เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - Webmaster

หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16
196


หลวงตา...ที่ผมรู้จัก
เขียนเล่าเรื่องโดยคุณคนวังหน้า

หลวงตาที่ว่ามิใช่ใครอื่นนอกจาก หลวงตาม้า หรือพระอาจารย์วรงคต วิริยธโร เเห่ง วัดพุทธพรหมปัญโญ (วัดถ้ำเมืองนะ) อ.เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

บทความนี้เป็นบทความที่เขียนขึ้นจากความเคารพรักศรัทธาในความเมตตาเเละคุณธรรมของหลวงตามิได้เขียนเพื่อเหตุพลอื่น เเละนอกจากหลวงพ่อทวด หลวงพ่อดู่เเล้ว หลวงตานี่เเหละเเบบอย่างที่น่าประทับใจ

ย้อนไปเมื่อประมาณ 9 ปี ก่อนผมเองเนื่องจากสมัยนั้นยังไม่รู้จักหลวงตาม้าเลยเเต่ขณะนั้นได้สร้างหลวงพ่อทวดเองเนื่องจากเเรงบันดาลใจส่วนตัวทำเเจกฟรีเเละถวายให้วัดต่างๆเเละหนึ่งในจำนวนวัดต่างๆนั้นมีวัดร้องขุ้ม มีพระอาจารย์สิทธิพงศ์ ศิษย์ครูบาเจ้าบุญปั๋น ท่านได้เเนะนำให้ผมไปกราบหลวงตาม้า ท่านบอกว่าหลวงตาม้าท่านมีเมตตามากเเละท่านเป็นศิษย์หลวงพ่อดู่เเละท่านเองเกี่ยวกับหลวงพ่อทวด

เนื่องจากคำว่าท่านเกี่ยวกับหลวงพ่อทวดจึงเกิดเเรงบันดาลใจว่าจะไปกราบเเต่เนื่องจากเวลาไปเชียงใหม่ผมเองจะต้องไปกราบพระที่กราบทุกครั้ง คือพระอาจารย์เปลี่ยน เเม่เเตงทำให้ไม่มีเวลาไปกราบหลวงตาเป็นเเน่เเต่เเล้วเหมือน วาสนาอำนวย วันนั้นพระอาจารย์เปลี่ยนไม่อยู่ผมกับครอบครั้วจึงขับรถขึ้นถ้ำเมืองนะ เชื่อหรือไม่ว่ากว่าจะถึงเชียงดาวว่านานเเละนึกว่าจะถึงถ้ำเมืองนะเเต่เปล่าเลยขึ้นไปอีกไกลกว่าจะถึงถ้ำก็เกือบ3โมงเย็น

คนกราบหลวงตาท่านในวันนั้นดูเหมือนจะมากเกือบ20กว่าคนผมเองอยู่ ท้ายสุดอยู่กับพ่อเเม่ภาพที่เห็นทั้งกลัวเเละประทับใจระคนกันไปเนื่องจากหลวงตาม้าผมเองเพิ่งเคยเห็นครั้งเเรกเเต่ที่ประทับใจคือรอยยิ้มที่ท่านมีเสมอ หลังจากทุกคนกลับหมดผมเองท่านเข้าไปตอนสุดท้ายเพื่อสอบถามหลายอย่างจากท่าน ท่านเองตอบหมดทุกคำถามเเละหมดทุกข้อสงสัย

วันนั้นจนวันนี้คำสอนท่านยังคงนำมาปฏิบัติอยู่ ท่านบอกว่าหลวงพ่อทวดท่านมาจริงๆอย่างที่เราเห็นอย่าถามหลวงตาเลยถามหลวงพ่อทวดท่านสิถามในสิ่งที่ไม่รู้เเล้วถ้าเราเห็นจริงๆท่านจะสอนเราเองนั่นเเหละ

มาครั้งเเรกผมเองอยากได้เกศาของหลวงตาท่านท่านบอกว่าให้เอาผอบฝากไว้ ไว้มาเอาเที่ยวหน้าผมนึกว่าอย่างไรเสียท่านคงลืมผม

เวลาผ่านไปอีกประมาณเกือบปี ผมไปกราบท่านที่ถ้ำอีกเช่นเคยถามท่านว่า จำผมได้รึเปล่า?

ท่านไม่ตอบท่านเอาผะอบที่ผมฝากท่านไว้ท่านมอบคืนให้พร้อมเกศาของท่านที่บางส่วนกลายเป็นพระธาตุเเล้ว

เเละคราวนั้นเองผมก็ขอบูชาหลวงพ่อทวดหน้าตัก19นิ้วจากท่านเเละหลังจากนั้นผมก็กราบมาเรื่อยๆ

พูดถึงเรื่องวัตถุเเล้วหลวงตาเองท่านให้หมดถ้าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เหมาะสมท่านเองให้ผมไว้มากทีเดียวเเละผมเเจกไปเเล้วนับไม่ถ้วนเหมือนกัน

คนไม่รู้นึกว่าหลวงตาเป็นพระเกจิ(เน้นเสกพระ)จริงๆเเล้วท่านเองเป็นพระที่ปฏิบัติเเม้ผมเองเเม้จะไม่ได้เป็นศิษย์เอกศิษย์วงในหรือใกล้ชิดท่านมากก็ตามเเต่ที่ได้อยู่กับท่านคราวไปฝึกงานที่เชียงใหม่ ทำให้รู้ว่ายามว่างท่านภาวนาเเละพอมีเเขกท่านก็รับเเขกท่านไม่เคยว่าใครให้เจ็บช้ำน้ำใจท่านจะเตือนสำหรับคนที่เตือนได้สิ่งที่หลวงตาไม่พูดไม่ใช่ท่านไม่รู้

ตอนที่ไปอยู่กับหลวงตาที่ถ้ำที่กุฏิท่านคราวละสองสามวันเดือนมกราคมของปีหนึ่งทำให้ผมรู้ว่าหลวงตาท่านตื่นตั้งเเต่ตีสี่ขึ้นมานั่งภาวนาเเละมาเเกะพระปูนที่ท่านเทไปเมื่อเย็นของเมื่อวานเเล้วนำไปเเช่น้ำมนต์หลวงปู่เเล้วท่านก็เทพระปูนเองเเละจารพระด้านหลังเองยกเว้นเเต่มีศิษย์มาช่วยจารเท่านั้นเองท่านทำพระปูนของท่านเองทุกวันเเละที่ผมเห็นคือท่านจะนำผงอัฐิเล็กๆผสมกวนในปูนที่เทพระพร้อมเกสาของหลวงปู่ดู่ใส่ไว้ทุกครั้ง

มีหลายคนบอกว่าอดีตหลวงตาเคยเกิดเป็นพระเจ้า....พระยา..หลวงพ่อ...หลวงปู่....ผมมิอาจบอกได้ว่าหลวงตาท่านเป็นใครในอดีตเเต่ทุกวันนี้ ผมพอใจเเละรักในความเป็นหลวงตาผมรู้จักเเละที่เเน่นอนหลวงตาเป็นอีกหนึ่งพระในดวงใจของผมตลอดไป

หลวงตาเองท่านเกิดที่จังหวัดสกลนครท่านเองเคยเล่าว่าสมัยเด็กๆได้ไปงานศพหลวงปู่มั่น ที่สกลนครด้วยท่านบอกว่างานใหญ่ท่านบอกว่าท่านเองมาหาหลวงพ่อดู่ประมาณปี2519ใกล้ๆกับคุณป้าปราณี เเละท่านเองบวชในหรือบวชใจกับหลวงปู่ดู่หลายปีจนกระทั่งปี2531ท่านได้บวชกับหลวงพ่อหวล วัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา เเละเมื่อมาเชียงใหม่ท่านหลวงตาได้เปลี่ยนญัติมาเป็นธรรมยุติกับหลวงปู่จัน กุศโล วัดเจดีย์หลวง เเละท่านธุดงค์ไปเชียงใหม่พบถ้ำเมืองนะ

โดยหลวงปู่ดู่ท่านบอกเองด้วยตัวท่านว่าถ้ำเมืองนะ พวกเอ็งอย่าไปบอกใครนะ ที่นั้นข้าครอบ...... นับแต่ไปถึงถ้ำเมืองนะหลวงตาท่านท่านเองพัฒนาถ้ำพร้อมเผยเเพร่การสวดมนต์บทจักรพรรดิ์และการปฎิบัติธรรมนั่งสมาธิภาวนามาอย่างยาวนาน

หลวงตาเองท่านต้อนรับศิษย์เหมือนกันหมดท่านเมตตาไม่เลือกยากดีมีจน ท่านเองบอกว่าท่านตามหลวงพ่อดู่ท่านบอกว่า เจอหลวงปู่ดู่เเล้วทำให้ท่าน รู้ว่าพระมีบารมีอย่างนี้หายากท่านเลยปรารถนาตามหลวงปู่

