เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - Wisdom

หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17
226
เรื่องกัป
เมื่อตอนกล่าวถึงนิรยภูมิ ซึ่งว่าด้วยอายุของสัตว์นรกนั้น ได้บอกไว้ว่า
จักกล่าวถึงเรื่องกัปในโอกาสข้างหน้า ครั้นถึงตอนนี้จักหลบไม่อธิบายปล่อยให้
หายไปเสียเฉยๆ ก็ดูกระไรอยู่นัก จึงจักกล่าวถึงเรื่องกัปตามที่บอกไว้ ดังต่อไปนี้
กาลสมัยเริ่มแรกทีเดียว คือ ในยุคต้น คนเราไม่ใช่มีอายุน้อยนิดหนึ่งเพียง
๗๐-๘๐ ปี แล้วก็ตายลงอย่างทุกวันนี้เลย ความจริง มนุษย์ในยุคนั้น เขามี
อายุยืนนานถึงอสงไขยปี ที่ว่าอสงไขยปีนั้น ก็คือจำนวนปีมนุษย์ที่มีเลขหนึ่งขึ้น
หน้า แล้วต่อด้วยเลขศูนย์หนึ่งร้อยสี่สิบตัว หรือจะว่าเป็นจำนวนปีที่นับด้วยเลข
หนึ่งร้อยสี่ลิบเอ็ดหลักก็ได้ อยากรู้ว่าเป็นจำนวนเท่าใด ก็ลองคำนวณดูเถิด คือ
ตั้งเลขหนึ่งเขัาแล้วเติมศูนย์ลงไปให้ได หนึ่งร้อยสี่สิบศูนย์ กาลเวลาตามจำนวน
ตัวเลขที่กล่าวนี้ เป็นจำนวนอสงไขยปี เพราะมันเป็นจำนวนปีที่มากมายเกือบ
จะนับไม่ได้ อย่างนี้ จึงมีชื่อเรียกว่า อสงไขยปี = จำนวนปีที่นับไม่ได้
ในยุคต้น มนุษย์มีอายุนานได้ อสงไขยปีนี่แล แล้วก็ค่อยๆ ลดลงมา ร้อยปี
ลดลงปีหนึ่ง ลดลงมาเรื่อย ๆ ค่อยลดลงด้วยอาการอย่างนี้ จนกระทั่งอายุ
ของมนุษย์เหลือเพียงสิบปี อาการที่อายุลดลงนี้ พึงเห็นตัวอย่าง เช่น ในสมัยที่
สมเด็จพระพุทธเจ้าของเรายังทรงพระชนมชีพอยู่มนุษย์ในสมัยนั้นมีอายุหนึ่งร้อยปี
ตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงกาลทุกวันนี้ นับได้สองพันห้าร้อยปีเศษ หรือจะพูดอีกที
ว่านับได้ยี่สิบห้ารัอยปีเศษแล้ว ทีนี้ ร้อยปีลดลงเสียปีหนึ่งก็คงเหลือเจ็ดสิบหัา
(๑๐๐-๒๕ = ๗๕) จึงเป็นอันยุติได้ว่า ในสมัยทุกวันนี้ อายุมนุษย์มี ๗๕ ปี
เป็นประมาณเท่านั้นเอง เมื่อลดลงไปจนกระทั่งเหลือนิดหน่อยเพียงสิบปีแลัว
คราวนี้ ไม่ลดอีกต่อไปละ แต่จะเพิ่มขึ้น คือ ค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ร้อยปีเพิ่มขึ้น
ปีหนื่ง เช่นเดียวกับตอนที่ลดลงนั่นเอง เพิ่มขึ้นไปเรื่อยไม่หยุดยั้ง จนกระทั่ง
มนุษย์มีอายุยืนนานถึงอสงไขยปีอีกตามเดิม เวลานานหนึ่งรอบอสงไขยปีนี่เอง
เรียกว่า อันตรกัป
เมื่อนับอันตรกัปที่ว่ามานี่ได้ หกสิบสี่อันตรกัป จึงเป็นหนึ่งอสงไขยกัป
ก็อสงไขกัปนี้มีอยู่ ๔ อสงไขยกัป คือ
๑. สังวัฏฏอสงไขยกัป ... ได้ แก่ ตอนที่โลกกำลังถูกทำลาย ซึ่งได้ แก่คำว่า
สงฺวฏฏดีติ สงวฏโฎ = กัปที่กำลังพินาศอยู่ เรียกว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป
๒. สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป ... ได้แก่ ตอนที่โลกถูกทำลายเลร็จแล้ว ซึ่ง
ได้แก่คำว่า สงฺวฏโฎ หุตฺวา ดิฏฐดีติ สงฺวฏฏฐายี = กัปที่มีแต่ความพินาศตั้งอยู่
เรียกว่า สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป
๓. วิวัฏฏอสงไขยกัป ... ได้แก่ ตอนที่โลกกำลังพัฒนาคือกำลังจะกลับคืน
เป็นปกติ ซึ่งได้แก่ คำว่า วิวฏฏตีติ วิวฏโฏ = กัปที่กำลังเาริญขึ้นเรียกว่า วิวัฏฏ
อสงไขยกัป
๔. วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป ...ได้แก่ ตอนที่โลกพัฒนาเรียบร้อยเป็นอันดีแล้ว
ซึ่งได้แก่ คำว่า วิวฺฏโฏ หุตฺวา ติฏฐตีติ วิวฏฏฐายี = กัปที่เจริญูขึ้นพร้อมแล้ว
คือทุกสิ่งทุกอย่าง ดั้งอยู่ตามปกติ เรียกว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป
สัตว์โลกทั้งหลายเช่นมนุษย์เรานี้ เป็นต้น จะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ได้ ก็เฉพาะ
ตอนอสงไขยกัปสุดท้าย คือ วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป นี่เท่านั้ น ส่วนตอนทั้งสาม
กัปข้างต้นนั้น ไม่มีสิ่งที่มีชีวิตอาศัยอยู่เลย ก็จะอยู่ได้อย่างไรเล่า เพราะเป็น
ตอนที่โลกกำลังถูกทำลายพังพินาศ และผลมาเป็นปกติเอาเมื่อตอนอสงไขยกัป
สุดท้ายนี่เอง
อสงไขยกัปหนื่งๆ นั้นนับเป็นเวลานานมาก ดังกล่าวแล้ว คือ
๑. สังวัฏฏอสงไขยกัป นานถึง ๖๔ อันตรกัป
๒. สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป นานถึง ๖๔ อันตรกัป
๓. วิวัฏฏอสงไขยกัป นานถึง ๖๔ อันตรกัป
๔. วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป นานถึง ๖๔ อันตรกัป
รวมทั้ง ๔ อสงไขยกัป ก็เป็น ๒ อันตรกัป เวลาทั้งหมดนี้ เรียกว่า
๑ มหากัป
ที่พรรณนามาทั้งหมดนี้ รู้สึกว่าจะเขัาใจยากอยู่ลักหน่อย แต่ก็เป็นการจน
ใจเหลือวิลัยแท้ ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรจึงจะอธิบายให้ง่ายกว่านี้ได้ อีกแล้ว
ความจริง การรจนาเรียบเรียงหนังสือเรื่องนี้ ตั้งใจจะให้ อ่านเขัาใจกันง่าย ๆ
เพราะโดยมากเป็นเรื่องราวนอกโลกมนุษย์ ใครที่เป็นคนเชื่อยาก เป็นผู้มากไป
ด้วยจินตามยปัญูญา ก็อาจทึกทักเอาว่าเป็นเรื่องไม่เข้าท่า ไม่น่าเชื่อฟัง แต่ว่า
ความจริงไม่ใช่ เพราะเป็นเรื่องดีที่ควรรู้ไว้ นักหนา รับฟังไว้ พิจารณาเถิด วันนี้
ไม่ศรัทธา แต่ว่าภายหน้าจะตัองเชื่อในเมื่อจิตใจเจริญขึ้นด้วยธรรมปฏิบัติ
ฉะนั้น ขณะนี้ ไม่ต้องคิดอะไรมาก อ่านฟังกันต่อไปดีกว่า
ลำดับนี้ จะว่าด วยเรื่องกัปซ้ำ อีกที เพราะเท่าที่ว่ามาแล้วรู้สึกว่ายังขัด ๆ
อยู่ ยังไม่โล่งใจนัก เรื่องกัปนี้ เมื่อจะว่าซ้ำอีกที ก็นับได้ดังนี้
๑ มหากัป เท่ากับ ๔ อสงไขยกัป
๑ อสงไขยกัป " ๖๔ อันตรกัป
๑ อันตรกัป " ๑ รอบอสงไขยปี
หรือ
๑ รอบอสงไขยปี เป็น ๑ อันตรกัป
๖๔ อันตรกัป " ๑ อสงไขยกัป
๔ อสงไขยกัป " ๑ มหากัป
เอาละ... หวังว่า คงเป็นที่เข้าใจกันได้ง่ายขึ้นแล ว บัดนี้ เราจะพากันย้อน
กลับไปหาเรื่องเดิม คือ อายุของพระพรหมชั้นพรหมปาริสัชชาภูมิต่อไป
พระพรหมชั้นนี้ได้กล่าวไว้แล้วว่า มีอายุนานถึงหนึ่งในสามของวิวัฏฏฐายี
อสงไขยกัป ก็อันว่ากาลเวลาที่เรียกว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัปนั้น ท่านผู้มี
ปัญญาคงทราบแล้วว่า นานถึงหกสิบลี่อันตรกัป ทีนี้ หนึ่งในสามของหกสิบสี่
เป็นเท่าไรเล่า? ก็คงเป็นยี่สิบเอ็ดเศษ ฉะนั้ น จึงเป็นอันยุติได้ว่า พระพรหมทั้ง
หลายผู้สถิตเสวยพรหมสมบัติอยู่ในพรหมปาริสัชชาภูมินี้ มีอายุยืนนานได้ ๒๑
อันตรกัปเศษ
บุรพกรรม ท่านผู้ที่จะมาอุบัติเกิดเป็นพรหมชั้นนี้ ได้แก่ ท่านที่เป็น
พราหมณ์ก็ดี โยคีหรือพระฤๅษีก็ดี ภายนอกพระพุทธศาสนา ซึ่งได้เจริญสมถ
ภาวนาบำเพ็ญพรตทำตบะ จนได้เป็นฌานลาภีบุคคลลำเร็จปฐมฌาน หรือ
สมณะพระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา ผู้อุตสาหะกระทำสมถกรรมฐาน
ภาวนา จนได้สำเร็จปฐมฌานเช่นเดียวกัน แต่เป็นปฐมฌานชั้นเล็กนัอย มี
อำนาจอ่อนซึ่งเรียกว่า ปริตตปฐมฌาน ครั้นดับจิตตายในขณะฌานยังไม่เสื่อม
ย่อมมาอุบัติบังเกิดในพรหมโลกชั้นนี้ เสวยพรหมสมบัติอย่างสุขสำราญ สมกับ
ภาวนากรรมที่ทำไวั

