เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - DHAMMASAMEE

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 15
16
... พระศรีอาริยเมตไตรย ในสมัยพระพุทธเจ้าท่านบวชเป็นพระมีนามว่า อชิตะภิกขุ เดิมทีท่านเป็นลูกศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ท่านไปบวชเพื่อสร้างเสริมบารมี

... ต่อมาเมื่อ พระนางกีสาโคตมี ได้ทอจีวรด้วยมือของตนเองปรารถนาจะถวายพระพุทธเจ้า เมื่อเวลาพระนางไปถวาย พระพุทธเจ้าเรียกพระมาหมด นั่งเรียงแถวกันตามลำดับอาวุโสและคุณสมบัติ

... เมื่อพระนางกีสาโคตมีถวายผ้าแก่พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ส่งให้พระสารีบุตร ท่านพระสารีบุตรก็ส่งให้พระโมคคัลลาน์  ท่านพระโมคคัลลาน์ก็ส่งต่อๆ กันไปหมดจนถึงองค์สุดท้ายคือท่านอชิตะภิกขุ ท่านไม่รู้จะส่งให้ใครเพราะนั่งอยู่ท้ายสุด เป็นอันว่าท่านก็รับไว้

... พระนางกีสาโคตมีก็เสียใจว่า อุตสาห์ทำเองเลือกด้ายชั้นดีมาทอกับมือเองเพื่อถวายพระพุทธเจ้า แต่พระองค์ไม่รับกลับไปให้กับพระที่ไม่ได้แม้แต่ฌานสมาบัติมากมายอะไรนัก คือว่ายังเป็นพระปุถุชนคนธรรมดา

... องค์สมเด็จพระบรมศาสดาทรงทราบอัธยาศัยจึงเทศนาโปรดว่า

... " พระองค์สุดท้ายไม่ใช่พระธรรมดา ท่านอชิตะภิกขุผู้นี้ต่อไปข้างหน้าจะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง มีพระนามว่า สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรย "

... ปัจจุบันนี้ ท่านมาเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดุสิต วิมานท่านสวยสดงดงามมาก ท่านมีรัศมีกายสว่างมาก หน้าตาผ่องใสยิ้มระรื่นน่าชื่นใจ ท่านได้บอกกับอาตมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ ว่า นับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป อีก ๑ ล้านกับ ๒ ปี ท่านจะลงมาเกิดในเมืองมนุษย์แล้วเป็นปุโรหิต หลังจากนั้นเกิดความเบื่อหน่ายก็ออกแสวงหาพระโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า ถ้าจะเทียบพื้นที่ในสมัยนี้ พระองค์จะตรัสทางทิศเหนือของพม่า แต่ตามตำราเขาไม่ได้เขียนไว้


จากหนังสือตายแล้วไม่สูญ...แล้วไปไหน โดย พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

17
... ก็คิดถึงชีวิตของเราว่า 

... ชีวิตของเรานี่มันเติบโตมีการเคลื่อนไปทุกวันทุกวัน อาหารเก่าที่เรากินเข้าไปเมื่อวานนี้มันสลายตัวแล้ว แล้ววันนี้ ความหิวปรากฏ ร่างกายต้องการอาหาร แสดงว่าอาหารเมื่อวานและเวลาก่อนที่เรากินเข้าไป ไม่พอกับความต้องการ เวลานั้นมันพอ แต่ต่อมามันใช้งานไปหมดไม่พอต้องการอาหารใหม่ ถ้าเราไม่กินอาหารใหม่เราก็จะถึงกับความตาย   

... เหมือนกับลมหายใจลมหายใจนี่ พระพุทธเจ้าก็เรียกว่าอาหารเหมือนกัน ท่านเรียกว่าผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ ถ้าอาหารประเภทนี้ไม่มีสำหรับคนและสัตว์ท่านใด คนนั้นก็หมายความว่าต้องตาย   

... ทีนี้อาหารที่เรากินเข้าไป ลมที่เราสูดเข้าไปก่อน เมื่อระบายออกไปแล้วมันสลายตัวไป มันไม่กลับเข้ามาใหม่ สิ่งที่จะทรงอยู่ได้ของร่างกายต่อไปก็อาศัยลมใหม่ หรืออาหารใหม่ว่าร่างกายของเรามีสภาพไม่เที่ยง มันมีการสลายตัวอยู่เป็นปกติ

... การที่จะตั้งอยู่ได้ก็อาศัยสันตติ คือการสืบเนืองหรือติดต่อกัน ที่เราจะเห็นว่าลมหายใจ ถ้าเราหายใจออกไปแล้วไม่หายใจเข้ามันก็ตาย  หายใจเข้าไปแล้วไม่หายใจออกไป ไม่นำลมเข้ามาใหม่มันก็ตาย แสดงว่าไอ้ลมที่ออกไปแล้วมันสลายตัวไป ที่เรียกกันว่าพ้นไปหรือตายไป  แต่ว่าเราทรงขึ้นมาได้ใหม่ก็เพราะอาหารใหม่เข้ามาช่วย หรือลมใหม่เข้ามาช่วย

18
... ให้เราทั้งหลายพิจารณาเห็นกายในกายว่า กายภายในก็ดี กายภายนอกก็ดี มีการเสื่อมไปบ้าง มีการเคลื่อนตัวไปบ้าง หาการทรงตัวไม่ได้ 

... เธอทั้งหลายจงเห็นเป็นแต่เพียงว่าสักแต่ว่าเห็น รูปนี้เป็นแต่เพียงสักแต่ว่าเราจะอาศัยชั่วคราวเท่านั้น จะไม่ทรงตลอดกาลไป ขอท่านทั้งหลายจงอย่ายึดถือรูปนี้ แล้วจงอย่ายึดถือทุกสิ่งทุกอย่างในโลกทั้งหมด ฯ.

