เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - Wisdom

หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 17
46
พระพุทธเจ้า 25 พระองค์นั้น เป็นการนับแต่
พระองค์แรกที่พระโคดมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน)
ได้ทรงพบและทรงได้รับการพยากรณ์
ว่าจะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า มีดังนี้

1.พระทีปังกร
- ในกาลนั้น ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ทีปังกร
แผ่ไปกว้างขวาง ชนรู้กันมากมายมั่งคั่ง แพร่หลาย พระพุทธศาสนาก็เบิกบาน
ด้วยพระอรหันต์ผู้คงที่ งามสง่า
สำหรับพระทีปังกรนั้น ในนิทานกล่าวว่า อยู่ในนครชื่อรัมมวดี
กษัตริย์ทรงพระนาม สุเมธ เป็นพระชนก พระชนนีทรงพระนามว่า สุเมธา
มีปราสาทอย่างดีที่สุดสามหลัง ชื่อ รัมมะ สุรัมมะ และสุภะ พระมเหสีพระนามว่า ปทุมา
พระราชโอรสพระนามว่า อุสภขันธกุมาร
พระองค์ทรงเห็นนิมิต 4 ประการแล้ว เสด็จออกผนวชด้วยคชสารยานพระที่นั่งต้น
ทรงบำเพ็ญเพียร อยู่ 10 เดือนเต็ม ครั้นทรงประพฤติปธานจริยาแล้ว
ก็ได้ตรัสรู้พระสัมโพธิญาณ พระมหามุนีทีปังกร มหาวีรชินเจ้า
ทรงประกาศพระธรรมจักร แล้วประทับอยู่ในนันทาราม ทรงปราบปรามเดี่ยรถีย์
มีพระอัครสาวก คือ พระสุมังคละและพระติสสะ พระศาสดาทีปังกร
มีพระอุปฐากนามว่า สาคระ มีพระอัครสาวิกา คือ
พระนางนันทาและพระนางสุนันทา พระมหามุนีทีปังกรมีพระวรกายสูงได้ 80 ศอก
มีพระชนมายุได้แสนปี พระองค์ทรงพระชนม์อยู่เท่านั้น

2.พระโกณฑัญญะ
3.พระมังคละ
4.พระสุมนะ
5.พระเรตวะ
6.พระโสภิตะ
7.พระอโนมทัสสี
8.พระปทุมะ
9.พระนารทะ
10.พระปทุมมุตตระ
11.พระสุเมธะ
12.พระสุชาตะ
13.พระปิยทัสสี
14.พระอัตถทัสสี
15.พระธัมมทัสสี
16.พระสิทธัตถะ
17.พระติสสะ
18.พระปุสสะ
19.พระวิปัสสี
20.พระสิขี
21.พระเวสสภู
22.พระกกุสันธะ
23.พระโกนาคมน์
24.พระกัสสปะ
25.พระโคตมะ

ว่าด้วยพระพุทธเจ้า

คัมภีร์พุทธวงศ์ 5 แห่งขุททกนิกายเสนอพระสัมมาสัม
พุทธเจ้าไว้ 25 พระองค์ โดยนับแต่พระองค์แรกที่
พระโคตมะได้ทรงพบและทรงได้รับการพยากรณ์ว่า
จะได้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

อาฎานาฏิยปริตร เสนอรายชื่อของพระสัมมาสัมพุทธ
เจ้าไว้ 28 พระองค์ โดยเพิ่มจากคัมภีร์พุทธวงศ์อีก 3 พระองค์
ก่อนพระทีปังกร คือ พระตัณหังกร พระเมธังกร และพระสรณังกร

สำหรับบทสวดมนต์สมพุทเธ กล่าวถึงจำนวนของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้ารวมแล้ว 3,584,192 พระองค์

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตขณะนี้เป็นพระโพธิสัตว์
ต่อจากพระโคตมะ มี 10 พระองค์


1.พระเมตไตย
2.พระอภิภู
3.สุภพราหมณ์
4.พระรามผู้สูงสุด
5.เทวดาชื่อทีฆโสณี
6.โตเทยยพราหมณ์
7.พระเจ้าปเสนทิโกศล
8.จังกีพราหมณ์
9.ช้างนาฬาคิรี
10.ช้างปาลิเลยยกะ

และหลังจากนี้ก็มีต่อไปในอณาคตอีกหาที่สุดมิได้

47
พระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้า คือ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตามท่านผู้รู้ดีรู้ชอบด้วยตนเองก่อนแล้ว สอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นจากการมองเห็นชีวิตเป็นทุกข์ มองเห็นถึงการเกิด แก่ เจ็บและตาย เกิดจากการพยายามหาคำตอบเกี่ยวกับชีวิต เพียรพยายามแสวงหาทางออกจากทุกข์ที่มองเห็นๆ อยู่ แสวงหาทางให้เกิดปัญญา การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์นั้น ยากเย็นนักเพราะต้องบำเพ็ญเพียร สร้างบุญบารมีมากมายเป็นระยะเวลานานแสนนาน ต้องเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในวัฏฏสงสารจนเมื่อไหร่ก็ตามที่ความเพียรและบารมีเต็ม จึงจะได้เสด็จมาตรัสรู้บนโลกมนุษย์และได้โปรดสัตว์ สั่งสอนพระธรรมอันทรงตรัสรู้ดีตรัสรู้ชอบแล้วด้วยพระองค์เอง เพื่อให้สรรพสัตว์ผู้มีปัญญาได้รู้ทาง เห็นทางและเดินทางออกจากทุกข์ได้ ท่านว่าบางกัปป์ก็ไม่มีพระพุทธเจ้าทรงบังเกิดเลยแม้แต่พระองค์เดียว
ส่วนกัปป์ที่เรากำลังเป็นอยู่นี้ เป็นกัปป์ที่เจริญสูงสุด เพราะมีพระพุทธเจ้ามากที่สุดแล้วถึง ๕ พระองค์ เรียกว่าเป็น"ภัททกัปป์" พระสมณะโคดมพระพุทธเจ้าของเรา ณ ปัจจุบันนี้ เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๔ ของภัททกัปป์นี้ และอีกนานในโลก ก็จะมีพระพุทธเจ้าองค์สุดท้ายแห่งภัททกัปป์นี้เสด็จมาตรัสรู้ นั่นก็คือ "พระศรีอาริยเมตตไตรย์"
พระพุทธเจ้ามีกี่องค์
พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ว่า จำนวนพระพุทธเจ้ามีมากมายกว่าจำนวนเม็ดทรายในมหาสมุทร (อันนี้เป็นเรื่องน่าคิดว่าวัฏฏสงสารหรือสังสารวัฏนั้น ยาวนานขนาดไหน ไม่มีที่สิ้นสุด หาเบื้องต้นและเบื้องปลายไม่ได้ เพราะพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้เช่นกันว่าการ เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นมาแต่ละพระองค์นั้น เป็นเรื่องยากยิ่งนัก ใช้เวลา กว่าจะตั้งใจและบำเพ็ญบารมีจนได้ตรัสรู้นานมาก และพระพุทธเจ้าจะ มีได้ทีละพระองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีการเกิดพระพุทธเจ้าพร้อมๆ กัน ในเวลาเดียวกันของสังสารวัฏ ในบางยุคสมัย บางกัปป์ก็ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดเลย ที่เรียกว่าเป็น 'สุญญกัปป์' ก็มี)

48


อนันตประทีปนั้นอุปมาว่าเหมือน ประทีปดวงหนึ่งสามารถเป็นสมุฎฐานจุดประทีปให้ลุกโพลงขึ้นอีกหลายร้อยหลายพันดวง ยังผู้ตกอยู่ในความมืดให้ได้รับแสงสว่าง และแสงสว่างนี้ก็มิรู้จักขาดสิ้นไปได้ โดยประการฉะนี้แลพวกเธอทั้งหลาย พระโพธิสัตว์องค์หนึ่งๆย่อมเป็นผู้กล่าวแนะนำชี้ทางแก่สรรพสัตว์อีกหลายร้อยหลายพันไม่มีประมาณ ยังสรรพสัตว์เหล่านั้นให้ตั้งจิตมุ่งตรงต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มีจิตที่มุ่งในการปฏิบัติธรรมไม่รู้จักขาดสิ้น แสดงพระสัทธรรมตามฐานะอันควร ยังสรรพกุศลสมภารของตนเองให้ทวีไพบูลย์ขึ้น นั้นแลชื่อว่า อนันตประทีป

ที่มา : วิมลเกียรตินิทเทสสูตร

49
ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้
เห็น อธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี ท่านอธิษฐานอย่างใดไว้ พึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานนั้น เหมือนอย่างว่า ธรรมดาภูเขาเมื่อลมทั่วทุกทิศพัดกระทบอยู่ ย่อม
ไม่สะเทือน ไม่หวั่นไหว ยังคงตั้งอยู่ในที่เดิมของตน ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในความตั้งใจมั่นของตน จักเป็น
พระพุทธเจ้าได้ดังนี้ เขาได้อธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ กระทำให้มั่นแล้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่น ที่เป็นเครื่องบ่ม
โพธิญาณ คราวนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น อธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน ทั้งหลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำสืบกันมา ท่านจงยึดอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ นี้กระทำให้มั่นก่อน ท่านเป็นผู้ไม่หวั่น ไหวในข้อนั้นแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ ภูเขาหินไม่หวั่นไหวตั้งมั่นแล้ว ย่อมไม่สะทือนด้วยลมกล้า ย่อมตั้งอยู่ใน ที่เดิมของตนเท่านั้นฉันใด ท่านจงไม่หวั่นไหวในความตั้งใจจริงตลอดกาลทุกเมื่อ ถึงความเป็นอธิษฐานบารมีแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ ดังนี้

ลำดับนั้นเมื่อเขาได้ใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้
เห็น เมตตาบารมีข้อที่ ๙ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญเมตตาบารมีให้เต็ม เปี่ยม ในสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลพึงมีจิตเป็นอย่างเดียวกัน เหมือนอย่างว่า ธรรมดาว่าน้ำย่อมกระทำ ให้เย็นแผ่ซ่านไปเช่นเดียวกัน ทั้งแก่คนชั่วทั้งแก่คนดีฉันใด แม้ท่านเมื่อเป็นผู้มีน้ำใจเป็นอันเดียวกันด้วยเมตตาจิตในสัตว์ทั้ง
ปวง จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ดังนี้ เขาได้อธิษฐานเมตตาบารมีข้อที่ ๙ กระทำให้มั่นแล้ว เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมเหล่าอื่น ที่เป็นเครื่องบ่ม
โพธิญาณ คราวนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น เมตตาบารมีข้อที่ ๙ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน
ทั้งหลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำกันมา ท่านจงยึดเมตตาบารมีข้อที่ ๙ นี้กระทำให้มั่นก่อน ถ้าท่านปรารถนาจะ บรรลุพระโพธิญาณ ก็จงเป็นผู้ไม่มีใครเสมอด้วยเมตตา ธรรมดาน้ำย่อมแผ่ความเย็นไปให้คนดีและคนเลวเสมอ
กัน ชะล้างมลทินคือธุลีออกได้ฉันใด แม้ท่านก็จงเจริญเมตตาให้สม่ำเสมอไปในคนทั้งที่เกื้อกูลและไม่เกื้อกูล
ฉันนั้นเถิด ท่านถึงความเป็นเมตตาบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ ดังนี้

ต่อมาเมื่อเขาได้ใคร่ครวญแม้ยิ่งขึ้นไปอีกด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย จึงได้
เห็น อุเบกขาบารมีข้อที่ ๑0 ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี พึงวางใจเป็นกลางในสุขก็ดีในทุกข์ก็ดี เหมือนอย่างว่า ธรรมดาแผ่นดิน เมื่อคนทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ย่อมวางใจ เป็นกลางทีเดียวฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เมื่อวางใจเป็นกลางได้ในสุขและทุกข์ก็จักได้เป็นพระพุทธเจ้า เขาได้อธิษฐานอุเบกขา บารมีข้อที่ ๑0 ทำให้มั่นแล้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมเหล่าอื่น ที่เป็นเครื่องบ่ม
โพธิญาณ คราวนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น อุเบกขาบารมีข้อที่ ๑0 ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน ทั้งหลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำสืบกันมา ท่านจงยึดอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑0 นี้กระทำให้มั่นก่อน ท่านเป็นผู้มั่นคง ประดุจตราชู จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ ธรรมดาแผ่นดินย่อมวางเฉยต่อของที่ไม่สะอาดและของที่สะอาด ซึ่งเขา ทิ้งลงไป เว้นขาดจากความโกรธและความยินดีต่อสิ่งทั้งสองนั้น ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น ควรเป็นประดุจตราชูในสุข
และทุกข์ในกาลทุกเมื่อ ถึงความเป็นอุเบกขาบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ ดังนี้

ต่อนั้นเขาจึงคิดว่า พุทธการกธรรมที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ มีเพียงเท่านี้เท่านั้น ยกเว้นบารมี ๑0 เสียธรรมเหล่าอื่น ไม่มี บารมีทั้ง ๑0 แม้เหล่านี้ แม้ในเบื้องสูง แม้ในอากาศก็ไม่มี ภายใต้แผ่นดินก็ดี ในทิศทั้งหลายมีทิศตะวันออกเป็นต้นก็ดี
ก็ไม่มี แต่มีตั้งอยู่ภายในหทัยของเรานี้เองดังนี้ เมื่อเขาเห็นว่าบารมีเหล่านั้นตั้งอยู่ในหทัยแล้ว จึงอธิษฐานบารมีแม้ทั้งหมด กระทำให้มั่น พิจารณาแล้วๆ เล่าๆ พิจารณากลับไปกลับมา ยึดเอาตอนปลายทวนมาให้ถึงต้น ยึดเอาตอนต้นมาตั้งไว้ในตอน ปลาย และยึดเอาตรงกลางให้จบลงตรงข้างทั้งสอง ยึดที่ที่สุดข้างทั้งสองให้มาจบลงตรงกลาง ยึดเอาบารมี ๑0 อุปบารมี ๑0 ปรมัตถบารมี ๑0 คือ การบริจาคสิ่งของภายนอกเป็นทานบารมี การบริจาคอวัยวะเป็นทานอุปบารมีการบริจาคชีวิตเป็น ทานปรมัตถบารมี ที่ตรงท่ามกลางแล้ว พิจารณาวกไปวกมาเหมือนคนหมุนเครื่องยนต์หีบน้ำมันไปมาพิจารณาคลุกเคล้าเข้า ด้วยกัน เหมือนคนกวนระคนกระทำยอดภูเขาใหญ่สิเนรุให้เป็นมหาสมุทรในห้องจักรวาลฉะนั้น เมื่อเขาพิจารณาบารมีทั้ง ๑0
อยู่ ด้วยเดชแห่งธรรม แผ่นดินใหญ่นี้ที่หนาได้สองแสนโยชน์ยิ่งด้วยสี่นหุต เป็นราวกะว่ามัดต้นอ้อที่ช้างเหยียบแล้วและเครื่อง ยนต์หีบอ้อยที่กำลังหีบอยู่ ร้องดังลั่นหวั่นไหวสะเทือนเลื่อนลั่นไปหมด หมุนคว้างไม่ต่างอะไรกับวงล้อเครื่องปั้นหม้อและวงล้อ ของเครื่องยนต์บีบน้ำมัน เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ธรรมที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณในโลกมีเพียงนี้เท่านั้น ไม่นอกไปจากนี้ ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ก็ไม่มี ท่านจงตั้งมั่น อยู่ในธรรมนั้น เมื่อเราไตร่ตรองธรรมเหล่านี้ พร้อมทั้งสภาวะกิจและลักษณะอยู่ ด้วยเดชแห่งธรรม แผ่นดินพร้อม โลกธาตุหมื่นหนึ่งสั่นสะเทือนแล้ว ปฐพีก็ไหวร้องลั่น ดั่งเครื่องยนต์หีบอ้อยที่หีบอยู่ เมทนีดลก็เลื่อนลั่นประดุจดัง วงล้อเครื่องยนต์บีบน้ำมัน ฉะนั้น ดังนี้

เมื่อมหาปฐพีไหวอยู่ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในรัมมนครต่างมิสามารถทรงตัวยืนอยู่ได้ ประหนึ่งว่าศาลาหลังใหญ่ ที่ถูกลมบ้า
หมู โหมพัดอย่างหนักพากันเป็นลมล้มลง ภาชนะของช่างหม้อมีน้ำเป็นต้น ที่กำลังทำอยู่ต่างกระทบกันและกันแตกเป็นจุรณ วิจุรณไป มหาชนสะดุ้งกลัวจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์ไม่ทราบข้อนั้น อย่างไรเลยว่า นี้นาคทำให้หมุนวน หริอว่าบรรดาภูตยักษ์และเทวดาพวกใดพวกหนึ่งทำให้หมุนวน อีกประการหนึ่ง มหาชน แม้ทั้งหมดนี้ถูกทำให้เดือดร้อน ความชั่วหรือความดีจักมีแก่โลกนี้ ขอพระองค์จงตรัสบอกเหตุนั้น แก่พวกข้าพระองค์เถิด พระศาสดาทางสดับถ้อยคำของพวกเขาแล้วตรัสว่า พวกท่านอย่าได้กลัวเลย อย่าคิดอะไรมากเลย ภัยจากเหตุนี้ไม่มีแก่พวก
ท่าน วันนี้สุเมธบัณฑิตเราพยากรณ์ให้แล้วว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมในอนาคต บัดนี้เขาไตร่ตรองบารมีทั้งหลาย
อยู่ เมื่อเขาไตร่ตรองอยู่ตรวจตราอยู่ เพราะเดชแห่งธรรม โลกธาตุทั้งสิ้นหมื่นหนึ่งสะเทือนและร้องลั่นไปพร้อมกันทีเดียวดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ในที่อังคาสพระพุทธเจ้า บริษัทมีประมาณเท่าใด บริษัทในที่นั้นมีประมาณเท่านั้น ต่างตัวสั่นอยู่ เป็นลมล้ม ลงบนแผ่นดิน หม้อน้ำหลายพันและหม้อข้าวหลายร้อยเป็นจำนวนมาก ในที่นั้นต่างกระทบกระแทกกันแตกละเอียด ไปหมด มหาชนต่างหวาดเสียวสะดุ้งกลัวภัย หัวหมุน มีใจว้าวุ่น จึงมาประชุมกัน เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทีปังกร กราบทูลว่าอะไรจักมีแก่โลก ดีหรือชั่ว หรือโลกทั้งปวงจะถูกทำให้เดือดร้อน ขอพระองค์ผู้เป็นดวงตาของโลก จงทรงบรรเทาเหตุนั้น คราวนั้นพระมหามุนีทีปังกรให้พวกเขาเข้าใจแล้วด้วยตรัสว่า พวกท่านจงวางใจเสียเถิด อย่าได้กลัวเลย ในการไหวของแผ่นดินนี้ วันนี้เราได้พยากรณ์แล้ว ถึงบุคคลใดว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้า บุคคล นั้นไต่ตรองถึงธรรมที่พระชินเจ้าถือปฏิบัติมาแล้วแต่เก่าก่อน เมื่อเขาไตร่ตรองถึงธรรม อันเป็นพุทธภูมิโดยไม่ เหลือเพราะเหตุนั้น ปฐพีนี้พร้อมหมื่นโลกธาตุในโลกพร้อมทั้งเทวโลกจึงไหวแล้ว ดังนี้

มหาชนฟังพระดำรัสของพระตถาคตยินดีร่าเริงแล้ว พากันถือเอาดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ออกจากรัมมนคร เข้าไปหาพระโพธิสัตว์บูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น ไหว้กระทำประทักษิณแล้ว เขาไปยังรัมมนครตามเดิม ฝ่ายพระโพธิสัตว์ไตร่
ตรองบารมีทั้งสิ้น กระทำความเพียรให้มั่นอธิษฐานแล้ว ลุกจากอาสนะที่นั่ง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เพราะได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้า ใจเย็นแล้วทันใดนั้น ทุกคนเข้าไปหาเรา กราบไหว้แล้วอีก เรายึด มั่นพระพุทธคุณกระทำใจไว้ให้มั่น นมัสการพระทีปังกร ลุกจากอาสนะในกาลนั้น ดังนี้

ลำดับนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้นประชุมกันแล้ว บูชาพระโพธิสัตว์ผู้ลุกจากอาสนะ ด้วยดอกไม้และของหอมอัน เป็นทิพย์แล้ว ป่าวประกาศคำสรรเสริญอันเป็นมงคลเป็นต้นว่า ข้าแต่สุเมธดาบสผู้เป็นเจ้า วันนี้ท่านตั้งปรารถนาอย่างใหญ่ที่ บาทมูลของพระทศพลทีปังกร ขอความปรารถนาของท่านจงสำเร็จโดยไม่มีอันตราย ความกลัวหรือความหวาดเสียวอย่าได้ มีแก่ท่าน โรคแม้แต่น้อยหนึ่ง อย่าได้เกิดในร่างกาย ขอท่านจงบำเพ็ญบารมีให้เต็มโดยพลันแล้วบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ต้นไม้ที่จะเผล็ดดอกออกผล ย่อมเผล็ดดอกและออกผลตามฤดูกาลฉันใด แม้ท่านก็จงได้สัมผัสพระโพธิญาณอันอุดมโดยพลัน อย่าได้ล่วงสมัยนั้นเลยฉันนั้นเหมือนกัน เทวดาทั้งหลายครั้นป่าวประกาศอย่างนี้แล้ว ได้กลับไปยังเทวสถานของตนๆ ตามเดิม ฝ่ายพระโพธิสัตว์ผู้อันเทวดาสรรเสริญแล้วคิดว่า เราจักบำเพ็ญบารมี ๑0 แล้ว ในที่สุดแห่งสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปจักได้เป็น พระพุทธเจ้า ดังนี้ อธิษฐานกระทำความเพียรให้มั่นแล้ว เหาะขึ้นไปยังท้องฟ้า ไปสู่ป่าหิมพานต์ทันที เพราะเหตุนั้นท่านจึง กล่าวว่า

เหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างโปรยปรายดอกไม้อันเป็นทิพย์และอันเป็นของมนุษย์ แก่เขาผู้กำลัง
ลุกจากอาสนะ ทั้งเทวดาและมนุษย์สองฝ่ายนั้นต่างก็ได้รับความยินดีทั่วหน้า ความปรารถนาของท่านยิ่งใหญ่ ขอ ท่านจงได้สิ่งนั้นตามที่ท่านปรารถนาไว้ ขอสรรพเสนียดจัญไรจงแคล้วคลาดไป ขอโรคภัยจงพินาศไป ขออันตราย จงอย่ามีแก่ท่านเถิด ขอท่านจงได้รับสัมผัสพระโพธิญาณโดยพลัน ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านจงเบิกบานด้วยพุทธญาณ เหมือนต้นไม้ที่มีดอกเมื่อถึงฤดูกาลก็เผล็ดดอกฉันนั้นเถิด พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พึงบำเพ็ญบารมี ๑0 ให้เต็มเปี่ยมฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงบำเพ็ญบารมี ๑0 ให้เต็นเปี่ยมฉันนั้นเถิด พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ตรัสรู้ที่โพธิมณฑลฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงตรัสรู้ที่โพธิมณฑลของพระชินเจ้าฉันนั้น พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งทรงประกาศพระธรรมจักร ฉันใด ของท่านจงประกาศพระธรรมจักรฉันนั้น พระจันทร์ในวันเพ็ญผ่องแผ้วย่อมรุ่งโรจน์ฉันใด ขอท่านจงมีใจเต็นเปี่ยมรุ่งโรจน์ในหมื่นโลกธาตุฉันนั้นเถิด พระอาทิตย์ที่พ้นจากราหูแล้ว ย่อมแผดแสงด้วยความร้อนแรงฉันใด ขอท่านจงปลดเปลื้องเรื่องโลกีย์ออกแล้ว สว่างไสวอยู่ด้วยสิริฉันนั้นเถิด แม่น้ำใดๆ ก็ตามย่อมไหลไปลงทะเลใหญ่ฉันใด ขอชาวโลกพร้อมทั้งเทวดาจงรวมลง ที่สำนักของท่านฉันนั้นเถิด ในกาลนั้นเขาอันเทวดาและมนุษย์ชมเชยและสรรเสริญแล้วยึดมั่นบารมีธรรม ๑0 เมื่อ จะบำเพ็ญบารมีธรรมเหล่านั้น เข้าไปสู่ป่าหิมพานต์แล้ว






กถาว่าด้วยพระทีปังกรพุทธเจ้าและสุเมธดาบส จบ

50
เมื่อเรานอนบนแผ่นดินได้มีความคิดอย่างนี้ว่า วันนี้เมื่อเราปรารถนาอยู่ก็พึงเผากิเลสของเราได้ จะมี ประโยชน์อะไรแก่เราเล่าด้วยการทำให้แจ้งธรรมในที่นี้ด้วยเพศที่ใครๆ ไม่รู้จัก เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณจัก เป็นพระพุทธเจ้าในโลกพร้อมทั้งเทวโลก จะมีประโยชน์อะไรแก่เราด้วยลูกผู้ชาย ผู้มีรูปร่างแข็งแรงข้ามฝั่งไปคน เดียว เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้วจักให้มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาข้ามฝั่ง เราตัดกระแสน้ำคือสงสาร ทำลายภพ ทั้งสามแล้ว ขึ้นสู่ธรรมนาวา จักให้มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาข้ามฝั่ง ดังนี้

ก็เมื่อบุคคลปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าอยู่ ความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่จะสำเร็จได้เพราะประมวลมาซึ่งธรรม ๘ ประการ คือความเป็นมนุษย์ ๑ ความถึงพร้อมด้วยเพศ ๑ เหตุ ๑ การเห็นพระศาสดา ๑ การบรรพชา ๑ การสมบูรณ์ด้วยคุณ ๑ การกระทำยิ่งใหญ่ ๑ ความพอใจ ๑
จริงอยู่ เมื่อบุคคลดำรงอยู่ในภาวะแห่งความเป็นมนุษย์นั่นแหละปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาย่อม สำเร็จ ความปรารถนาของนาค ครุฑหรือเทวดาหาสำเร็จไม่ ในภาวะแห่งความเป็มนุษย์เมื่อเขาดำรงอยู่ในเพศบุรษเท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ ความปรารถนาของหญิงหรือบัณเฑาะก์กระเทยและอุภโตพยัญชนก (คนมีทั้งสองเพศ) ก็หาสำเร็จไม่ แม้สำหรับบุรุษความปรารถนาของผู้สมบูรณ์ด้วยเหตุที่บรรลุอรหัต แม้ในอัตภาพนี้เท่านั้นจึงสำเร็จได้ นอกนี้หาสำเร็จไม่ แม้
สำหรับผู้ที่สมบูรณ์ด้วยเหตุถ้าเมื่อปรารถนาในสำนักพระพุทธเจ้าเท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ เมื่อพระพุทธเจ้า ปรินิพพานแล้ว เมื่อปรารถนาในที่ใกล้เจดีย์หรือที่โคนต้นโพธิ์ ก็หาสำเร็จไม่ แม้เมื่อปรารถนาในสำนักของพระพุทธเจ้า ความ
ปรารถนาของผู้ที่ดำรงอยู่ในเพศบรรพชิตเท่านั้นจึงจะสำเร็จ ผู้ที่ดำรงอยู่ในเพศคฤหัสถ์หาสำเร็จไม่ แม้เป็นบรรพชิต ความ ปรารถนาของผู้ที่ได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ เท่านั้นจึงจะสำเร็จ ผู้ที่เว้นจากคุณสมบัตินี้ นอกนี้หาสำเร็จไม่ แม้ผู้ที่สมบูรณ์ ด้วยคุณแล้วก็ตาม ความปรารถนาของผู้ที่ได้กระทำบริจาคชีวิตของตนแด่พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยการกระทำอันยิ่ง ใหญ่นี้เท่านั้น จึงจะสำเร็จ ของคนนอกนี้หาสำเร็จไม่ แม้ผู้ที่จะสมบูรณ์ด้วยการกระทำอันยิ่งใหญ่แล้วยังจะต้องมีฉันทะอันใหญ่ หลวง อุตสาหะ ความพยายามและการแสวงหาอันใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าอีก ความปรารถนา จึงจะสำเร็จ คนอื่นนอกจากนี้หาสำเร็จไม่
ในข้อที่ฉันทะจะต้องยิ่งใหญ่นั้น มีข้ออุปมาดังต่อไปนี้ ก็ถ้าจะพึงเป็นไปอย่างนี้ว่า ผู้ใดสามารถที่จะใช้กำลังแขนของตน ข้ามห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้น ที่เป็นน้ำผืนเดียวกันหมดแล้วถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุควาเป็นพระพุทธเจ้าได้ หรือว่า ผู้ใดเดินด้วย เท้าสามารถที่จะเหยียบย่ำห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้นที่ปกคลุมด้วยกอไผ่แล้วถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้ หรือ ว่าผู้ใดปักดาบทั้งหลายลงแล้วเอาเท้าเหยียบห้วงจักรวาลทั้งสิ้นซึ่งเต็มไปด้วยฝักดาบสามารถที่จะถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความ เป็นพระพุทธเจ้าได้ ผู้ใดไม่สำคัญเหตุเหล่านั้นแม้เหตุหนึ่งว่าเป็นของที่ตนทำได้ยาก คิดแต่ว่าเราจักข้ามไปหรือไปถึงเอาซึ่งฝั่ง ข้างหนึ่งจนได้ ดังนี้ เข้าผู้นั้นจัดว่าเป็นผู้ประกอบด้วยฉันทะอุตสาหะความพยายามและการแสวงหาอันใหญ่ ความปรารถนา ย่อมสำเร็จ คนนอกนี้หาสำเร็จไม่ ก็สุเมธดาบสแม้จะประมวลธรรมทั้ง ๘ ประการเหล่านี้ได้แล้ว ยังความปรารถนาอย่างยิ่ง
ใหญ่ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าแล้วนอนลง ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกรเสด็จมาประทับยืนที่เบื้องศีรษะ ของสุเมธดาบส ทรงลืมพระเนตรทั้งสองอันสมบูรณ์ด้วยประสาทมีวรรณะ ๕ ชนิด ประหนึ่งว่า เปิดอยู่ซึ่งสีหบัญชรแก้วมณี ทอดพระเนตรเห็นสุเมธดาบสนอนบนหลังเปือกตมทรงดำริว่า ดาบสนี้กระทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็น
พระพุทธเจ้า ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จหรือไม่หนอ ทรงส่งพระอนาคตังสญาณใคร่ครวญอยู่ ทรงทราบว่า ล่วงสี่อสง ไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้ เข้าจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่าโคดม ยังประทับยืนอยู่นั่นแหละทรงพยากรณ์แล้วด้วยตรัสว่า พวกท่านจงดูดาบสผู้มีตบะสูงนี้ ซึ่งนอนอยู่บนเปือกตม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็นแล่วพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดาบสนี้กระทำ ความปรารถนายิ่งใหญ่ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า นอนแล้วความปรารถนาของเขาจักสำเร็จ ในที่สุดแห่งสี่อสงไขยยิ่งด้วย แสนกัปนับแต่นี้ เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่าพระโคดม ก็ในอัตภาพนั้นของเขา นครนามว่ากบิลพัสดุ์จักเป็นที่อยู่อาศัย พระเทวีพระนามว่ามายาเป็นพระมารดา พระราชาพระนามว่าสุทโธทนะเป็นพระราชบิดา พระเถระชื่ออุปติสสะเป็นอัครสาวก พระโกลิตะเป็นอัครสาวกที่สอง พุทธอุปฐากชื่ออานนท์ พระเถรีนามว่าเขมาเป็นอัครสาวิกา พระเถรีนามว่าอุบลวรรณาเป็น อัครสาวิกาที่สอง เขามีญาณแก่กล้าแล้ว ออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความเพียรอย่างใหญ่ รับข้าวปายาสที่โคนต้นไทร เสวยที่ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ขึ้นสู่โพธิมณฑลจักตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสตถพฤษ์ ดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทีปังกร ผู้ทรงรู้แจ้งซึ่งโลก ผู้ทรงรับเครื่องบูชา ประทับยืน ณ เบื้องศีรษะ ได้ตรัสคำนี้กะเราว่า พวกท่านจงดูดาบสผู้เป็นชฎิลผู้มีตบะสูงนี้ เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลกในกัปที่นับไม่ ถ้วนแต่กัปนี้ เขาเป็นตถาคตจะออกจากนครชื่อกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียร กระทำทุกกิริยา นั่งที่โคน ต้นอชปาลนิโครธประคองข้าวปายาสไปยังแม่น้ำเนรัญชราในที่นั้น พระชินเจ้าพระองค์นั้น ทรงถือข้าวปายาสไป ที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จถึงโคนต้นโพธิ์โดยทางที่เขาแต่งไว้ดีแล้ว ลำดับนั้นพระสัมพุทธเจ้าผู้ทรงมียศใหญ่ มิมีใครยิ่งกว่ากระทำประทักษิณโพธิมณฑลแล้ว จักตรัสูรู้ที่โคนต้นโพธิ์ พระมารดาผู้เป็นชนนีของเขาจักมีนามว่า มายา พระบิดาจักมีพระนามว่า สุทโธทนะ เขาจักมีนามว่า โคดม พระโกลิตะและอุปติสสะจักป็นอัครสาวก ผู้หา อาสวะมิได้ปราศจากราคะแล้ว มีจิตอันสงบตั้งมั่น อุปฐากนามว่าอานนท์จักเป็นอุปฐากพระชินเจ้านั้น นางเขมา และนางอุบลวรรณาจักเป็นอัครสาวิกา ผู้หาอาสวะมิได้ปราศจากราคะแล้ว มีจิตสงบตั้งมั่น ต้นไม้ที่ตรัสรู้ของ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จักเรียกกันว่า อัสสัตถพฤษ์ ดังนี้

สุเมธดาบสได้บังเกิดโสมนัสว่า นัยว่าความปรารถนาของเราจักสำเร็จดังนี้ มหาชนได้ฟังพระดำรัสของพระทศพล ทีปังกรแล้วต่างได้พากันร่าเริงยินดีว่า นัยว่าสุเมธดาบสเป็นพืชแห่งพระพุทธเจ้า เป็นหน่อแห่งพระพุทธเจ้าและพวกเขาเหล่า นั้นก็ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ธรรมดาว่าบุรุษเมื่อจะข้ามแม่น้ำ ไม่สามารถข้ามโดยท่าโดยตรงได้ ย่อมข้ามโดยท่าข้างใต้ฉันใด แม้พวกเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อไม่ได้มรรคและผลในศาสนาของพระทศพลทีปังกร ในกาลนั้นพวกเราพึงสามารถกระทำให้
แจ้งซึ่งมรรคและผลในที่ต่อหน้าของท่านดังนี้ ต่างพากันตั้งความปรารถนาไว้ แม้พระทศพลทีปังกรทรงสรรเสริญพระโพธิสัตว์ ทรงบูชาด้วยดอกไม้ ๘ กำมือ ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จหลีกไป แม้พระขีณาสพนับได้สี่แสนต่างก็พากันบูชาพระโพธิสัตว์ ด้วยของหอมและพวงดอกไม้ กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป พระโพธิสัตว์ลุกขึ้นจากที่นอนในเวลาที่คนทั้งปวงหลีกไปแล้วคิดว่า เราจักตรวจตราดูบารมีทั้งหลาย ดังนี้ จึงนั่งขัดสมาธิบนที่สุดของกองดอกไม้ เมื่อพระโพธิ์สัตว์นั่งแล้วอย่างนี้ เทวดาในหมื่น จักรวาลทั้งสิ้นได้ให้สาธุการกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าสุเมธดาบส ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เก่าก่อนทั้งหลายนั่งสมาธิด้วยคิดว่า เราจักตรวจตราบารมีทั้งหลาย ชื่อว่าบุพรนิมิตเหล่าใดจะปรากฏ บุรพนิมิตเหล่านั้นแม้ทั้งหมดปรากฏแจ่มแจ้งแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย พวกเราก็รู้ในข้อนั้น นิมิตเหล่านั้นปรากฏแก่ผู้ใด ผู้นั้นจักเป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วน
เดียว ท่านจงประคองความเพียรของตนให้มั่นดังนี้ กล่าวสรรเสริญพระโพธิสัตว์ ด้วยคำสรรเสริญนานาประการ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

คนและเทวดาได้ฟังคำนี้ ของพระพุทธเจ้าผู้หาเสมอมิได้ ผู้ทรงแสวงหาคุณใหญ่ ต่างยินดีว่า ดาบสนี้เป็น พืชและเป็นหน่อพระพุทธเจ้า เสียงโห่ร้องดังลั่นไป มนุษย์พร้อมเทวดาในหมื่นโลกธาตุต่างปรบมือหัวเราะร่า ต่าง ประคองอัญชลีนมัสการ ถ้าพวกเราจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถ ก็จักมีอยู่เฉพาะหน้าท่านผู้นี้ในกาลไกลใน อนาคต มนุษย์เมื่อจะข้ามฝั่งพลาดท่าที่ตั้งอยู่เฉพาะหน้ก็จะถือเอาท่าข้างใต้ข้ามแม่น้ำใหญ่ต่อไปได้ฉันใด พวก เราแม้ทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าพ้นพระชินเจ้านี้ไปก็จักอยู่เฉพาะหน้าท่านผู้นี้ในกาลไกลในอนาคต พระพุทธ เจ้านามว่า ทีปังกร ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้ทรงรับเครื่องบูชา ทรงกำหนดกรรมของเราไว้แล้ว จึงทรงยกพระบาท เบื้องขวาเสด็จไป พระสาวกผู้เป็นพระชินบุตรเหล่าใดได้มีอยู่ในที่นั้น เหล่านั้นทั้งหมดได้ทำประทักษิณเรา คน นาค คนธรรพ์ ต่างกราบไว้แล้วหลีกไป เมื่อพระโลกนายกพร้อมด้วยพระสงฆ์ล่วงทัศนวิสัยของเราแล้ว มีจิตยินดี และร่าเริง เราจึงลุกขึ้นจากอาสนะในบัดนั้น ครั้งนั้นเราสบายใจด้วยความสุขบันเทิงใจด้วยความปราโมทย์ ท่วม ท้นด้วยปีติ นั่งขัดสมาธิอยู่ ทีนั้นเรานั่งขัดสมาธิแล้วคิดได้อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ชำนาญในฌาน ถึงความเต็มเปี่ยม ในอภิญญาแล้วในโลกตั้งพันฤาษีที่เสมอกับเราไม่มี เราไม่มีใครเสมอในฤทธิธรรม จึงได้ความสุขเช่นนี้ ในการนั่ง ขัดสมาธิของเรา เทวดาและมนุษย์ผู้อาศัยอยู่ในหมื่นจักรวาลต่างเปล่งเสียงบรรลือลั่นว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า แน่นอน นิมิตใดจะปรากฏในการนั่งสมาธิของพระโพธิสัตว์ในกาลก่อนนิมิตเหล่านั้นก็ปรากฏแล้วในวันนี้ ความ หนาวก็เหือดหาย ความร้อนก็ระงับเหล่านี้ก็ปรากฏในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน โลกธาตุหมื่นหนึ่งก็ ปราศจากเสียง ไม่มีความยุ่งเหยิง เหล่านี้ก็ปรากฏในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน พายุใหญ่ก็ไม่พัด แม่น้ำลำคลองก็ไม่ไหล เหล่านี้ปราฏในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ดอกไม้ทั้งหลายที่เกิดบนบกและเกิด ในน้ำ ทั้งหมดต่างก็บานในทันใด ดอกไม้ทั้งหมดก็ผลิตผลในวันนี้ รัตนะทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในอากาศและตั้งอยู่ในพื้น ดิน ต่างก็ส่องแสงในทันใดรัตนะแม้เหล่านั้นก็ส่องแสงในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ดนตรีทั้งของมนุษย์ และเป็นทิพย์ต่างบรรเลงขึ้นในทันใด แม้ทั้งสองอย่างนั้นก็ขับขานขึ้นในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ท้อง ฟ้ามีดอกไม้สวยงาม ก็ตกลงเป็นฝนในทันใด แม้เหล่านั้นก็ปรากฏในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน มหาสมุทรก็ม้วนตัวลง โลกธาตุหมื่นหนึ่งก็หวั่นไหว แม้ทั้งสองอย่างนั้นก็ดังลั่นไปในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า แน่นอน พระอาทิตย์ก็ปราศจากเมฆหมอก ดาวทั้งปวงก็มองเห็นได้ แม้เหล่านั้นก็ปรากฏในวันนี้ ท่านจักเป็นพระ พุทธเจ้าแน่นอน น้ำพุ่งประทุขึ้นจากแผ่นดินโดยที่ฝนมิได้ตกเลย วันนี้น้ำก็ประทุขึ้นในทันใดนั้น ท่านจักเป็นพระ พุทธเจ้าแน่นอน หมู่ดาวก็สว่างไสวในท้องฟ้า พระจันทร์ก็ประกอบวิสาขฤกษ์ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน สัตว์ที่อาศัยอยู่ในโพรงอาศัยอยู่ในซอกเขา ต่างออกมาจากที่อยู่ของตน วันนี้แม้สัตว์เหล่านั้นก็ทิ้งที่อยู่อาศัย ท่าน จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ความไม่ยินดีไม่มีแก่สัตว์ทั้งหลายเขาต่างถือสันโดษ วันนี้สัตว์แม้เหล่านั้นทั้งหมดก็ ถือสันโดษ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน คราวนั้นโรคทั้งหลายก็สงบระงับและความหิวก็พินาศไป วันนี้ก็ปรากฏ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน คราวนั้นราคะก็เบาบาง โทสะโมหะก็พินาศ กิเลสเหล่านั้นทั้งปวงก็ปราศจากไป ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน คราวนั้นภัยก็ไม่มี แม้วันนี้ข้อนั้นก็ปรากฏ พวกเรารู้ได้ด้วยนิมิตนั้น ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน ธุลีไม่ฟุ้งขึ้นเบื้องบน แม้วันนี้ข้อนั้นก็ปรากฏ พวกเรารู้ได้ด้วยนิมิตนั้น ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน กลิ่นที่ไม่พึงปรารถนาก็ถอยห่าง มีแต่กลิ่นทิพย์ฟุ้งไปทั่ว วันนี้แม้กลิ่นก็ฟุ้งอยู่ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน เหล่าเทวดาทั้งสิ้นเว้นอรูปพรหมก็ปรากฏ วันนี้เทวดาแม้เหล่านั้นทั้งหมดก็มองเห็นได้ ท่าน
จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ขึ้นชื่อว่านรกมีเพียงใด ทั้งหมดนั้นก็เห็นได้ในทันใด แม้วันนี้ก็ปรากฏทั้งหมด ท่านจัก
เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน คราวนั้นฝาผนัง บานประตู แผ่นหิน ไม่เป็นเครื่องกีดขวางได้ แม้สิ่งเหล่านั้นวันนี้ก็กลาย เป็นว่างหมด ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน การจุติ การอุบัติ ไม่มีในขณะนั้น วันนี้นิมิตเหล่านั้นก็ปรากฏ ท่าน
จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ท่านจงประคองความเพียรให้มั่นอย่าได้ถอยกลับ จงก้าวหน้าไป แม้พวกเราก็รู้ข้อนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ดังนี้

พระโพธิสัตว์ได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลปีทังกรและถ้อยคำของเทวดาในหมื่นจักรวาล เกิดความอุตสาหะโดย ประมาณยิ่งขึ้นจึงคิดว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระดำรัสไม่ว่างเปล่า ถ้อยคำของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีเป็นอย่าง
อื่น เหมือนอย่างว่า ก้อนดินที่ขว้างไปในอากาศจะต้องตก สัตว์ที่เกิดแล้วจะต้องตาย เมื่ออรุณขึ้นพระอาทิตย์ก็ต้องขึ้น ราชสีห์ ที่ออกจากถ้ำที่อาศัยจะต้องบันลืสีหนาท หญิงที่ครรภ์แก่จะต้องปลดเปลื้องภาระ [ คลอด ] เป็นของแน่นอน จะต้องมีเป็นแน่ แท้ฉันใด ธรรมดาพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นของแน่นอนไม่ว่างเปล่าฉันนั้น เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เราฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้า และของเทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสองฝ่ายแล้ว มีความร่าเริง
ยินดีปราโมทย์ จึงคิดขึ้นอย่างนี้ในคราวนั้นว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้เป็นพระชินเจ้าไม่มีพระดำรัสเป็นสอง
มีพระดำรัสไม่ว่างเปล่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีพระดำรัสไม่จริง เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ก้อนดิน
ที่ขว้างไปในท้องฟ้าย่อมตกบนพื้นดินแน่นอนฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรงแม้ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแน่นอน
และเที่ยงตรง เมื่อถึงเวลาราตรีสิ้น พระอาทิตย์ก็ขึ้นแน่นอนฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐนั้นก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรง สัตว์ที่มีครรภ์จะต้องเปลื้องภาระ [ หญิงมีครรภ์จะต้องคลอด ]
ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรง ดังนี้

