เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - Wisdom

หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 17
181


หลวงปู่ปรารภว่า...

จะเป็นชายหรือหญิงก็ดี ถ้าตั้งใจประพฤติปฏิบัติมีศีล
รักในการปฏิบัติจิตมุ่งหวังเอาการพ้นทุกข์เป็นที่สุด
ย่อมมีโอกาสเป็นพระกันได้ทุกๆ คนมีโอกาสที่จะบรรลุมรรค ผล นิพพาน
ได้เท่าเทียมกันทุกคนไม่เลือกเพศ เลือกวัย หรือฐานะ แต่อย่างใด

ไม่มีอะไรจะมาเป็นอุปสรรคในความสำเร็จได้ นอกจากใจของผู้ปฏิบัติเอง
ท่านได้แนะเคล็ดในการบวชจิตว่า.....

" ในขณะที่เรานั่งสมาธิเจริญภาวนานั้น
คำกล่าวว่า

พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ให้นึกถึงว่าเรามีพระพุทธเจ้าเป็นพระอุปัฌาย์ของเรา

ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ...
ให้นึกว่าเรามีพระธรรมเป็นพระกรรมวาจาจารย์

สังฆัง สรณัง คัจฉามิ...
ให้นึกว่าเรามีพระอริยสงฆ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

แล้วอย่าสนใจขันธ์ 5 หรือร่างกายเรานี้ ให้สำรวมจิตให้ดี
มีความยินดีในการบวช

ชายก็ตั้งจิตเป็นพระภิกษุ
หญิงก็ตั้งจิตเป็นพระภิกษุณี

อย่างนี้จะมีอานิสงส์สูงมาก
จัดเป็นเนกขัมบารมีขั้นอุกฤษฎ์ทีเดียว "


182
อนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยความปิติอย่างยิ่ง
ปลื้มใจที่ได้เห็นหน่อเนื้อพุทธวงศ์ทั้งหลาย
มาแลกเปลี่ยนประสบการ์ณชี้แนะสมาคมกัน

ช่วยๆกันครับ พระโพธิสัตว์รุ่นพี่ทั้งหลายที่บารมี
เต็มแล้วท่านเหล่านั้นเองก็คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
เพราะเป็นประเพณีของหน่อเนื้อพุทธวงศ์มาชั่วกาลนาน

ธรรมรักษาครับ

183
พระแก้วคู่บารมีนี้  จะเกิดขึ้นเมื่อปรารถนาพุทธภูมิเลยหรือเปล่าครับ

พระแก้วคู่บารมีจะเิกิดขึ้นพร้อมกับความเข้มข้นของบารมีที่สร้างครับ
ยิ่งปณิธานมั่นและบารมีเข้มข้นขึ้นเท่าใดพระแก้วคู่บารมีก็จะยิ่งปรากฎชัดขึ้นเท่านั้น

พระแก้วคู่บารมีก็เสมือนกับรูปลักษณ์ของบารมีที่ปรากฎแสดงในรูปลักษณ์
ของพระแก้วนั้นเอง ส่วนหากเป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า
พระองค์ใดพระองค์หนึงแล้ว ว่าจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึงแน่นอนในกาลข้างหน้า
พระแก้วคู่บารมีก็จะปรากฎอย่างถาวรแก่พระโพธิสัตว์องค์นั้นๆ

สำหรับผู้ปราถนาพุทธภูมิ สามารถภาวนา ใช้ทิพยอำนาจทางใจ
ขอบารมีพระเพื่อขอดูพระแก้วประจำตัวได้ครับ แต่หากจะดูแล้ว
ก็อย่าไปยึดมั่นถือมั่นยึดติด ดูเพื่อเป็นกำลังใจเฉยๆ เพราะ
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการบ่มเพาะบารมีและจิตของเราต่างหาก

ธรรมรักษาครับ


184
ภาวนาบทมหาจักรพรรดิ

นะโมพุทธายะ พระพุทธะไตรรัตนญาณ

มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะสุธรรมา

พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ

พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา อัคคีธานัง วะรังคันธัง

สีวลี จะมหาเถรัง

อะหังวันทามิ ทูระโต

อะหังวันทามิ ธาตุโย

อะหังวันทามิ สัพพะโส

พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ


ถ้าจะให้ได้ผลเต็มที่ต้องภาวนาไตรสรณคมณ์และบทมหาจักรพรรดิ ตามกำลังวันทุกวัน เหรียญและพระผงดวงนี้ จึงจะเกิด  พุทธานุภาพโดยไม่มีประมาณ ที่เรียกว่า        ดวงเหนือดวง พลังเหนือพลัง
(อาทิตย์ 6, จันทร์  15, อังคาร  8, พุธ 17, พฤหัสบดี  19, ศุกร์ 21, เสาร์  10, )

บทสวดมหาจักรพรรดินี้  หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เป็นผู้เรียบเรียงขึ้น เป็นการสวดบูชาพระพุทธเจ้าทั่วทั้งพระนิพพาน ตลอดจนถึงพระธรรมเจ้า พระโพธิสัตว์เจ้า พระอริยะสงฆ์ และพระสงฆ์สาวกทั้งมวล เป็นการบูชาพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ รวมถึงน้อมนำกำลังของเทพพรหม พระอริยเจ้าทั้งหลาย การสวดครั้งหนึ่งๆ เป็นการอัญเชิญกำลังของพระเจ้าจักรพรรดิทุกๆพระองค์ ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน รวมถึงกำลังแห่งพระโพธิญาณของพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย  ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และอนาคต อาราธนาเข้าที่กาย ใจ จิต วิญญาณของผู้สวด

อานิสงค์การสวดบทพระบรมมหาจักรพรรดิ

บทนี้เป็นการสวดไหว้พระพุทธเจ้าทั่วทั้งพระนิพพานตลอดจนถึงพระธรรมเจ้าและพระโพธิสัตว์เจ้า พระอริยสงฆ์สาวกทั้งมวล ไหว้พระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ รวมถึงน้อมนำกำลังของเทพพรหมพระอริยะเจ้าทั้งหลาย การสวดครั้งหนึ่งเป็นการดึงกำลังของพระเจ้าจักรพรรดิทุกๆพระองค์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมาร่วมดึงกำลังของพระมหาโพธิสัตว์เจ้า มารวมอาราธนาเข้าที่กายและใจ และรวมกำลังของพระโพธิญานโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย ตั้งแต่อดีต
ถึง ปัจจุบัน และอนาคต

การสวดครั้งหนึ่งมีอานิสงค์แผ่ไปทั่วจักวาลสามแดนโลกธาตุ สามารถแผ่บญไปทั่วทุกสรรพสัตว์ตลอดจนเทวดาประจำตัวเรา ญาติมิตรเพื่อนฝูงครอบครัว เจ้ากรรมนายเวร และหากนำบทสวดนี้ไปสวดในนรกหรือแผ่ไปไฟนรกจะดับชั่วขณะ บทนี้เป็นการสร้างกำแพงแก้วคุ้มกันตัว รวมถึงการอาราธนาบารมีครูบาอาจารย์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อัญเชิญเข้าตัว เพื่อป้องกันภัย และสร้างมหาโชคมหาลาภ

อานิสงส์แก่ผู้สวดมีทั้งมหาบุญมหาลาภ เนื่องจากมีการกล่าวถึงพระสีวลี รวมถึงบทนี้มีพลังงานอย่างยิ่งในการเจริญพระกรรมฐาน หากนำไปสวดบริกรรมก่อนหรือระหว่างนั่งภาวนากรรมฐาน...จะทำให้การภาวนามีพุทธานุภาพมาคลุมและคุมการปฎิบัติของเรา  คลุมกายและจิตเราเป็นวิมานทิพย์ (ครอบวิมานให้ตัวเองหรือสวดอธิษฐานครอบคนอื่นก็ได้) หากสวดบทนี้สามารถอฐิษฐานเรื่องราวใดๆมีติดข้องใจไห้ได้ผ่านพ้นไปอย่างทะลุปรุโปร่ง กล่าวโดยสรุปได้ว่าคาถาจักรพรรดินี้ จากการเรียบเรียงถ้อยคำโดยหลวงปู่ดู่ ท่านก่อให้เกิด จักรพรรดิ กำลังจักรพรรดิขึ้นด้วยในบทสวด พระคาถาครอบจักรวาล


ปล.สำหรับนักปฎิบัติเบื้องต้นใช้คู่กับพระผงจักรพรรดิจะทำให้ก้าวหน้าเร็ว



พระคาถามหาจักรพรรดิก่อให้เกิดพุทธนิมิตครอบสถิตผู้ทรงคาถา
 
พระคาถามหาจักรพรรดิที่หลวงปู่ดู่แต่งขึ้นมานั้น นอกจากท่านจะได้ทำการอธิษฐานบารมีให้ผู้สวดได้รับพลังจากพระรัตนตรัย อย่างมหาศาลแล้ว ยังก่อให้เกิด "พุทธนิมิต" เป็นวิมานแก้วพระพุทธเจ้า มาครอบสถิตผู้สวดด้วย โดยมีลักษณะเป็นมณฑปแก้วจัตุรมุข ปรากฎฉัพพรรณรังสีหกประการสว่างไสว พร้อมด้วยโพธิสัตตราวุธ ทั้ง 4 ประการ ประจำอยู่ทั้ง 4 ทิศ ได้แก่ พระมหามงกุฎ ตรีศูล จักรแก้ว และ พระขรรค์เพชร ทั้งหมดล้วนเป็นของคู่บุญบารมี ของพระศรีอารย์โพธิสัตว์ โดยมี "พระมหามงกุฎ" เป็นศิราภรณ์ที่ปี่ยมไปด้วยบุญญฤทธิ์ (หลวงปู่บุดดา ถาวโร พระอรหันต์ระดับจตุปฎิสัมภิทาญานได้เคยนำมาถวายหลวงปู่ดู่เป็นพุทธบูชาอีกองค์หนึ่งด้วย) 
ฏิบัติจึงมีพร้อมทั้งบุญฤทธิ์อิทธิฤทธิ์ เป็นพลังงานที่บริบูรณ์ สนับสนุน ให้การอธิษฐานจิต สัมฤทธิ์ผล ส่วนอาวุธที่เหลือทั้ง 3 ล้วนเป็นเทพศาสตราวุธชั้นสูง มีไว้เพื่อประดับบารมีแห่งพระโพธิสัตว์ และเปี่ยมไปด้วยอิทธิฤทธิ์อย่างยิ่ง หากสวดเป็นประจำสามารถอธิษฐานให้เกิดเป็นองค์พระพุทธนิมิต ปางมหาจักรพรรดิได้ ซึ่งเปี่ยมไปด้วยอิทธิฤทธิ์และบุญฤทธิ์ มีความศักสิทธิ์อย่างมาก ประดับด้วยครื่องทรงแห่งพระมหาจักรพรรดิ อย่างวิจิตรอลังการเปล่งรัศมีหลากสีด้วยแสงแห่งรัตนอัญมณี เรียกว่า "พระมหาวิษิตาภรณ์" มาครอบสถิตผู้ภาวนา บารมีของ หลวงปู่ดู่ที่ท่านน้อมนำอธิษฐานจิตจึงมีความศักสิทธิ์ป็นอย่างมาก เพราะท่านใช้บารมีทั้งหมดของท่านอัญเชิญกระแสบารมีแห่งพระรัตนตรัย และตั้งองค์พระพุทธนิมิตปางมหาจักรพรรดิบรรจุลงไปในวัตถุมงคลที่บารมีท่านมาประจุอีกด้วย
(เมื่อสวดครบตามกำลังวันแล้ว เท่ากับเราได้เก็บกักพลังงานอันมหาศาลยิ่ง เป็นพลังของหลวงปู่ดู่ หลวงปู่ทวด พระมหาจักรพรรดิทุกพระองค์ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต หรือจะเรียกว่าเราสวดภายใต้การสนับสนุนส่งเสริมของทุกๆพระองค์นั่นเอง ถ่ายเทพลังบุญบารมีรวมเข้าสู่ภาชนะของผู้สวดภาวนา ให้บังเกิดสว่างไสวนับล้านๆๆๆ แรงเทียน  เป็นที่สังเกตของสรรพสัตว์ในมิติต่างๆอย่างกว้างไกล ระหว่างที่สวด   

หลวงตาม้าท่านอธิบายต่อไปว่า เมื่อเราน้อมจากหลวงปู่ มาที่ธาตุเรานั้น เสมือนเป็นการเก็บพลังงานไว้ในภาชนะ(ภาชนะของแต่ละคนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและบารมีเก่าก่อนที่ได้สั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติ)  หลังจากที่เราน้อมนำพลังงานของหลวงปู่มาที่เราแล้ว จากนั้นให้เราก็ส่งต่อพลังงานออกไปยังเป้าหมาย โดยการอธิษฐานจิต แล้วสวดสัพเพฯ  ส่งพลังงานออกไป พลังงานของหลวงปู่ดู่ หลวงปู่ทวด พระมหาจักรพรรดิทุกๆพระองค์ ไปสู่สรรพสัตว์ทั่วทั้ง 3 โลก และทุกตำแหน่งแห่งที่ในทุกๆมิติ หรือไปถึงบุคคลที่เราระบุ ส่งพลังงานไปช่วยเหลือ หรือครอบวิมานให้หรือกิจการงานต่างๆ ผู้เกี่ยวข้องทุกคน

พลังงานที่ส่งผ่านภาชนะเป็นพลังงานของครูบาอาจารย์ทุกๆ พระองค์ มีกำลังส่งกว้างไกล และทรงพลังยิ่งนัก มีคลื่นความถี่สูงกว่าการเดินทางของแสงอาทิตย์ อย่างชนิดเทียบกันไม่ได้ เช่นพอนึกเท่านั้นก็ไปทั่วแสนโกฏิจักรวาลนั่นเอง เพียงแต่ให้เราหมั่นทำทุกๆวัน หลวงปู่ดู่ หลวงปู่ทวด และพระมหาจักรพรรดิ ทุกๆพระองค์ที่หลวงปู่ดู่ได้อัญเชิญเอาไว้ล่วงหน้า ก็จะช่วยส่งเสริมการสวดภาวนาของเราเต็มที่  หลวงปู่จึงเตือนให้เราหมั่นทำ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน หากเราไม่ดำริ หลวงปู่ก็จะวางอุเบกขา หากเราทำตามคำแนะนำของท่านๆก็ยินดีช่วยเราเต็มที่ เช่นเดียวกับที่หลวงปู่เคยพูดให้ลูกศิษย์ได้ฟังว่า   ข้าจะคอยช่วย ศรัทธาข้าจริง นับถือข้าจริง แกคิดถึงข้า ข้าก็คิดถึงแก แกไม่คิดถึงข้า ข้าก็คิดถึงแก ข้าอยู่ใกล้ ๆ แกจำไว้  พลังงาน บุญกุศล คลื่นแสง สี เสียง ที่หลวงปู่ได้สร้างไว้ยาวนาน 80 อสงไขย กับแสนมหากัป นับตั้งแต่หลวงปู่ได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ยังอยู่ครบถ้วนพร้อมบริบูรณ์ สำหรับให้ลูกหลานได้น้อมนำพลังงานมาที่ภาชนะของตนเองในการสวดภาวนาและสัพเพฯ)

* รายละเอียดเพิ่มเติม อ่านได้ที่หนังสือ มณีนพรัตน์จักรพรรดิเปิดโลก เรียบเรียงโดย โด่งวัดถ้ำ

http://www.watthummuangna.com/home/practice/

185
 

ในการปฏิบัติธรรมนั้น หลวงตาท่านเมตตาสอนว่า

"หลวงตาเพียงแต่แนะนำให้ได้เท่านั้น ครูบาอาจารย์อื่นๆ ก็เหมือนกัน ท่านทำได้เพียงแต่แนะนำ และชี้แนะทางที่ถูกให้เท่านั้น ส่วนการปฏิบัตินั้น อยู่ที่ตัวของผู้ปฏิบัติเองที่จะทำได้แค่ไหน ต้องทำจริงๆ ไม่ใช่พอครูบาอาจารย์แนะนำทีก็ทำที พอนานๆ ไปก็เลิกทำ ถ้าเป็นอย่างนี้จะก้าวหน้าได้อย่างไร ช่วงนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมแล้วที่จะปฏิบัติธรรม เพราะตอนนี้พวกเราก็ได้พบทั้งหลวงปู่ดู่ และพระอริยสงฆ์ต่างๆ มากมาย ได้พบครูบาอาจารย์ที่ดี พบหมู่คณะที่ดี สถานที่ปฏิบัติธรรมก็มีแล้วตั้งหลายที่ การปฏิบัติสายหลวงปู่ดู่ก็ไม่ลำบาก ไม่เคร่งจนเกินไป ปฏิบัติไปอย่างสบายๆ จะหาได้ที่ไหนอีก ถ้าไม่ทำตอนนี้ก็ไม่รู้จะไปทำตอนไหนแล้ว เดี๋ยวเกิดต้องตายก่อนจะตามพวกไม่ทัน เพราะเมื่อชาติก่อนเขาทำบุญกันมา เรามัวแต่รบจนไม่มีเวลาปฏิบัติ มาชาตินี้เวลามี สถานที่ก็เหมาะ แล้วช้าอยู่ทำไม...."


 ....ภพชาติมันเหมาะแล้วนะ การปฏิบัติ การบวช มันตัดภพตัดชาติได้เลยนะ อย่างจะเกิดอีก ๑๐๐ ชาติ ก็เกิดแค่ ๕๐ ชาติ มันจะลดไปเรื่อยๆ แต่ถ้าปฏิบัติจนถึงขั้นโสดาบันก็แค่ ๗ ชาติเท่านั้น ถ้าเป็นพระอรหันต์ก็ไม่ต้องเกิดเลยไม่ดีหรือ การปฏิบัติหลวงปู่ดู่ ท่านเคยเมตตาสอนว่า

 "ต้องแลกด้วยความตาย ตายเป็นตาย
ถ้ากลัวตายก็ไปไม่ได้
นักปฏิบัติถ้ากลัวตายเสียแล้วก็จะไม่ก้าวหน้า"


 พระธุดงค์เวลาจะออกธุดงค์ ท่านอธิษฐานจิตตายเลย การปฏิบัติควรทำให้จริงจัง นับวันคนเราก็อายุมากขึ้น จะมัวรอช้าอยู่ทำไม เวลาไม่คอยใคร ควรเริ่มทำได้แล้ว"

หลวงตายังเตือนอีกว่า "เริ่มปฏิบัติซะ เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าเราจะไปเมื่อไหร่ อย่างน้อยๆ เราก็ ๑ ใน ๕๐ หรือ ๑๐๐ ก็ยังดี จะรอครูบาอาจารย์มาคอยชี้ คอยเตือนคงไม่ไหว มาหาหลวงตาลองคิดดู ถ้าหลวงตาเข้ากุฏิ ปิดประตูไปก็เรียบร้อย เราต้องไล่ของเราเองแล้ว ใครก็ไล่ให้เราไม่ได้ เวลาเราไปไหนกับเขา เราได้รู้ได้ฟังอะไรมา เราก็ต้องนำเอากลับมาพิจารณาเองทุกครั้ง ต้องทำนะ"


 หลวงตาถามลูกศิษย์ว่า "เวลากราบพระ กราบกันอย่างไร หรือเพียงแต่กราบเท่านั้น หรือกราบอย่างที่ผู้ใหญ่ทั่วๆ ไปสอนเด็ก เอา...กราบ ๑ กราบ ๒ กราบ ๓" แล้วท่านก็หัวเราะแล้วก็เมตตาสอนว่า

"เวลากราบพระต้องกราบด้วยความเคารพจริงๆ ให้ตั้งจิตระลึกถึงองค์พระตรงหน้า แล้วตั้งจิตตั้งใจกราบ


 โดยกราบครั้งที่ ๑ ให้นึกในใจว่า พุทธัง ชีวิตัง เมปูเชมิ
กราบครั้งที่ ๒ ว่า ธัมมัง ชีวิตัง เมปูเชมิ
กราบครั้งที่ ๓ ว่า สังฆัง ชีวิตัง เมปูเชมิ

ความหมายก็คือ
ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า ด้วยชีวิต"


 "...เช่นกัน ในขณะที่เราเดินทางไปนอกเคหะสถานพบพระพุทธรูปที่ใด หรือได้ไปในสถานที่ใด ที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนา ก็ให้เราตั้งจิตเอากายใน (กายทิพย์) ลงกราบแล้วสวด
บทมหาจักรพรรดิ ๑ จบที่ว่าด้วย


 นะโมพุทธายะ พระพุทธะ ไตรรัตนะญาณ
มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา
พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ
พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา
อัคคีทานัง วะรังคันธัง สีวลี จะมหาเถรัง
อะหังวันทามิ ทูระโต อะหังวันทามิ ธาตุโย
อะหังวันทามิ สัพพะโส
พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ


 บทมหาจักรพรรดิ เป็นการบูชาพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ พระธรรม พระสงฆ์ พระสีวลี สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั่วไป พระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาล พร้อมทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย บทนี้บทเดียว สามารถบูชาไปทั่วทั้งแสนโกฏิจักรวาลพอจบบทมหาจักรพรรดิ ก็ให้กล่าวคำว่า

 พุทธัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ
ธัมมัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ
สังฆัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ

แล้วกล่าว
พุทธัง วันทามิ
ธัมมัง วันทามิ
สังฆัง วันทามิ
ครูอุปัชฌาย์อาจาริยคุณัง วันทามิ
มาตาปิตุคุณัง วันทามิ
พระไตรสิกขาคุณัง วันทามิ

เป็นการกราบพระ ๖ ครั้ง.."


