เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - DHAMMASAMEE

หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 15
76
... เรื่องการทรมาน เรื่องการขบเรื่องการฉัน เรื่องการหลับการนอน เอาแท้ๆ เมื่อถึงคราวอันนี้แล้ว พอมาพิจารณาแล้ว มันไม่เป็นไป ประพฤติด้วยทิฏฐิ ประพฤติด้วยมานะ ด้วยความยึดมั่นถือมั่น คิดปรารภโลกว่าเป็นธรรม คิดปรารภตนว่าเป็นธรรม มันไม่ได้ปรารภธรรมะ
     
... อย่างว่าเราทรมานตน ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ก่อนจะทำอย่างนั้นก็ปรารภว่าให้โลกสรรเสริญ ให้เขาว่านี้แหละเป็นคนเอาจริงเอาจังก็เลยทำ อันนั้นเป็นโลกหมด ทำเพื่อความยกย่องสรรเสริญ ให้เขาว่าดี ให้เขาว่าเลิศ ให้เขาว่าประเสริฐ ให้เขาว่าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ คิดอย่างนี้แล้วจึงทำ เรียกว่า ปรารภโลก
     
... อีกอย่างหนึ่งคือปรารภตนเอง เชื่อมั่นในความเห็นของตนเอง เชื่อมั่นในการประพฤติปฏิบัติของตนใครจะว่าผิดก็ช่างถูกก็ตาม ไม่เอาเป็นประมาณ ชอบอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ไม่ได้คลำหน้าคลำหลัง นี่ปรารภตนเองอีกประเภทหนึ่ง เรื่องปรารภโลกกับปรารภตนนี้ มันมีแต่เรื่องอุปาทานแน่นหนาอยู่เท่านั้น ฯ.

77
... เราอบรมจิตของเราให้มีความอาย มีความกลัวต่อความผิดทั้งหมด นั่นแหละก็จะเป็นคนสำรวม จะเป็นคนสังวร จะเป็นคนระวัง เพราะความกลัว ฯ.

78
... ผู้ปฏิบัติจะต้องมีสติ จะต้องพิจารณา จะพูดจะจาจะจับจะแตะทุกอย่าง จะต้องพิจารณาก่อนให้มาก ที่เราพลาดไปนั้นเพราะเราไม่มีสติ หรือมีสติไม่พอ หรือไม่เอาใจใส่ในเวลานั้น ฯ.

79
... ฉะนั้น พวกเรานั่น ในวันหนึ่งๆ ให้ได้ปฏิบัติเถอะ ขี้เกียจก็ทำ ขยันก็ทำ เราปฏิบัติธรรมะ ไม่ปฏิบัติตามตัวเรา ถ้าปฏิบัติตามตัวเราไม่เป็นธรรมะ ไม่ว่ากลางวันกลางคืน สงบก็ทำ ไม่สงบก็ทำ เหมือนกับเราเป็นเด็กไปเรียนหนังสือ จะเขียนไม่สวยในครั้งแรก มันหัวยาวๆ ขายาวๆ เขียนไปตามเรื่องของเด็ก นานไปก็สวยขึ้นงามขึ้นเพราะฝึกมัน การประพฤติธรรมก็เหมือนกัน ทีแรกก็เกะๆ กะๆ สงบบ้าง ไม่สงบบ้างไม่รู้เรื่องมันเป็นไป บางคนก็ขี้เกียจ อย่าขี้เกียจซิ ต้องพยายามทำ อยู่ด้วยความพยายาม เหมือนกับเราเป็นเด็กนักเรียน โตมาก็เขียนหนังสือได้ดี จากไม่สวยมาเขียนได้สวย เพราะการฝึกฝนตั้งแต่เด็กนั่นแหละ อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น 
     
... พยายามให้มีสติอยู่ทุกเวลา จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน พยายามให้สม่ำเสมอ เมื่อเราทำกิจวัตรอะไร มันคล่องดีแล้วเป็นต้น เราก็สบายใจ นั่งก็สบาย นอนก็สบาย เมื่อความสบายเกิดขึ้นจากกิจวัตร การนั่งสมาธิก็สงบง่าย เป็นเรื่องสัมพันธ์ซึ่งกันและกันดังนี้ ฉะนั้นจงพากันพยายามทำเถอะ  ตามความสามารถของเรา นี่เรียกว่าการฝึก ฯ.

80
... ฉะนั้น ปฏิบัติง่ายๆ พิจารณาง่ายๆ เราจึงมีสติอยู่ ผู้ไม่มีสติก็เหมือนเป็นบ้า ไม่มีสติ ๕ นาที ก็เป็นบ้า ๕ นาที ก็ประมาทอยู่ ๕ นาที ถ้าขาดสติเมื่อใด ก็เป็นบ้าเมื่อนั้น ให้เข้าใจอย่างนี้ ฯ.