สุเมธดาบสนั้นกระทำการตกลงใจอย่างนี้ว่า เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน เพื่อที่จะใคร่ครวญถึงธรรมที่กระทำให้เป็น พระพุทธเจ้า เมื่อตรวจตราดูธรรมธาตุทั้งสิ้นโดยลำดับว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้ามีอยู่ ณ ที่ไหนหนอ เบื้องสูงหริอ เบื้องต่ำในทิศใหญ่หรือทิศน้อย ดังนี้ ได้เห็น ทานบารมีข้อที่ ๑ ที่พระโพธิสัตว์แต่เก่าก่อนทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจำจึง กล่าวสอนตนอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญทานบารมีข้อแรกให้เต็ม เหมือนอย่างว่าหม้อน้ำที่
คว่ำแล้วย่อมคายน้ำออกไม่เหลือไม่นำกลับเข้าไปอีกฉันใด แม้ท่านเมื่อไม่เหลียวแลทรัพย์ ยศ บุตร ภริยาหรืออวัยวะใหญ่น้อย ให้สิ่งที่เขาต้องการอยากได้ทั้งหมดแก่ผู้ขอที่มาถึงกระทำมิให้มีส่วนเหลืออยู่ จักได้นั่งที่โคนต้นโพธิเป็นพระพุทธเจ้าได้ดังนี้ ท่านได้อธิษฐานทานบารมีข้อแรกทำให้มั่นแล้ว เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เอาเถอะเราจะเลือกเฟ้นธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ทางโน้นและทางนี้ทั้งเบื้องสูงและเบื้องต่ำ ตลอด สิบทิศ ตราบเท่าถึงธรรมธาตุนี้ ครั้งนั้นเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่จึงได้เห็น ทานบารมีที่เป็นทางใหญ่เป็นข้อแรก ที่ท่าน ผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อนประพฤติสืบกันมาแล้ว ท่านจึงยึดทานบารมีข้อที่ ๑ นี้ทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็น ทานบารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุโพธิญาณ หม้อที่เต็มน้ำใครผู้ใดผู้หนึ่งคว่ำลงก็จะคายน้ำออกจนไม่เหลือ ไม่ยอมรักษาไว้ แม้ฉันใด ท่านเห็นยาจกไม่ว่าจะต่ำทราม สูงส่งและปานกลาง จงให้ทานอย่าให้เหลือไว้ เหมือน หม้อน้ำที่เขาคว่ำลงฉันนั้นเถิด ดังนี้

ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญอยู่ยิ่งๆ ขึ้นด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็น ศีลบารมีข้อที่ ๒ได้มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญศีลบารมีให้เต็มเปี่ยม เหมือนอย่างว่า ธรรมดาว่าเนื้อจามรีไม่เหลียวแลแม้ชีวิต รักษาหางของตนอย่างเดียว ฉันใด จำเดิมแต่นี้ท่านก็ไม่เหลียวแลแม้ชีวิต รักษาศีล อย่างเดียว จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ดังนี้ เขาได้อธิษฐานศีลบารมีข้อที่สองทำให้มั่นแล้ว เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้ จักหามีเพียงเท่านี้ไม่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้อย่างอื่นที่เป็นเครื่องบ่มโพธิ ญาณ ครั้งนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น ศีลบารมีข้อที่ ๒ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อนถือปฏิบัติเป็น ประจำ ท่านจงยึดถือศีลบารมีข้อที่ ๒ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นศีลบารมี หากท่านปรารถนาจะ
บรรลุโพธิญาณ จามรี หางคล้องติดในที่ไหนก็ตามก็จะยอมตายในที่นั้น ไม่ยอมให้หางหลุดลุ่ย ฉันใด ท่านจง บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ในภูมิทั้งสี่ จงรักษาศีลในกาลทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษาหาง ฉันนั้นเถิด ดังนี้

ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญอยู่ยิ่งๆ ขึ้นด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้
เห็น เนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ ได้มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิตนับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญเนกขัมบารมีให้เต็มเปี่ยม
เหมือนอย่างว่าบุรุษผู้อยู่ในเรือนจำ มิได้มีความรักใคร่ในเรือนจำนั้นเลย โดยที่แท้เขารำคาญอย่างเดียว และไม่อยากอยู่เลย
ฉันใด แม้ท่านก็จงทำภพทั้งปวงให้เป็นเช่นเรือนจำ รำคาญอยากจะพ้นไปจากภพทั้งปวง มุ่งหน้าต่อการออกบวช ฉันนั้น
เหมือนกัน ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าโดยอาการอย่างนี้ ดังนี้ เขาได้อธิษฐานเนกขัมมบารมีข้อที่สามมั่นแล้ว เพราะฉะนั้นท่าน
จึงกล่าวว่า

ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่นที่เป็นเครื่องบ่ม โพธิญาณ คราวนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น เนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน ทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงยึดเนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นเนกขัมมบารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ บุรุษผู้อยู่ในเรือนจำนาน ลำบากเพราะทุกข์ มิได้เกิดความยินดีในที่นั้น ย่อมแสวงหาทางที่จะพ้นไปถ่ายเดียวฉันใด ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ จงตั้งหน้ามุ่งต่อการออกบวช เพื่อพ้นจากภพ ฉันนั้นเถิด ดังนี้

ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นๆไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้
เห็น ปัญญาบารมีข้อที่ ๔ ได้มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญปัญญาบารมีให้มีบริบูรณ์ ท่านอย่าได้เว้นใครๆ เลยไม่ว่าจะเป็นคนชั้นเลว ชั้นปานกลางชั้นสูง พึงเข้าไปหาบัณฑิตมิได้เว้นตระกูลไรๆ ในบรรดาตระกูลที่ แตกต่างกันมีตระกูลชั้นต่ำเป็นต้น เที่ยวไปบิณฑบาตตามลำดับย่อมได้อาหารพอยังชีพโดยพลัน ฉันใด แม้ท่านก็เข้าไปหา
บัณฑิตแล้วไต่ถามอยู่ จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ฉันนั้น ดังนี้ เขาได้อธิษฐานกระทำปัญญาบารมีข้อที่ ๔ ให้มั่น เพราะเหตุนั้นท่าน จึงกล่าวว่า

ก็พุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่นที่บ่มโพธิญาณอีก
ในกาลนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น ปัญญาบารมีข้อที่ ๔ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน ทั้งหลายถือ
ปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงยึดปัญญาบารมีข้อที่ ๔ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นปัญญาบารมี หากท่าน
ปรารถนาที่จะบรรลุพระโพธิญาณ ภิกษุเมื่อขอเขาไม่เว้นตระกูลสูงปานกลางและต่ำย่อมได้ภิกษาพอเลี้ยงชีพ โดยอาการอย่างนี้ ฉันใด ท่านเมื่อไต่ถามชนผู้รู้ตลอดกาลทุกเมื่อ ถึงความเป็นปัญญาบารมีจักบรรลุสัมโพธิญาณ ได้ ดังนี้

ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้
เห็น วิริยบารมีข้อที่ ๕ ได้มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญวิริยบารมีให้มีบริบูรณ์ให้เต็ม เปี่ยม เหมือนอย่างว่าราชสีห์พระยาฤคราชเป็นสัตว์มีความเพียรมั่นในทุกอริยาบถ ฉันใด แม้ท่านเมื่อเป็นผู้มีความเพียรมั่น มีความเพียรไม่ย่อหย่อน จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ เขาได้อธิษฐานวิริยบารมีข้อที่ ๕ กระทำให้มั่นแล้ว เพราะเหตุนั้นท่านจึง กล่าวว่า

ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้เลย เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่น ที่เป็นเครื่องบ่ม
โพธิญาณ ครั้งนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็นวิริยบารมีข้อที่ ๕ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน ทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงยึดวิริยบารมีข้อที่ ๕ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นวิริยบารมี หาก
ท่านปรารถนาบรรลุโพธิญาณ ราชสีห์พระยามฤคราชมีความเพียรไม่ย่อหย่อนมีใจประคับประคองตลอดเวลา ฉันใด ท่านประคองความเพียรให้มั่นในภพทั้งปวง ถึงความเป็นวิริยบารมีแล้ว จักบรรลุโพธิญาณ ฉันนั้นเหมือน กัน ดังนี้

ลำดับนั้นเมื่อเขาใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้
เห็น ขันติบารมีข้อที่ ๖ ได้มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญขันติบารมีให้เต็มเปี่ยม พึงเป็นผู้อดทนได้ทั้งในความนับถือทั้งในความดูหมิ่น เหมือนอย่างว่า คนทั้งหลาย ทิ้งของสะอาดบ้างไม่สะอาดบ้างบนแผ่นดิน แผ่นดินย่อมไม่กระทำความชอบใจ ไม่กระทำความแค้นใจ มีแต่อดทนอดกลั้นเท่านั้นฉันใด แม้ท่านเมื่ออดทนได้ในความนับถือ
ก็ดี ในความดูหมิ่นก็ดี จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ดังนี้ เขาได้อธิษฐานขันติบารมีข้อที่ ๖ เพราะทำให้มั่นแล้ว เพราะเหตุนั้นท่าน
จึงกล่าวว่า

ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้เลย เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่น ที่เป็นเครื่องบ่ม
โพธิญาณ ครั้งนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น ขันติบารมีข้อที่ ๖ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน ทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงยึดขันติบารมีข้อที่ ๖ นี้ กระทำให้มั่นก่อน มีใจไม่ลังเลในข้อที่นั้นจักบรรลุ สัมโพธิญาณ ธรรมดาแผ่นดินย่อมทนต่อสิ่งของที่เขาทิ้งลง สะอาดบ้างไม่สะอาดบ้างทุกอย่าง ไม่กระทำความแค้น ใจมีแต่เอ็นดู ฉันใด แม้ท่านเป็นผู้อดทนต่อความนับถือและความดูหมิ่นของคนทั้งปวงได้ ถึงความมีขันติบารมีแล้ว จักได้บรรลุโพธิญาณได้ ดังนี้

ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้
เห็น สัจบารมีข้อที่ ๗ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญสัจบารมีให้เต็มเปี่ยม อย่ากระทำการพูดเท็จทั้งรู้ตัวอยู่ด้วยมุ่งทรัพย์เป็นต้น แม้เมื่ออัสนีบาตจะตกลงบนกระหม่อมของท่าน เหมือนอย่างว่า ธรรมดาดาวประกายพฤกษ์ในทุกฤดูหาเว้นทางโคจรของตนไม่ จะไม่โคจรไปทางอื่น โคจรไปเฉพาะในทางของตนเท่านั้น ฉันใด
แม้ท่านไม่ละสัจจะ ไม่กระทำการพูดเท็จเด็ดขาด จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ เขาได้อธิษฐานสัจบารมีข้อที่ ๗ กระทำให้มั่นแล้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่น ที่เป็นเครื่องบ่ม
โพธิญาณ คราวนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น สัจบารมีข้อที่ ๗ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน ทั้งหลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำกันมา ท่านจงยึดสัจบารมีข้อที่ ๗ นี้กระทำให้มั่นก่อน มีคำพูดไม่เป็นสองในข้อนั้น จักบรรลุ สัมโพธิญาณได้ ธรรมดาว่าดาวประกายพฤกษ์นั้นเป็นคันชั่ง (เที่ยงตรง) ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ย่อมไม่มีโคจรแวะ เวียนไปนอกทาง ไม่ว่าจะในสมัยหรือในฤดูและปีใด ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน อย่าเดินเฉไปจากทางในสัจจะ ทั้งหลาย ถึงความเป็นสัจบารมีแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ ดังนี้

51


ขอนำเสนอเรื่องราวของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึงในอดีตที่เป็นที่รู้จักกันดี
เรื่องของพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า
และที่เกี่ยวข้องกับสุเมธดาบส(พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์)ขอนำเสนอเป็นพุทธบูชา

ในที่สุดสี่อสงไขยด้วยแสนกัปนับแต่นี้ ได้มีนครหนึ่งนามว่า อมรวดี ในนครนั้นมีพราหมณ์ชื่อสุเมธอาศัยอยู่ เขามีกำเนิดดี มีครรภ์อันบริสุทธิ์ทั้งทางฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดานับได้เจ็ดชั่ว ตระกูลใครจะดูถูกมิได้ หาผู้ตำหนิมิได้เกี่ยวกับเรื่องเชื้อชาติ มีรูปสวย น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณอันงามยิ่ง เขา ไม่กระทำการงานอย่างอื่นเลย ศึกษาแต่ศิลปะของพราหมณ์ บิดาและมารดาของเขาได้ถึงแก่กรรมเสียตั้งแต่เขารุ่นหนุ่ม ต่อมา อำมาตย์ผู้จัดการผลประโยชน์นำเอาบัญชีทรัพย์สินมา เปิดห้องคลังที่เต็มไปด้วยทองเงินแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น บอกให้ ทราบถึงทรัพย์ตลอดเจ็ดชั่วตระกูลว่า ข้าแต่กุมาร ทรัพย์สินเท่านี้เป็นของมารดา เท่านี้เป็นของบิดา เท่านี้เป็นของปู่ตาและ ทวดแล้วเรียนว่า ขอท่านจงจัดการเถิด สุเมธบัณฑิตคิดว่า ปู่เป็นต้น ของเราสะสมทรัพยนี้ไว้แล้ว เมื่อจะไปสู่ปรโลกที่ชื่อว่าจะ ถือเอาทรัพย์แม้กหาปณะหนึ่งติดตัวไปด้วยหามีไม่ แต่เราควรกระทำเหตุที่จะถือเอาทรัพย์ไปด้วยได้ ดังนี้แล้วกราบทูลแด่พระ ราชา ให้ตีกลองป่าวร้องไปในพระนครให้ทานแก่มหาชนแล้วออกบวชเป็นดาบส ก็เพื่อที่จะให้ความนี้แจ่มแจ้งควรจะกล่าวสุเมธ

กถาไว้ในที่นี้ด้วย แต่สุเมธกถานี้มีมาแล้วในพุทธวงศ์ติดต่อกัน แต่เพราะเล่าเรื่องประพันธ์เป็นคาถาจึงไม่ใคร่จะแจ่มชัดดีนัก เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจักกล่าวพร้อมกับแสดงคำที่ประพันธ์ เป็นคาถาแทรกไว้ในระหว่างๆ ในที่สุดแห่งสี่องสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ได้มีพระนครมีนามว่า อมรวดี และอีกนามหนึ่งว่า อมร อึกทึกไปด้วยเสียง ๑0 เสียง ที่ท่านหมายถึงเสียงที่กล่าวไว้ใน พุทธวงศ์ ว่า

ในสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป มีพระนครหนึ่งนามว่า อมร เป็นเมืองสวยงามน่าดู น่ารื่นรมย์ สมบูรณ์ด้วยข้าวและน้ำ อึกทึกไปด้วยเสียง ๑0 เสียง

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสหิ สทฺเทหิ อวิวิตฺตํ ความว่า อึกทึกไปด้วยเสียงเหล่านี้คือ เสียงช้าง เสียงม้า
เสียงรถ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงสังข์ เสียงกังดาล เสียงที่ ๑ ว่า เชิญกิน เชิญขบเคี้ยว เชิญดื่ม ซึ่งท่านถือ เอาเพียงเอกเทศหนึ่งแห่งเสียง เหล่านั้นจึงกล่าวคาถานี้ไว้ในพุทธวงศ์ว่า

กึกก้องด้วยเสียงช้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียงสังข์และเสียงรถ เสียงป่าวร้องด้วยข้าวและน้ำว่า เชิญขบเคี้ยว เชิญดื่ม

แล้วกล่าวว่า
พระนครอันสมบูรณ์ด้วยคุณลักษณะทุกประการ เข้าถึงความเป็นพระนครที่มีสิ่งที่ต้องการทุกชนิด สมบูรณ์ด้วยแก้วเจ็ดประการ ขวักไขว่ไปด้วยเหล่าชนต่างๆมั่งคั่งเป็นดุจเทพนารี เป็นที่อาศัยอยู่ของเหล่าผู้มีบุญ พราหมณ์ชื่อสุเมธ มีสมบัติสะสมไว้นั้นได้หลายโกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากมาย เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงมนต์ ได้มาก เรียนจบไตรเพท ถึงความสำเร็จบริบูรณ์ในลักขณศาสตร์ อิติศาสตร์ และ สัทธรรม

ต่อมาวันหนึ่ง สุเมธบัณฑิตนั้น ไปในที่เร้น ณ พื้นปราสาทชั้นบนนั่งขัดสมาธิคิดว่า นี่แน่ะบัณฑิตการเกิดอีกชื่อว่าการ ถือปฏิสนธิเป็นทุกข์ การแตกดับแห่งสรีระในที่ที่เกิดแล้วก็เป็นทุกข์เช่นกัน และเราก็มีการเกิดเป็นธรรมดา มีความแก่ธรรมดา มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา มีความตายเป็นธรรมดา ควรที่เราผู้เป็นเช่นนี้จะแสวงหาพระมหานิพพานที่ไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่ มีทุกข์ มีแต่สุข เยือกเย็น ไม่รู้จักตาย ทางสายเดียวที่พ้นจากภพมีปรกตินำไปสู่พระนิพพานจะพึงมีแน่นอน ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เราเข้าไปสู่ที่เร้นนั่งแล้วในตอนนั้นได้คิดว่า ขึ้นชื่อว่า การเกิดใหม่เป็นทุกข์ การแตกดับของสรีระก็เป็น
ทุกข์ เรามีความเกิดเป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดาเช่นกัน เราจักแสวงหา
พระนิพพานที่ไม่แก่ ไม่ตาย เป็นแดนเกษม ไฉนหนอเราพึงไม่มีเยื่อใย ไร้ความต้องการทิ้งร่างกายเน่าซึ่งเต็มไป
ด้วยซากศพนานาชนิดนี้เสียได้แล้วไปทางนั้นมีอยู่ จักมีแน่ ทางนั้นอันใครๆไม่อาจที่จะไม่ให้มีได้ เราจักแสวง
หาทางนั้น เพื่อพ้นจากภพให้ได้ ดังนี้

ต่อจากนั้นก็คิดยิ่งขึ้นไปอีกอย่างนี้ว่า เหมือนอย่างว่า ชื่อว่าสุขที่เป็นปฏิปักษ์ต่อทุกข์มีอยู่ในโลกฉันใด เมื่อภพมีอยู่แม้ สิ่งที่ปราศจากภพอันเป็นปฏิปักษ์ต่อภพนั้น ก็พึงมีฉันนั้น และเหมือนเมื่อความร้อนมีอยู่ แม้ความเย็นที่จะระงับความร้อนนั้น ต้องมีฉันใด แม้พระนิพพานที่ระงับไฟมีราคะเป็นต้นก็พึงมีฉันนั้น ธรรมที่ไม่มีโทษอันงามที่เป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมอันเป็นบาปอัน ลามก ย่อมมีอยู่ฉันใด เมื่อชาติอันลามกมีอยู่ แม้พระนิพพานกล่าวคือความไม่เกิด เพราะให้ความเกิดทุกอย่างสิ้นไป ก็พึงมีฉัน นั้น ดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เมื่อทุกข์มีอยู่ ขึ้นชื่อว่าสุขก็ต้องมีฉันใด เมื่อภพมีอยู่ แม้สภาพที่ปราศจากภพก็ควรปรารถนาฉันนั้น เมื่อความร้อนมีอยู่ ความเย็นอีกอย่างก็ต้องมีฉันใด ไฟสามอย่างมีอยู่ พระนิพพานก็ควรปรารถนาฉันนั้น เมื่อ
สิ่งชั่วมีอยู่ แม้ความดีงามก็ต้องมี ฉันใด ความเกิดมีอยู่ แม้ความไม่เกิด ก็ควรปรารถนาฉันนั้น ดังนี้

ท่านยังคิดข้ออื่นๆ อีกว่า บุรุษผู้จมอยู่ในกองคูถเห็นสระใหญ่ดาดาษไปด้วยดอกปทุมห้าสีแต่ไกล ควรที่แสวงหาสระนั้น คิดว่า เราควรจะไปที่สระนั้นโดยทางไหนหนอ การไม่แสวงหาสระนั้น หาเป็นความผิดของสระนั้นไม่ แต่เป็นความผิดของบุรุษ นั้นเท่านั้น ฉันใด เมื่อสระใหญ่คืออมตนิพพานเป็นที่ชำระล้างมลทินคือกิเลสมีอยู่ การไม่แสวงหาสระนั้นไม่เป็นความผิดของสระ ใหญ่คืออมตนิพาน แต่เป็นความผิดของบุรุษนั้นเท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน อนึ่งบุรุษผู้ถูกพวกโจรห้อมล้อม เมื่อทางหนีมีอยู่ ถ้า เขาไม่หนีไป ข้อนั้นหาเป็นความผิดของทางไม่ แต่เป็นความผิดของบุรุษนั้นเท่านั้นฉันใด บุรุษผู้ถูกกิเลสห้อมล้อมจับไว้ได้แล้ว เมื่อทางอันเยือกเย็นเป็นที่สู่พระนิพพานมีอยู่ แต่ไม่แสวงหาทางนั้น หาเป็นความผิดของทางไม่ แต่เป็นความผิดของบุคคลนั้น เท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน และบุรุษผู้ถูกพยาธิเบียดเบียน เมื่อหมอผู้รักษาความเจ็บป่วยมีอยู่ หากเขาไม่แสวงหาหมอนั้นให้รัก ษาความเจ็บป่วย ข้อนั้นหาเป็นความผิดของหมอไม่ แต่เป็นความผิดของบุรุษนั้นฉันใด ผู้ใดถูกพยาธิคือกิเลสเบียดเบียน ไม่ แสวงหาอาจารย์ผู้ฉลาดในการระงับกิเลสซึ่งมีอยู่ ข้อนั้นเป็นความผิดของผู้นั้นเท่านั้น หาเป็นความผิดของอาจารย์ผู้ทำกิเลส ให้พินาศไม่ ฉันนั้นเหมือนกันดังนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

บุรูษผู้ตกอยู่ในคูถ เห็นสระมีน้ำเต็มเปี่ยม ไม่ไปหาสระนั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของสระไม่ฉันใด เมื่อ
สระคืออมตะในการที่จะชำระล้างมลทินคือกิเลสมีอยู่ เขาไม่ไปหาสระนั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของสระคืออมตะ
ไม่ ฉันนั้นเหมือนกัน

คนผู้ถูกศัตรูกลุ้มรุม เมื่อทางหนีไปมีอยู่ไม่หนีไป ข้อนั้นหาเป็นความผิดของทางไม่ฉันใด คนที่ถูกกิเลส
กลุ้มรุม เมื่อทาง ปลอดภัยมีอยู่ไม่ไปหาทางนั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของทางที่ปลอดภัยนั้นไม่ ฉันนั้นเหมือนกัน
คนผู้เจ็บป่วยเมื่อหมอรักษาโรคมีอยู่ ไม่ยอมให้รักษาความเจ็บป่วยนั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของหมอ
นั้นไม่ ฉันใด คน ผู้ได้รับทุกข์ความเจ็บป่วยคือกิเลสเบียดเบียนแล้ว ไม่ไปหาอาจารย์นั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิด
ของอาจารย์ผู้แนะนำไม่ ฉันนั้น เหมือนกัน

ท่านยังนึกถึงแม้ข้ออื่นๆ อีกว่า คนผู้ชอบแต่งตัวพึงทิ้งซากศพที่คล้องไว้ที่คอไปได้อย่างมีความสุข ฉันใด แม้เราก็ควร ทิ้งกายอันเน่านี้ไม่มีอาลัยเข้าไปสู่นิพพานนครฉันนั้น ชายหญิงทั้งหลายถ่ายอุจจาระและปัสสาวะรดบนพื้นที่อันสกปรกแล้ว
ย่อมไม่เก็บใส่พกหรือเอาชายผ้าห่อไป ต่างรังเกียจไม่อาลัยเลย กลับทิ้งไปเสียฉันใด แม้เราก็ควรจะไม่มีอาลัยทิ้งกายเน่านี้เสีย
เข้าไปสู่นิพพานนครอันเป็นอมตะฉันนั้น และนายเรือไม่มีอาลัยทิ้งเรือลำเก่าคร่ำคร่าไปฉันใด แม้เราก็จะละกายอันเป็นที่หลั่ง
ไหลออกจากปากแผลทั้งเก้านี้ ไม่มีอาลัยเข้าไปสู่นิพพานบุรี ฉันนั้น อนึ่ง บุรุษเอาแก้วนานาชนิดเดินทางไปพร้อมกับโจร จึงละทิ้งพวกโจร เหล่านั้นเสีย เพราะกลัวจะเสียแก้วของตน ถือเอาทางปลอดภัย ฉันใด กรชกาย ( กายที่เกิดจากธุลี ) แม้นี้ ก็ฉันนั้นเป็นเช่นโจรปล้นแก้ว ถ้าเราจักก่อตัณหาขึ้นในกายนี้ แก้วคือพระธรรมอันเป็นกุศล คืออริยมรรคจะสูญเสียไป เพราะฉะ
นั้นควรที่เราจะละทิ้ง กายอันเช่นกับโจรนี้เสีย แล้วเข้าสู่นิพพานนคร ดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่าน จึงกล่าวว่า