 การภาวนาหลวงปู่ดู่สอนเอาไว้ว่า

 "ให้หมั่นภาวนาเข้าไว้
นึกได้เมื่อไรก็ภาวนาเลย
เป็นการเกลี่ยจิตตัวเอง ก่อนที่จะปฏิบัติธรรม"


 หลวงตาเมตตาแนะนำอีกว่า
"เรานักปฏิบัติทั้งหลาย อย่าปล่อยเวลาให้หมดไปโดยเปล่าประโยชน์ ให้หมั่นภาวนาไว้ตลอดเวลา พอลืมตาตื่นก็ให้ภาวนาไปจนถึงเวลานอน ให้คำภาวนานั้นหายไปพร้อมกับการหลับ ทำเช่นนี้ให้เคยชิน ไม่ว่าขณะนั้นกำลังทำอะไรอยู่ก็ตาม ไม่ว่าจะอยู่ในรถ ในเรือ หรือเดินอยู่ ก็ต้องภาวนา อย่าประมาท การภาวนานี้นอกจากจะเป็นบุญ และทำให้จิตได้ทำงานแล้ว ยังช่วยให้เราไม่ประมาทในความตายด้วย เพราะไม่มีใครรู้หรอกว่า ตัวเองจะตายเมื่อไหร่ นอกจากพระอรหันต์ท่านเท่านั้น ฉะนั้น จงภาวนาไป ไม่เสียหาย ไม่เสียตัง
มีแต่กำไร..."


 "...การภาวนานั้น ต้องเอาจิตจับองค์พระตลอดเวลา พระองค์ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูป หรือพระอริยสงฆ์ องค์ใดก็ได้ที่เรานับถือ ที่เราคุ้นเคย เวลาตายจะได้มีที่ไป คือไปกับพระ เพราะจิตเราจะระลึกแต่พระตลอดเวลาจนเคยชิน ตัวอย่างมีให้ดูตั้งมากมาย เห็นไหมเวลาคนใกล้ตาย เขาจะมีคนไปคอยบอกอยู่ข้างหูว่า ให้คิดถึงพระเข้าไว้ ให้ภาวนา หรือไม่ก็สวดมนต์ พยายามทำทุกวิถีทางให้จิตของคนที่ใกล้ตาย คิดอยู่แต่เรื่องพระ เรื่องกุศล   เพราะอะไร ก็เพราะว่าจิตของคนเราตอนที่ใกล้จะดับนี้แรงนัก ถ้าจิตตอนนั้นคิดแต่เรื่องดีๆ ในที่นี้หมายถึงเรื่องบุญ พอตายไปก็เสวยสุข ไม่ต้องไปนรก ถ้าคิดถึงเรื่องบาป ก็โน่น ไปเลยนรก ไปรับกรรมที่ตัวก่อ จำไว้ให้ดี แล้วก็ไปเลือกเอา จะภาวนาตอนนี้หรือจะรอใกล้ตายค่อยภาวนา ถึงตอนนั้นก็ตัวใครตัวมัน ถือว่าบอกแล้ว..."

186


หลวงตาสอนเกี่ยวกับการปลีกวิเวก และการปิดวาจา ไว้ว่า การอยู่วิเวก คือ การอยู่คนเดียว ในห้อง หรือสถานที่ๆเรากำหนด (อาจจะออกมาได้ด้วยการกินข้าว เข้าห้องน้ำ เท่านั้น) โดยไม่มีสิ่งอำนวยในเรื่องการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ ไม่ต้องติดต่อกับใคร หรือ ยุ่งเกี่ยวในเรื่องใดๆ มีหน้าที่ เดิน ยืน นั่ง นอน สวดมนต์ ภาวนา ไปเรื่อย จนกว่าจะครบกำหนดในการอธิษฐาน การอยู่วิเวก ถึงจะสมบูรณ์ด้วยการอธิษฐานอย่างแท้จริง (การปิดวาจา ใช้คู่กับการปลีกวิเวก เพื่องดการติดต่อสื่อสารทุกอย่าง)
 
สิ่งที่หลวงตาท่านเตือนให้ระมัดระวัง
1.สถานที่ หากต้องการปลีกวิเวกให้ได้อย่างแท้จริง ควรเป็นสถานที่ปิด แล้วมีทุกสิ่งทุกอย่างครบถ้วน (หรืออาจจะเตรียมไว้เลยก็ได้ ห้องควรมีห้องน้ำ สำหรับอาหารควรนำเข้าไปแค่พออยู่ตามคำอธิษฐานเท่านั้น ไม่ควรเอาไปเยอะเกิน ไปเพราะจะทำให้เกิดกิเลส การห่วงกิน และทำให้จิตหมกหมุ่นในเรื่องอาหารได้)
2.อุปกรณ์สื่อสาร ควรปิดและเก็บ อย่าออกมาให้เห็น สำหรับโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ หรือหนังสืออ่านเล่นไม่สมควรมี (เว้นแต่หนังสือธรรมมะ)
3.การอธิษฐานปิดวาจา ใช้คู่กับการปลีกวิเวก เพื่อป้องกันเราในการพูดจา ตอบโต้ กับคนที่อยู่ข้างนอก หรือ การสื่อสารใดๆ (ข้อควรระวัง การปิดวาจาที่ถูกต้อง ห้ามสื่อสารใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเขียนในกระดาษหรือการทำภาษามือ หรือ ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อให้คนอื่นรับรู้ว่าเรากำลังจะสื่อสารอะไร)
4.สิ่งสำคัญที่สุดในการปลีกวิเวกและการปิดวาจาคือ จะต้องทำสมาธิ ภาวนา สวดมนต์ ในทุกอริยบทคือ ยืน เดิน นั่ง นอน หากอธิษฐานปลีกวิเวกและปิดวาจา โดยไม่ทำอะไรเลย อยู่เฉยๆ การปลิกวิเวกและการปิดวาจา จะได้แค่ วิเวกจริงๆ ไม่ได้อย่างอื่นเลย ผิดวัตถุประสงค์ที่แท้จริงในการปฎิบัตินะครับ
 
ข้อยกเว้นในการปลีกวิเวกและการปิดวาจาคือ เรื่องจำเป็นเร่งด่วน เรื่องฉุกเฉิน เจ็บป่วย ให้อธิษฐานด้วยเหตุผลว่ามีเหตุจำเป็นเช่นใด สามารถออกจากการตั้งสัจจะอธิษฐานได้ทันที

187
เหตุที่พระเจ้าจักรพรรดิไม่อุบัติร่วมกัน(เมื่ออุบัติขึ้นก็อุบัติขึ้นทีละองค์ไม่ซ้อนกัน)
บทว่า เอกิสฺสา โลกธาตุยา ได้แก่ ในจักรวาลเดียว ก็หมื่น
จักรวาลแม้จะถือเอาด้วยบทนี้ในตอนต้น ก็ควรที่จะกำหนดเอาจักรวาลเดียว
เท่านั้น เพราะว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อจะอุบัติขึ้นย่อมอุบัติขึ้นในจักรวาล
นี้เท่านั้น ก็เมื่อห้ามสถานที่ที่เสด็จอุบัติย่อมเป็นอันห้ามเด็ดขาดว่าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ไม่เสด็จอุบัติในจักรวาลอื่นนอกจากจักรวาลนี้.

ในบทว่า อปุพฺพํ อจริมํ นี้ มีความหมายว่า ไม่ก่อน (คือ) ไม่
ก่อนแต่ความปรากฏขึ้นแห่งจักรรัตนะ ไม่หลัง (คือ) ไม่หลังจากจักรรัตนะ
นั้นอันตรธาน ในข้อที่ว่าไม่ก่อน ไม่หลังนั้น จักรรัตนะย่อมอันตรธานไป
โดยส่วน ๒ คือ โดยพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จสวรรคต หรือโดยเสด็จออก
ทรงผนวช ก็แหละจักรรัตนะนั้น เมื่อจะอันตรธาน ย่อมอันตรธานไปใน
วันที่ ๗ แต่การเสด็จสวรรคต หรือแต่การเสด็จออกทรงผนวช ต่อแต่นั้น
ไม่ห้ามการปรากฏขึ้นแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์จึงไม่ทรง
อุบัติขึ้นในจักรวาลเดียวกัน.

ตอบว่า เพราะจะตัดการวิวาท เพราะจะให้เป็นความอัศจรรย์ และ
เพราะจักรรัตนะมีอานุภาพมาก.

ก็เมื่อ พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ องค์ อุบัติขึ้น การวิวาทก็จะพึงเกิด
ขึ้นว่า พระราชาของพวกเราใหญ่ พระราชาของพวกเราก็ใหญ่. ในทวีปหนึ่ง
มี พระเจ้าจักรพรรดิ (อีก) ทวีปหนึ่งก็มี พระเจ้าจักรพรรดิ ดังนั้น
จะพึงไม่เป็นของอัศจรรย์ และอานุภาพอันยิ่งใหญ่ของจักรรัตนะอันสามารถ
มอบให้ซึ่งความเป็นใหญ่ในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวารก็
จะหมดคุณค่า พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์ ก็ย่อมไม่อุบัติขึ้นในจักร-
วาลเดียวกัน ก็เพราะจะตัดการวิวาทกัน เพราะไม่เป็นความอัศจรรย์ และ
เพราะจักรรัตนะมีอานุภาพมาก ด้วยประการดังนี้.

188
พุทธพจน์ที่ทรงกล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าจักรพรรดิ

[๔๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นนั่นแลประพฤติสุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงสุคติซึ่งเขาพูดหมายถึงสวรรค์นั้นแลโดยชอบ พึง
กล่าวได้ว่า เป็นสถานที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ส่วนเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพียง เท่านี้แม้จะเปรียบอุปมาจน
ถึงสวรรค์เป็นสุข ก็ไม่ใช่ง่ายนัก ฯ
[๔๘๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ อาจเปรียบอุปมาได้หรือไม่ พระผู้ มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ อาจเปรียบได้ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เปรียบเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการและความ สัมฤทธิผล ๔ อย่าง
จึงเสวยสุขโสมนัสอันมีสิ่งประกอบนั้นเป็นเหตุได้ พระเจ้า- จักรพรรดิทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการเป็นไฉน ฯ

[๔๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชามหากษัตริย์ในโลกนี้ผู้ทรงได้มุรธาภิเษก แล้ว ทรงสรงสนานพระเศียร
ทรงรักษาอุโบสถในดิถีที่ ๑๕ ซึ่งวันนั้นเป็น วันอุโบสถ เมื่อประทับอยู่ในพระมหาปราสาทชั้นบน ย่อมปรากฏจักรแก้ว
ทิพมีกำตั้งพัน พร้อมด้วยกงและดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ครั้นทอดพระเนตร แล้วได้มีพระราชดำริดังนี้ว่า ก็เราได้สดับมาดังนี้แล พระราชาพระองค์ใด ผู้ทรง ได้มูรธาภิเษกแล้ว ทรงสรงสนานพระเศียร ทรงรักษาอุโบสถในดิถี
ที่ ๑๕ ซึ่งวัน นั้นเป็นวันอุโบสถ เมื่อประทับอยู่ในพระมหาปราสาทชั้นบน ย่อมปรากฏจักรแก้วทิพ มีกำตั้งพัน
พร้อมด้วยกงและดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง พระราชานั้นย่อมเป็น พระเจ้าจักรพรรดิ เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
หรือหนอ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อนั้น พระองค์เสด็จลุกจากราชอาสน์ ทรงจับพระเต้าน้ำ ด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงหลั่งรดจักร
แก้วด้วยพระหัตถ์ขวา รับสั่งว่า จงพัดผันไปเถิด จักรแก้วผู้เจริญ จักรแก้วผู้เจริญจงพิชิตให้ยิ่งเถิด ลำดับนั้น
จักรแก้วนั้นก็พัดผันไป ทางทิศตะวันออก พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาก็เสด็จตามไป จักรแก้ว ประดิษ
ฐานอยู่ ณ ประเทศใด พระเจ้าจักรพรรดิก็เสด็จเข้าประทับ ณ ประเทศ นั้น พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา บรรดาพระราชา
ที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันออก เข้า มาเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วทูลอย่างนี้ว่า เชิญเสด็จเถิด มหาราช พระองค์เสด็จ
มาดีแล้ว มหาราช ข้าแต่มหาราช แผ่นดินนี้เป็นของพระองค์ ขอพระองค์จง สั่งการเถิด พระเจ้าจักรพรรดิรับสั่งอย่าง
นี้ว่า ท่านทุกคนไม่ควรฆ่าสัตว์ ไม่ควร ลักทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ ไม่ควรประพฤติผิดในกาม ไม่ควรพูดเท็จ ไม่ควรดื่ม
น้ำเมา และท่านทั้งหลายจงครอบครองบ้านเมืองกันตามสภาพที่เป็นจริงเถิด บรรดา พระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ใน
ทิศตะวันออกเหล่านั้นแล ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้า จักรพรรดิ ต่อนั้น จักรแก้วนั้นได้พัดผันไปจดสมุทรด้านทิศ
ตะวันออก แล้วกลับขึ้น พัดผันไปทิศใต้ ฯลฯ พัดผันไปจดสมุทรด้านทิศใต้แล้วกลับขึ้นพัดผันไปทิศ- ตะวันตก ฯลฯ
พัดผันไปจดสมุทรด้านทิศตะวันตก แล้วกลับขึ้นพัดผันไปทิศเหนือ พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จ
ตามไป จักรแก้วประดิษฐาน อยู่ ณ ประเทศใด พระเจ้าจักรพรรดิก็เสด็จเข้าประทับ ณ ประเทศนั้น พร้อม ด้วยจตุรงคิ
นีเสนา บรรดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศเหนือเข้ามาเฝ้าพระเจ้า จักรพรรดิ แล้วทูลอย่างนี้ว่า เชิญเสด็จเถิด
มหาราช พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราช ข้าแต่มหาราช แผ่นดินนี้เป็นของพระองค์ ขอพระองค์จงสั่งการเถิด
พระเจ้าจักรพรรดิรับสั่งอย่างนี้ว่า ท่านทุกคนไม่ควรฆ่าสัตว์ ไม่ควรลักทรัพย์ที่ เจ้าของมิได้ให้ ไม่ควรประพฤติผิดใน
กาม ไม่ควรพูดเท็จ ไม่ควรดื่มน้ำเมา และ ท่านทั้งหลายจงครอบครองบ้านเมืองกันตามสภาพที่เป็นจริงเถิด บรรดา
พระราชาที่ เป็นปฏิปักษ์ในทิศเหนือเหล่านั้นแล ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าจักรพรรดิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล
จักรแก้วนั้นพิชิตยิ่งตลอดแผ่นดินมีสมุทรเป็น ขอบเขต แล้วกลับมาสู่ราชธานีเดิม ประดิษฐานอยู่เป็นเสมือนลิ่มสลัก
พระทวาร ภายในพระราชวังของพระเจ้าจักรพรรดิ ทำให้งดงามอย่างมั่นคงอยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ย่อมปรากฏจักร
แก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ ฯ

[๔๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏช้างแก้ว เป็นช้างหลวงชื่ออุโบสถ
เผือกทั่วสรรพางค์กาย มีที่ตั้งอวัยวะ ทั้งเจ็ดถูกต้องดี มีฤทธิ์เหาะได้ ครั้นพระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรเห็นแล้ว
ย่อมมีพระราชหฤทัยโปรดปรานว่า จะเป็นยานช้างที่เจริญหนอ พ่อมหาจำเริญ ถ้าสำเร็จการฝึกหัด ต่อนั้น
ช้างแก้วนั้นจึงสำเร็จการฝึกหัดเหมือนช้างอาชาไนย ตัวเจริญ ที่ฝึกปรือดีเป็นเวลานาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมี
มาแล้ว พระเจ้า จักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองช้างแก้วนั้น จึงเสด็จขึ้นทรงในเวลาเช้า เสด็จเวียน รอบปฐพีมีสมุทรเป็น
ขอบเขต เสด็จกลับมาราชธานีเดิม ทรงเสวยพระกระ- ยาหารเช้าได้ทันเวลา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏช้างแก้ว
เห็นปานนี้แก่พระเจ้า จักรพรรดิ ฯ

[๔๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏม้าแก้ว เป็นอัสวราชชื่อวลาหก
ขาวปลอด ศีรษะดำเหมือนกา เส้นผม สลวยเหมือนหญ้าปล้อง มีฤทธิ์เหาะได้ ครั้นพระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรเห็น
แล้ว ย่อมมีพระราชหฤทัยโปรดปรานว่า จะเป็นยานม้าที่เจริญหนอ พ่อมหา- จำเริญ ถ้าสำเร็จการฝึกหัด ต่อนั้น
ม้าแก้วนั้นจึงสำเร็จการฝึกหัดเหมือนม้า อาชาไนยตัวเจริญ ที่ฝึกปรือดีแล้วเป็นเวลานาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมี
มาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองม้าแก้วนั้น จึงเสด็จขึ้นทรงในเวลาเช้า เสด็จ เวียนรอบปฐพีมีสมุทรเป็น
ขอบเขต เสด็จกลับมาราชธานีเดิม ทรงเสวยพระกระ- ยาหารเช้าได้ทันเวลา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏม้าแก้ว
เห็นปานนี้แก่พระเจ้า จักรพรรดิ ฯ

[๔๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏมณีแก้ว เป็นแก้วไพฑูรย์
งามโชติช่วง แปดเหลี่ยม อันเจียระไนไว้ อย่างดี มีแสงสว่างแผ่ไปโยชน์หนึ่งโดยรอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมี
มาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองมณีแก้วนั้น จึงสั่งให้จตุรงคินีเสนา ยกมณีขึ้นเป็นยอดธง แล้วให้เคลื่อน
พลไปในความมืดทึบของราตรี ชาวบ้าน ที่อยู่รอบๆ พากันประกอบการงานด้วยแสงสว่างนั้น สำคัญว่าเป็นกลางวัน
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏมณีแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ ฯ

[๔๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏนางแก้วรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส
ประกอบด้วยความงามแห่งผิวพรรณ อย่างยิ่ง ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนักล่วงผิว
พรรณของมนุษย์ แต่ยังไม่ถึงผิวพรรณทิพ มีสัมผัสทางกายปานประหนึ่ง สัมผัสปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย นางแก้วนั้นมีตัวอุ่น
ในคราวหนาว มีตัวเย็นในคราวร้อน มีกลิ่นดังกลิ่นจันทรฟุ้งไปแต่กาย มีกลิ่นดังกลิ่นอุบลฟุ้งไปแต่ปาก นางแก้วนั้น
มีปรกติตื่นก่อนนอนทีหลัง คอยฟังบรรหารใช้ ประพฤติถูกพระทัย ทูลปราศรัย เป็นที่โปรดปรานต่อพระเจ้าจักรพรรดิ
และไม่ประพฤติล่วงพระเจ้าจักรพรรดิแม้ ทางใจ ไฉนเล่า จะมีประพฤติล่วงทางกายได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏ
นางแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ ฯ

[๔๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏคฤหบดีแก้ว ผู้มีจักษุเพียงดัง
ทิพเกิดแต่วิบากของกรรมปรากฏ ซึ่งเป็นเหตุ ให้มองเห็นทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของ ทั้งที่ไม่มีเจ้าของได้ เขาเข้าเฝ้าพระเจ้า
จักรพรรดิ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ พระองค์จงทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด ข้าพระองค์จักทำหน้าที่การคลังให้
พระองค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองคฤหบดีแก้วนั้น จึงเสด็จลงเรือพระ
ที่นั่งให้ ลอยล่องกระแสน้ำกลางแม่น้ำคงคา แล้วรับสั่งกะคฤหบดีแก้วดังนี้ว่า ดูกรคฤหบดี ฉันต้องการเงินและทอง
คฤหบดีแก้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ถ้าเช่นนั้น โปรดเทียบเรือเข้าฝั่งข้างหนึ่งเถิด พระเจ้าจักรพรรดิตรัสว่า ดูกร
คฤหบดี ฉันต้อง การเงินและทองตรงนี้แหละ ทันใดนั้น คฤหบดีแก้วจึงเอามือทั้ง ๒ หย่อนลง ในน้ำ ยกหม้อเต็มด้วย
เงินและทองขึ้นมา แล้วกราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิดังนี้ว่า ข้าแต่มหาราช พอหรือยังเพียงเท่านี้ ใช้ได้หรือยังเพียง
เท่านี้ บูชาได้หรือยัง เพียงเท่านี้ พระเจ้าจักรพรรดิจึงรับสั่งอย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดี พอละ ใช้ได้แล้ว บูชาได้แล้วเพียง
เท่านี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏคฤหบดีแก้วเห็นปานนี้ แก่พระเจ้าจักรพรรดิ ฯ

