนี้วนเวียนซ้ำหลายชาติ จนกว่าจะ "สำนึกผิดกลับตัวกลับใจ" จึงพ้นได้
ไถ่ถอนกรรมเก่า (แรกรู้ตน)
เมื่อได้สำนึกผิดกลับตัวกลับใจแล้ว จะเริ่มต้นใหม่ แต่เพราะกรรมที่ทำมาทับถมทวีมากมาย จำต้องเกิดมาชดใช้กรรม ไถ่ถอนกรรมที่ทำไว้มากมายนั้น ต้องทนทุกข์ทรมานเพราะเกิดมากี่ชาติๆ ก็ไม่มีดีเลยสักชาติ ต้องพบแต่ความพินาศหายนะของชีวิตซ้ำแล้วซ้ำอีก แม้ไม่อยากเกิดอีก แม้อยากนิพพาน แต่ก็ยังไม่อาจมีดวงตาเห็นธรรม ด้วยเพราะกรรมมากมายนั้นบังตา แต่ก็ยังไม่ละทิ้งความต้องการเป็นคนเหนือคน ยังอยากเป็นยอดคนอยู่เสมอ ทว่า ไม่คิดอยากช่วยเหลือผู้อื่นให้รอดพ้นตามตน เพราะกรรมที่หนักหนาสาหัสนั้น แม้แต่ตนเองก็ไม่อาจช่วยตนเองให้พ้นได้เลย ตราบเมื่อ "กรรมเบาบาง" แล้ว เริ่มได้ "สติ" คิดได้ว่า "นิพพาน" คือที่สุดที่ค้นหา แสดงว่ากรรมเริ่มเบาบางและใกล้หมดแล้ว ชาตินี้จะเป็นชาติที่ชดใช้กรรมเก่าเป็นชาติสุดท้าย
ซักฟอกมโนธาตุ
เมื่อมีสติระลึกได้ว่า "นิพพาน" คือสูงสุดที่ตนค้นหา คือ ทางที่หลุดพ้นแห่งทุกข์ทั้งมวลที่ตนได้รับมา ก็จะมาเกิดเพื่อบรรลุธรรมเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย อนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์จะมีกรรมมากเพราะปรารถนาเป็นยอดคน แต่ไม่ปรารถนาช่วยสรรพสัตว์ จึงมีช่วงกลางของการบำเพ็ญเพียรที่ก่อกรรมไว้มาก (การก่อกรรมมากมีทุกดวงจิต ทั้งพระโพธิสัตว์ในชาติกลางๆ ก็ก่อกรรมมากเช่นกัน) และเหนื่อยหน่ายกับบาปกรรมที่ได้รับ จึงไปไม่ถึงดวงดาว ต้องอำลาพุทธภูมิ สู่ปัจเจกภูมิเสียก่อน และด้วยผลบุญที่น้อยนั้น แม้จะตรัสรู้ได้ด้วยตนเองเพราะปัญญาบารมีสูง มีความรู้มากมายไพศาล แต่ก็ไม่อาจอยู่ในฐานะที่จะสร้างพระศาสนาขึ้นมาได้ ด้วยเพราะอาจเกิดในประเทศกันดาร ห่างไกลจากผู้คนที่มีปัญญา มีศีลธรรม หรือ เกิดในช่วงที่โลกกำลังตกต่ำมีแต่คนไม่เข้าใจธรรม เมื่อแสดงธรรม คนก็หยามหมิ่นหาว่าบ้าบ้าง สุดท้ายจำต้องปลีกเร้นซ่อนกาย หลบกรรม เข้าป่าเสพสุขอยู่อย่างเดียวดาย
๓) สาวกภูมิ




คือ บุคคลที่มี "มโนธาตุ" หรือจิต ที่มุ่งไปสู่ความเป็นสาวกผู้อื่น นิยมพึ่งพิง พึ่งพาอาศัย หรือยินยอมคล้อยตามผู้อื่น มากกว่าที่จะเป็นตัวของตัวเองแบบปัจเจกภูมิ และไม่นิยมที่จะรับผิดชอบชีวิตผู้อื่นแบบพุทธภูมิ หากจะช่วยเหลือผู้อื่นก็จะช่วยตามควรที่ตนเองไม่เดือดร้อนเท่านั้น เป็นผู้ตามไม่ใช่ผู้นำ แม้ว่าจะมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการหรือไม่ก็ตาม ยังมีความเป็นลูกน้องอยู่ดี บุคคลที่เป็นสาวกภูมินี้ปกติไม่รู้ตนเองว่าตนเองมี "มโนธาตุ" แบบใด จวบจนในชาติสุดท้ายที่ได้หลุดพ้นจึงได้รู้ จึงแตกต่างจากพุทธภูมิที่จะรู้ตนเอง และตั้งความปรารถนาในชาติที่มีการลอง, การเลือก และการหลง จนรู้ตนเองจึงบำเพ็ญเพียรได้ถูกต้อง ส่วนปัจเจกภูมิ จะรู้ตนเองหลังจากนั้น เมื่อตนเองคิดว่าเป็นพุทธภูมิ ก็หลงบำเพ็ญเพียรตามพุทธภูมิ แต่ทำได้ไม่ครบ ทั้งยังสะสมกรรมมามาก จนสุดท้ายต้องลัดเข้าสู่การพ้นทุกข์ จึงไม่อาจสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งจะรู้ตนเองว่าไม่ใช่พุทธภูมิ เป็นปัจเจกภูมิก็ในชาติที่เริ่มเหนื่อยล้าและตัดสินใจหาทางพ้นทุกข์ (ช่วงรับกรรมมากๆ) ในส่วนสาวกภูมิมีกระบวนการเวียนว่ายตายเกิด ๕ ขั้นเช่นกัน แต่แตกต่างจากแบบอื่น ดังนี้
ก่อนสาวกภูมิ
เมื่อจุติในสังสารวัฏแรกๆ จวบจนกระทั่งเริ่มมีบารมีโดยธรรมชาติ ได้เกิดเป็นหัวหน้าคณะ ช่วงนี้ยังไม่รู้ตัว และยังไม่มีความปรารถนาอะไร ยังหลงทางในสังสารวัฏ ยังไม่รู้จะเวียนว่ายตายเกิดไปเพื่ออะไร และเป็นหัวหน้าที่ไม่ดี ไม่มีความเมตตาดูแลบริวารในปกครอง ขาดความรับผิดชอบ ขาดความเป็นตัวของตัวเอง ขาดความเป็นผู้นำ ไม่กล้าตัดสินใจ ไม่กล้านำพาผู้คน ไม่กล้าเปลี่ยนแปลงผู้คนไปในทางที่ดี จึงเป็นพุทธภูมิไม่ได้ ผลจากกรรมนี้ ทำให้ชาติต่อๆ มา บริวารต่างพากันหนีไปหมด จนเกิดมาไม่ได้เป็นหัวหน้าคนอีก จนในที่สุด ก็พอใจและยอมรับสภาพที่ไม่ต้องเป็นหัวหน้าใคร รู้สึกดีกว่าต้องรับผิดชอบชีวิตคนอื่น และเริ่มต้องฝ่าฟันอุปสรรคในการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏเพียงผู้เดียว เริ่มมีความกลัว เริ่มคิดหาทางออกให้ตัวเอง แต่ไม่สามารถเข้าใจสรรพสิ่งได้ด้วยตนเอง จำต้องพึ่งพาอาศัยผู้นำทางจิตใจเป็นต้น
เลือก-ลอง-หลง
ในช่วงของการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏถัดมา เป็นช่วงแห่งการเลือกทางเดิน, การทดลอง และการหลงทาง ในช่วงนี้จะไหลตามกรรมไปพบผู้นำหลายคน ให้ได้เลือกตามแต่ใจปรารถนา บ้างก็ไปเป็นสาวกบริวารผู้นำผู้หนึ่ง แล้วก็อาจได้โอกาสเปลี่ยนไปเป็นสาวกบริวารของผู้นำผู้อื่นต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับเป็นช่วงที่พุทธภูมิเองก็เริ่มสะสมบริวารเช่นกัน ด้านพุทธภูมิต่างแย่งกันแสวงหาผู้ตาม มาเป็นบริวารของตน ส่วนสาวกภูมิก็เลือกหัวหน้าของตนเช่นกัน บ้างเปลี่ยนไปมา บ้างเริ่มคงที่ เมื่อขาดนายตนเองก็ลำบาก ทั้งภพโลกและภพสวรรค์ เมื่อได้นายก็พ้นลำบากสลับไป
แสวงหาที่พึ่งพิง
เมื่อถึงระยะนี้ สาวกภูมิ จะรู้ตนว่าแท้แล้วตนไม่มีกำลังความสามารถที่จะไปรอดได้ด้วยตัวคนเดียวแบบปัจเจกภูมิ, และไม่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นหรือแม้แต่ตัวเองได้แบบพุทธภูมิ เหล่าสาวกภูมิ จึงมีความตั้งใจแน่วแน่ชัดเจนแล้วว่าจำต้อง "แสวงหาที่พึ่งพิงเป็นหลักแหล่งแน่นอน" ช่วงนี้จะเปลี่ยนจากยุค "เลือกนายอย่างเสรี" มาสู่ยุค "การเป็นบริวารตลอดไป" ดังนั้น คำว่า "จงรักภักดีมีนายเดียว" จึงได้เกิดขึ้น เมื่อถึงจุดนี้ สาวกภูมิจะไม่ต้องแร่ร่อนในสังสารวัฏทั้งสามภพอย่างไม่มีที่พึ่งพิงอีกต่อไป เพราะจะมีที่อาศัยทั้งภพโลก, ภพสวรรค์ เมื่อทำความดีได้จุติยังสวรรค์ ก็จะไปอาศัยในวิมานของนายของตน เมื่อมาเกิดบนโลกมนุษย์ก็ได้อาศัยนายของตน เป็นผู้ชุบเลี้ยงดูแล ช่วงนี้ สาวกภูมิจึงเวียนว่ายตายเกิดเพื่อช่วยพุทธภูมิในการบำเพ็ญเพียรบางส่วน และเสวยผลบุญบนสวรรค์รอนายของตนเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่ามีหลักแหล่งแน่นอนแล้ว และมักจะไม่เปลี่ยนใจไปภักดีต่อนายอื่นอีก จัดเป็นสาวกแท้จริง
ไถ่ถอนกรรมเก่า
ในระยะนี้ เหล่าสาวกภูมิจะต้องรับกรรมที่ตนเองทำในช่วงก่อนๆ หากตนเองเคยทำผิดพลาดมามากก่อนจะพบนายที่ดีสั่งสอน ก็ต้องไปเกิดร่วมกับนายของตนเพื่อไถ่ถอนกรรมและช่วยนายในการบำเพ็ญบารมี ดังนั้น ในการไปเกิดเพื่อสะสมบุญบารมีและไถ่ถอนกรรมของพุทธภูมิหนึ่งดวงจิต จะมีการนำสาวกของตนไปเกิดด้วย เพื่อช่วยงานและเป็นการเปิดโอกาสให้สาวกภูมิ ชดใช้ไถ่ถอนกรรมและบำเพ็ญบุญบารมีบ้าง ดังนั้น เหล่าสาวกจะได้รับการอนุญาตให้ไปเกิดช่วยกันบำเพ็ญบารมีแตกต่างกันไป หมุนเวียนเปลี่ยนไปในแต่ละชาติ สาวกภูมิจึงเกิดน้อยกว่าพุทธภูมิ และเฝ้าอยู่บนสวรรค์ในวิมานนานกว่า รออยู่แบบสบายๆ ไม่ต้องเสี่ยงมากกว่า แต่พุทธภูมินายของตนนั่นเองที่ต้องลงไปบำเพ็ญบุญบารมีอยากมากมาย ช่วงนี้สาวกภูมิเพียงแต่ผ่อนแรงผลัดเปลี่ยนกันลงไปช่วยนายของตนเท่านั้น ซึ่งทำให้ได้ชดใช้ไถ่ถอนกรรมด้วย
ซักฟอกมโนธาตุ
ในชาติสุดท้ายเท่านั้น สาวกภูมิจึงจะได้ซักฟอกมโนธาตุ หรือไม่ก็ไม่เกิน ๗ ชาติ ที่จะทำการซักฟอกมโนธาตุ ซึ่งจะสั้นกว่าพุทธภูมิและปัจเจกภูมิ เนื่องจากการซักฟอกมโนธาตุของสาวกภูมินั้น จำต้องมีผู้สั่งสอน จึงจะสามารถซักฟอกมโนธาตุของตนได้ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่สาวกภูมิจะบรรลุธรรมง่ายและสบายกว่าพุทธภูมิและปัจเจกภูมิ
http://www.212cafe.com/boardvip/view.php?user=hacksecret&id=9

34
ศรีอาริยเมตเตยยโพธิสัตตานุสรณ์



เมื่อได้เห็นหัวข้อเรื่องนี้ ท่านผู้อ่านที่ติดตามหนังสือ "หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม" มานานแล้ว คงจะทราบได้ดีว่า "คณะผู้จัดทำ" มีความประสงค์อย่างไร เพราะคงเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ ท่าน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน ที่ท่านได้วางแผนงานครั้งนี้ไว้ตั้งแต่ก่อนมรณภาพ นั่นก็คือ ... งานพิธีหล่อรูปพระศรีอาริย์ ซึ่งกำหนดมีขึ้นใน วันอาทิตย์ ที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๓๗

สำหรับรายละเอียดที่ท่านกล่าวไว้ใน "บันทึกความจำ" มีใจความตามที่ สมเด็จองค์ปฐม ท่านตรัสไว้ ขอนำมาโดยย่อดังนี้

"...ที่ตรงนั้น ฉันดลใจเธอไม่ให้ปลูกต้นไม้ ฉันต้องการให้สร้าง วิหารพระศรีอาริยเมตไตร เพราะคนจำนวนมากที่มีบารมียังไม่เข้มข้น และคนจำนวนแสน ที่ติดตามพระศรีอาริย์ฯ ทั้งพระศรีอาริย์ฯ ก็ฝากเธอไว้ว่า ให้ช่วยแนะนำให้เข้าใจตามเกณฑ์ ที่เขาเหล่านั้นจะเกิดทันท่าน..." หลวงพ่อเล่าต่อไปว่า

"...ในขณะนั้น ท่านเรียก พระศรีอาริย์ฯ มา พระศรีอาริย์ฯ ท่านมีความต้องการให้คนที่มีความต้องการจะเกิดในสมัยท่าน ได้ฟังเทศน์จบเดียวก็เป็น พระอรหันต์ พระศรีอาริย์ฯ ท่านตรัสว่าคนที่ต้องการไปเกิดในสมัยผม ขอให้ปฎิบัติตามดังนี้ คือ

ข้อปฎิบัติเกิดทันสมัยพระศรีอาริย์ ๓ ประการ

๑) ตั้งใจรักษาศีล ๕ และ กรรมบถ ๑๐ ให้ครบถ้วนเสมอ

ถ้ารักษาครบทุกวันไม่ได้ วันอื่นอาจจะบกพร่องบ้าง ก็ไม่เป็นไร แต่ทุกวันพระต้องรักษาให้ครบ ทั้งศีล ๕ และ กรรมบถ ๑๐

๒) จงหมั่นให้ทาน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ สังฆทาน ถ้าจนมาก มีทรัพย์น้อย ก็จัดอาหารหรือผลไม้ ผลสองผล ถวายพระที่มีตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ก็เป็นสังฆทาน มีอานิสงค์มาก

๓) จงเจริญภาวนาเสมอๆ

ถ้าทำไม่ได้มาก เมื่อศรีษะถึงหมอน ก็ให้ภาวนาเล็กน้อยและหลับไป

เพียงเท่านี้ เขาจะเกิดทันในยุคสมัยผมตรัสเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน จึงถามท่านว่า จะให้หล่อรูปแบบไหน...เป็นรูปเทวดาหรือพระ ท่านบอกว่า เวลานี้ผมเป็นเทวดา ก็หล่อรูปเทวดา อย่าพึ่งหล่อรูปเป็นพระ ถามท่านว่าให้หล่อแบบไหน ท่านก็ยืนตรง มือขวาถือกงจักร มือซ้ายถือพระขรรค์ ใส่ชฎา

ปัญหามีอยู่ว่า ผิวท่านขาวมาก เหมือนพ่นด้วยเงิน และเครื่องแต่งกายท่านเป็นแก้วจะให้ทำอย่างไร ถ้าเอาแก้วติดเหมือนกันดูจะไม่ตรงตามความเป็นจริง เพราะเนื้อท่านไม่เป็นแก้ว ท่านบอกว่า ตอนที่เป็นเนื้อให้เอาแผ่นเงินปิด ตอนที่เป็นเครื่องแต่งกายให้ใข้กระจกเงาใส..." ใจความสำคัญคงมีเพียงแค่นี้ บัดนี้จะขอเริ่มเรื่องปัญหาธรรมะกันต่อไป.

จากหนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม เล่ม ๙


35
พุทธภูมิและพระโพธิสัตว์
โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
(ยกมาจาก"พ่อสอนลูก")



ปรารถนาพุทธภูมินี่เหนื่อย ฉันเคยเป็นพุทธภูมิมาก่อน ฉันรู้ว่าพุทธภูมิสู้ทุกอย่าง งานทุกอย่าง ถ้าลาพุทธภูมิปั๊บอารมณ์ตัด ถ้าตัดก็ไม่ได้ทิ้งงานนะ แต่อารมณ์ต่างกันแต่เสริมขึ้น อารมณ์มุ่งเข้าตัดกิเลสตรง เพราะพุทธภูมิไม่ตัดกิเลส พุทธภูมิทรงฌานมากกว่า หนักไปในเรื่องฌาน พอใช้วิปัสสนาญาณมากเข้าอารมณ์มันเบาลง มันต่างกัน

พระโพธิสัตว์นี่ พระอรหันต์ไม่ยอมนั่งหน้านะถ้ารู้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์จริงๆ ถ้าอารมณ์เข้มปั๊บพระอรหันต์ไม่นั่งหน้า แม้พวกนั้นบวชหนึ่งวัน พระอรหันต์บวช ๑๐๐ วัน เขาไม่นั่งหน้าพระโพธิสัตว์ เขารู้ค่า

คนที่จะเป็นพระพุทธเจ้าได้ต้องปฏิบัติเลยอรหันต์ พระสาวกปกติบำเพ็ญบารมี ๑ อสงไขยกับแสนกัปเท่านั้น พระพุทธเจ้าปัญญาธิกะ ๔ อสงไขยกับแสนกัป ถ้าจิตของเขาถึงปรมัตถบารมี เขาเลยอสงไขยสองอสงไขยมาแล้วต้องเป็นอสงไขยที่ ๔ จึงจะเป็นปรมัตถบารมี

พระโพธิสัตว์เหมือนพวกเรียนวิชาครู เรียนมาเพื่อเป็นครู จะต้องเข้มแข็ง ถ้าไปโดนศรัทธาธิกะ ต้องหวด ๘ อสงไขย ถ้าวิริยาธิกะ ๑๖ อสงไขย

ฉันนี่วิริยาธิกะ ทำงานทุกอย่าง สบายไม่มี สาวกภูมิก็พุ่งจริตอย่างเดียว แต่สาวกภูมิสำหรับพวกฉันนี่ เป็นวิริยาธิกะหมด พวกตามเป็นวิริยาธิกะ เฉพาะลูก ๘๐,๐๐๐ กว่าแล้ว พวกไม่คิด เป็นกองทัพใหญ่เลย ถ้ายกมารวมกันนี่หลายแสน กองทัพนะ ลูกฉันน่ะมีบ้าทุกคน ตีฉิบหายหมด บ้าเหมือนพ่อมัน

เมื่อกี้นั่งคุยกับแม่ศรี อยู่พักหนึ่ง เขาทำภาพเก่าๆคือว่า คนนี้เขาต้องดึงภาพเก่ามาให้เห็นนะเพื่อเป็นการสั่งสอนแนะนำคน โยมท่านพูด บอก

"เออ...ลูกคุณ ลูกกับพ่อก็เหมือนกัน แม่พ่อก็แบบเดียวกัน ลูกก็แบบพ่อกับแม่"

เราก็ไม่รู้ว่าท่านพูดว่ายังไง แม่ศรีก็ทำตาม บอก

"ดูซิ ลูกผู้หญิง ลูกผู้ชายมันบ้าเหมือนพ่อ มันบ้าเหมือนแม่หมด"

พ่อแม่มันชอบรบใช่ไหม พ่อแม่คว้าดาบเข้าไป ลูกจะคว้าอีโต้ได้ไง ก็ไปตามเข้าป่าไป ก็รบกันแหลกมานาน พวกนี้จึงต้องใช้พวกวิริยาธิกะ นี่ต้องผ่านหนักทุกอย่างหมด ไม่มีอะไรเบา งานทุกอย่างเต็มไปด้วยความลำบาก

พวกเราที่นั่งๆอยู่ที่นี่ทั้งหมด ท่านถึงพูดได้ว่าไปหมด เพราะกำลังเลย กำลังนี่เลยแล้ว แต่ว่าจุดใดจุดหนึ่งที่จะเข้าถึงมันยังขาดอยู่นิดเดียวเพราะอารมณ์ไม่ถึง ทุกอย่างมันเลยหมด มันเต็มหมด อย่างพวกเรานี่ขาดอันเดียว คือ ขาดอารมณ์ตัดสิน ทำไมจึงขาดอารมณ์ตัดสิน ขาดเพราะว่าอารมณ์เวลานั้นมันยังไม่ถึง เพราะที่ผ่านมานี่ การรบก็ดี การบริหารก็ดี มันมีกรรมบังอยู่หนุนอยู่ พอถึงจุดนั้นปั๊บตัด ๒ เดือนมันหลุดเลย ง่ายนิดเดียว ฉันรู้แล้วว่ามันง่าย

พระโพธิสัตว์จริงๆ เวลานี้มีเกือบแสนที่เต็มอัตรา เต็มอย่างพระศรีอาริย์น่ะ เต็มคอยคิว นั่งยิ้มอยู่ชั้นดุสิต ปรารถนาพุทธภูมิ ยังไม่พบพระพุทธเจ้าพยากรณ์ ยังไม่ถือว่ามีคติแน่นอน ต้องพบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์น่ะ มีคติแน่นอน ถ้าเป็นปัญญาธิกะ ต้องบำเพ็ญบารมีต่อไป ๔ อสงไขยกับแสนกัป ศรัทธาธิกะ ๘ อสงไขยกับแสนกัป วิริยาธิกะ ๑๖ อสงไขยกับแสนกัป สบายมาก อยากเป็นไหมเป็นสาวกภูมิก็พอแล้ว รีบไปดีกว่า แต่อย่าไปขัดคอกันนะ ถ้าคนที่เขามีวิสัยพุทธภูมิอยู่ก็พูดกันไม่รู้เรื่องเหมือนกัน

ผู้ปรารถนาพุทธภูมิไม่มีความเป็นพระอริยะ มีแต่ฌานโลกีย์เพื่อคุ้มครอง จะเป็นพระพุทธเจ้าต้องพิสูจน์ทุกอย่าง ตั้งแต่อเวจีขึ้นมาต้องรู้หมด

หมายความว่า ถ้าบารมียังต่ำขั้นฌานโลกีย์ ยังคุมไม่ถึงฌานขั้นต้น ฌานก็ไม่มั่นคง ยังมีโอกาสพลาดลงอบายภูมิ ถ้ามีบารมีเป็นอุปบารมี ก็ปลอดบ้างไม่ปลอดบ้าง ถ้าเป็นปรมัตถบารมีนี่ปลอดหมด กว่าจะเลื้อยแต่ละบารมีนี่ โอ้โฮ ฉันลองดูแล้ว

สำหรับท่านที่บำเพ็ญตนปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ ปรารถนาพุทธภูมิ ต้องสร้างกำลังใจให้ถูกต้อง มิฉะนั้นการก้าวเข้าสู่ฐานะพุทธภูมิจะไม่มีผล การปรารถนาพุทธภูมิเป็นของดี แต่จะต้องทำความรู้สึกไว้เสมอว่า เราปฏิบัตินี้เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก เราต้องการซื้อสัตว์ขนสัตว์ที่มีความทุกข์ให้มีความสุข จิตจะต้องคิดอยู่เสมอว่า ทุกข์ของตนไม่มีความหมาย แต่ทุกข์ของชาวประชาทั้งหลายเป็นภาระของเรา เขาทำกำลังใจกันแบบนี้

36


ขั้นต้นโพธิสัตว์

ปฐมโพธิสัตว์ มัชฌิมโพธิสัตว์ ปัจฉิมโพธิสัตว์ ปฐมโพธิกาล มัชฌิมโพธิกาล ปัจฉิมโพธิกาล ปฐมเทศนา มัชฌิมเทศนา ปัจฉิมเทศนา สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา เสด็จออกจากคัพโภทรของพระนางเจ้าสิริมหามายา ณ สวนลุมพินีวัน ระหว่างนครกบิลพัสดุ์กับนครเทวหะต่อกัน

ครั้นประสูติแล้ว ก็ทรงพระเจริญวัยมาโดยลำดับ ครั้นสมควรแก่การศึกษาศิลปวิทยา เพื่อปกครองรักษาบ้านเมืองตามขัตติยประเพณีได้แล้วก็ทรงศึกษาศิลปวิทยา เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษาก็ได้ปกครองบ้านเมืองเสวยราชสมบัติแทนพระเจ้าศิริสุทโธทนมหาราช ผู้พระราชบิดานับว่าได้เป็นใหญ่เป็นราชาแล้ว พระองค์ทรงพระนามว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ก็ต้องทรงคิดอ่านการปกครองรักษาบ้านเมืองและไพร่ฟ้าประชาราษฎรให้ร่มเย็นเป็นสุข ทรงบังคับบัญชาอย่างไร เขาก็ทำตามทุกอย่าง ครั้นทรงพิจารณาหาทางบังคับบัญชาความเกิดแก่เจ็บตายให้เป็นไปตามใจหวังก็เป็นไปไม่ได้ ถึงอย่างนั้นก็มิทำให้ท้อพระทัยในการคิดอ่านหาทางแก้เกิดแก่เจ็บตาย ยิ่งเร้าพระทัยให้คิดอ่านพิจารณายิ่งขึ้น ความคิดอ่านของพระองค์ในตอนนี้เรียกว่าบริกรรม ทรงกำหนดพิจารณาในพระทัยอยู่เสมอ

จนกระทั่งพระสนมทั้งหมดปรากฏให้เห็นเป็นซากอสุภะดุจป่าช้าผีดิบ จตุนิมิต 4 ประการคือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย จึงบันดาลให้พระองค์เกิดเบื่อหน่ายในราชสมบัติ แล้วเสด็จสู่มหาภิเนษกรมณ์บรรพชา ตอนนี้เรียกว่า ปฐมโพธิสัตว์ เป็นสัตว์พิเศษ ผู้จะได้ตรัสรู้ธรรมวิเศษเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเที่ยงแท้ก่อนแต่กาลนี้ไม่นับ นับเอาแต่กาลปัจจุบันทันตาเห็นเท่านั้น ครั้นเมื่อพระองค์เสด็จสู่มหาภิเนษกรมณ์บรรพชา

ณ ฝั่งแม่น้ำอโนมานที ทรงตัดพระเมาฬีด้วยพระขรรค์อธิษฐานบรรพชา อัฏฐบริขารมีมาเองด้วยอำนาจบุญฤทธิ์อิทธิปาฏิหาริย์เป็นผ้าบังสุกุลจีวร เหตุอัศจรรย์อย่างนี้มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ต่อนั้นมาต้องทรงแสวงหา เหล่าปฐมสาวกก็เหมือนกัน อัฏฐบริขารเกิดขึ้นด้วยบุญฤทธิ์เพียงครั้งแรกเท่านั้น ครั้นทรงบรรพชาแล้ว ทรงทำทุกรกิริยาประโยคพยายามพิจารณาอุคคหนิมิตที่ทรงรู้ครั้งแรก แยกออกเป็นส่วนๆ เป็นปฏิภาคนิมิตจนถึงเสด็จประทับนั่ง ณ ควงแห่งมหาโพธิพฤกษ์ ทรงชนะมารและเสนามารเมื่อเวลาพระอาทิตย์อัสดงคตยัง บุพเพนิวาสานุสติญาณ ให้เกิดในปฐมยาม ยัง จุตูปปาตญาณ ให้เกิดในมัชฌิมยาม ทรงตามพิจารณาจิตที่ยังปัจจัยให้สืบต่อที่เรียกว่า ปัจจยาการ

ตอนเวลาก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ตอนนี้เรียกว่า มัชฌิมโพธิสัตว์ ครั้นเมื่อทรงพิจารณาตามเหตุผลเพียงพอสมควรแล้ว จิตของพระองค์หยั่งลงสู่ความสงบถึงฐีติธรรมดำรงอยู่ในความสงบพอสมควรแล้ว ตัดกระแสภวังค์ขาดไป เกิดญาณความรู้ตัดสินขึ้นในขณะนั้นว่า ภพเบื้องหน้าของเราไม่มีอีกแล้ว ดังนี้เรียกว่า อาสวักขยญาณ ประหารเสียซึ่งกิเลสอาสวะทั้งหลายให้ขาดหายไปจากพระขันธสันดาร สรรพปรีชาญานต่างๆ อันสำเร็จมา แต่บุพพวาสนาบารมี ก็มาชุมนุมในขณะจิตอันเดียวนั้นจึงเรียกว่าตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ระยะกาลตอนนี้เรียกว่า ปัจฉิมโพธิสัตว์ ครั้นตรัสรู้แล้ว ทรงเสวยวิมุตติสุข อยู่ในที่ 7 สถาน ตลอดกาล 49 วันแล้วแลทรง

เทศนาสั่งสอนเวไนยนิกร มีพระปัญจวัคคีย์เป็นต้น จึงถึงทรงตั้งพระอัครสาวกทั้ง 2 และแสดงมัชฌิมเทศนา ณ เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์มหานคร จัดเป็นปฐมโพธิกาล ต่อแต่นั้นมา ก็ทรงทรมานสั่งสอนเวไนยนิกรตลอดเวลา 45 พระพรรษา จัดเป็น มัชฌิมโพธิกาล ตั้งแต่เวลาทรงประทับไสยาสน์ ณ พระแท่นมรณมัญจาอาสน์ ณ ระหว่างนางรังทั้งคู่ ในสาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ กรุงกุสินาราราชธานี และทรงแสดงพระปัจฉิมเทศนาแล้วปิดพระโอษฐ์ เสด็จดับขันธปรินิพพานระยะกาลตอนนี้จัดเป็น ปัจฉิมโพธิกาล ด้วยประการฉะนี้

http://www.baanjomyut.com/pratripidok/mon/15.html
อ้างอิง บั้นต้นโพธิสัตว์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

37


ขั้นต้นโพธิสัตว์

ปฐมโพธิสัตว์ มัชฌิมโพธิสัตว์ ปัจฉิมโพธิสัตว์ ปฐมโพธิกาล มัชฌิมโพธิกาล ปัจฉิมโพธิกาล ปฐมเทศนา มัชฌิมเทศนา ปัจฉิมเทศนา สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา เสด็จออกจากคัพโภทรของพระนางเจ้าสิริมหามายา ณ สวนลุมพินีวัน ระหว่างนครกบิลพัสดุ์กับนครเทวหะต่อกัน

ครั้นประสูติแล้ว ก็ทรงพระเจริญวัยมาโดยลำดับ ครั้นสมควรแก่การศึกษาศิลปวิทยา เพื่อปกครองรักษาบ้านเมืองตามขัตติยประเพณีได้แล้วก็ทรงศึกษาศิลปวิทยา เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษาก็ได้ปกครองบ้านเมืองเสวยราชสมบัติแทนพระเจ้าศิริสุทโธทนมหาราช ผู้พระราชบิดานับว่าได้เป็นใหญ่เป็นราชาแล้ว พระองค์ทรงพระนามว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ก็ต้องทรงคิดอ่านการปกครองรักษาบ้านเมืองและไพร่ฟ้าประชาราษฎรให้ร่มเย็นเป็นสุข ทรงบังคับบัญชาอย่างไร เขาก็ทำตามทุกอย่าง ครั้นทรงพิจารณาหาทางบังคับบัญชาความเกิดแก่เจ็บตายให้เป็นไปตามใจหวังก็เป็นไปไม่ได้ ถึงอย่างนั้นก็มิทำให้ท้อพระทัยในการคิดอ่านหาทางแก้เกิดแก่เจ็บตาย ยิ่งเร้าพระทัยให้คิดอ่านพิจารณายิ่งขึ้น ความคิดอ่านของพระองค์ในตอนนี้เรียกว่าบริกรรม ทรงกำหนดพิจารณาในพระทัยอยู่เสมอ

จนกระทั่งพระสนมทั้งหมดปรากฏให้เห็นเป็นซากอสุภะดุจป่าช้าผีดิบ จตุนิมิต 4 ประการคือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย จึงบันดาลให้พระองค์เกิดเบื่อหน่ายในราชสมบัติ แล้วเสด็จสู่มหาภิเนษกรมณ์บรรพชา ตอนนี้เรียกว่า ปฐมโพธิสัตว์ เป็นสัตว์พิเศษ ผู้จะได้ตรัสรู้ธรรมวิเศษเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเที่ยงแท้ก่อนแต่กาลนี้ไม่นับ นับเอาแต่กาลปัจจุบันทันตาเห็นเท่านั้น ครั้นเมื่อพระองค์เสด็จสู่มหาภิเนษกรมณ์บรรพชา

ณ ฝั่งแม่น้ำอโนมานที ทรงตัดพระเมาฬีด้วยพระขรรค์อธิษฐานบรรพชา อัฏฐบริขารมีมาเองด้วยอำนาจบุญฤทธิ์อิทธิปาฏิหาริย์เป็นผ้าบังสุกุลจีวร เหตุอัศจรรย์อย่างนี้มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ต่อนั้นมาต้องทรงแสวงหา เหล่าปฐมสาวกก็เหมือนกัน อัฏฐบริขารเกิดขึ้นด้วยบุญฤทธิ์เพียงครั้งแรกเท่านั้น ครั้นทรงบรรพชาแล้ว ทรงทำทุกรกิริยาประโยคพยายามพิจารณาอุคคหนิมิตที่ทรงรู้ครั้งแรก แยกออกเป็นส่วนๆ เป็นปฏิภาคนิมิตจนถึงเสด็จประทับนั่ง ณ ควงแห่งมหาโพธิพฤกษ์ ทรงชนะมารและเสนามารเมื่อเวลาพระอาทิตย์อัสดงคตยัง บุพเพนิวาสานุสติญาณ ให้เกิดในปฐมยาม ยัง จุตูปปาตญาณ ให้เกิดในมัชฌิมยาม ทรงตามพิจารณาจิตที่ยังปัจจัยให้สืบต่อที่เรียกว่า ปัจจยาการ

ตอนเวลาก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ตอนนี้เรียกว่า มัชฌิมโพธิสัตว์ ครั้นเมื่อทรงพิจารณาตามเหตุผลเพียงพอสมควรแล้ว จิตของพระองค์หยั่งลงสู่ความสงบถึงฐีติธรรมดำรงอยู่ในความสงบพอสมควรแล้ว ตัดกระแสภวังค์ขาดไป เกิดญาณความรู้ตัดสินขึ้นในขณะนั้นว่า ภพเบื้องหน้าของเราไม่มีอีกแล้ว ดังนี้เรียกว่า อาสวักขยญาณ ประหารเสียซึ่งกิเลสอาสวะทั้งหลายให้ขาดหายไปจากพระขันธสันดาร สรรพปรีชาญานต่างๆ อันสำเร็จมา แต่บุพพวาสนาบารมี ก็มาชุมนุมในขณะจิตอันเดียวนั้นจึงเรียกว่าตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ระยะกาลตอนนี้เรียกว่า ปัจฉิมโพธิสัตว์ ครั้นตรัสรู้แล้ว ทรงเสวยวิมุตติสุข อยู่ในที่ 7 สถาน ตลอดกาล 49 วันแล้วแลทรง