บุรุษปลดเปลื้องซากศพที่น่าเกลียด ซึ่งผูกไว้ที่คอแล้ว อยู่อย่างสุขเสรี อยู่ลำพังตนได้ ฉันใด คนก็ควร
ละทิ้งร่างกายเน่า ที่มากมูลด้วยซากศพนานาชนิดไปอย่างไม่มีอาลัย ไม่มีความต้องการอะไรฉันนั้น
ชายหญิงทั้งหลายถ่ายกรีสลงในที่ถ่ายอุจจาระทิ้งไปอย่างไม่มีอาลัย ไม่มีความต้องการอะไร ฉันใด เราจะ
ละทิ้งกายที่เต็มไปด้วยซากศพนานาชนิดนี้ไป เหมือนคนถ่ายอุจจาระแล้วละทิ้งส้วมไปฉะนั้น

เจ้าของละทิ้งเรือเก่าคร่ำคร่าผุพัง น้ำรั่วเข้าไปได้ ไม่มีความอาลัย ไม่มีความต้องการอะไร ฉันใด เราจัก ละทิ้งกายนี้ที่มีช่องเก้าช่อง หลั่งไหลออกเป็นนิตย์ เหมือนเจ้าของทิ้งเรือเก่าไป ฉะนั้น
บุรุษไปพร้อมกับโจรถือห่อของไป เห็นภัยที่จะเกิดจากการตัดห่อของจึงทิ้งแล้วไปเสียฉันใด กายนี้เปรียบ เหมือนมหาโจร เราจักละทิ้งกายนี้ไปเพราะกลัวจะถูกตัดกุศล ฉันนั้นเหมือนกัน

สุเมธบัณฑิตคิดเนื้อความประกอบด้วยเนกขัมมะนี้ ด้วยอุปมาต่างๆ แล้ว สละกองแห่งโภคสมบัตินับไม่ถ้วนในเรือน ของตน แก่เหล่าชนมีคนกำพร้าและคนเกิดทางไกลเป็นต้น ตามนัยที่กล่าวมาแล้วแต่หนหลัง ถวายมหาทานละวัตถุกามและ
กิเลสกามแล้ว ออกจากอมรนครคนเดียวเท่านั้น อาศัยภูเขาชื่อธรรมิกะในป่าหิมพานต์ สร้างอาศรม เนรมิตบรรณศาลาและที่ จงกรมเนรมิตขึ้นด้วยกำลังแห่งบุญของตน เพื่อจะละเว้นเสียจากโทษแห่งนิวรณ์ทั้งห้า นำมาซึ่งกำลัง กล่าวคืออภิญญาที่ ประกอบด้วนเหตุ อันเป็นคุณ ๘ อย่างตามที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เมื่อจิตมั่นคงแล้วอย่างนี้ ดังนี้ และละทิ้งผ้าสาฎกที่ ประกอบด้วยโทษ ๙ ประการไว้ในอาศรมบทนั้น แล้วนุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ที่ประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการบวชเป็นฤาษี ท่านเมื่อ บวชแล้วอย่างนี้ ก็ละบรรณศาลานั้น ซึ่งเกลื่อนกล่นไปด้วยโทษ ๘ ประการ เข้าไปทางโคนต้นไม้ซึ่งประกอบด้วยคุณ ๑0
ประการ เลิกละข้าวต่างๆอย่างทั้งปวง หันมาบริโภคผลไม้ที่หล่นเองจากต้น เริ่มตั้งความเพียรด้วยอำนาจการนั่งการยืนและ
การเดินจงกรม ในภายในเจ็ดวันนั่นเองก็ได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ท่านได้บรรลุกำลังแห่งอภิญญาตามที่ปรารถนาไว้นั้นด้วย
ประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เราคิดอย่างนี้แล้วได้ให้ทรัพย์นั้นได้หลายร้อยโกฏิ แก่คนยากจนอนาถา แล้วเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์ ในที่ไม่
ไกลแห่งป่าหิมพานต์มีภูเขาชื่อธรรมิกะ เราสร้างอาศรมอย่างดีไว้ เนรมิตบรรณศาลาไว้อย่างดี ทั้งยังเนรมิต ที่จงกรมเว้นจากโทษ ๕ ประการไว้ในอาศรมนั้น เราได้กำลังอภิญญาประกอบด้วยองค์แปดประการ เราเลิกใช้ผ้า สาฎกอันประกอบด้วยโทษ ๙ ประการ หันมานุ่งห่มผ้าเปลือกไม้อันประกอบด้วยคุณ ๙ ประการ เราเลิกละบรรณ ศาลาที่กล่นเกลื่อนไปด้วยโทษ ๘ ประการ เข้าสู่โคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑0 ประการ เราเลิกละข้าวที่หว่านที่ ปลูกโดยไม่มีส่วนเหลือเลย หันมาบริโภคผลไม้หล่นเองที่สมบูรณ์ด้วยคุณเป็นอเนกประการ เราเริ่มตั้งความเพียร ในที่นั่งที่ยืนและที่จงกรมในอาศรมบทนั้น ภายในเจ็ดวันก็ได้บรรลุกำลังแห่งอภิญญา ดังนี้





เมื่อสุเมธดาบสบรรลุอภิญญาพละอย่างนี้แล้ว ให้เวลาล่วงไปด้วยสุขอันเกิดจากสมาบัติ พระศาสดาทรงพระนามว่า ทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ในการถือปฏิสนธิ การอุบัติขึ้น การตรัสรู้และการประกาศพระธรรมจักร โลกธาตุหมื่นหนึ่งแม้ ทั้งสิ้นหวั่นไหวสะเทือนร้องลั่นไปหมด บุรพนิมิต ๓๒ ประการปรากฏขึ้นแล้ว สุเมธบัณฑิตให้เวลาล่วงเลยไปด้วยสุขอันเกิดแต่ สมาบัติ ไม่ได้ยินเสียงนั้นเลย ทั้งไม่ได้เห็นนิมิตแม้เหล่านั้นด้วย เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เมื่อเราบรรลุความสำเร็จในศาสนาเป็นผู้มีความชำนิชำนาญอย่างนี้ พระชินเจ้าผู้เป็นโลกนายกทรงพระ นามว่าทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว เมื่อพระองค์ทรงถือกำเนิด เสด็จอุบัติขึ้น ตรัสรู้ แสดงพระธรรมเทศนา เราเอิบ อิ่มด้วยความยินดีในฌาน มิได้เห็นนิมิตทั้ง ๔ เลย

ในกาลนั้นพระทศพลทรงพระนามว่าทีปังกร มีพระขีณาสพสี่แสนห้อมล้อมแล้ว เสด็จจาริกไปตามลำดับเสด็จถึงนครชื่อ รัมมกะ เสด็จประทับ ณ สุทัสนมหาวิหาร พวกชาวรัมมกนครได้ข่าวว่า ได้ยินว่าพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร ผู้เป็นใหญ่ กว่าสมณะ ทรงบรรลุอภิสัมโพธิอย่างยิ่ง ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จจาริกไปโดยลำดับ เสด็จประทับอยู่ที่สุทัสนมหา วิหาร ต่างพากันถือเภสัชมีเนยใสและเนยข้นเป็นต้น และผ้าเครื่องนุ่มห่ม มีมือถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่ ณ ที่ใด ก็หลั่งไหลพากันติดตามไป ณ ที่นั้นๆ เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วถวายบังคม บูชาด้วยของหอม
และดอกไม้เป็นต้นแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ฟังพระธรรมเทศนาแล้วทูลนิมนต์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น พากันลุกขึ้นจากที่นั่งแล้ว
หลีกไป ในวันรุ่งขึ้นต่างพากันตระเตรียมมหาทาน ประดับประดานคร ตกแต่งหนทางที่จะเสด็จมาของพระทศพล ในที่มีน้ำเซาะ
ก็เอาดินถมทำพื้นที่ดินให้ราบเสมอ โรยทรายอันมีสี ดังแผ่นเงิน โปรยข้าวตอกและดอกไม้ ปักธงชายและธงแผ่นผ้าพร้อมด้วย
ผ้าย้อมสีต่างๆ ตั้งต้นกล้วยและหม้อน้ำเต็มด้วยดอกไม้ เรียงรายเป็นแถว ในกาลนั้นสุเมธดาบสเหาะจากอาศรมบทของตน มาโดยทางอากาศ เบื้องบนของพวกมนุษย์เหล่านั้น เห็นพวก เขาร่าเริงยินดีกันคิดว่า มีเหตุอะไรหนอ จึงลงจากอากาศยืน ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ถามพวกเขาว่า ท่านผู้เจริญ พวกท่านพากัน ประดับประดาทางนี้เพื่อใคร ดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

พวกมนุษย์มีใจยินดีนิมนต์พระตถาคต ในเขตแดนแห่งปัจจันตประเทศแล้ว พากันชำระสะสางทางเสด็จ ดำเนินมาของพระองค์ สมัยนั้นเราออกไปจากอาศรมของตน สะบัดผ้าเปลือกไม้ไปมาแล้ว ทีนั้นก็เหาะไปทางอากาศ
เราเห็นชนต่างเกิดความดีใจ ต่างยินดีร่าเริง ต่างปราโมทย์ จึงลงจากท้องฟ้าไต่ถามพวกมนุษย์ทันทีว่า มหาชนยินดีร่าเริงปราโมทย์ เกิดความดีใจ พวกเขาชำระสะสางถนนหนทางเพื่อใคร

พวกมนุษย์จึงเรียนว่า ข้าแต่ท่านสุเมธผู้เจริญ ท่านไม่ทราบอะไร พระทศพลทีปังกรทรงบรรลุสัมโพธิญาณแล้ว ประกาศธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จจาริกมาถึงนครของพวกเราแล้ว เสด็จพำนักที่สุทัสนมหาวิหาร พวกเรานิมนต์พระผู้มีพระ ภาคเจ้าพระองค์นั้นมา จึงตกแต่งทางนี้ ที่จะเป็นที่เสด็จมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น สุเมธดาบสคิดว่า แม้เพียงคำ ประกาศว่า พระพุทธเจ้า ก็หาได้ยากในโลก จะป่วยกล่าวไปไยถึงการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า แม้เราก็ควรจะร่วมกับมนุษย์
เหล่านี้ตกแต่งทางเพื่อพระทศพลด้วย ท่านจึงกล่าวกะพวกมนุษย์เหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญถ้าพวกท่านตกแต่งทางนี้เพื่อพระ
พุทธเจ้า ขอจงให้โอกาสส่วนหนึ่งแก่เราบ้าง แม้เราก็จักตกแต่งทางเพื่อพระทศพลพร้อมกับพวกท่าน พวกเขาก็รับปากว่า ดี
แล้ว ต่างรู้ว่า สุเมธดาบสมีฤทธิ์ จึงกำหนดที่ว่างซึ่งมีน้ำเซาะให้กล่าวว่า ท่านจงแต่งที่นี้เถิด แล้วมอบให้ไป สุเมธดาบสยึดเอา
ปีติซึ่งมีพระ พุทธเจ้าเป็นอารมณ์คิดว่า เราสามารถจะตกแต่งที่ว่างนี้ด้วยฤทธิ์ได้ แต่เมื่อเราตกแต่งเช่นนี้ ใจก็ไม่ยินดีนัก วันนี้
เราควรจะ กระทำการรับใช้ด้วยกาย ดังนี้แล้ว ขนดินมาเทลงในที่ว่างนั้น เมื่อที่ว่างแห่งนั้นยังตกแต่งไม่เสร็จเลย พระทศพล
ทีปังกร มีพระขีณาสพผู้ได้อภิญญา ๖ มีอานุภาพมาก สี่แสนรูปห้อมล้อม เมื่อเหล่ามนุษย์บูชาด้วยของหอมและดอกไม้ เสด็จ
เยื้องกรายบนพื้น มโนสิลา ด้วยพระพุทธลีลาอันหาที่สุดมิได้ ประดุจราชสีห์ เสด็จดำเนินมาสู่ทางที่ตกแต่งประดับประดาแล้ว
นั้น สุเมธดาบส ลืมตาทั้งสองขึ้นมองดูพระวรกายของพระทศพลผู้เสด็จดำเนินมาตามทางที่ตกแต่งแล้ว ซึ่งถึงความเลิศด้วย
พระรูปโฉม ประดับด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ สวยงามด้วยพระอนุพยัญชนะ ( ลักษณะส่วนประกอบ ) ๘0 ประการ แวดล้อมด้วยแสงสว่าง ประมาณวาหนึ่ง เปล่งพระพุทธรัศมีหนาทึบมีสี ๖ ประการออกมาดูประหนึ่งสายฟ้าหลายหลาก ในพื้น
ท้องฟ้ามีสีดุจแก้วมณี ฉายแสงแปลบปลาบไปมาเป็นคู่ๆ กัน จึงคิดว่า วันนี้เราควรกระทำการบริจาคชีวิตแด่พระทศพล เพราะ
ฉะนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่าได้ทรงเหยียบเปือกตม แต่จงทรงย่ำหลังของเรา เสด็จพร้อมกับพระขีณาสพสี่แสนเหมือน
ทรงเหยียบสะพานแก้วมณีเถิด ข้อนั้นจักเป็นเพื่อประโยชน์เพื่อควมสุขแก่เราตลอกกาลนาน ดังนี้แล้วแก้ผมออก ลาดหนังเสือ ชฎาและผ้าเปลือกไม้วางลงบนเปือกตม ซึ่งมีสีดำ นอนบนหลังเปือกตมเหมือนสะพานแผ่นแก้วมณี เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าว
ว่า

พวกมนุษย์เหล่านั้น ถูกเราถามแล้วยืนยันว่า พระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมเป็นพระชินะเป็นพระโลกนายกทรง พระนามว่า ทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก พวกเขาแผ้วถางถนนหนทางเพื่อพระองค์ ปีติเกิดขึ้นแล้วแก่เราทัน ใดเพราะได้ฟังคำว่า พุทโธ เราเมื่อกล่าวอยู่ว่า พุทโธ พุทโธ ก็ได้เสวยโสมนัสแล้ว เรายืนอยู่ในที่นั้นยินดี มีใจ เกิดความสังเวชจึงคิดว่า เราจักปลูกพืชไว้ที่นั้น ขณะอย่าได้ล่วงเลยเราไปเสียเปล่า ถ้าพวกท่านจะแผ้วถางหน ทางเพื่อพระพุทธเจ้า ก็จงให้ที่ว่างแห่งหนึ่งแก่เรา แม้เราก็จักแผ้วถาง ถนนหนทาง ทีนั้นพวกเขาได้ให้ที่ว่างแก่ เราเพื่อจะแผ้วถางทางได้
เวลานั้นเรากำลังคิดอยู่ว่า พุทโธ พุทโธ แผ้วถางทาง เมื่อที่ว่างของเราทำไม่เสร็จ พระมหามุนีทีปังกร ผู้เป็นพระชินเจ้า พร้อมกับพระขีณาสพสี่แสนผู้ได้อภิญญา ๖ ผู้คงที่ปราศจากมลทินเสด็จดำเนินมาทางนั้น การ ต้อนรับต่างๆ ก็มีขึ้น กลองมากมายก็บรรเลงขึ้น เหล่าคนเหล่าเทวดาล้วนร่าเริง ต่างทำเสียงสาธุการลั่นไปทั่ว เหล่าเทวดาเห็นพวกมนุษย์และพวกมนุษย์ก็เห็นเทวดา แม้ทั้งสองพวกนั้นต่างประคองอัญชลีเดินตามพระตถาคต ไป เหล่าเทวดาที่เหาะมาทางอากาศก็โปรยปรายดอกมณฑารพ ดอกบัวหลวง ดอกปาริฉัตรอันทิพย์ไปทั่วทุกทิศ เหล่าคนที่อยู่พื้นดินต่างก็ชูดอกจำปา ดอก (สัลลชะ) ดอกกระทุ่ม ดอกกากระทิง ดอกบุนนาค ดอกการะเกดไปทั่ว ทุกทิศ เราแก้ผมออก เปลื้องผ้าเปลือกไม้และหนังเสือ ในที่นั้นลาดลงบนเปือกตมนอนคว่ำหน้า พระพุทธเจ้าพร้อม ด้วยศิษย์จงทรงเหยียบเราเสด็จไป อย่าได้เหยียบบนเปือกตมเลย ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เรา ดังนี้

สุเมธดาบสนั้นนอนบนหลังเปือกตมนั่นแล ลืมตาทั้งสองเห็นพระพุทธสิริของพระทศพลทีปังกรจึงคิดว่า ถ้าเราพึงต้อง
การ ก็พึงเผากิเลสทั้งปวงหมดแล้วเป็นพระสงฆ์นวกะเข้าไปสู่รัมมกนครได้ แต่เราไม่มีกิจด้วยการเผากิเลส ด้วยเพศที่ใครไม่รู้
จักแล้วบรรลุนิพพาน ถ้ากระไรเราพึงเป็นดังพระทศพลทีปังกรบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณอย่างสูงยิ่งแล้วขึ้นสู่ธรรมนาวา ให้
มหาชนข้ามสงสารสาครได้แล้วปรินิพพานในภายหลัง ข้อนี้สมควรแก่เรา ดังนี้แล้ว ต่อจากนั้นประมวลธรรม ๘ ประการกระทำ
ความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าแล้วนอนลง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า


52
กลอนท้ายเล่ม

๑ ขอ สละทรัพย์สร้าง สืบนุสน ธิเฮย
จา ต่อข้อนิพนธ์ พุทธเจ้า
รึก ไว้อ่านเอาผล หวังพบ พระองค์นา
เรื่อง ระบิลปิ่นเกล้า กลดกั้ง กางสัตว์
๑ พระ องค์เนื่องหน่อเนื้อ พุทธางกูร
อะ เนกกุศลมูล บาปเปลื้อง
นา โถนิพพานศูนย์ หาเศษ มีฤา
คต ตะวงศ์คือเบื้อง หน้าพู้น พึงจำ
๑ ทั้ง หลายได้ก่อเกื้อ ปรมัตถ มาเฮย
สิบ ถ้วนโพธิสัตว์ เที่ยงแล้ว
พระ เจ้าจะมาตรัส แสดงโปรด เรานา
องค์ อัครมุนีแน่ว ดุจแก้ว วิเชียรฉาย
๑ กับ คำเคารพไว้ วันทนา
พระ อนันตยา นุญาตไว้
คา รวะต่อนะรา ระบือชื่อ เชิดแฮ
ถา มหาผลให้ มนุษย์น้อม มโนเอา
๑ อุ ระข้าแจ้มแจ้ง ใจธรรม์
สา หะคัดจัดสรร เสกพร้อง
พิมพ์ บอกยุบลบรร เจิดหล้า
ให้ เจริญนิรันดร์ต้อง จะพบเบื้อง พระทรงญาณ
๑ ตั้ง จิตคิดน้อม บังคม
ใจ หน่วงถึงบรม ร่มเกล้า
จำ เริญสุขอุดม สรรพสิ่ง สวัสดิ์แฮ
นง ต่อพระนามเจ้า ค่ำเช้า เชิญระลึก
๑ เกิด ไหนจักกอบด้วย มโหฬาร
มา ณพนักงาน อเนกเอื้อ
ชาติ ชั่วใช่วงศ์วาร ฤาร่วม ตระกูลแฮ
ใด ชอบเร่งรีบรื้อ ร่างตั้งปฏิสนธิ์
๑ สม สฤษฏ์มุ่ง มะนูหมาย มาทเอย
ได้ ดังหฤทัยหาย เที่ยงแท้
พบ ปะพระฤาสาย สวรรค์แน่ว แน่นา
องค์ จะแสดงแก้ วิมุตติให้ สว่างเห็น
๑ สะ การทุกถ้วนหน้า มหาชน
ยัม ทั่วนิเวศน์เมืองบน ไป่เว้น
ภู วเยศยอดสกล ทวีปสี่ เสมอฤาญาณ
พระ องค์แม้เขม้น มุ่งแล้วตลอดเห็น
๑ เด โชให้ล้ำกว่า กุลบุตร
ชะ กุศลบริสุทธิ์ ช่วยค้ำ
ผู้ ใดจะต่อยุท ธนาพ่าย แพ้แฮ
ข้า บาทจะพลาดพล้ำ ปลุกปล้ำ นำหนี
๑ อด ใจพากเพียรด้วย ศรัทธา
สา หะแสวงหา เพื่อนม้วย
จา สัจไม่มุสา พาสู่ สุขเนอ
รึก ซึ่งอักษรด้วย โดยป้อง ประคองชู
๑ ขอ ประจักษ์จิตข้า คะนึงตรอง
ให้ ลุดังมโนปอง มุ่งไว้
สม มาดที่หมายจอง ทุกสิ่ง สรรพ์แฮ
นึก รักเร่งชักให้ สะดวกได้ โดยหวัง
๑ เหมือน มาฆมาณพได้ ดาวดึง สาเฮย
ศึก ฝ่ายอสูรถึง พ่ายแพ้
ชะ บุญกระตุ้นจึง เสวยสุข สวรรค์นา
นะ ยักษ์อยู่วิมานแต้ บาปแพ้ บุญเหลิง