81
... พอมีสติสัมปชัญญะรู้อยู่ ปัญญาก็วิ่งตามมาเท่านั้น รู้เรื่องต่างๆ ตาเห็นรูป สิ่งนี้ควรไหม ไม่ควรไหม หูฟังเสียง สิ่งนี้ควรไหม ไม่ควรไหม มันเป็นโทษไหม มันผิดไหม มันถูกต้องเป็นธรรมะไหม สารพัดอย่าง ดังนั้นผู้มีปัญญาแล้วจึงได้ฟังธรรมะอยู่ตลอดเวลา แม้มองเห็นต้นไม้ก็เป็นธรรมะ มองเห็นสิ่งต่างๆก็เป็นธรรมะหมดทั้งนั้น ถ้าเรารู้จักธรรมะ ฯ.

82
... ผู้ใดมีสติอยู่ทุกเวลา ผู้นั้นจะได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าตามองเห็นรูปก็เป็นธรรมะ หูได้ฟังเสียงก็เป็นธรรมะ จมูกได้กลิ่นก็เป็นธรรมะ ลิ้นได้รสก็เป็นธรรมะ กายไปถูกโผฏฐัพพะกระทบเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ก็เป็นธรรมะ ธรรมารมณ์(อารมณ์ที่กระทบจิต)ที่เกิดขึ้นกับใจ นึกขึ้นได้เมื่อใดเป็นธรรมะเมื่อนั้น  ฉะนั้นผู้ที่มีสติได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าตลอดเวลา ฯ.

83
   ... เข้าถึงปฐมฌานก็ดี ฌานที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ถึงฌานที่ ๘ ก็ตาม

... เป็นคุณธรรมที่จะทำให้บรรดาท่านพุทธบริษัทให้เกิดเป็นพรหม

... หากว่าท่านทรงความดีอย่างนี้ไว้ได้ เมื่อตายท่านก็เกิดเป็นพรหม

... ทีนี้ถ้าหากว่า บรรดาท่านพุทธบริษัทยังไม่นิยมว่า

... การเกิดเป็นพรหมยังไม่พ้นวัฏสงสาร ต้องการพระนิพพานเป็นที่ไป

... อันนี้ก็ขอให้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายจงคิดว่า


... โลกทั้งโลกมีตัวเราเป็นต้น และมีบุคคลอื่น สัตว์อื่น วัตถุอื่นทั้งหมดเป็นสภาวะไม่เที่ยง มันไม่มีอะไรทรงตัว

... มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง มีความทุกข์ในขณะที่ทรงอยู่ และมีการตายในที่สุด 

... ถ้าเรายังมีการยึดมั่นตัวเราเป็นของเราก็ดี ญาติพี่น้องหรือบุคคลที่เนื่องถึงเราก็ดี หรือวัตถุใดๆ ก็ตามที

... ถ้ายังถืออยู่แบบนี้ก็ได้ชื่อว่า เราต้องกลับมาเกิดในโลกมีความทุกข์อยู่ต่อไป


... องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงแนะนำว่า

... การเกิดเป็นทุกข์ แดนที่ไม่ทุกข์มีอยู่

... เราจะเกิดเป็นมนุษย์ก็ดี พรหมก็ดียังไม่สิ้นความทุกข์

... ยิ่งเกิดใน นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉานด้วยแล้ว กลับทุกข์ใหญ่


... องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงแนะนำว่า

... การถึงพระนิพพานสิ้นความทุกข์ ขึ้นชื่อว่าความขัดข้องของจิตนิดหนึ่งก็ไม่มี

... คนที่จะถึงพระนิพพานได้นี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงสอน ให้ปล่อยกายเสีย ถ้าเราปล่อยกายเสียได้อย่างเดียว วัตถุต่างๆ หรือบุคคลอื่นเราก็ปล่อยได้ เพราะสิ่งที่เรารักมากที่สุด ต้องการมากที่สุดก็ คือ กาย  ฯ.

     
... วิธีปล่อยกายก็ค่อยๆ คิดว่า

... เราเกิดมาจะต้องตาย เวลาที่ทรงกายอยู่ก็เต็มไปด้วยความทุกข์หาความสุขไม่ได้

... ถ้าเราเกิดมาใหม่ก็ดีไม่มีประโยชน์อะไร เพราะร่างกายก็ดี ทรัพย์สมบัติก็ดี นี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในมัน มันไม่มีในเรา

... ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะร่างกายเป็นธาตุ ๔ คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ

... เป็นเรือนร่างที่จิตเข้ามาอาศัยชั่วคราว เมื่อร่างกายพังแล้ว จิตก็ คือ เราต้องไปสู่ความสุขหรือความทุกข์ หาชาติหาภพเป็นที่เกิด

... เมื่อเกิดขึ้นอีกก็ต้องประสบกับความทุกข์แบบนี้ กระทบกับความไม่เที่ยง พบกับความเป็นทุกข์ พบกับการสลายตัว  ฯ.