เทศนาสั่งสอนเวไนยนิกร มีพระปัญจวัคคีย์เป็นต้น จึงถึงทรงตั้งพระอัครสาวกทั้ง 2 และแสดงมัชฌิมเทศนา ณ เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์มหานคร จัดเป็นปฐมโพธิกาล ต่อแต่นั้นมา ก็ทรงทรมานสั่งสอนเวไนยนิกรตลอดเวลา 45 พระพรรษา จัดเป็น มัชฌิมโพธิกาล ตั้งแต่เวลาทรงประทับไสยาสน์ ณ พระแท่นมรณมัญจาอาสน์ ณ ระหว่างนางรังทั้งคู่ ในสาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ กรุงกุสินาราราชธานี และทรงแสดงพระปัจฉิมเทศนาแล้วปิดพระโอษฐ์ เสด็จดับขันธปรินิพพานระยะกาลตอนนี้จัดเป็น ปัจฉิมโพธิกาล ด้วยประการฉะนี้

อ้างอิง บั้นต้นโพธิสัตว์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

38


กำลังใจผู้ปรารถนาพุทธภูมิ
โดยท่านพระราชพรหมยาน
(คัดลอกบางตอนจากหนังสืออนุสติ หน้า ๑๑๕)

...สำหรับท่านที่บำเพ็ญตนซึ่งปารถนาเป็น พระโพธิสัตว์ ปรารถนาพุทธภูมิ
คนที่ปรารถนาพุทธภูมินี่ ต้องสร้างกำลังใจให้ถูกต้อง มิฉะนั้นการก้าวเข้าสู่ฐานะพุทธภูมิจะไม่มีผล

สำหรับท่านที่ปรารถนาเป็นพุทธภูมิ เป็นของดี แต่ต้องทำความความรู้สึกไว้ว่า
เราปฏิบัตินี้เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก เราต้องการรื้อสัตว์ขนสัตว์ที่มีความทุกข์ให้มีความสุข

ฉะนั้นขณะใดที่กำลังใจปรารถนาพุทธภูมิ จิตต้องคิดเสมอว่า
ทุกข์ของตนไม่มีความหมาย แต่ทุกข์ของชาวประชาทั้งหลายเป็นภาระของเรา เขาทำกำลังใจกันแบบนี้
หมายความว่า
เราจะทุกข์แค่ไหนนั้นมันเป็นเรื่องของเรา ไม่มีความสำคัญ จิตของเรานั้นเราคิดว่า
เราจะพ้นทุกข์ได้เพราะว่า เราช่วยเหลือความสุขแก่บรรดาประชาชนที่มีความทุกข์
ถ้าเราเปลื้องความทุกข์ของเขาได้ เราก็เป็นคนหมดทุกข์ เราสร้างให้เขาเป็นคนมีความสุขได้ เราก็เป็นคนมีความสุข

จิตของพระโพธิสัตว์มีอารมณ์อย่างนี้ แต่ทว่าให้เป็นไปตามบารมี

เพราะว่าบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ถึงแม้จะเป็น การเริ่มต้น แห่งการปรารถนาพุทธภูมิ
กำลังใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตาปราณี ก็จะมีบริษัทมาก จะมีพวกมาก จะมีบริวารมาก
การมีพวกมาก การมีลูกน้องมาก การมีบริวารมาก เป็นการฝึกกำลังใจของนักปฏิบัติเพื่อพุทธภูมิ
เพื่อจะได้ซ้อมกำลังใจของเราว่า เรามีความหนักแน่นเพียงใด ถ้าจิตใจของเรามีความท้อถอย
นั่นหมายความว่ากำลังใจการจะก้าวเข้าไปหาพุทธภูมิยังมีกำลังอ่อนมาก
นักปรารถนาพุทธภูมิจะต้องมีทั้ง ขันติ และก็ โสรัจจะ

๑. ขันติ มีความอดทนต่อความยากลำบากทุกประการ เพื่อความสุขของปวงชน
๒. โสรัจจะ ถึงแม้จะกระทบกระทั่งที่ทำใจให้ตนไม่สบายเพียงใดก็ตาม ก็ทำหน้าแชมชื่นไว้เสมอ

นี่เป็นก้าวแรก สำหรับพุทธภูมิ ท่านผู้ปรารถนาพระโพธิญาณ
แต่ทว่ากำลังใจอีกส่วนหนึ่งที่จะละเว้นไม่ได้นั่นคือ พระนิพพาน
จงอย่าคิดว่า ถ้าจิตเราเกาะพระนิพพานแล้วความเป็นพุทธภูมิจะหายไป
ถ้ามีอารมณ์อย่างนี้ต้องถือว่าเป็นผู้มีกำลังใจต่ำ ก้าวไม่ถึงความสำคัญของพุทธภูมิ

พุทธภูมิ: จะต้องมีความรู้สึกอยู่เสมอว่า เราเป็นผู้ต้องการพระนิพพาน
อารมณ์ใดที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงแนะนำในด้านวิปัสสนาญาณ
ต้องเกาะให้ติด และมีกำลังใจใช้ปัญญาพิจารณาไว้เสมอ เพื่อความสุขของจิต
เพื่อปัญญาเลิศ
นอกจากนั้นแล้วก็มีจิตตั้งไว้เสมอว่า ถ้าหากจิตของเราบริสุทธิ์ผุดผ่องเมื่อไร
เมื่อนั้นบารมีของเรานี้ไซร้จะเข้าเต็มเปี่ยมในขั้นพุทธวิสัย
ชื่อว่าการปรารถนาพระโพธิญาณของเรานี้เข้าถึงแน่ แต่ว่าการจะเข้าพระนิพพานคนเดียวเราไม่เข้า
มองใจเข้าไว้ว่า บุคคลใดที่มีความทุกข์ ในโลกที่ยังมีความฉลาดไม่พอ
บุคคลนั้นเราเองจะเป็นผู้อุ้มเขาไปสู่แดนเอกันตบรมสุข คือ พระนิพพาน

อันนี้เป็นกำลังใจของท่านที่ปรารถนาพระโพธิญาณ...




ที่มาจาก www.3a100.com
ขอขอบคุณภาพจาก www.mthai.com

39


“นะโมพุทธายะ พระพุทธะ ไตรรัตนะญาณ มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา อัคคีทานัง วะรังคันธัง สีวลี จะมหาเถรัง อะหังวันทามิ ทูระโต อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะโส พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ”

“พระคาถามหาจักรพรรดิ” เป็นพระคาถาที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก“ชมพูปติสูตร” ในตอนที่พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตพระองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเพื่อกำราบทิฐิพญา ชมพูบดีพระมหากษัตริย์ผู้มากด้วยอิทธิฤทธิ์ โดยผู้ที่รจนาพระคาถาบทนี้ขึ้นมาก็คือ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ แห่งวัดสะแก จ.อยุธยา พระผู้เป็นดั่งร่มโพธิ์แก้วที่แผ่กิ่งก้านใบบุญบารมีมอบความร่มเย็นเป็นสุข ให้แก่ลูกศิษย์ทั่วทุกชนชั้นอย่างไม่มีประมาณตามแนวทางแห่งพระศรีอาริยเมตไตรย์โพธิสัตว์และหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ซึ่งพระคาถานี้เป็นพระคาถาหลักที่หลวงปู่ดู่ใช้ในการรวมบารมีแผ่เมตตาช่วย เหลือภพภูมิทั้งหลายทั่วสามแดนโลกธาตุ และใช้ในการอธิษฐานจิตปลุกเสกพระเครื่องทุกชนิดของท่าน โดยท่านได้ถ่ายทอดความรู้ทั้งหลาย รวมทั้งพระคาถามหาจักรพรรดินี้ ไว้ให้แก่ลูกศิษย์ผู้เป็นหน่อโพธิ์แก้วต้นใหม่ที่จะทำหน้าที่สร้างความร่ม เย็นเป็นสุขให้แก่ลูกศิษย์ในรุ่นหลังต่อไปก็คือ พระอาจารย์วรงคต วิริยธโร หรือ หลวงตาม้า แห่งวัดถ้ำเมืองนะ นั่นเอง

เคยมีลูกศิษย์ที่ทันสังขารหลวงปู่ดู่ท่านหนึงสนทนากับหลวงปู่ถึงเรื่อง 'คาถามหาจักรพรรดิ' ลูกศิษย์ "หลวงพ่อเป็นผู้แต่งคาถาบูชาพระ คาถามหาจักรพรรดิ ใช่มั้ยครับ"

หลวงปู่ "สำเภาเขาสร้างพระพุทธรูป อยากได้คาถาบูชาพระก็เลยมานึกเอาเอง มันจะผิดอยู่หน่อยหนึ่งตรงคำบูชาที่มี นะโมพุทธายะ แล้วก็ ยะธาพุทโมนะ หรือแกว่าไง" หลวงปู่ท่านถามเป็นนัยๆ

ลูกศิษย์ "ปกติ การตั้งองค์พระ การอธิษฐานให้เป็นพระ โบราณเขาใช้กันว่า นะโมพุทธายะ ยะธาพุทโมนะ ดังการที่หลวงพ่อกล่าวเช่นนี้ต้องการให้บูชาคาถาเกิดเป็นพระพุทธเจ้าปางมหาจักรพรรดิใช่ไหมครับ"

หลวงปู่ดู่ท่านพยักหน้ารับ ทั้งหลวงปู่ดู่ยังกล่าวต่อไปเกี่ยวกับบทบูชาพระที่นิยมนำมาเรียกกันว่าคาถาจักรพรรดิในปัจจุบันนี้อีกว่า

"คาถา บทนี้เป็นของดี หมั่นท่องไว้ทุกวัน ปกติเขาไม่ให้กันหรอกเพราะเขากลัวลูกศิษย์จะดีกว่าอาจารย์ แต่ข้าไม่เคยกลัวและไม่ปิดบัง ท่องให้ดีนะอีกหน่อยจะรวย เพราะมีการกล่าวถึงพระสิวลีผู้เป็นเลิศทางลาภไว้ด้วย อาบไปเสกไปก็ได้ กินข้าวก็ได้ ดีทั้งนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่ข้ามาบอกพวกแก ข้าทดลองมาแล้วทั้งนั้น เมื่อดีแล้วจึงมาบอก ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่ศรัทธาและหมั่นฝึกฝนปฏิบัติ คนเราอยู่ดีๆจะให้รวยได้อย่างไร ต้องปฏิบัติเสียก่อน ดูอย่างข้าเมื่อก่อนต้องไปยืมเงินเขามาซื้อธูปเทียนใบชามาเลี้ยงแขก เดี๋ยวนี้ของกินของใช้มีใช้เกลื่อนกลาดไป เรามาพบไม้งามเมื่อขวานบิ่น แกว่าจริงไหมของดีของอร่อยกินก็ไม่ได้ ฟันไม่มี" หลวงพ่อหัวเราะ และยังเสริมอีกว่า

"คนเราต้องทำให้ดีเมื่อดีแล้วจึงรวย แล้วจะได้ไม่ซวย พระจะดีต้องหมดอยาก ถ้ายังอยากอยู่ก็ไม่ใช่พระดี"

คาถาบูชาพระที่หลวงปู่ดู่ท่านย้ำเอาไว้ให้หมั่นท่องไว้ทุกวันนั้น ต่อมาภายหลังมีลูกศิษย์นำไปสวด แล้วเห็นว่ากายทิพย์ทรงเครื่องเป็นมหาจักรพรรดิ และมีพลังงานขับเคลื่อนเป็นพิเศษทำนองนั้น จึงได้นำมากราบเรียนถามหลวงตาม้าในโอกาสที่หลวงตาลงมา กทม. วันหนึ่ง หลวงตาจึงไขความลับให้ฟังทั่วกันว่า ขณะที่สวดคาถามหาจักรพรรดินั้น ถ้าเทวดาผ่านมาก็จะเห็น แม้แต่ หนู หมา แมว บางครั้งก็สามารถเห็นมิตินี้ได้เช่นกัน

ทุกอย่างที่หลวงปู่ตั้งใจรวบรวมเอาไว้ในพระคาถา ดังที่หลวงตาได้อธิบายเอาไว้ จะมาปรากฏที่กายพลังงานของผู้สวดตลอดเวลาที่กำลังสวด ที่หลวงตาเรียกว่าจิตทำการบันทึกบุญเอาไว้ตลอดเวลา หรือหลังจากสวดแล้ว เจ้าตัวสามารถทรงอารมณ์นั้นเอาไว้ได้ กายพลังงานก็จะมีพลังงานต่างๆในพระคาถาปรากฏอยู่ พลังงานในพระคาถาเป็นอย่างนี้เอง หลวงปู่ดู่จึงได้เน้นย้ำเอาไว้ ให้ลูกหลานหมั่นสวดเป็นประจำ จะกินจะดื่ม จะอาบน้ำก็ดี หรือนึกขึ้นได้เมื่อใดสวดเมื่อนั้น ด้วยเกิดพลังงานบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่มหาศาล

ที่หลวงปู่ไม่ได้แจงรายละเอียด รอเวลาเมื่อสิ่งเหล่านี้ได้มาปรากฏในผู้สวดแล้ว จึงนำมาถามถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนว่าเป็นสิ่งไรกันแน่....เป็นการพิสูจน์คุณวิเศษของพระคาถาที่มีคุณประโยชน์ใหญ่หลวงแก่ผู้ที่สวดช่วยทำให้ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนได้ในที่สุด หลวงปู่ท่านพูดน้อยแต่แฝงเอาไว้ด้วยนัยแห่งคุณประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ . . .

หลวงปู่สร้างพระตลอดมาตั้งแต่สมัยบวชใหม่ ท่านบอกว่า ใจเราจะได้อยู่กับพระ เป็นบุญเป็นกุศลดีกว่าไปทำอย่างอื่น จนมาถึงครั้งสำคัญ ที่ท่านได้วิชามหาจักรพรรดิ คือ ท่านเจ้าคุณใหญ่ มีหนังสือขอมโบราณ หลวงปู่เอามาอ่านตอนที่พระพุทธองค์ปราบท้าวมหาชมพู ซึ่งถือตัวว่าเป็นพระมหาจักรพรรดิมีอำนาจมาก ท่านเล่าให้ฟังว่า "อ่านไปก็ยิ่งมีความปิติ อ่านจนถึงเกือบเที่ยงคืน จนเจ้าคุณใหญ่กลับมาจากงานสวด ตั้งแต่นั้นก็ทำเรื่อยมา ของอะไรก็ตามไม่ใช่ทำวันเดียว ต้องทำหลายครั้งจึงจะได้ ข้าเคยไปสักกับหลวงพ่อแสงที่บางบาล สักแล้วก็เข้าไปขอคาถาท่านว่า "ถ้าไม่กินก็ไม่ต้องทำ" พูดแล้วปิดกุฏิเข้าไปเลยไม่ออกมา เราก็มานั่งตรองดูก็จริงตามที่ท่านว่า คือ คนที่ไม่กินก็ต้องตาย อยู่ในโลกก็ต้องทำงาน พวกแกตอนนี้ต้องอยู่ในโลก เหยียบเรือ ๒ แคมไปก่อน โลกบ้างธรรมบ้าง โลกอย่างเดียวก็ไม่ดี ธรรมอย่างเดียวก็ต้องบวช ค่อยๆ ทำไปเถิด นักศึกษาที่เรียนหนังสือ ถ้าลองทำให้ดี เราเรียนเพื่อตัวเอง เพื่อพ่อแม่ เพื่อประเทศชาติ เราคิดอย่างนี้ก็ได้บุญแล้ว" ท่านพูดถึงที่มาของคาถามหาจักรพรรดิ และยังแถมท้ายเรื่องที่ชวนคิดเป็นธรรมะอีกด้วย



หลวงปู่ดู่ท่านยังกล่าวถึงการใช้บทบูชาพระหรือคาถาพระมหาจักรพรรดิของท่านว่า"ข้าเป็นคนโลภมากทำอะไรก็อยากทำให้มากที่สุด ดีที่สุด เดี๋ยวนี้ใช้แค่บทนี้ทั้งนั้น ใครมานั่งคุมเล่าข้าเสกเขาก็รู้เองแหละว่าทำจริงหรือไม่จริง"

หลวงปู่ดู่ท่านเคยมีลูกศิษย์คนหนึ่งเป็นพระ ต่อมาท่านไม่มาหาหลวงพ่ออีกเนื่องจากหลวงพ่อพูดว่า "ยังไม่ไปนิพพานเพราะต้องโปรดคน" แต่พระองค์นี้ไปตีความไปว่าหลวงพ่อยังติดอยู่กับ ลาภยศ ชื่อเสียง ซึ่งความจริงแล้วหลวงพ่อมีเมตตาและบอกความปราถนาของท่านให้ทราบว่าท่านเป็น พระโพธิสัตว์

สาเหตุอันเนื่องจากการที่บทความนี้กล่าวท้าวความเกี่ยวกับบท ชมพูบดีสูตร หรือบทมหาจักรพรรดิ์ไว้เนื่องจากปัจจุบันขาดผู้สนใจ เห็นเป็นเรื่องเหลวไหล แม้แต่พระบางองค์ท่านยังกล่าวว่าเกินความจริง โดยท่านลืมนึกถึงคำว่า "อจินไตย" คือสิ่งไม่ควรคิดเพราะไม่สามารถนำเหตุผลทางโลกหรือทางทฤษฎีมาทำให้เกิดความ กระจ่างได้ เป็นเรื่องของผู้ปฏิบัติพึงรู้ได้เอง ถ้าคิดมากอาจเป็นบ้า สิ่งเหล่านี้ได้แก่

1. พุทธวิสัย วิสัยของพระพุทธเจ้า เช่น ทำไมท่านถึงตรัสรู้ได้ ท่านมีอิทธิปาฏิหาริย์จริงหรือ
2.วิสัยของกรรม เช่น ทำไมคนนั้นคนนี้รวย จน สมบูรณ์ กำพร้า
3.วิสัยของพระอรหันต์ เช่น ท่านหมดโลภ โกรธ หลงหรือ
4.วิสัยของโลก เช่น โลกเกิดมาได้อย่างไร
5.วิสัยของผู้ปฏิบัติธรรม เช่น ลักษณะที่สงบเป็นอย่างไร สงบจริงหรือไม่