53
อธิษฐานวาจา
คำอธิษฐานท้ายเล่ม

เดชะข้าพเจ้า ขออธิษฐานศีลทานบารมี
- ขอเป็นปัจจัยให้พบพระศรีอาริยเมตไตรยวรจอมใจอารี ท่านจักไดัมาตรัสในอนาคตกาล
- ขอให้ลุมรรคญาณพ้นจากทุกขภัย
- ขอให้ล้างกิเลสสู่ห้องตรีเนตรในสำนักพระอริยเมตไตรย
- ขอให้พบพระบรมธาตุพระบรมศาสดา
- เมื่อจะประชุมโพธิมันตา ขอให้ได้บูชาน้อมนบนมัสการ
- ถ้ายังมิถึงตรีเนตรอมตนฤพาน เมื่อจะดับขันธ์ขอให้ใฝ่ฝันถึงคุณแก้วสามประการ
- ดำริถึงผลศีลทาน ขออย่าให้มีหมู่มารมาประจญ
- เกิดไปชาติใดๆขอให้น้ำใจเลื่อมใสต่อพระทศพล
- ขอให้มีปรีชาเลิศกว่าฝูงชน
- ขออย่าให้อับจนปัญญาผู้ใด อย่าได้เคลือบแคลง รู้ชัดจะแจ้งแจ่มน้ำใจ อย่างพระนาคเสนเถระผู้มีปรีชาว่องไว
- ขอให้บริบูรณ์ด้วยโภคมไหสุริยศฤงคาร
- ขอให้เลื่อมใสในศีลทาน
- ขอให้มีศรัทธาก่อสร้างโพธิญาณ
- ขอให้ได้ทำทานเหมือนพระเวสสันดร
- ขออย่าได้ขัดขวางเหมือนอย่างชาติก่อน ให้เหมือนหมู่เทพอมรในชั้นช่อกามา
- ถ้าจะเรียนบริกรรมสมาธิโอภาส ขอให้พบพระศาสดาสรรเพ็ชญ์จอมไตรโลก
- ถ้ายังมิพ้นเวียนวนอยู่ในวัฏฏสงสาร เกิดชาติใดๆในสวรรค์และมนุษย์ จะขอตัดบาปธรรมสิบสี่ตัวที่สุด ดับสิ้นม้วยมุดขาดจากสันดาน
- ขอตัดโรคาทั้งเก้าสิบหกประการขออย่าให้ได้เบียนผลาญในกายตัวเรา เกิดเป็นมนุษย์ร่างกายบริสุทธิ์เหมือนดังเทวาบุรุษ โทษนั้นเล่าดังข้าพเจ้ากล่าวมา ขออย่าให้มีแก่ข้าทั้งเก้าสิบหกประการ
- เดชะกุศลข้าพเจ้าแผ่ผลทั่วหมื่นจักรวาล ทั้งพระยายมราช สิริคุตตมหาอำมาตย์ นิรยบาล ที่ท่านเป็นใหญ่ในสี่ทิศอบาย ขอท่านเป็นพยานเมื่อจะดับขันธ์ อกุศลอย่าตามทันในวัฏฏสงสาร
- ถ้าต้องไปสู่สำนักพระกาฬ ถามถึงศีลทานอย่ามืดมิดกำบัง เทวทูตห้าบทท่านช่วยกำหนดอย่าหลงลืมพลาดพลั้ง ท่านช่วยตักเตือนกุศลหนหลังที่ข้าพเจ้าหล่อหลั่งในอุทกวารี ลงไว้ในพื้นแผ่นธรณี เทวทูตห้าบทท่านช่วยตักเตือน ให้ข้าพเจ้าระลึกขึ้นได้ในขณะนั้น
- ขอให้ตัวข้าพเจ้าสำเร็จแก่นิพพาน
ปัจจโย โหตุ เมฯ

54
อานิสงส์กถา
อานิสํสกถา

พระบรมโพธิสัตว์ อันจะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลเบื้องหน้า ๑๐ พระองค์นั้น
- ที่ ๑ คือพระศรีอาริยเมตไตรย์ พระองค์มีพระชนม์ชีพได้ ๘ หมื่นปี พระสรีระกายสูงได้ ๘๘ ศอก มีไม้กากะทิงเป็นพระมหาโพธิในภัทรกัปป์นี้ฯ
- ที่ ๒ คือพระรามเจ้า พระองค์มีพระชนม์ได้ ๙ หมื่นปี พระสรีรกายสูงได้ ๘๐ ศอก มีไม้จันทร์แดงเป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
- ที่ ๓ คือพระเจ้าปเสนธิโกศล จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระธรรมราชา พระองค์มีพระชนม์ได้ ๕ หมื่นปี พระสรีรกายสูงได้ ๑๖ ศอก มีไม้กากะทิงเป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
- ที่ ๔ คือพระยามาราธิราช จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระธรรมสามี พระองค์มีพระชนม์ได้ ๑๐ หมื่นปี มีพระสรีระกายสูงได้ ๘๐ ศอก มีไม้รังเป็นพระศรีมหาโพธิ ในสารกัปป์ฯ
- ที่ ๕ คือพระยาอสุรินทราหู จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระนารทะ พระองค์มีพระชนม์ได้หมื่นปี มีพระสรีรกายสูงได้ ๒๐ ศอก มีไม้จันทร์เป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
- ที่ ๖ คือโสณพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระรังสีมุนี พระองค์มีพระชนม์ได้ ๕ พันปี มีพระสรีรกายสูงได้ ๖๐ ศอก มีไม้ดีปลีก็ว่า ไม้เลียบก็ว่าเป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
-ที่ ๗ คือสุภพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระเทวเทพ พระองค์มีพระชนม์ได้ ๘ หมื่นปี มีพระสรีรกายสูงได้ ๘๐ ศอก มีไม้จำปาเป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
- ที่ ๘ คือโตไทยพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระนรสีหะ พระองค์มีพระชนม์ได้ ๘๐ ปี มีพระสรีรกายสุงได้ ๖๐ ศอก มีไม้แคฝอยเป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
- ที่ ๙ คือช้างนาฬาคีรี จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระติสสะ พระองค์มีพระชนม์ได้ ๘ หมื่นปี มีพระสรีรกายสูงได้ ๘๐ ศอก มีไม้ไทรเป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
- ที่ ๑๐ คือช้างปาลิไลย จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระสุมงคล พระองค์มีพระชนม์ได้ ๑๐ หมื่นปี มีพระสรีรกายสูงได้ ๖๐ ศอก มีไม้กากะทิงเป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
รวม ๑๐ พระองค์

นมัสการพระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ พระองค์ว่าดังนี้ฯ
เมตฺเตยฺยา เมตฺเตยฺโย นาม ราโม จ รามสมฺพุทฺโธ
โกสโล ธมฺมราชา จ มารมาโร ธมฺมสานมี
ทีฆชงฺฆี จ นารโท โสโณ รํสิมุนี ตถา
สุภูเต เทวเทโว โตเทยฺโย นรสีหโก
ติสฺโม นาม ธนปาโล ปาลิเลยฺโย สุมงฺคโล
เอเต ทส พุทฺธา นาม ภวิสฺสนฺติ อนาคเต
กปฺปสตสหสฺสานิ ทุคฺคตึ โส น คจฺฉติฯ

นมัสการพระศรีมหาโพธิทั้ง ๑๐ ต้นว่าดังนี้ฯ
เมตฺเตยฺโย นาครุกฺโข จ ไม้กากะทิงฯ
รามพุทโธปิ จนฺทนํ ไม้จันทร์หอมฯ
ธมฺมราชา นาครุกฺโข ไม้กากะทิงฯ
ธมฺมสามี สาลรุกฺโข ไม้รังใหญ่ฯ
นารโท จนฺทนรุกฺโข จ ไม้จันทร์ฯ
รํสิมุนิ จ ปิปฺผลิ ไม้เลียบฯ
เทวเทโว จมฺปโก จ ไม้จำปาฯ
นรสีโห จ ปาตลี ไม้แคฝอยฯ
ติสฺสมฺพุทฺโธ นิโครฺโธ ไม้ไทรฯ
นาครุกฺโข สุมงฺคโล ไม้กากะทิงฯ
เอเต ทส โพธิรุกฺขา ภวิสฺสนฺติ อนาคเต
อิเม ทส จ สมฺพุทฺเธ โย นโรปิ นมสฺสติ
กปฺปสตสหสฺสานิ นิรยํ โส น คจฺฉติฯ

ผู้ใดเจริญได้เป็นนิตย์ปิดอบายภูมิ และคงจะได้ประสพพบพระพุทธองค์เจ้าองค์ใดองค์หนึ่งเป็นเที่ยงแท้ อย่าสนเท่ห์เลยท่านทั้งหลายฯ

เอวัง ก็มี ด้วยประการฉะนี้ฯ

55
บทสรุป
องค์สมเด็จพระมหามุนีธิคุณเจ้าแห่งเราทั้งหลายตรัสพระสัทธรรมเทศนาแก่พระสารีบุตรว่า นานไปเบื้องหน้าพระโพธิสัตว์ทั้ง ๑๐ พระองค์นั้น จะได้ตรัสรู้แด่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณเป็นลำดับกันฯ คือ
- องค์พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้าเป็นปฐมที่ ๑
- ถัดนั้นจึง พระรามโพธิสัตว์จะได้ตรัสที่ ๒
- ถัดนั้นจึง พระเจ้าปเสนธิโกศลจะได้ตรัสเป็นพระธรรมราชาที่ ๓
- ถัดนั้น พระยามาราธิราช จะได้ตรัสเป็นพระธรรมสามีที่ ๔
- ถัดนั้น อสุรินทราหู จะได้ตรัสเป็นพระนารทะที่ ๕
- ถัดนั้น โสณพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระรังสีมุนีที่ ๖
- ถัดนั้น สุภพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระเทวเทพที่ ๗
- ถัดนั้น โตไทยพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระนรสีหะที่ ๘
- ถัดนั้น ช้างธนบาลหัตถีนาฬาคีรี จะได้ตรัสเป็นพระติสสะที่ ๙
- ถัดนั้น ช้างปาลิไลยหัตถี จะได้ตรัสเป็นพระสุมงคลที่ ๑๐


พระองค์ได้ตรัสเป็นลำดับกันโดยนิยมดังนี้
อันว่าไม้พระศรีมหาโพธิอปราชิตบัลลังค์ที่นั่งทรงพิจารณาพระปฏิจจสมุปบาทธรรม แล้วตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูเจ้านั้น
- พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า คือไม้กากะทิงเป็นที่ตรัส ๑
- พระรามเจ้า คือ ไม้แก่นจันทร์แดงเป็นที่ตรัส ๒
- พระธรรมราชาเจ้า คือ ไม้กากะทิงเป็นที่ตรัส ๓
- พระธรรมสามีเจ้า คือ ไม้รังใหญ่เป็นที่ตรัส ๔
- พระนารทะเจ้า คือ ไม้แก่นจันทร์แดงเป็นที่ตรัส ๕
- พระรังสีมุนีเจ้า คือ ไม้ดีปลีใหญ่เป็นที่ตรัส ๖ (บางคัมภีร์ว่าเป็นไม้เลียบ)
- พระเทวเทพเจ้า คือ ไม้จำปาเป็นที่ตรัส ๗
- พระนรสีหะเจ้า คือ ไม้แคฝอยเป็นที่ตรัส ๘
- พระติสสะเจ้า คือ ไม้ไทรเป็นที่ตรัส ๙
- พระสุมงคลเจ้า คือ ไม้กากะทิงเป็นที่ตรัส ๑๐
อันว่าไม้พระมหาโพธิ ๑๐ ต้นนี้ เป็นที่ได้ตรัสรู้พระสัพพัญญู แห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ พระองค์ อันจะบังเกิดในอนาคตกาลเบื้องหน้าฯ

อันว่านรชาติหญิงชายทั้งหลายจำพวกใด ได้ถวายนมัสการกราบไหว้ซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้งสิบพระองค์กับทั้งไม้พระศรีมหาโพธิ ๑๐ ต้น ดังพรรณนามานี้ อันว่านรชาติหญิงชายจำพวกนั้นจะมีผลานิสงส์คือ มิได้ไปบังเกิดในนรกสิ้นกาลช้านานถึงแสนกัปป์ ด้วยกุศลเจตนาของอาตมาที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งสิบพระองค์นั้นฯ สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์พุทธเจ้าของเราทรงบัณฑูรพระธรรมเทศนาว่า แท้จริงกัปป์ที่เรียกสุญญกัปนั้น คือเปล่าเสียจากท่านผู้ทรงพระคุณ กัปป์ที่มิได้สูญจากท่านผู้ทรงพระคุณนั้นมี ๕ ประการ คือ
- สารกัปป์ ๑
- มัณฑกัปป์ ๑
- วรกัปป์ ๑
- สารมัณฑกัปป์ ๑
- ภัทรกัปป์ ๑

อันว่าแผ่นดินทั้ง ๕ ประการนี้ มีสมเด็จพระพุทธเจ้าบังเกิดใน สารกัปนั้น ๑ พระองค์, ในมัณฑกัปป์ ๒ พระองค์, ในวรกัปป์ ๓ พระองค์, ในสารมัณฑกัปป์ ๔ พระองค์, ในภัทรกัปป์ ๕ พระองค์ เหมือนกับแผ่นดินเราทุกวันนี้ ชื่อว่าภัทรกัปบังเกิดพระพุทธเจ้าถึง ๕ พระองค์ฯ คือ
- พระกุกกุสนธเจ้าพระองค์ ๑
- พระโกนาคมนเจ้าพระองค์ ๑
- พระกัสสปเจ้าพระองค์ ๑
- พระพุทธเจ้าของเราอันทรงพระนามว่า พระศรีศากยมุนีโคดมพระองค์ ๑
- ไปในอนาคตเบื้องหน้า พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ซึ่งจะได้มาตรัสนั้น พระองค์ ๑
เป็นพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ด้วยกัน บังเกิดในภัทรกัปอันนี้ฯ

เมื่อองค์สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ตรัสแล้วล่วงลับดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน สิ้นพระศาสนาของพระองค์เจ้าแล้วล่วงไปจนถึงไฟประลัยโลก สิ้นแผ่นดินแผ่นฟ้าตลอดกาลช้านาน จึงบังเกิดแผ่นดินขึ้นมาใหม่เรียกว่า สุญญกัปป์ เปล่าเสียจากท่านผู้ทรงพระคุณวิเศษนั้นนานถึง อสงไขยแผ่นดิน โลกทั้งหลายมืดสิ้นไม่มีท่านผู้วิเศษเลย ต่อสิ้นกาลช้านานแห่งสุญญกัปป์นั้น นับได้อสงไขยแผ่นดินล่วงไปแล้ว เกิดกัปใหม่ตั้งแผ่นดินขึ้นใหม่เรียกว่ามัณฑกัปป์ จะมีสมเด็จพระพุทธเจ้า พระปัจเจกโพธิเจ้า และสมเด็จบรมจักร ในกาลครั้งนั้นจึงมีพระรามเจ้าเป็นอาทิจะได้ตรัสรู้ก่อน พระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลายที่สมควรจะได้ตรัสนั้น ก็ได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบๆกันไปตามนัยดังแสดงแล้วแต่หนหลัง ด้วยวาสนาภูมิบารมีของพระบรมโพธิสัตว์สร้างมานั้นต่างๆกัน
- ที่เป็นอุคฆติตัญญูโพธิสัตว์ สร้างพระบารมี ๔ อสงไขยแสนกัปป์ เรียกชื่อว่า ปัญญาธิกะ ยิ่งด้วยปัญญาฯ
- ที่เป็นวิปจิตัญญูโพธิสัตว์ สร้างพระบารมี ๘ อสงไขยแสนกัปป์ เรียกชื่อว่า สัทธาธิกะ ยิ่งด้วยศรัทธาฯ
- ที่เป็นเนยยโพธิสัตว์ สร้างพระบารมี ๑๖ อสงไขยแสนกัปป์ เรียกชื่อว่า วิริยาธิกะ ยิ่งด้วยความเพียรฯ
ตามประเพณีพุทธภูมิโพธิสัตว์ทั้ง ๓ จำพวก อันมีในคัมภีร์พระอนาคตวงศ์ ตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราตรัสพระสัทธรรมเทศนา แก่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ก็สิ้นเนื่อความยุติลงแต่เพียงเท่านี้ฯ

56
ครั้นสมเด็จพระบรมจักรมหาปนาท ทรงเห็นเครื่องอัฏฐบริขาร ๘ ประการพร้อมแล้ว ด้วยพระเดชานุภาพแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก ก็ทรงยกเครื่องอัฏฐบริขารขึ้นทูนเหนือพระเศียรเกล้าแล้วออกพระวาจาว่า ดูก่อนอัฏฐบริขาร ๘ ประการผู้เจริญ เราอาศัยซึ่งท่านจักใคร่ออกจากสังสารทุกข์ ให้ได้พบเห็นพระนิพพานอันประเสริฐสุดโลกวิสัย ตรัสเท่านั้นแล้วก็เปลื้องเครื่องราชอาภรณ์ของพระองค์ออกจากพระสรีรกาย ทรงสบง จีวร สังฆาฏิ คาดกายพันมั่นคง ทรงบรรพชาเป็นพระภิกษุภาวะเสร็จแล้ว จึงเอาพระมงกุฎแก้ววางลงในฝ่าพระหัตถ์ตรัสว่า ดูก่อนมงกุฏแก้ว ท่านจงไปยังสำนักแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้า กราบทูลแจ้งประพฤติเหตุข่าวศาสน์แก่พระองค์ว่า บัดนี้พระเจ้ามหาปนาทบรมจักร เสียสละศิริราชสมบัติออกทรงบรรพชาในพระพุทธศาสนาแล้ว มีความปรารถนาเพื่อจะมายังสำนักสมเด็จพระทศพลญาณ ท่านจงไปกราบทูลศาสน์แด่องค์สมเด็จพระพุทธองค์ด้วยประการดังนี้ฯ พระองค์ทรงพระอธิษฐานฉะนี้แล้ว มงกุฏแก้วก็ลอยเลื่อนไปในอากาศเวหาประดุจว่าพระยาสุวรรณราชหงส์ลงยังสำนักแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้า ตั้งอยู่แทบฝ่าพระบาท กราบทูลประพฤติเหตุดังนั้นแก่สมเด็จพระกุกกุสนธ ประดุจดังว่ามีจิตวิญญาณ สมเด็จพระบรมโลกุตตมาจารย์ก็มีพระพุทธฎีการับว่าสาธุฯ

ลำดับนั้นพระยามหาปนาทซึ่งทรงเพศเป็นภิกษุ ก็เที่ยวโคจรบิณฑบาตไปตามบ้าน ได้อาหารพอเป็นยาปนมัตต์ บริโภคสำเร็จแล้วก็เจริญพระกัมมัฏฐานอยู่ในที่อันสมควร พิจารณาซึ่งพระพุทธคุณมีพระ อิติปิ โส ภควา เป็นอาทิ และพระกายคตาสติกัมมัฏฐาน มีเกศาเป็นต้น เจริญไปด้วยความอุตสาหะดังนั้น ยังโลกียฌานให้บังเกิดขึ้นในขณะนั้นแล้วเหาะไปโดยอากาศเวหาถึงสำนักสมเด็จพระพุทธเจ้า ได้ทัศนาการพระรูปพระโฉมของสมเด็จพระกุกกุสนธ อันประดับไปด้วยพระทวัตติงสมหาบุรุษลักษณะ และพระอสีตยานุพยัญชนลักษณะ งามบริบูรณ์พร้อมทุกประการ ก็บังเกิดความปิติเต็มตื้นซาบทั่วสรรพางค์ ตลอดสิ้นสกลกายก็สลบลงในที่นั้น สมเด็จพระภควันตบพิตรเจ้าก็ทรงเอาอุทกวารีมาประพรมลงเหนือพระอุระ ก็ฟื้นสมปฤดีขึ้นมา แล้วถวายนมัสการกราบลงด้วยเบญจางคประดิษฐ์แทบพระบาท กราบทูลอาราธนาให้สมเด็จพระพุทธองค์ทรงประทานพระสัทธรรมเทศนาฯ

ครั้งนั้นสมเด็จพระกุกกุสนธบรมทศพลญาณ ก็ทรงประทานพระสัทธรรมเทศนาว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านจงพิจารณาซึ่งสภาวธรรมที่จะนำตนไปสู่พระนิพพานเถิด มีพระพุทธบรรหารตรัสดังนี้ ฝ่ายพระเจ้ามหาปนาทบรมพุทธางกูรได้ทรงสดับกระแสพระพุทธฎีกาตรัสเป็นนัย ดังนั้นพระองค์ก็มีปิติซาบซ่านทั่วสกลกาย จึงทรงพระอธิษฐานเด็ดพระเศียรเกล้าด้วยเล็บของพระองค์ ทรงกระทำสักการบูชาแทบพระบาทมูลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ฝ่ายพระเศียรเกล้านั้นจึงกราบทูลพระกรุณาว่า ภนเต ภควา ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระภาคเจ้า พระองค์ได้โปรดฝูงสัตว์ทั้งหลายก่อนข้าพระบาท ข้าพระบาทก็มีความปรารถนาเป็นเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อภายหลัง ด้วยผลศีลทานของข้าพระบาทในครั้งนี้ ขอเชิญองค์อัครมุนีผู้ทรงพระภาคเจ้าจงเสด็จเข้าสู่พระนิพพานก่อนข้าพระบาทเถิด ข้าพระบาทขอตามเสด็จพระพุทธองค์เจ้าเข้าสู่พระนิพพานต่อภายหลัง พอขาดคำลงแล้วพระเจ้ามหาปนาทก็ดับขันธ์สิ้นชีวิตอินทรีย์ ไปบังเกิดในดุสิตาสวรรค์ เสวยทิพยศิริสมบัติเป็นสุขสถาพร ไปในอนาคตกาลเบื้องหน้า จะได้ตรัสเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าพระสุมงคลฯ

ดูก่อนสำแดงสารีบุตร ฝูงสัตว์ทั้งหลายไม่ได้มรรคและผลธรรมวิเศษในศาสนาพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระตถาคตเป็นต้น มีพระติสสะเป็นปริโยสานแล้ว ก็ให้มหาชนปรารถนาไปให้พบเห็นพระศาสนาช้างปาลิไลยหัตถี ที่ได้เป็นพระบรมจักรมหาปนาทนี้ ซึ่งจะได้ตรัสเป็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลทรงพระนามว่า พระสุมงคลสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จะได้มรรคและผลธรรมอันวิเศษสิ้นสังสารทุกข์ทั้งปวง เข้าสู่พระอมตะมหานครนิพพานฯ แสดงมาด้วยเรื่องราวช้างปาลิไลยหัตถีบรมโพธิสัตว์เป็นคำรบ ๑๐ ก็สิ้นความยุติแต่เพียงนี้ฯ

57
กัณฑ์ที่ ๕

( ภควา โภ สาริปุตฺต ติสฺสสฺส พุทฺธสฺส สาสนกาเล อติกฺกนฺเต ตตฺถ กปฺเป
หตฺถีปาลิเลยฺโย อนาคเต สุมงฺคโล นาม พุทฺโธ ภวิสฺสตีติ อิมํ ธมฺมเทสนํ กเถสีติฯ )

( อนุสนธิ พระสัทธรรมเทศนา มีปุพพาปรสืบเนื่องมาโดยลำดับ บัดนี้จะได้วิสัชนา ในประวัติกาลแห่งองค์สมเด็จศรีสรรเพ็ชญ์สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า สุมงคลต่อไป ดำเนินความว่า )



พระสุมงคล (ช้างปาลิไลยกะ)