[๔๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏปริณายกแก้ว ปริณายกนั้นเป็น
บัณฑิต ฉลาด มีปัญญา สามารถถวาย ข้อแนะนำให้พระองค์ทรงบำรุงผู้ที่ควรบำรุง ทรงถอดถอนผู้ที่ควรถอดถอน
ทรง แต่งตั้งผู้ที่ควรแต่งตั้ง เขาเข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอ เดชะขอพระองค์จงเป็นผู้
ขวนขวายน้อยเถิด ข้าพระองค์จักสั่งการถวาย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏปริณายกแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้า
จักรพรรดิ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ นี้ พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบ
ด้วยความสัมฤทธิผล ๔ อย่างเป็นไฉน ฯ

[๔๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิในโลกนี้ย่อมทรงพระสิริ โฉมงดงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วย
ความงามแห่งพระฉวีวรรณอย่างยิ่ง เกินมนุษย์อื่นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความ
สัมฤทธิผลข้อแรกดังนี้ ฯ

[๔๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ทรงพระชนมายุยืน ทรงดำรงอยู่นานเกิน
มนุษย์อื่นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้า จักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๒ ดังนี้ ฯ

[๔๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม เป็นผู้มีพระโรคาพาธน้อย ไม่ทรงลำบาก
ทรงประกอบด้วยพระเตโชธาตุย่อย พระกระยาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เกินมนุษย์อื่นๆ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๓ ดังนี้ ฯ

[๕๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ทรงเป็นที่รักใคร่ พอใจ ของพราหมณ์และ
คฤหบดีเหมือนบิดาเป็นที่รักใคร่พอใจ ของบุตรฉะนั้น พราหมณ์และคฤหบดีก็เป็นที่ทรงโปรดปราน พอพระราชหฤทัย
ของพระเจ้าจักรพรรดิเหมือนบุตรเป็นที่รักใคร่พอใจของบิดาฉะนั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักร
พรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาออก ประพาสพระราชอุทยาน ทันทีนั้น พราหมณ์และคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระองค์แล้ว
กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์อย่ารีบด่วน โปรดเสด็จโดยอาการที่ พวกข้าพระองค์ได้ชมพระบารมีนานๆ
เถิด แม้พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงสั่งสารถีว่า ดูกรสารถี ท่านอย่ารีบด่วน จงขับไปโดยอาการที่ฉันได้ชมบรรดาพราหมณ์
และ คฤหบดีนานๆ เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความ สัมฤทธิผลข้อที่ ๔ ดังนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผล ๔ อย่างนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระเจ้าจักร- พรรดิทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ
และความสัมฤทธิผล ๔ อย่างดังนี้ พึง เสวยสุขโสมนัสอันมีสิ่งประกอบนั้นเป็นเหตุบ้างไหมหนอ ฯ
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าจักรพรรดิทรง ประกอบด้วยแก้วแม้ประการหนึ่งๆ
ก็ทรงเสวยสุขโสมนัสอันมีแก้วประการนั้น เป็นเหตุได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงแก้วทั้ง ๗ ประการ และความสัมฤทธิผล
ทั้ง ๔ อย่าง ฯ

[๕๐๑] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหยิบแผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่า ฝ่ามือ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่เราถือนี้กับภูเขาหลวง
หิมพานต์ อย่างไหนหนอแลใหญ่กว่ากัน ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่ทรงถือนี้มี ประมาณน้อยนัก เปรียบเทียบ
ภูเขาหลวงหิมพานต์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้ความนับ ย่อมไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้ ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล พระเจ้าจักรพรรดินี้ ทรง ประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการและความ
สัมฤทธิผล ๔ อย่าง ย่อมทรงเสวยสุข โสมนัสอันมีสิ่งประกอบนั้นเป็นเหตุได้ สุขโสมนัสนั้นเปรียบเทียบสุขอันเป็น
ทิพย์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้การนับย่อมไม่เข้าถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้ ฯ

[๕๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นนั่นแล ถ้ามาสู่ความเป็นมนุษย์ ในบางครั้งบางคราวไม่ว่ากาลไหนๆ
โดยล่วงระยะกาลนาน ก็ย่อมเกิดในสกุล สูง คือ สกุลกษัตริย์มหาศาล หรือสกุลพราหมณ์มหาศาล หรือสกุลคฤหบดี
มหาศาล เห็นปานนั้นในบั้นปลาย อันเป็นสกุลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจ
และทรัพย์ธัญญาหารอย่างเพียงพอ และเขา จะเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความงามแห่งผิวพรรณ
อย่างยิ่ง มีปรกติได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ อาศัย และเครื่องตามประทีป
เขาจะประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ครั้นแล้วเมื่อตายไปจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

[๕๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนนักเลงการพนัน เพราะฉวยเอา ชัยชนะได้ประการแรกเท่านั้น จึงบรรลุโภค
สมบัติมากมาย การฉวยเอาชัยชนะ ของนักเลงการพนันที่บรรลุโภคสมบัติมากมายได้นั้นแล เพียงเล็กน้อย ที่แท้แล
การฉวยเอาชัยชนะใหญ่หลวงกว่านั้น คือ การฉวยเอาชัยชนะที่บัณฑิตนั้น ประ- พฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
แล้วตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นั่นเอง ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ภูมิของบัณฑิตครบถ้วนบริบูรณ์ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

189
ลักษณะของพระเจ้าจักรพรรดิ


สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระมหาบุรุษผู้สมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการเหล่านี้ ย่อมมีคติ
เป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือน จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม
เป็น พระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะ แล้ว มีราช
อาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้าง แก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี
นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้วเป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ
มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม โดยเสมอ
มิต้องใช้ ศัสตรา มิต้องใช้อาชญา มิได้มีเสนียด ครอบครองแผ่นดิน มีสาครเป็น ขอบเขต มิได้
มีเสาเขื่อน มิได้มีนิมิต ไม่มีเสี้ยนหนาม สำเร็จ แพร่หลาย มีความเกษม สำราญ ถ้าเสด็จ
ออกผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคา คือ กิเลสอันเปิด
แล้วในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการนั้น เป็นไฉน ซึ่งพระมหา
บุรุษประกอบแล้วย่อม มีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ฯลฯ อนึ่ง ถ้าพระมหาบุรุษนั้น เสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะ ได้เป็นพระอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พระมหาบุรุษในโลกนี้


๑. มีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดี ภิกษุทั้งหลาย การที่พระมหาบุรุษ มีพระบาท
ประดิษฐานเป็นอันดี นี้เป็นมหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษ ฯ


๒. ณ พื้นภายใต้ฝ่าพระบาท ๒ ของพระมหาบุรุษ มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำ ข้างละพัน
มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ภิกษุทั้งหลาย แม้การที่พื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒
ของพระมหาบุรุษ มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำข้างละพัน มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง นี้ก็
มหาปุริสลักษณะของพระมหาบุรุษ ฯ


๓. มีส้นพระบาทยาว ฯ
๔. มีพระองคุลียาว ฯ
๕. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม ฯ
๖. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย ฯ
๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ ฯ
๘. มีพระชงฆ์รีเรียวดุจแข้งเนื้อทราย ฯ
๙. เสด็จสถิตยืนอยู่มิได้น้อมลง เอาฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบคลำได้ถึง พระชาณุทั้งสอง ฯ
๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก ฯ
๑๑. มีพระฉวีวรรณดุจวรรณะแห่งทองคำ คือ มีพระตจะ ประดุจหุ้ม ด้วยทอง ฯ
๑๒. มีพระฉวีละเอียด เพราะพระฉวีละเอียด ธุลีละอองจึงมิติดอยู่ใน พระกายได้ ฯ
๑๓. มีพระโลมชาติเส้นหนึ่งๆ เกิดในขุมละเส้นๆ ฯ
๑๔. มีพระโลมชาติมีปลายขึ้นช้อยขึ้นข้างบน มีสีเขียว มีสีเหมือนดอก อัญชัญ ขดเป็น
กุณฑลทักษิณาวัฏ ฯ


๑๕. มีพระกายตรงเหมือนกายพรหม ฯ
๑๖. มีพระมังสะเต็มในที่ ๗ สถาน ฯ
๑๗. มีกึ่งพระกายท่อนบนเหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของสีหะ ฯ
๑๘. มีระหว่างพระอังสะเต็ม ฯ
๑๙. มีปริมณฑลดุจไม้นิโครธ วาของพระองค์เท่ากับพระกายของพระองค์ พระกายของ
พระองค์ก็เท่ากับวาของพระองค์ ฯ


๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากัน ฯ
๒๑. มีปลายเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารอันดี ฯ
๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์ ฯ
๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ ฯ
๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน ฯ
๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่าง ฯ
๒๖. มีพระทาฐะขาวงาม ฯ
๒๗. มีพระชิวหาใหญ่ ฯ
๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงแห่งพรหม ตรัสมีสำเนียงดังนกกรวิก ฯ
๒๙. มีพระเนตรดำสนิท [ดำคม] ฯ
๓๐. มีดวงพระเนตรดุจตาแห่งโค ฯ
๓๑. มีพระอุณณาโลมบังเกิด ณ ระหว่างพระขนง มีสีขาวอ่อน ควร เปรียบด้วยนุ่น ฯ
๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้การที่พระมหาบุรุษ มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์นี้
ก็เป็นมหาปุริสลักษณะของพระมหาบุรุษนั้น ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการเหล่านี้แล ที่มหาบุรุษ ประกอบแล้ว
ย่อมเป็นเหตุให้มีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครอง เรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์
ฯลฯ อนึ่งถ้าพระมหาบุรุษนั้นออกจากเรือนทรง ผนวชเป็นบรรพชิต จะเป็นพระอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอัน เปิดแล้วในโลก ภิกษุทั้งหลาย พวกฤาษีแม้เป็นภายนอก
ย่อมทรงจำมหาปุริส ลักษณะของพระมหาบุรุษ ๓๒ เหล่านี้ได้ แต่ฤาษีทั้งหลายนั้น ย่อมไม่ทราบว่า
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก สัตว์ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนี้อันตนทำสั่งสม
พอกพูนไพบูลย์ สัตว์ที่บำเพ็ญกุศลกรรมนั้น ย่อมครอบงำเทวดา ทั้งหลายอื่นในโลกสวรรค์ โดย
สถาน ๑๐ คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ ความสุข ทิพย์ ยศทิพย์ ความเป็นอธิบดีทิพย์ รูปทิพย์
เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ และโผฏฐัพพทิพย์ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์นั้นแล้ว มาสู่ความ
เป็นอย่างนี้ ย่อมได้เฉพาะ ซึ่งมหาปุริสลักษณะนี้ ฯ

__________________________________


กำหนดด้วยคำว่า “จักรพรรดิ”
คำว่า "จักรพรรดิ" ที่ได้กำหนด และเลือกสืบค้น พบว่า ปรากฏในพระไตรปิฎกทั้งหมด 25 เล่ม ตำแหน่งที่พบมีจำนวน 594 แห่ง เมื่อเปิดศึกษาแล้ว ได้เลือกพระสูตรเล่มที่ 11 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ซึ่งเป็นเนื้อหาในจักกวัตติสูตร พระสูตรที่ว่าด้วย จักรวรรดิวัตร 12 ประการ หลังจากที่พระพุทธเจ้า ได้ตรัสสอนธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องการปฏิบัติที่ต้องยึดตนเองเป็นที่ตั้ง ทำตัวเองให้เป็น ประทีปแก่ตัวเอง อย่าพึงยึดถือ พึ่งพาสิ่งอื่น ก่อนตนเอง ทรงสอนเรื่องการพิจารณาตัวเองด้วยแนวสติปัฏฐาน 4 แล้ว ทรงยกเรื่องราวของพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า ทัฬหเนมิ มาเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟัง ซึ่งพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นี้ ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม มีพระราชอาณาเขตกว้างขวาง
มีมหาสมุทร ทั้ง 4 เป็นขอบเขต พร้อมพรั่งสมบูรณ์ ด้วยสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิทั้ง 7 ประการ ได้แก่ 1) จักรแก้ว
2) ช้างแก้ว 3) ม้าแก้ว 4) แก้วมณี 5) นางแก้ว 6) ขุนคลังแก้ว 7) ขุนพลแก้ว แต่สมบัติทั้ง 7 ประการนี้ก็ยังไม่ยิ่งใหญ่ หรือยืนยาวเท่ากับการได้ประพฤติอยู่ใน จักรวรรดิวัตร 12 ประการ ภิกษุทั้งหลายจึงพากันทูลถามว่า แล้วจักรวรรดิวัตร นั้นเป็นอย่างไร ควรประพฤติอย่างไร
พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้โดยสรุปเป็นใจความว่า จักรวรรดิวัตรทั้ง 12 ข้อนั้น มีดังนี้ คือ
1 คุ้มครองสงเคราะห์แก่ชนในพระราชฐานและพยุหเสนา
2 แก่กษัตริย์เมืองขึ้นหรือผู้ครองนครภายใต้พระบรมเดชานุภาพ
3 แก่กษัตริย์ที่ตามเสด็จคือเหล่าเชื้อพระวงศ์ผู้เป็นข้าราชบริพาร
4 แก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
5 แก่ชาวนิคมและชาวชนบทคือราษฎรพื้นเมืองทั้งหลาย
6 แก่เหล่าสมณพราหมณ์
7 แก่เหล่าเนื้อนกอันพึงบำรุงไว้ให้มีสืบพันธุ์
8 ห้ามปรามมิให้มีความประพฤติการอันไม่เป็นธรรม
9 เจือจานทรัพย์ทำนุบำรุงแก่ผู้ขัดสนไร้ทรัพย์
10 เข้าไปไต่ถามสนทนาอรรถปริศนากับสมณพราหมณ์
11 เว้นความกำหนัดในกามโดยอาการไม่เป็นธรรม
12 เว้นโลภกล้า ไม่เลือกควรไม่ควร

190
พระเจ้าจักรพรรดิ คือ มนุษย์ผู้มีบุญ เพราะได้ทำบุญมาดีแล้วแต่ชาติก่อน ด้วยการให้ทาน รักษาศีล ๕ และศีล ๘ หรือได้บำรุงบำเรอพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอะระหันต์ พระภิกษุสงฆ์ ได้บำรุงพระพุทธศาสนา ได้ประกาศเผยแพร่พระพุทธศาสนา หรือได้ทำประโยชน์แก่สาธารณะชนด้วยกำลังศรัทธาที่แรงกล้า.
พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพระราชาโดยธรรมะ ไม่ต้องแย่งชิงอำนาจจากใครด้วยอุบายหรือการทำสงคราม ทรงชนะแล้ว มีอาณาจักรที่มั่นคง ทรงมีพระราชอำนาจสิทธิ์ขาดในโลกแต่ผู้เดียว ทรงมีพระปัญญาอันประเสริฐ ฉลาดรอบรู้ในสรรพวิชาการ ทรงบำรุงพัฒนาบ้านเมืองจนเจริญสูงสุด พระองค์มีแก้ว ๗ ประการ มีพระราชบุตรมากกว่าพันล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีระกษัตริย์ สามารถย่ำยีกองกำลังของข้าศึกได้ไม่ยาก ด้วยอานุภาพบุญฤทธิ์ของพระองค์ และอานุภาพแห่งแก้ว ๗ ประการ ทำให้พระองค์ทรงบริหารและปกครองราษฎรโดยไม่ต้องใช้ศาสตรา ไม่ต้องใช้อาวุธหรือเครื่องมือประหัตประหารใดๆ ไม่ต้องลงโทษ ไม่ต้องลงอาชญา.
สมัยใดโลกมีพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา สมัยใดโลกว่างเปล่าจากจากพระพุทธศาสนาและพระปัจเจกพุทธเจ้า สมัยนั้นได้ชื่อว่าโลกมืด โลกจะแบ่งแยกเป็นประเทศเล็กประเทศน้อยอย่างมากมาย มีเชื้อชาติมากมาย ภาษามากมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีมากมาย มีลัทธิศาสนาอันไม่ได้ช่วยให้พ้นทุกข์ได้มากมาย แล้วมวลมนุษย์ในโลกก็เกิดความขัดแย้งกัน ทะเลาะไม่สามัคคีกัน ด่ากัน แล้วลงท้ายด้วยการจับก้อนดินบ้าง ท่อนไม้บ้าง อาวุธอันมีคมบ้าง ประหัตประหารกัน รบกัน ทำสงครามกัน แล้วเกิดการจองเวรด้วยการลอบทำร้ายกัน ลอบสังหารกันและก่อวินาศกรรม กลายเป็นลัทธิก่อการร้ายล้างผลาญกันไป ล้างผลาญกันมาไม่จบสิ้น พระองค์ทรงเห็นโทษเห็นความลามกของความแตกแยกและความแตกต่าง พระองค์จึงทรงรวบรวมมนุษย์ทุกชาติทุกเผ่าพันธุ์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้มนุษย์โลกมีเพียงชาติเดียว เผ่าพันธุ์เดียว ภาษาเดียว ขนบธรรมเนียมประเพณีเดียว ใช้สกุลเงินเดียว แล้วพระองค์ทรงสอนศีล ๕ แก่มวลมนุษย์ในโลก เป็นหลักคำสอนเดียวศาสนาเดียว ดังนั้นมนุษย์ในยุคนั้นจึงมีพระเจ้าจักรพรรดิเป็นพระประมุขของชาวโลก และเป็นศาสดาของชาวโลก.

เมื่อประมุขของโลกและมนุษย์โลกต่างมีศีล ๕ มีธรรมะอันงาม ไม่มีแหล่งอบายมุขใดๆในแผ่นดิน ไม่แตกแยกไม่ขัดแย้งกันดังนี้ มวลมนุษย์ย่อมเห็นความสุขความเจริญในปัจจุบัน เหล่าเทวดาทั้งหลายย่อมปลื้มปีติยินดี ร่าเริงบันเทิงใจ ฝนฟ้าก็ตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารก็อุดมสมบูรณ์ มนุษย์ทั้งหลายก็มีสุขภาพจิตสุขภาพกายดี อายุยืน จำนวนมนุษย์ก็มากขึ้นแต่ไม่ขาดแคลน มวลมนุษย์ทั้งปวงต่างมองหน้ากันด้วยแววตาแห่งความรักความเมตตา เมื่อนั้นได้ชื่อว่าพระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้ประทานแสงสว่างให้แก่โลก ประทานความร่มเย็นให้แก่โลก.



ฤทธิ์ ๔ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ
๑. พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีพระรูปงาม น่าดู น่าชม น่าเลื่อมใส ทรงมีพระฉวีวรรณผ่องใสยิ่งกว่ามนุษย์ทั่วไป
๒. พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีพระชนมายุยืนนานกว่ามนุษย์ทั่วไป
๓. พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีอาพาธน้อย มีพระโรคน้อยกว่ามนุษย์ทั่วไป
๔. พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นที่รักที่ชอบใจของมนุษย์ทั้งหลาย และมนุษย์ทั้งหลายก็เป็นที่รักที่ชอบใจของพระเจ้าจักรพรรดิ
ดุจบุตรเป็นที่รักที่ชอบใจของบิดาทีเดียว เมื่อถึงคราวพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จเลียบพระนครออกเยี่ยมราษฎร ราษฎรทั้งหลายไปเฝ้า พระองค์พลางกราบทูลว่า “ขอเดชะ... ขอพระองค์อย่าด่วนเสด็จไป พวกข้าพระองค์จะได้เฝ้าพระองค์นานๆ”แม้พระเจ้าจักรพรรดิก็
ทรงตรัสกับนายสารถีว่า “นายสารถี เธออย่าด่วนขับรถไป เราจะได้เห็นราษฎรนานๆ”


ลักษณะ ๓๒ ประการของมหาบุรุษ

มหาบุรุษผู้มีลักษณะ ๓๒ ประการนี้ ย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หรือเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น คือ....