ที่มา เว็บวัดถ้ำเมืองนะ www.watthummuangna.com

40


ในสมัย ต้นปฐมกัป มีพญากาเผือกสองตัวผัวเมีย ทำรังอยู่ที่ต้นมะเดื่อริมฝั่งแม่น้ำคงคาอันเป็นธรรมชาติสถาน รื่นรมย์ ในเวลาต่อมาต่อมา พระโพธิสัตว์ ได้ทรงปฏิสนธิเกิดในครรภ์แม่พญากาเผือก พร้อมกันถึง ๕ พระองค์ เมื่อครบทศมาส แม่กาเผือกก็ออกไข่ ณ ที่รังต้นมะเดื่อ จำนวน ๕ ฟอง (สถานที่นี้ในกาลต่อมาเรียกว่า วัดพระเกิด) และคอยเฝ้า ดูแลรักษาไข่ด้วยความทะนุถนอมเป็นอย่างดี อยู่ มาวันหนึ่งพญากาเผือกออกไปหากินถิ่นแดนไกลไปถึงสถานที่แห่งหนึ่งอันสมบูรณ์ ด้วยธรรมชาติ แม่กาเผือกเพลินหากินอาหาร ชื่นชมกับธรรมชาติจนมืดค่ำ เกิดลมพายุใหญ่พัดกระหน่ำมืดครึ้มทั่วไปหมด ทำให้หาหนทางออก ไม่ถูก จึงหลงอยู่ในบริเวณสถานที่นั้น (สถานที่นั้นในกาลต่อมาเรียกว่า เวียงกาหลง) แม่กาเผือกได้อยู่ที่เวียงกาหลง คืนหนึ่ง จนเช้าจึงรีบถลาบินกลับที่พัก แต่ปรากฏว่ากิ่งไม้มะเดื่อที่ทำรังอยู่ถูกลมพายุใหญ่พัดหักล้มลงไปในแม่น้ำ แม่กาเผือกตกใจรีบบินถลาหาลูกที่ยังอยู่ในไข่ แต่หาเท่าไรก็ไม่พบ ด้วยความเศร้าโศกเสียใจ ในที่สุดก็สิ้นใจตายอย่างน่าสงสาร

แต่ด้วยอานิสงส์ที่มีความเมตตารักลูกอันบริสุทธิ์กับทั้งที่ลูกของแม่กา เผือกเป็นพระโพธิสัตว์ถึง ๕ พระองค์ จึงเป็นกุศลหนุนส่งให้แม่กาเผือกไปจุติยังแดนพรหมโลกชั้นสุทธาวาส ได้พระนามว่า “ฆติกามหาพรหม” จักได้เป็นผู้ถวาย อัฏฐะบริขาร บวชแก่ลูกทั้ง ๕ พระองค์ เมื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนไข่ทั้ง ๕ ถูกลมพัดตกน้ำไหลไปในสถานที่ต่าง ๆ ไข่ฟองที่ ๑ แม่ไก่เก็บไปดูแลรักษา ไข่ฟองที่ ๒ แม่นาคราชเก็บไปดูแลรักษา ไข่ฟองที่ ๓ แม่เต่า เก็บไปดูแลรักษา ไข่ฟองที่ ๔ แม่โคเก็บไปดูแลรักษา ไข่ฟองที่ ๕ แม่ราชสีห์เก็บไปดูแลรักษา

ครั้นในกาลเวลาต่อมา พระโพธิสัตว์ทั้ง ๕ ก็ประสูติออกจากไข่ ปรากฏเป็นมนุษย์บุรุษรูปงานทั้ง ๕ พระองค์ และเจริญเติบโตอยู่กับแม่เลี้ยงด้วยความกตัญญู รู้จักหน้าที่ ทดแทนบุญคุณจนถึงอายุได้ ๑๒ ปี ด้วยบุญกุศลเก่าหนุนส่งก็มีจิตคิดที่จะออกบวชบำเพ็ญเนกขัมมะบารมี เป็นฤาษีอยู่ในป่า จึงได้อำลาแม่เลี้ยงของตนเหมือนกันทั้ง ๕ พระองค์ ฝ่ายแม่เลี้ยงก็ไม่ขัดความประสงค์ อนุญาตให้ลูกไปบวช บำเพ็ญบารมีอยู่ในป่าด้วยความอนุโมทนา

แม่ เลี้ยงทั้ง ๕ เป็นปณิธานที่มุ่งมั่น จะบำเพ็ญบารมีพระโพธิญาณ เพื่อเป็นพระพุทธเจ้าโปรดสัตว์โลกให้พ้นจากกองทุกข์ในวัฏฏะสงสาร จึงฝากนามของแม่เลี้ยงไว้กับลูกเพื่อเป็นอนุสรณ์ตำนานไว้แก่โลกต่อไปในภาค หน้า เมื่อลูกได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าโปรดโลกแล้วตามลำดับพระนามดังต่อไปนี้

องค์ที่ ๑ มีพระนามว่า พระกกุสันโธ เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นไก่

องค์ที่ ๒ มีพระนามว่า พระโกนาคมโน เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นนาค

องค์ที่ ๓ มีพระนามว่า พระกัสสโป เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นเต่า

องค์ที่ ๔ มีพระนามว่า พระโคตโม เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นโค

องค์ที่ ๕ มีพระนามว่า พระศรีอาริยเมตไตรโย เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นราชสีห์

ในกัปนี้ชื่อว่า ภัททกัปเป็นกัปที่เจริญที่สุดเพราะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกนี้ถึง ๕ พระองค์ จึงเป็นที่มาของ คำว่า “นโมพุทธายะ” นะ คือ พระกกุสันโธ โม คือ พระโกนาคมโน พุท คือ พระกัสสโป ธา คือ พระโคตโมยะ คือ พระศรีอาริยเมตไตรโย จนเป็นคาถาที่ใช้สืบต่อกันมา ฝ่าย พระโพธิสัตว์ ทั้ง ๕ เมื่อออกบวชเป็นฤาษีก็ได้บำเพ็ญเพียรพระกัมมัฏฐานจนสำเร็จญาณอภิญญาสมาบัติ อยู่มาวันหนึ่งได้เหาะมาหาอาหารผลไม้ และบำเพ็ญเพียรธรรมที่ป่าดอยสิงกุตตระ ณ ใต้ต้นนิโครธ อันร่มเย็นด้วยกิ่งไม้สาขาใหญ่ ฤาษีทั้ง ๕ ได้มาพบกัน ณ ที่นี้โดยไม่ได้นัดหมาย จึงสอบถามถึงความเป็นมาของกันและกันจนรู้ว่าแต่ละองค์ก็มีแต่แม่เลี้ยง ฤาษีทั้ง ๕ จึงร่วมกันตั้งสัจจะอธิษฐานขอให้ได้พบแม่บังเกิดเกล้า ด้วยอำนาจสัจจะอธิษฐานธรรมอันบริสุทธิ์ดังก้องไปถึงพรหมโลก ท้าวฆติกามหาพรหม ซึ่งเดิมคือ แม่กาเผือก ทราบเหตุการณ์ทั้งหมดจึงจำแลงเพศเป็นรูปเดิม ขนขาวสวยงาม มาปรากฏตัวอยู่ข้างหน้าของฤาษีทั้ง ๕ เมื่อลูกฤาษีได้ทราบเรื่องราวทั้งหมด ก็รู้สึกสลดสังเวชใจและสำนึกบุญคุณอันใหญ่หลวงของแม่กาเผือก จึงน้อมนมัสการผู้เป็นแม่ กราบขอสัญลักษณ์อนุสรณ์ผู้บังเกิดเกล้าไว้บูชา ได้มาเป็นผ้าฝ้ายเป็นตีนกาสัญลักษณ์ของแม่กาเผือกให้แก่ลูกฤาษีทั้ง ๕ ไว้ใช้เป็นไส้ประทีปจุดบูชาทุกวันพระ และต่อมาได้กลายเป็นประเพณีจุดประทีปตีนกาบูชาแม่กาเผือก ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ลอยกระทง เป็นตำนานสืบไว้ตลอดกาลนาน

ฤาษี โพธิสัตว์ทั้ง ๕ ต่างพากันตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรรักษาศีลธรรมภาวนามิได้ขาดจนดับขันธ์ ได้ไปจุติบนเทวโลกชั้นดุสิตพิภพ และในกาลต่อมาก็วนเวียนบำเพ็ญเพียรบารมีทุกภพชาติที่กำเนิดเกิดในสงสารวัฏ นี้ จนบารมีเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ทั้ง 30 ทัศแล้ว ก็ ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ฆติกามหาพรหมผู้เป็นแม่ต้นกัปโลกา ก็จะนำเอาบริขาร คือ บาตรไตรจีวร มาถวายลูกโพธิสัตว์ทั้ง ๕ พระองค์ในชาติสุดท้ายที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าโปรดโลกทุกพระองค์

กาลเวลาอันยาวนานผ่านไปจนถึงปัจจุบัน พระโพธิสัตว์ลูกแม่กาเผือก ก็ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าโปรดโลกไปแล้วถึง ๔ พระองค์ ตามลำดับดังนี้

พระกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอายุ ๔ หมื่นปี มีเขมวตีนนครของพระเจ้าเขมะเป็นราชธานี

พระโกนาคมโนสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอายุ ๓ หมื่นปี มีโสภวตีนนครของพระเจ้าโสภะเป็นราชธานี

พระกัสสโปสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอายุ ๒ หมื่นปี มีพาราณสีนครของพระเจ้ากิงกิเป็นราชธานี

พระโคตโมสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอายุ ๘๐ ปี มีกบิลพัสดุ์นครของพระพุทธเจ้าสุทโธทนะเป็นราชธาน

ส่วน พระโพธิสัตว์องค์ที่ ๕ อันเป็นลูกองค์สุดท้ายของแม่กาเผือก คือ พระศรีอริยเมตไตรย์
จักเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕ ในภัททกัป จะมีอายุถึง ๘ หมื่นปี

41
การปรารถนาโพธิญาณนั้นเป็นเรื่องของผู้ที่มีความต้องการที่จะเป็น พระพุทธเจ้าในอนาคต ต้องขออธิบายให้ทราบกันทั่วหน้าก่อนว่า พระพุทธเจ้าที่อุบัติขึ้นมาบนโลกนี้ มิได้มีเฉพาะพระพุทธโคดม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้เท่านั้น หากแต่ในอดีตกาลล่วงเลยผ่านมาแล้วนั้น ก็ได้บังเกิดพระพุทธเจ้าขึ้นมาแล้วมากมายเหลือคณานับ ผู้อ่านหลายท่านอาจจะไม่เคยได้ยินเรื่องราวเช่นนี้มาก่อน แต่ขอให้ เปิดใจ ทำใจสบายๆ ทำความเข้าใจและศึกษาเรื่องของพระโพธิสัตว์ ยิ่งรู้มากขึ้นก็จะสามารถน้อมนำกำลังพลังงานของพระโพธิสัตว์มาใช้ในชีวิตประจำวันได้สามารถช่วยเหลือเราได้ ทั้งทางโลกและทางธรรม โพธิญาณหรือพระโพธิสัตว์ จะทำงานเป็นหมู่คณะ ทำไมจึงพูดเช่นนั้น เป็นเพราะว่าการสร้างบุญบารมีนั้นหากสร้างคนเดียว อานิสงค์ที่บังเกิดจะมีเพียงส่วนเดียว

สำหรับพระโพธิสัตว์ที่มีกำลังและมากไปด้วยปัญญาจะนำพาหมู่คณะสร้างบุญบารมีกันเป็นจำนวนมากเข้าไว้ เนื่องด้วยการสร้างบุญบารมีเป็นหมู่คณะนั้น กำลังบุญของแต่ละคนมีมากอยู่แล้ว กำลังบุญทั้งหมดทั้งมวลจะรวมกระแสกันเป็นมหาบุญ มหากุศลมีกำลังมาก จึงเป็นเหตุให้เกิดปัจจุบันได้มีการนำพาผู้คนทำบุญเป็นจำนวนมากก็เพราะว่า ในยุคนี้ มีพระโพธิสัตว์ลงมาเกิดกันมากนั้นเอง โพธิญาณจะมีกระแสเกี่ยวเนื่องกัน จะมีการต่อกระแสกันสืบต่อกันไป หน่อโพธิญาณนั้นจะสืบต่อ สอนสั่งแนวทางการสร้างบารมีจากรุ่น สู่รุ่น เสมอ ตราบใดยังมีผู้ปรารถนาโพธิญาณอยู่ ตราบนั้นก็จะมีการสืบต่อกระแสไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด แม้ในยุคนั้นจะไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกก็ตาม พระโพธิสัตว์ก็จักบังเกิดขึ้นเสมอ



ผู้ที่ปรารถนาพระโพธิญาณจงฟังไว้ว่า "โพธิญาณต้องเรียนรู้แนวทางการสร้างบารมีกับโพธิญาณเท่านั้น" ฉะนั้น เมื่อมีโพธิญาณบังเกิดขึ้นในโลก ผู้นั้นได้กระทำตนเป็นผู้มีประโยชน์ ช่วยเหลือเกื้อกูลสรรพสัตว์ทุกรูปนามดีพร้อม มีสรรพวิชาสำหรับใช้ช่วยเหลือผู้คน ก็มักจะมีโพธิญาณที่ลงมาเกิดตามหลัง (จุติทีหลัง) มาสืบต่อสรรพวิชานั้นๆ ไว้เสมอ เพื่อนำไปใช้ช่วยเหลือสรรพสัตว์ในกาลต่อไป และเพื่อป้องกันการสูญหายของสรรพวิชา เราเรียกสิ่งนี้ว่า "การสืบต่อกระแสโพธิสัตว์" แต่ก็มีมากมายหลายสรรพวิชาที่ตกหล่นและสูญหายเนื่องจากการเวลาและไร้ผู้สืบทอดวิชา (นั้นอาจเกิดจาก ไม่มีผู้ที่เหมาะสมในการที่จะสืบต่อสรรพวิชานั้นๆ แต่อย่าไปกังวลเสียดายในสรรพวิชาที่สูญหายตายจากไปพร้อมกับเจ้าของวิชาเลย เพราะที่จริงแล้วสรรพวิชามิได้สูญหายไปไหน เมื่อเจ้าของวิชาตายไปส่วนใหญ่จะจุติเป็นพรหม สรรพวิชาทั้งหลายจึงยังอยู่ที่ พรหม ซะส่วนใหญ่ เมื่อมีวาระพรหมเหล่านั้นแล จัดลงมาสอนสั่งผู้ที่มีกระแสเนื่องกันเพื่อให้นำมาสร้างประโยชน์สืบต่อไป )

โพธิญาณบางท่าน ไม่ได้มีครูบาอาจารย์ที่เป็นมนุษย์ บางท่านจะเรียนรู้สรรพวิชาในการสร้างบารมีจาก เทพ พรหม ที่มีกระแสเกี่ยวเนื่องกับตัวท่านเองมากก่อน ก็เป็นได้ ผู้ปรารถนาโพธิญาณไม่ต้องกังวลใจว่าเราจะไม่มีครูบาอาจารย์นะ หากตอนนี้เรารู้ตัวเองว่าเรานั้นเป็นผู้ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ต้องการรื้อขนสรรพสัตว์ออกจากกองกิเลสทั้งปวง ต้องการให้ทุกรูปนามพบทางแห่งการกับทุกข์ ถึงซึ่งนิพพานเป็นที่สุด แต่เราไม่มีวิชาอะไรเลยที่จะมาช่วยเหลือสรรพสัตว์เหล่านี้ได้ ก็ขอให้วางจิต วางใจให้เป็นสมาธิ ใจสบาย กายสบาย ระลึกถึงพระรัตนตรัย คุณพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ คุณพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ คุณพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ คุณพระธรรม คุณพระอริยะสงฆ์ทั้งหมดทั้งมวล ตั้งแต่ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตั้งสัจจะอธิษฐานดังต่อไปนี้

"ลูกขออาราธนาคุณครูบาอาจารย์ เหล่าหมู่คณะของข้าพเจ้า ทุกรูปนาม ผู้มีกำลังทั้งหลาย เทพ พรหมทั้งหลาย โปรดจงมาชี้แนะ หนทาง โปรดจงมาสั่งสอนสรรพวิชาแก่ข้าพเจ้า เพื่อให้สามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ชาวโลก ช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ ทั้งกายใจได้ ให้เค้าเหล่านั้นอยู่ในโลกได้อย่างเป็นปกติสุข ให้เค้าได้รู้จักหนทางที่ถูกต้อง เป้าหมายที่ถูกที่ควรไป ให้รู้จักพระนิพพาน ให้ยึดพระรัตนตรัยเป็นสรณะเป็นที่พึ่งที่ระลึก เรียนรู้ที่จะตาย เตรียมตัวตายให้เป็น ตายแล้วสามารถเลือกที่จะไปได้ เตรียมตัวตายก่อนที่จะตาย ขอผู้ทรงคุณทั้งหมดทั้งมวลโปรดจงลงมาสอนสรรพวิชานี้ให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด พุทธังสัจจาณังอธิษฐานมิ ธัมมังสัจจาณังอธิษฐานมิ สังฆังสัจจาณังอธิษฐานมิ"

อธิษฐานตามนี้ทุกวัน หลังจากที่เราสวดมนต์ไหว้พระและปฏิบัติกรรมฐานเสร็จเรียบร้อยแล้วไม่นานก็จักได้รับรู้ถึงสรรพวิชาสมดังใจหมายทุกประการ โพธิญาณจะมีพระแก้วรวมบารมีประจำองค์ เรื่องพระแก้วประจำองค์พระพุทธเจ้านั้นผมเคยได้เขียนไว้ในโลกทิพย์ ฉบับก่อนๆ ไปแล้ว จะขออธิบายโดยใจความสั้นๆ ว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ จะมีพระแก้วประจำพระองค์ พระโพธิญาณก็เช่นกัน จะมีพระแก้วประจำองค์เหมือนกัน หากแต่ว่าความสมบูรณ์ขององค์พระ จะแตกต่างกันออกไปตามกำลังบุญบารมีที่ได้สร้างได้ทำมา เช่น พระโพธิญาณที่บารมีเต็มแล้ว ก็จะมีพระแก้วประจำองค์สมบูรณ์เต็มองค์ ตั้งแต่ฐานขึ้นมาจนถึงยอดพระเกตุขององค์พระ ส่วนสีของพระแก้วนั้นก็จะแตกต่างกันไปตามจริตชอบของพระโพธิญาณแต่ละพระองค์ ในกรณีกลับกันพระโพธิญาณที่สร้างบารมีมาได้ระดับหนึ่งแล้ว แต่ยังมีบารมีไม่เต็ม รูปลักษณ์ของพระแก้วแดงก็จะเป็นแบบไม่เต็มองค์ องค์พระจะสมบูรณ์จากฐานองค์พระขึ้นมาแต่ไม่เต็มองค์ สีของพระแก้วนั้นก็จะเป็นไปตามจริตชอบของพระโพธิญาณท่านนั้นแล จะยกตัวอย่างพระแก้วประจำองค์ของพระพุทธเจ้าในภัทรกัปป์นี้