227
1.สารกัป หมายถึง มหากัปที่มีแก่นสาร มหากัปใดที่ถูกเรียกว่า สารกัป แสดงว่ามหากัปนั้นจะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นมาบนโลกเพียงแค่พระองค์เดียว
2.มัณฑกัป หมายถึง มหากัปที่มีความผ่องใส มหากัปใดที่ถูกเรียกว่า มัณฑกัป แสดงว่ามหากัปนั้นจะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นมาบนโลกทั้งหมดสองพระองค์
3.วรกัป หมายถึง มหากัปที่ประเสริฐ มหากัปใดที่ถูกเรียกว่า วรกัป แสดงว่ามหากัปนั้นจะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นมาบนโลกทั้งหมดสามพระองค์
4.สารมัณฑกัป หมายถึง มหากัปที่ประเสริฐกว่าและมีแก่นสารมากกว่ามหากัปที่ผ่านๆมา มหากัปใดที่ถูกเรียกว่า สารมัณฑกัป แสดงว่ามหากัปนั้นจะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นมาบนโลกทั้งหมดสี่พระองค์
5.ภัทรกัป หมายถึง มหากัปที่เจริญที่สุดและเกิดขึ้นได้ยากที่สุด มหากัปใดที่ถูกเรียกว่า ภัทรกัป แสดงว่ามหากัปนั้นจะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นมาบนโลกมากที่สุดถึงห้าพระองค์ ซึ่งในช่วงของภัทรกัปนี้ ถือว่าเป็นมหากัปที่มีจำนวนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นมาบนโลกมากที่สุด และจะไม่มีมากกว่านี้อีก ด้วยเหตุนี้ ภัทรกัปจึงเป็นมหากัปที่ทำให้สรรพสัตว์ทั้งหลายมีโอกาสจะกระทำอาสวะให้สิ้นไป ได้มากกว่ามหากัปอื่นๆทั้งหมด ส่วนในมหากัปที่พวกเรากำลังอยู่นี้ มีชื่อเรียกว่า ภัทรกัป ซึ่งถือว่าเป็นมหากัปที่เจริญที่สุดและเกิดขึ้นได้ยากที่สุด โดยจะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นบนโลกมากที่สุดถึง 5 พระองค์ ซึ่งในกัปนี้ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นมาบนโลกไปแล้วถึง 4 พระองค์ได้แก่
1.พระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรกของภัทรกัปนี้
2.พระโกนาคมนสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่สองของภัทรกัปนี้
3.พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่สามของภัทรกัปนี้   
4.พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่สี่ของภัทรกัปนี้
5.พระศรีอริยเมตไตรย คือผู้ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 คือองค์สุดท้ายแห่งภัทรกัปนี้
สำหรับในยุคปัจจุบัน เราท่านผู้มีบุญทั้งหลายกำลังอยู่ในยุคของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งถือว่าอยู่ในช่วงอันตรกัปที่ 12 และในอนาคตกาลอันไม่ใกล้ไม่ไกลนี้ กล่าวคือ อีกเพียงอสงไขยปีเศษ พระศรีอริยเมตไตรย สัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จลงมาบังเกิดบนโลก ในช่วงอันตรกัปที่ 13 ซึ่งถือเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ที่ห้า หรือพระองค์สุดท้ายของภัทรกัปนี้ และด้วยความที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ทรงสั่งสมบารมีมาไม่เท่ากัน ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถแบ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เป็นสามประเภท ซึ่งพระพุทธเจ้าแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน
กว่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ จะได้มาตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นแสงสว่างให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายนั้น ทุกๆพระองค์จะต้องผ่านการบำเพ็ญเพียรและสั่งสมบารมีอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน มาเหมือนๆกัน แม้จะผ่านการบำเพ็ญเพียรมาเหมือนๆกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ระยะเวลาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ทรงใช้ในการสั่งสมบารมีนั้น กลับมีระยะเวลาที่ไม่เท่ากัน ด้วยเหตุที่ระยะเวลาในการสั่งสมบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ละพระองค์ไม่เท่ากันนี้เอง จึงได้มีการแบ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกเป็นสามประเภท ดังนี้ ประเภทแรก เรียกว่า พระปัญญาธิกพุทธเจ้า
หมายถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงสร้างบารมีโดยมีพระปัญญาอันแก่กล้า กล่าวคือ พระองค์ทรงมุ่งที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อจะได้นำพาพุทธบริษัทสี่ทั้งหลาย  ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่งแต่ไม่มากเข้าสู่พระนิพพาน สำหรับพระปัญญาธิกพุทธเจ้านั้น พระองค์จะต้องใช้ระยะเวลาในการสั่งสมบารมีทั้งหมด 20 อสงไขยมหากัป กับเศษอีกแสนมหากัป ถ้าจะให้แบ่งระยะเวลาในการสั่งสมบารมีของพระปัญญาธิกพุทธเจ้า สามารถแบ่งได้เป็นสามระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1.เป็นช่วงระยะเวลาที่พระองค์ทรงสั่งสมบารมี พร้อมกับมีพระดำริ หรือทรงตั้งความปรารถนาในการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาไว้ในพระทัย โดยที่ไม่ได้เอ่ยปากบอกใคร สำหรับระยะเวลาในการสั่งสมบารมีในช่วงนี้ พระองค์จะต้องใช้ระยะเวลาในการบ่มบารมีราว 7 อสงไขยมหากัป
ระยะที่ 2.เป็นช่วงระยะเวลาที่พระองค์ทรงสั่งสมบารมี พร้อมกับทรงเปล่งพระวาจา หรือทรงตรัสบอกถึงความปรารถนาในการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้กับบุคคลอื่นๆได้รับรู้ นอกจากนี้ ยังเป็นช่วงที่พระองค์กำลังทรงสั่งสมบารมีให้แก่รอบยิ่งๆขึ้นไปอีกด้วย สำหรับระยะเวลาในการสั่งสมบารมีในช่วงนี้ พระองค์จะต้องใช้ระยะเวลาในการบ่มบารมีอีก 9 อสงไขยมหากัป
ระยะที่ 3.เป็นช่วงระยะเวลาที่พระองค์ทรงสั่งสมบารมี จนได้รับพุทธพยากรณ์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในครั้งแรกว่า “ในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้า พระองค์จักได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง อย่างแน่นอน สำหรับระยะเวลาในการสั่งสมบารมีในช่วงนี้ พระองค์จะต้องใช้ระยะเวลาในการบ่มบารมีอีกถึง 4 อสงไขยมหากัป กับเศษอีกแสนมหากัป
ซึ่งในส่วนของพระสมณโคดมสัมพุทธเจ้าของพวกเรานั้น พระองค์ทรงจัดอยู่ในประเภท พระปัญญาธิกพุทธเจ้า  หรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาอันแก่กล้านั่นเอง 
ใน จักกวัตติสูตร ได้บันทึกเอาไว้ว่า ในยุคต้นกัปนั้น การที่มนุษย์มีอายุขัยลดลง เริ่มจากมนุษย์ประพฤติอกุศลกรรมบถ 10 ประการ พระเจ้าแผ่นดินไม่ทรงประพฤติจักรพรรดิวัตร ทรงตัดสินไม่เที่ยงธรรม ไม่พระราชทานทรัพย์แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนจึงบังเกิดขึ้น เมื่อความขัดสนมีมากเข้าจึงทำให้เกิดการลักขโมย เมื่อมีการลักขโมยมากขึ้นศัสตราวุธจึงเพิ่มขึ้น พอมีอาวุธ มนุษย์ก็อยากใช้ฆ่าและทำร้ายกัน เมื่อการทำปาณาติบาตเพิ่มมากขึ้น มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย ทำให้การพูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย อายุของมนุษย์จึงเสื่อมถอย ลูกของมนุษย์ที่มีอายุแปดหมื่นปี จึงมีอายุถอยลงเหลือสี่หมื่นปี สองหมื่นปี และหนึ่งหมื่นปี ตามลำดับรุ่นลูก หลาน เหลน โหลน หลิน แหล่ ในเมื่อมนุษย์มีอายุหนึ่งหมื่นปี การประพฤติล่วงละเมิดบุตร ภรรยา หรือสามี ของคนอื่นมีมากขึ้น ทำให้ลูกที่เกิดมามีอายุถอยลง เหลือห้าพันปี เหลือสองพันห้าร้อยปีก็มี สองพันปีก็มี มนุษย์ในช่วงอายุสองพันปีจะมีอภิชฌาและพยาบาทหนาแน่นมากขึ้น ทำให้ลูกที่เกิดมามีอายุถอยลงเหลือหนึ่งพันปี ในยุคที่มนุษย์มีอายุหนึ่งพันปี มิจฉาทิฐิมีมากขึ้น เป็นเหตุให้ลูกที่เกิดมามีอายุลดลงเหลือห้าร้อยปี รุ่นต่อมาเหลือสองร้อยห้าสิบปีบ้าง สองร้อยปีบ้าง ในยุคที่มนุษย์มีอายุราวสองร้อยห้าสิบปี หรือสองร้อยปี มนุษย์จะไม่ปฏิบัติชอบในบิดามารดา ไม่เคารพสมณะ ไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ทำให้ลูกที่เกิดมาภายหลังมีอายุถอยลงเหลือหนึ่งร้อยปี  ช่วงที่มนุษย์มีอายุขัยลดลงจากหนึ่งร้อยปี ถึง สิบปี ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎกแต่ปรากฏในคัมภีร์โลกสัณฐานว่า ทุกๆหนึ่งร้อยปี มนุษย์จะมีอายุขัยลดลงหนึ่งปี