๑. มีพระบาทเรียบเสมอ
๒. ที่ฝ่าพระบาททั้งสองมีลายรูปจักร อันมีซี่พันหนึ่ง มีกง มีดุมบริบูรณ์
๓. ส้นพระบาทยาว
๔. มีพระองคุลี (นิ้ว) ยาว
๕. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม
๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาท มีลายดุจตาข่าย
๗. มีพระบาทนูนสูงดุจสังข์คว่ำ
๘. มีพระชงฆ์ (แข้ง) เรียวดุจแข้งเนื้อทราย
๙. เมื่อประทับยืนมิได้ก้ม พระหัตถ์ทั้งสองลูบพระชานุ (เข่า) ทั้งสองได้
๑๐. มีพระคุยหะ (องคชาติ) เร้นอยู่ในฝัก
๑๑. พระฉวีวรรณดุจสีทอง
๑๒. พระฉวีวรรณละเอียดฝุ่นไม่เกาะ
๑๓. พระโลมา (ขน) เกิดขึ้นขุมละเส้น
๑๔. พระโลมาทุกเส้นชี้ขึ้นข้างบน
๑๕. พระวรกายตรงดุจกายพระพรหม
๑๖. พระมังสะเต็มในที่ ๗ แห่ง คือ หลังพระหัตถ์ทั้งสอง, หลังพระบาททั้งสอง, พระอังสะ (บ่า) ทั้งสอง และพระศอ (คอ)
๑๗. พระวรกายท่อนบนดุจกายท่อนหน้าของราชสีห์
๑๘. แผ่นหลังมีพระมังสะเต็ม
๑๙. พระวรกายดุจต้นไทร มีพระวรกายเท่ากับวา
๒๐. ลำพระศอกลม
๒๑. เส้นประสาทรับรู้รสได้ดี
๒๒. พระหนุ (คาง) ดุจคางของราชสีห์
๒๓. พระทนต์ (ฟัน) ๔๐ ซี่
๒๔. พระทนต์เรียบเสมอ
๒๕. พระทนต์ไม่ห่าง
๒๖. พระเขี้ยวแก้วขาวงาม
๒๗. พระชิวหา (ลิ้น) ใหญ่
๒๘. พระสุรเสียงก้องกังวานดุจเสียงของพระพรหม ไพเราะดุจเสียงของนกการเวก
๒๙. พระเนตรดำสนิท
๓๐. ดวงพระเนตรดุจตาของลูกโค
๓๑. พระอุณาโลม (ขนระหว่างคิ้ว) ขาวอ่อนนุ่มดุจสำลี
๓๒. พระเศียรดุจสวมมงกุฎ

คุณธรรมของพระราชาผู้ที่จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ


คุณธรรมของพระราชาผู้จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

๑. อาศัยธรรมะ สักการะเคารพธรรมะ นับถือธรรมะ บูชาธรรมะ ยำเกรงธรรมะ มีธรรมะเป็นธงชัย มีธรรมะเป็นใหญ่
๒. รักษาคุ้มครอง ป้องกันอย่างเป็นธรรมะในราชนิกุล ในกองพล ในกษัตริย์ เมืองขึ้น ในชาวเมือง ชาวชนบท สมณะ พราหมณ์
๓. รักษาคุ้มครองป้องกันอย่างเป็นธรรมะในเหล่าสัตว์เดรัจฉาน ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า
๔. ไม่ให้มีสิ่งผิดศีลธรรมในแผ่นดิน
๕. ให้ทรัพย์แก่ผู้ไม่มีทรัพย์
๖. เข้าไปหาสมณะพราหมณ์ผู้มีความอดทน มีความสงบระงับ ฝึกตนอยู่ผู้เดียว ดับกิเลสอยู่ผู้เดียว ล้วถามว่า“ท่านขอรับ...กุศล
คือ อะไร อกุศลคืออะไร กรรมใดไม่มีโทษ กรรมใดมีโทษ กรรมใดควรเสพ กรรมใดไม่ควรเสพ กรรมใดทำแล้วเป็นประโยชน์ กรรมใด
ทำแล้วไม่เป็นประโยชน์”
๗. เมื่อฟังคำของสมณะพราหมณ์นั้นแล้ว สิ่งใดเป็นอกุศลจงเว้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลจงถือมั่นประพฤติปฏิบัติ
จักรแก้ว


พระราชาผู้ที่จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงศีล ๕ อยู่เป็นนิตย์ ในวันอุโบสถ ๘ ค่ำ ๑๔ – ๑๕ ค่ำ พระองค์จะทรงจัดการงานแผ่นดิน
ทั้งหลายให้เสร็จแต่เช้าตรู่ แล้วทรงถวายมหาทาน ทรงสรงน้ำชำระพระเศียรแล้วฉลองพระองค์ด้วยชุดขาว เสวยพระกระยาหารประทับนั่ง
สมาธิอยู่บนปราสาทสมาทานศีล ๘ ทรงลำลึกถึงเหตุแห่งบุญที่สำเร็จด้วย ทาน ศีล การข่มใจ และการฝึกตนของพระองค์ จนกระทั่งวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง คืนหนึ่งขณะที่พระองค์ทรงถือศีล ๘ และเจริญสมาธิอยู่ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ก็ปรากฏแก่พระองค์ จักรแก้วอันเป็นทิพย์นั้นบริบูรณ์ด้วย ดุม กง และซี่พันซี่ ล้วนสำเร็จด้วยทองและเงิน ประดับด้วยรัตนะชาติ ๙ ประการ ที่ได้รับการสลักลวดลายอย่างวิจิตรงดงาม มีแสงรัศมีซ่านออกโดยรอบดุจดวงอาทิตย์ จักรแก้วเมื่อต้องลมแล้วมีเสียงไพเราะยวนใจ ชวนให้ฟัง ชวนให้เคลิบเคลิ้ม เหมือนเสียงดนตรีทั้ง ๕ ที่บรรเลงโดยนักดนตรีผู้ชำนาญดีแล้ว
จักรแก้วนั้นลอยมาจากทิศตะวันออกเปล่งแสงสุกสว่างดุจพระจันทร์ดวงที่ ๒ มาวนเวียนรอบพระนครแล้วหยุดอยู่ที่สีหะบัญชรด้านทิศเหนือของปราสาท มหาชนเห็นแล้วแตกตื่นพากันวิ่งตามมาดูและสักการบูชา พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นจักร
แก้วแล้วทรงดำริว่า “เราเคยได้ฟังมาว่า พระราชาผู้ได้รับการราชาภิเษ แล้วองค์ใด ทรงสรงน้ำชำระพระวรกาย สระพระเศียร แล้วรักษาอุโบสถศีลอยู่บนปราสาทในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ จักรแก้วอันเป็นทิพย์จะปรากฏแก่พระราชาพระองค์นั้น ผู้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เราเห็นจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิแล้วหรือ?” จึงทรงออกจากสมาธิลุกขึ้นมาทรงผ้าสไบเฉวียงบ่า พระหัตถ์ซ้ายจับพระเต้าทองหลั่งน้ำทักษิโณทก พระหัตถ์ขวาชูจักรขึ้น แล้วตรัสว่า “โอ... จักรแก้วอันเจริญ จงหมุนไปพิชิตจักรวรรดิเถิด” ทันใดนั้นจักรแก้วก็หมุนลอยนำไปทางทิศตะวันออก พระราชาพร้อมด้วยกองทัพ ๔ เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า อีกทั้งมหาชนทั้งหลายก็ติดตามไป ด้วยอานุภาพของจักรแก้วพาให้พระราชาและผู้ติดตามทั้งหมดเหาะลอยไปได้ในอากาศ ข้ามภูเขา ข้ามแม่น้ำ ข้ามทะเล จักรแก้วนำพาไปสู่อาณาจักรของประเทศใด ก็หยุดลงที่หน้าพระราชนิเวศของพระราชาประเทศนั้น พระองค์พร้อมผู้ติดตามก็หยุด ณ ที่นั้น พระราชาของประเทศนั้นๆก็นำเครื่องบรรณาการเสด็จเข้ามาเฝ้าพระองค์ แล้วน้อมพระเศียรอันทรงมหามงกุฎซบพระบาทของพระองค์ กราบทูลด้วยวจนะว่า “ข้าแต่มหาราช... ขอพระองค์ทรงเสด็จมาเถิด การเสด็จมาของพระองค์เป็นความดี ข้าพระองค์ขอถวายการต้อนรับพระองค์ด้วยราชสมบัติของหม่อมฉันขอยกถวายแก่พระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดประทานพระราชโอวาทแก่หม่อมฉันเถิด”.


พระองค์ไม่ทรงตรัสว่า “ท่านทั้งหลายจงนำเครื่องราชพลีมาให้เรา” พระองค์ไม่ทรงเอาโภคทรัพย์ของพระราชาองค์ใดไป แต่ทรงตรัสด้วยพระปัญญาอันสมควรที่พระองค์เป็นธรรมราชา ทรงแสดงธรรมะด้วยพระวจนะอันเป็นที่รัก อันละเอียดอ่อนว่า



“ดูก่อนพ่อทั้งหลาย.... การฆ่าสัตว์ก็ดี การลักทรัพย์ก็ดี การประพฤติผิดในกามก็ดี การพูดโกหกก็ดี การเสพสุราเมรัยและสิ่งเสพติดก็ดี บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทุกข์ในโลกนี้ เมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่นรก การไม่เสพกรรมทั้ง ๕ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อสุขในโลกนี้ เมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่สวรรค์ ดังนั้นพ่อทั้งหลายไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์ ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงพูดโกหก ไม่พึงเสพสุราเมรัยและสิ่งเสพติด แล้วพ่อทั้งหลายจงเสวยราชสมบัติตามเดิมเถิด”.
จักรแก้วนำพาพระราชาพิชิตประเทศต่างๆทางทิศตะวันออก... พระราชาของประเทศเหล่านั้นก็ออกมาสวามิภักดิ์โดยดี ทรงเป็นบริวารของพระองค์โดยทั่วแล้ว จักรแก้วก็นำเสด็จสู่ทิศใต้... พระราชาแห่งประเทศทั้งหลายทางทิศใต้ก็ออกมาสวามิภักดิ์ จักรแก้วนำเสด็จสู่ทิศตะวันตก... พระราชาแห่งประเทศทั้งหลายทางทิศตะวันตกก็ออกมาสวามิภักดิ์ จักรแก้วนำเสด็จสู่ทิศเหนือ... พระราชาแห่งประเทศทั้งหลายทางทิศเหนือก็ออกมาสวามิภักดิ์ พระราชาทั้งหลายที่จะประชุมกองกำลังเตรียมรบหรือพยายามยก

อาวุธขึ้นต่อกรไม่มีเลยพระราชาของประเทศทั้งหลายย่อมเข้าถึงการฝึกอบรมแล้วด้วยอานุภาพของจักรแก้ว พระองค์ก็บรรลุความเป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งปฐพี โดยมีมหาสมุทรทั้งหมดเป็นขอบเขต ถึงซึ่งความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิปกครองโลกด้วยประการฉะนี้ เมื่อจักรแก้วนำพิชิตทั่วพื้นปฐพีนี้แล้ว ก็นำเสด็จกลับสู่ราชธานีตั้งประดิษฐานอยู่ในประตูเมืองให้สง่างาม มหาชนทั้งหลายก็นำเครื่องสักการะบูชาอันมีดอกไม้และของหอมเป็นต้นมาสักการะบูชา กิจที่จะต้องทำด้วยการจุดคบเพลิง ด้วยการจุดตะเกียงในราชธานีไม่มี แสงสว่างแห่งจักรแก้วย่อมกำจัดความมือแห่งราตรี บุคคลใดต้องการแสงสว่าง แสงสว่างก็เกิดแก่บุคคลนั้น บุคคลใดต้องการความมืด ความมืดก็เกิดแก่บุคคลนั้น.


ช้างแก้ว



ช้างแก้วได้ปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาช้างชื่อ อุโบสะถะ ตระกูลอุโบสถ เป็นช้างเผือกขาวปลอด มีลักษณะถูกต้องตามตำราคชลักษณ์ทั้งปวง มีฤทธิ์เหาะได้ พระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรด้วยความเลื่อมใสตรัสว่า “โอ... ผู้เจริญ ช้างเชือกนี้ถ้าได้รับการฝึกหัดก็จะดี” ช้างแก้วก็เป็นช้างแสนรู้ในทันทีเหมือนช้างที่ได้รับการฝึกอย่างดีมาเป็นเวลานาน ในเวลาเช้าพระองค์ทรงทดลองช้างแก้วด้วยการเสด็จขึ้นคอแล้วให้พาเที่ยวไปทั่วแผ่นดินจนสุดราชอาณาจักร เหาะไปรอบโลกแล้วกลับสู่ราชธานีทันเสวยพระกระยาหารเช้า.


ม้าแก้ว



ม้าแก้วได้ปรากฏขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาม้าชื่อ วลาหะกะ ตระกูลสินธพ มีสีขาวล้วน ศีรษะดำเหมือนกา มีผมเป็นพวงเหมือนหญ้าปล้อง มีฤทธิ์เหาะได้ พระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรด้วยความเลื่อมใสตรัสว่า “โอ... ผู้เจริญ ม้าตัวนี้ถ้าได้รับการฝึกหัดก็จะดี” ม้าแก้วก็เป็นม้าแสนรู้ในทันที เหมือนม้าที่ได้รับการฝึกหัดอย่างดีมาเป็นเวลานาน ในเวลาเช้าพระองค์ทรงทดลองม้าแก้วด้วยการเสด็จขึ้นขี่หลังแล้วให้พาเที่ยวไปทั่วแผ่นดินจนสุดราชอาณาจักร เหาะไปรอบโลกแล้วกลับสู่ราชธานีทันเสวยพระกระยาหารเช้า.


แก้วมณี



แก้วมณีได้ปรากฏขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นแก้วไพฑูรย์น้ำงามโดยกำเนิด แปดเหลี่ยมเจียรนัยดีแล้ว กว้างยาว ๔ ศอก ลักษณะงามพร้อมทุกประการ มีแสงสุกใสแวววาว มีรัศมีส่องแสงแผ่ออกไปไกล ๑ โยชน์ ถ้าติดไว้ที่ปลายยอดธงในเวลากลางคืนที่มืดมิด จะมีแสงสว่างดุจกลางวัน ชาวบ้านพากันประกอบการงานนึกว่าเป็นกลางวัน.


นางแก้ว



นางแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นสตรีรูปร่างสวยงาม น่าดู น่าชม น่าเลื่อมใส ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก เอวเล็กและบาง สะโพกผาย ทรวดทรงงามระหงอรชรได้สัดส่วน ผิวพรรณเปล่งปลั่งเกินมนุษย์ มีรัศมีสว่างไสวแผ่ไปไกล ๑๒ ศอก มีร่างกายอ่อนนุ่มเหมือนนุ่นหรือปุยฝ้าย เมื่ออากาศเย็นเนื้อตัวจะอุ่น เมื่ออากาศร้อนเนื้อตัวจะเย็น มีกลิ่นจันทร์ฟุ้งออกจากกาย กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปาก นางแก้วย่อมตื่นก่อนนอนทีหลังพระเจ้าจักรพรรดิ คอยรับฟังคำสั่ง คอยขับกล่อมพัดวี ประพฤติปฏิบัติเป็นที่พอพระราชหฤทัย พูดจาไพเราะอ่อนหวานด้วยคำที่น่ารัก ใจของนางไม่นอกพระหฤทัยของพระเจ้าจักรพรรดิแล้วทางกายจะประพฤติชั่วแต่ที่ไหน นางมีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสไม่บูดบึ้ง ชวนทัศนา.


คฤหบดีแก้ว



คฤหบดีแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นคนมีตาทิพย์ สามารถเห็นขุมทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของ ทั้งบนดินใต้ดิน ทั้งบนน้ำใต้น้ำ ได้ไกล ๑ โยชน์ เขากราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิว่า “ขอเดชะ... พระองค์ไม่ต้องทรงเป็นห่วงเรื่องทรัพย์ ข้าพระองค์จะกระทำหน้าที่จัดหาจัดการพระราชทรัพย์แก่พระองค์” พระเจ้าจักรพรรดิทรงทดลองคฤหบดีแก้ว ด้วยการเสด็จพาประทับบนเรือลอยสู่กลางแม่น้ำคงคา แล้วทรงรับสั่งคฤหบดีแก้ว “ดูก่อน... ท่านคฤหบดี ฉันต้องการเงินทอง”
คฤหบดี “มหาราชเจ้า... ถ้ากระนั้นขอพระองค์จงทรงให้เทียบเรือที่ริมตลิ่งเถิด”
พระเจ้าจักรพรรดิ “ท่านคฤหบดี... ฉันต้องการเงินทองตรงกลางแม่น้ำนี้แหละ”
ทันใดนั้น คฤหบดีแก้วก็เอามือทั้งสองจุ่มลงไปใต้น้ำ แล้วยกเอาหม้อที่เต็มไปด้วยเงินทองขึ้นมาพลางกราบทูลว่า “มหาราชเจ้า... เท่านี้พอ
หรือยังพระเจ้าข้า?”
พระเจ้าจักรพรรดิ “ท่านคฤหบดี... เท่านี้พอแล้ว ทำเพียงเท่านี้เถิด เท่านี้ก็เป็นอันท่านบูชาฉันแล้ว”


ปริณายกแก้ว



ปริณายกแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป้นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์เอง เป็นบัณฑิต เป็นนักปราชญ์ มีวิชาความรู้ทุกด้าน เฉลียวฉลาดสามารถรู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์ สามารถรู้วาระจิตของผู้อื่น เข้มแข็ง สามารถชี้แนะให้พระเจ้าจักรพรรดิเสด็จไปยังที่ๆควรไป ให้หลีกในที่ๆควรหลีก ให้ยับยั้งในที่ๆควรยับยั้ง เขากราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิว่า “ขอเดชะ... พระองค์ไม่ต้องทรงเป็นห่วง ข้าพระองค์จะทำหน้าที่จัดการปกครองและบริหารราชการแผ่นดินแทนพระองค์ พระองค์จะวางนโยบายอย่างไร ขอพระองค์จงทรงตรัสบอกเถิด พระเจ้าข้า” แก้วเจ็ดประการเห็นป่านนี้ปรากฏแล้วปรากฏแล้วแก่พระเจ้าจักรพรรดิ

191
ปัจฉิมพจน์

ข้าพเจ้าผู้มีนามปรากฏว่า พระมหาวิลาศ ญาณวโร (บัดนี้เป็นพระราชคณะชั้นเทพ ที่พระเทพมุนี) ได้อุปสมบทในพระบวรพุทธศาสนา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ โดยมีท่านพระธรรมปัญญาบดี (บัดนี้ เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) ชิ ตินธรเถระ เปรียญธรรม ๙ ประโยค วัดสามพระยา จังหวัดพระนคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุทธิวรคุณ วัดสุทธิวราราม จังหวัดพระนคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูกัลยณวิสุทธิ์ วัดดอน จังหวัดพระนคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์

นับแต่ได้อุปสมบทมา ก็ศึกษาพระปริยัติธรรมตามกำลังสติปัญญาสำเร็จการศึกษาเปรียญธรรม ๙ ประโยค เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ ครั้นเสร็จธุระในด้านปริยัติศึกษาแล้ว ก็ใฝ่ใจในการปฏิบัติตามกำลังศรัทธา ได้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๒ ครั้ง โดยมีพระอาจารย์เข่ง อุตตรกโข เป็นพระวิปัสสนาจารย์ผู้บอกกรรมฐานครั้งแรก และพระอาจารย์ภัททันตะ อาสภะเถระ ธัมมะจริยะเป็นพระวิปัสสนาจารย์ผู้บอกกรรมฐานครั้งหลัง

เมื่อออกจากกรรมฐานแล้ว มีใจนึกถึงคุณแห่งพระบวรพุทธศาสนาซาบซึ้งนพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระ บรมศาสดาจารย์จอมมุนีเจ้า จึงคิดรจนาเรียบเรียงหนังสือ มุนีนาถทีปนี นี้ขึ้น โดยมากประมวลเอากถาถ้อยคำท่านบุรพจารย์ทั้งหลาย ซึ่งท่านได้กล่าวไว้ในที่ต่างๆ เอามาปรุงแต่งเสียใหม่ เพื่อให้เข้าใจง่ายตามสมควรแก่รูปเรื่องในที่นี้ หวังใจให้เป็นสมบัติพระศาสนา เพื่อบูชาพระคุณองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยสติปัญญาอันเล็กน้อยแห่งตน โดยเริ่มรจนาเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๐๖ และจบลงในวันนี้ที่ ๒๙ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๖ รวมเป็นเวลา ๗๗ วัน โดยปราศจากอุปทวันตรายใดๆ