๑. พระกกุสันธพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์ เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า เมื่อสมัย เป็นพระโพธิสัตว์ หลังจากนั้น ๘ อสงไขยแสนกัป ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ ๓๗,๐๒๔ พระองค์ เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย ๔๐,๐๐๐ พรรษา พระสรีระสูง ๔๐ ศอก หรือ ๒๐ เมตร บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย ๑๐ เดือน พุทธรังสีสร้านไปไกล ๑๐ โยชน์ (๑๖๐กิโลเมตร) พระแก้วประจำองค์ พระแก้วขาว หน้าตักกว้าง ๒๐ วา
๒. พระโกนาคมพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น ๘ อสงไขยแสนกัป ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ ๓๗,๐๒๔ พระองค์ เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย ๓๐,๐๐๐พรรษา พระสรีระสูง ๓๐ ศอก หรือ ๑๕ เมตร บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย ๑ เดือน พุทธรังสีสร้านไปไกล ตามแต่พระประสงค์ พระแก้วประจำองค์
พระแก้วเหลือง หน้าตักกว้าง ๑๕ วา
๓. พระกัสสปพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น
๘ อสงไขยแสนกัป ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ ๓๗,๐๒๔ พระองค์ เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย ๒๐,๐๐๐พรรษา พระสรีระสูง ๒๐ ศอก หรือ ๑๐ เมตร บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย ๗ วัน พุทธรังสีสร้านไปไกล ตามแต่พระประสงค์ พระแก้วประจำองค์ พระแก้วน้ำเงิน หน้าตักกว้าง ๑๐ วา
๔. พระศากยมุนีโคดมพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น ๔ องไขยแสนกัป ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีก ๒๔ พระองค์ ซึ่งน้อยมาก เป็นปัญญาพุทธเจ้า อายุไขย ๘๐ พรรษา พระสรีระสูง ๔ ศอก หรือ ๒ เมตร บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย ๖ ปี พุทธรังสี สร้านไปข้างละ ๑ วา เป็นปกติ พระแก้วประจำองค์ พระแก้วเขียว(เขียวมรกต) หน้าตักกว้าง ๕ วา
๕. พระอริยเมตตรัยพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น ๑๖ อสงไขยแสนกัป ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ ๔๗๗,๐๒๙ พระองค์ เป็นวิริยะพุทธเจ้า อายุไขย ๘๐,๐๐๐พรรษา พระสรีระสูง ๘๐ ศอก หรือ ๔๐ เมตร บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย ๗ วัน พุทธรังสีสร้านไปไกล ยังกำหนดไม่ได้ พระแก้วประจำองค์ พระแก้วแดง และทรงเครื่องบรมมหาจักรพรรดิ หน้าตักกว้าง ๒๐ วา

ดังที่กล่าวไปแล้วว่า พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะมีพระแก้วประจำพระองค์ และจะเริ่มมีพระแก้วประจำพระองค์ตั้งแต่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ จะปรากฏชัดขึ้นตามความเข้มข้นของบารมีที่สร้างไว้ ในยุคพระอริยเมตตรัยพุทธเจ้า ก็จะมีพระแก้วแดงทำจากทับทิมแดง ปัจจุบันนี้ประดิษฐานเตรียมไว้แล้ว ณ ภูมิทิพย์บาดาล มีพญานาคสองตนเฝ้าอยู่ ซึ่งซ้อนอยู่กับ สถานที่แห่งหนึ่ง (ถ้ำใหญ่ วัดถ้ำเมืองนะ)และพระแก้วแดงจะปรากฏออกมา เมื่อถึงยุคพระศรี พระแก้วคู่บารมีของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันก็คือพระแก้วสีเขียว (ยุคปัจจุบันนี้เราบูชาพระแก้วมรกต แทนพระแก้วประจำองค์พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ที่รวมบารมีทั้งหมดเข้าสู่พระนิพพานไปแล้ว) ส่วนพระแก้วคู่บารมีของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆเป็นพุทธนิมิตอยู่ที่พระนิพพานคู่วิมานพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์

ผมจะขอคัดเอาข้อความบางตอนจากหนังสือกายสิทธิ์ เขียนโดยอาจารย์ศุภรัตน์ แสงจันทร์ ผู้เป็นศิษย์ฆราวาส ของหลวงปู่ดู่อีกท่านหนึ่งที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มาให้ทุกท่านได้รับทราบถึงคำสอนของหลวงปู่ดู่ที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ ในภัทรกัปป์นี้ วันหนึ่งหลวงปู่ดู่ได้เล่าถึงการปฏิบัติครั้งคุมสมาธิศิษย์



“ยกใจความมาตอนหนึ่งว่า วันหนึ่งหลวงพ่อได้เล่าถึงการปฏิบัติ โดยท่านเป็นผู้บอกว่า “เมื่อไปถึงวิมานแก้วได้แล้ว เป็นวิมานแก้วของพระพุทธเจ้าก็เหมือนกุฏิของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ก็มีวิมานพระธรรม อยู่ไปทางขวามือของพระพุทธเจ้ามีตู้พระไตรปิฎกอยู่หลายตู้ เขียนเป็นภาษาบาลีอักษรขอม ถ้าอยากรู้แปลว่าอะไรให้ถามหลวงปู่ทวด ซ้ายมือเป็นวิมานของพระสงฆ์ มีพระสงฆ์อยู่พระพุทธเจ้าเป็นประธาน แกเดินจิตให้ดีจากวิมานแก้วจะไปถึงพระพุทธรูป ๔ องค์ของกัปป์นี้ มีลักษณะหน้าตักกว้างไม่เท่ากันตามบารมี องค์แรกเป็นของพระกกุสันโธมีหน้าตักกว้าง ๒๐ วา องค์ที่สองพระโกนาคม หน้าตัก ๑๕ วา องค์ที่สาม ของพระกัสสปหน้าตัก ๑๐ วา องค์ที่สี่ หน้าตัก ๕ วา ถ้าเป็นพระศรีอริย์องค์ที่ห้า ยังไม่ปรากฏถ้าอธิษฐาน ขอดูจะพบว่ามีหน้าตักเท่ากับองค์แรก เพราะท่านสร้างบารมีมาถึง ๑๖ อสงไขยกับแสนมหากัปป์ "

จะเห็นว่า หลวงปู่ดู่ท่านมิได้ปฏิเสธการมีอยู่ของพระพุทธเจ้าในอดีต ท่านรับรองการมีอยู่จริงของพระแก้วประจำองค์ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ สมเด็จองค์ปฐมฯ พระพุทธเจ้าพระองค์แรกที่อุบัติขึ้นมาบนพื้นพิภพนี้ มีพระแก้วประจำองค์สีขาว หลวงตาม้าผู้เป็นอาจารย์ของผม มีพระแก้วประจำองค์สีชมพู ส่วนตัวผมมีพระแก้วประจำองค์สีส้ม พระโพธิญาณทุกท่านจะมีพระแก้วประจำตนของแต่ละบุคคล ขอให้เพียรสร้างบารมีเอาไว้ให้มากๆ เถิด พระแก้วประจำตนของทุกท่านจะมีรูปลักษณ์ที่สมบูรณ์และมีบารมีมากขึ้นตามลำดับ ก่อนจากกันขอทิ้งท้ายไว้ว่า ตนพึงเป็นที่พึ่งแห่งตนก็จริงแล แต่การสร้างบุญบารมีเป็นหมู่คณะนั้นก็มีความสำคัญมากเช่นเดียวกัน การสร้างบุญต้องใช้ปัญญาบารมีมาประกอบ กำลังบุญที่ร่วมกันทำเป็นหมู่คณะนั้น จักช่วยให้พระโพธิญาณสำเร็จสมดังจิตตั้งประสงค์โดยความรวดเร็วกว่าที่จะเพียรสร้างบารมีด้วยตัวคนเดียว จำเอาไว้ว่า ผู้มีกำลังและปัญญาญาณจะสร้างบารมีเป็นหมู่คณะ พระโพธิญาณจะทำบุญเป็นกลุ่ม เป็นก้อน เป็นหมู่คณะ เป็นเครือข่ายโยงใยสัมพันธ์กันหมดนะ ไม่ธรรมดาเลยนะเรื่องของพระโพธิสัตว์เชื่อมต่อถึงกันหมด ท่านรู้จักกันหมดเพราะสร้างบารมีมาด้วยกันทั้งนั้น จึงขอบอกว่าพระโพธิญาณรุ่นใหญ่เค้าถึงกันหมด เพราะได้ร่วมสร้างบุญบารมีมาด้วยกันเป็นเวลานานแสนนานนับชาติไม่ถ้วนแล้ว ก็เห็นจะมีแต่พระโพธิญาณที่เพิ่งเริ่มตั้งจิตปรารถนาเท่านั้นแล ที่เพียรสร้างบารมีด้วยกำลังของตนเองตามเหตุปัจจัยที่เอื้อแก่การสร้างบุญบารมี(ฉายเดี่ยว) ที่อยากจะบอกก็คือ

ให้พากันหาพรรคพวกเพื่อสร้างบุญบารมี ให้พากันมีหมู่คณะสร้างบุญกุศลกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน ดังคำที่ว่า

“สามัคคีคือพลัง เป็นพลังเหนือพลัง จริงแท้แน่นอน”

เอวังก็มีประการชะนี้แล.

42


พระพุทธเจ้าคือผู้ที่เป็นศาสดาเอกในพุทธศาสนา แบ่งพระพุทธเจ้าออกเป็น 3 ประเภท
1.ปัญญาพุทธเจ้าคือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ
ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 20 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 7 อสงไขย
หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 9 อสงไขย รวมเป็น 16 อสงไขย และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์
ได้รับพุทธพยากรณ์ ครั้งแรกเหลืออีก 4 อสงไขยกับเศษแสนมหากัปเป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย
และได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้าจนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน
2. ศรัทธาพุทธเจ้าคือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 40 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
คือปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 14 อสงไขย หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 18 อสงไขยรวมเป็น 32
อสงไขย และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกเหลืออีก 8 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อยและได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน
3. วิริยะพุทธเจ้าคือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้วิริยะเป็นตัวนำระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 80 อสงไขยกับเศษแสนมหากับล์
คือปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 28 อสงไขย หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 36 อสงไขยรวมเป็น 64
อสงไขย และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกเหลืออีก 16 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อยและได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน
ซึ่งพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ มีพระนามว่า พระศรีศากยมนีโคดมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างบารมีมาทางปัญญาพุทธเจ้า
พระโพธิสัตว์คือบุคคลที่ปรารถนาเพื่อจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.พระโพธิสัตว์ที่ยังไม่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาเลยเรียกว่าอนิยตะโพธิสัตว์ความหมายคือยังไม่แน่นอนว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าเพราะอาจจะเลิกล้มความปรารถนาเมื่อไรก็ได้
2.พระโพธิสัตว์ที่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาแล้วเรียกว่านิยตะโพธิสัตว์
ตามความหมายคือจะได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นนอนเพราะถ้าถึงนิพพานต้องดำรงค์ฐานะเป็นพระพุทธเจ้าอย่างเดียว
แต่ถ้าบารมีและเวลายังไม่สมบูรณ์แม้ว่าจะพยายามปฏิบัติอย่างยิ่งยวดบังเกิดปัญญาอย่างเยียมยอดก็ไม่สามารถถึงนิพพานก่อนได้
แม้จะทุกข์ท้อแท้ จนคิดว่าเลิกที่จะเป็นพระพุทธเจ้าแล้วแต่แล้วในที่สุดมหากุศลที่เป็นอนุสัย
ก็จะพุ่งกระจายขึ้นมาให้ตั้งมั่นและบำเพ็ญบารมีกันต่อจนกว่าบารมีและเวลาสมบูรณ์>>
จากบทความข้างบน ผู้อ่านคงได้อ่านคำว่า อสงไขย และ กัป มาแล้ว ผู้เขียนจะอธิบายสั้นๆให้ทราบดังนี้
- กัปเป็นหน่วยวัดเวลา ในเชิงประมาณ คือทุกๆ โลก ทุกๆ จักรวาลที่อยู่ในอาณาบริเวณพุทธเขต บังเกิดขึ้นมาหนึ่งครั้ง และตั้งอยู่ เเละดับไปสลายไป1 ครั้งเรียกว่า 1 กัป
- อสงไขย เป็นหน่วยวัดเวลาที่มากกว่ากัป คือจำนวณกัป ที่นับไม่ถ้วน เท่ากับ 1 อสงไขย
*** ตามที่เคยคำนวณมา 1 อสงไขย เท่ากับ จำนวน กัป ที่เอาเลข 1 ตามด้วยเลข 0 ถึง 140 ตัว
- ต่อไปคำว่าสูญกัปหมายถึงกัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น

สำหรับพระโพธิสัตว์ ที่ยังเป็น อนิยตะโพธิสัตว์ ที่สร้างบารมีสมบูรณ์แล้วจะได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกต่อพระพักตร์พุทธเจ้า ต้องมีธรรมสโมธาน 8 ประการสมบูรณ์ จึงได้รับพุทธพยากรณ์โดยนัยว่า จะได้ตรัสรู้เป็นองค์พระพุทธเจ้า ทรงนามว่าอย่างนั้น ในกัปอันเป็นอนาคตที่เท่านั้น ก็กลายเป็น นิยตะโพธิสตว์ ทันที คือเป็นพระโพธิสัตว์ที่เที่ยงแท้
ธรรมสโมธาน 8 ประการคือ
1. ได้เกิดเป็นมนุษย์
2. เป็นบุรุษเพศ ไม่เป็นกระเทย
3. มีอุปนิสสัยปัจจัยแห่งพระอรหันต์รุ่งเรืองอยู่ในขันธสันดาน(ถ้าเกิดเปลียนใจก็จะเป็นพระอรหันต์ทันที)
4. ต้องพบพระพุทธเจ้าขณะมีพระชนชีพอยู่ และได้สร้างกองบุญกุศลต่อพระพักตร์
5. ต้องเป็นบรรพชิต หรือต้องเป็น โยคีฤาษี ดาบส หรือปริพาชก ที่มีลัทธิเชื่อว่าบุญมี บาปมีทำบุญได้บุญ ทำบาปได้บาป ต้องไม่เป็นคฤหัสผู้ครองเรือน
6. ต้องมีอภิญญาและฌานสมาบัติ อันเชี่ยวชาญ
7. เคยให้ชีวิตของตนเป็นทาน เพื่อสัมโพธิญาณมาก่อนในอดีดชาติ
8. ต้องมี ฉันทะ คือมีความรักความพอใจในพุทธภูมิเป็นกำลัง>>



กล่าวถึงพุทธภูมิธรรมของนิยตะโพธิสัตว์ในการเพิ่มพูนบารมีให้มากยิ่งขึ้น มีน้ำใจประกอบไปด้วย พุทธภูมิธรรม 4 ประการคือ
1. อุสสาโหคือประกอบไปด้วยพระอุตสาหะ มีความเพียรอันสลักติดแน่นในจิตใจอย่างมั่นคง
2. อุมัตโตคือประกอบด้วยปัญญามีปัญญาเชียวชาญเฉียบคม
3. อวัตถานังคือมีพระทัยอธิษฐานอันมั่นคง มิได้หวั่นไหวคลอนแคลน
4. หิตจริยาคือประกอบไปด้วยพระเมตตา เจรีญจิตอยู่ด้วยพรหมวิหารเป็นปกติ>>
อัธยาศัย ที่ทำให้พระโพธิญานของนิยตะโพธิสัตว์แก่กล้ายิ่งขึ้นมี 6 ประการ
1. เนกขัมพอใจในการรักษาศีล การบวช หรือบรรพชา
2. วิเวกพอใจอยู่ในที่สงบ
3. อโลภพอใจในการบริจาคทาน
4. อโทสพอใจในความไม่โกรธ เจริญเมตตา
5. อโมหพอใจในการพิจารณาคุณและโทษ เจริญปัญญา
6. นิพพานพอใจที่ยกตนออกจากภพ ไม่ยินดีในการเวียนว่ายตายเกิด ประสงค์นิพพานเป็นอย่างยิ่ง
[b-wai]


บารมี 30 ทัส
กล่าวถึงบารมี 10 ทัสก่อน มี ดังนี้
1. ทานบารมีคือการให้ทาน ทำบุญ บริจาคทรัพย์ หรือสิ่งของ หรือบริจาค สัตว์ 2 เท้า หรือ 4 เท้า หรือไม่มีเท้า
2. ศีลบารมีคือาการรักษาศีล 5 ศีล 8 หรือศีล 227 ข้อ
3. เนกขัมบารมีคือการออกบวช เป็นพระ หรือเป็นฤาษี เป็นโยคี เป็นพราหมณ์ คือเป็นผู้ไม่ครองเรื่อนถือศีล 8 ขึ้นไป
4. ปัญญาบารมีคือสร้างเสริมความรู้ ความสามารถ และปัญญาทางธรรมมะให้เพิ่มขึ้น
5. วิริยะบารมีคือมีความขยันหมั่นเพียร กระทำสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ ทั้งในทางธรรมะจนกระทั้งสำเร็จ
6. ขันติบารมีคือมีความอดทนต่ออารมณ์อันไม่พอใจ ต่องานการ ต่อการปฏิบัติธรรม และต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่อำนวย
7. สัจจะบารมีคือการพูดความจริง ที่ประกอบไปด้วยความดี ตามกาล และทำตามที่กล่าวไว้
8. อธิษฐานบารมีคือตังจิตอธิษฐานเมื่อสร้างบุญกุศล ในสิ่งที่ปารถนาที่เป็นคุณงามความดี
9. เมตตาบารมีคือมีใจเมตตาต่อสัตว์ทั้งหลายเสมอเหมือนกัน
10. อุเบกขาบารมีคือมีใจเป็นอุเบกขาต่อความสุข ความทุกข์ ที่เกิดขึ้น
บารมี ทั้ง 10 สามารถแตกเป็น 3 ระดับ คือ
1. บารมีธรรมดาทั่วไป
2. อุปบารมีบารมีอย่างกลางแลกด้วย ปัจจัยภายนอกจนหมดสิ้น
3. ปรมัตถบารมีบารมีอย่างยิ่งแลกด้วยชีวิต
เมื่อแบ่งเป็น 3 ระดับ ก็จะกลายเป็นบารมี 30 ทัส>>