ภควา อันว่าองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งเรา ตรัสพระสัทธรรมเทศนาว่า เมื่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระนามว่า พระติสสะสัพพัญญูพุทธเจ้า เสด็จล่วงลับดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพานสิ้นกาลช้านานแล้วฯ ในลำดับนั้น อันว่าช้างปาลิไลยหัตถีตัวรี้ก็เป็นพระบรมโพธิสัตว์สร้างพระบารมีมาเป็นอันมาก จักได้ตรัสเป็นสมเด็จพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระสุมงคลในอนาคตกาล พระสุมงคลทศพลญาณเจ้านั้น
- มีพระองค์สูงได้ ๖๐ ศอก
- พระชนมายุมีประมาณแสนปีเป็นกำหนด
- ไม้กากะทิงเป็นพระศรีมหาโพธิ
- ประดับด้วยพระพุทธรัศมีรุ่งเรืองสว่าง ดังสีทองเป็นอันงามประดุจกลางวัน
- แล้วจะบังเกิดมีไม้กัลปพฤกษ์ต้นหนึ่ง ห้อยย้อยไปด้วยสิ่งของเครื่องประดับ มีประการต่างๆด้วยพระพุทธานุภาพ
ฝูงมนุษย์ทั้งหลายในพระศาสนาของพระสุมงคล มิได้กระทำซึ่งกสิกรรม วาณิชกรรม ได้อาศัยซึ่งต้นกัลปพฤกษ์นั้น ประพฤติเลี้ยงชีวิตแห่งอาตมา มนุษย์ทั้งหลายมีความผาสุกสบาย ขวนขวายแต่การเล่นเต้นรำแต่งตัวอยู่เป็นนิจ เสมอเหมือนเทพบุตร เทพธิดา ซึ่งได้ทิพยสมบัติในสวรรค์เทวโลกฯ สมเด็จพระสุมงคลทศพลญาณเจ้า ก่อสร้างพระบารมีมาทั้ง ๑๐ ประการ จึงสำเร็จแก่พระพุทธสมบัติเห็นปานดังนี้ฯ อันว่ากองพระบารมีครั้งหนึ่ง พระองค์กระทำมาแต่ยังเป็นพระบรมโพธิสัตว์อยู่นั้น ปรากฏเป็นปรมัตถบารมีอันยิ่งยอดอย่างเอกอุดมทานฯ

ดูก่อนสำแดงสารีบุตร แต่กาลก่อนล่วงลับไปแล้วช้านาน ช้างปาลิไลยตัวนี้เป็นพระบรมโพธิสัตว์ บังเกิดเป็นสมเด็จพระบรมจักรพรรตราธิราช ทรงพระนามว่าพระเจ้ามหาปนาทบรมจักร ในภัทรกัปป์อันนี้ และมีแก้ว ๗ ประการคือ
- จักรแก้ว ๑
- นางแก้ว ๑
- แก้วมณีโชติ ๑
- ช้างแก้ว ๑
- ม้าแก้ว ๑
- ปรินายกแก้ว ๑
- คฤหบดีแก้ว ๑
สมเด็จพระเจ้ามหาปนาทบรมจักร ได้เสวยศิริราชสมบัติอยู่ในทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒ พันเป็นบริวาร พระองค์ทรงพระสำราญอบู่เป็นปรกติ มาจนถึงกาลสมเด็จพระกุกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดในโลก กาลครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้ามหาปนาทบรมจักรได้ทรงทราบว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าได้ตรัสในโลกแล้ว

จึงตรัสประกาศสั่งจักรแก้วว่า ดูก่อนจักรแก้วผู้เจริญ ท่านจงไปยังท้องพระมหาสมุทรถือเอาซึ่งดวงแก้วมณีมาให้แก่เรา จักรแก้วนั้นก็ไปยังท้องพระมหาสมุทร ดุจดังว่ามีจิตวิญญาณ นำเอาแก้วมณีมาถวายฯ
แล้วอยู่มาภายหลังพระองค์จึงตรัสสั่งช้างแก้วว่า ดูก่อนช้างแก้วผู้เจริญท่านจงไปที่ฉัตรทันต์สระ แล้วพาช้างแก้วมาให้แก่เราฯ ครั้งนั้นช้างแก้วก็เหาะไปยังฉัตรทันต์สระ พาเอาช้างชาติฉัตรทันต์ทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่นมาถวายฯ
แล้วพระองค์จึงสั่งกับม้าแก้วว่า ดูก่อนม้าแก้วผู้เจริญท่านจงไปยังท่าสินธพนที แล้วพาม้าแก้วทั้งหลายมาให้แก่เรา ม้าแก้วนั้นก็เหาะไปในอากาศ ถึงริมฝั่งสินธพนที แล้วพาม้าแก้วมาถวายฯ
แล้วพระองค์จึงตรัสสั่งนางแก้วพระราชมเหสีนั้นว่า ภทฺเท ดูก่อนเจเาผู้มีพักตร์อันเจริญ เจ้าจงไปยังแว่นแคว้นอุดรกุรุทวีปพานางแก้วทั้งหลายมาให้แก่เราฯ ขณะนั้นนางแก้วผู้เป็นพระราชมเหสีก็เหาะไปยังอุดรกุรุทวีป พาเอานางแก้วทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่นมาถวายฯ
แล้วพระองค์จึงตรัสสั่งแก้วมณีโชติว่า ดูก่อนแก้วมณีโชติผู้เจริญ ท่านจงไปยังเขาวิบุลบรรพต นำเอาแก้วมณีมาให้แก่เราฯ อันว่าแก้วมณีโชติก็เลื่อนลอยไปยังเขาวิบุลบรรพตพาเอาแก้วมณีทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่นดวงมาถวายฯ
แล้วพระองค์ตรัสสั่งปรินายกขุนพลแก้วของพระองค์ว่า ดูก่อนปรินายกแก้วผู้เจริญ ท่านจงไปยังอุดรกุรุทวีป และอมรโคยานทวีป และบุพพวิเทหทวีป ทั้ง ๓ ถอดเอาดวงแก้วในยอดเขากัมพูฉัตรมาให้แก่เราฯ ฝ่ายขุนพลแก้วผู้เป็นปรินายกรับพระราชโองการแล้ว ก็เหาะไปยังทวีปทั้ง ๓ จึงถอดเอาดวงแก้วมณีที่ยอดเศวตฉัตรแห่งมหากษัตริย์ผู้เสวยศิริราชสมบัติในทวีปทั้ง ๓ มาถวายฯ
แล้วพระองค์ก็ตรัสสั่งคฤหบดีแก้วผู้เป็นขุนคลังว่า ดูก่อนคฤหบดีแก้ว ท่านจงไปในโสฬสมหานครใหญ่ทั้ง ๑๖ เมืองนั้น นำเอาดวงแก้วมณีมาให้แก่เราฯ คฤหบดีแก้วก็เหาะไปในโสฬสมหานคร ครั้นถึงแล้วได้ทัศนาการเห็นสมเด็จพระพุทธกุกกุสนธสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จยับยั้งอยู่ในพระวิหารในกาลนั้น คฤหบดีแก้วก็มิได้รู้จักซึ่งสมเด็จพระกุกกุสนธเจ้า ว่าเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทโธ จึงเข้าไปยังสำนักกุกกุสนธเจ้าแล้วถามว่า มณว ดูก่อนมาณพผู้เจริญ ตัวท่านนี้มีนามชื่อไร จึงมีรูปโฉมงามบริสุทธิ์เป็นอันดีฯ

ครั้งนั้นสมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเจ้า จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดีแก้ว เราหรือมีนามชื่อว่าพระศาสดาจารย์ คฤหบดีจึงถามอีกว่าฯ ดูก่อนมาณพผู้เจริญท่านมีนามชื่อว่าศาสดาจารย์ด้วยเหตุเป็นดังฤาฯ จึงทรงพระมหากรุณาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดีแก้ว เราชื่อพระศาสดาจารย์นั้นเพราะเหตุประกอบไปด้วยอาจริยคุณ ๓๑ ประการฯ คฤหบดีจึงถามว่า คุณ ๓๑ ประการแห่งท่านปรากฏเป็นประการใด จึงได้ชื่อว่าอาจริยคุณฯ สมเด็จพระกุกกุสนธเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดีแก้ว คุณเป็นอาทิคือ อิติปิ โส ภควา นี่แหละเป็นคุณแห่งเรา ปรากฏกิตติศัพท์ไปทั่วโลก จึงมีนามว่า พระศาสดา จริยคุณทั้ง ๓๑ ประการฯ เมื่อคฤหบดีแก้วได้สดับพระพุทธวจนะดังนั้น จึงจารึกเอาพระ อิติปิ โส ภควา เป็นอาทิ ลงไว้ในแผ่นทองเป็นตัวอักษรเสร็จแล้ว จึงถามพระผู้ทรงพระภาคเจ้าว่า ดูก่อนมาณพผู้เจริญ ท่านรู้คุณวิเศษมีประมาณเท่านี้แลหรือ หรือว่าคุณวิเศษอย่างอื่นยังมีอยู่เป็นประการใดฯ จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่าดูก่อนคฤหบดีแก้ว อันว่าคุณวิเศษอย่างอื่นแห่งเรามีอยู่เป็นอันมากฯ คฤหบดีแก้วก็ให้พระกุกกุสันธเจ้าแสดงต่อไปฯ สมเด็จพระพุทธเจ้าจึงตรัสพระสัทธรรมเทศนา ทรงแสดงซึ่งคุณในกายคตาสติกัมมัฏฐาน บอกอาการ ๓๒ มี เกศา โลมา เป็นอาทิ ให้แก่คฤหบดีแก้ว คฤหบดีแก้วก็จารึกพระรูปพระโฉมของสมเด็จพระกุกกุสนธเจ้าอันงาม พร้อมด้วยทวัตติงสมหาบุรุษลักษณะเป็นอันดีลงในแผ่นทอง แล้วจึงกำหนดพระองค์สูงประมาณ ๖๐ ศอก ลงในแผ่นทองทั้ง ๒ เสร็จแล้ว คฤหบดีแก้วก็เหาะนิวัตตนากลับมายังสำนักสมเด็จพระบรมจักรมหาปนาทถวายซึ่งแผ่นพระสุวรรณบัตร ให้ทอดพระเนตรพระรูปพระโฉมของสมเด็จพระกุกกุสนธเจ้า กับทั้งตัวอักษรที่จารึกพระพุทธคุณมานั้นฯ


ฝ่ายสมเด็จพระบรมจักรมหาปนาททอดพระเนตรพระอักษร ซึ่งจารึกพระพุทธคุณในแผ่นพระสุวรรณบัตรนั้นฯ ทรงอ่านแล้วก็มิได้ทรงรู้จักว่าเป้นพระพุทธคุณจึงตรัสถามพราหมณ์ปุโรหิตว่า ดูก่อนท่านอาจารย์ อันว่าอักษรที่คฤหบดีจารึกมานั้น จะเป็นพระพุทธคุณจริงแลหรือประการใด ฝ่ายว่าพราหมณ์ปุรหิตนั้น เป็นผู้ทรงคุณวิชชาไสยศาสตร์ จึงกราบทูลว่า มหาราชข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐอันว่าอักษรนี้เป็นคุณอันวิเศษแน่แล้ว เป็นยอดคุณทั้งปวงสิ้น ก็คุณวิเศษอย่างอื่นๆนั้นจะได้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้หาบ่มิได้ อักษรนี้เป็นพระพุทธคุณเที่ยงแล้ว สมเด็จพระบรมจักรมหาปนาทำด้ทรงฟังพราหมณ์ปุโรหิตกราบทูลดังนั้น ก็ทรงพระโสมนัส ปิติ ปลาบปลื้มพระทัย สลบลงกับที่ฯ ครั้นพระองค์ฟื้นสมประดีแล้ว ตรัสถามพราหมณ์ปุโรหิตว่า ดูก่อนท่านอาจารย์ เราได้ฟังว่า คุณวิเศษนี้เป็นพระพุทธคุณจริงดังนั้นหรือประการใด ปุโรหิตก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ อันว่าคุณวิเศษนี้ พระองค์อย่าได้สงสัยในพระกมลหฤทัยเลย เป็นพระพุทธคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเที่ยงแท้แล้ว ครั้นได้ทรงสดับฟังพราหมณ์ปุโรหิตกราบทูลซ้ำอีกดังนั้น พระองค์ทรงปิติ ปลื้มพระทัย สลบลงอีกครั้งหนึ่งเป็นคำรบ ๒ แล้วพระองค์ก็ฟื้นขึ้น จึงตรัสถามปุโรหิตอีกว่ารูปภาพที่คฤหบดีแก้ววาดเขียนมานี้ เป็นอย่างพระพุทธรูปจริงหรือประการใด ปุโรหิตก็กราบทูลว่าพระรูปพระโฉมที่คฤหบดีแก้ววาดเขียนมานี้ คือ พระรูปพระโฉมของสมเด็จพระพุทธเจ้าเที่ยงแท้ พระองค์อย่าได้สงสัยเลยฯ สมเด็จพระบรมจักรมหาปนาทได้ทรงฟังว่าเป็นพระพุทธรูปของสมเด็จพระพุทธเจ้าจริงแน่ ก็สลบสิ้นสติสมปฤดีไปอีกครั้งหนึ่งเป็นคำรบ ๓ ฯ

ครั้นได้พระสติขึ้นมา จึงตรัสแก่คฤหบดีแก้วว่า บัดนี้เราได้ฟังประพฤติเหตุแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าอันเป็นดวงแก้วหาค่ามิได้ เพราะเหตุตัวของท่านอันเราใช้ไป เครื่องสักการบูชาสิ่งอื่นหาควรจะกระทำสักการบูชาแก่ท่านไม่ ด้วยท่านมีความชอบครั้งนี้แก่เราเป็นที่สุด เราจะยกสมบัติจักรพรรดิอันยิ่งในมนุษย์โลกนี้ กระทำสักการบูชาแก่ตัวท่าน ตรัสประภาษสรรเสริญคฤหบดีแก้วดังนี้แล้ว จึงอภิเษกคฤหบดีแก้วให้เสวยศิริราชสมบัติจักรวรรดิยศ ยกให้เป็นบำเหน็จความชอบแก่คฤหบดีแก้ว ในครั้งนั้นคฤหบดีแก้วก็ตั้งอยู่ในศิริราชสมบัติบรมจักร เสวยอิสริยยศสมบัติสืบต่อไปฯ

ส่วนสมเด็จพระบรมจักรมหาปนาทนั้นแต่พระองค์เดียว ก็เสด็จบทจรไต่เต้าไปตามมรรคาหนทางโดยทิศาภาค ในที่สถิตแห่งสมเด็จพระบรมครูกุกกุสนธเจ้านั้นฯ ครั้นไปถึงมหานิโครธไทรใหญ่ต้นหนึ่ง ก็ทรงประทับนั่งอาศัยอยู่ใต้ต้นไทรนั้นพอหายเหนื่อยเป็นอันดีแล้ว ก็ยกอัญชลีประนมถวายนมัสการลงด้วยเบญจางคประดิษฐ์อันได้สดับว่าสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่ตรงนี้ ทรงกระทำอธิษฐานปรารถนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระภาคเป็นอันงาม ความปิติโสมนัสแห่งข้าพระพุทธเจ้าบังเกิดมีในพระองค์แล้ว ด้วยเดชะความสัตยืนี้ขอให้เครื่องอัฏฐบริขาร ๘ ประการ อันเป็นทรัพย์มรดกแห่งพระภิกษุสงฆ์ จงเลื่อนลอยมายังสำนักแห่งข้าพระพุทธเจ้า ครั้งนั้นสมเด็จพระกุกกุสนธสัพพัญญูทรงทราบวาระน้ำจิตแห่งบรมจักรมหาปนาท ปรารถนาจะบรรพชาบวชในพระพุทธศาสนา จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูก่อนอัฏฐบริขาร ๘ ประการ บัดนี้บุคคลมีชื่อโน้น ปรารถนาจะทรงบรรพชา ท่านจงไปยังสำนักแห่งบุคคลผู้นั้นเถิดฯ ขณะนั้นเครื่องอัฏฐบริขารทั้ง ๘ ประการ ก็ลอยมาตกลงตรงพระพักตร์แห่งสมเด็จพระเจ้ามหาปนาทด้วยพุทธานุภาพฯ

58
จึงมีโจทย์เข้ามาว่า พระธรรมเสนดาบสนั้น ทรงเพศบรรพชิต สำเร็จอิทธิฤทธิ์อภิญญาสมาบัติทุกประการอยู่แล้ว เหตุไรเล่าจึงรับเอาศิริราชสมบัติในครั้งนี้ฯ
พระอรรถกถาจารย์เจ้าผู้เป็นปราชญ์วิสัชนาแก้ว่า พระธรรมเสนนั้นเป็นหน่อพุทธางกูร จะใคร่ก่อสร้างพระบารมีแสวงหาพระโพธิญาณ ถ้ายับยั้งอยู่ด้วยเพศบรรพชิตดังนี้แล้ว ก็มิอาจจะกระทำทานมหาบริจาคอันใดได้ ด้วยไม่มี บุตร ภรรยายอดรัก ข้าทาสหญิงชาย และ โค มหิงส์ ช้าง ม้า ราชรถ สรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งจะสละเป็นมหาบริจาค แม้อยู่เป็นฆราวาสประกอบไปด้วยบุตร ภรรยาแล้ว จึงอาจสามารถยังมหาทานให้บังเกิดกองทานบารมี เป็นปรมัตถมงกุฏได้โดยสะดวก เหตุดังนั้นพระธรรมเสนดาบสบรรพชิตบรมโพธิสัตว์ จึงรับเอาศิริราชสมบัติที่สมเด็จพระราชบิดายกให้ฯ


ครั้งนั้นพระบรมโพธิสัตว์ธรรมเสนก็เปลื้องเครื่องบริขารบรรพชิตออกเสียจากสรีรกาย ทรงเพศเป็นคฤหัสถ์ แล้วก็กล่าวประกาศถ้อยคำเป็นอธิษฐาน ดูก่อนอัฐบริขารผู้เจริญเอ๋ย ท่านจงไปยังสำนักพระดาบสทั้งหลายเถิด ในขณะขาดคำอธิษฐานแห่งพระบรมโพธิสัตว์เจ้าครั้งนั้น เครื่องบริขารทั้ง ๘ ก็ปลิวลอยไปในอากาศเวหา ลงยังสำนักแห่งพระดาบสทั้งหลาย ส่วนสมเด็จพระธรรมราชาธิราชผู้เป็นพระบิดา ก็ให้ตีกลองร้องป่าวชาวพระนคร ให้มหาชนทั้งหลายสันนิบาตประชุมพร้อมกันแล้ว จึงกระทำอภิเษกสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ผู้เป็นพระราชโอรส กับด้วยนางลัมภุสสราชเทวี เป็นอัครมเหสีครอบครองกรุงจำปากมหานครเป็นสุขสำราญมา ตนพระราชเทวีอัครมเหสีทรงพระครรภ์ ถ้วนทศมาสแล้วก็คลอดพระราชบุตร เมื่อพระราชบุตรบทจรยกย่างได้ถนัดแล้ว นางก็ทรงครรภ์อีก ประสูติพระราชธิดา ลำดับนั้น พระเจ้าธรรมเสนผู้เป็นบรมกษัตริย์แสวงหาพระโพธิญาณ เสด็จด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชมเหสี ไปประพาสนอกพระนคร เพื่อจะลงสรงสาครเล่นให้สุขสำราญ กับด้วยราชบริวารสาวสนมกรมในทั้งปวง และหมู่มุขมนตรีทั้งหลายก็ลงเล่นน้ำสำราญใจฯ

ครั้งนั้น ยังมียักษ์ตนหนึ่งได้ทัศนาการเห็นพระกุมาร และกุมารีทั้งสองพระองค์ ก็มีความปรารถนาเพื่อจะกินเป็นภักษาหาร บ่มิอาจอดกลั้นความอยากอยู่ได้ จึงเดินมาสำแดงกานให้ปรากฏเฉพาะหน้าแห่งพระเจ้าธรรมเสนบรมกษัตริย์ แล้วก็ร้องขอด้วยคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์อันประเสริฐ ข้าพเจ้ามาบัดนี้มีความปรารถนาจะขอรับพระราชทาน พระกุมาร และพระกุมารี ทั้ง ๒ ของพระองค์ พระองค์จงทรงพระกรุณาข้าพเจ้า โปรดเกล้าพระราชทานกุมาร และกุมารี ให้แก่ข้าพเจ้ากินเป็นภักษาหารในกาลบัดนี้เถิดฯ เมื่อพระเจ้าธรรมเสนบรมโพธิสัตว์ ได้ทรงฟังยักษ์ทูลขอพระลูกรักทั้ง ๒ ดังนั้น ก็เกิดความกรุณาจิตขึ้นมา จึงตรัสว่า ดูก่อนยักษ์ผู้เจริญ ท่านกล่าวถ้อยคำดังนี้เพราะนักเป็นสุนทรวาจาอันยิ่ง ตรัสแล้วก็เสด็จอุฏฐาการ จูงเอาข้อพระหัตถ์กุมาร และกุมารีทั้ง ๒ องค์มาส่งให้แก่ยักษ์ แล้วตรัสว่าเชิญท่านมารับเอาปิยบุตรทานของเรา แล้วก็จับเอาพระเต้าทอง มาหล่อหลั่งอุทกวารีลงเหนือมือยักษ์ จึงตรัสว่า ราชกุมาร และราชกุมารีทั้ง ๒ องคืนี้ ใช่เราจะไม่มีความเสน่หาอาลัยหามิได้ แต่เรามีความรักพระสัพพัญญุตญาณนั้นยิ่งกว่ากุมารทั้ง ๒ ได้ร้อยเท่าพันทวี ด้วยเดชะผลทานของเราที่สละกุมารทั้ง ๒ องค์ให้เป็นทานแก่ท่านบัดนี้ บอให้บังเกิดมีผลเป็นที่สุดถึงพระสัพพัญญูสรรเพชุดาญาณ ในอนาคตกาลเบื้องหน้า พระองค์ประกาศแก่ฝูงเทพเจ้าทั้งหลายแล้ว มหัศจรรย์ก็บังเกิดมีต่างๆนาๆ เป็นต้นว่าแผ่นดินไหวทั่วโลกธาตุฯ ครั้นว่ายักษ์ได้รับพระราชทานแล้ว ก็กินกุมารทั้ง ๒ องค์เป็นอาหาร แล้วก็เข้าสู่อรัญญราวป่าฯ ฝ่ายพระเจ้าธรรมเสนบรมกษัตริย์กับพระราชมเหสีก็เสด็จกลับเข้าพระนครฯ

ในกาลเมื่อเสด็จถึงประตูเมือง พระองค์ทอดพระเนตรบุรุษแก่คนหนึ่งนั่งเป็นทุกข์อยู่ในที่นั้น จึงมรพระราชโองการตรัสถามว่า เหตุไฉนบุรุษแก่ท่านจึงมานั่งเป็นทุกข์อยู่ในที่นี้ บุรุษนั้นจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ จำเดิมแต่เกล้ากระหม่อมเกิดมา จนอายุถึงเพียงนี้แล้ว บุตร ภรรยา ก็หามีไม่ ข้าพระบาทจึงมานั่งเศร้าโศกอยู่ในที่นี้ฯ พระองค์ได้สดับฟังบุรุษแก่กราบทูลดังนั้นฯ จึงตรัสว่าเราจะยกพระราชมเหสีให้เป็นทานบารมีอันยิ่งแก่ท่าน ตรัสแล้วก็จับเอาข้อพระหัตถ์พระราชมเหสีลงจากยานุมาศ พาพระนางเข้าไปให้ใกล้บุรุษแก่นั้นแล้วตรัสว่า ท่านจงมารับเอาองค์พระราชมเหสีของเราไปโดยเร็วเถิด เรายกให้เป็นทานแก่ท่านบัดนี้ แล้วก็หลั่งอุทกวารีให้ตกลงเหนือมือบุรุษแก่ แล้วก็ประกาศด้วยวาจาปรารถนาว่า เดชะผลทานที่เราได้ยกนางลัมภุสสราชเทวีอัครมเหสีให้แก่ท่านครั้งนี้ ขอให้เป็นปัจจัยแก่พระสร้อยสรรเพชุดาญาณเถิดฯ ในกาลครั้งนั้น อัศจรรย์ก็บังเกิดมีแผ่นดินไหวเป็นอาทิ ดุจสำแดงมาแล้วแต่หนหลังฯ ครั้นบุรุษแก่ได้รับพระราชทานพระราชมเหสีแล้ว จึงมีวาจาปราศรัยกับพระนางว่า ดูก่อนเจ้าผู้เจริญ ตัวของเรานี้เป็นคนแก่เฒ่า อนึ่งเล่าทรัพย์สมบัติทั้งปวงก็ไม่มี ดังฤาเจ้าจะอยู่ด้วยพี่ได้ฯ