19
... โครภูญาณ จิตมันอยู่ระหว่างโลกีย์กับโลกุตตระ คือ ความเป็นคนกับความเป็นพระอริยเจ้า ท่านเปรียบเหมือนกับลำรางเล็กๆ น่ะ คือ ขาหนึ่งยืนอยู่นี่ อีกขาหนึ่งฝ่ายโลกีย์ ยังยกไม่ขึ้น

... ทีนี้อารมณ์ของโคตรภู เราต้องรู้ว่าขณะใด เราเข้าถึงโคตรภู ไอ้พูดตามตำรานี่ มันพูดได้ ไม่ยากหรอก แต่ตัวเข้าถึงนี่ซี ถ้าเราเป็นฝ่ายวิชชาสามนะมันเห็นชัด คือ เวลาที่เราถอดจิตขึ้นไป ตามปกติเราจะท่อง เที่ยวแต่เฉพาะในส่วนของโลกีย์ใช่ไหม จะเป็นเมืองมนุษย์ก็ดี อบายภูมิก็ดี เทวดา พรหมก็ดี แต่ส่วนโลกุตตระเราจะเข้าไม่ได้ ไม่สามารถจะเห็น แต่ถ้าอารมณ์ของจิตเข้าถึงโคตรภู เราจะเห็นพระนิพพานชัด

... ถ้าพูดถึงอารมณ์ อันดับแรกอารมณ์มันจะยึดตัว " ธรรมดา " คือ ใครเขาด่าก็ว่าเป็นธรรมดา เกิดมาต้องมีคนเขาด่าว่า อันที่จริงก็โมโหเหมือนกันนะ แต่โมโหแล้วมันปล่อยไม่เกาะอยู่ ถ้ายังไม่ได้อนาคามีอย่านึกว่าไม่มีโมโห โทโส มีโกรธ เหมือนกัน โกรธเดี๋ยวเดียว แต่ไม่ไปอาฆาต ไม่ไปทำร้ายเขาแล้วมันก็หายไป เห็นอะไรๆ มันก็ธรรมดา ถ้าไปเจอะคนตายมันก็วาบหวิวไปนิดหนึ่ง ประเดี๋ยวตัว " ธรรมดา " มันก็ปรากฏ

... ถ้าอารมณ์เข้มขึ้น มันก็ยัน " ธรรมดา " อยู่เสมอ แต่ก็ยังมีสะท้านอยู่บ้าง ในขณะเดียวกันก็มีอารมณ์รักพระนิพพานเป็นที่สุด ใครจะพูดเรื่องอะไรก็ฟังได้ แต่ฉันไม่เอาด้วย ฉันจะไปนิพพาน นี่สำหรับพวกมีวิชชาสาม

... ส่วนพวกสุกขวิปัสสโก ก็ต้องสังเกตอารมณ์เอาว่ายึด " ธรรมดา " และรักพระนิพพานเพียงใด ถ้ารักมากก็ชื่อว่าเข้าถึงโคตรภู ต้องสังเกตตรงนี้ ไม่ใช่ว่าเราไปแกล้ง " ธรรมดา " นะ ต้อง " ธรรมดา " ของมันเป็นปกติ จิตจะรักพระนิพพานเป็นอารมณ์จริงๆ แต่ถ้าไปนิพพานไม่ได้อย่างอื่นก็ต้องการ คือ จะไปพักสวรรค์พักพรหมโลก พักเพื่อหวังนิพพาน จะทำอะไรก็ตามไม่หวังผลตอบแทนฉันหวังจะไปนิพพาน นี่คืออารณ์โคตรภู

... ถึงโคตรภูแล้วสงสัยว่าเราจะเป็นพระโสดาบัน ก็มานั่งไล่เบี้ยสังโยชน์สามดูว่า สักกายทิฏฐิเราเป็นอย่างไร เรารู้หรือเปล่าว่า ร่างกายมันจะพัง ตัวของเรา ตัวของคนอื่นน่ะรู้หรือเปล่าว่ามันจะพัง มันจะตาย รู้ว่าจะตายความจริงก็มีจิตห่วงนั่นห่วงนี่บ้าง พระโสดาบันนี่ยังห่วง แต่ว่าห่วงไม่มาก ถ้ามันจะตายจริงๆ ก็ เอวังกิ่ม ฉันจะไปนิพพานนะ