228
คำว่า มหากัป หมายถึง ระยะเวลารวม 256 อันตรกัป แห่งการพินาศอยู่ ความว่างเปล่า ความเจริญขึ้น และตั้งขึ้น ของ อสงไขยกัปทั้ง 4 คือ
อสงไขยกัป ที่ 1 ชื่อว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป มีระยะเวลา 64 อันตรกัป เป็นอสงไขยกัปจักรวาลซึ่งมีแสนโกฏิจักรวาล กำลังพินาศอยู่
อสงไขยกัป ที่ 2 ชื่อว่า สังวัฏฐายีอสงไขยกัป มีระยะเวลา 64 อันตรกัป เป็นอสงไขยกัปที่ว่างเปล่า เพราะจักรวาลถูกทำลายไปจนหมดสิ้น
อสงไขยกัป ที่ 2 ชื่อว่า วัฏฏอสงไขยกัป มีระยะเวลา 64 อันตรกัป เป้นอสงไขยที่จักรวาลกำลังเจริญขึ้นไปตามลำดับ
อสงไขยกัป ที่ 2 ชื่อว่า วิวัฏฐายีอสงไขยกัป มีระยะเวลา 64 อันตรกัป เป็นอสงไขยกัป ที่จักรวาลได้ตั้งขึ้นเรียบร้อยแล้ว มนุษย์และหมู่สัตว์ทั้งหลายจะเกิดขึ้นในโลกธาตุได้แต่เฉพาะอสงไขยกัปนี้เท่านั้น

229
คำว่า อสงไขย หมายถึง แผ่นดินแห่งมหากัปอันนับประมาณมิได้ จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สุญญอสงไขย แผ่นดินแห่งมหากัปอันนับประมาณมิได้ที่สูญเปล่าจาก บุคคลผู้บริบูรณ์ด้วยคุณทั้งปวงคือ
1.0 สูญเปล่าจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้โดยชอบโดยพระองค์เอง แล้วทรงสอนผู้อื่นให้ตรัสรู้ตาม
1.1 สูญเปล่าจากพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ดีโดยชอบเฉพาะพระองค์เอง แต่ไม่อาจสอนผู้อื่นให้ตรัสรู้ตาม
1.2 สูญเปล่าจากอริยสาวก ผู้สดับฟังคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วตรัสรู้ตาม
1.3 สูญเปล่าจากพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน

2. อสุญญอสงไขย แผ่นดินแห่งมหากัป อันนับประมาณมิได้ ที่สูญเปล่าจาก บุคคลผู้บริบูรณ์ด้วยคุณทั้งปวงคือ
1.0 ไม่สูญเปล่าจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้โดยชอบโดยพระองค์เอง แล้วทรงสอนผู้อื่นให้ตรัสรู้ตาม
1.1 ไม่สูญเปล่าจากพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ดีโดยชอบเฉพาะพระองค์เอง แต่ไม่อาจสอนผู้อื่นให้ตรัสรู้ตาม
1.2 ไม่สูญเปล่าจากอริยสาวก ผู้สดับฟังคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วตรัสรู้ตาม
1.3 ไม่สูญเปล่าจากพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน

230
ในอนาคตกาล ในช่วงที่อายุ กัป ลดลงเหลือ 80,000 ปี ใน อันตรกัป ที่ 13 ของ อสงไขยกัป ที่ 4 แห่ง มหาภัทรกัป ปัจจุบัน ในกาลนั้น สิริมหามายาเทพบุตร จักทรงจุติจากดุสิตเทวโลก ลงมาปฏิสนธิในมนุษย์โลก เพื่อบังเกิดเป็นพุทธมารดาของ พระศรีอริยเมตไตรย มหาโพธิสัตว์ และ พระ นาถเทวเทพบุตร จักทรงจุติจากดุสิตเทวโลก ลงมาปฏิสนธิบังเกิด เป็น พระศรีอริยเมตไตรย มหาโพธิสัตว์พระองค์นั้น และจักทรงตรัสรู้เป็น พระศรีอริยเมตไตรย สัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 และเป็นพระพุทธเจ้าองค์สุดท้ายแห่งมหาภัทรกัปนี้

จนถึงกาลสิ้นยุคแห่งพระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ที่ 5 มหาภัทรกัป อันแผ่นดินโลกธาตุ
ปัจจุบันก็จักสูญสิ้นจากพระพุทธศาสนาเป็นเวลานาน จนถึงมี ไฟบัลลัยกัลป์ มาเผาผลาญล้างแผ่นดินทั่วทั้งแสนโกฏจักรวาลให้พินาศไปจนหมดสิ้น ต่อแต่นั้นชั่วกาลนาน จึงจักบังเกิดมีแผ่นดินโลกธาตุตั้งใหม่ขึ้น แต่แม้จักมีมนุษย์และหมู่สัตว์เป็นอันมากมาบังเกิด แต่ผืนแผ่นดินนั้นก็แผ่นดินแห่ง สุญญมหากัป อันสูญเปล่า เพราะจักไม่มีพระโพธิสัตว์ เสด็จอุบัติ ลงมาตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใหม่เป็นเวลาชั่วกาลนานถึง 1 สุญญอสงไขย ฉะนั้นใครที่ไปเกิดในช่วงนั้นจักเสียเวลาเปล่า และคงมีแต่อบายภูมิเป็นสัมปรายภพของสัตว์เหล่านั้น ฉะนั้นจงตั้งจิต อธิษฐาน ปรารถนาไปพบ พระศรีอารย์ เพื่อฟังธรรม และบรรลุธรรมในพุทธันดรหน้านี้เสียเถิด

231
นานาสาระและเสวนาทั่วไป / นานาสาระ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2012, 12:20:18 AM »
 :) มาโพสกระทู้นานาสาระและเสวนาเรื่องทั่วไปในห้องนี้กันนะครับ

232

พุทธัง ชีวิตัง เม ปูเชมิ
ธัมมัง ชีวิตัง เม ปูเชมิ
สังฆัง ชีวิตัง เม ปูเชมิ

 
ขอตั้งสัจจะอธิษฐานขอกราบขออาราธนาเมตตาบารมีรวมหลวงปู่ทวด
หลวงปู่ดู่ท่านอันเป็นที่สุด ขอหลวงปู่ได้โปรดมีเมตตาอารธนาบารมีรวม
ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตั้งแต่องค์ปฐมจนถึงองค์ปัจจุบัน
บรมมหาจักรพรรดิ์ทุกๆพระองค์ บารมีรวมพระปัจเจกพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์
พระธรรมและพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย โดยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต
บารมีรวมหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ ท่านอันเป็นที่สุด บารมีรวมหลวงตาม้าเป็นต้น

ขอบารมีหลวงปู่ได้โปรดเมตตาน้อมนำภพภูมิต่างๆทั้งหลายในทั่วทั้ง 3 แดนโลกธาตุ
อันประกอบไปด้วยเทพ 6 ชั้นพรหม 20 ชั้น เทพพรหมทุกชั้นฟ้ามหาสมุทรโดย
ทั่วทั้งแสนหมื่นโกฎิจักรวาล เทพพรหมเทวาที่เกี่ยวพันกับหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ หลวงตาม้า
เทพพรหมเทวาที่เกี่ยวพันเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้าโดยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต
 
ท่านท้าวจตุมหาราชทั้ง4 พระยายมราชพร้อมบริวารโดยทั้งหมด
พระศรีสยาเทวาธิราชโดยทุกๆพระองค์วีรบุรษและวีรสตรีทั้งหลาย
ที่คอยปกป้องรักษาแผ่นดินสยาม โอปาติกะทั้งหลาย
 
ฤาษีและดาบสทั้งหลายศาลเจ้าพ่อหลักเมืองโดยทุกๆจังหวัด พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง
พระราหูวราหก เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา พระเพลิง พระพาย
พญาครุฑพร้อมบริวาร พญานาคพร้อมบริวาร คนธรรณ์ ชาวเมืองลับแล
และสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้เคยไปอธิษฐานไว้
 
ขอหลวงปู่ได้โปรดเมตตาน้อมนำท่านทั้งหลายมาพร้อมกันเพื่อเพิ่มกำลัง
ในการบำเพ็ญบารมีเพื่อให้เหล่าพระโพธิสัตว์ผู้ปราถนาพุทธภูมิ
ได้ถึงซึ่งพระโพธิญาณได้ตรัสรู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า
พระองค์หนึงในกาลข้างหน้านั้นเทิอญ
. . .


233
หากมีบทความธรรมะ หรือกระทู้ที่เกี่ยวข้องกับหมวดหมู่ต่างๆในเว็บพุทธภูมิ
แห่งนี้ ยินดีช่วยกันเอามาโพสตั้งกระทู้กันนะครับ เพราะเว็บเราเพิ่งเปิดใหม่
กำลังอยู่ในช่วงรวบรวมเนื้อหา และ ตามผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายนะครับ
 
มาช่วยกันครับ สร้างบารมีด้วยกัน ช่วยกัน บารมีจะเต็มไวครับ สาธุ

ยินดีต้อนรับหน่อโพธิญาณทุกๆท่าน
หากมีอะไรชี้แนะหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลในการบำเพ็ญก็ขอเชิญนะครับ

หลวงตาม้าท่านเคยสอนว่าคนปราถนาโพธิญานต้องช่วยเหลือกัน
และผู้ปราถนาโพธิญาณก็ต้องมาเรียนศึกษากับผู้บำเพ็ญโพธิญานด้วยกันครับ

ธรรมรักษา

234
เชิญชวนหน่อพุทธภูมิทั้งหลายมาแนะนำตัวและแลกเปลี่ยน
แนวทางการบำเพ็ญบารมีของแต่ละท่านในกระทู้นี้

 
ส่วนตัวผมปราถนาพุทธภูมิ รู้ระลึกตนว่าเป็นประเภท ศรัทธาธิกะ
ตั้งแต่ตอนเด็กๆ จากนั้นก็ปฎิบัติธรรม สร้างบารมีสืบต่อมาเรื่อย

โดยตามรอยการสร้างบารมีสายโพธิญาณ
อันมีครูบาอาจารย์ที่ผมเคารพและมีบุญสัมพันธ์เป็นแนวทาง
แนวการปฎิบัติของผมนั้น ผมเรียนกรรมฐานสายพุทธภูมิ
มาจากครูบาอาจารย์ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์
และพระอริยะ เมตตาชี้แนะอบรมสั่งสอน

"อิมินา ปุญญะกัมเมนะ พุทโธ โหมิ อะนาคะเต กาเล"
จะมั่นคงในปณิธานจนกว่าจะถึงซึ่งพระโพธิญาณ . . .

ยินดีที่ได้รู้จักครับ . . .