ต่อจากนี้ไป ก็ได้แต่หวังใจอยู่ว่า หนังสือมุนีนาถทีปนีที่เรียบเรียงขึ้นนี้ คงจะมีสารัตถประโยชน์แก่ท่านสาธุชนผู้มีปัญญา ที่อุตส่าห์ติดตามอ่านมาตั้งแต่ต้น จนกระทั่งจบลงในบัดนี้ บ้างตามสมควร
ข้าพเจ้า ผู้มีน้ำใจศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะให้พระสัทธรรมคำสั่งสอนแห่งองค์สมเด็จพระชินวรโลกนาถบรมศาสดาจารย์ ถาวรตั้งอยู่ตลอดกาลนาน จึงได้อุตสาหะรจเรียบเรียงเรื่อง มุนีนาถทีปนี นี้ขึ้น แล้วได้ประสบบุญกุศลซึ่งอำนวยประโยชน์ให้อันใดด้วยเดชะแห่งบุญกุศลนั้น ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายจงประสบแต่ความสุขสำราญจงทั่วกัน
อนึ่ง บรรดาพุทธมามกชนผู้เลื่อมใสพระไตรรัตน์ คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มีเจตจำนงใคร่จะพ้นจากกองทุกข์ จงพ้นทุกข์ในอบายภูมิ และจงบรรลุถึงนิพพานในอนาคตกาลด้วยเถิด

ขอมโนรถความปรารถนาอันประเสริฐซึ่งเกิดจากน้ำใจอันงามของข้าพเจ้า จงสำเร็จผลตามที่ตั้งใจไว้นี้ทั้งหมด เพื่อความหมดจดไหบูลย์แห่งพระสัทธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดา จารย์ ตลอดกาลนิรันดรเทอญ
มุนีนาถทีปนี
จบบริบูรณ์

ปัฏฐนฐปนคาถา

หันทะ มะยัง ปัฏฐะนะ ฐะปะนะ คาถาโย ภะณามะ เสฯ

ยันทานิเม กะตัง ปุญญัง เตนาเนนุททิเสนะ จะ,
ขิปปัง สัจฉิกะเรยยาหัง ธัมเม โลกุตตะเร นะวะ,

บุญใดที่ข้าพเจ้าได้ทำในบัดนี้, เพราะบุญนั้นและการอุทิศแผ่ส่วนบุญนั้น,

ขอให้ข้าพเจ้าทำให้แจ้งโลกุตตรธรรมเก้าในทันที;

สะเจ ตาวะ อะภัพโพหัง สังสาเร ปะนะ สังสะรัง,

ถ้าข้าพเจ้าเป็นผู้อาภัพอยู่ ยังต้องท่องเที่ยวไปในวัฏฏสงสาร;

นิยะโต โพธิสัตโตวะ สัมพุทเธนะ วิยากะโต,
นาฏฐาระสะปิ อาภัพพะ ฐานานะ ปาปุเณยยะหัง,

ขอให้ข้าพเจ้าเป็นเหมือนโพธิสัตว์ผู้เที่ยงแท้
ได้รับพยากรณ์แต่พระพุทธเจ้าแล้ว ; ไม่ถึงฐานะแห่งความอาภัพ ๑๘ อย่าง ;

ปัญจะเวรานิ วัชเชยยัง ระเมยมัง สีละรักขะเน,
ปัญจะกาโม อะลัคโคหัง วัชเชยยัง กามะปังกะโต,

ข้าพเจ้าพึงเว้นจากเวรทั้งห้า; พึงยินดีในการรักษาศีล;
ไม่เกาะเกี่ยวในกามคุณทั้งห้า; พึงเว้นจากเปือกตมกล่าวคือกาม;

ทุททิฏฐิยา นะ ยุชเชยยัง สังยุชเชยยัง สุทิฏฐิยา,
ปาเป มิตเต นะ เสเวยยัง เสเวยยัง ปัณฑิเต สะทา,

ขอให้ข้าพเจ้าไม่พึงประกอบด้วยทิฏฐิชั่ว; พึงประกอบด้วยทิฏฐิที่ดีงาม;
ไม่พึงคบมิตรชั่ว; พึงคบแต่บัณฑิตทุกเมื่อ;

สัทธาสะติหิโรตตัปปา ตาปักขันติคุณากะโร,
อัปปะสัยโห วะ สัตตูหิ เหยยัง อะมันทะมุยหะโก,

ขอให้ข้าพเจ้าเป็นบ่อที่เกิดแห่งคุณ, คือ
ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ ความเพียรและขันติ ;
พึงเป็นผู้ที่ศัตรูครอบงำไม่ได้; ไม่เป็นคนเขลา คนหลงงมงาย ;

สัพพายาปายุปาเยสุ เฉโก ธัมมัตถะโกวิโท,
เญยเย วัตตัตวะสัชชัง เม ญาณัง อะเฆวะ มาละโต,

ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ฉลาดในอุบายเแห่งความเสื่อมและความเจริญ ;
เป็นผู้เฉียบแหลมในอรรถและธรรม ;
ขอให้ญาณของข้าพเจ้าเป็นไปไม่ข้องขัดในธรรมที่ควรรู้ ;
ดุจลมพัดไปในอากาศ ฉะนั้น ;

ยา กาจิ กุสะลา มยาสา สุเขนะ สิชฌะตัง สะทา,
เอวัง วุตตา คุณา สัพเพ โหนตุ มัยหัง ภะเว ภะเว,

ความปรารถนาใดๆ ของข้าพเจ้าที่เป็นกุศล, ขอให้สำเร็จโดยง่ายทุกเมื่อ;
คุณที่ข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วทั้งปวงนี้, จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกๆ ภพ;

ยะทา อุปปัชชะติ โลเก สัมพุทโธ โมกขะเทสะโก,
ตะทา มุตโต กุกัมเมหิ ลัทโธกาโส ภะเวยยะหัง,

เมื่อใด,
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้แสดงธรรมเครื่องพ้นทุกข์ เกิดขึ้นแล้วในโลก ;
เมื่อนั้น ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากกรรมอันชั่วช้าทั้งหลาย
เป็นผู้ได้โอกาสแห่งการบรรลุธรรม;

มะนุสสัตตัญจะ ลิงคัญจะ ปัพพัชชัญจะปะสัมปะทัง,
ละภิตวา เปสะโล สีลี ธาเรยยัง สัตถสาสะนัง,

ขอให้ข้าพเจ้าพึงได้ความเป็นมนุษย์; ได้เพศบริสุทธิ์;
ได้บรรพชา อุปสมบทแล้ว ; เป็นคนรักศีล; มีศีล;
ทรงไว้ซึ่งพระศาสนาของพระศาสดา;

สุขะปะฏิปะโท ขิปปา ภิญโญ สัจฉิกะเรยยะหัง
อะระหัตตัปผะลัง อัคคัง วิชชาทิคุณะลังกะตัง

ขอให้เป็นผู้มีการปฏิบัติโดยสะดวก, ตรัสรู้ได้พลัน ;
กระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผลอันเลิศ, อันประดับด้วยธรรม มีวิชชา เป็นต้น;

ยะทิ นุปปัชชะติ พุทโธ กัมมัง ปะริปูรัญจะ เม,
เอวัง สันโต ละเภยยาหัง ปัจเจกะโพธิมุตตะมัน ติ.

ถ้าหากพระพุทธเจ้าไม่บังเกิดขึ้น ,
แต่กุศลกรรมของข้าพเจ้าเต็มเปี่ยมแล้ว ;
เมื่อเป็นเช่นนั้น
ขอให้ข้าพเจ้าพึงได้ญาณเป็นเครื่องรู้เฉพาะตนอันสูงสุดเทอญ.


192
คุณแห่งโภชนาหาร

ธรรมดาว่าโภชนาหาร อันสัตว์โลกทั้งหลายต้องบริโภคเข้าไปทุกวันนี้ หากเป็นอาหารดีไม่มีโทษแล้ว ย่อมอำนวยประโยชน์โสตถิผลตามคุณลักษณะ ๕ ประการ คือ
๑. เลี้ยงไว้ซึ่งอายุสัตว์ให้วัฒนาการจำเริญยิ่งๆ ขึ้นไป

๒. เพิ่มกำลังแรงแห่งสัตว์ทั้งหลายให้จำเริญยิ่งๆ ขึ้นไป

๓. ให้เกิดมีผิวพรรณผ่องใสไม่ให้อับเศร้าหมองศรีคือผมตายซาก

๔. ดับเสียซึ่งความอยาก ความกระวนกระวายไม่มีความสบายอยู่ไม่เป็นสุข

๕. บรรเทาทุกข์อันเกิดจากความหิวโหยโรยแรง เพราะอดข้าวอดน้ำแห่งสัตว์ทั้งหลาย อุปมาที่ว่ามานี้ ฉันใด
อันว่าพระนิพพานนี้ ก็มีสภาพคล้ายกันนี้ เพราะมีคุณลักษณะอันประเสริฐสุดเทียบเคียงกันได้ ๕ ประการ คือ
๑.พระนิพพาน ย่อมเลี้ยงสัตว์ทรงสัตว์ผู้ได้พระนิพพานไว้ มิให้ฉิบหายด้วยชราและมรณะ คือไม่ให้แก่ไม่ให้าย

๒. พระนิพพาน ย่อมเพิ่มกำลังแรง ทำสัตว์ผู้ได้พระนิพพานให้เป็นคนจำเริญฤทธิ์มีอิทธิพลโดยอุดม แม้แต่พญามัจจุราชเจ้าแห่งความตายก็ต้องเกรงกลัว จะมาทำอันตรายมิได้

๓. พระนิพพาน ย่อมบันดาลให้สัตว์ผู้ได้บรรลุนั้นเป็นบุคคลมีผิวพรรณผุดผ่องสวยงาม เป็นหนึ่งไม่มีสองสุดประเสริฐ เพราะผู้ได้พระนิพพานนั้น ย่อมเพริศพริ้งไปด้วยศีลอันงามสุดประเสริฐ

๔. พระนิพพาน ย่อมบันดาลให้สัตว์ทั้งหลายเป็นสุข ระงับดับเสียซึ่งความกระวนกระวาย เพราะอำนาจแห่งกิเลสทั้งหลายชักพาไปให้เดือดร้อนกระวนกระวาย เช่นที่เห็นๆ กันอยู่นี่

๕. พระนิพพาน ย่อมบันดาลให้สัตว์ทั้งหลายหมดความทุกข์ บันเทาเสียซึ่งความอยากหิวโหย กล่าวคือ กองทุกข์ทั้งหลายอันสุมทับสามัญสัตว์ ให้ปริวัฏเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารไม่มีวันสิ้นสุด
พุทธ บุตรผู้มีปัญญา เมื่อมองเห็นคุณค่าแห่งพระนิพพานอันมีคุณลักษณ์สิริรวมเป็น ๕ ประการนี้ จึงมีจิตยินดีปรารถนาพระนิพพานยิ่งกว่าสิ่งอื่นประการใดทั้งหมด

คุณแห่งยอดบรรพตคีรี
ธรรมดาว่าบรรพตคีรี อันปรากฎมีในโลกนี้ เฉพาะตรงที่ยอดแห่งภูเขาคีรีนั้น ย่อมทรงไว้ซึ่งคุณลักษณะสำคัญเป็น ๕ ประการ คือ

๑. ยอดคีรีนั้น ย่อมปรากฎเป็นส่วนสูงที่สุดแห่งส่วนคีรีนั้นทั้งหมด

๒. ยอดคีรีนั้น ย่อมจะหาพืชต่างๆ งอกขึ้นมิได้เลย

๓. ยอดคีรีนั้น ย่อมไม่มีความหวั่นไหว โดยประการใดทั้งปวง

๔. ยอดคีรีนั้น ย่อมเป็นสถานที่อันบุคคลจะขึ้นไปได้โดยยากนักหนา

๕. ยอดคีรีนั้น ย่อมปราศจากความรักความชังทั้งสิ้น เพราะเป็นภูมิสถานที่ไม่มีวิญญาณชีวิตจิตใจ อุปมาที่ยกมานี่ฉันใด

อันว่าพระนิพพานนี้ ก็มีสภาพคล้ายกันกับยอดบรรพตคีรีที่ว่านั้น เพราะทรงไว้ซึ่งคุณลักษณะสำคัญ ๕ ประการ คือ

๑. พระนิพพาน ย่อมเป็นธรรมสูงสุดในพระพุทธศาสนา บรรดาธรรมะอันเป็นพระโอวาทานุสาสนีแห่งองค์สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธ เจ้าทั้งหมด ย่อมมีพระนิพพานปรากฎเป็นยอดสูงเด่น

๒. พระนิพพาน ย่อมเป็นธรรมสถานที่เตียนโล่งปลอดโปร่ง ปราศจากพืชที่รกรุงรัง คือกิเลสตัณหาทั้งหลาย หมายความว่ากิเลสตัณหาจะงอกขึ้นในพระนิพพานไม่ได้เด็ดขาด

๓. พระนิพพาน ย่อมไม่มีความหวั่นไหว ท่านผู้ได้นิพพานสมบัติ ย่อมปราศจากความหวั่นไหวในโลกธรรมทุกชนิด มีจิตคงที่ มั่นคงไม่คลอนแคลนโดยประการทั้งปวง

๔. พระนิพพาน ย่อมเป็นธรรมสถานอันบุคคลจะขึ้นไปถึงได้นั้นยากนักหนา อย่าว่าแต่จะขึ้นไปถึงเลย ประชาสัตว์โดยมากมักเฉยเมยไม่รู้ไม่ชี้ ต่งพากันถือว่ามิใช่หน้าที่ของตน เพราะค่าที่เป็นคนพาลสันดานหนาไปด้วยโมหะ มองสักเท่าไหร่ก็ไม่เห็นคุณแห่งพระนิพพาน ฝ่ายท่านที่มีปัญญามองเห็นคุณค่ากว่าจะได้จะถึง ก็ต้องอุตสาหะพยายามฟันฝ่าอุปสรรคอันตรายมากมายนักหนา กว่าจะถึงยอดคีรีคือพระนิพพานนี้ได้

๕. พระนิพพาน ย่อมเป็นธรรมที่ปราศจากความรักความชัง เพราะไม่มีกิเลสตัณหาคั่งค้างเหลือติดอยู่แม้แต่เพียงนิดหนึ่ง ซึ่งท่านผู้ที่ได้นิพพาน ย่อมประสบความสุขเกษมสานต์โดยส่วนเดียวอย่างแท้จริง พระนิพพานย่อมเป็นสิ่งประเสริฐสุดนักหนา ตามที่พรรณานามานี้
คุณแห่งนภาลัย

อุปมากถา สุดท้าย ที่จะยกมากล่าวให้เราท่านทั้งหลายได้ทราบเพื่อเป็นเครื่องอาบใจให้เกิดความ ชุ่มฉ่ำดื่มด่ำในพระคุณแห่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถศาสดาจารย์เจ้า พระองค์ผู้ทรงมีพระมหากรุณาทรงประทานพระนิพพานสมบัตินี้ไว้แก่พวกเราชาวพุทธ บริษัททั้งหลายและเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้เราท่านทั้งหลายมีศรัทธาอันถูก ต้อง เร่งรีบรองรับมรดกอันประเสริฐสุด กล่าวคือพระนิพพาน ที่พระพุทธองค์ทรงประทานไว้ เอามาเป็นสมบัติของตนให้จงได้ ก่อนที่จะตายไปจากโลกโดยเปล่าประโยชน์นั้น ก็ได้แก่อุปมาพระนิพพาน ด้วยคุณลักษณะแห่งนภาลัยประเทศ ๑๐ ประการ คือ

๑. ธรรมดาว่านภาลัยประเทศ คืออากาศนั้น ย่อมเป็นธรรมชาติที่ไม่รู้จักแก่ฉันใด อันว่าพระนิพพานนี้ ก็เป็นคุณชาติที่ไม่รู้จักแก่ชราเหมือนกัน

๒. ธรรมดาว่า นภาลัยประเทศนั้น ย่อมเป็นธรรมชาติไม่รู้ตายฉัน อันว่าพระนิพพานนี้ ก็เป็นคุณชาติอันอมตะไม่รู้มรณะเหมือนกัน

๓. ธรรมดาว่า นภาลัยประเทศนั้น ย่อมเป็นธรรมชาติที่ทรงอิทธิฤทธิ์ไว้ในตัวของมัน หาอันธพาลตนใดจะข่มเหงมิได้ อันว่าพระนิพพานนี้ก็เป็นคุณชาติที่มีฤทธิ์ ปราศจากอมิตรผู้ข่มเหงเหมือนกัน

๔. ธรรมดาว่า นภาลัยประเทศนั้น โจรอันธพาลใจฉกาจสักเพียงไร ก็ไม่สามารถจะช่วงชิงฉกเอาไปได้ฉันใด อันว่าพระนิพพานนี้ ก็เป็นคุณชาติที่โจรร้ายจะช่วงชิงฉกลักเอาไปมิได้เหมือนกัน

๕. ธรรมดาว่านภาลัยประเทศนั้น ย่อมเป็นธรรมชาติที่ไม่มีใครจะไปตั้งรกอาศัยอยู่ได้ฉันใด อันว่าพระนิพพานนี้ก็เป็นคุณชาติที่กิเลสร้ายลามกทั้งหลายจะอาศัยอยู่มิได้ เหมือนกัน

๖. ธรรมดาว่า นภาลัยประเทศนั้น ย่อมเป็นธรรมชาติที่สัตว์บางหมู่ เช่นสกุณปักษี มนุษย์ผู้มีฤทธีและอสุรี ยักษ์ เทวดา พรหม เท่านั้น ที่สามารถจะคมนาการสัญจรไปได้ฉันใด อันว่าพระนิพพาน ก็เป็นคุณชาติที่บุคคลผู้มีวาสนาคือพระอริยเจ้าผู้ประเสริฐเท่านั้น จักสัญจรไปมาได้เช่นเดียวกัน

๗. ธรรมดาว่านภาลัยประเทศนั้น ย่อมเป็นธรรมชาติที่ไม่รู้ จุติเคลื่อนไปฉันใด อันว่าพระนิพพานนี้ ก็ย่อมเป็นคุณชาติที่ไม่รู้จุติเหมือนกัน

๘. ธรรมดาว่านภาลัยประเทศนั้น ย่อมเป็นธรรมชาติที่กว้างขวาง ว่างโล่งหาสิ่งที่จะกั้นกางมิได้เหมือนกัน

๑๐. ธรรมดาว่านภาลัยประเทศนั้น ย่อมเป็นธรรมชาติที่เป็นอนันต์ คือหาที่สุดมิได้ กว้างยวใหญ่ไม่มีประมาณฉันใด อันว่าพระนิพพานนี้ ก็เป็นคุณชาติที่กว้างยาวใหญ่ไม่มีประมาณ เป็นอนันต์หาที่สุดมิได้เหมือนกัน

ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย พระนิพพานเปรียบเทียบคล้ายกับคุณลักษณะแห่งอากาศนภาลัย สิริรวมเป็น ๑๐ ประการตามที่พรรณนามานี้ ขอจงค่อยพิจารณาให้ดีเถิด จะเกิดประโยชน์แก่ชีวิตนักหนา

นิพพานปฏิปทา

เมื่อเมธีคนมีปัญญามาพิจารณาเห็นคุณค่าแห่งพระนิพพานที่องค์สมเด็จพระบรม ศาสดาจารย์ทรงเปิดเผยโปรดประทานไว้ เพื่อเป็นเครื่องรื้อสัตว์ขนสัตว์ไป ให้พ้นภัยจากวัฏสงสารตามที่พรรณนามานี้แล้วด้วยดี ย่อมมีศรัทธาเกิดขึ้นในดวงใจอย่างลึกซึ้ง ใคร่ที่จะได้จะถึงพระนิพพาน มีน้ำใจร่าเริงอาจหาญในนิพพานปฏิปทา อุตสาหะพยายามค่อยดำเนินไป มิได้มีความประมาทในวัยแลชีวิต มิได้คิดโง่เซ่อซ่ามัวแต่หลับตาแสวงหาสิ่งภายนอกอันไร้ผล ดุจคนอาภัพไม่พบพระพุทธศาสนา แต่มีน้ำใจกล้าสู้พยายามดำเนินตามมรรคา แม้แต่ชีวิตแลเลื้อเนื้อแห่งอาตมาก็จำยอมเสียสละ พยายามปฏิบัติด้วยดีโดยวิธีการที่ถูกต้องตามครรลองแห่งสัมมาปฏิบัติ ด้วยการพิจารณาซึ่งสังขารธรรม ตามพระโอวาทานุสาสนีสมเด็จบพิตรชินสีห์สั่งสอนมาเมื่อวาสนาบารมีเต็มที่แล้ว ก็จะกระทำให้แจ้งด้วยปัญญา บรรลุถึงพระนิพพานสมความปรารถนา เปรียบอุปมาดุจศิษย์ที่เรียนวิชาในสำนักอาจารย์ เมื่อไม่มีความดื้อด้านหรือความเกียจคร้านติดอยู่ในสันดาน เชื่อถือตามที่อาจารย์เฝ้าสั่งสอนมา ก็สามารถจะกระทำพิทยาคุณให้แจ้งได้ด้วยปัญญา สำเร็จศิลปศาสตร์สมปรารถนา มีความสุขสบายเป็นที่ไปในเบื้องหน้า