... สังโยชน์ที่สอง วิจิกิจฉา เราไม่สงสัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่า " ไม่สงสัย " นี่ไม่ใช่ว่านึกเอานะต้องปฏิบัติด้วย ต้องแน่ใจว่าเกิดแก่เจ็บตายนี่เป็นของมีจริงใช่ไหม เชื่อเหลือเกินว่าเราเกิดมานี่ต้องแก่ ไอ้การป่วยไข้ไม่สบายนี่มันต้องมีแน่ ถ้ามันมีขึ้นมา เราก็ไม่ตกใจ การรักษาพยาบาลถือเป็นของธรรมดา เพราะถือเป็นการระงับเวทนา แม้พระพุทธเจ้า แม้พระอรหันต์ทุกองค์ท่านก็ต้องรักษา แต่ในระหว่างรักษาตัว ก็นึกว่า จะระงับได้หรือไม่ได้ จะทรงอยู่ได้หรือไม่ได้ก็ตามใจมัน ถ้าเกิดทุกเวทนามาก รักษาพยาบาลแล้ว อาการมันไม่ลด ก็ตามใจมันซี ฉันจะทนให้แกทรมานประเดี๋ยวเดียว แล้วฉันก็จะไปนิพพาน อารมณ์มันตัดตรงนี้นะ

... ทีนี้มาสังโยชน์ข้อที่ 3 ศีล 5 ไม่ต้องระวังจะทรงไว้เป็นปกติ อันนี้เป็นพระโสดาบันกับสกิทาคามี แต่ว่าพระโสดาบัน ก็ยังมีลูกมีหลานได้อย่างคนทั่วไป กิเลสมันไม่ได้ตกไป กามราคะไม่ได้ตกไป ยังมีความรัก ความโลภ ความโกรธ แต่ว่าไม่เป็นภัยแก่คนอื่น โกรธน่ะโกรธ แต่ไม่ฆ่าใครจริง ทำท่าย๊องแย๊งๆ ไปยังงั้น ความรักก็ยังรักอยู่ แต่ว่าเวลามันจะไปจริง ๆ ก็คลายได้ ความหลงก็ยังมีอยู่ว่า เอ๊ะ นี่กูนี่หว่า ไอ้นั่นก็ของกู ไอ้นี่ก็ของกู ยังมีอยู่แต่ว่าหลงไม่หนัก

... มาถึงสกิทาคามีตัวนี้ซียุ่ง ถ้าคนที่เข้าถึงสกิทาคามีไม่รู้ตัวจริงๆ ละก็นึกว่าตัวเป็นพระอนาคามี ลักษณะอาการอย่างนี้ เคยไปไล่เบี้ยคนอื่นมาแล้ว ล่อเสียทุกองค์แหละทีแรกนึกว่า เอ๋ ข้าว่าข้าได้อนาคามีแล้วนี่หว่า ไปๆ มาๆ ไม่ยักใช่แฮะ เพราะไอ้กามารมณ์นี้น่ะ ตัวอยากมันไม่มีเลย ความรักในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส หรือเรียกว่าความต้องการในเพศตรงกันข้ามมันไม่มีอยู่เลย แต่โน่นซี อีตอนอารมณ์ฌานสบายๆ บางทีโผล่มาแล้ว นั่นแน่! ตัวอนุสัยตีหัวเข้าบ้านเลย คือโผล่เข้ามานิดหนึ่ง พอเขารู้ตัวเขา ขับมันมันก็วิ่งเปิดไป นี่ตัวอนุสัยนานๆ ก็ย่องมาเสียที จนบางท่านคิดว่าตัวเป็นอนาคามีไปแล้ว ไม่ใช่บางท่านหรอก ฉันว่าร้อยเปอร์เซ็นต์เทียวแหละ ถามใครมันก็อีแบบนี้ทุกคน ตอนต้นดีใจ นึกว่าอนาคามีแล้วนะ ที่ไหนได้ 2-3 เดือนพ่อย่องมาโผล่หน้าแผล็บ โผล่ไม่นานนะ นาทีสองนาทีเท่านั้น

... เขาคอยสะกิดหลัง บอกว่า ยังไม่ถึงหรอกโว้ย คือ ชักจะปรารภไอ้รูปสวยสดงดงาม ไอ้เสียงเพราะอะไรนี่ มันชักจะต้องการ มีความรูสึกขึ้นมาเอง พอรู้สึกปั๊บ กำลังเขาสูงเสียแล้ว เขาตบหัวแล้วไปเลย จิตก็ตกไป พอรู้ตัวก็ต้องเร่งรัด ต้องเร่งสักกายทิฏฐิ หากถึงโสดาบันได้ มันก็ยึดหัวหน้าได้แล้วนี่ ยกพลขึ้นบกได้แล้วโจมตีแหลก มองดูก่อนอีจุดไหนแข็งมากก็ยังไม่ตี ล่อหน่วยลาดตระเวนเล็กๆ ไปก่อนจะไปตีฐานทัพใหญ่ เราเห็นจะแหลกเอง

... เมื่อถึงสกิทาคามีแล้ว อนาคามีก็ไม่ยากนักหรอก ตัดกามฉันทะความรู้สึกในทางเพศหมดไปเลย หายไปเลย อันนี้แน่นอนไม่กำเริบ ทีนี้ไอ้ความโกรธ ความพยาบาท ความกระทบกระทั่ง มันกระทบจิตพับตกเลย คือ ไม่พอใจเหมือนกัน แต่แป๊บเดียวหายเลย ไม่ใช่ไม่รู้สึก