235

๓) สาวกภูมิ


คือ บุคคลที่มี "มโนธาตุ" หรือจิต ที่มุ่งไปสู่ความเป็นสาวกผู้อื่น นิยมพึ่งพิง พึ่งพาอาศัย หรือยินยอมคล้อยตามผู้อื่น มากกว่าที่จะเป็นตัวของตัวเองแบบปัจเจกภูมิ และไม่นิยมที่จะรับผิดชอบชีวิตผู้อื่นแบบพุทธภูมิ หากจะช่วยเหลือผู้อื่นก็จะช่วยตามควรที่ตนเองไม่เดือดร้อนเท่านั้น เป็นผู้ตามไม่ใช่ผู้นำ แม้ว่าจะมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการหรือไม่ก็ตาม ยังมีความเป็นลูกน้องอยู่ดี บุคคลที่เป็นสาวกภูมินี้ปกติไม่รู้ตนเองว่าตนเองมี "มโนธาตุ" แบบใด จวบจนในชาติสุดท้ายที่ได้หลุดพ้นจึงได้รู้ จึงแตกต่างจากพุทธภูมิที่จะรู้ตนเอง และตั้งความปรารถนาในชาติที่มีการลอง, การเลือก และการหลง จนรู้ตนเองจึงบำเพ็ญเพียรได้ถูกต้อง ส่วนปัจเจกภูมิ จะรู้ตนเองหลังจากนั้น เมื่อตนเองคิดว่าเป็นพุทธภูมิ ก็หลงบำเพ็ญเพียรตามพุทธภูมิ แต่ทำได้ไม่ครบ ทั้งยังสะสมกรรมมามาก จนสุดท้ายต้องลัดเข้าสู่การพ้นทุกข์ จึงไม่อาจสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งจะรู้ตนเองว่าไม่ใช่พุทธภูมิ เป็นปัจเจกภูมิก็ในชาติที่เริ่มเหนื่อยล้าและตัดสินใจหาทางพ้นทุกข์ (ช่วงรับกรรมมากๆ) ในส่วนสาวกภูมิมีกระบวนการเวียนว่ายตายเกิด ๕ ขั้นเช่นกัน แต่แตกต่างจากแบบอื่น ดังนี้


ก่อนสาวกภูมิ


เมื่อจุติในสังสารวัฏแรกๆ จวบจนกระทั่งเริ่มมีบารมีโดยธรรมชาติ ได้เกิดเป็นหัวหน้าคณะ ช่วงนี้ยังไม่รู้ตัว และยังไม่มีความปรารถนาอะไร ยังหลงทางในสังสารวัฏ ยังไม่รู้จะเวียนว่ายตายเกิดไปเพื่ออะไร และเป็นหัวหน้าที่ไม่ดี ไม่มีความเมตตาดูแลบริวารในปกครอง ขาดความรับผิดชอบ ขาดความเป็นตัวของตัวเอง ขาดความเป็นผู้นำ ไม่กล้าตัดสินใจ ไม่กล้านำพาผู้คน ไม่กล้าเปลี่ยนแปลงผู้คนไปในทางที่ดี จึงเป็นพุทธภูมิไม่ได้ ผลจากกรรมนี้ ทำให้ชาติต่อๆ มา บริวารต่างพากันหนีไปหมด จนเกิดมาไม่ได้เป็นหัวหน้าคนอีก จนในที่สุด ก็พอใจและยอมรับสภาพที่ไม่ต้องเป็นหัวหน้าใคร รู้สึกดีกว่าต้องรับผิดชอบชีวิตคนอื่น และเริ่มต้องฝ่าฟันอุปสรรคในการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏเพียงผู้เดียว เริ่มมีความกลัว เริ่มคิดหาทางออกให้ตัวเอง แต่ไม่สามารถเข้าใจสรรพสิ่งได้ด้วยตนเอง จำต้องพึ่งพาอาศัยผู้นำทางจิตใจเป็นต้น


เลือก-ลอง-หลง


ในช่วงของการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏถัดมา เป็นช่วงแห่งการเลือกทางเดิน, การทดลอง และการหลงทาง ในช่วงนี้จะไหลตามกรรมไปพบผู้นำหลายคน ให้ได้เลือกตามแต่ใจปรารถนา บ้างก็ไปเป็นสาวกบริวารผู้นำผู้หนึ่ง แล้วก็อาจได้โอกาสเปลี่ยนไปเป็นสาวกบริวารของผู้นำผู้อื่นต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับเป็นช่วงที่พุทธภูมิเองก็เริ่มสะสมบริวารเช่นกัน ด้านพุทธภูมิต่างแย่งกันแสวงหาผู้ตาม มาเป็นบริวารของตน ส่วนสาวกภูมิก็เลือกหัวหน้าของตนเช่นกัน บ้างเปลี่ยนไปมา บ้างเริ่มคงที่ เมื่อขาดนายตนเองก็ลำบาก ทั้งภพโลกและภพสวรรค์ เมื่อได้นายก็พ้นลำบากสลับไป


แสวงหาที่พึ่งพิง


เมื่อถึงระยะนี้ สาวกภูมิ จะรู้ตนว่าแท้แล้วตนไม่มีกำลังความสามารถที่จะไปรอดได้ด้วยตัวคนเดียวแบบปัจเจกภูมิ, และไม่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นหรือแม้แต่ตัวเองได้แบบพุทธภูมิ เหล่าสาวกภูมิ จึงมีความตั้งใจแน่วแน่ชัดเจนแล้วว่าจำต้อง "แสวงหาที่พึ่งพิงเป็นหลักแหล่งแน่นอน" ช่วงนี้จะเปลี่ยนจากยุค "เลือกนายอย่างเสรี" มาสู่ยุค "การเป็นบริวารตลอดไป" ดังนั้น คำว่า "จงรักภักดีมีนายเดียว" จึงได้เกิดขึ้น เมื่อถึงจุดนี้ สาวกภูมิจะไม่ต้องแร่ร่อนในสังสารวัฏทั้งสามภพอย่างไม่มีที่พึ่งพิงอีกต่อไป เพราะจะมีที่อาศัยทั้งภพโลก, ภพสวรรค์ เมื่อทำความดีได้จุติยังสวรรค์ ก็จะไปอาศัยในวิมานของนายของตน เมื่อมาเกิดบนโลกมนุษย์ก็ได้อาศัยนายของตน เป็นผู้ชุบเลี้ยงดูแล ช่วงนี้ สาวกภูมิจึงเวียนว่ายตายเกิดเพื่อช่วยพุทธภูมิในการบำเพ็ญเพียรบางส่วน และเสวยผลบุญบนสวรรค์รอนายของตนเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่ามีหลักแหล่งแน่นอนแล้ว และมักจะไม่เปลี่ยนใจไปภักดีต่อนายอื่นอีก จัดเป็นสาวกแท้จริง


ไถ่ถอนกรรมเก่า


ในระยะนี้ เหล่าสาวกภูมิจะต้องรับกรรมที่ตนเองทำในช่วงก่อนๆ หากตนเองเคยทำผิดพลาดมามากก่อนจะพบนายที่ดีสั่งสอน ก็ต้องไปเกิดร่วมกับนายของตนเพื่อไถ่ถอนกรรมและช่วยนายในการบำเพ็ญบารมี ดังนั้น ในการไปเกิดเพื่อสะสมบุญบารมีและไถ่ถอนกรรมของพุทธภูมิหนึ่งดวงจิต จะมีการนำสาวกของตนไปเกิดด้วย เพื่อช่วยงานและเป็นการเปิดโอกาสให้สาวกภูมิ ชดใช้ไถ่ถอนกรรมและบำเพ็ญบุญบารมีบ้าง ดังนั้น เหล่าสาวกจะได้รับการอนุญาตให้ไปเกิดช่วยกันบำเพ็ญบารมีแตกต่างกันไป หมุนเวียนเปลี่ยนไปในแต่ละชาติ สาวกภูมิจึงเกิดน้อยกว่าพุทธภูมิ และเฝ้าอยู่บนสวรรค์ในวิมานนานกว่า รออยู่แบบสบายๆ ไม่ต้องเสี่ยงมากกว่า แต่พุทธภูมินายของตนนั่นเองที่ต้องลงไปบำเพ็ญบุญบารมีอยากมากมาย ช่วงนี้สาวกภูมิเพียงแต่ผ่อนแรงผลัดเปลี่ยนกันลงไปช่วยนายของตนเท่านั้น ซึ่งทำให้ได้ชดใช้ไถ่ถอนกรรมด้วย


ซักฟอกมโนธาตุ


ในชาติสุดท้ายเท่านั้น สาวกภูมิจึงจะได้ซักฟอกมโนธาตุ หรือไม่ก็ไม่เกิน ๗ ชาติ ที่จะทำการซักฟอกมโนธาตุ ซึ่งจะสั้นกว่าพุทธภูมิและปัจเจกภูมิ เนื่องจากการซักฟอกมโนธาตุของสาวกภูมินั้น จำต้องมีผู้สั่งสอน จึงจะสามารถซักฟอกมโนธาตุของตนได้ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่สาวกภูมิจะบรรลุธรรมง่ายและสบายกว่าพุทธภูมิและปัจเจกภูมิ


236

๒) ปัจเจกภูมิ


คือ บุคคลที่มี "มโนธาตุ" หรือจิต ที่มุ่งไปสู่ความเป็นหนึ่งแต่เพียงผู้เดียว ด้วยตนเอง ไม่ยอมเป็นสาวกใคร และไม่สนใจช่วยเหลือผู้ใด ในช่วงชาติแรกๆ และกลางๆ ของดวงจิตปัจเจกภูมินี้ ยังมีธาตุแท้แห่งมโนธาตุไม่มาก จะไม่เด่นชัดถึงความไม่ขอความช่วยเหลือผู้ใดและความไม่ยินดีช่วยเหลือผู้ใด แต่เมื่อชาติหลังๆ ที่ใกล้จะได้หลุดพ้นจะมีความเป็นปัจเจกบุคคลสูงมาก มีความสามารถสูงมีปัญญาสูง แต่ไม่สนใจช่วยผู้ใด แต่เมื่อละความทะนงตน ละความเย่อหยิ่งในความสามารถของตนได้แล้ว ก็จะตรัสรู้ พบความสุขพื้นฐานที่เรียบง่ายธรรมดา ละความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่เกินตัวลง จะเริ่มมีจิตที่อ่อนน้อมสุขุม และมีเมตตา ทว่า ในชาติที่ได้ตรัสรู้ธรรมนี้ จะพบแต่บุคคลที่สั่งสอนได้ยาก ดื้อด้าน, ปัญญาต่ำ, หรือมีความจิตใจต่ำทราม ไม่ควรแก่การสอน ทั้งยังไม่มีสาวกผู้อุปการะหรืออุปถัมภ์ค้ำจุน ทำให้ไม่สามารถประกาศศาสนาได้ สุดท้ายแม้ตรัสรู้ได้ "สัพพัญญูญาณ" แต่กลับต้องเก็บตัวหลบซ่อนแต่ตามลำพัง หลีกลี้หนีออกจากผู้คน ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้คนได้ ดุจดั่ง "นอแรด" ที่ฉลาดหลักแหลมโดดเดี่ยวอยู่นอเดียว ทั้งนี้จำต้องผ่านขั้นตอนดังนี้