หลวงตาเองท่านเมตตาศิษย์มากใครนิมนต์ไกลเเค่ไหนทุกภาคท่านไปหมดถ้ากิจนั้นเป็นไปเพื่อ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ หลวงตาท่านไม่มีเลขา หรือทศกัณฑ์คอยกีดกันเหมือนพระดังอื่นๆ ศิษย์ใหม่ศิษย์เก่าเข้าถึงหมด

เคยมีคนเอารูปหลวงตาไปให้ครูบาชัยวงศาดูท่านบอกว่า....พระรูปนี้อีกหน่อยจะเป็นตัวเเทนของอาจารย์เขามีพระสุปฏิปัณโณหลายรูปชื่นชมในปฏิปทาหลวงตาเป็นอันมาก......เเต่เหนือสิ่งอื่นใดขอให้ทุกคนรู้ว่า เราทุกคนคือศิษย์หลวงปู่หลวงตา

197


พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย…….เหตุฉะนี้ เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องตั้งใจที่จะรักษาความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยอย่าให้มีอันตรายมาถึงได้… จึงเป็นหน้าที่ของเราทั้งหลายที่เป็นเชื้อชาตินักรบต้องรักษาพระศาสนานี้ให้คงอยู่ในเมืองไทยอีกต่อไป ต้องรักษาไว้เพื่อให้เป็นมรดกแก่ลูกหลานของเราทั้งหลาย….เราจะต้องรักษาความเป็นไทยของเราให้ยั่งยืน เราจะต้องรักษาพระพุทธศาสนาให้ถาวรวัฒนาการอย่างที่เป็นมาแล้วหลายชั่วโคตรของเราทั้งหลาย

องค์ประกอบของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนามีองค์ประกอบที่สำคัญ ๔ ประการ คือ
๑. ศาสนวัตถุ เช่น วัดวาอาราม โบสถ์ วิหาร สถูปเจดีย์ พระพุทธรูป สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนา
๒. ศาสนพิธีหมายถึง พิธีกรรม ระเบียบประเพณีทางพระพุทธศาสนา เช่น พิธีทำบุญ พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ พิธีบวช พิธีทอดกฐิน ทอดผ้าป่า
๓. ศาสนบุคคล หมายถึง บุคคลในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระภิกษุ สามเณร พุทธศาสนิกชนทุกคน
๔. ศาสนธรรม หมายถึง หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา กล่าวโดยย่อ ได้แก่ ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิและปัญญา

ศาสนธรรม เป็นแก่นแท้ของศาสนาที่จะต้องพยายามให้เข้าถึงส่วนศาสนวัตถุ ศาสนพิธี และศาสนบุคคล เป็นเปลือกหรือกะพี้ ซึ่งก็มีความสำคัญเพราะช่วยห่อหุ้มแก่นไว้ เหมือนเปลือกกะพี้ต้นไม้ที่หุ้มห่อแก่นของต้นไม้ไว้ ต้นไม้ที่มีแต่แก่น หากไม่มีเปลือกและกะพี้ห่อหุ้มไว้ไม่อาจจะอยู่ได้นานฉันใด พระสัทธรรมที่ขาดศาสนวัตถุ ศาสนพิธี และศาสนบุคคล ก็ไม่อาจอยู่ได้นานฉันนั้น

การส่งเสริมพระพุทธศาสนาจึงต้องส่งเสริมองค์ประกอบทั้ง ๔ ของพระพุทธศาสนา คือ รักษาส่งเสริมศาสนวัตถุให้อยู่ในสภาพที่ดี เช่น รักษาวัดวาอารามให้สะอาด น่ารื่นรมย์ ให้เหมาะสมเป็นสถานที่ศึกษาและปฏิบัติธรรม รักษาและปฏิบัติตามศาสนพิธี คือ พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาให้ถูกต้อง สนับสนุนการศึกษา การปฏิบัติธรรม และการเผยแผ่ธรรมของพระสงฆ์ ส่งเสริมพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนได้มีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงในพระพุทธศาสนา ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา รักษาและปฏิบัติตามศาสนธรรมที่เป็นคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่สัทธรรมปฏิรูปหรือสัทธรรมปลอม ป้องกันสัทธรรมปฏิรูปหรือสัทธรรมปลอมเข้ามาในพระพุทธศาสนา ในภาวะวิกฤตของสังคมไทยเช่นในปัจจุบัน การก่อสร้างศาสนวัตถุใหญ่โตที่ไม่จำเป็น ซึ่งต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากและรบกวนประชาชน ควรจะระงับไว้ก่อน สิ่งที่ควรจะสร้างในปัจจุบัน คือ "คน" คือ พยายามนำธรรมะให้เข้าถึงคน และพยายามนำคนให้เข้าถึงธรรมะ ให้คนได้มีธรรมะเป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ อย่าอยู่อย่างคนที่ไร้ที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยว เมื่อมีมรสุมพัดมาก็อาจจะถูกมรสุมพัดพาไปสู่ภัยพิบัติได้โดยง่าย

พระพุทธศาสนากับชาติไทย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาธีรราชเจ้า ได้ทรงพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับชาติและศาสนา มีข้อความดังนี้

" ชาติกับศาสนาเป็นสิ่งต่อเนื่องกัน ถ้าชาติพินาศแล้วศาสนาก็จะตั้งอยู่ไม่ได้ ถ้าศาสนาเสื่อมทรามจนสูญสิ้นไปแล้ว ประชาชนก็จะมีคุณธรรมย่อหย่อนลงไป จนท้ายไม่มีอะไรเลย ชาติใดไร้คุณธรรม ชาตินั้นก็ต้องถึงแก่ความพินาศล่มจม คงต้องเป็นข้าชาติอื่นที่มีคุณธรรมบริบูรณ์อยู่ "

ในเทศนาเสือป่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งถึงพระพุทธศาสนา มีข้อความดังนี้

" พุทธศาสนาเป็นของไทย เรามาชวนกันนับถือพระพุทธศาสนาเถิด ผู้ที่แปลงศาสนา คนเขาดูถูกยิ่งกว่าคนที่แปลงชาติ เพราะเหตุฉะนั้น เป็นความจำเป็นที่เราทั้งหลายผู้เป็นไทยจะต้องมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาสำหรับชาติเรา "

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมหาราช ได้ทรงมีพระราชดำรัสแด่พระสันตปาปา จอห์นพอลที่ ๒ ประมุขแห่งศาสนจักร คาทอลิก ในคราวที่เข้าเฝ้า ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๗ มีข้อความตอนหนึ่งว่า

" คนไทยเป็นศาสนิกชนที่ดีทั่วกัน ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ "

" ชาวไทยซึ่งเป็นพุทธมามกะชน มีจิตสำนึกมั่นคงอยู่ในกุศลสุจริตและในความเมตตากรุณา เห็นว่าศาสนาทั้งปวงย่อมสั่งสอนความดี ให้บุคคลประพฤติปฏิบัติแต่ในทางที่ถูก ที่ชอบ ที่เป็นประโยชน์ ให้ใฝ่หาความสงบสุขความผ่องใสให้แก่ชีวิต ทั้งเรายังมีเนติแบบธรรมเนียมให้ต้อนรับนับถือชาวต่างชาติต่างศาสนาด้วยความเป็นมิตร แผ่ไมตรีแก่กันด้วยเมตตาจิตและด้วยความจริงใจ บริสุทธิ์ใจ มิให้ดูแคลนเบียดเบียนผู้ถือสัญชาติและศาสนาอื่น ด้วยจะเป็นการนำความแตกร้าวและความรุนแรงเดือดร้อนมาให้ ดังนี้ คริสต์ศาสนาจึงเจริญงอกงามขึ้นในประเทศนี้ "

พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ ได้ทรงประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะทศพิธราชธรรม

ทศพิธราชธรรมเป็นธรรมของพระราชาและนักปกครอง มี ๑๐ ประการ คือ
๑. ทาน การให้ ทั้งวัตถุทาน ธรรมทาน และอภัยทาน
๒. ศีล ความประพฤติดีงาม งดเว้นจากการทำชั่ว เสียหาย ไม่ทำอะไรที่เป็นการไม่เหมาะไม่ควร
๓. ปริจจาคะ การเสียสละ ยอมเสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
๔. อาชชวะ ความตรง คือประพฤติซื่อตรง ไม่คิดทรยศต่อประชาชนและประเทศชาติ
๕. มัททวะ ความอ่อนโยน มีกายวาจาสุภาพ อ่อนโยน ต่อคนทั้งปวง
๖. ตปะ ความเพียร เพียรปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างสม่ำเสมอ ไม่ลดละเบื่อหน่าย มีความกล้าหาญไม่อ่อนแอย่อท้อ
๗. อักโกธะ ความไม่โกรธ ไม่ลุอำนาจของความโกรธ และกระทำไปด้วยอำนาจของความโกรธ
๘. อวิหิงสา การไม่เบียดเบียน ไม่ทำอะไรให้เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีจิตประกอบด้วยกรุณาคิดช่วยเหลือผู้อื่น
๙. ขันติ ความอดทน มีความอดทนต่อความลำบาก ตรากตรำทั้งปวง อดทนต่อถ้อยคำที่จาบจ้วงล่วงเกิน
๑๐. อวิโรธนะ ความไม่ผิด จะทำอะไรก็ศึกษาพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดเมื่อรู้ว่าอะไรผิดก็ไม่ทำ
พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ยังทรงเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภ์ ทรงให้ความอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
" คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่ว ท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วย มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐินเดือนหนึ่งจึงแล้ว…"
กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฎฐารศ มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม มีปู่ครูนิส (สัยมุต) มีเถร มีมหาเถร เบื้องตะวันตกเมืองสุโขทัยนี้ มีอรัญญิก พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทานแก่มหาเถรสังฆราชปราชญ์ เรียนจบปิฎกตรัย หลวกกว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา ในกลางอรัญญิก มีพิหารอันหนึ่งมนใหญ่สูงงามแก่กม มีพระอัฎฐารศอันหนึ่งลุกยืน เบื้องตะวันออกเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีปู่ครู…