ครั้นพระเจ้าธรรมเสนได้ทรงฟังบุรุษแก่กล่าววาจากับด้วยพระนางดังนั้น จึงทรงคิดว่าเราจะยกราชสมบัติให้กับบุรุษแก่เสียแล้วจะออกทรงบรรพชาเป็นดาบสเห็นว่าจะประเสริฐ ดำริดังนี้แล้วจึงให้หาตัวบุรุษผู้นั้นมา แล้วก็พระราชทานราชสมบัติทั้งปวงให้แก่บุรุษนั้น แล้วก็ร้องประกาศตั้งความปรารถนาดุจในหนหลัง อัศจรรย์ก็บังเกิดเหมือนแต่ก่อนฯ แล้วก็ทรงพระอธิษฐานว่า ดูก่อนอัฐบริขารทั้ง ๘ ประการ เชิญมายังสำนักแห่งเราในกาลบัดนี้ ในขณะนั้นอันว่าเครื่องบริขารบรรพชิตทั้ง ๘ ประการ ก็เลื่อนลอยมาตกลงตรงพระพักตร์ดุจดังว่ามีจิตวิญญาณ พระบรมโพธิสัตว์ก็ทรงเพศบรรพชาเป็นดาบส เจริญบริกรรมภาวนา ยังอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ให้บังเกิดขึ้นเหมือนครั้งก่อน แล้วก็เหาะไปในอากาศลงยังป่าพระหิมพานต์ เข้าไปสู่สำนักแห่งหมู่พระฤาษีทั้งหลายฯ

ในกาลครั้งนั้น ยังมีพระอริยะสาวกองค์หนึ่ง แห่งพระโกนาคมนเจ้า เข้าไปสำราญอยู่ในป่าพระหิมพานต์ พระฤาษีทั้งหลายได้ทัศนาเห็นพระอรหันต์อันวิเศษมาก็มีความเลื่อมใสไหว้กราบสักการบูชาพระอริยสาวกเจ้า นิมนต์ให้ยับยั้งอยู่สิ้นราตรีหนึ่ง ครั้นรุ่งขึ้นเป็นเวลาเช้าพระดาบสธรรมเสนบรมโพธิสัตว์นั้น ก็เหาะมายังสำนักสมเด็จพระโกนาคมนเจ้าพร้อมด้วยพระอริยสาวก แล้วก็เข้าไปกราบนมัสการแทบพระบาทมูลแห่งสมเด็จพระสัพพัญญู พิจารณาดูทวัตติงสมหาบุรุษลักษณะ แล้วก็เกิดความโสมนัสยินดีขึ้นมา จึงกราบทูลอาราธนาพระโกนาคมนเจ้าให้ตรัสพระสัทธรรมเทศนาฯ ครั้งนั้นสมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเจ้าจึงทรงพระมหากรุณาตรัสพระสัทธรรมเทศนาว่าฯ ดูก่อนธรรมเสนดาบสผู้เจริญ บัดนี้สมควรตัวท่านจะพินิจพิจารณาซึ่งกิริยาอันจะให้ไปสู่เมืองแก้ว คือพระอมตมหานครนิพพาน จึงจะชอบแก่ตัวท่านฯ จึงมีพระพุทธฎีกา ตรัสเป็นนัยคัมภีรภาพด้วยประการดังนั้น

พระธรรมเสนดาบสได้สดับก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธา คิดว่าจะตัดซึ่งเศียรเกล้าออกกระทำสักการบูชาพระสัทธรรมเทศนา แห่งสมเด็จพระโกนาคมนเจ้าเถิด จึงกระทำอธิษฐานเล็บของพระองค์ให้คมดุจดาบ ตรัสซึ่งเศียรเกล้าให้ขาด แล้วก็วางไว้ในฝ่าพระหัตถ์ ชูขึ้นกระทำสักการบูชาสมเด็จพระพุทธเจ้า กล่าวเป็นพระคาถาตั้งความปรารถนาว่า พระองค์ทรงพระนามว่าพระโกนาคมนเจ้า ได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูผู้ประเสริฐแล้ว นานไปในอนาคตกาลเบื้องหน้า ข้าพระบาทขอปรารถนาให้ได้สำเร็จพระศรีสรรเพ็ชญ์พุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ด้วยศีลทานของข้าพระบาทนี้ อนึ่งเล่าพระองค์ผู้ทรงพระมหากรุณาเป็นที่พึ่งแก่ไตรโลกแล้ว จะล่วงลับดับขันธ์เข้าสู่เมืองแก้วก่อนข้าพระบาทเล่า ข้าพระบาทขอปรารถนาให้สำเร็จพระนิพพานในกาลเบื้องหน้า ด้วยเดชะผลศีลทานของข้าพระบาทในครั้งนี้ฯ กล่าวพระคาถาเป็นใจความสองข้อด้วยประการดังนี้แล้ว ดาบสธรรมเสนก็จุติไปบังเกิดในดุสิตาสวรรค์ อัศจรรย์ก็บังเกิดมีดุจในหนหลังฯ

อันว่าช้างนาฬาคีรีเป็นบรมโพธิสัตว์แต่ครั้งสาสนาพระโกนาคมน์ ได้สร้างพระบารมีมาเป็นอันยิ่ง นานไปเบื้องหน้าจะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระติสสะสัพพัญญูฯ
แสดงมาด้วยเรื่องราว ช้างนาฬาคีรีหัตถีบรมโพธิสัตว์คำรบ ๙ ก็สิ้นเนื้อความยุติลงแต่เท่านี้ฯ
เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้

59
กัณฑ์ที่ ๔

( สตฺถา สารปุตฺต นรสีหสฺส สาสนากาเล อติกฺกนฺเต มหาปฐวิยา โยชนมตฺตํ
อภิรุฬฺหาย มณฺฑกปฺเป ติสฺโส จ สุมงฺคโล จ เทฺว พุทฺธา อุปฺปชฺชิสฺสนฺตีติ อิมํ ธมฺมเทสนํ กเถสีติฯ )

( อนุสนธิพระสัทธรรมเทศนา มีปุพพาปรสืบเนื่องมาโดยลำดับ บัดนี้จะได้วิสัชนา
ในประวัติกาลแห่งสมเด็จพระพิชิตมารญาณสัพพัญู ทรงพระนามว่า ติสสะ ต่อไป ดำเนินเนื้อความว่า สตฺถา )




พระติสสะ (ช้างนาฬาคีรี)

สมเด็จพระจอมโมลีศรีสรรเพ็ชร์พุทธเจ้าของเรา ตรัสแก่พระสารีบุตรเถระเจ้าว่า ในเมื่อสิ้นศาสนาพระนรสีหะแล้ว แผ่นอินมัณฑกัปก็เกิดไฟประลัยโลกพินาศสังหารล้างผลาญโลกให้ฉิบหาย จนเกิดกัปป์ตั้งแผ่นดินขึ้นมาใหม่ในกาลนั้นเป็นสุญญกัปแผ่นดินหนึ่ง ในเมื่อสุญญกัปฉิบหายล่วงแล้วและเกิดแผ่นดินขึ้นมาใหม่มรนามว่ามัณฑกัปอีกเล่า พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ จะบังเกิดในมัณฑกัปป์นั้น
- คือช้างนาฬาคีรีหัตถี ที่พระเทวทัตให้พระเจ้าอชาตศัตรูปล่อยออกมา ปรารถนาจะให้แทงองค์สมเด็จพระพุทธเจ้านั้น ก็เป็นบรมโพธิสัตว์สัพพัญญูพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระติสสะสัพพัญญู
- คือช้างปาลิไลยหัตถีนั้นตัวหนึ่ง ก็เป็นบรมโพธิสัตว์จักได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าพระสุมงคลพระพุทธเจ้า
สองพระองค์นั้นได้ตรัสในมัณฑกัปป์อันเดียวกัน แต่ช้างธนบาลหัตถีคือนาฬาคีรีนั้นจักได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าก่อน ทรงพระนามว่าพระติสสะสัพพัญญูพุทธเจ้า เมื่อพระติสสะสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสนั้น
- พระองค์มีพระวรกายสูงได้ ๘๐ ศอก
- ไม้ไทรเป็นไม้พระศรีรัตนมหาโพธิ
- มีพระชนมายุยืนได้ ๘ หมื่นปี เป็นกำหนด
- พระพุทธรัศมีสว่างเสมอดังเปลวเพลิง อันสุกรุ่งเรืองยังโลกธาตุทั้งปวงให้สว่างไปสิ้นทั้งกลางวันกลางคืน
- พระพุทธรัศมีที่พุ่งผุดออกจากพระสรีรกายเป็นเกลียวอันเดียวกัน แล้วก็แตกออกไปเป็นสีต่างๆ ก็มี
- พระพุทธรัศมีอย่างหนึ่งเวียนเป็นทักขิณาวัฏ เวียนขวาขาวดุจสีสังข์
- พระพุทธรัศมีอย่างหนึ่ง ปรากฏเป็นพุ่มกลุ่มออกไป เปรียบประดุจเศวตฉัตรก็มี
- พระพุทธรัศมีอย่างหนึ่งพุ่งพวยเรียวรีดเร็วออกไปนั้น เปรียบเหมือนชายธงก็มี
- พระพุทธรัศมีที่ออกจากพระสรีรกายแล้วล้อมพระองค์ไว้นั้น ห้อยย้อยแพรวพราวเป็นสายงามประดุจดังว่าระบายสายเศวตฉัตร ประมาณพันหนึ่งก็มี
- ตกว่าพระพุทธรัศมีทั้งหลาย ที่ออกจากพระสรีรกายนั้น ดูเป็นช่อพัวพันพระองค์อยู่โดยรอบคอบ ควรจะเกิดมหัศจรรย์ยิ่งนัก
- ครั้งนั้นด้วยเดชาพระพุทธานุภาพ เกิดไม้กัลปพฤกษ์ขึ้นมา ให้สำเร็จประโยชน์แก่หมู่มนุษย์ทุกสิ่งทุกประการ มิได้ขัดสนได้บริโภคเลี้ยงชีวิต ประดับประดาสรรพาภรณ์ทั้งหลายทั้งปวงเป็นผาสุกภาพโดยสะดวกฯ

ดูก่อนสำแดงธรรมเสนาบดีสารีบุตร อันว่าช้างนาฬาคีรีหัตถีบรมโพธิสัตว์นั้น ได้กระทำกุศลสร้างพระบารมีมาเป็นอันมากอยู่แล้ว แต่กองพระบารมีครั้งหนึ่งปรากฏเป็นยอดยิ่งพระบารมี เป็นปรมัตถคุณอันล้ำเลิศประเสริฐในโลกนี้ มีพระพุทธฎีกาฉะนี้แล้วจึงนำมาซึ่งอดีตนิทานมาตรัสพระสัทธรรมเทศนาว่า อตีเต กาเล ในอดีตกาลล่วงลับไปแล้วช้านาน เมื่อครั้งศาสนาพระโกนาคมน์เจ้านั้น ช้างนาฬาคีรีหัตถีตัวนี้เป็นพระราชโอรสผู้ใหญ่แห่งสมเด็จบรมกษัตริย์พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระยาธรรมราชผู้ประเสริฐ เสวยศิริราชสมบัติในจำปากนคร บรมกษัตริย์พระธรรมราชนั้น มีโอรสผู้ชาย ๕ พระองค์ ช้างธนบาลหัตถีนาฬาคีรีตัวนี้ เป็นบรมโพธิสัตว์ได้เป็นพระราชโอรสผู้ใหญ่มีนามว่า ธรรมเสนกุมาร ๑ น้องรองลงไปชื่อว่า ภัททกุมารองค์ ๑ ชื่อว่ารามกุมารองค์ ๑ ชื่อว่าปมาทกุมารองค์ ๑ ชื่อว่าธัชชกุมารองค์ ๑ เป็นพระราชกุมาร ๕ พระองค์ด้วยกัน

ครั้งนั้นสมเด็จพระราชบิดาสั่งให้พระราชโอรสทั้ง ๕ พระองค์นั้น ไปเรียนศิลปศาสน์ในสำนักแห่งทิศาปาโมกข์อาจารย์ ณ เมืองตักศิลา พระราชกุมารทั้งหลายก็ไปเรียนได้วิชชาศิลปะศาสตร์คนละอย่างละอย่าง
- เจ้าธรรมเสนกุมารผู้เป็นพระเชษฐาพี่ชายใหญ่นั้น รู้วิชชาการกล่าวแก้ในทานและศีลเป็นศิลปศาสตร์ฯ
- เจ้าภัททกุมารนั้น รู้วิชชาศรธนูอันมีพิษเป็นศิลปศาสตร์ฯ
- เจ้ารามกุมารนั้น รู้วิชชาดอกไม้ไฟเป็นศิลปะศาสตร์ฯ
- เจ้าปมาทกุมารนั้น รู้วิชชาช่างทองเป็นศิลปะศาสตร์ฯ
- เจ้าธัชชกุมารนั้น รู้วิชชามนต์บำราบอสรพิษเป็นศิลปะศาสตร์ฯ
อันว่าพระราชกุมารทั้ง ๕ พระองค์เรียนได้ชำนิชำนาญแล้ว ก็ลาอาจารย์ออกจากเมืองตักศิลามาถึงกรุงจำปากนครแล้ว ก็เข้าไปยังสำนักสมเด็จพระราชบิดา ถวายบังคมแล้งจึงกราบทูลสำแดงศิลปะศาสตร์แห่งตนที่เรียนมา ถวายแก่สมเด็จพระบิดาต่างๆกัน สมเด็จพระบิดาได้ทัศนาเห็นศิลปศาสตร์ของพระราชโอรสก็ดีพระทัยนัก ตรัสสรรเสริญพระราชกุมารทั้งหลาย แล้วก็พระราชทานบำเหน็จรางวัลให้พระราชโอรสตามสมควร



อยู่จำเนียรกาลมา พระราชโอรสมีวัยเจริญขึ้น สมควรที่จะครอบครองศิริราชสมบัติได้แล้ว ส่วนสมเด็จพระราชบิดานั้นทรงคิดว่าเรามีความเสน่หาในลูกทั้งหลายเป็นอันมาก เมื่ออยู่พร้อมกันทั้ง ๕ คนนี้แม้เรายกสมบัติให้แก่ลูกผู้ใดแล้ว ลูกทั้งหลายที่ไม่ได้ราชสมบัติ ก็จะเกิดรบพุ่งฆ่าฟันกันชิงเอาราชสมบัติเป็นอันแท้ ด้วยว่าราชกุมารทั้งหลายนี้ ล้วนมีศิลปศาสตร์เรียนมาแต่สำนักอาจารย์ทั้งสิ้น ถ้าชาวเมืองทั้งหลายอื่นๆสรรเสริญซึ่งศิลปศาสตร์ของกุมารคนใดแล้ว เราก็จะยกศิริราชสมบัติให้แก่กุมารคนนั้น เมื่อพระองค์ทรงจินตนาดังนี้แล้ว ก็สั่งให้จัดแจงแต่งนาวาไว้พร้อม จึงได้หาพระราชกุมารทั้ง ๕ พระองค์มา แล้วตรัสว่าดูก่อนเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นลูกรักของบิดา บิดาได้ทรงทราบว่าเจ้าทั้งหลายเรียนศิลปะศาสตร์ได้คนละอย่างต่างๆกัน บิดาก็มีความยินดี บัดนี้เจ้าจงพากันไปในพระนครอื่น แล้วจงสำแดงศิลปศาสตร์ให้มนุษย์ชาวเมืองเห็น ถ้ามหาชนทั้งหลายในเมืองอื่นนั้น กล่าวชมสรรเสริญศิลปศาสตร์ ของเจ้าคนใด บิดาจะยกศิริราชสมบัติให้แก่เจ้าผู้นั้นมีพระราชโองการตรัสดังนั้นแล้ว ก็ให้พระราชกุมารทั้งหลายไปในสาคร

.เมื่อพระราชกุมารทั้งหลายไปถึงท่ามกลางมหาสมุทรเข้าแล้ว ฝ่ายพระราชกุมารมีเจ้าภัททกุมารเป็นอาทิ ซึ่งเป็นพระอนุชาแห่งเจ้าธรรมเสนบรมโพธิสัตว์ทั้ง ๔ พระองค์ ไม่มีสติปัญญาสำคัญผิดคิดมิชอบ หลงใหลไปในท้องสมุทร
- ครั้งนั้นเจ้าภัททกุมารเข้าใจว่าลูกศรอันเป็นพิษ ที่อาจารย์สั่งสอนมานั้นว่า มีอยู่ภายใต้ท้องพระมหาสมุทร โดยคิดว่าเราจะโจนลงไปในน้ำ สำแดงศิลปศาสตร์ภายใต้ท้องพระมหาสมุทร มีชัยชนะได้ลูกศรอันมีพิษขึ้นมา เมื่อพระบิดาได้ทรงฟังว่าเรามีชัยก็จะยกศิริราชสมบัติให้แก่เรา เจ้าภัททกุมารคิดดังนี้แล้ว ก็โจนลงไปในท้องมหาสมุทร ครั้งนั้นมหามัจฉาปลาใหญ่ก็กินกุมารนั้นเสียฯ
- ครั้นสำเภาแล่นไปในเบื้องหน้า จนถึงเวลาเที่ยงคืน น้ำในท้องมหาสมุทรเป็นสีพราย เปรียบเหมือนดอกไม้ไฟ เจ้ารามกุมารสำคัญในใจว่าเพลิงดอกไม้ไฟนั้น มีอยู่ในท้องมหาสมุทรถ้าเราลงไปเอาขึ้นมา ทราบถึงพระบิดาก็จะยกศิริราชสมบัติให้แก่เรา คิดแล้วก็โจนลงไปในท้องมหาสมุทร ปลาใหญ่ก็กินกุมารนั้นเสียฯ
- ครั้นเวลารุ่งสว่างขึ้นมา ถึงตะวันเที่ยงสำเภาแล่นไป เจ้าปมาทกุมารนั้น เห็นดวงพระอาทิตย์ปรากฏในท้องพระมหาสมุทร ก็สำคัญว่าทองคำเนื้อบริสุทธิ์ปราศจากราคีมีอยู่ในน้ำ ถ้าเราลงไปดำเอาขึ้นมาได้ เห็นว่าชัยชนะจะพึงมีแก่อาตมา พระบิดาทรงทราบแล้วก็จะยกศิริราชสมบัติให้แก่เรา คิดแล้วก็โจนน้ำดำลงไป ปลาใหญ่ก็กินกุมารนั้นเสียฯ
- สำเภาแล่นไปจนถึงเมืองหนึ่งเข้า เจ้าธัชชกุมารนั้นขึ้นไปในเมือง เพื่อจะสำแดงศิลปะศาสตร์ของตน จึงร่ายมนต์แล้วก็แปลงกายเป็นอสรพิษเลื้อยไปในท่ามกลางมหาชนทั้งหลาย ชาวเมืองเห็นงูร้ายเลื้อยมาดังนั้นก็ชวนกันกลุ้มรุมตีด้วยไม้ค้อนก้อนดิน กระทำให้พินาศฉิบหายตายอยู่ในที่นั้นฯ
ตกว่าพระราชกุมารทั้ง ๔ ตายสิ้น ด้วยศิลปะศาสตร์ของอาตมาอันหาปัญญาสำคัญมิได้ ด้วยคิดวิปลาสผิดไป ก็ได้ซึ่งความฉิบหายดังนั้น

ยังเหลืออยู่แต่เจ้าธรรมเสนกุมารผู้เป็นพี่ชาย อาศัยอยู่ในเมืองนั้น ยังมีพระฤๅษีทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่น มาแต่ป่าหิมพานต์ เหาะมาโดยอากาศเวหาลงในเมืองนั้น แล้วก็เข้าไปโคจรบิณฑบาตในท่ามกลางเมือง เจ้าธรรมเสนกุมารทัศนาเห็นพระดาบสทั้งหลายเดินตามกันมาเป็นอันมาก จึงคิดว่าเรารู้วิชาการศิลปศาสตร์มาแต่สำนักตักศิลา ก็เรียนมามากอยู่แล้วยังไม่เหาะไปในอากาศได้ พระดาบสทั้งหลายเหล่านี้ ล้วนแต่เหาะได้ด้วยกันสิ้นทุกองค์ จะเป็นเหตุดังฤาหนอ จำจะเข้าไปไต่ถามพระดาบสดูสักหน่อย คิดแล้วเจ้าธรรมเสนก็เข้าไปหาพระดาบสทั้งหลายถามว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้านี้เหาะได้ด้วยเหตุดังฤา พระดาบสทั้งหลายจึงตอบว่า ดูก่อนมาณพพระฤาษีทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมไปอาศัยอยู่ในมหาวันต์ราวป่าใหญ่ แล้วได้ซึ่งวิชาการเหาะได้ในอากาศ เหตุดังนั้นเราจึงได้มาถึงเมืองนี้ฯ เจ้าธรรมเสนกุมารจึงว่า ข้าพเจ้าก็มีศิลปะศาสตร์เชี่ยวชาญชำนาญอยู่ ในเมืองจำปากนครหาผู้จะเสมอมิได้ เหตุไรข้าพเจ้าจึงมิอาจเหาะไปได้ฯ ถ้าข้าพเจ้ารู้วิชชาศิลปะศาสตร์เหาะได้ด้วยอุบายของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะขอเป็นทาสของพระผู้เป็นเจ้า ขอพระผู้เป็นเจ้าจงได้กรุณาข้าพเจ้าด้วยเถิดฯ พระดาบสได้ฟังพระราชกุมารว่าดังนั้นก็มีความเอ็นดูกรุณา แล้วจึงแสดงอิทธิฤทธิ์พากุมารธรรมเสนนั้น เหาะไปยังป่าหิมพานต์ ให้ธรรมเสนราชกุมารบวชเป็นดาบส แล้วก็สอนให้กระทำสมถะบริกรรมภาวนาเจริญฌาน ยังอภิญญาสมาบัติให้บังเกิดบริบูรณ์ ได้ซึ่งตาทิพย์ รู้จิตผู้อื่น ระลึกชาติหนหลังได้ ทรงอิทธิฤทธิ์ เป็นศิลปศาสตร์อันประเสริฐ