ก่อนปัจเจกภูมิ


เมื่อจุติในสังสารวัฏแรกๆ จวบจนกระทั่งเริ่มมีบารมีโดยธรรมชาติ ได้เกิดเป็นหัวหน้าคณะ ช่วงนี้ยังไม่รู้ตัว และยังไม่มีความปรารถนาอะไร ยังหลงทางในสังสารวัฏ ยังไม่รู้จะเวียนว่ายตายเกิดไปเพื่ออะไร แต่จะเป็นหัวหน้าที่ไม่ดี ไม่มีความเมตตา ไม่ดูแลบริวารในปกครอง หรือกดขี่ข่มเหงบริวารของตนเอง จึงไม่สามารถเป็นพุทธภูมิได้ ในที่สุดบริวารจะหนีถอยห่างไป จนตนเองไม่มีบริวารอีกในชาติต่อๆ ไป จากนั้น จึงพยายามเอาบริวารของตนคืนมาให้ได้ ยังไม่ละความอยากเป็นหัวหน้า ไม่ละความอยากเป็นเลิศเหนือผู้อื่นใด จึงพยายามใช้อำนาจต่างๆ ใช้อิทธิฤทธิ์ ในการทำให้คนนับถือบูชาตน เพื่อให้บริวารกลับมาหลงตน และเชื่อถือตนเหมือนดังเช่นในอดีตอีก ยกตัวอย่างเช่น พระเทวทัต ก็ยุยงให้พระสงฆ์แตกแยก แล้วนำพระสงฆ์คณะหนึ่งแยกออกไป เพื่อตั้งตนเป็นหัวหน้าคนใหม่ แต่ภายหลังก็ไม่มีผู้ใดนับถือเลย


เลือก-ลอง-หลง


ชาติต่อๆ มาได้พบพระโพธิสัตว์ ก็มีจิตคิดปรารถนาเป็นแบบพระโพธิสัตว์บ้าง ก็ทดลองทำตามพระโพธิสัตว์ แต่เนื่องจากจิตไม่มีความเมตตา มีแต่ความอยากเหนือผู้อื่น อยากเป็นคนเหนือคน เป็นยอดคน แต่ไม่สนใจคน ไม่ดูแลคน ไม่ช่วยเหลือคน จึงได้เลือกทางเดิน ทดลองทำตามพระโพธิสัตว์ หลงทางแก่งแย่งแข่งขันกับพระโพธิสัตว์ ช่วงนี้ "ปัจเจกภูมิ" จะหลงตนเอง คิดว่าตนเองเป็นพุทธภูมิ แต่ไม่มีความจริงใจและความพยายามในการเปลี่ยนแปลงตนเอง เพื่อปรับเปลี่ยนจากปัจเจกภูมิ เป็นพุทธภูมิ ยังไม่เข้าใจว่าการสร้างบุญบารมีนี้เพื่อยังประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น ยังคงมีความคิดเห็นแก่ตัว สร้างทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อตนเอง สนองความต้องการตนเอง ไม่สนใจคิดทำเพื่อผู้อื่นใด ในช่วงนี้ จึงชอบครอบงำผู้คนให้หลงเชื่อตนไปหลายชาติ เพราะไม่ยอมละทิ้งความอยากเด่นอยากดังเหนือคน และไม่มีความสามารถในการดูแลผู้คน ยังคงหลงในอดีตชาติที่ตนเองได้เป็นผู้นำ ได้เป็นใหญ่เหนือคนอยู่อีก ในช่วงชาตินี้ ยังไม่ได้พบพระโพธิสัตว์ เพียงแต่สะสมบริวารของตนจนมีมากมาย


บำเพ็ญปัจเจกภูมิ


จากนั้น ในชาติต่อๆ มาจะเริ่มก่อกรรมหนักมากขึ้น และบำเพ็ญเสมือนว่าตนก็เป็นพระโพธิสัตว์ไปด้วย และช่วงในระยะว่างชาตินี้ จะได้พบกับพระโพธิสัตว์และได้บำเพ็ญบารมีแข่งกัน หรืออาจเปลี่ยนใจเป็นพุทธภูมิได้ ยกตัวอย่างเช่น พระเทวทัตในชาติที่บำเพ็ญเพียรคู่กับพระพุทธเจ้า ทั้งคู่ต่างเป็นหัวหน้าคนและมีบริวารมากมาย และมักทะเลาะเบาะแว้งกัน เพราะพระเทวทัตมีความอยากเด่นอยากดัง อยากเหนือกว่าพระพุทธเจ้า ในช่วงระหว่างหลายชาตินี้ ปัจเจกภูมิ จึงบำเพ็ญความเด่นดังให้เหนือคน เช่น ปัญญาบารมี พร้อมกับพระโพธิสัตว์ไปด้วย แต่ไม่ได้สนใจบำเพ็ญเมตตาบารมีเลย จึงมักก่อกรรมและเป็นเครื่องช่วยในการบำเพ็ญบารมีให้กับพระโพธิสัตว์ และจะทำเช่นนี้วนเวียนซ้ำหลายชาติ จนกว่าจะ "สำนึกผิดกลับตัวกลับใจ" จึงพ้นได้


ไถ่ถอนกรรมเก่า (แรกรู้ตน)


เมื่อได้สำนึกผิดกลับตัวกลับใจแล้ว จะเริ่มต้นใหม่ แต่เพราะกรรมที่ทำมาทับถมทวีมากมาย จำต้องเกิดมาชดใช้กรรม ไถ่ถอนกรรมที่ทำไว้มากมายนั้น ต้องทนทุกข์ทรมานเพราะเกิดมากี่ชาติๆ ก็ไม่มีดีเลยสักชาติ ต้องพบแต่ความพินาศหายนะของชีวิตซ้ำแล้วซ้ำอีก แม้ไม่อยากเกิดอีก แม้อยากนิพพาน แต่ก็ยังไม่อาจมีดวงตาเห็นธรรม ด้วยเพราะกรรมมากมายนั้นบังตา แต่ก็ยังไม่ละทิ้งความต้องการเป็นคนเหนือคน ยังอยากเป็นยอดคนอยู่เสมอ ทว่า ไม่คิดอยากช่วยเหลือผู้อื่นให้รอดพ้นตามตน เพราะกรรมที่หนักหนาสาหัสนั้น แม้แต่ตนเองก็ไม่อาจช่วยตนเองให้พ้นได้เลย ตราบเมื่อ "กรรมเบาบาง" แล้ว เริ่มได้ "สติ" คิดได้ว่า "นิพพาน" คือที่สุดที่ค้นหา แสดงว่ากรรมเริ่มเบาบางและใกล้หมดแล้ว ชาตินี้จะเป็นชาติที่ชดใช้กรรมเก่าเป็นชาติสุดท้าย


ซักฟอกมโนธาตุ


เมื่อมีสติระลึกได้ว่า "นิพพาน" คือสูงสุดที่ตนค้นหา คือ ทางที่หลุดพ้นแห่งทุกข์ทั้งมวลที่ตนได้รับมา ก็จะมาเกิดเพื่อบรรลุธรรมเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย อนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์จะมีกรรมมากเพราะปรารถนาเป็นยอดคน แต่ไม่ปรารถนาช่วยสรรพสัตว์ จึงมีช่วงกลางของการบำเพ็ญเพียรที่ก่อกรรมไว้มาก (การก่อกรรมมากมีทุกดวงจิต ทั้งพระโพธิสัตว์ในชาติกลางๆ ก็ก่อกรรมมากเช่นกัน) และเหนื่อยหน่ายกับบาปกรรมที่ได้รับ จึงไปไม่ถึงดวงดาว ต้องอำลาพุทธภูมิ สู่ปัจเจกภูมิเสียก่อน และด้วยผลบุญที่น้อยนั้น แม้จะตรัสรู้ได้ด้วยตนเองเพราะปัญญาบารมีสูง มีความรู้มากมายไพศาล แต่ก็ไม่อาจอยู่ในฐานะที่จะสร้างพระศาสนาขึ้นมาได้ ด้วยเพราะอาจเกิดในประเทศกันดาร ห่างไกลจากผู้คนที่มีปัญญา มีศีลธรรม หรือ เกิดในช่วงที่โลกกำลังตกต่ำมีแต่คนไม่เข้าใจธรรม เมื่อแสดงธรรม คนก็หยามหมิ่นหาว่าบ้าบ้าง สุดท้ายจำต้องปลีกเร้นซ่อนกาย หลบกรรม เข้าป่าเสพสุขอยู่อย่างเดียวดาย
 


237

ดวงจิตจะมีขั้นตอนการเวียนว่ายตายเกิดทั้ง ๕ ระยะดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งกว่าจะได้บรรลุธรรม พ้นความทุกข์นั้น จะต้องผ่านการเวียนว่ายตายเกิดมายาวนานแตกต่างกัน หากหลงทางก่อกรรมทำเข็ญมาก และไม่มีสติรู้สำนึก ก็จะต้องเวียนว่ายตายเกิดชดใช้กรรมต่อไปอีกยาวนาน กว่าที่กรรมจะเบาบางจนเกิดดวงตาเห็นธรรมได้ ดวงจิตต่างๆ ทั้งสามประเภท คือ พุทธภูมิ, ปัจเจกภูมิ และสาวกภูมิ นี้ ต่างก็ต้องผ่านกระบวนการเวียนว่ายตายเกิดนี้เช่นกัน โดยช่วงแรกดวงจิตจะยังไม่มีความแตกต่างกัน ดวงจิตจะมาจากแหล่งเดียวกันก่อน มีความบริสุทธิ์ประภัสสรเหมือนกันมาก่อน เมื่อได้รับการเพาะบ่มพลังจนพร้อมที่จะเวียนว่ายตายเกิดแล้ว จึงเริ่มเข้าสู่สังสารวัฏ หรือกระบวนการเวียนว่ายตายเกิด จากนั้น ก็จะเข้าสู่ช่วงทีมีความหลากหลายเกิดขึ้น โดยผลจากกระบวนการเวียนว่ายตายเกิดของดวงจิต ก็เริ่มถูกพัฒนาให้แตกต่างกันไปเป็นสามแบบดังกล่าว มีดังนี้