พระนเรศวรมหาราช
" พระบาทสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า จึงตรัสประกาศแก่เทพยดาทั้งปวงว่า ให้บังเกิดมาในประยูรมหาเศวตฉัตรจะให้บำรุงพระบวรพุทธศาสนา ไฉนจึงมิช่วยให้สว่างแลเห็นข้าศึกเล่า พอตกพระโอษฐ์ลง พระพายก็พัดควันอันเป็นหมอกมืดนั้นสว่างไป ทอดพระเนตรเห็นช้างเศวตฉัตร ๑๖ ช้าง มีช้างดั้ง ช้างกันยืนอยู่เป็นอันมาก…"

พระนารายณ์มหาราช
"พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ จะให้เราเข้ารีดดังนั้นหรือ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะในราชวงศ์ของเราก็ได้นับถือพระพุทธศาสนามาช้านานแล้ว จะให้เราเปลี่ยนศาสนาอย่างนี้เป็นการยากอยู่ และถ้าพระเจ้าผู้สร้างฟ้าสร้างดินจะต้องการให้คนทั่วโลกได้นับถือศาสนาอันเดียวกันแล้ว พระเจ้ามิจัดการให้เป็นเช่นนั้นเสียแล้วหรือ?"
" จริงอยู่เมื่อฟอลคอน ในเวลาหมอบอยู่ข้างพระบาท พระเจ้ากรุงสยามได้แปลคำชักชวนที่
พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ได้รับสั่งมากับราชทูตนั้น ฟอลคอนก็กลัวจนตัวสั่นและสมเด็จพระนารายณ์ทรง
พระกรุณาโปรดให้อภัยแก่ฟอลคอน แต่ก็ได้รับสั่งว่า ได้ทรงนับถือศาสนาอันได้นับถือต่อ ๆ กันมาถึง ๒,๒๒๙ ปีแล้ว เพราะฉะนั้นที่จะให้พระองค์เปลี่ยนศาสนาเสียนั้น เป็นการที่พระองค์จะทำไม่ได้ "


สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก
ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา
ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา
แด่พระศาสดา สมณะ พระพุทธโคดม
ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี
สมณะพราหมณ์ชี ปฏิบัติ ให้พอสม
เจริญสมถะ วิปัสสนา พ่อชื่นชม
ถวายบังคม รอยบาท พระศาสดา
คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า
ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา
พุทธศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา
พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน


พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

" ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนาจะป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรี "
" แล้วมีพระราชโองการปฏิสันถารแก่เจ้าพระยาและพระยาทั้งปวงว่า " สิ่งของทั้งนี้ จงจัดทำนุบำรุงไว้ให้จงดี จะได้ป้องกันรักษาแผ่นดิน ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และพระราชอาณาเขตสืบไป " แล้วอัครมหาเสนาบดีรับพระราชโองการกราบบังคมทูลว่า " ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทใส่เกล้าใส่กระหม่อม ขอเดชะ " แล้วเสด็จกลับขึ้นข้างในเสด็จประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ…

ครั้นเสร็จการฉลองพระนครแล้ว จึงพระราชทานนามพระนครใหม่ให้ต้องกับนามพระพุทธรัตนปฏิมากรว่า " กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรัมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธ์" เป็นพระมหานครที่ดำรงรักษาพระมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นแก้วอย่างดีมีสิริอันประเสริฐ สำหรับพระบารมีของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ประดิษฐานกรุงเทพมหานครนี้ ตั้งแต่พระราชทานนามนี้มา บ้านเมืองก็อยู่เย็นเป็นสุขเกษมสมบูรณ์ขึ้น (ครั้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลงสร้อยที่ว่าบวรรัตนโกสินทร์นั้นเป็นอมรรัตนโกสินทร์ นอกนั้นคงไว้ตามเดิม)


พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

"ศุภมัสดุ ๑๑๗๙ ศก…พระบาทสมเด็จบรมธรรมมิกมหาราชารามาธิราช บรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว…ทรงพระราชศรัทธาจะยกรื้อวิสาขบูชามหายัญพิธีอันขาดประเพณีมานั้น ให้กลับคืนเจรียรฐิติกาลปรากฏสำหรับแผ่นดินสืบไป จะให้เป็นอัตตัตถประโยชน์และปรัตถประโยชน์ ทรงพระราชศรัทธาจะให้สัตว์โลก ข้าขอบขัณฑเสมาทั้งปวงจำเริญอายุและอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์ภัยในชั่วนี้แลชั่วหน้า... "


พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

" ด้วยกำลังทรงพระมหากรุณาเมตตากับไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเป็นอันมาก ทรงพระกรุณาดำรัสให้จดหมาย (คือ จด) กระแสพระราชโองการปฏิญาณยกพระนามพระรัตนตรัยสรณาคมน์ อันอุดมเป็นประธานพยานอันยิ่ง ให้เห็นความจริงในพระบรมหฤทัยแล้วทรงพระราชดำรัสยอมอนุญาต ให้เจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม พระยาศรีพัฒน์รัตนราชโกษา พระยาราชสุภาวดีกับขุนนางผู้น้อยทั้งปวง จงมีความสโมสรสามัคคีรสปรึกษาพร้อมกัน เมื่อเห็นว่าพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดที่มีวัยวุฒิปรีชารอบรู้ราชานุวัตร จะเป็นศาสนูปถัมภกยกพระบวรพุทธศาสนา แลจะปกป้องไพร่ฟ้าอาณาประชาราษฎร์รักษาแผ่นดินให้เป็นสุขสวัสดิ์โดยยิ่ง เป็นที่ยินดีแก่มหาชนทั้งปวงได้ ก็สุดแท้แต่จะเห็นดีประนีประนอมพร้อมใจกันยกพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์นั้นขึ้นเสวยมไหสวรรยาธิปัตย์ราชสืบสัตติวงศ์ดำรงราชประเพณีต่อไปเถิด อย่าได้กริ่งเกรงพระราชอัธยาศัยเลย เอาแต่ให้ได้เป็นสุขทั่วหน้า อย่างให้เกิดการรบราฆ่าฟันกันให้ได้ความ ทุกข์ร้อนแก่ราษฎร…"

198


ครั้งหนึ่งมีลูกศิษย์หลวงปู่ได้มาเล่าให้ท่านฟังว่า ได้เคยไปร่วมพิธีกรรมจัดสำเภาทัวร์สวรรค์ ซึ่งอ้างถึงพุทธบริษัท มีพระพุทธเจ้าเป็นผู้จัดการบริษัท ญาติโยมเป็นหนึ่งในบริษัททั้งสี่ ให้มาทำพิธีเสริมสิริมงคล หลวงปู่ท่านก็ไม่ว่าอะไร จนมาถึงการทำพาสปอร์ตเพื่อไปสวรรค์ หลวงปู่ท่านจึงพูดขึ้นว่า

“ของข้าไม่ต้องทำหรอก พาสปอร์ต ขอให้แกว่า พุทธัง ธัมมัง สังฆัง ไม่ต้องไปทำหรอกทั้งพาสปอร์ต ทั้งวีซ่า ข้ารับรอง”

คำพูดของหลวงปู่ ท่านเน้นถึงการปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง เพื่อตนเอง และได้ด้วยตนเอง เพราะถ้ามีวิธีการเช่นนี้จริงแล้ว พระพุทธองค์ก็คงไม่ต้องเปลืองคำสอนถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระผู้มีเมตตา กรุณาคุณอันยิ่งใหญ่แห่งสามโลก คงใช้วิธีการแบบนี้มานานแล้ว พวกเราคงได้ไปสวรรค์ นิพพานกันได้สมตามความปรารถนา

199


ครั้งหนึ่ง น่าจะในราวประมาณปี ๒๕๓๐ มีรถบัสเข้ามาจอดที่วัดสะแก จากนั้นก็มีคนแต่งชุดขาวจำนวนหลายคนเดินออกมา ตรงไปที่กุฎิหลวงปู่ ซึ่งขณะนั้นมีลูกศิษย์หนุ่มสาวอยู่ไม่กี่คน