... พอถึงอนาคามีแล้ว ไม่ยึดหรอกเรื่องอรหันต์ ชาตินี้ไม่ได้เราก็ไปนิพพาน เอาตอนเป็นเทวดาโน่นหมดเรื่องกัน เพราะได้อนาคามีแล้ว เขาไม่ลงมาเกิดกันอีก ไม่เป็นเทวดาเป็นพรหมแล้วอยู่นั่นบำเพ็ญบารมีเป็นอรหันต์ไปเลย สกิทาคามียังลงมาอีกครั้งหนึ่ง

... โสดาบันแบ่งเป็น 3 พวก สัตตขัตตุปรมะ โกลังโกละ กับ เอกพิชี ฉันขึ้นสัตตขัตตุปรมะก่อน เพราะว่าถ้ามีบารมีอ่อนอยู่ ก็ต้องลงมาเกิดเป็นมนุษย์อีก 7 ชาติ แช่อยู่แค่มนุษย์นี่แหละ เปรต หรือ นรก ไม่ไป บาปจะมีอยู่เท่าไรก็ช่างมัน ไอ้เจ้าหนี้ไม่มีทางจะได้หรอกเงินต้น จะได้ก็ได้ดอกของดอกเบี้ยเท่านั้น แค่ดอกเบี้ยก็ไม่เต็มนะ คือมันจะมารบกวน ในขณะที่มีขันธ์ 5 คือเกิดเป็นมนุษย์ ไอ้บาปเก่าๆ มันก็จะทำให้เจ็บป่วยบ้าง ของหายบ้าง ไฟไหม้บ้านบ้าง น้ำท่วมบ้านบ้าง ก็ตามเรื่องตามราวไป แต่มีเกณฑ์ว่า 7 ชาติเป็นอรหันต์

...  ถ้าหากว่า โกลังโกละ ก็เกิดอีก 3 ชาติเป็นอรหันต์

... ถ้าเอกพิชีก็ 1 ชาติ คือ ลงมาชาตินั้นก็เป็นอรหันต์เลย

... พระสกิทาคามีก็ลงมาเหมือนกัน แต่เขาบางกว่าสะกิดปั๊บเดียวเป็นอรหันต์เลย

... แต่ถ้าเป็นพระอนาคามี ไม่ลงมาเกิดเป็นเทวดา หรือพรหมแล้ว บำเพ็ญบารมีไปเลย นี่ว่ากันตามแบบนะ


... แต่ถ้าเราจะว่ากันอีกแบบหนึ่ง ถึงความเป็นอรหันต์นี่น่ะ ถ้าเราหากินเป็นคือฉลาดสักนิดหนึ่ง ชาตินี้ถ้าเราตั้งใจพอใจธรรมส่วนไหน เช่น เวลานี้เราต้องการพุทธานุสติกรรมฐาน พุทโธ ๆ ใครไปบ้านไหนเมืองไหนก็ช่าง ใจฉัน พุทโธ พุทโธ ด้วยความเต็มใจมากบ้างน้อยบ้าง ดีบ้าง ชั่วบ้างก็ตามเรื่องของมัน วันนี้ได้ 30 นาที พรุ่งนี้ได้ 5 นาที มะรืนนี้ได้ 3 นาที บางวันได้ชั่วโมงหนึ่งก็ตามเรื่องตามราว แต่ว่าตั้งใจจริง ๆ ด้วยอำนาจของพุทโธหรือจะใช้อะไรก็ช่าง ฉันไม่จำกัด " พุทโธ " นะ จะ สัมมาอรหัง นะมะพะทะ หรือ นะโมพุทธายะ อะไรก็ตามเถอะ ตั้งใจใน ธรรมะ หรือ ในทานบารมี ศีลบารมี จุดใดจุดหนึ่งเป็นชีวิตจิตใจ เอาจริงๆ นะ รักจริงๆ

... ตายไป ก็นั่งพักอยู่แค่เทวดาหรือพรหม พอถึงเวลา หมดอายุขัยก็ลงมาใหม่ แต่ก็ไม่แน่นะเทวดาหรือพรหม ไม่แน่ว่าจะรอให้หมดอายุ พวกชอบโดดลงมาก่อนก็เยอะ คือ เห็นมีจังหวะจะบำเพ็ญได้ ก็โดดปุ๊ปลงมาทีเดียว ถ้าโดดลงมาพบพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ ท่านก็ย่อมรู้นิสัย คือหมายถึงพระอรหันต์ที่มีวิชชาสามขึ้นไป หรือไม่งั้นพระพุทธเจ้า พอท่านเห็นหน้าท่าน ก็รู้ว่าอีตานี่ " พุทโธ " มาแต่ชาติก่อน ข้ารู้ยายนี่ชอบให้ทานมาตั้งแต่ชาติก่อนข้ารู้ ท่านก็ไม่เทศน์อะไรละ เทศน์ไปแกะไอ้ผลเก่านั่นแหละ อีชาตินั้นละไปเลยเป็นอรหันต์ไม่เห็นยากหากินง่ายๆ ฯ