อานิสงส์ บารมี 30 ทัส ของพระนิยตะโพธิสัตว์
พระนิยตะโพธิสัตว์เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจะมีอานิสงส์ 18 อย่าง ตลอดจนได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่
1. เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมไม่เกิดเป็นคนมีจักษุบอดมาแต่กำเนิด
2. ไม่เป็นหูหนวกแต่กำเนิด
3. ไม่เป็นคนบ้า
4. ไม่เป็นคนใบ้
5. ไม่เป็นคนง่อยเปลี้ย
6. ไม่เกิดในมิลักขประเทศคือประเทศป่าเถื่อน
7. ไม่เกิดในท้องนางทาสี (แต่เกิดในฐานะคนจันทาลได้ ดัง พระโพธิสัตว์ มาตังคะฤาษีท่านเป็นบุตรคนจันทาล แต่ไม่ได้เป็นนางทาสี)
8. ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฐิ
9. ไม่เป็นสตรีเพศ
10. ไม่ทำอนันตริยกรรม
11. ไม่เป็นโรคเรื้อน
12 เมื่อเกิดเป็นสัตว์เดียรฉาน มีกายไม่เล็กกว่านกกระจาบ และ ไม่ใหญ่ไปกว่าช้าง
13. ไม่เกิดใน ขุปปิปาสิกเปรต นิชฌานตัณหิกเปรต และกาลกัญจิกาสุรกาย
14. ไม่เกิดในอเวจีนรก และโลกันตนรก
15. ไม่เกิดเป็นเทวดาใน กามาพจรสวรรค์ ไม่เกิดเป็นเทวดาที่นับเข้าในเทวดาพวกหมู่มาร
16. เมื่อเกิดเป็นรูปพรหม จะไม่เกิดใน ปัญจสุทธวาสพรหมโลก(พรหมชั้นอนาคามี) และอสัญญสัตตาภูมิพรหม( มีแต่รูปอย่างเดียว)
17. ไม่เกิดในอรูปพรหมโลก
18. ไม่เกิดในจักรวาลอื่น>>
อานิสงส์พิเศษอีกอย่างหนึ่งของนิยตโพธิสัตว์ คือ การทำอธิมุตตกาลกริยาคือเมื่อท่านเกิดเป็นเทวดาหรือพระพรหม เกิดความเบื่อหน่าย ในการเสวายสุขนั้นปรารถนาที่จะสร้างบารมีในโลกมนุษย์ ท่านก็สามารถทำการอธิมุตตคืออธิษฐานให้จุติ(ตายจากการเป็นเทพ)มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ทันทีได้โดยง่ายซึ่งเหล่าเทพเทวดาอื่นๆ ไม่สามารถทำอย่างนี้ได้

43

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อ.อุทัย จ.อยุธยา


 
หลวงปู่ดู่เทศน์สอนคณะศิษย์วัดท่าซุงผู้ได้มโนมยิทธิ

 


ขอคัดลอกเทปที่หลวงปู่ดู่ที่ท่านเคยเทศน์สอนคณะศิษย์วัดท่าซุงที่ได้มโนมยิทธิ ซึ่งได้เดินทางไปกราบหลวงปู่ดู่ ตามคำสั่งหลวงพ่อฤาษีฯ หลวงปู่ดู่ท่านเทศน์ว่า...............(ถอดจากเทปที่บันทึกไว้กลางปี 2530)

 

หลวงปู่.....เอ้า คณะนี้มาจากไหน (แล้วหลวงปู่ท่านก็เงียบ) อ๋อเด็กฝาก



คณะมโนมยิทธิ...หลวงพ่อ(ฤาษี) ท่านให้มากราบเจ้าค่ะ หลวงปู่รู้จักไหมเจ้าคะ
[/SIZE]
 


 


หลวงปู่ดู่...รู้จัก



คณะมโนมยิทธิ....หลวงปู่เจ้าคะดิฉันฝึกมโนขึ้นไปกราบพระข้างบนดีไหมเจ้าคะ
 

[/SIZE]
หลวงปู่ดู่.....การไปกราบพระ พบพระนั้นเป็นของดี ให้หมั่นรักษาองค์พระ(ภาพพระ)เข้าไว้ พระท่านจะสอน ท่านจะบอกวิธีการปฏิบัติ เราก็นำมาประพฤติปฏิบัติตามด้วยความตั้งใจ เคร่งครัด แต่ถ้าพบพระแล้ว ท่านสอนแล้วไ ม่นำมาประพฤติปฏิบัติ หรือปฏิบัติจนพบพระแล้วไม่สามารถทำให้อารมณ์ชั่วทั้ง ๓ คือ โลภ โกรธ หลง มันเบาบางหลง อย่างนี้ยังใช้ไม่ได้ ถือว่าปฏิบัติผิดทาง คนที่มัวแต่เอาสิ่งที่ตนเองได้ (ญาณ) ไปดูนั้นดูนี่ ทำนายทายทัก ไม่นานอุปทานก็เข้าแทนที่ ทีนี้แทนที่มันจะไปสุคติภูมิ มันก็ไปอบายภูมิแทน เหตุจากการแอบอ้าง คำสอนของพระ เพราะอารมณ์อุปาทานนั้นเอง จงระวังไว้ ท่านมหาวีระ ท่านมีบารมีสูง มีข้างบนเป็นกำลังหนุน เป็นอาจารย์ใหญ่สอนคนได้จำนวนมาก ข้าขอโมทนา พวกแกเกิดมาพบพระอรหันต์ที่มีบารมีสูง อย่าให้เสียทีที่ได้พบ เอาสิ่งที่ตนปฏิบัติบัติได้(ญาณ)มาอบรมตนเอง อย่าเที่ยวไปทำนายทายทักชาวบ้าน ข้ออันนั้นเห็นจะไม่ใช่จุดประสงค์ แม้ลูกศิษย์ อยู่ใกล้ข้าแท้ๆ ยังเฝือได้ แล้วถ้าพวกแกยังประมาท ระวังนรกจะกินหัวเอา....




 

คณะมโนมยิทธิ...เราจะรู้ได้ยังไงเจ้าคะ ว่าเวลาเราขึ้นไปกราบนั้น เราเห็นจริงๆ



หลวงปู่....แกลองใช้อารมณ์นั้น(ญาณ) ตรวจสิ่งที่มองไม่เห็น แต่สิ่งนั้นยังมีอยู่สิ เช่น แกลองตรวจดูว่าในกระเป๋าของเพื่อนที่มาด้วยกันมีเงินอยู่เท่าไหร่ ถ้าแกตอบถูก อารมณ์ที่แกขึ้นไปกราบพระ แกก็เห็นจริง แต่ถ้าแกตอบไม่ถูก พระที่แกเห็นก็ไม่จริง...
[/SIZE]
 


 


คณะมโนมยิทธิ....เราถามเทวดาเลยได้ไหมเจ้าค่ะ



หลวงปู่....เอ้า เงินในกระเป๋านี้มันเป็นของหยาบ แกยังมองไม่เห็นเลย นับประสาอะไรกับเทวดา แกจะไปมองเห็นล่ะ กายเทวดาละเอียดกว่ากันเยอะ



คณะมโนมยิทธิ...ต้องตรวจอารมณ์เช่นนี้ก่อนใช่ไหมค่ะ
[/SIZE]



 


หลวงปู่ดู่...ใช้ ข้าก็ให้ลูกศิษย์ตรวจอารมณ์อย่างนี้ก่อนแล้วค่อยขึ้นไปกราบพระ ถ้าตรวจแล้วไม่ตรงก็ต้องหัดวางอารมณ์ใหม่ ไม่นานก็ตรง คราวต่อไป ไม่ต้องกำหนด เขาจะรู้เลยว่าอะไรซ่อนอยู่ตรงไหน .....(หลวงปู่เงียบสักพัก) (แล้วท่านก็พูดขึ้นว่า) พระมหาวีระยังสอนให้แกหัดทำเวลาตอนเช้ามืด ให้ลองตรวจว่า เช้าวันนี้จะมีใครมาหาไหม เขาจะมาทำอะไร ใส่เสื้อสีอะไร ใช่ไหมล่ะ



คณะมโนมยิทธิ....หลวงปู่รู้ได้ยังไงเจ้าคะ
[/SIZE]
 


 

หลวงปู่ดู่...ก็พระมหาวีระบอกข้า อยู่ข้างๆนี่แหละ บอกว่า..พวกแกมันลิงทะโมน ต้องจับไปมัด เฆี่ยนแล้วสอน (เสียงหลวงปู่หัวเราะ แล้วพูดว่า)ต่อไปให้รีบตั้งใจปฏิบัติ อย่าสนใจคนอื่น สนใจจิตตัวเองให้มากๆ รักษาจิตตนเองให้ดี รักษาองค์พระ(ภาพพระ)ไว้อย่าให้หาย ชำระใจให้ปราศจากความโลภ โกรธ หลง มันก็ถึงเองแหละนิพพาน ไม่ใช่ปากก็บอกจะไปนิพพาน แต่ไม่ชำระโลภ โกรธ หลงให้ขาดไป อธิษฐานยังไงมันก็ไม่ถึงนะแก นิพพานเข้าไม่ได้ด้วยการอธิษฐาน แต่ต้องอาศัยการปฏิบัติ ซึ่งจุดสำคัญคือการละอารมณ์ โลภ โกรธ หลง


ละได้เมื่อไหร่ถึงทันที ละไม่ได้มันจะถึงแค่หัวตะพาน....
[/COLOR][/SIZE]
 

คณะมโนมยิทธิ...สาธุเจ้าค่ะ หลวงปู่



หลวงปู่ดู่ ...ให้พร...............
[/SIZE]
 

(นี่คือส่วนหนึ่งของคำสอนหลวงปู่ดู่ท่าน)


 

44
นางบาป

และแล้ววันอันตื่นเต้นที่สุดก็มาถึง มันเป็นประดุจวันติดสินความคงอยู่หรือความดับสูญแห่งพระพุทธศาสนา ถ้าเรื่องของนางจิญจมาณวิกาเป็นเรื่องจริง ก็เป็นความดับสูญแห่งพระพุทธศาสนา ถ้าเรื่องของนางจิญจมาณวิกาเป็นเรื่องเท็จ ก็เป็นนิมิตว่าพระพุทธศาสนาจะรุ่งโรจน์ต่อไป ทั้งนี้ก็เสมือนคนโง่นำมูลค้างคาวไปสาดต้นข้าว ด้วยเจตนาที่จะให้ต้นข้าวตาย แต่บังเอิญมูลค้างคาวเป็นปุ๋ยอย่างดีของต้นข้าว ยิ่งทำให้ต้นข้าวเจริญงอกงามเขียวสดยิ่งขึ้น


วันนั้นพระคตาคตเจ้าประทับแสดงธรรมอยู่ ณ ธรรมสภา สง่าปานดวงจันทร์ในท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆหมอก ขณะที่พุทธบริษัทกำลังทอดกระแสจิตไปตามพระธรรมเทศนาอยู่นั่นเอง นางจิญจมาณวิกาก็ปรากฏกายขึ้นท่ามกลางพุทธบริษัท นางยืนท้าวสะเอวด้วยมือข้างหนึ่ง ส่วนอีกข้างหนึ่งชี้พระพักตร์พระตถาคตเจ้าด้วยอาการเกรี้ยวกราด

"แสดงธรรมไพเราะจริงนะ พระโคดม! เสียงของท่านกังวานซึ้งจับใจของมหาชน ฟันของท่านเรียบสนิท วาจาที่เปล่งออกล้วนแต่ให้คนทั้งหลายสละโลกียวิสัย แต่ตัวพระสมณโคดมเองเล่าสละได้หรือเปล่า บทบาทแสดงธรรมช่างทำได้ไพเราะหวานชื่นไม่แพ้บทประโลมนางในห้องนอน"

พระตถาคตเจ้าหยุดแสดงธรรม พุทธบริษัทเงียบกริบ บรรยากาศรอบๆ ช่างวิเวกวังเวงเสียสุดประมาณ ต้นไม้ทุกต้นในวัดเชตวันยืนต้นนิ่งเหมือนไม้ตายซาก

"ช่างดีแต่จะอภิรมณ์" นางจิญจมาณวิกาพล่ามต่อไป "พระโคดมหันมาดูข้าพเจ้าให้ชัดเจนซิ ท้องของข้าพเจ้าบัดนี้ ๙ เดือนเศษแล้ว ตั้งแต่ตั้งท้องมาจะห่วงใยสักนิดหนึ่งก็มิได้มี ตอนแรกๆ เมื่อเริ่มอภิรมย์ ช่างสรรมาเล่าแต่คำหวานให้เพลินใจ แต่พอท้องแก่แล้วจะจัดหาหมอหายาเพื่อลูกของตนเองสักนิดหนึ่งก็มิได้มี เมื่อไม่ทำเองจะมอบภาระให้สานุศิษย์ผู้ศรัทธา เช่นนางวิสาขาหรืออนาถปิณฑิกะหรือพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้ ช่วยจัดเรือนคลอดและสวัสดิภาพอื่นๆ มิใช่เพียงแต่เพื่อคนที่ตนเคยพร่ำว่ารักเท่านั้น แต่เพื่อเด็กอันเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของตนด้วย" ว่าจบลงนางกวาดสายตาไปทั่ว

"ดูก่อนน้องหญิง" พระตถาคตเจ้าตรัสด้วยพระสุรเสียงกังวานซึ้งอย่างเดิม "เรื่องนี้เราสองคนเท่านั้นที่รู้กันว่า จริงหรือไม่จริง"

พระจอมมุนีตรัสเพียงเท่านี้แล้วทรงดุษณีอยู่ แต่พระดำรัสสั้นๆ กินความลึกซึ้งนี่เองพุ่งเข้าเสียบความรู้สึกของนางอย่างรุนแรง เสมือนผู้ถูกยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษโดยไม่รู้สึกตัวนางสะดุ้งอย่างแรง มือเท้าและปากเริ่มสั่นอยู่ครู่หนึ่ง พอรวบรวมสติให้มั่นคงดังเดิม แล้วนางก็โต้ตอบออกมาทันทีว่า

"แน่ละซิ พระโคดม! ก็ในพระคันธกุฎีอันมิดชิดนั้นใครเล่าจะไปร่วมรู้เห็นด้วย นอกจากเราสองคน ช่างพูดได้อย่างไม่สะทกสะท้านเทียวนะว่าเราสองคนเท่านั้นรู้กัน" นางพูดไปเต้นไปด้วยอารมณ์โกรธอันค่อยๆ พลุ่งขึ้นมาทีละน้อย

"แน่นอนทีเดียวน้องหญิง! ตถาคตขอยืนยันคำนั้น"

"ดูก่อนภราดา! จะเป็นด้วยเหตุบังเอิญ หรือเป็นเพราะวิบากแห่งกรรมอันสุกรอบของนาง ก็สุดจะอนุมานได้ เมื่อนางร้องด่าพระตถาคตไปและเต้นไป เชือกซึ่งนางใช้ผูกท่อนไม้ ซึ่งพันด้วยผ้าเก่าบางๆ ก็ขาดลงเรื่องทั้งหลายก็แจ่มแจ้ง การมีท้องของนางปรากฏแก่ตามหาชนอย่างชัดเจนยิ่งกว่าคำบอกเล่าใดๆ ทั้งหมด นางได้คลอดบุตรคือท่อนไม้และผ้าเก่าๆ แล้ว ท่ามกลางมหาชนนั่นเอง คนทั้งหลายตะลึงพรึงเพริด แต่มีแววแห่งปีติปราโมชอย่างชัดเจน นางจิญจมาณวิกาตกใจสุดขีด หน้าซีดเผือกเหมือนคนตาย ประชาชนได้เห็นเหตุการณ์ประจักษ์ตาเช่นนั้น ต่างก็โล่งใจที่พระตถาคตเจ้าเป็นผู้บริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง แล้วอารมณ์ใหม่ก็พลุ่งขึ้นในดวงใจแทบจะทุกดวง นั่นคือความเคียดแค้นชิงชังนางจิญจมาณวิกา ต่างก็สาบแช่งให้นางประสบทุกข์สมแก่กรรมชั่วร้ายของตน บางคนถือท่อนไม้และก้อนดินขับไล่ออกไปจากวัดเชตวัน ต่อมานางได้สิ้นชีพลงด้วยอาการที่น่าพึงสังเวช อนิจจา! เรือนร่างที่สวยงามแต่ห่อหุ้มใจที่โสมมไว้ ย่อมทำให้เจ้าของเรือนร่างใช้เป็นเครื่องมือประหารตนเองอย่างไม่มีใครช่วยได้

ลาภสักการะของเดียรถีย์ทั้งหลายเสื่อมลง และเกิดขึ้นแก่พระทศพลเจ้ามากหลาย
วันต่อมาภิกษุสงฆ์ได้ประชุมกัน ณ ธรรมสภา กล่าวกถาว่าด้วยเรื่องนางจญจมาณวิกา พระตถาคตเจ้าเสด็จมาทรงทราบแล้วจึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายบุคคลเมื่อยังไม่พิจารณา หรือยังไม่เห็นโทษของผู้อื่นโดยชัดเจนแล้วก็ไม่พึงลงโทษผู้ใด อนึ่งบุคคลผู้ละคำสัตย์เสียแล้ว และชอบพูดแต่มุสา ไม่สนใจในเรื่องปรโลก จะไม่ทำบาปนั้นเป็นอันไม่มี"