เมื่อท่านผู้มีเพียรกล้า เป็นพระโยคาวจรบุคคล หวังจะนำตนออกจากวัฏฏสงสาร พยายามปฏิบัติตามกระแสพระพุทธฎีการเป็นสัมมาปฏิบัติจนได้สำเร็จธรรมวิเศษ สิ้นกิเลสกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานแล้ว่อมมีดวงหฤทัยผ่องแผ้วปราศจากทุกข์ หาอุปทวะอันตรายมิได้ เพราะพระนิพพานมีลักษณะเป็นสภาวะละเอียด สงบเกษมสำราญ ประณีตสะอาดและเยือกเย็นสนิท ทำให้ผู้พบเห็นประสบสุขสุดประมาณเปรียบปานดุจบุรุษผู้หนึ่ง ซึ่งมัวหลงนั่งซึมเซ่ออยู่ใกล้กองเพลิงใหญ่มาตลอดกาลนาน ความร้อนแห่งไฟย่อมจะเผาผลาญเขาให้ร้อนรนกระวนกระวายอยู่เนืองนิตย์ ครั้นเขาได้สติคิด จึงกระโดดเผ่นหลีกหนีออกไปให้พ้นจากกองเพลิงนั้น ไปให้ไกลเสียในที่อื่นเขาย่อมได้รับความชุ่มชื่นเป็นสุขสำราญ ไม่ต้องทรมานร้อนเร่าอีกต่อไป อุปมานี้ฉันใด เราทั้งหลายในปัจจุบันทุกวันนี้ก็เร่าร้อนอยู่นัก ด้วยถูกกองไฟ ๓ กอง คือ ราคคฺคิ...ไฟคือราคะกองหนึ่ง โทสคฺคิ...ไพคือโทสะกองหนึ่ง โมหคฺคิ...ไฟคือโมหะกองหนึ่ง มันพากันสุมรุมล้อมอยู่รอบตัวเป็น ๓ เส้า แต่ยังมึนเมางงๆ อยู่ชอบกล เลยมิค่อยจะรู้สึกตนได้สติ แต่ท่านผู้มีวิริยะกล้า คือพระโยคาวจรบุคคล ท่านทนความเร่าร้อนอยู่มิได้ เพราะในดวงใจค่อยเกิดปัญญาเบ่งรัศมีออกมา ทำให้ฉวีวรรณคือผิวหนังของท่านเกิดมีอาการบาง จึงรีบกระโดยผางออกไปตามหนทางมรรคา ที่พระศาสดาจารย์เจ้าทรงชี้บอกไว้ มิได้อาลัยในกองเพลิงอันรุ่งเรืองร้อนร้าย ลุกเผาไหม้อยู่ไม่วายเว้น ก็ได้ไปอยู่ในโอากสที่เย็นสบายสุดประมาณคือพระนิพพานนี่แหละเป็นจำนวนมากต่อ มากมาแล้ว เป็นอย่างนี้จริงๆ ไม่ต้องสงสัย

อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้ซึ่งนั่งอยู่ ณ สุสานท่ามกลางซากศพงู สุนัขและศพมนุษย์อันเน่าเหม็นตลอดกาลนานไม่น้อย กลิ่นเหม็นทุคนธชาติย่อมจะระบายทะยอยโชยเข้าไปในนาสิกของเขาเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้ง ย่อมทำให้เขาคลุ้มคลั่งกระวนกระวายสะอิดสะเอียนอยู่เนืองนิตย์ ครั้นได้สติคิดจึงบ่ายหน้าเข้าไปสู่ป่าเพื่อจะแสวงหาฟืน มาเผาซากศพอันลามกร้ายให้หมดไป ในขณะที่เผาซากศพนั้น ย่อมจะต้องร้อนรนด้วยเปลวไฟบ้างเป็นธรรมดา ครั้นว่าเขาเผาซากศพแล้วย่อมจะได้สูดอากาศบริสุทธิ์สดชื่นรื่นอุรา กลิ่นเหม็นแห่งงูเน่าแลมนุษย์เน่า ย่อมไม่กระทบนาสิกของเขาอีกต่อไป อุปมาข้อนี้ฉันใด เราท่านทั้งหลายทุกวันนี้ ที่ยังเป็นปุถุชนยังระคนยินดีอยู่ในซากศพอันได้แก่เบญจกามคุณคือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ก็เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีฆานประสาท คือ จมูกวิบัติใช้การมิได้ เลยไม่รู้สึกเหม็นในซากศพ คือเบญจกามคุณ มิหนำซ้ำกลับหลงใหลไขว่คว้าแสวงหากันวุ่นเพลินอยู่ ถึงจะมีท่านผู้รู้คือสมเด็จพระพุทธเจ้าทรงพยายามบอก ก็ใคร่คิดจะเถียงนอกคอกไปว่า " ซากศพคือเบญจกามคุณที่ว่านั่น มันไม่เห็นน่าจะรังเกียจอะไร พยายามคิดเท่าไหร่ก็คิดไม่เห็นว่า มันจะเน่าเหม็นที่ตรงไหน" ทั้งนี้มิใช่อื่นไกล เป็นเพราะจมูกยังเสียอยู่นั่นเอง ฆานประสาทยังใช้การไม่ได้ เมื่อไรจะดีสักทีก็ไม่รู้ ฝ่ายท่านผู้มีปัญญาวาสนาคือพระโยคาวจรบุคคล ท่านทนความเหม็นแห่งเบญจกามคุณอยู่มิได้ เพราะในดวงใจค่อยเกิดปัญญาเบ่งรัศมีออกมาทำให้นาสิกดี จึงรับขะมีขมันเข้าป่าไปหาฟืนมาเผาซากศพคือเบญจกามคุณเสีย ด้วยการปฏิบัติตามพระแสพระพุทธฎีกา แต่ว่าในขณะปฏิบัติอยู่นั้นก็ย่อมลำบากบ้างเป็นธรรมดา เหมือนบุรุษกำลังเผาซากศพในป่าย่อมร้อนด้วยเปลวไฟบ้าง ฉะนั้น ครั้นพยายามปฏิบัติไป เมื่อวาสนาบารมีถึงที่แล้ว ก็ไม่แคล้วที่จะจัดการเผาเบญจกามคุณสำเร็จ ได้บรรลุธรรมวิเศษเป็นพระอรหันตขีณาสพเจ้า ได้มีโอกาสเข้าไปสูดอากาศอันแสนจะสดชื่น หายใจอย่างโล่งอกสุขสำราญอยู่ในห้วงแห่งพระนิพพานอันแสนประเสริฐ เป็นอย่างนี้มามากต่อมากแล้วจริงๆ ไม่ต้องสงสัย

อีกประการหนึ่ง เปรียบเสมือนบุรุษหนุ่มเจ้าสำราญมีน้ำใจอาจหาญสัญจรเดินดุ่มไปเที่ยวแต่ผู้ เดียว ในหนทางที่เปลี่ยวทั้งมีเลนตมเต็มไปด้วยภัยอันตรายรอบด้านลำบากนักหนา แต่อาศัยที่บุรุษนั้นเป็ฯคนใจคอกล้า จึงพยายามเพียรหลีกออกจากทางมหาวิบากนั้น จนพ้นได้มาสู่ที่ดอนบริสุทธิ์สะอาด ก็เดินสำราญ ความประการนี้มีอุปมาฉันใด ฝ่ายพระโยคาวจรเจ้าผู้มีปัญญา เมื่อแรกปฏิบัติตามกระแสพระพุทธฎีกา ย่อมประสบความลำบากนักหนา เพราะมรรคาที่ดำเนินนั้นเต็มไปด้วยเลนตามและภยันตรายกคือกิเลสคัณหาทั้งหลาย ครั้นพยายามหลีกออกมาได้สำเร็จ สิ้นกิเลสเป็นพระอรหันตขีณาสพแล้ว ก็เข้าสู่ที่อันแผ้วสบายคือที่ดอน เดินเล่นเย็นสำราญเข้าไปในทุกห้อง อันเป็นสุขเกษมสานต์กล่าวคือพระนิพพานอันประเสริฐสุดดี เป็นอย่างนี้มามากต่อมากแล้วจริงๆ ไม่ต้องสงสัย

จึงเป็นอันสรุปได้ว่า การที่สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์เจ้าแห่งเราท่านทั้งหลาย พระองค์ทรงอุบัติมาตรัสในโลกนี้ ก็เพื่อที่จะทรงรื้อสัตว์ขนสัตว์ไปสู่พระนิพพานเป็นจุดมุ่งหมายประการสำคัญ จึงได้ทรงโปรดประทานแสดงมรรคาคือทางเข้าสู่พระนิพพานเอาไว้ หากจะถามว่าอะไรคือมรรคาแห่งพระนิพพาน? คำตอบปัญหานี้ ที่ถูกต้องที่สุดก็คือ "วิปัสสนากรรมฐาน ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอันถูกต้องเท่านั้น ชื่อว่ากำลังเดินไปตาทางพระนิพพาน ที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ทรงชี้บอกไว้ ด้วยมีพระหฤทัยประสงค์จะให้ประชาสัตว์ทุกผู้ดำเนินไปเป็นอย่างยิ่ง ส่วนการกระทำสิ่งอื่นใดทั้งหมด นอกเหนือจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้ว หาใช้มรรคาสำหรับไปสู่แดนอมตพระมหานฤพานไม่" นี่คือคำตอบอย่างรวบรัด แต่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้บรรลุถึงนิพพานจะมีวิธีการอย่างไรบ้างนั้น เป็นการจนใจนักหนา ที่ไม่สามารถจะนำมากล่าวไว้ได้ในที่นี้ เพราะว่าโอกาสการรจนาเรียบเรียงเรื่อ มุนีนาถทีปนี ถึงวาระที่จะยุติลงแล้ว จึงขอยุติลง ด้วยประการ ฉะนี้. (การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ศึกษาได้จากหนังสือ "วิธีบริหารจิตใจ" จัดพิมพ์โดย คณะสังคมผาสุก)
อวสาน

193
แต่ว่าสมบัติที่กล่าวมานี้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสวรรค์สมบัติที่ปรารถนากันักก็ดี หรือว่าพรหมสมบัติที่จัดว่าประเสริฐก็ดี ล้วนเป็นเพียงโลกียสมบัติ คือเป็นขอที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอนเสมอไป จะครองอยู่ได้ก็เพียงชั่วครั้งชั่วครา เฉพาะเวลาที่เรามีสิทธิจะครองได้อยู่เท่านั้น พอถึงกาลหมดบุญหรือหมดฌานแล้ว ก็เสื่อมสลายจะครอบครองอยู่ต่อไปไม่ได้ อันนี้เป็นกฎธรรมดา ถ้าปรารถนาอยากได้ก็ต้องแสงหาด้วยการสร้างกรรมกันใหม่ ได้ประสบสุขบ้างทุกข้างไปตามเรื่อง เป็นการสิ้นเปลืองเวลา พาให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารนี้ไม่มีวันที่จะสิ้นสุดลงเลย แต่ว่าพระนิพพานสมบัตินี้สิ เป็นสมบัติอมตะมีสภาวะแสนสุขประณีตละเอียดยิ่งนัก จักหาสมบัติใดอื่นมาเทียมเทียบมิได้ในไตรโลก เป็นสิ่งสิ้นทุกข์สิ้นโศกไม่มีภัย เป็นวิสัยแห่งสัพพัญญุตญาณเท่านั้น ที่จะควานหานิพพานสมบัตินี่พบได้ ผู้วิเศษอื่นใดในสามภพเจบจบทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ มาตรว่าจะทรงมเหศักดิ์เพียงใด เว้นไว้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ก็อย่าหวังเลยว่า จะสามารถค้นหาพระนิพพานสมบัติเอามาบอกแก่ชาวเราได้ ฉะนั้น ต้องเข้าใจจงดีว่า พระนิพพานอันเป็นสมบัติแก้วนี้ จะมีอยู่ก็แต่เฉพาะในพระบวรพุทธศาสนา และในเวลาที่พระพุทธศาสนายังมีปรากฎอยู่ในโลกเช่นในปัจจุบันทุกวันนี้เท่า นั้น กาลใดว่างจากพระพุทธศาสนา คือพระพุทธศาสนาของเราเสื่อมสูญหมดไปจากโลกเมื่อไร พระนิพพานเป็นไม่มีอย่างแน่นอ ด้วยเหตุนี้ จึงควรอนุสรณ์นึกถึงนิพพานสมบัติให้มากๆ หากว่าไม่ต้องการเป็นอาภัพอับโชควาสนา...

นิพพานสมบัติ
เมื่อ จะพรรณนาถึงคุณแห่งพระนิพพานสมบัตินั้น ย่อมมีเป็นเอนกอนันต์ สุดที่จักเสกสรรกล่าวขานให้สิ้นสุดลงได้ จะกล่าวไว้โดยอุปมาอย่างย่นย่อดังต่อไปนี้

คุณแห่งปทุมชาติ

อันว่าปทุมชาติใบบัวทั้งหลายนั้น ก็ย่อมทรงไว้ซึ่งความสำคัญเป็นสัญลักษณ์พิเศษแห่งตนอยู่อย่างหนึ่ง คือว่า อุทกวารีถึงจะมีมากมายสักเพียงใดก็ตาม ที่จะได้แทรกซึมติดอยู่ในใบปทุมชาตินั้น ย่อมไม่ปรากฎมีเลยในโลก อุปมานี้ฉันใด อันว่าพระนิพพานนั้น ก็มีสภาวะเช่นเดียวกัน จะได้มีบรรดาสรรพกิเลสซึมซาบติดอยู่ แม้แต่สักนิดหนึ่งก็หามิได้ ปราศจากกิเลสร้ายโดยประการทั้งปวงในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ผู้ที่เชื่อฟังพระโอวาทานุสาสนีแห่งองค์สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเฝ้าปฏิบัติย่อมมีโอกาสบรรลุธรรมวิเศษคือพระนิพพานอันเป็นสมบัติอม ตซึ่งมีสภาวคุณเห็นปานฉะนี้

คุณแห่งอุทกวารี

อันว่าอุทกวารีคือน้ำนั้น ย่อมทรงไว้ซึ่งความสำคัญเป็นสัญลักษณ์พิเศษคือความเย็น สามารถที่จะดับเสียได้ซึ่งความร้อนกระวนกระวายในโลกได้ อุปมานี้ฉันใด พระนิพพานนั้นไซร้ก็มีสภาวะเป็นของเย็นสามารถที่จะดับกิเลสร้าย อันทำความร้อนกระวนกระวายให้ปรากฎขึ้นในดวงหฤทัยของสัตว์ทั้งหลายเสียได้ ฉะนั้น

อีกประการหนึ่ง ธรรมดาอุทกวารีนั้น เป็นของบริสุทธิ์สะอาดสามารถจะล้างเสียซึ่งมลทินสกปรกได้ และเมื่อใครดื่มเข้าไปแล้ว ย่อมห้ามเสียซึ่งความกระหายน้ำได้รับความชุ่มฉ่ำในดวงฤดีฉันใด พระนิพพานนั้นก็มีสภาวะคล้ายๆ กันนี คือสามารถที่จะล้างเสียซึ่งมลทินกิเลสร้ายอันทำดวงใจสัตว์ทั้งหลายที่สกปรก ลามกให้เป็นดวงใจที่สะอาดบริสุทธิ์ และเมื่อพระวรบุตรพุทธชิโนรสผู้ใดได้ดื่มพระนิพพานนั้นเข้าไปแล้ว ย่อมห้ามเสียซึ่งความกระหายกล่าวคือ ความปรารถนาที่จะไปอยู่ในภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เสียได้อย่างแน่นอน มิต้องมีความอาลัยอาวรณ์ ในวัฏสงสารอันมีภัยร้ายกาจสืบไป

คุณแห่งยาดับพิษงู

อันว่ายาดับพิษงูโอสถขนานวิเศษที่หมองูผู้ขมังเวทย์ปรุงเอาไว้ ย่อมทรงไว้ซึ่งคุณลักษณะ คือ เมื่ออสรพิษร้ายขบกัดบุคคลใดเข้าแล้ว เขาย่อมได้รับทุกข์คือมีมรณภัยความตายเป็นเบื้องหน้า แต่เมื่อเอายาดับพิษงูกินเข้าไป พิษงูนั้นย่อมเสื่อมหาย เขาย่อมได้รับความสุขสบายไม่ต้องตาย เพราะได้โอสถวิเศษนี้เป็นที่พึ่ง อุปมาข้อนี้ฉันใด พระนิพพานนั้น ก็เปรียบเสมือนโอสถวิเศษ สำหรับดับพิษงู คือกิเลสร้ายอันซาบซ่านอยู่ในดวงใจของสัตว์ทั้งหลาย เป็นพิษร้ายทรมานให้ปวดร้าวอย่างแสนสาหัสอยู่ในวัฏสงสารไม่มีวันสิ้นสุด เม่อชินบุตรสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ใด มีโอสถคือพระนิพพานเป็นที่ตั้ง ได้ดื่มเข้าไปแล้ว ย่อมระงับดับพิษคือกิเลสร้ายให้เคลื่อนคลายหายไปไม่มีเหลือ ได้รับความสุขาสบายและไม่มีวันที่จะถึงซึ่งความตายเป็นอมตนิรันดร์ เพราะว่าพระนิพพานนั้นย่อมรักษาบุคคลที่ได้พระนิพพานไว้มิให้ตาย ดุจยางูรักษาชีวิตของผู้ถูกงูขบกัดไว้ฉะนั้น

คุณแห่งจันทน์แดง

ธรรมดาจันทน์แดงรุกขชาติในโลกนี้ ย่อมมีคุณลักษณะวิเศษแตกต่างจากพฤกษชาติชนิดอื่น คือ เป็นของที่บุคคลหาได้เป็นอันยากนักหนา มิใช่เป็นของหาได้ง่ายๆ เหมือนไม้ธรรมดา อุปมานี้ฉันใด อันว่าพระนิพพานนั้นก็เช่นกัน กว่าสัตว์จะได้นั้นยากนัก ต้องมีใจรักมุ่งมาดปรารถนา ต้องอุตสาหะปฏิบัติตามพระบรมพุทโธาทไม่คำนึงถึงชีวิต และต้องปฏิบัติไม่ผิด จึงจะได้สมประสงค์...อนึ่ง จันทน์แดงนั้นย่อมมีกลิ่นหอมหาที่เปรียบมิได้ พระนิพพานนี้ ก็มีกลิ่นหอมหาที่จะเปรียบมิได้เช่นกัน อีกประการหนึ่ง จันทน์แดงนั้น ปวงชนต่างพากันยกย่องสรรเสริญว่าเป็นรุกขชาติชั้นสูงชั้นดี เป็นที่พอใจของเหล่าชน ผู้รู้สรรพคุณแห่งไม้ทั้งหลาย พระนิพพานนี้ก็เปรียบกันได้เหมือนเช่นนั้น เพราะเป็นคุณชาติอันปวงพระอริยเจ้าทั้งหลายต่างพากันยกย่องสรรเสริญว่าเป็น ธรรมชั้นสูง และประเสริฐสุด เป็นที่พอใจของเหล่าอริยชนมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ฉะนั้นชนผู้มีปัญญาเห็นภัยในวัฏสงสารจึงปรารถนาประสงค์ตรงต่อพระนิพพานกัน ถ้วนหน้า

คุณแห่งแก้วมณี

ธรรมดาแก้วมณีโชติรส อันปรากฎมีแก่ผู้มีบุญญาภินิหารนั้น ย่อมทรงไว้ซึ่งคุณลักษณะเป็นอัศจรรย์เพริศพริ้งบันดาลให้สำเร็จสิ่งที่ต้อง ประสงค์ทุกประการ และบันดาลให้เกิดความยินดีปลาบปลื้มในดวงหทัยอยู่มิวาย อุปมานี้ฉันใด อันว่าพระนิพพานนี้ก็เช่นเดียวกัน ย่อมบันดาลบุคคลผู้ได้นิพพาน ให้สำเร็จสิ่งที่ต้องประสงค์ทุกประการ และบันดาลให้เกิดความยินดี ชุ่มชื่นปลื้มใจรุ่งเรืองขึ้นไปไม่มีวันสิ้นสุดพระชินบุตรสาวกของพระผู้มี พระภาคเจ้า บรรดาที่เข้าสู่นิพพานแล้ว ย่อมเสวยสมบัติแก้วเป็นอมตะ ไม่รู้ที่จะเดือดร้อน โดยประการทั้งปวงฉะนั้น ชนผู้มีปัญญาจึงปรารถนายึดหน่วงเอาพระนิพพานมาเป็นสมบัติของตน