หลวงพ่ออธิบายเรื่องโคตรภูญาณ โดย พระมหาวีระ ถาวโร วัดจันทาราม

20
... เตสัง วูปะสะโม สุโข จิตเห็นเป็นของธรรมดาอยู่แล้วเป็นของไม่ยาก

... อารมณ์ของธรรมดาจริงๆ นี่คนที่ยอมรับนับถือการเกิดขึ้น การเสื่อมไป การดับไปของร่างกายจริงๆ โดยมีอารมณ์ไม่หวั่นไหวมาก มีอารมณ์มากระทบจิตแต่หวั่นไหวน้อย ไม่ยึดถือมากเกินไป เวลาจะตายจริงๆ ก็ไม่ได้ว่าอะไร อาการอย่างนี้มันเป็นของพระโสดาบัน   

... คนที่ยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ว่านี่มันเรื่องไม่แปลก ของธรรมดา ฟันมันจะหักก็ธรรมดาไม่ใช่หักแต่เรา ชาวบ้านเขาก็หัก ผมมันหงอกก็ของธรรมดา ชาวบ้านเขาก็หงอกกันตั้งเยอะ เราหัวหงอกคนเดียวเป็นไรไป หัวมันล้านเขาว่า อีตานี่หัวล้าน ก็ธรรมดานี่ นี่เป็นเรื่องธรรมดาเรายอมรับนับถือ   

... ความแก่มันเข้ามา ฟันหัก ตาไม่ดีเข้ามา ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เรารู้ตัวแล้วว่ามันจะเป็นอย่างนั้น

... อารมณ์ของการยอมรับนับถือธรรมดาด้วยความจริงใจเป็นเรื่องของพระโสดาบันขึ้นไปนะ

... นี่ท่านทั้งหลายก็ตั้งใจรู้ไว้เลย ว่าใครก็ตามที่ยอมรับนับถือกฎของธรรมดาอารมณ์นี้มันจะรักพระนิพพาน เพราะมันเกลียดตัวเกิด 

... เกิดนี่มันเป็นธรรมดาจริงๆ เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วตัวทุกข์มันตามมา ตัวนี้เราไม่พูด อริยสัจพระพุทธเจ้าสอนตอนท้าย หาตัวธรรมดาเข้ามาแล้วมันแก่ บางทีไม่ทันจะแก่ความปรารถนาไม่สมหวังก็เกิด กินอิ่มแล้วก็หิว อยู่สบายๆ มันก็ร้อน ดีไม่ดีมันหนาวอีกแล้ว ดีไม่ดีอาการป่วยไข้ไม่สบายมันก็เกิด ตั้งแต่นี้มาเรายอมรับนับถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา แล้วเราไม่หนักใจ

... เมื่อมันหิวมีก็กิน ไม่มีก็ทนหิวไป เพราะอยากเกิดมาทำไม หมายความว่า ถ้าเราไม่มีร่างกายเสียอย่างเดียวอาการอย่างนี้มันไม่ปรากฏ

... จิตมันก็กำหนดไว้เลยว่า ขึ้นชื่อว่าความเกิดไม่มีสำหรับเรา นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ความเกิดจะไม่มีสำหรับเราอีก

... ความเกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เทวดาก็ดี พรหมก็ดีเราไม่ต้องการ หรือการที่จะมีอาการพิสมัยว่าโลกมนุษย์สวยสดงดงาม เทวโลกพรหมโลกสวยสดงดงามมันเป็นที่น่าอยู่ไม่มีสำหรับเรา เราต้องการอย่างเดียวอาการความดับไม่มีเชื้อ โลก ๓ (มนุสสโลก เทวโลก พรหมโลก)ไม่ต้องการทั้งหมด จิตที่เราจะกำหนดไว้ก็ คือ ไม่มีกายและก็มีพระนิพพานเป็นที่ไป ฯ.


ธรรมะปกิณกะ สติปัฏฐาน๔ โดยละเอียด โดย พระมหาวีระ ถาวโร วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

21
... อนิจจา วะตะ สังขารา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ นี้ให้พิจารณากายภายนอก คือคนที่เขาเกิดเหมือนเราแล้วก็เวลานี้มันพังลงไปแล้ว นี่เป็นเรื่องธรรมดา   

... อุปาทะวะยะ ธัมมิโน เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป เสื่อมอย่างไร เมื่อเกิดขึ้นมาเป็นเด็กแล้วก็โตขึ้นมา แล้วความทรุดโทรมย่อมปรากฏ นี่เป็นอาการของความเสื่อมทางกาย     

... อุปปัชฺชิตวา นิรุชฌันติ เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป นี่อันนี้เขาตายแล้ว เราเองก็มีสภาพแบบนี้ ความไม่เที่ยงมีแล้วสำหรับเรา มีกับเขาฉันใดก็มีกับเราเหมือนกัน เราเกิดเหมือนเขาก็ต้องเสื่อมเหมือนเขา แล้วก็เวลานี้เค้าดับหรือเขาตายไปแล้ว ไม่ช้าเราก็ต้องตายเหมือนเขา

... ตอนท้ายท่านบอกว่า เตสัง วูปะสะโม สุโข แปลว่า การเข้าไปสงบกายชื่อว่าเป็นสุข นี่ตรงนี้เราคิดเลยว่า นี่ครูใหญ่เราพบแล้ว เราพบมาตั้งแต่ต้น มานั่งดูตัวคนอื่นเขาบ้าง นั่งดูตัวเราเองบ้าง มันปรากฏกระทบกระทั่งกับความเสื่อม ความไม่ทรงตัวอยู่ตลอดเวลา นี่เราก็เลยยอมรับนับถือว่า เป็นเรื่องของธรรมดา ฯ.