๑) พุทธภูมิ


คือ บุคคลที่มี "มโนธาตุ" หรือจิต ที่มุ่งช่วยเหลือสรรพสัตว์ ยังไม่ยอมหลุดพ้นไปเพียงผู้เดียว บางครั้งบางชาติ ยังไม่ได้มีการปรารถนาพุทธภูมิ กล่าวคือ ยังนึกไม่ออกว่าจะต้องบรรลุนิพพานก่อนจึงจะสอนให้คนหมดทุกข์ได้อย่างแท้จริง จึงช่วยเหลือคนทั่วไป เช่น ช่วยชีวิตคนไข้ แม้ไม่ได้อยู่ในหน้าที่หรือตนไม่ได้มีตำแหน่งก็ตาม ฯลฯ และไม่ยอมหลุดพ้นสู่นิพพาน ดังนั้น จึงเกิดและตายวนเวียนในสังสารวัฏ ตราบเมื่อได้พบพระพุทธเจ้า และได้ฟังธรรม จนเห็นหนทางที่ตนจะบรรลุความปรารถนาแล้ว ก็เกิดความมั่นใจศรัทธาตรงต่อการเป็นพระพุทธเจ้า ในชาตินั้น จึงปรารถนาพุทธภูมิ เป็นพระโพธิสัตว์เต็มองค์ บุคคลที่เวียนว่ายตายเกิดหลายชาติเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า แบ่งออกเป็น ๕ ระยะ ดังนี้คือ


ก่อนพุทธภูมิ


เมื่อจุติในสังสารวัฏแรกๆ จวบจนกระทั่งเริ่มมีบารมีโดยธรรมชาติ ได้เกิดเป็นหัวหน้าคณะ ช่วงนี้ยังไม่รู้ตัว และยังไม่มีความปรารถนาพุทธภูมิ ยังหลงทางในสังสารวัฏ ยังไม่รู้จะเวียนว่ายตายเกิดไปเพื่ออะไร แต่จะเป็นหัวหน้าที่ดี มีความเมตตาดูแลบริวารในปกครองอย่างดี จึงจะเป็นพุทธภูมิได้ ยกตัวอย่างเช่น พระสารีบุตรในอดีตชาติ ที่ได้เกิดเป็นหัวหน้าคนมากมาย เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดจนบริวารสำเร็จอรหันต์ทั้งหมด ตนเองมีปัญญาสูงกว่าแต่ยั้งใจ เพราะปรารถนาเป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าสมณโคดม จึงได้มาเกิดเป็นพระสารีบุตร ซึ่งยังไม่รู้ว่าตนเองปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า จนเมื่อได้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาแล้ว พระพุทธเจ้าสมณโคดม ก็ได้แสดงธรรมโดยอ้อมถึงสุขาวดี ในที่สุดพระสารีบุตรก็รู้ตัวว่าปรารถนาพุทธภูมิ นอกจากนี้พุทธภูมิบางท่าน ก็จุติมาจากภาคแบ่งของดวงจิตพระมหาโพธิสัตว์ หรือพระพุทธเจ้าบางพระองค์ ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้ดีมากกว่าดวงจิตคนอื่นๆ และบำเพ็ญเพียรได้รวดเร็วกว่า จะดวงจิตลักษณะนี้ จะไม่ลัดเข้าแย่งลำดับการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จากพระโพธิสัตว์อื่นๆ จะหลีกทางให้ผู้อื่นเป็นพระพุทธเจ้าแทนตน


เลือก-ลอง-หลง (แรกรู้ตน)


เมื่อรู้ตนเองว่าปรารถนาพุทธภูมิแล้ว จะรู้สึกเบื่อสิ่งต่างๆ ทางโลก รอหรือเริ่มค้นหาสิ่งที่เหนือกว่าขึ้นไป แต่ยังไม่รู้ว่าจะอยู่ไปเพื่ออะไร สมควรจะทำอะไร จวบจนได้พบพระพุทธเจ้า ก็จะทำการปรารถนาพุทธภูมิ ยกตัวอย่างเช่น พระสังขจักร เมื่อได้ข่าวว่ามีพระพุทธเจ้าสิริมิตรเกิดขึ้นแล้วในโลก ก็สละราชบัลลังก์ แล้วเดิมทางมุ่งไปยังที่ประทับของพระพุทธเจ้า และตัดเศียรบูชาพระพุทธเจ้า จึงได้จุติเป็นพระโพธิสัตว์ที่สวรรค์ชั้นดุสิต หลังจากรู้ตนนี้ จะไม่หลงในสังสารวัฏอีก เพราะเข้าใจว่าจะตายเกิดในสังสารวัฏไปเพื่ออะไร และจะเริ่มเข้าสู่การบำเพ็ญเพียรทศบารมีเพื่อพุทธภูมิอย่างชัดเจน ในขั้นแรกรู้ตนนี้ บางท่านยังไม่ได้ทำการถวายพุทธบูชาด้วยสิ่งต่างๆ แต่บางท่านก็ถวายสิ่งต่างๆ เป็นพุทธบูชาเลย ตั้งแต่ ทรัพย์, อวัยวะ, และชีวิต เป็นต้น ซึ่งแม้ถวายชีวิตแล้วก็ยังบารมีไม่ถึง ๓๐ ทัศ ยกตัวอย่างเช่น อดีตชาติของพระโพธิสัตว์พระยามาราธิราช ซึ่งได้เกิดเป็นขุนนางของพระราชาที่ประกาศห้ามผู้อื่นใดไปถวายพุทธบูชาก่อนตน หากฝ่าฝืนต้องโทษประหาร แต่ขุนนางผู้นั้นไม่สนใจ จึงถวายข้าวห่อเป็นพุทธบูชาประกอบกับพระพุทธเจ้าเพิ่งเสด็จออกจากนิโรธสมาบัติ ผลบุญจึงมีมากมาย สุดท้ายต้องโทษประหาร ยอมตายเพราะพุทธบูชานั้น และยังผลให้ไปเกิดเป็นพระยามาร จวบจนหลังพุทธกาล ๒๐๐ ปีแล้ว พระอุปคุตจึงมาปราบพระยามารลง พระโพธิสัตว์จึงทรงละทิฐิมานะ และพ้นจากความเป็นมาร มีบารมีเต็ม ๓๐ ทัศ (หากบารมีเต็ม ๓๐ ทัศ จะได้อานิสงค์ไม่เกิดเป็นพระยามาร) ดังนั้น แม้จะฆ่าตัวตายเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังต้องเกิดอีกเพื่อชดใช้กรรมและบำเพ็ญบารมีตัวอื่นๆ ให้เต็มด้วย


บำเพ็ญพุทธภูมิ


ในการบำเพ็ญบารมีของพุทธภูมินั้น จะบริจาคทรัพย์จนหมดก่อนจึงเรียกว่า บารมี ๑๐ ทัศ จากนั้นจะอุทิศแรงกายจนอาจต้องเสียสละเลือดเนื้อหรืออวัยวะ เช่น การออกศึก ปกป้องประเทศ ช่วยเหลือมวลมนุษย์ หรือ การบริจาคอวัยวะถวายเป็นพุทธบูชาจึงเรียกว่า บารมี ๒๐ ทัศ จากนั้น จะเข้าสู่การเสียสละชีวิต เช่น การยอมตายเพื่อผู้อื่น, ฆ่าตัวตายถวายพุทธบูชา จึงได้เข้าสู่บารมี ๓๐ ทัศ ช่วงนี้แบ่งได้เป็นสามระยะคือ
บารมีต้น ช่วงเสวยบุญเป็นเศรษฐี มีทรัพย์ในการทำบุญทำทานได้มากมาย เป็นช่วงที่ดวงจิตหลังได้รู้ตนเองว่าปรารถนาพุทธภูมิแล้ว จะบำเพ็ญ "ทศบารมี" ในขั้นต้น ในขั้นนี้พระโพธิสัตว์ จะทรงใช้ "ทรัพย์สิน" ในการบำเพ็ญเพียรเสียโดยมาก จะเกิดมาร่ำรวย เป็นผลบุญจากการได้ถวายพุทธบูชา จะได้มาเกิดในพระพุทธศาสนาและทำนุบำรุงพุทธศาสนาด้วยทรัพย์ของตนนั้น แต่ยังไม่สามารถที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงหรือบริหารงานด้านพุทธศาสนามากนัก ช่วงนี้ จะไม่ได้พบพระพุทธเจ้า จำต้องบำเพ็ญเพียรด้วยความคิดของตนเอง ไม่มีผู้ใดสั่งสอน จึงมีทั้งทำดีและทำพลาดไปบ้าง แต่ผลยังไม่ขยายวงกว้างนัก ได้ทั้งผลบุญและบาปกรรมเปื้อนติดตัวไประดับหนึ่ง ยังไม่มีบริวารมากนัก ความเสี่ยงที่จะทำงานผิดพลาดจึงยังน้อย เพียงสะสมคุณงามความดีเบื้องต้นไปก่อน ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมที่เลวร้ายได้ กำลังบารมียังไม่พอ
บารมีกลาง ช่วงเสวยบุญเป็นราชามีอำนาจและบริวารมากมายทำกิจได้มาก เป็นช่วงที่ดวงจิตมีบุญบารมีมากมาย เหนือกว่ามารในสวรรค์ชั้นสูงสุด เป็นผลจากการบำเพ็ญบารมีที่สะสมมา จะมีทั้งบริวารมากมาย และทรัพย์มากมาย ในขั้นนี้ จะเริ่มเปลี่ยนแปลงสังคมตามความคิดของตนเอง ทำให้พระโพธิสัตว์อาจจะเริ่มหลงทาง เพราะหลงในผลบุญที่มีมากมายนั้น เริ่มได้รับอนุญาตให้เกิดมาพร้อมทรัพย์สินและบริวาร และเริ่มได้ปกครองประเทศ ได้เกิดเป็นพระราชา ซึ่งหากปกครองประเทศได้ดี ก็จะได้ผลบุญมากก็จะยิ่งต่อยอดบุญได้มากขึ้นไปอีก หากหลงทางก็จะกลายเป็นมารได้ จะต้องไปจุติยังสวรรค์ชั้นมาร เพื่อปกครองพวกมารอยู่ยาวนาน ต้องเป็นมารเพื่อปกครองมารได้ และรอเวลาอีกยาวนานกว่าจะได้มาเกิดเป็นมนุษย์อีกรอบหนึ่ง