พระดาบสธรรมเสนนั้น ได้ซึ่งของอันวิเศษแล้ว ก็คิดว่าเราจะไปแสดงศิลปศาสตร์ให้พระราชบิดาเห็นเป็นอัศจรรย์ คิดแล้วก็ลาพระดาบสทั้งหลายด้วยวาจาว่าจะไปแสดงศิลปศาสตร์แก่พระราชบิดา กราบนมัสการลาพระดาบสแล้วก็เข้าฌานกระทำอิทธิฤทธิ์เหาะมา ในอากาศเวหา มีเฉพาะหน้าเมืองจำปากะฯ ชาวเมืองเห็นพระดาบสธรรมเสนก็ชวนกันสรรเสริญยิ่งนักหนา ฝ่ายพระดาบสธรรมเสนก็เข้าไปสู่สำนักพระราชบิดา พระธรรมราชาธิราชทอดพระเนตรเห็นพระโอรสทรงเพศเป็นบรรพชิตดาบสเข้ามาหาดังนั้น ก็บังเกิดความเสน่หาเป็นอันมาก ยังพระธรรมเสนดาบสราชโอรสให้นั่งบนตัก แล้วก็ตรัสไต่ถามประพฤติเหตุทั้งปวงว่า ดูก่อนพ่อพระกนิษฐ กุมารทั้ง ๔ คนนั้น ไปอยู่ในที่ดังฤา จึงมาแต่พ่อผู้เดียวดังนี้ฯ พระดาบสธรรมเสนจึงเล่าความแต่หนหลัง ตั้งแต่ต้นจนอวสานให้พระบิดาฟังสิ้นทุกสิ่งทุกประการฯ สมเด็จพระเจ้าธรรมราชาธิราชได้ทรงฟัง จึงตรัสว่า ดูก่อนพ่อธรรมเสนผู้ลูกรัก บัดนี้บิดาแก่ชราอายุมากแล้ว บิดาจะยกศิริราชสมบัติมิ่งมไหศวรรย์เศวตฉัตรมอบให้ในกาลบัดนี้ฯ เมื่อพระธรรมเสนดาบสได้สดับฟังพระบิดาตรัสดังนั้นก็รับเอาศิริราชสมบัติไว้ตามพระบิดาให้ฯ

60
พระเทวเทพ (สุภพราหมณ์)
ในกาลเมื่อสิ้นพระศาสนาของพระรังสีมุนีแล้ว มัณฑกัปป์ที่ทรงพระพุทธเจ้าทั้งสองพระองค์นั้นก็ล่วงลับดับสูญไป เกิดแผ่นดินขึ้นมาใหม่ ก็ชื่อว่ามัณฑกัปทรงพระพุทธเจ้าสองพระองค์เหมือนกัน คือสุภพราหมณ์บุตรแห่งโตไทยพราหมณ์นั้นคนหนึ่ง เป็นบรมโพธิสัตว์ จะได้ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า พระเทวเทพสัพพัญญูฯ กับโตไทยพราหมณ์นั้นคนหนึ่งเป็นบรมโพธิสัตว์จะได้ตรัสเป็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระนรสีหสัพพัญญู ในมัณฑกัปป์อันเดียวกันฯ

สุภพราหมณ์บรมโพธิสัตว์จะได้ตรัสเป็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก่อนนั้นทรงพระนามว่า พระเทวเทพ
- มีสรีรกายสูงได้ ๘๐ ศอก
- มีพระชนมายุยืนได้ ๘ หมื่นปี
- ไม้จำปาเป็นพระมหาโพธิ
- ประกอบด้วยพระพุทธรัศมียังโลกธาตุทั้งปวงให้สว่างรุ่งเรืองอยู่เป็นนิจจกาล ปราศจากฤดูเย็นและร้อน อันว่าฉัพพรรณรังสีทั้ง ๖ ประการ มีสัณฐานเปรียบเหมือนช่อฝักบัวเมื่อยังอ่อนๆอยู่นั้น
- ด้วยเดชะพุทธานุภาพ พื้นแผ่นปฐพีบังเกิดข้าวสาลี มีกลิ่นโอชารสหอมวิเศษ
- และต้นไม้กัลปพฤกษ์ ประกอบไปด้วยสรรพสิ่งต่างๆ มนุษย์ทั้งหลายได้อาศัยบริโภคข้าวสาลีและประดับประดาสรีรกาย มิได้กระทำการถากไร่ไถนาค้าขาย ผิวพรรณแห่งมนุษย์ทั้งหลายนั้นก็งามผุดผ่องเป็นสีทองโดยปรกติ ถึงไม่แต่งตัวก็งามอยู่เองเป็นอัตรา ด้วยสรีรกายนั้นเหลืองเป็นสีทองเนื้อละเอียดเป็นอันดีงามฯ

ดูก่อนสำแดงสารีบุตร พระเทวเทพสัพพัญญูเจ้า ครั้งเมื่อเป็นบรมโพธิสัตว์ ได้สร้างพระบารมี ๑๐ ประการ บริบูรณ์ด้วยทานและศีล แต่กองพระบารมีครั้งหนึ่งเป็นยอดพระบารมี ปรากฏเป็นปรมัตถบารมีมกุฏทาน เหตุดังนั้นพระองค์จึงได้ซึ่งพระพุทธสมบัติเป็นอันมาก ตรัสดังนั้นแล้วจึงนำซึ่งอดีตนิทานมาตรัสพระสัทธรรมเทศนาว่า อตีเต กาเล ในอดีตกาลล่วงลับไปแล้วช้านาน สุภพราหมณ์นี้เมื่อครั้งศาสนาสมเด็จพระโกนาคมน์สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้บังเกิดเป็นพระยาฉัททันต์ตัวประเสริฐ อาศัยอยู่แทบฝั่งฉัททันต์สระที่ป่าหิมพานต์ ครั้งหนึ่งพระอัญญาโกณฑัญญเถระเจ้า ผู้เป็นพระสาวกแห่งสมเด็จพระโกนาคมน์เจ้า มีพระชนมายุสังขารจวนจะสิ้นแล้ว เข้าสู่นิพพานแทบฝั่งฉัตรทันต์สระ ในกาลครั้งนั้น อันว่าพระยาช้างศรีเศวตมงคลขาวขาวสะอาดดังไกลาสเงินยวงเป็นอันงาม ก็มีความปรารถนาซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ พระบรมฉัตรทันตชาติคชสารตัวประเสริฐ บังเกิดเป็นโพธิสัตว์เสพอาศัยอยู่ในขอบฝั่งสระนั้น ครั้นเที่ยวไปได้ทัศนานุตตริยาคุณเห็นกองบุญก็บังเกิดความยินดีโสมนัสที่ได้พบเห็นพระสรีรกายแห่งองค์พระขีณาสพ พระอัญญาโกณฑัญญเถระ พระยาช้างเผือกผู้โพธิสัตว์จึงตั้งจิตอธิษฐานลงว่า เราจะกระทำการปลงพระสรีรกายพระมหาสาวกนั้นในประเทศนี้ แล้วก็ร้องประกาศแก่ฝูงเทพยดาทั้งหลายว่า เชิญท่านมาช่วยด้วย อันว่ากองกุศลใดเราได้กระทำไว้แต่ชาติปางก่อนแม้นมีอยู่แล้วขอจงมาอุปถัมภกยกเอาเลื่อยทิพย์อันหนึ่งมาให้ในสำนักแห่งเรา ด้วยเดชะกองกุศลของพระยาช้างตั้งจิตอธิษฐานดังนั้น อันว่าเลื่อยทิพย์ก็บันดาลลอยมาตกลงตรงหน้าแห่งพระยาช้าง พระยาช้างก็ตัดงาทั้งสองให้ขาดแล้วก็เอางาของตัวข้างหนึ่งกระทำเป็นโกศ อีกข้างหนึ่งกระทำเป็นรูปนกยูงทองประดับเป็นอันงาม จะกระทำฌาปนกิจเผาสรีรกายพระขีณาสพนั้นฯ
จึงมีคำพระอาจารย์กล่าวโจทย์ว่า พระยาช้างฉัตรทันต์เป็นชาติเดียรฉาน เหตุดังฤาจึงเอางาของอาตมากระทำเป็นโกศ มีรูปนกยูงทองประดับเป็นอันงามได้ พึงให้นักปราชญ์ผู้มีปัญญากล่าววิสัชนาแก้ด้วยประการดังนี้ว่า พระยาช้างฉัตรทันต์นั้นเป็นสัตว์เดียรัจฉานก็จริงแล แต่ว่าเป็นบรมโพธิสัตว์ก่อสร้างพระบารมีมามากแล้ว เดชะพระบารมีทั้งหลายของพระยาช้างก็ร้อนขึ้นไปถึงอาสน์แห่งสมเด็จอมรินทราธิราช จึงมีเทวบัญชาสั่งพระวิษณุกรรมเทพบุตร ให้ลงมานิรมิตสรรพการเครื่องฌาปนกิจทั้งปวงสำเร็จแล้ว

ครั้งนั้นพระยาช้างแก้วก็ถอนเอาผมในศีรษะของอาตมากระทำเป็นไส้ประทีปตามถวายเป็นเครื่องสักการบูชา ฝ่ายว่าช้างบริวารทั้งหลายก็มาประชุมแวดล้อมพร้อมกันทั้ง ๘ หมื่น ๔ พัน กระทำสมโภชรื่นเริงบันเทิงใจเล่นเป็นโกลาหลด้วยพวกพลช้างนั้นถ้วนถึง ๗ วัน แล้วก็เชิญอสุภกัมมัฏฐาน คือพระกเฬวระสรีรกายพระขีณาสพเจ้าออกจากโกศยกขึ้นวางในรูปนกยูงทอง จึงเอาแก่นจันทร์แดงมีกลิ่นอันหอมลงรองเรียบไว้เป็นอันดี แล้วก็ตั้งลงซึ่งพระอสุภกัมมัฏฐานแห่งองคืพระขีณาสพเจ้า แล้วจึงเชิญขึ้นวางไว้บนเศียรเกล้าของอาตมา แล้วก็เอาเพลิงจุดเผาพระศพสรีร ณ เบื้องบนแห่งศีรษะตนนั้น ครั้นเตโชธาตุเผาผลาญสังหารพระสรีรศพย่อยยับลงแล้ว รูปนกยูงทองที่เป็นเชิงตะกอนซึ่งตั้งอยู่บนศีรษะพระยาช้างนั้น ก็ประดุจดังว่ามีจิตวิญญาณแล้วก็บินไปบนอากาศเวหา อันว่าอสุภกัมมัฏฐานแห่งองค์พระขีณาสพเจ้านั้นก็อันตรธานสาบสูญหายไปสิ้น มิได้มีเศษแต่พระสรีรธาตุทั้งหลายนั้นตกลงเรี่ยรายอยู่บนแผ่นดิน ในที่นั้นฝูงเทพยดาทั้งหลายก็ตกแต่งเจดีย์บรรจุพระสรีรธาตุไว้

ในกาลนั้นพระยาช้างฉัตรทันต์จึงกระทำปณิธานความปรารถนาว่า เดชะที่ข้าพเจ้าได้เลื่อยงาทั้ง ๒ ของข้าพเจ้ากระทำเป็นเครื่องสักการบูชาพระอสุภกัมมัฏฐานของพระสาวกเจ้านี้ ขอให้เป็นปัจจัยได้สำเร็จแก่พระสร้อยเพชชุดาญาณ ในอนาคตกาลเถิดฯ ครั้นพระยาช้างสิ้นชีวิตก็ได้ขึ้นไปบังเกิดในดุสิตเทวโลก เป็นเทพบุตรเสวยทิพยสมบัติในวิมานอันเกษมนิราศภัยฯ

ดูก่อนสำแดงสารีบุตรผู้เจริญ อันว่าสุภพราหมณ์นี้ แต่ครั้งพระโกนาคมน์เจ้าได้ก่อสร้างพระบารมีดังนี้ จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระเทวเทพสัพพัญญูผู้ประเสริฐในอนาคตกาลโน้น
แสดงมด้วยเรื่องราวพระสุภพราหมณ์บรมโพธิสัตว์คำรบ ๗ ก็ยุติแต่เพียงนี้ฯ




พระนรสีหะ (โตไทยพราหมณ์)
ในเมื่อพระศาสนาแห่งพระเทวเทพสัพพัญญูเจ้านั้นเสื่อมสูญสิ้นแล้ว ในมัณฑกัปนั้น โตไทยพราหมณ์ผู้เป็นบรมโพธิสัตว์จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าสืบต่อไปทรงพระนามว่า พระนรสีหสัพพัญญู สมเด็จพระพุทธเจ้านรสีหะนั้น มีพระกายสูงได้ ๖๐ ศอก ประกอบไปด้วยพระพุทธรัศมีรุ่งเรืองสว่างเป็นอันงาม ประดุจดังดวงแก้วมณีโชติแห่งสมเด็จบรมจักร พระองค์มีพระชนมายุ ๘๐ ปี เป็นกำหนดอายุขัย มีไม้แคฝอยเป็นพระมหาโพธิ ด้วยเดชานุภาพของพระองค์แผ่นดินบังเกิดมรข้าวสาลีอันหอม ประกอบไปด้วยโอชารสเป็นปรกติ มนุษย์ทั้งหลายได้อาศัยบริโภคข้าวสาลีเลี้ยงชีวิต แล้วเกิดมีไม้กัลปพฤกษ์ต้นหนึ่ง ประกอบไปด้วยสิ่งของมีประการต่างๆบังเกิดมีในไม้กัลปพฤกษ์นั้น มนุษย์ทั้งหลายก็มีรูปงามมีผิวพรรณเหลืองดังสีทอง ถึงมิได้ตกแต่งสรีรกายด้วยเครื่องประดับก็งามอยู่เองเป็นปรกติ มนุษย์ทั้งหลายมีความสุขเป็นอันมาก สมเด็จพระนรสีหะนั้นแม้เสด็จอยู่ในที่ใดแล้ส เศวตฉัตรแก้วก็บังเกิดขึ้นมากางกั้นพระองค์อยู่เป็นนิจจกาล จะได้เปล่าจากเศวตฉัตรแก้วนั้นหามิได้ ด้วยพระบารมีคุณของพระองค์ ทรงพระอุตสาหะก่อสร้างมาพร้อมทั้ง ๑๐ ประการ แต่กองพระบารมีครั้งหนึ่งปรากฏเป็นมหัศจรรย์ยกขึ้นเป็นยอดมิ่งมงกุฎพระบารมีเป็นปรมัตถคุณ ควรนักปราชญ์ทั้งหลายจะกล่าวสรรเสริญ เหตุดังนั้นพระนรสีหสัพพัญญูจึงได้พระพุทธสมบัติเห็นปานดังนี้ฯ

ดูก่อนสารีบุตรผู้เป็นพระยาธรรมของพระตถาคต ในเมื่อว่างพระศาสนาแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือพระกัสสปสัพพัญญู และศาสนาพระตถาคตต่อกันนั้น เป็นกาลควรพระพุทธเจ้าจวนจะมาตรัสอยู่แล้ว ในท่ามกลางระหว่างศาสนานั้น โตไทยพราหมณ์ผู้นี้เกิดเป็นวาณิชผู้หนึ่ง มีชื่อว่านันทมาณพ ไปเที่ยวค้าขายในประเทศต่างๆ ครั้งหนึ่งยังมีพระปัจเจกโพธิเจ้าองค์หนึ่ง เสด็จไปเที่ยวโคจรบิณฑบาต นันทมาณพเห็นองค์พระปัจเจกโพธิเจ้าก็บังเกิดมีความเลื่อมใสศรัทธายกเอาผ้ากำพลสีแดงผืนหนึ่งกับทองแสนตำลึง กระทำเป็นเครื่องไทยธรรมถวายแก่พระปัจเจกโพธิเจ้าเป็นมหาบริจาค แล้วจึงตั้งปณิธานความปรารถนาว่า ข้าแต่พระปัจเจกโพธิผู้ตรัสรู้ธรรมวิเศษต่างๆ พระคุณเจริญมากหาที่สุดมิได้ ข้าพเจ้าถวายทานบัดนี้ ขอจงเป็นปัจจัยแก่พระสัพพัญญุตญาณในเบื้องหน้า ด้วยเดชะผลทานนี้ พระปัจเจกโพธิเจ้ารับเอาผ้ากำพลผืนนั้นมาคลุมพระองค์ลง ผ้ากำพลนั้นปกปิดพระองค์โดยรอบคอบยังเหลือแต่พระหัตถ์และพระบาทในเบื้องบนนั้นมีประมาณศอกหนึ่ง นันทมาณพเห็นดังนั้นจึงตั้งความปรารถนาเป็นสองประการอีกเล่าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นานไปในอนาคตเบื้องหน้าโน้น ขอให้ข้าพระพุทธเจ้ามีเดชานุภาพแผ่ทั่วอาณาจักรไปในภายใต้แผ่นพื้นปฐพีนั้นโยชน์หนึ่ง ด้วยเดชะผลทานในครั้งนี้ ครั้นนันทมาณพตั้งความปรารถนาแล้ว พระปัจเจกโพธิเจ้าจึงอนุโมทนาทานของนันทมาณพแล้วคมนาการไปจากที่นั้น ไปถึงกลางมรรคา ยังมีนางกุมารีสาวน้อยผู้หนึ่งเห็นพระปัจเจกโพธิเจ้าห่มผ้าแดงเดินมา นางจึงถามว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญพระเจ้าข้า ผ้าผืนนี้ที่พระผู้เป็นเจ้าห่มมีสีแดงงามบุคคลผู้ใดถวายแก่พระผู้เป็นเจ้า พระปัจเจกโพธิจึงบอกว่า ดูก่อนสีกา ผ็าแดงผืนนี้พาณิชนันทมาณพถวายแก่อาตมา พระเจ้าข้าพระผู้เป็นเจ้าเขาถวายผ้ากัมพลแล้วเขากระทำความปรารถนาดังฤา พระปัจเจกโพธิบอกว่าดูก่อนสีกา มาณพนั้นถวายผ้าแล้วกระทำความปรารถนาสองประการ คือ ปรารถนาพระสัพพัญญูประการหนึ่ง ปรารถนาศิริราชสมบัติประการหนึ่ง นางกุมารีได้สดับดังนั้นจึงยกเอาผ้าของอาตมาถวายแก่พระปัจเจกโพธิเจ้า แล้วก็ตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงพระคุณอันยิ่ง ถ้าแม้ว่ามาณพพาณิชนั้นได้เสวยศิริราชสมบัติเป็นบรมกษัตริย์แล้ว ข้าพเจ้าขอปรารถนาเป็นนางพระยาราชมเหสีแห่งพาณิชผู้นั้น ด้วยเดชะนาง
กุมารีพลอยกระทำบุญตามพาณิชนั้น คนทั้งสองนั้นก็ได้สมัครสังวาสอยู่กินเป็นภรรยาสามีในปัจจุบันชาตินั้นมาแล้ว ก็คิดอ่านการกุศลสร้างศาลาหลังหนึ่งไว้ในที่นั้น ยังให้นายช่างสลักเป็นรูปพระปัจเจกโพธิเจ้า ประดิษฐานตั้งไว้ในศาลา ฝ่ายว่านางกุมารีจึงโกนซึ่งเกศ เอาเกศามาชุบน้ำมันหอมกระทำสักการบูชาพระปัจเจกโพธิเจ้า กระทำผมของต่างไส้ประทีปตามถวาย

ครั้งนั้น คนทั้งสองได้กระทำกุศลด้วยประการดังนี้ ครั้นกระทำกาลกิริยาตายก็ได้ไปบังเกิดในดาวดึงสพิภพเทวโลกเสวยทิพยสมบัติอยู่ช้านาน จนประมาณนับด้วยปีในมนุษย์นี้ได้ ๓ โกฏิ ๖๐ แสนปีเป็นกำหนด ครั้นสิ้นอายุแล้วจุติลงมาเกิดเป็นบรมกษัตริย์ทรงทศพิธราชธรรมทั้ง ๑๐ ประการ เสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงทวารวดีมหานคร ส่วนว่านางฟ้ากุมารีนั้น ก็จุติลงมาเกิดในสกุลมหาเศรษฐี อันประกอบไปด้วยสมบัติมากในกรุงทราวดี ครั้นนางกุมารีธิดาจำเริญชันษาได้ ๑๖ ปี ก็ได้มาเป็นพระราชอัครมหาเศรษฐีแห่งบรมกษัตริย์นั้นทรงพระนามว่า พระมงคลราชเทวี มีแสนสาวสุรางค์แวดล้อมเป็นยศศักดิ์บริวารประมาณ ๑๐ แสน วันหนึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงทราวดีเสด็จแวดล้อมพร้อมด้วยพระสนมข้างในประมาณ ๑๖ แสน ประสงค์พระทัยจะทดลองบุญแห่งพระมงคลราชมเหสีนั้น ให้ปรากฏแก่หมู่สาวสนมทั้งหลาย จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งแก่หมู่นางทั้งหลาย ให้จัดแจงแต่งสำรับเข้าคนละสำรับให้ถ้วนทุกตัวนาง แล้วพระองค์ให้นั่งบริโภคอยู่ตรงหน้าพระที่นั่ง เหล่านางทั้งหลายก็นั่งบริโภคโภชนาหารเป็นปรกติ จะได้เห็นประหลาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งหามิได้ แต่องค์พระมงคลราชมเหสีนั้น นางนั่งอยู่ในที่สุวรรณภาชน์ ล้างพระหัตถ์ลงในที่สุวรรณภาชน์นั้นแล้วก็รับเอาอาหารกระทำเป็นคำขึ้นเข้าไปในพระโอษฐ์ อันว่านิ้วพระหัตถ์ของนางที่จับเอาคำข้าวไว้นั้นก็กลายเป็นทองทุกนิ้วพระหัตถ์ ทุกคำเสวยในที่นั้น ด้วยเดชะผลทานที่พระนางได้ตกแต่งเป็นการกุศลอันประณีตบรรจงแต่บุพพชาติหนหลัง เหล่านางสนมทั้งหลายได้เห็นนิ้วพระหัตถ์พระลงคลราชมเหสี เป็นทองปรากฏแก่อาตมา ก็รู้แจ้งว่านางพระยาเจ้ามีบุญหาควรที่เราท่านทั้งหลายจะเกิดความริษยาหึงหวงไม่ ตั้งแต่วันนั้นมาก็ยำเกรงพระราชมเหสีเป็นอันมากฯ

สมเด็จพระเจ้ากรุงทราวดีนั้นก็มีความเสน่หาในพระมงคลราชมเหสี เสด็จบรรทมเหนือแท่นอันเดียวกัน ก็ได้ทรงตั้งพระนางนั้นไว้ในที่เป็นเอกอัครราชเทวี ผู้มีบุญหานางจะเปรียบเสมอสองมิได้ ด้วยเดชะผลทานของพระนางและของพระองค์ได้กระทำมาเสมอกันแต่บุพพชาติจึงได้เสวยศิริราชสมบัติดังนั้นฯ สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าของเรา ตรัสพระสัทธรรมเทศนาแก่พระสารีบุตรว่า โตไทยพราหมณ์ได้กระทำบุญมาแต่ก่อน จึงได้เสวยสมบัติในสวรรค์และมนุษย์ บัดนี้จึงได้บังเกิดเป็นพราหมณ์ในศาสนาของตถาคต นานไปเบื้องหน้าโน้น โตไทยพราหมณ์จักได้เกิดเป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่านรสีหะ ด้วยเดชะผลทานอันเป็นปรมัตถบารมีปรากฏดุจกล่าวมาฉะนี้
แสดงมาด้วยเรื่องราวโตไทยพราหมณ์ บรมโพธิสัตว์คำรบ ๘ ก็ยุติแต่เพียงนี้ฯ
เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้

หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 17