ธรรมะปกิณกะ สติปัฏฐาน๔ โดยละเอียด โดย พระมหาวีระ ถาวโร วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

22
... เราหันมาพิจารณากายในกาย คือร่างกายของเรา เอากายของชาวบ้านเป็นสื่อ ถ้าเราเห็นกายในกายของเราไม่ค่อยจะเห็น  ก็ต้องเอากายของชาวบ้านมาเป็นครู มาเป็นครูตรงที่เราเห็นกายชาวบ้านเขาแก่ลงไป ผมเคยดำกลับขาว ตาเคยยาวกลับสั้น ฟันที่เคยดีกลับหัก หูฟังเคยอะไรมันก็ฟังไม่ได้ เนื้อหนังที่เคยเปล่งปลั่งก็หย่อนยาน สติสัมปชัญญะก็ไม่ดีเท่าเดิม ร่างกายก็ไม่แข็งแรง นี่เรื่องของชาวบ้านเป็นอย่างนี้   

... ก็มานั่งนึกถึงตัวเรา นึกไว้เป็นประจำว่าอาการอย่างนี้มีมากับคนอื่นที่เขาเกิดก่อน มันไม่ไปไหน ถึงเวลานานไป เราอายุแบบนี้เข้าเมื่อไหร่มันก็เป็นแบบนี้แหละ

... เมื่อถึงเวลาที่เราแก่เข้าจริง ๆ ผมมันก็เริ่มขาวเราก็ไม่หนักใจ เราเข้าใจแล้วว่าเป็นเรื่องธรรมดา   

.. ต่อมาถ้าตามันฝ้าลงเราก็ไม่เห็นแปลก อาการสะดุ้งทางใจทางกายมันก็ไม่มี เพราะถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา 

... ตาฝ้า ตาฟาง หูไม่ดี ร่างกายสุขภาพไม่ดีมันงกๆ เงิ่นๆ ความเปล่งปลั่งหายไปก็ตามที ในเมื่อเรายอมรับนับถือว่ามันเป็นธรรมดาแล้วความสะดุ้งหวาดหวั่นมันก็ไม่มี นี่ท่านบอกว่า ต้องยึดถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ฯ.


ธรรมะปกิณกะ สติปัฏฐาน๔ โดยละเอียด โดย พระมหาวีระ ถาวโร วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

23
... ร่างกายเราเมื่อแก่ไปอายุมาก ร่วงโรยไปบ้างไหม ความเสื่อมของร่างกายมันมีทุกวัน ตอนเช้าตื่นขึ้นมายังไม่ได้กินข้าว หิวๆ ก็กินข้าว แล้วมันอิ่มๆ แล้ว พอตอนสายๆ หรือตอนกลางวันมันก็เริ่มหิว

... นี่รู้ไว้เลยว่า ความเสื่อมของร่างกายเกิดขึ้นแล้ว นี่คิดกันอย่างพระผู้มีสตินะ ทำไมจึงว่าเสื่อม ก็เพราะอาหารที่กินไปตอนเช้ามันเสื่อมคุณภาพ ถ้ามันไม่เสื่อมก็ไม่หิว เลยเวลาไปจากนั้นก็เสื่อมอีก เรากินกลางวัน  ไปจากนั้นพอตกเย็นมันก็หิวความเสื่อมมันปรากฏ อันนี้เห็นได้ยากนักก็มานั่งดูกัน

... ดูความเสื่อมของตัวเองมันเห็นช้า ดูกายในกายก็เห็นช้า พระพุทธเจ้าท่านให้ขยับออกไปอีกหน่อย พิจารณาภายนอกคือกายภายนอกไม่ใช่กายเรากายคนอื่น เราก็มานั่งดูคนที่เขาเดินผ่านหน้าเราไป หรือนั่ง อยู่ข้างหน้าที่เราผ่านไป หรือว่าท่านผู้ใหญ่ที่อยู่กับเราว่า

... ท่านทั้งหลายเหล่านี้สมัยก่อนท่านแก่ขนาดนี้หรือว่าเป็นเด็กเหมือนเรา ถ้าเราไม่ใช้ความโง่เสียนิดเดียว เราก็จะทราบว่าคนทุกคนเกิดมาเป็นเด็กแล้วต่อมาก็เติบโตขึ้นที่ละน้อยๆ เป็นหนุ่มสาว ต่อมาก็มาถึงเป็นคนแก่

... ทีนี้เรามานั่งดูคนแก่ คนแก่เขาบอกว่าไม่มีดี เขาว่ากันอย่างนั้นนะ มันจะมีดีตรงไหนล่ะ ตาก็ไม่ดี  ตาของเราเคยแจ่มใสก็มองอะไรไม่เห็น ดีไม่ดีอย่างผม เอาแว่นเข้ามาใส่ยังมองไม่เห็นเลย หูเคยดีก็จะฟังอะไรไม่ชัด ผมเคยดำสละสลวยก็เริ่มเปลี่ยนสี ทีนี้ร่างกายที่เคยแข็งแรงก็งกๆ เงิ่นๆ ผิวหนังที่เคยเปล่งปลั่งก็ย่อหย่อนไปด้วยประการทั้งปวง ความจำก็เสื่อม อะไรก็ใช้ไม่ได้ เรียกว่าคนแก่หาอะไรดีไม่ได้

... ท่านบอกให้ดูกายนอกกายหรือกายภายนอก เราก็ใช้ปัญญาสักนิดเข้ามาพิจารณา อันนี้ตัวสติสัมปชัญญะไม่ใช่ตัวปัญญานะ ฯ.