คนชุดขาวเหล่านั้น จะว่ามากราบนมัสการท่านก็หามิได้ เพราะเมื่อมาถึงที่หน้ากุฏิท่านแล้ว ก็พากันนั่งหลับตา หันไปทางหลวงปู่ ท่าทางเหมือนจะพยายามนั่งสมาธิเพ่งใส่หลวงปู่ สักครู่คนที่เป็นหัวหน้าก็มานั่งรวมอยู่ด้วย

ลูกศิษย์หลวงปู่ที่อยู่ในเหตุการณ์ ก็งง ๆ ไม่เข้าใจว่าพวกเขามาทำไมกัน แล้วทำไมไม่พูดไม่จา เอาแต่นั่งประจัญหน้ากับหลวงปู่ จากนั้นไม่นานนัก ผู้ที่ดูว่าจะเป็นหัวหน้าคณะ ก็ลุกเดินออกไปอาเจียนที่หน้าบันไดทางขึ้น จากนั้น สานุศิษย์ที่เหลือของเขาก็พากันลุกเดินไปขึ้นรถ

ลูกศิษย์หลวงปู่ มาเข้าใจในภายหลังว่าพวกคณะรถบัสที่มานี่ เขาเที่ยวตระเวนลองของ ลองกำลังจิตครูบาอาจารย์ พอดีมาเจอของจริง ก็เลยแพ้ภัยตัวเอง ไม่รู้ว่าพวกเขาจะไปปรามาสครูอาจารย์ที่ไหนต่ออีก แต่อย่างน้อย จากประสบการณ์ที่ได้มาพบหลวงปู่ ก็น่าจะทำให้เขาสำนึกขึ้นบ้างว่า "ของจริงยังมีอยู่"

200


พุทธนิมิตร...หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
(บทความจากหนังสือกายสิทธิ์)

การตอบคำถามของหลวงพ่อแก่ศิษย์ช่างสงสัยอย่างข้าพเจ้า บางครั้งท่านไม่ตอบตรงๆ แต่ตอบด้วยการกระทำ การแสดงให้ดู และการตอบของท่านก็ยังความอัศจรรย์ให้เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าและเพื่อนๆเป็น อย่างยิ่ง ดังเหตุการณ์เมื่อครั้งที่เกิด "พุทธนิมิต" เมื่อคืนวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 6 ก่อนวันวิสาขบูชาปี พ.ศ. 2528 หนึ่งคืนที่วันสะแก

เหตุเริ่มแรกเกิดจากเมื่อตอนกลางวันในวันนั้น ข้าพเจ้าได้มากราบนมัสการหลวงพ่อที่วัด พร้อมกับพกพาเอาความสงสัยสองเรื่อง คือ เวลาที่หลวงพ่อหลวงปู่ทั้งหลาย ท่านจะไปช่วยลูกศิษย์ที่อยู่ห่างกันคนละที่ในเวลาเดียวกัน ท่านไปได้อย่างไร พร้อมกับเรื่องนี้ ในวันนั้นข้าพเจ้าได้นำรูปปาฏิหาริย์ของครูอาจารย์ท่านอื่นๆ ที่ศิษย์ของท่านเหล่านั้นถ่ายภาพ ได้รวบรวมมาถวายให้หลวงพ่อท่านดู มีภาพของพระอาจารย์มหาปิ่น หลวงปู่ขาว หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาฯ และพระอาจารย์จวน ด้วยความงวยงงสงสัย ข้าพเจ้าจึงถามท่านว่าภาพเหล่านี้ถ่ายกันจริง หรือ ว่าทำขึ้นมา

หลวงพ่อท่านพิจารณาดูรูปเหล่านั้นทีละใบจนครบ ใช้เวลาประมาณหนึ่งนาที แล้วรวบเข้าไว้ด้วยกัน ยกมือไหว้ แล้วบอกข้าพเจ้าว่า "ข้าโมทนาสาธุด้วย ของจริงทั้งนั้น" ดังนั้น จึงไม่มีคำอธิบายอื่นใดอีกนอกจากนี้

ครั้นตกเวลากลางคืนประมาณสองทุ่ม ข้าพเจ้ากับเพื่อนๆ มาที่กุฏิหลวงพ่ออีกครั้ง มีลูกศิษย์มากมายต่างมาสรงน้ำหลวงพ่อในโอกาสวันคล้ายวันเกิดท่าน...วันวิสาข ปุรณมี เมื่อคณะที่มาสรงน้ำหลวงพ่อเดินทางกลับไปหมด เหลือแต่ข้าพเจ้าและเพื่อนๆ พวกเราขออนุญาตหลวงพ่อถ่ายรูปกับท่านไว้เป็นที่ระลึก ข้าพเจ้าจำได้ดีว่าเมื่อหลวงพ่ออนุญาตแล้ว จากนั้นท่านก็นั่งนิ่ง ไม่ขยับเขยื้อน ไม่เคลื่อนไหวใดๆ ทั้งสิ้น ศิษย์ตากล้องผลัดกันถ่ายภาพได้ประมาณสิบภาพ แล้วทุกคนก็กราบนมัสการท่านอีกครั้ง บรรยากาศคืนนั้น ข้าพเจ้ามีความรู้สึกที่แปลกไปกว่าทุกวัน จำได้ว่าบริเวณกุฏิหลวงพ่อเย็นสบาย... เย็นเข้าไปถึงจิตถึงใจข้าพเจ้าอย่างยิ่ง

เมื่อนำฟิล์มทั้งหมดไปล้าง ปรากฏว่ามีภาพปาฏิหาริย์ "พุทธนิมิต" เกิดขึ้น ส่วนแรกเป็นภาพพุทธนิมิต คือ เป็นภาพพระพุทธเจ้าที่ถ่ายได้โดยไม่มีวัตถุที่เป็นพระพุทธรูป เหตุอัศจรรย์อีกประการหนึ่งคือเป็นภาพที่อยู่ต้นฟิล์มที่มิได้ตั้งใจถ่าย เป็นภาพที่ผู้ถ่ายต้องการกดชัตเตอร์ทิ้ง ส่วนที่สองเป็นภาพหลวงพ่อโดยมีแสงสีเป็นรังสีต่างๆ รอบๆองค์ท่าน

สำหรับข้าพเจ้าแล้ว นี่เป็นการตอบคำถามที่หลวงพ่อเมตตาตอบข้าพเจ้าที่ได้ถามท่านไว้สองคำถามเมื่อตอนกลางวัน ภาพ "พุทธนิมิต" เป็นการตอบคำถามที่ว่าเวลาที่หลวงพ่อหรือหลวงปู่ทั้งหลายท่านจะไปช่วยลูก ศิษย์ที่อยู่ห่างกันคนละที่ในเวลาเดียวกัน ท่านไปได้อย่างไร ส่วนภาพหลวงพ่อดู่ที่มีแสงสีเป็นรังสีต่างๆรอบๆองค์ท่าน ก็เป็นการตอบต่อคถามที่ว่า ภาพครูอาจารย์องค์ต่างๆ ที่ข้าพเจ้านำมาถวายให้ท่านดูนั้น "เป็นของจริง" ข้าพเจ้าเชื่อแน่เหลือเกินว่า หลวงพ่อคงมิได้ตอบคำถามข้าพเจ้าเพียงสองคำถามเท่านั้น จึงขอฝากท่านผู้รู้ที่ได้เห็นภาพเหล่านี้ให้นำไปพิจารณาด้วยดี ก็จะได้รับประโยชน์อีกมากทีเดียว

หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ ข้าพเจ้าได้นำภาพเหล่านี้มาถวายให้หลวงพ่อดู่และกราบเรียนขอคำอธิบายจากท่าน ท่านตอบอย่างรวบรัดว่า "เขาทำให้เชื่อ" หลวงพ่อเน้นเสียง สีหน้าเกลื่อนยิ้มด้วยเมตตา

202


ศิษย์ :หลวงตาครับ สมัยผมเป็นเด็ก ผู้ใหญ่เค้าคนเห็นเปรต เห็นอะไรกันง่าย เดี๋ยวนี้ไม่เห็น ?

หลวงตาม้า : มีนะ ตอนที่ไปสวดที่วัด ที่สุพรรณ ส่งวิญญาณน่ะ เปรตเยอะมากเลยวัดนี้ วัดไผ่ลงวัว

ศิษย์ : อ๋อ ที่เขาทำเป็นนรกจำลองไว้ใช่มั้ยครับ ?