ฯ.

84
... เมื่อเราเจ็บป่วยต้องคิดว่า หายก็เอาตายก็เอา ถ้านึกอยากหายอย่างเดียวมันเป็นทุกข์แน่ ฯ.

85
.....คนดีอยู่ที่ไหน คนดีอยู่ที่ตัวเรา ถ้าเราดี ไปไหนมันก็ดี เขาจะนินทาสรรเสริญ จะว่าอะไร ทำอะไร เราก็ยังดีอยู่ แต่ถ้าเรายังไม่ดี เขานินทาเราก็จะโกรธ ถ้าเขาสรรเสริญ เราก็ยินดี ก็หวั่นไหวอยู่อย่างนั้น ฯ.

86
... เมื่อเราทอดอาลัยในชีวิต ไม่เสียดายไม่กลัวตายความเบาสบายใจจะเกิดขึ้น สติปัญญาก็จะเฉียบคมกล้า จิตเกิดความองอาจไม่สะทกสะท้านต่อสิ่งใด แม้แต่ความตาย ฯ.

87
... ต่อไปนี้ก็จะไม่ได้เห็น ลมก็จะหมด เสียงมันก็จะหมด

... มันเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของสังขาร(ร่างกาย)

... คือ ความเสื่อมไปของสังขาร(ร่างกาย) เสื่อมไปดังก้อนน้ำแข็งที่ละลายเป็นน้ำ 

... เราเกิดมา ก็เก็บเอาความเจ็บ ความแก่ ความตายมาพร้อมกัน ฯ.

88
... ความตั้งใจนะ คือ ตั้งใจในการปล่อยวาง(ขันธ์ ๕) ไม่ต้องตั้งใจในการผูกมัดอย่างนั้น 

... อันนี้เราไปอ่านตำราเห็นประวัติพระพุทธเจ้าว่า

... ท่านนั่งลงที่ใต้ต้นโพธิ์นั้น ท่านอธิษฐานจิตลงไปว่า ไม่ตรัสรู้ตรงนี้จะไม่ลุกหนีเสียแล้ว แม้ว่าเลือดมันจะไหลออกมาอะไรก็ตามทีเถอะ  ได้ยินคำนี้เพราะไปอ่านดู 

... แหมเราก็จะเอาอย่างนั้นเหมือนกัน จะเอาอย่างพระพุทธเจ้าเหมือนกันนี่ 

... ไม่รู้เรื่องว่ารถของเรามันเป็นรถเล็ก 

... รถของท่านมันเป็นรถใหญ่ ท่านบรรทุกทีเดียวก็หมด 

... เราเอารถเล็กไปบรรทุกทีเดียวมันจะหมดเมื่อไหร่ มันคนละอย่างกัน 

... เพราะอะไรมันถึงเป็นอย่างนั้น มันเกินไป

... บางทีมันก็ต่ำไป บางทีมันก็สูงเกินไป ไอ้ที่พอดีๆ มันหายาก ฯ.

89
... การทำความเพียรไม่ได้ขีดคั่น จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอนได้หมดทั้งนั้น

... แม้กวาดลานวัดอยู่ก็บรรลุธรรมะได้ 

... แม้มองไปเห็นแสงพยับแดดเท่านั้นก็บรรลุธรรมะได้ จะต้องให้มีสติพร้อมอยู่เสมอ 

... ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เพราะมันมีโอกาสบรรลุธรรมอยู่ทุกเวลา อยู่ทุกสถานที่ เมื่อเราตั้งใจพิจารณา ฯ.

90
... โลกก็มีแต่ทุกข์ทั้งนั้น เหมือนแท่งเหล็กใหญ่ๆ ที่เขาเอาเข้าเตาหลอมแล้วนั่นแหละ ร้อนไปทั้งแท่งเลย ยกขึ้นมา เอามือไปแตะดู ข้างบนมันก็ร้อน ข้างๆ มันก็ร้อน มันร้อนทั้งนั้นใช่ไหม ที่ไม่ร้อนไม่มี เพราะมันออกจากเตาหลอมมา เหล็กทั้งแท่งไม่มีที่เย็นเลย ฯ.

หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 15