ดูก่อนภราดา! เหตุการณ์เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ยิ่งที่เกิดขึ้นแก่พระพุทธองค์ เป็นเรื่องที่รู้กันแพร่หลายในหมู่ชนทุกชั้น ผู้เฒ่าผู้แก่พยายามสั่งสอนลูกหลานว่า อย่าเอาอย่างนางจิญจมาณวิกา และผูกเป็นคำพังเพยว่า "อย่าปาอุจจระขึ้นฟ้า"

ดูก่อนผู้แสวงสันติวรบท! ก็พระตถาคตเจ้าเคยตรัสไว้เสมอไม่ใช่หรือว่า "คนที่เกิดมาแล้วทุกคนมีขวานติดปากมาด้วยสำหรับให้คนพาลผู้ชอบพูดชั่วๆ ไว้ฟาดฟันเชือดเฉือนตัวเอง อนึ่งผู้ใดติเตียนคนที่ควรสรรเสริญหรือสรรเสริญคนที่ควรติเตียน ผู้นั้นชื่อว่าแส่หาโทษใส่ตัวเพราะปากเขาย่อมหาความสุขไม่ได้เพราะโทษนั้น การแพ้การพนันสิ้นทรัพย์หมดเนื้อหมดตัว ยังถือว่าโทษน้อยเมื่อนำไปเทียบกับการทำใจให้คิดประทุษร้ายในพระสุคต การกล่าวใส่ร้ายพระพุทธเจ้านี้ แลมีโทษมากอย่างยิ่ง

"ผู้ประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้บริสุทธิ์ไม่มีกิเลส ย่อมได้รับบาปเองเหมือนคนปาผงธุลีขึ้นฟ้าหรือปาธุลีทวนลม"

"ผู้โลภจัด ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ ไม่เคยใสใจในคำของร้องวิงวอนของผู้ทุกข์ยาก ชอบส่อเสียดมักจะชอบด่าผู้อื่นเสมอๆ"

เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นบทเรียนดีพอ สำหรับผู้ปองร้ายต่อพระพุทธเจ้า และพระพุทธศาสนา เรื่องใส่ร้ายป้ายสีต่างๆ จึงเงียบไปหลายปี ต่อมามีเรื่องเกิดขึ้นอีก คราวนี้เกี่ยวกับการฆาตกรรม พวกเดียรถีย์ตามเคย จ้างนักเลงสุราให้ฆ่าหญิงคนหนึ่งชื่อสุนทรี แล้วนำไปหมกไว้ที่กองดอกไม้แห้งใกล้พระคันธกุฎีของพระผู้มีพระภาค แล้วทำทีเป็นเที่ยวโฆษณาว่านางสุนทรีหายไป ไม่ทราบหายไปไหน มีการค้นหากันมาก ในที่สุดก็มาพบที่ใกล้พระคันธกุฎี คราวนี้พวกเดียรถีย์ผู้ริษยาก็เที่ยวโฆษณาต่อมหาชนว่า พระผู้มีพระภาคร่วมหลับนอนกับนางสุนทรี แล้วฆ่านางเสียเพื่อปิดปาก แต่ในที่สุดเจ้าหน้าที่ตำรวจของพระเจ้าปเสนทิโกศลก็จับผู้ร้ายฆ่านางสุนทรีได้ในร้านสุราแห่งหนึ่ง เพราะพวกนั้นเมาสุราแล้วทะเลาะกันเอง และกล่าวถึงเรื่องที่ตนตีนางสุนทรีกี่ครั้งๆ

___________________________________________

นางบุญ

ภราดา! ข้าพเจ้ากล่าวถึงเรื่องของนางวิสาขาค้างอยู่ จึงขอย้อนพรรณนาถึงมหาอุบาสิกาผู้มีอุปการะมากต่อพระศาสนาอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อนางกำลังเตรียมสร้างอารามนั่นเอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะเสด็จสู่ภัททิยนคร ดังนั้นวันหนึ่งเมื่อเสวยที่บ้านของท่านอนถปิณฑิกะแล้วก็บ่ายพระพักตร์ไปทางทิศอุดร ข้าพเจ้าขอแจ้งรายละเอียดในเรื่องนี้เล็กน้อย คือตามปกติพระศาสดาเมื่อเสวยที่บ้านของนางวิสาขาเสร็จแล้ว จะเสด็จออกจากประตูทักษิณและเสด็จสู่วัดเชตวัน ถ้ารับภิกขาที่บ้านของท่านอนาถปิณฑิกะ เมื่อเสด็จแล้วจะเสด็จออกทางประตูทิศตะวันออก และประทับ ณ ปุพพารามของนางวิสาขา แต่ถ้าคราวใดที่พระพุทธองค์เสวยที่บ้านของอนาถปิณฑิกะแล้วเสด็จออกทางประตูทิศอุดร ก็เป็นที่ทราบกันว่าพระองค์ทรงประสงค์จะเสด็จจาริกในที่อื่นๆ ซึ่งนานๆ จะมีสักครั้งหนึ่ง

คราวนี้เมื่อนางวิสาขาทราบว่า พระพุทธองค์เสวยพระกระยาหารที่บ้านของอนาถปิณฑิกะแล้วเสด็จออกทางประตูทิศอุดร จึงรีบไปเฝ้าโดยเร็ว ถวายบังคมแล้วทูลว่า "พระองค์จะเสด็จจาริกไปที่อื่นหรือพระเจ้าข้า" เมื่อพระศาสดาทรงรับแล้วจึงกราบทูลอีกว่า "พระองค์ผู้เจริญ! ข้าพระองค์สละทรัพย์มากหลาย เพื่อสร้างอารามถวายพระองค์ ขอพระองค์เสด็จกลับก่อนเถิดพระเจ้าข้า อย่าเพิ่งเสด็จไปเลย"

"ดูก่อนวิสาขา! อย่าเลย อย่าให้ตถาคตกลับเลย ให้ตถาคตทำกิจของพระพุทธเจ้าโดยบริบูรณ์เถิด"

นางวิสาขาดำริว่า พระพุทธองค์น่าจะทรงมีเหตุพิเศษเป็นแน่แท้ จึงกราบทูลว่า
"พระองค์ผู้เจริญ! ถ้าอย่างนั้นขอพระองค์รับสั่งให้ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ผู้รู้กิจที่ควรทำและไม่ควรทำกลับเถิด พระเจ้าข้า"

"ดูก่อนวิสาขา! เธอพอใจภิกษุรูปใด ขอให้เธอนิมนต์รูปนั้นไว้เถิด"
นางวิสาขาคิดว่า ก็พระมหาโมคคัลลานะเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ถ้าอาราธนาท่านอยู่จะสามารถให้การสร้างอารามสำเร็จโดยเร็ว จึงได้อาราธนาพระมหาโมคคัลลานะกลับ พระมหาเถระมองดูพระศาสดาเป็นเชิงทูลปรึกษาและฟังพุทธบัญชา พระศาสดาจึงทรงอนุญาตให้พระเถระพร้อมด้วยบริวารกลับ

ในความอำนวยการของพระอัครสาวกเบื้องซ้าย ปราสาทสองชั้นสำเร็จไปโดยรวดเร็วมีทั้งหมด ๑,๐๐๐ ห้อง คือชั้นล่าง ๕๐๐ ห้อง และชั้นบนอีก ๕๐๐ ห้อง พระศาสดาเสด็จจาริกไป ๙ เดือนจึงเสด็จกลับ การก่อสร้างปราสาทก็สำเร็จในเวลา ๙ เดือนเช่นกัน

นางได้อาราธนาพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ประทับอยู่ ณ ปราสาทนั้นเป็นเวลา ๔ เดือน เพื่อทำการฉลองปราสาท เมื่อพระตถาคตเจ้ารับแล้วนางก็เตรียมการถวายอาหาร เครื่องอุปโภคอื่นๆ แด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธองค์เป็นประมุข

ครั้งนั้นมีสตรีผู้เป็นสหายของนางวิสาขาคนหนึ่งนำผ้าซึ่งมีค่าถึง ๑,๐๐๐ บาท เพื่อจะปูพื้นปราสาท จึงบอกนางวิสาขาว่า "สหาย! ข้าพเจ้านำผ้ามาผืนหนึ่ง ท่านจะให้ปู ณ ที่ใด" นางวิสาขาตอบว่า "สหาย! ถ้าข้าพเจ้าจะตอบว่าไม่มีสถานที่จะให้ปู ท่านก็จะเข้าใจว่าข้าพเจ้าไม่ปรารถนาจะให้ท่านร่วมกุศล เพราะฉะนั้นขอให้ท่านดูเอาเองเถิด เห็นสมควรปูลง ณ ที่ใดก็ปูลง ณ ที่นั้น "

นางเดินสำรวจทั่วปราสาทก็มองไม่เห็นที่ใดที่จะปูด้วยผ้ามีราคาน้อยกว่า ๑,๐๐๐ บาทเลย นางรู้สึกเสียใจที่ไม่ได้ส่วนแห่งบุญในปราสาทนั้น จึงไปยืนร้องไห้อยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง
ข้าพเจ้าเดินไปพบเธอเข้าโดยบังเอิญ เมื่อไต่ถามทราบความแล้ว ข้าพเจ้าจึงแนะให้นางปูลาดผ้านั้นลงพร้อมด้วยปลอบโยนว่า

"น้องหญิง! ผู้ซึ่งปูที่เชิงบันไดนี้ ย่อมอำนวยผลมากมีอานิสงส์ไพศาล เพราะภิกษุทั้งหลายเมื่อล้างเท้าแล้ว ย่อมเช็ดเท้าด้วยผ้าซึ่งอยู่ตรงนี้แล้วเข้าไปข้างใน"
นางดีใจอย่างเหลือล้นที่สามารถหาที่ปูลาดผ้าให้นางได้สมปรารถนา ได้ยินว่านางวิสาขาลืมกำหนดที่ตรงนั้นไป

นางวิสาขาได้ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอดเวลา ๔ เดือน ในวันสุดท้ายได้ถวายจีวรเนื้อดีมีราคามาก เฉพาะจีวรที่ถวายแก่พระซึ่งอ่อนพรรษาที่สุดก็มีราคาถึง ๑,๐๐๐ บาท ในสมัยเมื่อพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ ไม่มีสตรีใดทำบุญเกิน หรือแม้แต่เพียงเท่านางวิสาขาเลย

ในวันที่ฉลองปราสาทเสร็จนั่นเอง เวลาบ่ายนางวิสาขาผู้อันบุตรและหลานแวดล้อมแล้ว เดินเวียนรอบปราสาท เปล่งถ้อยคำออกมาด้วยความเบิกบานใจว่า

- บัดนี้ความปรารถนาของเราที่จะถวายวิหารทานเป็นปราสาทใหม่มีเครื่องฉาบทาอย่างดีสำเร็จแล้ว

- บัดนี้ความปรารถนาของเราที่จะถวายเสนาสนภัณฑ์ มีเตียงตั่งและหมอนเป็นต้น สำเร็จบริบูรณ์แล้ว

- บัดนี้ความปรารถนาของเราที่จะถวายจีวรทานด้วยผ้าที่ทำจากแคว้นกาสี ผ้าเปลือกไม้และผ้าป้ายเป็นต้น สำเร็จบริบูรณ์แล้ว

- บัดนี้ความปรารถนาของเราที่จะถวายเภสัชทาน มีเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น ก็สำเร็จบริบูรณ์แล้ว

ภิกษุทั้งหลายได้ฟังเสียงของนาง แล้วกราบทูลพระศาสดาว่า
"พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เคยได้ยินหรือได้เห็นนางวิสาขาขับร้องเลย มาวันนี้นางพร้อมด้วยบุตรและหลานเดินเวียนปราสาทขับร้องอยู่ ดีของนางจะกำเริบหรือนางเป็นบ้าประการใด"

พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย! ธิดาของเราหาได้ขับร้องไม่ แต่เพราะอัธยาศัยในการที่จะบริจาคของนางเต็มบริบูรณ์แล้ว จึงเปล่งอุทานด้วยความเบิกบานใจ" พระธรรมราชาผู้ฉลาดในการแสดงธรรมเพื่อจะทรงแสดงธรรมให้พิศดารออกไป จึงตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย! วิสาขา ธิดาของเราน้อมจิตไปเพื่อทำกุศลต่างๆ เมื่อทำได้สำเร็จสมความปรารถนาก็ย่อมบันเทิงเบิกบาน ปานประหนึ่งนายมาลาการผู้ฉลาดรวบรวมดอกไม้นานาพันธุ์ไว้ แล้วร้อยเป็นพวงมาลัยให้สวยงามฉะนั้น"

แล้วพระจอมมุนีทรงย้ำอีกว่า

"นายมาลาการผู้ฉลาดย่อมทำพวงดอกไม้เป็นอันมากจากกองดอกไม้ที่เก็บรวบรวมไว้ฉันใด สัตว์ผู้เกิดมาแล้วและจะต้องตาย ก็พึงสั่งสมบุญกุศลไว้ให้มากฉันนั้น
"อาวุโส! บุคคลผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์ และสมบูรณ์ด้วยศรัทธานั้นค่อนข้างจะหาได้ยาก ผู้มีศรัทธามักจะมีทรัพย์น้อย ส่วนผู้มีทรัพย์มากมักจะขาดแคลนศรัทธา อุปมาเหมือนนายช่างผู้ฉลาดแต่ขาดดอกไม้ ส่วนผู้มีดอกไม้มากมูล แต่ก็ขาดความสามารถในการจัดเสียอีก ส่วนนางวิสาขาพรั่งพร้อมสมบูรณ์ทั้งศรัทธาและทรัพย์ เธอจึงมีทั้งทรัพย์ภายนอกและทรัพย์ภายในบริบูรณ์"

วันหนึ่งนางวิสาขาได้อาราธนาพระภิกษุสงฆ์ไว้เพื่อรับภัตตาหารที่บ้านของนาง เมื่อถึงเวลาแล้วนางจึงให้หญิงคนใช้ไปนิมนต์พระ แต่หญิงคนใช้มารายงานว่าในวัดเชตวันไม่มีพระสงฆ์อยู่เลย มีแต่นัคคบรรพชิต (นักบวชเปลือย) ทั้งสิ้นกำลังอาบน้ำฝนอยู่ วันนั้นฝนตกหนักมาก

เวลานั้นพระศาสดายังมิได้ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามพระเปลือยกายอาบน้ำ เมื่อฝนตกใหญ่ภิกษุทั้งหลายก็ดีใจกันใหญ่ และเปลือยกายอาบน้ำกันเกลื่อนเชตวนาราม หญิงคนใช้ไม่รู้จึงเข้าใจว่า ภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นนักบวชเปลือยสาวกของนิครนถ์นาฏบุตร (พระในศาสนาเชน - ผู้เขียน)

นางวิสาขาเป็นผู้ฉลาด เมื่อได้ฟังดันนั้นก็เข้าใจเรื่องโดยตลอด จึงให้คนรับใช้ไปนิมนต์ภิกษุอีกครั้งหนึ่ง นางกลับไปครั้งนี้ภิกษุได้อาบน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้วและครองจีวรแล้ว คนรับใช้จึงเห็นภิกษุอยู่เต็มเชตวนารามและอาราธนาว่าถึงเวลาภัตกิจแล้ว

วันนั้นเองนางวิสาขาปรารภเรื่องนี้ ทูลขอพรพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เมื่อถึงฤดูฝนเข้าพรรษานางขอถวายฝ้าอาบน้ำฝนแด่พระภิกษุทั้งหลายเพื่อใช้อาบน้ำ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ถวายได้ ประชาชนทั้งหลายพากันเอาอย่างประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝนจึงมีมาจนกระทั่งหลังพุทธปรินิพพาน

ดูก่อนอาวุโส! ผู้ฉลาดย่อมหาโอกาสทำความดีได้เสมอ พุทธบริษัทในรุ่งหลังเป็นหนี้ความดีของนางวิสาขา ฐานะเป็นผู้ริเริ่มสิ่งที่ดีงามไว้ให้คนทั้งหลายถือเป็นเยี่ยงอย่างดำเนินตามมากหลายด้วยประการฉะนี้

เมื่อพระอานนท์กล่าวจบลงเห็นพระกัมโพชะยังคงนั่งนิ่งอยู่ ท่านจึงกล่าวต่อไปว่า "ภราดา! เรื่องพุทธจริยาและบุคคลผู้เกี่ยวข้องอันน่าสนใจนั้นมีมากหลายเหลือที่จะพรรณนาให้หมดในครั้งเดียวได้ ข้าพเจ้ารู้สึกว่าเท่าที่นำมาเล่าแด่ผู้มีอายุก็พอสมควรแล้ว ท่านยังมีโอกาสที่จะรับทราบและศึกษาในโอกาสต่อไปอีก อนึ่งเวลานี้ก็เย็นมากแล้ว ท่านและข้าพเจ้ายังมิได้สรงน้ำชำระกายให้สะอาด เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ทิฏฐธรรมสุขวิหาร และพิจารณาธรรมตลอดปฐมยามแห่งราตรี"

พระกัมโพชะลุกขึ้นนั่งกระโหย่ง ประณมมือเปล่งวาจาสาธุสามครั้งแล้วกล่าวว่า
"ข้าแต่พระพุทธอนุชา! เป็นลาภอันประเสริฐแห่งโสตรของข้าพเจ้าที่ได้ฟังพุทธจริยาจากท่านผู้เป็นเสมือนองค์แทนแห่งพระศาสดา ข้าพเจ้าขอจารึกพระคุณคือความกรุณาของท่านไว้ด้วยความเคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง" แล้วพระกัมโพชะก็กราบลง ณ บาทมูลแห่งพระอานนท์ด้วยเบญจางคประดิษฐ์

45
"...พุทธานุสสติกรรมฐาน การยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัทสามารถทรงกำลังใจได้ ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าด้วยความจริงใจ ความจริงการยอมรับนับถือนี่ต้องปฏิบัติตามกันนะ ข้อนี้บรรดาท่านทั้งหลายผู้รับฟัง จงอย่าลืม การใช้คำว่า เคารพและนับถือ แต่ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำซึ่งกันและกัน เขาถือว่าโกหกกัน อย่างนี้ฟังง่ายดี..."