หลวงตา : ไม่ใช่ เปรตจริงๆนะ ไอ้นั่นมันเปรตจำลองเฉยๆ พวกเปรต อสุรกายเยอะ เกิดจากคนแถวนั้น ที่ใดที่มีผลประโยชน์มาก ไม่เข้าใจเรื่องการชำระหนี้สงฆ์ ไม่ได้มารักษาศีลภาวนา มันเป็นวัดที่ก็ต้องหาเงินมาเพื่อจะสร้างวัตถุ ใช่มั้ย เป็นวัตถุให้คนกราบ ให้คนมาเที่ยวกราบ มันก็ยาก มันยากทุกวันนี้ มันไม่ใช่ง่ายๆหรอก หลวงปู่ดู่ท่านสอนวิธีแก้ให้หมดแหล่ะ อยู่วัดทำยังไง ปฏิบัติยังไง ภาวนายังไง อยู่วัดเนี่ยอานิสงส์มาก แล้วก็กรรมมากด้วย บุญมาก ก็กรรมมาก ฮึฮึ ถ้าไม่เข้าใจก็ยาก...

ศิษย์ : บางทีจิตก็ไปล่วงเกินพระ…

หลวงตา : มันก็มีนะ มันไม่มีไม่ได้หรอกนะ ใช่มั้ย ไม่มีไม่ได้ เรายังแยกแยะระหว่างพลังงานความคิดไม่ได้ คือสติยังไม่มีนะ คือถ้าจิตเข้าไตรสรณคมน์แล้วเนี่ย พอจิตติดอะไรเนี่ย มันจะแก้เองโดยสภาพของจิต โดยสภาพของพลังงานที่มันเกิดขึ้น โดยสภาพของกระแส

ศิษย์ : แล้วก็มีบางคนบอกว่า เวลานั่งแล้วใจชอบไปปรามาสพระอะไรบางอย่าง คือนึกไม่ดีอะไรอย่างนี้?

หลวงตา : ต้องรีบโยโทโสฯ

ศิษย์ : โยโทโสฯ ทันทีเลยเหรอครับ ?

หลวงตา : ทันทีเลยนะ เพื่อเอาพลังงานใหม่ล้าง ลบ

ศิษย์ : มันเกิดจากอะไร ?

หลวงตา : มันเกิดจากการปรามาสที่มาในอดีตนะ

ศิษย์ : อ๋อ มันติดมา ?

หลวงตา : ติดมาจากในอดีต... นี่ก็เป็น

ศิษย์ : หลวงตาก็เป็น ?

หลวงตา : เป็นนะ ใหม่ๆก็เป็นเหมือนกัน เป็นนานเลยล่ะ เป็นปี

ศิษย์ : ก็คือ โยโทโสฯ ไปเรื่อย ๆ จนกว่ามันจะหาย ?

หลวงตา : มันไม่คิดเพราะว่า ถ้าคิดเดี๋ยวมันก็ต้องโยโทโสฯใหม่อีก มันก็เลยไม่คิด

ศิษย์ : ยิ่งเรียนมาก ยิ่งจะทำผิดเยอะ ยิ่งรู้มาก ก็ยิ่งคิดมาก คิดไปนั่นไปนี่...

หลวงตา : ไม่ได้นะ ห้ามคิดอย่างนั้น ให้จับภาพแล้วภาวนาเลย ..ความคิดมันเป็นอุปาทาน ถ้าช่วงที่เราทำกรรมฐานแล้วมันคิดต้องให้เป็นเหมือนกันเป็นไตรสรณคมน์ หรือ จักรพรรดิ จับภาพให้ได้

ศิษย์ : เวลาเราจะฝากกระแสบุญนี่เราจะต้องอธิษฐาน ทำยังไงบ้างครับ?

หลวงตา : ตั้งสัจจะและอธิษฐานเอา สิ่งที่ข้าพเจ้าทำ ทำเพื่อศาสนาอย่างเดียวเลยฮะ ศาสนา ชาติ พระมหากษัตริย์ มันตั้งตรงนี้โดยตรง ไม่ได้ตั้งเพื่ออะไร มันเป็นเรื่องของโพธิญาณโดยตรง

ศิษย์ : เพื่อต่ออายุพระศาสนา ก็คือฝากไปเป็นทอดๆ?

หลวงตา :ใช่... คือว่ายังต้องเวียนว่ายตายเกิด จิตยังไม่พ้นจากความทุกข์ 0b9ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ยังต้องเกิด ใช่มั้ย... เกิดก็ต้องเกิดกับคน เราก็อยากเกิดกับคนดีใช่มั้ย... เราก็หากระแสที่ดี กระแสที่ดีเราก็หากระแสที่ดี กระแสที่ไม่ดีเราก็อย่าไปเกิด

ศิษย์ : ท่านวางกระแสไว้เลือกได้เหรอครับ?
หลวงตา : เอ้า... ทุกวันนี้เราก็เลือกอยู่แล้วนะ ทุกวันนี้เราก็เลือกกินอยู่แล้วนะ เลือกอยู่อยู่แล้วนะ เลือกที่จะทำอยู่แล้วนะ เลือกที่จะปฏิบัติอยู่แล้ว แม้แต่ทำงานเรายังเลือกเลยนะ แม้แต่เรียนเราก็ต้องเลือกนะ ฉะนั้นในกาลข้างหน้า ไม่เลือกไม่ได้นะ เราอยากไปเกิดในหมู่ชนที่ไม่ได้เรื่องได้ราวมั้ยล่ะ เราก็ไม่อยากอีกแหล่ะ เราก็ฝากกระแสเยอะๆ ที่กระแสเดียวกันนะ กระแสพุทธะด้วยกัน.. กระแสของกรรมร่วมกัน

ศิษย์ : โดยการฝากไว้ จะต้องมีรูปลักษณ์อะไรบางอย่างมาฝาก?

หลวงตา : มีทั้งรูปและนาม หรือมีแต่นาม ก็ได้

ศิษย์ : มีแต่นามก็ได้?

หลวงตา : ใช่ มีรูปเช่น เทพ พรหมทั้งหลาย เพียงแต่เราอาศัยเขา ตอนนี้เขาอาจจะอาศัยเรา ใช่มั้ย... ในการเพิ่มกำลัง เพิ่มบุญ

ศิษย์ : โดยอาศัยกันไปกันมา ?

หลวงตา : ใช่... พอเราตายไปเป็นเทวดา หรือ เป็นพรหมเนี่ย เขาก็เกิดเป็นมนุษย์อยู่ดีนั่นแหล่ะ ถ้ายังอยู่ มันก็เกี่ยวข้องเกี่ยวพันกันอยู่นี่แหล่ะ มันไม่หนีไปไหนหรอก มันหนีไม่ออก

ศิษย์ : วนไปวนมา?

หลวงตา : เพราะฉะนั้นต้องฝาก ต้องหาเพื่อน หาเพื่อนก็ต้องหาเพื่อนที่ดี

ศิษย์ : ยังไงก็ต้องมีหมู่คณะ?

หลวงตา : ใช่

ศิษย์ :แม้แต่พระปัจเจกฯ ก็ยังต้องมีหมู่คณะ?

หลวงตา : มีนะ แต่ท่านไม่ได้มากมายเท่าไหร่ ไม่มีมากมาย ไม่เอามากมาย มาก็ได้ ไม่มาก็ได้

ศิษย์ : การทำความสะอาดพระพุทธรูปอย่างนี้ก็เป็นพุทธานุสติหรือเปล่าครับหลวงตา?

หลวงตา : ก็นึกถึงพระ มันก็เป็นพุทธานุสติ

ศิษย์ : แล้วถ้าเกิดทำความสะอาดพระพุทธรูปที่บ้าน กับทำความสะอาดพระพุทธรูปที่วัดจะได้อานิสงส์เท่ากันหรือเปล่าครับ ?

หลวงตา : เหมือนกัน ที่บ้านเราก็คือพระพุทธรูป ที่วัดก็คือพระพุทธรูป มันก็ไม่ต่างอะไรกัน

ศิษย์ : ที่บ้านองค์เล็กกว่า (หัวเราะ)

203


ทรรศนะต่างกัน

การมาอยู่ด้วยกัน ปฏิบัติด้วยกันมากเข้าย่อมมีเรื่องกระทบกระทั่งกันเป็นธรรมดา ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนคนธรรมดาอยู่ ทิฐิความเห็นย่อมต่างกัน ขอให้เอาแต่ส่วนดีมาสนับสนุนกัน อย่าเอาเลวมาอวดกัน การปรามาสพระก็ดี การพูดจาจ้วงจาบในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์หรือท่านที่มีศีลมีธรรมก็ดี จะเป็นกรรมติดตัวเราและขัดขวางการปฏิบัติธรรมในภายหน้า ดังนั้น หากใครทำความดี ก็ควรอนุโมทนายินดีด้วย แม้ต่างวัดต่างสำนักหรือแบบปฏิบัติต่างกันก็ตาม ไม่มีใครผิดหรอก เพราะจุดมุ่งหมายต่างก็เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์เช่นกัน เพียงแต่เราจะทำให้ดี ดียิ่ง ดีที่สุด เท่านั้น ขอให้ถามตัวเราเองเสียก่อนว่า แล้วเราล่ะถึงที่สุดแล้วหรือยัง