คุณแห่งมหาสมุทร

ธรรมดามหาสมุทรที่จัดว่าบริสุทธิ์ใสสะอาดนั้น จะเห็นได้จากสัญลักษณ์ที่สำคัญ คือ ไม่มีซากศพอันลามกสกปรกล่องลอยอยู่เลย เป็นมหาสมุทรที่บริสุทธิ์ด้วยประการทั้งปวง อุปมานี้ฉันใด พระนิพพานนั้นก็เปรียบได้กับมหาสมุทรที่บริสุทธิ์สะอาด เพราะพระนิพพานเป็นจุณชาติผ่องใสบริสุทธิ์ ไม่มีซากศพคือกิเลสร้ายต่างๆ ล่องลอยปะปนอยู่เลย อนึ่ง ธรรมดาว่ามหาสมุทร ย่อมสุดแสนจะใหญ่กว้างนักหนา พึงมาตรว่าคงคาสี่ห้าห้วง จะไหลล่วงลงมาสักเท่าใดๆ ก็ไม่เต็ม มีฝั่งฟากพ้นมิได้เห็นปรากฎแก่นัยน์ตา ข้อนี้มีครุวนาฉันใด พระนิพพานนี้ก็เหมือนกัน ย่อมเป็นคุณชาติอันสุดแสนจะกว้างใหญ่ยิ่งนัก จักได้มีฝั่งจากโพ้นให้เห็นปรากฎนั้นหามิได้ ถึงฝูงสัตว์จะพากันไปอยู่ในพระนิพพานศิวาลัยประมาณสักเท่าใดก็ตามทีที่จะได้ รู้เต็ม รู้หมดนั้นเป็นอันไม่มี อย่าได้เกรงเลย เกรงอยู่อย่างเดียวก็แต่ว่า ประชาสัตว์จะพากันไปมิถึง พระนิพพานอันกว้างใหญ่ที่ว่ามานี้เท่านั้น... อีกประการหนึ่งอันว่ามหาสมุทรอันกว้างใหญ่นี้ ใช่ว่าจะเป็นภูมิสถานที่อันว่างเปล่าก็หามิได้ โดยที่แท้ เป็นอาวาสที่อาศัยอยู่แห่งหมู่สัตว์ทั้งหลายเป็นอันมากฉันใด อันว่าพระนิพพานนี้ก็คล้ายกัน คือ เป็นที่อยู่อย่างสุขสำราญแห่งพระขีณาสพเจ้าทั้งหลายผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ล้ำเลิศยิ่งกว่าปุถุชนคนธรรมดา เพราะว่าเป็นผู้หากิเลสตัณหามิได้ เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่องไม่มีใครจะเทียมถึง... อีกประการหนึ่ง อันว่ามหาสมุทรอันกว้างใหญ่นี้ย่อมเจือจานไปด้วยบุปผาสุมาลีลาดอกไม้ ชวนให้รื่นรมย์แก่บุคคลผู้ดมดอม มีกลิ่นหอมบริสุทธิ์สุดคณนา อุปมานี่ฉันใด อันว่าพระนิพพานนี้ก็เหมือนกันย่อมเจือจานด้วยดอกไม้เสาวคนชาติหอมบริสุทธิ์ กล่าวคือพระวิมุติธรรมอันไพบูลย์บริสุทธิ์ ทรงไว้ซึ่งพระบวรคุณมากมายสุดประมาณ ซึ่งคนพาลโง่งมงายไม่มีโอกาสรู้จัก แต่นักปราชญ์ผู้เป็นพุทธบุตรทั้งหลาย ต่างก็มีใจมุ่งหมายปรารถนากันนัก

194
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถศาสดาจารย์เจ้าแห่งเราท่านทั้งหลาย พระองค์ก็ทรงประเสริฐเหมือนพญาคชสารนั้นโดยวิเศษ ด้วยเหตุว่ารอยพระพุทธบาทมีลักษณะวิลาส เป็นมงคล ๑๐๘ ประการ ทรงประดิษฐานไว้เป็นหลักฐาน แต่ประการที่สำคัญนั้นก็คือว่า พระพุทธเจ้าแห่งเราทั้งหลาย ทรงความประเสริฐต่างๆ ไม่ว่าจะเปรียบด้วยสิ่งไร มองในแง่ไหน ก็ประเสริฐไปเสียทั้งนั้น ถ้าจะเปรียบว่าทรงเป็นเหมือนกุญชร ฉัททันต์ พระองค์ก็ประเสริฐกว่า ถ้าจะว่าเป็นพญาไกรสีหราช พระองค์ก็ทรงองอาจประเสริฐกว่า หรือจะว่าข้างบุคคลที่ทรมานอินทรีย์ พระองค์ก็ทรงเป็นบุคคลที่ทรมานอินทรีย์ยอดเยี่ยมประเสริฐกว่าว่าข้างบุคคล ผู้ระงับบาปอกุศล พระองค์ก็ทรงเป็นผู้ระงับบาปอกุศลยอดเยี่ยมกว่าคนอื่น คือประเสริฐกว่าจะว่าข้างบุคคลผู้ประกบด้วยอธิษฐาน หรือมีญาณมีเพียรอุตสาหะ มีปัญญา มีฤทธานุภาพรุ่งเรือง มีฌาน มีวสีภาพชำนาญดี มียศ มีเดช มีวิมุติ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมทรงประเสริฐกว่าทั้งนั้น อนึ่ง เมื่อจินตนาการถึงความเป็นอย่างประเสริฐในไตรโลก ไม่ว่าจะเป็นสงฆ์ เป็นโยคี เป็นฤาษี เป็นครู เป็นนักปราชญ์ เป็นพระยา เป็นราชาธิบดี เป็นเจ้าจอมปฐพี จักรพรรดิราช เป็นเทวดา เป็นท้าวสักกะ เป็นพระพรหมผู้วิเศษ ประกอบด้วยสรรพธรรมสรรพคุณเป็นที่พึ่งอาศัย และให้สำเร็จความปรารถนาแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายได้ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า ย่อมทรงเป็นได้อย่างประเสริฐโดยประการทั้งปวงไม่ต้องสงสัย ด้วยว่า พระองค์ทรงเป็นพระบวรดนัย แห่งบรมกษัตริย์โดยพระชาติ แต่แล้วก็ทรงมาละเสียซึ่งกรุงแก้วกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นเมืองกษัตริย์เลิศด้วยวงศ์มหาสมมติ ละเสียซึ่งพระราชบุตรที่เพิ่งจะประสูติในวันนั้น กับสมบัติอันประกอบด้วยสัตตรัตนะทั้งเศวตฉัตร พระองค์ก็ตัดไม่อาลัยใยดี เสด็จหนีออกสู่มหาภิเนษกรมณ์อยู่ในไพรสณฑ์สงัด แสวงหาซึ่งวิชาญาณอันประเสริฐอยู่แทบว่าพระชนม์ชีพจะวางวาย ครั้งสุดท้ายเมื่อพระองค์จะกำจัดเสียซึ่งละอองธุลี กล่าวคือ กิเลสราคะ และจะทรงพรากเสียซึ่งโมหะ มานะ วิจิกิจฉา คือความมัวเมากระด้างและสงสัย อันติตามมานานนักหนา จะทรงถอนเสียซึ่งเถาวลดา คือทิฐิอันร้ายกาจลามกสามานย์ จะทรงทำลายเสียซึ่งเครือวัลย์ กล่าวคือความยินดีในสิ่งที่ชอบใจทั้งปวง จะตัดเสียซึ่งโลภะกับทั้งโทสะทั้งหลาย จะห้ามเสียซึ่งความเวียนว่าย อยู่ในกระแสตัณหา และจะทรงตัดเสียซึ่งวิตก จะปิดเสียงซึ่งมรรคาอันลามกเป็นมิจฉา จะทรงเปิดออกซึ่งมรรคาหนทางแห่งอมตมหานิพพาน ครั้งนั้น พระอังคีรสราชบุรุษ หน่อพุทธางกูรพระองค์จึงเสด็จคมนาการ โดยมรรคาอันเป็นสัมมาปฏิบัติคือพระอัฏฐางคิกมรรค ก็ทรงบรรลุถึงธรรมนคร สำเร็จแก่สรรเพชญดาญาณทรงได้รับการขนานพระนามเป็น สมเด็จพระศรีศากยมุนี โคดมบรมไตรโลกนาถศาสดาจารย์ ครั้นแล้วพระองค์จึงทรงประดิษฐานไว้ ซึ่งพระโพชฌงควรพุทธบาทอันประเสริฐ ๗ ประการคือ
๑. สติโพชฌงควรพุทธบาท
๒. ธรรมวิจยโพชฌงควรพุทธบาท
๓. วิริยโพชฌงควรพุทธบาท
๔. ปิติโพชฌงควรพุทธบาท
๕. ปัสสัทธิโพชฌงควรพุทธบาท
๖. สมาธิโพชฌงควรพุทธบาท
๗. อุเบกขาโพชฌงควรพุทธบาท

อันว่าโพ ชฌงควรพุทธบาท แห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์เจ้าทั้ง ๗ ประการนั้น มีพรรณแลลักษณะอันวิจิตรโสภา เป็นรอยพระพุทธบาทที่ควรจะทอดทัศนา ควรจะยินดี ควรจะเสวยเชยชม ควรจะภิรมย์ปรีดา เป็นสิ่งที่นำมาซึ่งความเกษมสวัสดี เป็นสิ่งที่กระทำให้ไม่มีภัย นำมาซึ่งความสบายอกสบายใจ กระทำมิให้เกิดความเสียหายตกใจ กระทำให้เกิดปรีดา ปราโมทย์ กระทำให้มีอารมณ์แน่วแน่เป็นหนึ่ง เป็นสิ่งที่ควรจะจำเรญ และควรจะจำเริญด้วยดียิ่งนัก ด้วยว่าจะเป็นเหตุให้ความสุข ให้ความเย็น ให้ยศ ให้กำลัง ให้มีสีสันพรรณงามให้มีโภคสมบัติ ให้สำเร็จความใคร่ที่ต้องการ ให้สำเร็จความปรารถนาที่ตั้งไว้ รวมความว่าสามารถจะให้สมบัติทั้งปวงแก่บุคคลผู้บำเพ็ญทุกประการ

อนึ่ง อันว่ารอยพระวรพุทธบาทแห่งองค์สมเด็จพระสัพพัญญูผู้ประเสริฐนั้น ย่อมทรงไว้ซึ่งความอัศจรรย์ครอบงำเสียได้ซึ่งรอยเท้าอันประเสริฐบรรดามี ไม่ว่าจะเป็นรอยเท้าพญาไกรสรสีหราชก็ดี หรือรอยเท้าพญาคชาชาติ รอยเท้าม้าอาชาไนย รอยเท้าโคอสุภราช รอยเท้ายักษ์ รอยเท้าเจ้าลัทธิ เดียรถีร์ รอยเท้าศาสดาครูสอน รอยเท้าผู้มีเวทย์ รอยเท้าเทพยดา รอยเท้าพระพรหมผู้วิเศษ รอยเท้าผู้สงบระงับแล้ว รอยเท้าฤษี รอยเท้ามุนี รอยเท้าผู้ชำนะ รอยเท้าผู้ประเสริฐและรอยเท้าแห่งท่านที่จัดว่าเป็นผู้อุดมผู้เลิศก็ดี รอยเท้าเหล่านี้ย่อมเป็นรอง กล่าวคือย่อมถูกรอยพระพุทธบาทครอบงำทั้งสิ้น เพราะว่าพระบาทแห่งองค์สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้านี้ เป็นรอยเท้าประเสริฐโดยวิเศษกว่ารอยเท้าทั้งปวง เป็นรอยเท้าที่ถึงซึ่งวิมุติความหลุดพ้นอย่างสิ้นเชิง เป็นรอยเท้าที่บรรลุผลสูงสุดคือพระอรหัตอันทรงไว้ซึ่งพระอรหาทิคุณ และรอยพระบาทสมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาเจ้าของเราทั้งหลายนี้ ย่อมเป็นที่แสดงรอยพระบาทแห่งสมเด็จพระบรมโลกนาถสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ผู้ทรงมีรอยพระวรพุทธบาทเป็นมหัศจรรย์ดั่งพรรณนามา ครั้นทรงประดิษฐานพระโพชฌงควรพุทธบาทอันประเสริฐสุดเสร็จสิ้นแล้ว ก็เสด็จดับขันธ์นิพพานล่วงไป

ฝ่ายบัณฑิตชนคนมีปัญญาทั้งหลาย ซึ่งเกิดในสมัยหลังต่อมา ครั้นได้พบรอยพระพุทธบาท คือพระสัตตโพชฌงค์นั้นแล้ว ก็มีใจผ่องแผ้วปราโมทย์ไปด้วยความเลื่อมใส รีบดำเนินตามรอยพระบาทไปไม่ชักช้าด้วยการปฏิบัติตามพระโอวาทานุสาสนี เมื่อมีการปฏิบัติชอบ ปฏิเวธ ความบรรลุคุณวิเศษอันเป็นผลของการปฏิบัติก็ย่อมจะปรากฎติดตามมา คราที่นั้นคนปฏิบัติดำเนินตามรอยพระบาททั้งหลายย่อมจะเกิดความอัศจรรย์ใจ ในวิสัยแห่งพระสัพพัญญุตญาณว่า
โอ้... รอยพระบาทคือพระสัทธรรมอันสำแดงหนทางพ้นทุกข์ ถึงซึ่งความเกษมสานต์คือพระนิพพานนี้ ใครเล่าหนาที่จักมีปํญญาสำแดงไว้ได้ ในไตรภพจบทั้งสามโลกนี้เป็นไม่มี จักมีได้ก็แต่วิสัยแห่งพระสัพพัญญูตญาณเท่านั้น สมเด็จพระภควันตบรมโลกนาถศาสดาจารย์เจ้า พระองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งพระสัพพัญญุติญาณอันประเสริฐ ได้ทรงอุบัติเกิดในโลกนี้จริงแล้วหนอ
ฝ่ายผู้ที่มี ปัญญาโฉดเขลา มัวเมาไปตามโลกธรรม ไม่นำพาต่อคำบัณฑิต ไม่คิดที่จะนำตนห้พ้นจากทุกข์ภัยในวัฏสงสาร เพราะเป็นพาลสันดานโง่แลหยิ่งนักหนา ไม่เห็นคุณค่าแห่งพระพุทธพจน์ มีพยศอันร้ายกาจคือทิฐิประจำอยู่ในดวงจิต ทั้งๆ ที่บัณฑิตชนทั้งหลายมีใจกรุณาชี้บอกให้รู้ว่า "พระโอวาทานุสาสนีของพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วนั้น ยังมีปรากฎ อยู่เปรียบเสมือนรอยพระบาทสำแดงหนทางให้ลุถึงความสุขเกษมสานต์สวัสดีแก่ผู้ ที่มีศรัทธาปฏิบัติตามไม่ควรจะมีความประมาทในวัยและชีวิตอันเป็นอนิจจัง จงเชื่อฟังและเร่งรีบปฏิบัติตามเพื่อความสุขสวัสดีของตนเถิด" ก็เกิดคลุ้มคลั่งคัดค้านเอาตามสันดานพาล สุดแต่ทิฐิอันโง่ๆ ของตนจะบันดาลให้คิดไปต่างๆ ล้วนแต่อ้างเหตุที่ตนจะไม่ปฏิบัติตามทั้งสิ้น เช่นว่า "พระพุทธศาสนาเป็นนิยยานิกธรรมนำออกจากทุกข์ได้จริงหรือ? พระนิพพานและมรรคผลอันเป็นคุณวิเศษทางพระพุทธศาสนามีจริงหรือ? พระนิพพานเป็นสุขจริงหรือ? ก็แล้วสุขที่เราได้เสวยอยู่ในนี้มิใช่สุขดอกหรือ? ทุกวันนี้ยังมีบุคคลได้รู้รสพระนิพพานจริงหรือ? ตัวเรานับถือพระพุทธศาสนามานาน ก็ไม่เห็นได้รู้รสพระนิพพานเลย พระนิพพานที่จะปฏิบัติตาม เมื่อการปฏิบัติดำเนินตามไม่มี ปฏิเวธ ความลุถึงคุณวิเศษอันเป็นผลของการปฏิบัติดำเนินตามไม่มี ปฏิเวธความลุถึงคุณวิเศษอันเป็นผลของการปฏิบัติจักมีแต่ที่ไหน ผู้ตาบอดตาใสทำเป็นไม่เห็นรอยพระบาทเหล่านี้ จึงไม่มีโอกาสได้พบอมตรธรรมอันล้ำลึกขององค์สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าหนักเข้า ก็เลยลามปามสงสัยไปจนถึงว่า พระพุทธเจ้ามีจริงฤา?

อุปมา ที่พรรณนามานี้ เป็นอุปมากถาที่กล่าวไว้เพื่อจักแสดงให้เห็นว่า องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์เจ้าแห่งเราท่านทั้งหลายนั้น ทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลกอย่างเที่ยงแท้มิต้องกังขากันอีกต่อไป และเมื่อพระองค์ได้ทรงอุบัติขึ้นแล้ว ก็ทรงบำเพ็ญพระพุทธกิจประดิษฐานพระบวรศาสนา ยังประชาสัตว์ให้ดื่มรสอมตธรรม พระพุทธเจ้าจริยาอย่างนี้ ย่อมเข้าถึงภาวะเป็นอนัตพุทธคุณอย่างจริงแท้ไม่ต้องสงสัย

พรรณนาในพระอนันตพุทธคุณ สมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลงด้วยประการฉะนี้.

อวสานบท

เมื่อได้ติดตามศึกษาเรื่องมุนีนาถทีปนีมา ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งถึงบัดนี้ ท่านผู้มีปัญญาก็คงจะเห็นแล้วว่า การที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจักเสด็จมาอุบัติตรัสในโลกเรานี้สักพระองค์ หนึ่งนั้น เป็นการยากนักหนาและพอพระองค์เสด็จมาอุบัติแล้วก็ย่อมทรงไว้ซึ่งพระคุณเป็น อนันต์ สุดจะนับจะประมาณได้จริงหรือไม่ เพราะสมเด็จพระผู้มีพระภาคนั้น พระองค์ทรงไว้ซึ่งพระคุณธรรมเป็นพิเศษ โดยทรงเทศนาโปรดสัตว์โลกทั้งหลาย ให้พ้นจากภัยอันร้ายกาจในวัฏสงสาร ทรงประทานอมตธรรม คือพระนิพพานสมบัติอันเกษมสานต์ปราศจากทุกข์โดยประการทั้งปวงแก่ชาวโลกทั้ง หลาย สมแล้วกับพระนามาภิไธยที่ว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ องค์พระศาสดาจารย์เจ้าจอมมุนี ผู้ทรงเป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายในไตรโลก

ปัจจุบันนี้ เราท่านทั้งหลายนับได้ว่าเป็นผู้มีโชคอย่างที่สุด เพราะบังเอิญเกิดมาได้พบพระบวรพุทธศาสนา แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าโดยไม่คาดฝัน ใช่แต่เท่านั้นยังประกอบด้วยสัมมาทิฐิมีความเห็นอันถูกต้อง ประกอบรองรับเอาพระพุทธศาสนาไว้เหนือเศียรเกล้า ยึดเอาเป็นที่พึ่งของตนได้นามว่าเป็นพุทธศาสนิกชนคนนับถือพระพุทธศาสนาจึง เป็นอันว่าพ้นจากความวิบัติอย่างใหญ่หลวง ๖ ประการ ตามที่กล่าวมาในตอนต้นโน้นแล้ว ยังจำได้ใช่ไหมเล่า

เมื่อเราเกิดมาเป็นผู้โชคดีมหาศาลในชาตินี้แล้ว การที่จะนิ่งนอนใจตกอยู่ในความประมาท ปล่อยให้โอกาสแห่งโชคลาภนี้ ผ่านเราไปเสียเฉยๆ ย่อมเป็นการไม่สมควรยิ่งนัก ทางที่ดีควรจักเร่งรีบกอบโกยเอาสาระสมบัติอันมีอยู่ในพระบวรพุทธศาสนา รีบคว้ารีบยึดเอามาเป็นสมบัติแห่งตัวเราให้จงได้