บารมีปลาย เป็นช่วงที่ดวงจิตมีบุญบารมีสูงสุด พร้อมที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เนื่องจากได้พ้นภพมารแล้ว ได้ละเลิกทิฐิจากความเป็นมารแล้วเพราะได้พบกับคู่ปรับแล้ว แต่ยังมีกรรมที่สะสมมาในแต่ละชาติต้องชดใช้ จากนั้น จึงมาเกิดเป็นคนยากจน ไร้ทรัพย์สินและบริวาร เพื่อแสวงหาสิ่งที่เป็นพื้นฐานธรรมดา เหมือนพระพุทธเจ้าช่วงที่ทรงสละราชสมบัติเพื่อออกผนวช ซึ่งไม่สนใจลาภยศเงินทอง หรือเรื่องราวความวุ่นวายทางโลก ใช้เพียงลำพังตัวคนเดียว ด้วยกำลังสติปัญญา ยังความเมตตาโปรดสัตว์ ตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้าในชาติที่ทรงปราบ "รากษส" ทรงเกิดเป็นคนยากจน และมีแม่ที่อดอยาก ดังนั้น จึงทรงอาสาปราบรากษสเสี่ยงตายเพื่อหาเงินเลี้ยงแม่ จนในที่สุด ปราบรากษสได้ด้วยตัวคนเดียว เป็นต้น ช่วงบารมีปลายนี้ยิ่งต้องระวังกรรมที่เปื้อนไปสู่ชาติที่ได้ตรัสรู้ให้มาก เพราะหากยังมีเศษกรรมเปื้อนไป ก็จะยังผลให้พระศาสนาในชาติที่ตรัสรู้นั้น ได้รับผลกรรมไปด้วย เช่น การฆ่ารากษสของพระพุทธเจ้าในชาติที่บำเพ็ญเพียร ยังผลให้ท่านมีอายุเพียง ๘๐ พรรษา ไม่อาจทำกิจตามพุทธศาสนาได้สมปณิธานที่ตั้งใจ ในชาติที่บำเพ็ญบารมีปลาย จึงต้องใช้ "ปัญญาและเมตตา" ให้มากขึ้น แม้มีสิ่งยั่วยุก็ตาม เพื่อไม่ให้กรรมเปื้อนติดตนไปในชาติสุดท้าย


ไถ่ถอนกรรมเก่า


นอกจากจะได้บารมีครบ ๓๐ ทัศแล้ว ในระยะต่อมายังต้องมาเติมบารมีตัวอื่นในทศบารมีให้เต็มอีกด้วย จากนั้นยังต้องชดใช้กรรมเก่าที่ได้สร้างสมมาในชาติต่างๆ ให้เบาบางลงไป เพื่อไม่ให้ผลกรรมเปื้อนและกระทบชาติสุดท้ายที่ตรัสรู้ ดังนั้น เมื่อบารมีครบ ๓๐ ทัศแล้ว ยังต้องบำเพ็ญบารมีต่ออีกสองระยะ จุดนี้จะมีความแตกต่างกันระหว่างพุทธภูมิ ที่ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งจะเรียกว่า "พระโพธิสัตว์" กับพุทธภูมิที่ปรารถนาช่วยสรรพสัตว์ตลอดไป ไม่หวังเป็นพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า "พระมหาโพธิสัตว์" เนื่องจากพระโพธิสัตว์ จะบำเพ็ญทศบารมีให้เต็ม จะก่อกรรมน้อย จะเปลี่ยนแปลงสังคมที่ผิดไปน้อยกว่า และชดใช้กรรมให้เบาบาง แต่สำหรับพระมหาโพธิสัตว์แล้ว จะบำเพ็ญดุจดั่งเช่น พระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง อันเป็นแนวการสอนของพระอมิตาภพุทธเจ้า ที่ให้พระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลาย ช่วยสรรพสัตว์เช่นนั้น ดังนั้น พระมหาโพธิสัตว์จะมีบทบาทปราบมาร เปลี่ยนแปลงสังคมมากกว่าพระโพธิสัตว์


ซักฟอกมโนธาตุ


เมื่อผ่านระยะการชดใช้กรรมจนเบาบางสิ้นแล้ว ชาวพุทธภูมิจะเริ่มเดินตามความปรารถนาของตน ทั้งนี้ เมื่อพุทธภูมิมีบารมีครบ ๓๐ ทัศ กล่าวคือ นับจากชาติที่ได้สละชีวิตถวายเป็นพุทธบูชาแล้ว พุทธภูมิจะมีแนวทางในการบำเพ็ญสองสาย สายที่หนึ่ง จะบำเพ็ญตรงทางไปตามเดิมคือ บำเพ็ญทศบารมีที่เหลือให้เต็มและหลีกเลี่ยงกรรม ชดใช้กรรมในอดีตที่ติดตัวมาให้มาก เพื่อรอคิวตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ในยุคสมัยที่เหมาะสมกับความปรารถนาของตน จนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็จะซักฟอกมโนธาตุให้บริสุทธิ์ และทำหน้าที่พระพุทธเจ้าอย่างสมบูรณ์ ส่วนสายการบำเพ็ญแบบที่สอง จะไม่รอคิว และไม่สนใจที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าหรือไม่ แต่จะทำกิจดุจดั่งเช่น พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในชาติต่อไปทันที คือ การบำเพ็ญ "ยูไล" หรือ การอุทิศชีวิตเคลื่อนพระธรรมจักร ให้พุทธศาสนาดำเนินต่อไปอย่างถูกมรรคถูกผล ได้ถึงนิพพาน ไม่หลงออกไปสู่ทางอื่น และจะบำเพ็ญเช่นนี้เรื่อยๆไป จึงเรียกว่า "มหาโพธิสัตว์" ซึ่งจะซักฟอกมโนธาตุจนบริสุทธิ์จากกิเลสและยังสามารถเกิดใหม่ได้อีก 


238
ขอกล่าวถึงเรื่องอื่นๆเกี่ยวกับการปฎิบัติเสริมเล็กน้อย การกำหนดภาพพระจะทำให้จิตเราในขณะนั้นมีกำลังบุญมีพุทธานุภาพ หากจะนำกำลังจิตเวลาที่เราทรงภาพพระไปใช้ประโยชน์กุศลด้านอื่นๆต่อไปนั้น ก็จะทำได้โดยง่าย อารมณ์จิตเวลานึกถึงภาพพระที่ดีนั้นคือนึกเมื่อไรก็กำหนดเห็นได้ทันที เวลาก่อนนอนนั้นส่วนตัวผมแล้วผมจะกำหนดจิตไปกราบสมเด็จองค์ปฐมจนถึงองค์ปัจจุบัน ไปกราบครูบาอาจารย์ทุกๆองค์ อันมีหลวงปู่ดู่เป็นที่สุดซึ่งในส่วนของหลวงปู่ดู่นั้นท่านเป็นพระโพธิสัตว์ที่บารมีเต็มแล้ว การกำหนดท่านจะทำให้ช่วยเหลือเราด้านกำลังใจกำลังจิตในการสร้างบารมีได้ดีขึ้นมากก่อนนอน กราบพระด้วยจิตเสร็จ ภาวนาไปสักพัก ทำจิตสบายๆ ภาวนาเสร็จแล้วเราก็แผ่บุญนี้ที่เราภาวนา ที่เรากราบพระ ไปโดยตลอดสามแดนโลกธาตุ รับรองว่าฝันดีทุกคืนครับ และได้กำไรในการสร้างบารมีไปอีก 1 วันไม่ขาดทุน

แนะนำเรื่องการแผ่บุญ โดยเวลาแผ่นั้นเรากำหนดจิตโดยอารมณ์จิตสบายๆ อารธนาบารมีรวมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตั้งแต่องค์ปฐมจนถึงองค์ปัจจุบันบรมมหาจักรพรรดิ์ทุกๆพระองค์ บารมีรวมพระปัจเจกพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์พระธรรมและพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย โดยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคตบารมีรวมหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ ท่านอันเป็นที่สุด แล้วด้วยจิตที่เป็นบุญนี้เราก็แผ่ไปโดยไม่มีประมาณทั่วทั้งสามโดนโลกธาตุทั่วทั้งอบายภูมิ โลกมนุษย์ สวรรค์ พรหมโลก โลกธาตุทั้งหลาย อนันตจักรวาล . . .
 
การทำแบบนี้บ่อยๆนอกจากจะเป็นการหมั่นสร้างบารมีแล้วยังเป็นการฝึกจิตตนให้มีเมตตา กรุณา และเป็นการข่มกิเลศไว้ไม่ให้ฟุ้งซึ่งอันนี้เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับเหล่าพุทธภูมิ อนึ่งการบำเพ็ญแบบนี้ เป็นการบำเพ็ญทางจิตที่มีอานิสงค์เร่งเสริมสร้าง ให้การภาวนาและอภิญญาทางจิตของเรานั้นมีความก้าวหน้าได้โดยไว . . .

239
คาถาภูตพระพุทธเจ้า ของหลวงปู่ดู่

พุท ธะ สัง วิ หะ ระ ตัง ปุญ ญัง วะ ทา

มีความหมายโดยย่อคือ ด้วยอานุภาพแห่งการนอบน้อมในพระพุทธเจ้า
พระสัจจธรรม และพระอริยสงฆ์ ขอให้จิตของข้าพเจ้าจงเป็นวิหารที่สถิตซึ่ง...
พระพุทธบารมี พระธรรมบารมี และพระสังฆบารมี อันไม่มีประมาณ
 
คาถาตั้งองค์พระพุทธนิมิตของหลวงปู่ดู่พุทธะสังมิ ธะสังมิพุท สังมิพุทธะ มิสังธะพุท มหาภูตัง


พุทธะนิมิตตัง ธรรมะนิมิตตัง สังฆะนิมิตตัง วิหะระตัง
ปุญญังวทามิ พุทธะสัง จตุภูตัง วิหะระตัง ปุญญัง
วทามิ พุทธะสัง วิหะระตัง ปุญญัง วทามิ


คาถาบทนี้ของหลวงปู่ดู่เป็นคาถาที่ใช้กำลังใจทางจิตสูง กล่าวคือผู้ที่จะใช้ใจต้องสบายจึงจะสามารถตั้งองค์พระได้ และหากได้กำลังสมาธิที่ละเอียดขึ้นเท่าไรก็จะยิ่งพิศดารมากยิ่งขึ้นเท่านั้น คาถานี้ใช้ในการตั้งองค์พระเพื่อน้อมนำบารมีปลุกเสก หรือ รวมกำลังบุญแบบเต็มกำลังเพื่อแผ่ โดยหากเป็นกรณีหลัง ให้ตั้งองค์พระไว้ในอก ในใจ จิต คำว่า "ตั้งองค์พระได้" คือให้จิตเห็นภาพพระพุทธเจ้า ก็คือเห็นเป็นพระพุทธรูปที่เรารู้จักและรู้สึกเคารพอย่างเช่นพระพุทธชินราชหรือเป็นภาพพระพุทธเจ้าทรงเครื่องจักรพรรดิ์ ให้ภาพท่านปรากฎได้อย่างชัดเจนในความคิดของเรา อารมณ์จิตคือนึกถึงภาพพระเมื่อไรก็กำหนดเห็นได้ทันที
 