ต่อไปนี้ขอบรรดาท่านทั้งหลาย จงพยายามรวบรวมกำลังใจให้เป็นสมาธิ คำว่า สมาธิ คือ รวบรวมกำลังใจให้อยู่ในจิตที่เป็นกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่า สัมมาสมาธิ สมาธิแบ่งออกเป็น ๒ ประการด้วยกันคือ
สัมมาสมาธิอย่างหนึ่ง
มิจฉาสมาธิอย่างหนึ่ง
สมาธิถ้าพูดกันตามภาษาไทย ก็เรียกว่าการตั้งใจไว้หรือว่าการทรงอารมณ์ไว้ ตั้งใจไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง คิดไว้อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ อย่างนี้เรียกว่า สมาธิ
ถ้าหากว่าเราคิดในสิ่งที่ชั่วเป็นการประทุษร้ายตนเองและบุคคลอื่น ให้ได้รับความลำบาก อย่างนี้เรียกว่า มิจฉาสมาธิ คิดให้จิตของเรามีความสุขเป็นไปในทำนองคลองธรรม อย่างนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ อารมณ์จะตั้งอยู่อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม ถ้าทรงอยู่ในอารมณ์นั้น จะน้อยหรือใช้เวลาได้มากก็ตาม หรือว่าน้อยก็ตาม ก็เรียกว่า สมาธิ
ในส่วนของสัมมาสมาธินี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแยกไว้ถึง ๔๐ ประการ เราก็ได้เคยพูดถึงอานาปานุสสติกรรมฐานมาแล้ว
สำหรับวันนี้จะพูดถึง พุทธานุสสติกรรมฐาน พอเป็นที่เข้าใจของท่านบรรดาโดยย่อ
คำว่า พุทธานุสสติ หมายถึง การนึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ การที่คิดถึงคุณของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะเราก็พรรณนากันไม่จบ ใคร่ครวญกันไม่จบ
ตามพระบาลีท่านมีอยู่ว่า ถึงแม้ว่าจะปรากฏ มีพระพุทธเจ้าขึ้นมา ๒ องค์ นั่งถามกันตอบกันถึงความดีของพระพุทธเจ้าที่ทรงอุบัติขึ้นมาแล้วในโลก แม้แต่สิ้นเวลา ๑ กัป ก็ไม่จบความดีของพระพุทธเจ้าได้
ฉะนั้น ท่านโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า
"พุทโธ อัปปมาโณ คุณของพระพุทธเจ้านี่หาประมาณมิได้"
ในเมื่อคุณของพระพุทธเจ้าหาประมาณไม่ได้ เราพิจารณาไม่จบ เราจะพิจารณาว่ายังไงกันดี โบราณาจารย์ที่ประพันธ์ไว้โดยตรงว่า อิติปิ โส ภควา อรหัง สัมมา สัมพุทโธ เป็นต้น ซึ่งแปลเป็นใจความว่า เพราะเหตุนี้ แม้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงบรรลุแล้วโดยชอบ อรหังเป็นพระอรหันต์ อย่างนี้เป็นต้น อย่างนี้เราก็พิจารณาไม่ไหวเหมือนกัน เป็นอันว่า จะกล่าวโดยย่อว่า คุณของพระพุทธเจ้าที่มีต่อเราก็คือว่า
๑. สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้พวกเราระงับความชั่วทั้งหมด
๒. กุสะลัสสูปะสัมปะทา พระองค์ทรงสงเคราะห์ให้พวกเราปฏิบัติเฉพาะในความดี
๓. สะจิตตะปะริโยทะปะนัง พระองค์ทรงสั่งสอนให้ทำจิตใจให้ผ่องใสจากกิเลส
นี่ โดยย่อพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ สอนให้พวกเราปฏิบัติอยู่ในกฎทั้ง ๓ ประการที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ถ้าจะย่อลงไปอีกทีหนึ่ง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้พวกเราไม่ประมาท ตามปัจฉิมโอวาท ที่องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถตรัสเป็นปัจฉิมวาจา วันใกล้จะปรินิพพาน ตรัสแก่พระอานนท์ว่า
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ พระธรรมคำสั่งสอนที่เราสอนพวกเธอนั้น ย่อมรวมอยู่ในความไม่ประมาท แล้วองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ ตรัสว่า อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม
นี่เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าสอนให้เราไม่ประมาทในการที่จะละความชั่ว หมายความว่า จงอย่าคิดว่านี่เราไม่ชั่ว พระบาลีที่องค์สมเด็จพระชินศรีสอนไว้บอกว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงเตือนตนด้วยตนเอง นี่ก็หมายถึงว่าพระองค์ไม่ให้เราประมาท จงมองดูความชั่ว มองดูความผิด มองดูความเสียหายของตนเองไว้เป็นปกติ
ถ้าเรามองความชั่ว มองความเสียหายของตัวไว้แล้ว เราก็มีจะแต่ความดี เราอย่าเป็นคนเข้าข้างตัว เอาพระวินัยมากาง เอาธรรมะมากางเข้าไว้ ดูพระวินัย ดูธรรมะว่าอะไรมันผิดบ้าง แม้แต่นิดหนึ่งก็ต้องตำหนิ เหมือนกับผ้าขาวทั้งผืน มีจุดดำอยู่จุดหนึ่ง ก็ชื่อว่าทำผ้าขาวนั้นให้สิ้นราคา แม้จุดนั้นจะเป็นจุดเล็กเท่ากับปลายปากกาที่จิ้มลงไปก็ตามที เขาก็ถือว่า มีตำหนิ
นี่เราเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเราจะพิจารณาหาความดีของพระองค์ก็ต้องหากันตรงนี้ ว่า พระพุทธเจ้าต้องการให้เรามีจิตบริสุทธิ์ ถ้าจิตบริสุทธิ์แล้วไปไหน
พระพุทธเจ้ากล่าวว่า
"จิตเต ปาริสุทเธ สุคติ ปาฏิกังขา ถ้าจิตบริสุทธ์แล้วอย่างน้อยเราก็ไปสู่สุคติโลกสวรรค์"

คำว่า สุคติ นี้ก็ยกยอดไปถึงสวรรค์ก็ได้ พรหมโลกก็ได้ นิพพานก็ได้
นี่เราก็มานั่งใคร่ครวญความดีของพระพุทธเจ้า นั่งนึกเอาว่า พระพุทธเจ้าจะทรงเป็นพระพุทธเจ้าได้ก็อาศัย ตัดความรัก ตัดความโลภ ตัดความโกรธ ตัดความหลง
   ตัดความรัก พระพุทธเจ้ามีพระชายาอยู่แล้ว มีพระราชโอรถ คือ พระราหุล พระราชโอรถคลอดในวันนั้น พระชายาก็ยังสาว อายุเพียง ๑๖ ปี แต่องค์สมเด็จพระชินศรี เห็นว่าการครองเรือนเป็นทุกข์ จึงแสวงหาความสุข คือ พระโพธิญาณ ด้วยการออกบวช ทรงตัดความรักความอาลัยเสียได้ ออกจากบ้านในเวลากลางคืน
ตัดความโลภ พระพุทธเจ้าทรงทราบอยู่แล้วว่า อีก ๗ วัน ตำแหน่งพระเจ้าจักรพรรดิราชจะเข้าถึงพระองค์ แต่พระองค์ก็ไม่อาลัยใยดีในความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช เพราะการเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชก็ต้องแก่ ต้องตาย ต้องเดือดร้อนเหมือนกัน
นี่องค์สมเด็จพระภควันต์ แม้จะเป็นเจ้าโลก ก็วางทิ้งไปเสียไม่ต้องการ อันนี้เราต้องปฏิบัติตาม ใคร่ครวญตามว่ามันไม่ดี พระพุทธเจ้าจึงวาง ถ้าดีแล้วก็ไม่วาง อะไรที่พระพุทธเจ้าวางไว้ และเป็นสิ่งที่เกินวิสัยที่เราจะครองได้เราจะมีได้ แต่ว่าองค์สมเด็จพระชินศรีมีแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้ววางเสีย เราก็ต้องวางตาม เพราะของท่านมากกว่าเรา สูงกว่าเรา หนักกว่าเรา ดีกว่าเรา ที่จะพึงมี ท่านยังวาง ถ้าเรามีดีไม่เท่าท่าน ทำไมเราจึงจะไม่วาง
ประการต่อมา องค์สมเด็จพระบรมศาสดา ทรงแสวงหาอภิเนษกรมณ์อยู่ในสำนักอาฬารดาบส กับ อุทกดาบสรามบุตร ปฏิบัติในรูปฌานและอรูปฌาน ทั้ง ๒ ประการ จนมีความคล่องแคล่ว มีความชำนาญมาก อาจารย์ยกย่องให้องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นครูสอนแทน แต่พระองค์ก็มาพิจารณาว่า เพียงแค่รูปฌาน และ อรูปฌาน ทั้ง ๒ ประการนี้ ไม่ใช่หนทางบรรลุมรรคผล สมเด็จพระทศพลจึงได้วางเสีย แล้วออกจากสำนักของอาจารย์นั้น แสวงหาความดีต่อไป
ในด้านของสมาธินี่ องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงถึงที่สุดถึงสมาบัติ ๘ ก็ยังเห็นว่าไม่เป็นทางที่สุดของความทุกข์ แต่สมาธินี้ก็ทรงไว้ไม่ทิ้ง หาต่อไปให้เข้าถึงที่สุดของทุกข์ คือ ความไม่เกิด
ต่อมา องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็พบธรรมะที่ประเสริฐ ที่เรียกกันว่า อริยสัจ คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ปฏิปทาเข้าถึงความดับทุกข์ แล้วก็ความดับทุกข์
ทุกข์ ได้แก่ อาการที่ทนได้ยาก ก็คือ การเกิดขึ้นมาแล้วมันเต็มไปด้วยความทุกข์ นี่ เราพูดกันมานานแล้ว
เหตุให้เกิดความทุกข์ ก็คือ ตัณหา ความอยากเกินพอดี ความอยากนี่ต้องใช้คำว่า เกินพอดี ร่างกายมันหิวอาหาร ร่างกายมันอยากกินน้ำ ร่างกายมันปวดอุจจาระปัสสาวะ จะต้องไปส้วม ร่างกายต้องการเครื่องนุ่งห่มตามปกติ ร่างกายต้องการบ้านเรือนตามปกติ เป็นไปตามวิสัย อย่างนี้ไม่จัดว่าเป็นตัณหาตามที่พระพุทธเจ้าตรัส เพราะมันเป็นของพอดี พอใช้ที่เราจะพึงใช้ พึงมีตามความจำเป็นของร่างกาย แต่ว่าความตะเกียกตะกายเกินพอดีไม่รู้จักพอ มีแค่นี้พอดับพอดีแล้วยังตะกายมากเกินไปทำให้เกิดความลำบาก มีความอยากไม่รู้จักจบ อยากอย่างนี้เรียกว่า ตัณหา เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
ทางดับตัณหาตัวนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่า มรรค
มรรคนี่มี ๘ อย่าง โดยย่นย่อเหลือ ๓ คือ
ศีล สมาธิ ปัญญา
ศีล คือ การระงับกายวาจาให้เรียบร้อย ให้ดำรงอยู่ในความดีตามขอบเขต ที่เราเรียกว่า พระวินัย
สมาธิ แปลว่า มีอารมณ์ตั้งมั่นอยู่ในความดี คือ ทรงศีล ทรงทานอยู่ จิตน้อมอยู่ในอารมณ์ทั้งสองประการอย่างนี้เป็นต้น
ปัญญา พิจารณาเห็นว่า ธรรมะที่องค์สมเด็จพระทศพล คือ จริยาที่พระองค์ทรงละความรัก ละความโลภ ละความปรารถนาความมักใหญ่ใฝ่สูง ละการเกิด
นี่องค์สมเด็จพระมหามุนีทรงปฏิบัติถูกแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วจึงได้เป็นพระอรหันต์ นี่เราปฏิบัติพิจารณาตามประวัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พูดไปอีกนานมันก็ไม่จบ
รวมความว่า วันหนึ่งเราก็นั่งใคร่ครวญถึงความดีของพระพุทธเจ้าตามหนังสือที่มีมา จับใจตรงไหนยึดตรงนั้นเป็นอารมณ์ อย่างนี้ก็ชื่อว่าเป็น พุทธานุสสติ การนึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ถ้าปฏิบัติตามนี้สำหรับพุทธานุสสติ และ ตามคิดแบบนี้จะทรงอารมณ์อยู่ได้แค่อุปจารสมาธิ นี่เป็นแบบหนึ่ง
และอีกแบบหนึ่ง ไม่ปฏิบัติอย่างนั้น ท่านสอนให้ภาวนาว่า พุทโธ เวลาหายใจเข้านึกว่า พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ การหายใจกำหนดตามสบาย ๆ เป็นการควบกับอานาปานุสสติกรรมฐาน ทำอารมณ์ใจให้สบาย จิตใจชื่นบาน นึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระพิชิตมาร แล้วจับใจว่า พุทโธ พุทโธ ภาวนาไว้
แล้วขณะใดที่จิตผูกพันว่า พุทโธ หรือ ลมหายใจเข้าออก ขณะนั้นก็ชื่อว่าจิตของเราเป็นสมาธิ การภาวนาแบบนี้สมาธิจะมีอารมณ์สูงเข้าถึงฌานสมาบัติได้
การพิจารณาว่า พุทโธ ก็จะขอข้ามอารมณ์ต่าง ๆ ไป ถ้ากำลังใจของเราทรงมั่น ถ้าจะมีนิมิตปรากฏขึ้นโดยเฉพาะนิมิตต่าง ๆ ก็คือ ต้องเห็นเป็นพระพุทธรูป หรือว่า เห็นเป็นรูปของพระสงฆ์ แต่มีรัศมีกายผ่องใส อย่างนี้เขาเรียกว่า นิมิตของพุทธานุสสติกรรมฐาน อย่างนี้จับเอาได้
ถ้านิมิตอย่างนี้ปรากฏขึ้นมาเมื่อไร ในกาลต่อไปข้างหน้า ถ้าเราจะภาวนาว่า พุทโธ ก็ให้จิตน้อมนึกถึงภาพนั้นไว้เป็นปกติ อย่างนี้เรียกว่า เกิดอุคคหนิมิต
ถ้านิมิตนั้นเปลี่ยนแปลง ทีแรกเราเห็นเป็นพระพุทธรูปดำบ้าง ขาวบ้าง เหลืองบ้าง แต่ไม่แจ่มใส ต่อไปถ้ามีสมาธิ สมาธิสูงขึ้นก็เห็นเป็นพระพุทธรูปใสขึ้น ใหญ่โตขึ้น เปลี่ยนแปลงมีความงดงามกว่า อย่างนี้เรียกว่า อุปจารสมาธิระดับสูง นี่จิตนึกถึงภาพนะ ภาพปรากฏชัดภายในใจ ไม่ใช่ไปนั่งหาภาพที่จะมาปรากฏใหม่
ต่อไปเมื่อจิตนึกถึงภาพขององค์สมเด็จพระจอมไตร เกิดมีรัศมีกาย มีอารมณ์ผ่องใสแทนที่จะเป็นสีเหลือง หรือ สีเขียว สีดำ สีแดง อะไรก็ตาม สีนั้นเปลี่ยนไปทีละน้อยจากเหลืองเข้มเป็นเหลืองอ่อน ๆ มีความใส ต่อไปก็เป็นแก้ว แก้วใสเป็นประกายพรึกเต็มดวง หรือคล้ายกับกระจกเงาที่สะท้อนแสงพระอาทิตย์ มีความชุ่มชื่น จะนึกให้ใหญ่ก็ได้ จะนึกให้เล็กก็ได้ อย่างนี้ เรียกว่าเป็น ปฏิภาคนิมิต นั่นระดับฌาน
ถ้าจิตตับอยู่แค่นี้จิตใจของเราชื่นบาน จิตจะทรงฌานไปด้วยอำนาจพุทธานุสสติกรรมฐาน จะมีอารมณ์เป็นสุขตลอดกาล แล้วเมื่อได้ภาพอย่างนี้ จงอย่าคลายภาพนี้ทิ้งไป ให้ดำรงภาพนี้เข้าไว้
ขณะใดจิตยังนึกเห็น ไม่ใช่เห็นเฉย ๆ นึกเห็น เห็นภาพอยู่ตราบใด ขณะนั้นเรียกว่า จิตทรงสมาธิ จิตของท่านจะมีแต่ความสุข
ถ้าหากว่าทำจิตได้ถึงระดับนี้แล้ว ปรากฏว่า ปัญญาก็จะเกิด คำว่า อริยสัจ ก็จะปรากฏขึ้นแก่ใจของบรรดาท่านทั้งหลาย ความรู้เท่าของคำว่า การเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ อย่างนี้มันจะเกิดขึ้นแก่ใจเอง ความเบื่อหน่ายในการเกิดก็จะปรากฏ
ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระบรมสุคตศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนเราไว้บอกว่า นี่เป็นอธรรมเป็นความไม่ดี จิตใจของเราจะเห็นน้อมไปตามกระแสพระสัทธรรมขององค์สมเด็จพระชินศรี ด้วยอำนาจของปัญญาอย่างแจ่มใส
ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาบอกควรประพฤติปฏิบัติ ควรทำให้เกิดมีขึ้น เพราะธรรมนั้นจะสร้างความชุ่มชื่น คือ ความสุขให้เกิดขึ้นกับใจ
ใจ คือ ปัญญาของเรา ก็จะเห็นธรรมนั้นได้แบบผ่องใสไม่เคลือบแคลง เกิดเป็นคุณประโยชน์
การเจริญพุทธานุสสติกรรมฐาน พระอัตถกถาจารย์กล่าวว่า เป็นกรรมฐานที่สามารถสร้างความดีให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้ง่าย
สำหรับ พุทธานุสสติกรรมฐานโดยย่อ ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ต่อแต่นี้ไป ขอทุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาว่า พุทโธ เวลาหายใจเข้านึกว่า พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา *สวัสดี*

หน้า: 1 2 [3] 4 5