อุเบกขาธรรม

การอยากชวนคนมาวัด มาปฏิบัติให้มาก ๆโดยลืมดูพื้นฐานจิตใจของบุคคลที่กำลังจะชวนว่า เขามีความสนใจมากน้อยเพียงใด หลวงปู่ท่านบอกว่า
ให้ระวังให้ดีจะเป็นบาป เปรียบเสมือนกับการจุดไฟไว้ตรงกลางระหว่างคน 2 คน ถ้าเราเอาธรรมะไปชวนเขา เขาไม่เห็นด้วย ปรามาสธรรมนี้ซึ่งเป็นธรรมของพระพุทธเจ้า ก็เท่ากับเราเป็นคนก่อแล้วเขาเป็นคนจุดไฟ บาปทั้งคู่ เรียกว่า เมตตาพาตกเหว

หลวงปู่ได้ยกอุทาหรณ์ สอนต่อว่า

เหมือนกับมีชายคนหนึ่งตกอยู่ในเหวลึก มีผู้จะมาช่วย คนที่หนึ่งมีเมตตาจะมาช่วย เอาเชือกดึงขึ้นจากเหว ดึงไม่ไหวจึงตกลงไปในเหวเหมือนกัน คนที่สองมีกรุณามาช่วยดึงอีก ก็ตกลงเหวอีก คนที่สามมีมุทิตามาช่วยดึงอีกก็พลาดตกเหวอีกเช่นกัน คนที่สี่สุดท้ายเป็นผู้มีอุเบกขาธรรมเห็นว่าเหวนี้ลึกเกินกว่ากำลังของตนที่ จะช่วย ก็มิได้ทำประการใดทั้ง ๆ ที่จิตใจก็มีเมตตาธรรมที่จะช่วยเหลืออยู่ คนสุดท้ายนี้จึงรอดชีวิตจากการตกเหวตามเพราะ อุเบกขาธรรมนี้แล

204


ในสมัยที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านจะเตือนมิให้ลูกศิษย์ท่านเที่ยวเอาผลการปฏิบัติหรือสิ่งที่ปรากฏแก่จิต ในขณะปฏิบัติสมาธิภาวนาไปเที่ยวบอกเที่ยวเล่า ท่านว่า "เดี๋ยวดีแตก" เพราะขาดการสำรวมระวังจิต และเปิดโอกาสให้กิเลสความหลงตัวหลงตนเข้าครอบงำได้โดยง่าย พูดภาษาโลก ๆ ก็คือ ใจคนเรามันคอยจะอวดเก่งอยู่แล้วอีก ประการหนึ่ง สิ่งที่ปรากฏก็ล้วนเป็นอาการของจิต หรือเป็นปีติ แล้วเรื่องของปีติแม้ในตำรำตำราจะกล่าวไว้ ๕ ประเภทใหญ่ เช่น ขนลุกขนพอง น้ำตาไหล เห็นแสงสว่าง ฯลฯ เป็นต้น แต่ในภาคปฏิบัตินั้นมีปีติปลีกย่อยเป็นร้อยเป็นพันอย่าง หรืออาจมากกว่านั้น

แล้วปีติทุกประเภทก็เป็นเพียงอาการของจิตที่บอกว่าจิตใกล้เข้าสู่ความสงบแล้วเท่านั้น ปีติมิใช่ตัวชี้วัดว่ากิเลสเราลดลงแต่อย่างใด

ดังนั้น ในหมู่นักปฏิบัติจึงมักไม่ค่อยให้ความสำคัญและไม่นำเอาเรื่องปีติมาซักถาม ครูบาอาจารย์เท่าใดนัก สิ่งที่นำมาถามมักเป็นอุบายเพื่อเข้าถึงความสงบ และอุบายพิจารณาธรรมมากกว่า ยิ่งการเห็นนิมิตด้วยแล้ว ยิ่งไม่นำมาพูด เพราะจิตของเรายังไม่หมดโลภโกรธหลง สิ่งที่เห็นจึงอาจเป็นเพียงสังขารการปรุงแต่งของจิตที่ยังมีกิเลสเท่านั้น พูดเล่าไปแล้ว มักจะเสียมากกว่าได้ ถ้าอัดอั้น ก็ควรเล่าถวายครูบาอาจารย์เพื่อแก้ข้อลังเลสงสัย มากกว่าจะเที่ยวเล่าให้หมู่เพื่อนฟัง เพราะล่อแหลมต่อการให้กิเลสความหลงตัวขึ้นขี่หัว

เล่าปฏิปทาของหลวงปู่ในเรื่องการพูดเล่าผลการปฏิบัติสมาธิภาวนา ก็เพื่อการระมัดระวังไม่ให้ "ดีแตก" นี้ประการหนึ่ง

อีกประการหนึ่ง ปฏิปทาในวงกรรมฐาน เวลาเกิดข้อสงสัยในการภาวนา เขาก็จะพยายามปฏิบัติให้มาก หมั่นพิจารณาและสังเกตให้มาก ก็มักค้นพบคำตอบเอง มิใช่เกิดอาการของจิตทีหนึ่ง ก็จะไปพูดเล่าหรือซักถามครูบาอาจารย์ทุกครั้งไป จนกลายป็นเด็กที่ไม่รู้จักโต พึ่งตัวเองไม่ได้สักที นี่หากครูบาอาจารย์กรรมฐานที่ปฏิบัติอยู่ในป่า ท่านมีอาการทางจิตแปลก ๆ เกิดขึ้น ท่านจะไปหาครูบาอาจารย์ที่ไหนให้ซักถามกันได้บ่อย ๆ นะ

นี้แหละจึงว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน และก็ต้องระวังอย่ามีปฏิปทาเพื่อความหลงตน เพราะจะเสียเป้าหมายเดิมของการปฏิบัติที่ต้องการลดความโลภ ความโกรธ ความหลง

205


ประมาณปี ๒๕๓๑-๒๕๓๒ ญาติโยมที่ไปกราบนมัสการ “หลวงปู่ดู่” ที่ “วัดสะแก” จะพบว่ามีขันและพานที่ใช้ในพิธีรับขันธ์ ๕ วางเรียงต่อกันหลายแถวหลายชั้นจนท่วมศีรษะ

คนจำนวนไม่น้อยที่ "เข้าพิธีรับขันธ์ ๕".. นัยว่าเป็นการเปิดรับกายทิพย์ของหลวงพ่อหลวงปู่ครูบาอาจารย์ต่าง ๆ บ้างก็อ้างว่าเป็นดวงวิญญาณบุรพกษัตริย์ไทยในอดีต หรือเทพเจ้าชั้นผู้ใหญ่ เพื่อเข้ามาคุ้มครองป้องกันภัย หรือเสริมชีวิตให้เกิดความเป็นสิริมงคล แต่แท้จริงแล้ว..

หลวงปู่กล่าวว่า..

"ส่วนใหญ่นั้นหลอกลวงกันแทบทั้งสิ้น หากจะมีก็มักเป็นวิญญาณชั้นต่ำที่มาอาศัยกินเครื่องบวงสรวง.."

หลวงปู่สอนมาโดยตลอดที่จะให้เราฝึกฝนอบรมจิตใจให้บริบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะ แล้วด้วยเหตุใดคนเราจึงพากันยินดีปฏิบัติในทางตรงกันข้าม โดยให้สิ่งอื่นเข้ามาครอบงำกายใจของเราได้ !

หลวงปู่ต้องเสียเวลาไปไม่น้อยในแต่ละวัน ๆ กับการสงเคราะห์พวกที่เคยไปรับขันธ์แล้วเปลี่ยนใจ เพราะต้องการความเป็นไทแก่ตัว ต้องการควบคุมตนเองให้ได้เหมือนเมื่อก่อน

ไม่ใช่อยากจะร่ายรำ หรือพูดภาษาแปลก ๆ หรือตัวสั่นงันงกในที่สาธารณชน ก็ทำขึ้นมาโดยไม่อาจควบคุมตนเองได้

นอกจากการแผ่ให้แก่ดวงวิญญาณที่มาสิงสู่ร่างเหล่านั้นออกไปแล้ว หลวงปู่ก็เน้นย้ำว่าตัวผู้ (ป่วย) นั้นก็ต้องช่วยตัวเองด้วยเช่นกัน ด้วยการ..