ธรรมะปกิณกะ สติปัฏฐาน๔ โดยละเอียด โดย พระมหาวีระ ถาวโร วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

24
... ท่านบอกพิจารณาเห็นความเสื่อมไปของกายในคือเรา กายนอกคือกายของคนอื่น กายในกายเห็นอะไรมันเสื่อมล่ะ ส่วนที่เราพึ่งเห็นได้ง่ายก็ผม ผมมันเคยดำ นานๆ เข้ามันก็เปลี่ยนเป็นสีขาว เมื่อก่อนนี้ผมดก เวลานี้หัวล้านเข้าไปแล้ว นี่มันไม่จริง   ความเสื่อมของกาย ความเป็นเด็กทรงอยู่ไม่นานนักมันก็คลานเข้าไปหาความเสื่อม เพราะว่ามันเดินเข้าไปหาความสลายตัว เมื่ออาการแข็งแรงปรากฏเราคิดว่ามันเจริญ มันยิ่งเดินเร็วเท่าไหร่มันก็ใกล้ความตายเข้าไปเท่านั้น แล้วมันจะดีอะไร นี่ความเสื่อมภายใน บางทีเราจะเห็นยาก แต่ก็พยายามดูไว้ ฯ.

ธรรมะปกิณกะ สติปัฏฐาน๔ โดยละเอียด โดย พระมหาวีระ ถาวโร วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

25
... พระพุทธเจ้าของเรานั้น ท่านก็ตัดสินใจของท่านยังไม่ได้เหมือนกัน เมื่อท่านออกบวชใหม่ๆ ก็แสวงหาโมกขธรรม ดูอะไรท่านก็ดูทุกอย่างให้มีปัญญา แสวหาครูบาอาจารย์ อุททกดาบสอย่างนี้ท่านก็ไป เข้าไปปฏิบัติดู ยังไม่เคยนั่งสมาธิท่านก็ไปนั่ง นั่งสมาธิขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายให้ตรง หลับตา อะไรๆ ก็ปล่อยวางไปหมด จนสามารถบรรลุฌานสมาบัติชั้นสูง(อากิญจัญญายตนฌาน) แต่เมื่อออกจากฌานนั้นแล้ว ความคิดมันก็โผล่ขึ้นมาอีก เมื่อมันโผล่ขึ้นมาแล้ว จิตก็เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในที่นั้น
     
... ท่านก็รู้ว่า เออ...อันนี้ปัญญาเรายังไม่รู้ ยังไม่แจ่มแจ้ง ยังเข้าไม่ถึง ยังไม่จบ ยังเหลืออยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านก็ได้ความรู้เหมือนกัน
     
... ตรงนี้ไม่จบท่านก็ออกไปใหม่ แสวงหาครูบาอาจารย์ใหม่ เมื่อออกจากครูบาอาจารย์องค์นี้ ท่านก็ไม่ดูถูกดูหมิ่น ท่านทำเหมือนกันกับแมลงภู่ที่เอาน้ำหวานในเกสรดอกไม้ไม้ให้ดอกไม้ช้ำ แล้วไปพบอาฬารดาบสก็เรียนอีก ได้ความรู้สูงกว่าเก่าเป็นสมาบัติอีกชั้นหนึ่ง(เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน)
     
... เมื่อออกจากสมาบัติแล้ว พิมพา ราหุล ก็โผล่มาอีก เรื่องราวต่างๆ ก็เกิดขึ้นมายังมีความกำหนัดรักใคร่อยู่ ท่านก็เห็นในจิตของท่านว่า อันนี้ยังไม่ถึงที่สุดเหมือนกัน ท่านก็เลิก ลาอาจารย์องค์นี้ไป แต่ยอมรับฟังและพยายามทำไปจนสุดวิสัยของท่าน ท่านตรวจดูผลงานของท่านตลอดกาลตลอดเวลา ไม่ใช่ว่า ท่านทำแล้วก็ทิ้งไป ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านติดตามผลงานของท่าน ตลอดเวลาทีเดียว
     
... แม้กระทั่งการทรมาน เมื่อทรมานเสร็จก็เห็นว่า การทรมานอดข้าว อดปลา ทรมานร่างกายให้ซูบซีดนี้  มันเป็นเรื่องของร่างกาย กายมันไม่รู้เรื่องอะไร คล้ายๆ กับว่าไปตามฆ่าคนที่ไม่ได้เป็นโจร ไอ้คนที่เป็นโจรนั้นไม่ได้สนใจ เขาไม่ได้เป็นโจรเข้าใจว่าเขาเป็นโจร เลยไปตะคอกใส่พวกนั้น ไปคุมขังแต่พวกนั้น ไปเบียดเบียนแต่พวกนั้นเรื่อย เป็นไปในทำนองนี้ เมื่อท่านพิจารณาแล้วก็เห็นว่าไม่ใช่เรื่องของกาย มันเป็นเรื่องของจิต อัตตกิลมถานุโยโคนี้ พระพุทธเจ้าผ่านแล้ว รู้แล้ว จึงเข้าใจว่าอันนี้เป็นเรื่องกาย ความเป็นจริงพระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ทางจิต
     