ก็สมบัติในพระบวรพุทธศาสนามีอยู่มากมายนักหนาเหลือที่จะพรรณนาให้สิ้นสุดลง ได้ แต่สมบัติหนึ่งนั้น นับว่าเป็นสมบัติสำคัญยอดเยี่ยม เพราะเป็นสมบัติประเสริฐเลิศล้ำ สำคัญสูงสุดในพระพุทธศาสนา สมบัติที่ว่านี้ก็คือ พระนิพพานสมบัติ ฉะนั้นเราท่านทั้งหลายก่อนที่จะตาย ควรที่จะตื่นตัวเร่งรีบแสวงหาพระนิพพานสมบัติกันเถิด
ฮึ!...ทำไมถึงได้มีน้ำใจอหังการ์ ออกปากว่าจะเอาพระนิพพานสมบัติอันสูงสุดถึงเพียงนี้เล่า จะมิเป็นการบังอาจเอื้อมเกินไปฤา?
ใน กรณีนี้ไม่เป็นการบังอาจดอก หากยังไม่เข้าใจจะว่าให้ฟัง คือการที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแห่งเราท่านทั้งหลาย พระองค์ทรงพระอุตสาหะพยายามเฝ้าสร้างสมอบรมพระบารมีมาอย่างแสนจะยากเย็น เป็นเวลานานนักหนาจนกระทั่งได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ สำเร็จเป็นพระบรมศาสดาจารย์สัพพัญญูเจ้านั้น พระพุทธองค์ท่านทรงมีพระประสงค์อะไร? มิใช่ทรงมุ่งหมายเพื่อจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ให้ไปนิพพาน คือทรงปรารถนาเพื่อจะให้สัตว์ทั้งหลายไปพระนิพพานสมบัติด้วยกันดอกหรือ ก็แล้วทีนี้เราท่านทั้งหลายก็คือสาวกขององค์ท่าน หากตั้งมนัสมั่นมุ่งหมายพระนิพพานสมบัติที่พระองค์ทรงประทานไว้ มันจะเป็นการบังคับอาจเอื้อมไปได้อย่างไรโดยที่แท้เป็นการกระทำที่ถูกพระ พุทธประสงค์ที่แท้จริงน่ะไม่ว่า

จำเป็นอย่างไร ที่เราท่านทั้งหลายผู้เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมพุทธเจ้าควรจะปรารถนาเอา พระนิพพานสมบัติ? ก็เพราะว่า บรรดาสมบัติอื่นใดในโลกนี้และโลกหน้า เอาเป็นว่าสมบัติทั้งหมดในจักรวาลนี้ก็แล้วกัน มันไม่เที่ยงแท้แน่นอนและเราอาจะปรารถนาเอาเมื่อใดโดยไม่ต้องพบต้องเจอพระ พุทธศาสนาเลยก็ได้ เช่นสวรรค์สมบัติ คือการไปอุบัติเกิดเป็นเทพบุตร เทพธิดา เสวยสุขสำราญอยู่ ณ สรวงสวรรค์เทวโลกนั้น กาลที่ว่างจากพุทธศาสนาคือเวลาที่ไม่มีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาอุบัติตรัสในโลกนี้ ผู้ที่มีสันดานดี มีจิตใจเป็นบุญเป็นกุศลประกอบกรรมทำความดีอยู่เนืองนิตย์ เมื่อสิ้นชีวิตแล้วก็ไม่แคล้วที่จะได้ไปเกิดในเทวโลกครองสวรรค์สมบัติสมความ ปรารถนาโดยที่เขาเหล่านั้นไม่ได้มีโอกาสรู้จักพระพุทธศาสนาเลย เช่นนี้ ก็มีมาแล้วมากกว่ามากนักหนา แม้ถึงพระพรหมสมบัติ คือการไปอุบัติเกิดเป็นพระพรหมวิเศษเสวยสุขอันประณีตประเสริฐเลิศยิ่งกว่า เทวดาเป็นเวลานานแสนนานอยู่ ณ พรหมโลกอันโอฬาร ในกาลที่โลกเรายังว่างจากพระพุทธศาสนานั้น ผู้ที่สนใจในการเจริญภาวนาเป็นอันดีคือ เหล่าโยคี ฤาษี ดาบส ซึ่งบำเพ็ญพรตพรหมจรรย์จนได้สำเร็จฌานต่างๆ เมื่อถึงคราววางวายสิ้นชีวิตไปจากมนุษยโลกนี้แล้วก็ไม่แคล้วที่จะได้ไป อุบัติบนพรหมโลก ครองพรหมสมบัติตามอำนาจฌานที่ตนได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยพระพุทธศาสนา ไม่ต้องเป็นเวลาพุทธกาลก็ได้ เช่นนี้ก็มีเป็นธรรมดา ยิ่งสมบัติในภูมิอันเลวทรามต่ำช้า ที่สัตว์ทุกรูปทุกนามพากันจงเกลียดจงชัยนักหนา คือ นรกสมบัติ เปรตสมบัติ อสุรกายสมบัติและเดียรฉานสมบัติ ซึ่งมีอยู่ในอบายภูมิเหล่านี้ด้วย ยิ่งไม่ต้องพิถีพิถัน ไม่ต้องรอกาลรอเวลา ปรารถนาเมื่อใดเป็นได้เมื่อนั้น ขอแต่ว่าให้ขะมีขมันทำบาปทำกรรมเข้าให้จงมากเถิด เป็นครองแน่!

195
ฝ่าย มิจฉาทิฐิชนและคนที่มีปัญญาโฉดเขลาทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้มีบุญน้อยด้อยวาสนา มีดวงตาเสียเปล่าแต่หามีแววไม่ ไร้ปัญญามองไม่เห็นคุณค่าอันประเสริฐของพุทธศาสนา แม้ว่าขณะนี้ รอยธรรมนทีแห่งพระพุทธองค์เจ้ายังปรากฎอยู่ในโลกนี้ แทนที่จะรับดำเนินตามไป ด้วยการปฏิบัติตามพระโอวาทานุสาสนี ก็ให้มีอันเป็นเกิดทิฐิวิบัติ มีความเห็นขัดๆ ขวางๆ ไปว่า " พระพุทธศาสนามิได้เป็นนิยยานิกธรรม คือนำสัตว์ออกจากทุกข์มิได้ ไม่ควรที่ใครจะปฏิบัติตามให้เหนื่อยยากไปเปลาๆ นิพพานอะไรกันเล่า? นิพพานไม่มี ที่ว่าพระนิพพานๆ นั้น มันเป็นเพียงสภาวะเหลวไหลอย่างหนึ่ง ซึ่งใครคนไหนก็ไม่รู้ในยุคก่อน บัญญัติชื่อขึ้น แล้วสอนว่าเป็นสุขสบาย เพื่อให้คนทั้งหลายปฏิบัติตามไปอย่างโง่งมงายเท่านั้นเอง ตัวเราอยู่ทุกวันนี้ก็สุขสบายดีแล้ว จักต้องไปแสวงหาสวรรค์นิพพานอะไรที่ไหนกันอีกเล่า" เมื่อโง่เขลาเบาปัญญาไปเสียเช่นนี้ ศรัทธาที่จะดำเนินตามรอยธรรมนทีก็ย่อมไม่มีที่สุดในชาตินี้ ก็ไม่มีโอกาสได้เห็นปากอ่าวแห่งธรรมนที คือพระนิพพาน ชีวิตก็เป็นหมันไปชาติหนึ่ง เมื่อถึงคราวสิ้นชีพตายไปจากโลกนี้ หากยังมีดวงจิตเฝ้าดูถูกดูหมิ่นธรรมนทีแห่งองค์สมเด็จพระชินสีห์เจ้า ว่าไม่เป็นนิยยานิกธรรมแล้วไซร้ ผู้บ้าใบ้ตาบอดเพราะทิฐิวิบัติเหล่านี้ ย่อมมีคติไปอุบัติในดิรัจฉานภูมิ คือเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เพราะมีจิตสันดานมากไปด้วยโมหะกิเลส ถึงขึ้นนี้แล้วก็จะอาเพศวิปริตไปกันใหญ่ คือการที่เขาจะได้มีโอกาสเห็นพระคุณแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมเป็นโอกาสสุดแสนจะยากนัก ก็จะไม่ยากอย่างไรได้เล่า เพราะเขาพลาดท่าเสียไปเกิดในภูมิที่ต่ำทรามซึ่งมีสันดานโง่นัหนา ไม่รู้พระพุทธฎีกาอันเป็นภาษามนุษย์เสียแล้ว อย่างนี้ก็ไม่แคล้วที่จะมีวิจิกิจฉาเกิดความสงสัยไปอีกนานไม่รู้ว่ากี่ชาติ ต่อกี่ชาติว่า พระพุทธเจ้านั้นมีจริงฤา!

พระพุทธสีหนาท

ธรรมดาพญาไกรสรสีหราช ย่อมมีนิสัยใจคอองอาจ มิได้เกรงกลัวภัยอันพิลึก มิได้สะดุ้งตกใจหวาดเสียว มิได้มีขนพองสยองเกล้าแต่ประการใด เป็นสัตว์โลกที่มีโลหิตและเนื้อแห่งสัตว์อื่นบริโภคเป็นภักษาหาร มีกายใหญ่โอฬารลักษณะไพบูลย์บวรยิ่ง มีสร้อยเกษรเป็นแถวตามคอ มีขนลายพร้อยเป็นวงเวียนทักษิณาวัฏ เกิดมาเป็นอภิชาติ สัตว์ทั้งหลายให้หวั่นไหวพรั่นพรึงมิอาจประทุษร้ายได้ เพราะว่าพญาไกรสรสีหราชนั้นเป็นมฤคาธิบดี หมู่มฤคีทั้งหลายไม่ว่าใหญ่และน้อยแต่มาตราสลบซบทรุดอยู่กับที่ ด้วยเกรงเดชแห่งพญาราชสีห์นั้นเป็นกำลัง อีกประการหนึ่ง พญาไกรสีหราชนั้น ปกติประกอบได้ด้วยกำลัง ทั้งประกอบไปด้วยอุตสาหะพยายามซึ่งจะหาสัตว์อื่นเสมอเหมือนมิได้ ย่อมอาศัยอยู่ในไพรสณฑ์อันสงัด เสพซึ่งมฤคชาติเป็นอาหาร ยามเมื่อสายัณห์สมัยเพลาเย็นย่ำสนธยา ราชสีห์ก็ลีลาออกจาที่อยู่อาศัยเหลียวแลไปมาทั้ง ๔ ทิศ แล้วก็ค่อยเข้าไปแอบอยู่ในที่กำบังอันใหญ่ เมื่อจะสำแดงภัยเบียดเบียนฆ่าเสียซึ่งสัตว์ทั้งหลาย หรือจะยังพื้นธรณีดลให้กึกก้อง ก็บันลือออกซึ่งศัพท์สำเนียงเป็นสีหนาทรื่นเริงบันเทิงใจ ขณะเมื่อราชสีห์บันลือสีหนาทออกไปนั้น พลันสัตว์ทั้งหลายซึ่งอยู่ในป่าก็ดี ในคูหาถ้ำทั้งหลายก็ดี หรือในที่อื่นๆ ก็ดี ย่อมมีความสะทกตกใจหวั่นหวาด แม้สกุณชาตินกหนึ่งกำลังผกโผผินบินอยู่บนอากาศ ก็ตกลงมายังพื้นปฐพี สัตว์สี่เท้า สองเท้า เป็นจตุบทวิบาทก็มิอาจจะควบคุมตนให้เป็นปกติได้ย่อมสยบซบล้มลงกับที่ ครานั้น มนุษย์นิกรซึ่งสัญจรเที่ยวไปในอรัญ เมื่อได้ประสพการณ์เห็นฤทธิ์ราชสีห์นั้นแล้ว ย่อมจักต้องเข้าใจโดยอุปมานได้ด้วยปัญญาตนว่า พญาไกรสรราชสีห์นี้มีกำลังอานุภาพมากยิ่งนักหนา ความอุปมาที่ว่านี้ฉันใด

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถศาสดาจารย์เจ้า แห่งเราทั้งหลายนี้ พระองค์ทรงมีภัยอันพิลึกไม่เหลือติดในพระหฤทัย มิได้บังเกิดตกพระทัยกลัว และพระโลมาของพระองค์มิได้ลุกชันหวั่นไหวในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ เพราะว่าทรงประกอบไปด้วยพระบารมีเป็นอนันตคุณอดุลล้ำเลิศประเสริฐสุด ซึ่งจะหาสิ่งที่จะชั่งตวงให้เท่าพระคุณบารมีแห่งสมเด็จพระชินสีห์พระ พุทธเจ้านั้นหามิได้ ด้วยว่าพระองค์ทรงสั่งสอนสัตว์ทั้งหลายให้ลุถึงคุณวิเศษ สามารถที่จะนำตนให้พ้นจากทุกข์ภัยในวัฏสงสารได้หรือแม้อย่างน้อยก็ให้ตั้ง อยู่ในไตรสรณคมน์เป็นต้น เพราะองค์สมเด็จพระทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ก็ทรงบรรลุพระวิมิตเศวตฉัตร ครองสัพพัญญุตญาณสมบัติในโลกุตรราไชยศวรรย์มีพระกายประกอบด้วยลักษณะอัน วิจิตร พระองค์สถิตอยู่ในวิโมกข์และพระนิโรธธรรมทรงมีปกติสันโดษซ่อนเร้นในป่าชัฎ คือพระองค์สถิตอยู่ในป่าอันสงัดเงียบ คราเมื่อเสด็จออกจากพระพุทธศาสัย พระองค์ย่อมประกอบไปด้วยพระญาณอันองอาจเสด็จเข้าไปในท่ามกลางพุทธบริษัทด้วย พระพุทธลีลาสง่างามนักไม่มีเสมอสอง แล้วทรงบันลือซึ่งศัพท์สำเนียงทำนองพุทธสีหนาท กล่าวคือทรงประกาศพระสัทธรรมโปรดมนุษย์นิกรร และเหล่าเทพยดาให้มีจิตผ่องใสบริสุทธิ์ ทรงจุดประทีปคือดวงปัญญา ให้เกิดแก่สาวกผู้ฟังทั้งหลายเป็นอันมาก หากผู้ใดมีวาสนาบารมีอบรมมาแก่กล้าบริบูรณ์แล้ว ก็ไม่แคล้วที่จะได้ดื่มอมตรสพบเห็นบัญยธรรมขององค์สมเด็จพระ สัมพุทธสัพพัญญูผู้ประเสริฐ ส่วนว่ามนุษย์ผู้ใดเกิดมา ถือมั่นในมิจฉาทิฏฐิ ๖๒ ประการ มีสัสสตทิฐิแลอุจจเแททิฐเป็นต้นอันร้ายกาจครั้นได้ฟังพระพุทธสีหนาทแล้ว เขาก็ละเสียได้ซึ่งทิฐิอันร้ายนั้น ส่วนพวกที่มีทิฐิอันมั่นคงแรงกล้า ตั้งหน้าที่จะเป็นคู่แข่งแห่งพระทศพล ตั้งตนเป็นครูเจ้าหมู่ทั้งหลาย เช่นศาสดาทั้ง ๖ คือ ปูรณกัสสป๑ มักขลิโคสาล๑ อชิตเกสกัมพล๑ ปกุทธกิจจายะนะ๑ สัญชัยเวฬัญบุตร๑ นิครนถ์นาฏบุตร๑ ซึ่งตั้งตนเป็นศาสดาสั่งสอนสาวกให้เป็นมิจฉาทิฐิเป็นอันมาก หากบังอาจมาคัดค้านพระพุทธวจนะในคราใด ครั้นได้ฟังพระพุทธสีหนาทบันลืออก ก็มีหฤทัยหวั่นไหวกลับกลอกสยบซบอยู่ มิอาจที่จะคิดต่อสู้ตอบโต้พระพุทธภาษิตได้ ก็หลบเร้นซุ่มซ๋อนอยู่ส่วนสาวกของสมเด็จพระบรมครูเจ้านั้น ครั้นได้ฟังเสียงบันลือพระพุทธสีหนาท ก็บังเกิดประสาทะเสื่อมใสพยายามปฏิบัติตามไป ก็ได้ได้บรรลุวิมุติธรรมนำตนออกจากทุกข์ได้เป็นอันมาก สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งเราทั้งหลายนั้น ครั้นพระองค์บันลือพระพุทธสีหนาท คือประกาศพระสัทธรรมเทศนาไว้ในโลกเช่นนี้แล้ว ก็เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานล่วงไป

ฝ่ายบัณฑิตชนคนมีปัญญาทั้งหลาย ซึ่งเกิดในสมัยต่อมาครั้นได้ยินพระพุทธสีหนาท คือพระโอวาทานุสาสนีอันประกาศสัจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีผู้ป่าวประกาศสืบกันมาก้องโลกอยู่ ใคร่จะรู้รสอมตธรรม ก็พยายามปฏิบัติตามพระโอวาทานุสาสนีด้วยดวงฤดีเลื่อมใสศรัทธาเชื่อมั่น ครั้นได้ดื่มอมตรสสมดังพระพุทธพจน์ที่ทรงประกาศไว้ ก็ให้ตะลึงงันอัศจรรย์ใจในพระสัพพุญญุตญาณ อุทานออกมาว่า "โอ้...พระพุทธสีหนาท คือสัจธรรมอันล้ำลึกกัน ใครผู้ใดเล่าหนาที่จักมีปัญญาประกาศไว้ได้ นอกจาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งพระสัพพัญญุตญาณแล้วไซร้เป็นอัน ไม่มี สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติในโลกจริงเป็นแม่นมั่นแล้วหนอ"

ฝ่ายผู้ที่มีบุญน้อยด้อยวาสนาและมีปัญญาโฉดเขลาเต็มไปด้วยทิฐิมานะ แม้พระพุทธสีหนาทคือพระสัจธรรมคำสั่งสอนอขงสมเด็จพระชินวรพุทธเจ้า ยิ่งกึก้องคฤโฆษอยู่เช่นนี้แล้วก็เป็นผู้มีทิฐิวิบัติ คือถูกทิฐิอันร้ายกาจมาปิดโสตประสาทของตนเสีย กลายเป็นคนหูหนวกไม่สามารถที่จะรับฟังพระสัทธรรมได้ เมื่อไม่ได้ฟังพระธรรมเทศนา การปฏิบัติตามเพื่อดื่มรสอมตธรรมจักมีแต่ที่ไหน เมื่อตนไม่ได้ดื่มรสอมตธรรม ก็เลยไม่รู้ฤทธิ์แห่งพระสัพพัญญุตญาณว่าแสนลึกล้ำมหัศจรรย์พิสดารเพียงใด อย่างนี้ก็ต้องมีความสงสัยอยู่ร่ำไปว่า พระพุทธเจ้าปรากฎขึ้นแล้วจริงฤา?

รอยพระบาท

ยังมีพญาคชสารตัวหนึ่ง ซึ่งประเสริฐกว่าช้างทั้งหลายมีกายสูงได้ ๗ ศอก ยาวได้ ๙ ศอก มีหางยาว มีปลายเล็บขาว เป็นช้างมีสีขาวดุจสีหมอก มีกายเต็มดุจบ่ออันมิได้พร่อง มีอายตนะบริสุทธิ์ไพบูลย์ แลดูดุจจอมคีรีที่มีไม้หนุ่มๆ ขึ้นสูงสล้างต่างชนิด คชสารนั่นวิจิตรงดงามเพราะมีเครื่องประดับผูกสอดกาย เป็นเจ้าแห่งฝูงช้างทั้งหลายที่มีอยู่ในธรณี เพราะมีสรีรกายใหญ่โต มีงาอันโอฬารงอนงาม สิริวิลาสดังงอนไถ มีกำลังอาจจะกำจัดเสียได้ซึ่งปัจจมิตร มีฤทธิ์ห้าวหาญมากเชี่ยวชาญในการที่จะโจนเที่ยวไปในทิศต่างๆ พญาช้างนั้นยังหนุ่ม มีกำลังมากมายยิ่งนักหนา ละเสียซึ่งที่อยู่แห่งอาตมาเที่ยวไปในไพรสณฑ์ประเทศเพื่อแสวงหาอาหาร กินหญ้าใบไม้และถอนขึ้นมาทั้งรากด้วยบาทา โน้มน้าวด้วยงวง ยังแมกไม้ทั้งปวงเช่นกอไผ่ อ้อย เถาวัลย์ และพันธุ์พฤกษาอื่นๆ ให้พินาศย่อยยับไปไม่มีชิ้นดีในที่ทั้งสองข้างทางสัญจรเที่ยวไปมาตามสถาน ห้วยธารละหารเขาลำเนาไพร มีรอยบาทาปรากฎที่ธรณีอ่อนๆ ครั้งนั้น หนุ่มมนุษย์นิกรสัญจรเที่ยวไป เมื่อได้เห็นรอยพญาคชสารตัวประมาณ วิจิตรไปด้วยบุญลักษณ์อันต้องด้วยแบบอย่าง เพียงแต่ได้เห็นรอยบาทาพญาคเชนทรประเสริฐนั่นแล้ว ผู้ที่มีปัญญารอบรู้ในลักษณะคชชาติ มาตรว่าไม่เห็นตัวจริงของพญาคชสาร ก็อาจอนุมานเอาด้วยปัญญาแล้วบอกแก่กันได้ว่า "ดูกรชาวเราเอ๋ย พญาช้างใหญ่ในป่านี้เห็นทีจะมีอยู่เป็นมั่นคง มีรอยบาทาปรากฎเป็นพยานนี่อย่างไรเล่า" อุปมาที่ยกเอามานี่ฉันใด

หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 17