"ทำภาวนาเพิ่มสติสัมปชัญญะให้กับตัวเอง"

มิเช่นนั้นก็เหมือนประตูบ้านยังปิดไม่มิดชิด สิ่งแปลกปลอมก็อาจกลับเข้ามาใหม่ได้อีก หลวงปู่สอนว่าแค่ขันธ์ ๕ ของเราก็หนักมากอยู่แล้ว ยังจะหาเรื่องไปเอาขันธ์อื่น ๆ เข้ามาแบกอีก

206


ฟันกรามของ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ พระอาจารย์ของ หลวงตาม้า มีพระธรรมธาตุเสด็จมามากมายรวมถึงที่เสด็จมาเกาะที่ฟันกรามและส่วนที่เป็นรากฟัน และเส้นเกศา ลักษณะเป็นเม็ดสีเหลืองใสๆคล้ายไข่ปลา สวยงามมากๆ และมีพระธรรมธาตุลักษณะเป็นผงสีขาวๆ เสด็จมาเกาะที่ฟันกราม เป็นความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มหัศจรรย์มาก

207


ปฏิบัติธรรมมานาน แต่เหมือนไม่รู้หรือไม่ได้อะไรเลย

การปฏิบัติธรรม ในแง่หนึ่งก็แปลก เพราะสังเกตดูผู้ที่ใฝ่ใจปฏิบัติมักมีกรอบแห่งประสบการณ์ที่คล้าย ๆ กัน คือ

๑.เริ่มจากความไม่รู้ แล้วมามีศรัทธา เริ่มเรียนรู้ ศึกษา และจดจำธรรมะและเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องต่าง ๆ อย่างมากมาย

๒.จากนั้นก็เกิดความยินดีว่าตนรู้ตนเข้าใจไม่น้อยที เดียว และในขั้นนี้ ก็มีข้อควรระวังโดยเฉพาะกับผู้ที่มุ่งมั่นและเคร่งเครียดในการปฏิบัติ กล่าวคือการเป็น “ตำรวจ” หมายความว่าการจ้องจับผิดคนอื่น ว่าเขาไม่เคร่งอย่างเรา เขาไม่รู้หรือไม่มีปัญญาอย่างเรา ฯลฯ สารพัดที่กิเลสตัวหลงยึดมั่นในความดีจะหรอกเรา ดังที่เรียกว่า “ติดดี แก้ยากกว่าติดชั่ว”

๓.พัฒนาการต่อมาก็มาถึงความรู้สึกท้อถอยเหนื่อยหน่ายว่าปฏิบัติมาตั้งนานแต่ก็เหมือนตนไม่รู้ ไม่ได้อะไรเลย เพราะ “เวลาเจออะไรมากระทบ ก็มักกระเทือนทุกที” ทำให้ต้องนึกทบทวนตัวเองและเริ่มตระหนักว่า “ความรู้จำมันดับทุกข์ไม่ได้ เรายังเอาตัวไม่รอด คือยังไม่มีภูมิป้องกันความทุกข์ที่เพียงพอ จนกว่าจะ “พัฒนาความรู้จำ (สัญญา) ให้กลายเป็นความรู้จริง (ปัญญา)” ให้ได้ตั้งแต่ขั้นหยาบ ขั้นกลางเรื่อยไป ซึ่งในขั้นนี้ โอวาทที่ฟังเผิน ๆ แล้วสุดแสนจะธรรมดาของหลวงปู่ดู่ที่ว่า “ถ้าแกเคารพ และเชื่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มากขึ้น ข้าก็ว่าแกใช้ได้” หรือ “ถ้าโลภ โกรธ หลงของแกลดลง ข้าก็ว่าแกใช้ได้” จะกลายเป็นแหล่งที่มาอันยิ่งใหญ่ของกำลังศรัทธาและความเพียร ช่วยให้เราไม่ท้อถอยหรือละทิ้งการปฏิบัติธรรม

๔.พัฒนาการต่อมาก็คือการเริ่มมีตนเป็นที่พึ่งได้ เริ่มมีวิจารณญาณที่พอตัว รู้ว่าอะไรใช่ทางหรือไม่ใช่ทาง เริ่มมองเห็นและยอมรับความจริงมากขึ้น ๆ ความทุกข์ก็เลยน้อยลง ๆ เพราะความทุกข์แท้จริงแล้วก็เกิดจากความคับข้องใจจากการที่เราไม่ยอมรับความ จริงนั่นเอง มันเป็นการยากที่จะให้ยอมรับในความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การต้องเจอะเจอกับสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ฯลฯ เราอาจพูดออกมาอย่างง่ายดายว่า ฉันพร้อมรับต่อความตายทุกเมื่อ แต่พอมีสิ่งมากระทบแม้เล็กน้อย ก็กลับแสดงพฤติกรรมในทางตรงกันข้ามกับคำพูด เช่น ยังเสียดายนั่นนี่ มันต้องอย่างนั้น มันต้องอย่างนี้ สารพัดสิ่งที่เป็นความยึดมั่นหมายมั่นที่ฟ้องว่ายังไม่พร้อมต่อการปล่อยวาง ชนิดลาโลกนี้ไปอย่างไม่อาลัย

เคยมีเรื่องน่าขันเรื่องหนึ่ง คือ เมื่อหลวงตาท่านหนึ่งเทศน์จบ ท่านก็ให้พรแล้วมาจบที่ “นิพพานะปัจจะโยโหตุ ขอบุญกุศลนี้จงเป็นปัจจัยให้เข้าถึงนิพพานเทอญ” ทุกคนก็สาธุดังลั่น หลวงตาจึงว่า “เอ๊า สมมุติว่าถ้าอาตมาภาพสามารถให้ทุกคนไปนิพพานได้ ณ ตอนนี้เลย ถามว่าพร้อมมั้ย” ทีนี้เสียงก็ระงมเลย บ้างก็ว่าอิฉันยังไม่พร้อม ยังต้องดูแลลูกดูแลหลาน ไอ้นั่นก็ยังไม่ได้ทำ ไอ้นี่ก็ยังทำค้างอยู่ สารพัดจะงัดขึ้นมาอ้าง หลวงตาท่านก็ว่า “ปากก็ว่าอยากไปนิพพาน พอให้ไปจริง ๆ กลับว่าไม่พร้อมอย่างนั้นอย่างนี้” นี่แหล่ะใจคน มันยึดกันมาเสียเคย จะให้ปล่อย จะให้วาง มันจึงไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เลย

๕.พัฒนาการต่อมาของผู้ที่ยังไม่ทิ้งการปฏิบัติไปเสีย ก่อน ก็คือการลิ้มรสพระธรรม การสัมผัสถึงผลการปฏิบัติที่เรียกว่าปฏิเวธด้วยใจเจ้าของเอง แต่ไหนแต่ไรมา เคยได้ยินว่า รสพระธรรม ชนะรสทั้งปวง ก็ยังไม่เข้าใจ แต่พอได้ลิ้มรสผลการปฏิบัติจิตภาวนาตั้งแต่อย่างหยาบ อย่างกลาง ไปตามลำดับ จึงทำให้ไม่ต้องเชื่อตัวหนังสือ แต่เชื่อเพราะประสบการณ์ตรงของตัวเอง สามารถเป็นกำลังให้กับเจ้าของเองได้ การจะละทิ้งการปฏิบัติจึงเป็นเรื่องห่างตัวออกไป เพราะเห็นคุณของการปฏิบัติและเห็นโทษของการไม่ปฏิบัติด้วยตัวเอง แล้วก็จะมาประจักษ์พุทธโอวาทอีกตอนหนึ่งที่ว่า “ความดี คนดีทำง่าย คนชั่วทำยาก แต่ความชั่ว คนชั่วทำง่าย คนดีทำยาก” ความลังเลสงสัยในเรื่องการปฏิบัติจะลดลงมาก เหลือเพียงดำเนินตามคำเตือนของหลวงปู่ที่ว่า “หมั่นทำเข้าไว้...เวลาเหลืออีกไม่มากแล้ว”


208


การ สร้างบุญที่เป็นมหากุศล อาทิเช่น การสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ พระมหาเจดีย์ สร้างยอดฉัตรหรือสร้างศาสนสถานอื่นใดก็ตาม รวมถึงธรรมทานด้วย เพื่อลดวิบากกรรมหนักๆ สามารถทำได้ แม้แต่ผู้ที่มีเงินน้อย การทำบุญนี้ ไม่จำเป็นจะต้องใช้เงินมาก เหมือนที่หลายๆคนในปัจจุบันเข้าใจและติดเป็นค่านิยมกัน

การทำบุญทุกอย่าง ไม่ว่าจะบุญเล็ก บุญใหญ่ ให้ทำตามแต่กำลังของเราที่สามารถจะทำได้ และต้องไม่เดือดร้อนตัวเอง แม้แต่เงินสลึงเดียวก็สามารถสร้างมหากุศลได้ ขอให้เพียงเงินนั้นบริสุทธิ์ ไม่ได้ไปเบียดเบียนของใครมาก็พอ และที่สำคัญเจตนาตอนที่ทำ ต้องบริสุทธิ์ มีความยินดีในบุญที่ทำ เกิดความสุขและความอิ่มเอมใจ นั่นแหละมหากุศลทั้งสิ้น แต่ ถ้าไม่มีเงินจริงๆ ก็ยังสร้างมหากุศลได้ โดยการใช้แรงกายแรงใจในการช่วยก่อสร้าง หรือแม้แต่การไปชักชวน ป่าวประกาศให้คนมาร่วมสร้างบุญ และขออนุโมทนาบุญกับคนเหล่านั้นด้วยทุกครั้ง ก็จะได้บุญมากเช่นเดียวกัน อยู่ที่เจตนาและความตั้งใจเป็นที่ตั้ง สรุปสั้นๆ ว่า การทำบุญนั้น ไม่ว่าจะเป็นเงินเท่าใดก็ได้บุญเช่นกัน