สองคาถานี้มีประโยชน์มากสำหรับพุทธภูมิหากนำไปใช้ในการสร้างบารมี
ซึ่งหลักการใช้คาถาสองคาถานี้โดยพิศดารมีอยู่ตามที่ผมเรียนมากับหลวงตาม้า

 
หากมีผู้สนใจไว้ผมจะลงในรายละเอียดแนะนำแลกเปลี่ยนแนวทางในโอกาสต่อไปครับสาธุ . . .
:)

240
อภิญญาปฎิบัติ / Re: การดูกายทิพย์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2012, 10:40:28 PM »

วิธีการทรงกายจักรพรรดิ


ก่อนจะเข้าสุ่การทรงกายจักรพรรดิ   ให้ฝึกการบวชจิตให้เป็นปรกติ


การบวชจิต-บวชใน


หลวงปู่ปรารภว่า...   จะเป็นชายหรือหญิงก็ดี ถ้าตั้งใจประพฤติปฏิบัติมีศีล    รักในการปฏิบัติจิตมุ่งหวังเอาการพ้นทุกข์เป็นที่สุด ย่อมมีโอกาสเป็นพระกันได้ทุกๆคน มีโอกาสที่จะบรรลุมรรค ผล นิพพาน  ได้เท่าเทียมกันทุกคนไม่เลือกเพศ เลือกวัย หรือฐานะ แต่อย่างใด
ไม่มีอะไรจะมาเป็นอุปสรรคในความสำเร็จได้ นอกจากใจของผู้ปฏิบัติเอง   ท่านได้แนะเคล็ดในการบวชจิตว่า.....


" ในขณะที่เรานั่งสมาธิเจริญภาวนานั้น    คำกล่าวว่า
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ      ให้นึกถึงว่าเรามีพระพุทธเจ้าเป็นพระอุปัฌาย์ของเรา
ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ...    ให้นึกว่าเรามีพระธรรมเป็นพระกรรมวาจาจารย์
สังฆัง สรณัง คัจฉามิ...     ให้นึกว่าเรามีพระอริยสงฆ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์


แล้วอย่าสนใจขันธ์ 5 หรือร่างกายเรานี้ ให้สำรวมจิตให้ดี มีความยินดีในการบวช ชายก็ตั้งจิตเป็นพระภิกษุ หญิงก็ตั้งจิตเป็นพระภิกษุณี  อย่างนี้จะมีอานิสงส์สูงมาก จัดเป็นเนกขัมบารมีขั้นอุกฤษฎ์ทีเดียว " กายทิพย์ของเรานั้นหาก่อนภาวนาเราได้ตั้งจิตบวชพระแล้ว ระหว่างที่ภาวนาอยู่กายทิพย์เราก็เป็นพระมีรัศมีกายทิพย์สว่างมากอย่างนี้จะมีอานิสงส์พลังบุญสูงมาก   


ภาวนาได้ง่าย เนื่องจากตั้งจิตไว้ในศีลและฐานะอันสูง อย่างนี้เรียกว่าบวชจิต ซึ่งการบวชจิตด้วยใจกุศลศรัทธานั้น มีอานิสงค์ดีกว่าผู้ที่บวชรูปลักษณ์ภายนอกแล้วไม่บวชจิตเสียอีก     แต่หากบวชได้ทั้งนอกและในอานิสงค์ก็ทวีคูณแต่สำหรับฆราวาสผู้ครองเรือนนั้น เวลาสวดมนต์หรือภาวนาทำสมาธิ   ตั้งจิตบวชเป็นพระแล้วอานิสงค์มากภาวนาได้ง่าย    หลวงตาท่านสอนไว้ว่าหากเราภาวนาคาถาจักรพรรดิสบายๆ ทรงไว้ ภาวนาบ่อยๆ กายทิพย์จิตจะทรงเครื่องจักรพรรดิ  เพราะว่าเป็นไปตามพลังงานที่เราสวด พอเป็นเช่นนี้แล้วอารมณ์สภาวะทิพย์นั้นจะทรงตัวได้เข้มขึ้นส่งผลดีต่อการปฎิบัติ


การทรงกายจักรพรรดิ


เราสามารถจะทรงกายพระจักรพรรดิได้ก็ต่อเมื่อเราสามารถปรับสภาวะจิตให้เข้าถึงกายทิพย์ตั้งแต่กายเทวดาขึ้นไป คุณสมบัติพิเศษของกายทิพย์ คือ เมื่อเราทรงกายเทวดา หรือ พรหม เราก็ทรงเครื่องจักรพรรดิเข้าไปอีกซึ่งจะทำให้มีกำลังบุญมาก เครื่องทรงจักรพรรดินี้ก็จะทรงที่กายทิพย์ ตั้งแต่ชั้นเทวดาขึ้นไปตราบใดที่อารมณ์จิตยังไม่ตก สำหรับผู้ที่ฝึกบ่อยๆเข้าจนชำนาญแล้ว ก็จะสามารถทรงเครื่องจักรพรรดิเป็นปกติไปเลย เวลา ไปที่ไหน เมื่อเราทรงกำลังบุญเปิดโลก รัศมีจะแผ่ในโลกทิพย์กว้างไกล การสัพเพมีกำลังมาก ฯลฯเรียกได้ว่าหากจะชำนาญในวิชาขั้นสูงของวิชาเปิดโลกได้ก็ต้องฝึกทรง เครื่องจักรพรรดิให้ชำนาญ ที่สำคัญอารมณ์ต่างๆ อย่าไปหมายมั่นว่าฉันจะทรง ให้เราทำอารมณ์ใจสบายๆ ก็พอ พยายามทำใจให้ถึงสภาวะของกายทิพย์ที่อธิบายไว้ตั้งแต่ชั้นเทวดาขึ้นไป ทำไปเพื่อความดี เพื่อความระงับกิเลศ เดี๋ยวก็ได้เองถึงเอง การทรง คือการทรงคาถาจักรพรรดินั้นเอง คาถาจักรพรรดิหลวงปู่เข้าถึงได้หลายระดับเมื่อเราเข้าถึงระดับที่ทรงคาถาจักรพรรดิจน เป็น อารมณ์ เราไม่ต้องมานั่งไล่ กายทิพย์ เพราะศีล อารมณ์ สภาวะกำลังบุญ พระไตรรัตน์ อยู่ในคาถาจักรพรรดิ หมดแล้ว ขอเพียงทำใจให้สบาย นึกถึงหลวงปู่ ขอบารมีท่าน ตั้งท่านเป็นอารมณ์ พระพุทธเจ้าทรงเครื่องจักรพรรดิ   อยู่บนหัว หลวงปู่ทวดอยู่บ่าซ้ายหลวงปุ่ดุ่อยู่บ่าขวา ภาวนา คาถาจักรพรรดิให้ใจสบายๆ อารมณ์สบายๆ คาถาจักรพรรดิเป็นอารมณ์ยิ่งดีเข้าเท่าไร    โดยไม่ต้องสนใจว่าถึงไหนๆ เดี๋ยวก็ค่อยๆทรงได้เอง


คาถาจักรพรรดิ หลวงปู่ดู่  คือ คาถาทรงกายจักรพรรดิ


เมื่อ ภาวนาคาถาจักรพรรดิจนเป็นอารมณ์    ฝึกบ่อยๆ ทำให้เป็นนิสัย ให้เป็นปกติ ฝึกให้ชำนาญ ใช้เวลา   มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับ ความตั้งใจของคุณเอง    ข้อคิดที่ฝากไว้คือ อย่าเหลิง ไม่ว่าได้ถึงไหน อย่าหลงตนเอง  ไม่ว่าคนจะสรรเสริญตนเช่นไร ให้มีสติ ตั้งใจภาวนา ไม่ประมาท  ไม่มีใครจะใหญ่เกินกรรมเมื่อทำได้ คุณก็จะได้ พลังเหนือพลัง ที่จะสร้างประโยชน์สืบไป กำลังพระ+จักรพรรดิ หลวงตาท่านเองก็ทรงเครื่องจักรพรรดิ  กายในท่านก็บวชพระจึงเป็นกำลังเหนือกำลัง  และที่สำคัญที่สุด อย่าทิ้งหลวงปู่เป็นอันขาด ไม่งั้นทุกอย่างที่กล่าวมา  คุณจะไม่มีกำลังของตนเองที่จะทำได้แม้แต่ข้อเดียว


เราปฎิบัติไปโดย ตั้งให้ท่านคุมเราทุกขณะจิตให้อธิษฐานไว้ยังนี้เลย  วิชาต่างๆที่อธิบายมานี้ให้ไว้เป็นแนวทางสำหรับผู้ที่มีจริตแบบนี้  เป็นตัวเลือกหนึ่งในการฝึกปฎิบัติในสายเปิดโลก  ไม่ปฎิบัติแบบนี้ก็ไปต่อถึงจุดหมายได้เหมือนกันบางคนชอบแบบลึกซึ้งบางคนชอบ แบบเรียบง่ายก็ว่ากันไปเสมือนว่ามีถนน 10 สาย ที่จุดสุดท้ายถึงที่เดียวกันไม่ว่าปฎิบัติไปแบบไหน ขอให้ถูกตามที่หลวงปู่หลวงตาสอนเป็นพอ ถนนแต่ละสายจะแตกต่างกันที่ลีลาการเดินทางและประโยชน์ที่ สร้างทิ้งไว้ระหว่างเดินทาง มากน้อย แตกต่างกันอยู่ที่ตัวเรา  ใครที่เน้นอยากจะช่วยผู้อื่นให้มากๆ ช่วยสรรพวิญญาณอย่างลึก  ส่วนมากเป็นพุทธภูมิหรือสาวกภูมิพิเศษก็จะเดินอีกสายหนึง  กับท่านที่มุ่งตัดกิเลศเพื่อพระนิพพานซึ่งทุกสายทุกทางย่อมถึง ที่หมายเดียวกัน บริสุทธิ์เหมือนกัน ขอโมทนา


จะอ่านไว้เป็นความรู้ หรือจะอ่านเอาข้อที่ตนสนใจลองปฎิบัติดูก็ได้
ไม่ว่าปฎิบัติเน้นแบบใด สายใด ถ้ายึดเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันสูงสุด
จุดสุดท้ายก็เหมือนกัน อยู่ที่ความสบายของใจและความหมั่นเพียร หมั่นทำนั้นแหละ



ธรรมรักษา

หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17