... เรื่องกายก็ดี เรื่องจิตก็ดี ดูแล้วก็ให้รวมเป็นเรื่องอนิจจัง เป็นเรื่องทุกขัง เป็นเรื่องอนัตตา มันเป็นแต่เพียงธรรมชาติอันหนึ่ง มีปัจจัยให้เกิดขึ้นมาแล้วมันก็ตั้งอยู่ มันตั้งอยู่แล้วก็สลายไป มีเหตุมีปัจจัยก็เกิดขึ้นมาอีก เกิดขึ้นมาแล้วก็ตั้งอยู่ ตั้งอยู่แล้วมันก็สลายไปอีก
     
... ที่มันเป็นเช่นนี้ก็ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่เราไม่ใช่เขาไม่มีอะไร เป็นแต่เพียงความรู้สึกเท่านั้น สุขก็ไม่มีตัวตน ทุกข์ก็ไม่มีตัวตน เมื่อค้นคว้าหาตัวตนจริงๆ แล้วไม่มี มีเพียงธรรมชาติอันหนึ่ง เกิดขึ้นมาแล้วก็ตั้งอยู่ ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป มันก็หมุนเวียนเปลี่ยนไปเท่านั้น 
   
     
... มนุษย์สัตว์ทั้งหลายนั้นก็มักเข้าใจว่า การเกิดขึ้นนั้นเป็นเรา การตั้งอยู่เป็นเรา การดับไปนั้นเป็นเรา ก็ไปยึดสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ไม่อยากให้เป็นอย่างนั้น อยากให้เป็นอย่างอื่น เช่นว่า เกิดแล้วไม่อยากให้สลายไป สุขแล้วไม่อยากให้ทุกข์ ทุกข์ไม่อยากให้เกิด ถ้าเกิดแล้วก็อยากให้ดับเร็วๆ หรือไม่ให้เกิดเลยดีมาก อย่างนี้ นี้ก็เพราะเห็นว่ารูปนามนี้เป็นตัวเรา เป็นของเรา จึงมีความปรารถนาอยากจะให้รูปนามเป็นอย่างนั้น
     
... ถ้าความเห็นเป็นอย่างนี้ มันก็คล้ายๆ กับว่าเราสร้างทำนบ สร้างเขื่อนไม่มีทางระบายน้ำ โทษมันก็คือเขื่อนมันจะพังเท่านั้นเอง เพราะไม่มีทางระบาย อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น นี่พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า เมื่อความคิดความเห็นเป็นเช่นนี้ อันนี้แหละเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เมื่อคิดเช่นนั้น เข้าใจเช่นนั้นทุกข์มันก็เกิดขึ้นมาเดี๋ยวนั้น ท่านเห็นเหตุอันนี้ ท่านจึงสละ นี้คือสมุทัยสัจ ทุกขสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ มันติดอยู่ตรงนี้เท่านั้น คนจะหมดสงสัยก็จะหมดที่ตรงนี้ เมื่อเห็นว่าอันนี้มันเป็นรูปนาม หรือกายกับใจ พิจารณาแล้วที่มันเกิดมาแล้ว ก็ให้เข้าใจว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขา

26
... นักประพฤติปฏิบัตินี้ จึงสร้างความรู้ที่เรียกกันว่า พุทโธ คือ ผู้รู้ อันนี้ให้เกิดขึ้นที่จิต แต่ก่อนผู้รู้ยังไม่เกิดขึ้นที่จิต รู้แต่ไม่แจ้ง รู้แต่ไม่จริง รู้แต่ไม่ถึง ความรู้อันนั้นจึงอ่อนความสามารถ ไม่มีความสามารถที่จะสอนจิตของเราได้ ในเวลานั้น จิตนั้นได้กลับเปลี่ยนออกมาเพราะความรู้อันนี้ เรียกว่าปัญญาหรือญาณ รู้ยิ่งกว่ารู้มาแต่ก่อน ฯ.

27
... การจะให้เราบรรลุธรรมนั้น เราก็ต้องเอาคำสอนของท่านมาทำขึ้นในใจของเรา ส่วนที่เป็นทางกายก็เอาให้กาย ส่วนที่เป็นทางวาจาก็เอาให้วาจา ส่วนที่เป็นทางใจก็เอาให้ใจปฏิบัติ ฯ.

28
... พระพุทธเจ้าท่านสอนข้อปฏิบัติเป็นอุบายให้เราละถอนทิฏฐิมานะ ไม่ใช่ว่าท่านปฏิบัติให้เรา เมื่อเลิกจากการฟังแล้ว เราต้องมาสอนตัวเอง มาปฏิบัติตัวเอง ผลมันเกิดขึ้นตรงนี้ ไม่ใช่ว่าเกิดขึ้นตรงที่ท่านสอน ฯ.

29
... ความตั้งใจ นะ...คือตั้งใจในการปล่อยวาง ไม่ต้องตั้งใจในการผูกมัด ฯ.

30
     ... เราไม่หลงอารมณ์ ก็ไม่หลงโลก ไม่หลงโลกเราก็ไม่หลงอารมณ์ ฯ.

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 15