ยิ่งการทำบุญใดๆที่เป็นประโยชน์ต่อคนจำนวนมากมาก บุญนั้นก็จะมากขึ้นทวีคูณ ไม่มีวันหมด อาทิเช่น พระพุทธรูป สังฆทาน สร้าง โรงทาน วิหาร อุโบสถ ถนน เป็นต้น จนกว่าสิ่งก่อสร้างหรือศาสนสถานนั้นๆที่ร่วมสร้างจะพังทลายไป แม้เราร่วมทำบุญไปแค่เท่าที่กำลังเราจะทำได้ก็ตาม ไม่ว่ามากหรือน้อย ก็ถือว่าเราได้ร่วมด้วยกับบุญนั้นทุกอย่าง และได้อานิสงค์ทุกประการ สำคัญที่ความตั้งใจอันดีของเราเท่านั้น

209


ความโกรธนั้นทุกคนต้องมีเป็นธรรมดาตราบใดที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ก็ต้องมีจะมีมากบ้างน้อยบ้าง แต่เราก็ต้องระวังระงับให้ได้โดยใช้สติควบคุม การมาปฏิบัติธรรมก็สามารถช่วยให้ความโกรธน้อยลงได้บ้าง คือ ระงับได้เร็วขึ้น

หลวงตาแนะวิธีการแก้อารมณ์โกรธว่า ให้หาภาพพระพุทธรูป หรือพระสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งที่เราเคารพนับถือ อัดขยายภาพให้ใหญ่แล้วใส่กรอบตั้งไว้ในที่ที่เหมาะสม และเราสามารถมองเห็นได้บ่อยๆ แล้วนั่งมองดูทุกวันๆ

พอเวลาโกรธใครก็ให้นึกถึงหน้าท่าน แล้วอารมณ์โกรธก็จะหายไปเอง ให้ทำเช่นนี้เรื่อยๆ จนกลายเป็นความเคยชินพอเกิดอารมณ์โกรธปั๊บก็ให้เห็นหน้าท่านปุ๊บ กลายเป็นสมาธิเลย

เวลาคนโกรธนั้นจะแสดงออกทางกาย ทางวาจา ทางใจ ทางกายก็ออกมาทางสีหน้าและแววตา การกระทำบ้าง ทางวาจาก็ด่าบ้าง ทางใจก็คิดมุ่งร้ายต่อเขาบ้าง

รู้หรือเปล่าว่า เวลาโกรธ ร่างกายต้องทำงานมากขนาดไหน ธาตุทั้งสี่นั้นทำงานป่วนไปหมด คือ ทำงานไม่เป็นระบบ กระทบถึงหัวใจด้วย เป้นแบบนี้บ่อยๆเข้า โกรธบ่อยๆ อายุจะสั้น เพราะมันกระทบร่างกายโดยตรง เพราะจิตควบคุมธาตุอยู่ จิตเป็นอย่างไร ก็กระทบธาตุด้วย

บางคนโกรธมาก มีอาวุธอยู่กับตัวก็ถึงขั้นทำร้ายกัน ฆ่าเขาติดคุกติดตาราง ต้องเดือดร้อนไปทั่วเพราะอารมณ์โกรธเพียงแค่นี้

เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะไม่มีสติคอยควบคุม สิ่งเหล่านี้อยู่ที่การฝึกจิต ฝึกสมาธิ ให้สังเกตจากพอตาเห็นภาพปั๊บ หูก็ได้ยิน การสัมผัส อารมณ์จะเริ่มปรุงแต่งเสริมทันที ถ้าไม่มีตัวสติคอยควบคุมก็จะไปเรื่อย

เหมือนกับการภาวนา เรากำลังภาวนาอะไรอยู่ก็ตาม เผลอแป๊บเดียว จิตก็ไปคิดเรื่องอื่นแล้ว นี่เป็นเพราะเราไม่มีสติเข้าไปควบคุม พอนึกได้ก็กลับมาภาวนาใหม่

ฉะนั้น เวลาทำอะไร ต้องใช้สติเป็นตัวควบคุมตลอด
ทำด้วยความมี "สติสัมปชัญญะ"

คติธรรมคำสอนโดย... พระอาจารย์วรงคต วิริยธโร (หลวงตาม้า) วัดพุทธพรหมปัญโญ (ถ้ำเมืองนะ) ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

210


การข่มตาหลับ ยากเย็นไหมสำหรับคุณ แล้วต้องลำบากอีกหนตอนเปิดตาตื่นใช่หรือไม่ กลางวันเหน็ดเหนื่อย ท้อ ทุกข์ กลางคืนกังวล หวั่นไหว ไม่มีความสุข ตื่นก็ร้อน นอนก็ทุกข์ เป็นเพราะอะไร มองหาแต่ความสุข กลับเจอแต่ความทุกข์ คนเรานี้ ทุกข์เพราะ 'ความคิด' ยิ่งกว่าอะไรอื่น

บางคนมีชีวิตที่แสนมั่งคั่ง สะดวกสบาย แต่ในใจกลับเต็มไปด้วยความทุกข์ และอาจจะทุกข์มากกว่าคนหาเช้ากินค่ำเสียด้วยซ้ำ ทุกข์เพราะกลัวทรัพย์พร่อง ทุกข์เพราะทรัพย์เพิ่มน้อย เพิ่มช้า น่าผิดหวัง มีทรัพย์แล้วก็อยากมียศ มีเกียรติ มีตำแหน่ง มีคนนับหน้าถือตา ซึ่งหลายอย่างที่ว่ามา บางทีทรัพย์ก็ช่วยไม่ได้

คนไม่มีก็ทุกข์ไปอีกแบบ ทุกข์ว่าพรุ่งนี้จะกินอะไร จะมีเงินเข้ากระเป๋าบ้างไหม จะต้องไปกู้เงินใคร ดิ้นรนแค่ให้ 'พอมี' ซึ่งเพียงแค่ 'มี' ก็ดีนักหนาแล้ว คนที่ไม่เคยมีจึงเป็นสุขเมื่อ 'มี' คนที่มีแต่ไม่เคยพอ จึงต้องทุกข์เพราะรอให้ 'มีพอเท่าที่ใจอยากมี' ให้ใจเดินตาม อย่าเดินตามใจ ใจเป็นที่อยู่ของความอยาก ซึ่งหากไม่ได้รับการฝึกฝน ควบคุม ความอยากจะกลายเป็นใหญ่ แล้วใจจะกลายเป็นทาส อยากกิน จึงกินแบบไม่รู้อิ่มรู้พอ อยากสบาย จึงเลือกที่จะทำอะไรก็ได้ โดยไม่ต้องแยกแยะถูก-ผิด ควร-ไม่ควร ดีหรือไม่ดี อยากดัง จึงทำทุกวิถีทางโดยไม่เลือกวิธี ฯลฯ

ไม่มีอะไรน่ากลัวเท่า 'ความอยาก' นี้ หากใจไม่รู้เท่าทันความอยาก ก็ยากที่จะควบคุมการกระทำ (แล้วความอยากจะควบคุมแทน) การกระทำที่ขาดความควบคุม ขาดความยับยั้งชั่งใจ ทำไปอย่างที่ใจมันอยาก โดยปราศจากการไตร่ตรอง ไม่มีใจคอยกรองหรือระงับยับยั้ง ย่อมเหมือนกับรถที่ห้อตะบึงไป โดยไม่มีพวงมาลัยและคนขับ จึงเพียงแต่พุ่งไปตามแรงดันของเครื่องเท่านั้น

ฝึกสติไว้ควบคุมใจ ย่อมไม่ห่างไกลจากปีติสุข ความคิดที่มีสติกำกับ จะนำไปสู่การกระทำที่มีสติกำกับ เหมือนรถแม้แล่นเร็วรี่ แต่ก็ไปอย่างที่มีคนขับ มีพวงมาลัยที่สามารถหักเลี้ยวให้ไปตามเส้นทางที่ควรจะไป จะช้าหรือเร็วเพียงใดก็สามารถควบคุมให้อยู่บนทางที่ถูกที่ควร ความคิดที่มีสติกำกับ จะไม่พาใจกวัดแกว่งไปกับความชอบหรือไม่ชอบ หรือขึ้น-ลง ฟู-แฟบ ตามสิ่งที่มากระทบ แต่จะมั่นคงบนหนทางของความถูกต้อง หรือวิถีแห่งธรรมนั่นเอง

วิถีแห่งธรรมมีอยู่แล้ว หากแต่เราเท่านั้น ที่ไม่สามารถคุมตนให้ดำเนินไปบนวิถีแห่งนี้ได้อย่างมั่นคง เพราะกิเลสหรือความชอบความไม่ชอบมักกวักมือเรียก ให้วอกแวก จนเถลไถลไปนอกเส้นทาง

หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16