เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - Wisdom

หน้า: 1 [2] 3 4 5
16


พระวิปัสสีพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระปุสสะพุทธเจ้าล่วงไป กัปต่อมาเป็นสารกัป มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระวิปัสสีพุทธเจ้า
พระวิปัสสีพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นวิปัสสีราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งพันธุมวดีนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าพันธุมะ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางพันธุมดี
วิปัสสีราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๘,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ นันทะปราสาท สุนันทะปราสาท และสิริมาปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า สุทัสสนา หรือสุตนูเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๑๒๐,๐๐๐ นาง
วันหนึ่ง วิปัสสีราชกุมารทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
เมื่อพระเทวีทรงประสูติพระโอรส พระนามว่า สมวัฏฏขันธะกุมาร จึงได้ออกบรรพชาโดยราชรถเทียมม้า โดยมีผู้ออกบรรพชาตามจำนวน ๘๔,๐๐๐ คน
วิปัสสีราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่เป็นเวลา ๘ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากธิดาสุทัสสนเศรษฐี และรับหญ้า ๘ กำจากคนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อสุชาตะ ปูลาดใต้ต้นปาฏลี (ต้นแคฝอย) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงเสด็จไปยังเขมมิคทายวัน และทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พระอนุชาต่างมารดาชื่อพระขัณฑกุมาร และบุตรปุโรหิตชื่อติสสกุมาร ทำให้พระขัณฑกุมาร และติสสะกุมาร พร้อมบริวาร สำเร็จเป็นพระอริยบุคล

ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระวิปัสสีพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดาไม่อาจกำหนดจำนวน
วาระที่ ๒ แสดงธรรมแก่ผู้บวชตามพระขัณฑกุมารและติสสกุมาร
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์ ๘๔,๐๐๐
วาระที่ ๓ แสดงธรรมที่เขมิคทายวัน
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์ ๘๖,๐๐๐

พระวิปัสสีพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๖,๘๐๐,๐๐๐ ณ เขมิคทายวัน
ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐,๐๐๐
ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๘๐,๐๐๐ ณ เขมิคทายวัน

พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
พระอัครสาวก คือ พระขัณฑะเถระ และพระติสสะเถระ
พระอัครสาวิกา คือ พระจันทาเถรี และพระจันทมิตตาเถรี
พระอุปัฏฐาก คือ พระอโสกะ

พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก พระรัศมีแผ่ไป ๗ โยชน์ เมื่อพระชนมายุได้ ๘๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน

17


พระปุสสะพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระติสสะพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระปุสสะพุทธเจ้า บังเกิดในมัณฑกัปเดียวกันนั้น
พระปุสสะพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นปุสสะราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งกาสีนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าชัยเสน และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางสิริมาเทวี
ปุสสะราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๙,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ ครุฬปักขะปราสาท หังสะปราสาท และสุวรรณภาระปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า กีสาโคตมี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๓๐,๐๐๐ นาง
วันหนึ่ง ปุสสะราชกุมารทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
เมื่อพระนางสิริมาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า อนูปมะกุมาร จึงได้ออกบรรพชาโดยคชยาน โดยมีผู้ออกบรรพชาตามจำนวน ๑ โกฏิ
ปุสสะราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่เป็นเวลา ๖ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางสิริวัฑฒาธิดาของเศรษฐี และรับหญ้า ๘ กำจากอุบาสกชื่อสิริวัฒนะ ปูลาดใต้ต้นอาลมกะ (ต้นมะขามป้อม) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
พระปุสสะพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พระภิกษุ ๑ โกฏิ ที่ออกบรรพชาตามพระองค์ ที่ป่าอิสิปตนะมิคทายวัน สังกัสสนคร ทำให้พระภิกษุทั้งแสนโกฏินั้นสำเร็จเป็นพระอริยบุคล

ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระปุสสะพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๒ แสดงธรรมแก่สิริวัฑฒะดาบส
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์ ๙,๐๐๐,๐๐๐
วาระที่ ๓ แสดงธรรมแก่พระโอรส
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๘,๐๐๐,๐๐๐

พระปุสสะพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑,๐๐๐,๐๐๐
ที่ประชุมกัน ณ กัณณกุชชนคร
ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๕,๐๐๐,๐๐๐
ที่ประชุมกัน ณ นครกาสี ภายหลังจากที่ทรงแสดงพุทธวงศ์โปรดพระประยูรญาติ
จนมีมหาชนออกบวชจำนวนมาก
ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๔,๐๐๐,๐๐๐
ที่ประชุมกันในมหามงคลสถาน

พระปุสสะพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
พระอัครสาวก คือ พระสุรักขิตะเถระ และพระธัมมเสนะเถระ
พระอัครสาวิกา คือ พระจาลาเถรี และพระอุปจาลาเถรี
พระอุปัฏฐาก คือ พระสภิยะเถระ

พระปุสสะพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก เมื่อพระชนมายุได้ ๙๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน ณ พระวิหารเสนาราม กรุงกุสินารา

18



พระติสสะพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระสิทธัตถะพุทธเจ้าล่วงไปได้กัปหนึ่ง กัปต่อมาเป็นมัณฑกัป มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ๒ พระองค์ พระพุทธเจ้าองค์แรกทรงพระนามว่า พระติสสะพุทธเจ้า
พระติสสะพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นติสสะราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งเขมกะนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าชนสันธะ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางปทุมาเทวี
ติสสะราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๗,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ คุหาเสละปราสาท นาริสยะปราสาท และนิสภะปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า สุภัททาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๓๓,๐๐๐ นาง
วันหนึ่ง ติสสะราชกุมารทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
เมื่อพระนางปทุมาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า อานันทกุมาร จึงได้ออกบรรพชาโดยม้าโสนุตตระ โดยมีผู้ออกบรรพชาตามจำนวน ๑ โกฏิ
ติสสะราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่เป็นเวลา ๘ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากธิดาวีรเศรษฐี ณ วีรนิคม และรับหญ้า ๘ กำจากคนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อวิชิตสังคามะกะ ปูลาดใต้ต้นอสนะ (ต้นประดู่) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
พระติสสะพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระราชโอรสกรุงยสวดี ๒ พระองค์ คือ พระพรหมเทวะ กับพระอุทยะ พร้อมบริวาร ที่ยสวดีมิคทายวัน กรุงยสวดี ทำให้ราชโอรสทั้งสองพระองค์พร้อมบริวารสำเร็จเป็นพระอริยบุคล

ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระติสสะพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๒ แสดงธรรมแก่ผู้ออกบรรพชาตามโกฏิหนึ่ง
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๙๐ โกฏิ
วาระที่ ๓ แสดงธรรมในมหามงคลสมาคม
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๖๐ โกฏิ

พระติสสะพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐,๐๐๐ ณ ยสวดีนคร
ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๙,๐๐๐,๐๐๐ ณ นาริวาหนนคร
ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๘,๐๐๐,๐๐๐ ณ เขมวดีนคร
ภายหลังจากแสดงพุทธวงศ์โปรดพระประยูรญาติ

พระติสสะพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
พระอัครสาวก คือ พระพรหมเทวะเถระ และพระอุทยะเถระ
พระอัครสาวิกา คือ พระผุสสาเถรี และพระสุทัตตาเถรี
พระอุปัฏฐาก คือ พระสุมังคะ

พระติสสะพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๖๐ ศอก เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน ณ พระวิหารสุนันทาราม กรุงสุนันทวดี

19


พระสิทธัตถะพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระธรรมทัสสีพุทธเจ้าล่วงไปได้ ๑,๗๐๖ กัป จึงเกิดสารกัปหนึ่ง มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ๑ พระองค์ ทรงพระนามว่า พระสิทธัตถะพุทธเจ้า
พระสิทธัตถะพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นสิทธัตถะราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งเวภาระนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าอุเทน และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางสุผัสสาเทวี
สิทธัตถะราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๑๐,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ โกกาสะปราสาท อุปปละปราสาท และปทุมะปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า โสมนัสสาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๘๔,๐๐๐ นาง
วันหนึ่ง สิทธัตถะราชกุมารทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
เมื่อพระนางโสมนัสสาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า พระอนุปมกุมาร จึงได้เสด็จโดยพระวอทองออกบรรพชาในราชอุทยาน โดยมีผู้ออกบรรพชาตามจำนวน ๑ แสนโกฏิ
สิทธัตถะราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่เป็นเวลา ๑๐ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากสุเนตตาพราหมณี บ้านอสทิสพราหมณ์ และรับหญ้า ๘ กำจากคนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อ วรุณะ ปูลาดใต้ต้นกณิการะ (ต้นกรรณิการ์) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
พระสิทธัตถะพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระภิกษุแสนโกฏิที่ออกบวชตามพระองค์ ที่คยามิคทายวัน ทำให้พระภิกษุแสนโกฏินั้นสำเร็จเป็นพระอริยบุคล

พระสิทธัตถะพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมาภิสมัยให้บังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๒ แสดงธรรมในภีมรถนคร
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๙๐ โกฏิ
วาระที่ ๓ แสดงธรรมแก่พระประยูรญาติในเภวาระนคร
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๙๐ โกฏิ

พระสิทธัตถะพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐ โกฏิ
ณ อมรนคร
ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๙๐ โกฏิ
ประชุมกันในสมาคมของพระญาติ ในเวภาระนคร
ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๘๐ โกฏิ
ณ สุทัสสนวิหาร

พระสิทธัตถะพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
พระอัครสาวก คือ พระสัมพละเถระ และพระสุมิตตะเถระ
พระอัครสาวิกา คือ พระสีวลาเถรี และพระสุรามาเถรี
พระอุปัฏฐาก คือ พระเรวตะ

พระสิทธัตถะพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๖๐ ศอก เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน ณ อโนมราชอุทยาน กรุงกาญจนเวฬุ

20


พระธรรมทัสสีพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระอัตถะทัสสีพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระธรรมทัสสีพุทธเจ้า อุบัติเป็นองค์สุดท้ายในวรกัปนั้น
พระธรรมทัสสีพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นธรรมทัสสีราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งสรณะนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าสรณะ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางสุนันทาเทวี
ธรรมทัสสีราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๘,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ อรชะปราสาท วิรชะปราสาท และสุทัสสนะปราสาททรงมีพระมเหสีพระนามว่า วิจิโกฬิเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๒๒๐,๐๐๐ นาง
วันหนึ่ง ธรรมทัสสีราชกุมารทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
เมื่อพระนางวิจิโกฬิเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า ปุญญวัฒนะกุมาร จึงได้ดำริว่าจะออกบรรพชา สุทัสสนะปราสาทจึงลอยเลื่อนไปส่งพระองค์ที่ต้นรัตตกุรวกะ (ต้นมะกล่ำทอง) โดยมีผู้ออกบรรพชาตามจำนวน ๑ แสนโกฏิ
ธรรมทัสสีราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่เป็นเวลา ๗ วัน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากพระนางวิจิโกฬิเทวี และรับหญ้า ๘ กำจากคนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อสิริวัฒนะ ปูลาดใต้ต้นพิมพิชาละ (ต้นมะพลับ) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
พระธรรมทัสสีพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระภิกษุแสนโกฏิที่ออกบวชตามพระองค์ ที่ป่าอิสิปตนะมิคทายวัน ทำให้พระภิกษุแสนโกฏินั้นสำเร็จเป็นพระอริยบุคล

ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระธรรมทัสสีพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๒ แสดงธรรมแก่สัญชัยดาบส
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๙๐ โกฏิ
วาระที่ ๓ แสดงธรรมแก่ท้าวสักกเทวราช
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๘๐ โกฏิ

พระธรรมทัสสีพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ณ กรุงสรณะ
ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐ โกฏิ
ประชุมกันในคราวรอรับเสด็จพระธรรมทัสสีพุทธเจ้าเสด็จกลับจากดาวดึงส์
ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๘๐ โกฏิ
ณ สุทัสสนาราม

พระธรรมทัสสีพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
พระอัครสาวก คือ พระปทุมะเถระ และพระปุสสเทวะเถระ
พระอัครสาวิกา คือ พระเขมาเถรี และพระสัจจนามาเถรี
พระอุปัฏฐาก คือ พระสุเนตตะเป็น

พระธรรมทัสสีพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน ณ พระวิหารเกสาราม กรุงสาลวดี
__________________

21


พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระปิยทัสสีพุทธเจ้าล่วง จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระอัตถะทัสสีพุทธเจ้า บังเกิดในวรกัปเดียวกัน
พระอัตถะทัสสีพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นอัตถะทัสสีราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งโสภณะนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าสาคระ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางสุทัสสนเทวี
อัตถะทัสสีราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๑๐,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ อมรคิรีปราสาท สุรคิรีปราสาท และคิริวาหนะปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า วิสาขาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๓๓,๐๐๐ นาง
วันหนึ่ง อัตถะทัสสีราชกุมารทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
เมื่อพระนางวิสาขาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า เสละกุมารกุมาร จึงได้เสด็จด้วยม้าสุทัสสนะออกบรรพชา โดยมีผู้ออกบรรพชาตาม ๙ โกฏิ
อัตถะทัสสีราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่ในพระราชอุทยานเป็นเวลา ๘ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสที่มหาชนนำมาสังเวยนางนาคชื่อ สุจินธรา และรับหญ้า ๘ กำจากพระยานาคชื่อ มหารุจิ ปูลาดใต้ต้นจัมปกะ (ต้นจำปา) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
พระอัตถะทัสสีพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระภิกษุ ๙ โกฏิที่ออกบวชตามพระองค์ ที่ราชอุทยานในอโนมนคร ทำให้พระภิกษุ ๙ โกฏินั้นสำเร็จเป็นพระอริยบุคล

ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระอัตถะทัสสีพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๒ แสดงธรรมบนดาวดึงส์เทวโลกโปรดพุทธมารดา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่เทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๓ แสดงธรรมแก่พระเจ้าสาคระพุทธบิดา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ

พระอัตถะทัสสีพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๙๘,๐๐๐ ณ สุจันทกนคร
ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๘๘,๐๐๐ มีพระเสละเถระ ผู้เป็นพุทโธรสเป็นประธาน
ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๗๗,๐๐๐

พระอัตถะทัสสีพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
พระอัครสาวก คือ พระสันตะเถระ และพระอุปสันตะเถระ
พระอัครสาวิกา คือ พระธัมมาเถรี และพระสุธัมมาเถรี
พระอุปัฏฐาก คือ พระอภยะ

พระอัตถะทัสสีพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก มีพระรัศมีแผ่ไปโดยรอบโยชน์หนึ่ง เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน

22


พระปิยทัสสีพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระสุชาตะพุทธเจ้าล่วงไปได้ ๒๘,๒๐๐ กัป ถึงวรกัปหนึ่ง มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ๓ พระองค์ พระพุทธเจ้าองค์แรกทรงพระนามว่า พระปิยทัสสีพุทธเจ้า
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นปิยทัสสีราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งสุธัญญวดีนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าสุทัตตะ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางจันทาเทวี
ปิยทัสสีราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๙,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ สุนิมมละปราสาท วิมละปราสาท และคิริพรหาปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า วิมลาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๓๓,๐๐๐ นาง
วันหนึ่ง ปิยทัสสีราชกุมารทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
เมื่อพระนางวิมลาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า กัญจนเวฬะกุมาร จึงได้เสด็จด้วยราชรถเทียมม้าออกบรรพชา โดยมีผู้ออกบรรพชาตาม ๑ โกฏิ
ปิยทัสสีราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรเป็นเวลา ๖ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากธิดาของวสภพราหมณ์ บ้านวรุณพราหมณ์ และรับหญ้า ๘ กำจากสุชาตะอาชีวก ปูลาดใต้ต้นกกุธะ (ต้นกุ่ม) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
พระปิยทัสสีพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระภิกษุแสนโกฏิที่ออกบวชตามพระองค์ ที่ราชอุทยานในกรุงอุสภวดี ทำให้พระภิกษุแสนโกฏินั้นสำเร็จเป็นพระอริยบุคล

ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระปิยทัสสีพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๒ แสดงธรรมบรรเทาทิฏฐิแก่ท้าวสุทัสสนะเทวราช
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๙๐,๐๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๓ ทรงปราบช้างตกมันโทณมุขะ
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๘๐,๐๐๐ โกฏิ

พระปิยทัสสีพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
มีพระปาลิตะ โอรสของพระราชาสุมงคลนคร กับพระสัพพทัสสิ
บุตรราชปุโรหิต เป็นประธาน
ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๙๐,๐๐๐ โกฏิ
ณ สมาคมของท้าวสุทัสสนะเทวราช
ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๘๐,๐๐๐ โกฏิ
ประชุมกันในคราวปราบช้างโทณมุขะ

พระปิยทัสสีพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
พระอัครสาวก คือ พระปาลิตะเถระ และพระสัพพทัสสีเถระ
พระอัครสาวิกา คือ พระสุชาดาเถรี และพระธัมมทินนาเถรี
พระอุปัฏฐาก คือ พระโสภิตะ

พระปิยทัสสีพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก มีพระรัศมีแผ่ไปโดยรอบไม่มีประมาณ เมื่อพระชนมายุได้ ๙๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน

23


หลังจากศาสนาของพระสุเมธะพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระสุชาตะพุทธเจ้า ซึ่งอุบัติขึ้นในมัณฑกัปเดียวกัน
พระสุชาตะพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นสุชาตะราชกุมาร ในวงศ์กษัตริย์แห่งสุมงคลนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าอุคคตะ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางปภาวดี
สุชาตะราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๙,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ สิรีปราสาท อุปสิรีปราสาท และสิรินันทะปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า สิรินันทาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๒๓,๐๐๐ นาง
วันหนึ่ง พระสุชาตะทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
เมื่อพระนางสิรินันทาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า อุปเสนกุมาร จึงได้เสด็จทรงม้าหังสวหังออกบรรพชา โดยมีผู้ออกบรรพชาตาม ๑ โกฏิ
สุชาตะราชุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่ในพระราชอุทยานเป็นเวลา ๙ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากธิดาของสิรินันทนเศรษฐี แห่งสิรินันทนนคร และรับหญ้า ๘ กำจากสุนันทะอาชีวก ปูลาดใต้ต้นเวฬุ (ต้นไผ่) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
พระสุชาตะพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระสุทัสสนกุมารพระอนุชา และเทวกุมารบุตรปุโรหิต พร้อมบริวาร ในราชอุทยานนั้นเอง

ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระสุชาตะพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑ โกฏิ
วาระที่ ๒ แสดงธรรมบนดาวดึงส์เทวโลกโปรดพุทธมารดา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่เทวดา ๓,๗๐๐,๐๐๐
วาระที่ ๓ แสดงธรรมแก่พระเจ้าอุคคตะพุทธบิดา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๖,๐๐๐,๐๐๐

พระสุชาตะพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๖,๐๐๐,๐๐๐
ณ สุธรรมราชอุทยาน
ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๕,๐๐๐,๐๐๐
ที่มาประชุมกันเพื่อรอรับเสด็จพระสุชาตะพุทธเจ้าเสด็จกลับจากดาวดึงส์
ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๔๐๐,๐๐๐
ที่นำโดยพระสุทัสสนเถระ

พระสุชาตะพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
พระอัครสาวก คือ พระสุทัสสนะเถระ และพระสุเทวะเถระ
พระอัครสาวิกา คือ พระนาคาเถรี และพระนาคสมาลาเถรี
พระอุปัฏฐาก คือ พระนารทะ

พระสุชาตะพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๕๐ ศอก มีพระรัศมีแผ่ไปได้โดยรอบไม่มีประมาณ เมื่อพระชนมายุได้ ๙๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน ณ พระวิหารสิลาราม กรุงจันทวดี
__________________

24


พระสุเมธะพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระปทุมุตระพุทธเจ้าล่วงไปได้ ๓๐,๐๐๐ กัป ล่วงถึงมัณฑกัปหนึ่ง มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ๒ องค์ พระพุทธเจ้าองค์แรกทรงพระนามว่า พระสุเมธะพุทธเจ้า
พระสุเมธะพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นสุเมธะราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งสุทัสสนะนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าสุทัตตะ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางสุทัตตาเทวี
สุเมธะราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๙,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ สุจันทนะปราสาท สุกัญจนะปราสาท และสิริวัฒนะปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า สุมนาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๓๘,๐๐๐ นาง
วันหนึ่ง สุเมธะราชกุมารทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
เมื่อพระนางสุมนาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า ปุนัพพสุมิตตะกุมาร จึงได้เสด็จทรงคชยานออกบรรพชา โดยมีผู้ออกบรรพชาตาม ๑๐๐ โกฏิ
สุเมธะราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่ในพระราชอุทยานเป็นเวลา ๘ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากธิดานกุลเศรษฐี ณ นกุลนิคม และรับหญ้า ๘ กำจากสุวัฑฒอาชีวก ปูลาดใต้ต้นมหานีปะ (ต้นกะทุ่ม) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
พระสุเมธะพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่สรณอนุชา และสัพพกามีอนุชา พร้อมทั้งพระภิกษุที่บรรพชาตามจำนวน ๑๐๐ โกฏิ ในราชอุทยานนั้นเอง

ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระสุเมธะพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๒ แสดงธรรมแก่ยักษ์กุมภกรรณ
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๙๐,๐๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๓ แสดงธรรมที่ราชอุทยานสิรินันทะ อุปการีนคร
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๘๐,๐๐๐ โกฏิ

พระสุเมธะพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐ โกฏิ ณ กรุงสทัสสนะ
ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๙๐ โกฏิ ณ ภูเขาเทวกูฏ ในพิธีกรานกฐิน
ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๘๐ โกฏิ ที่ประชุมกันคราวพระสุเมธะพุทธเจ้าเสด็จจาริก

พระสุเมธะพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
พระอัครสาวก คือ พระสรณะเถระ และพระสัพพกามะเถระ
พระอัครสาวิกา คือ พระรามาเถรี และพระสุรามาเถรี
พระอุปัฏฐาก คือ พระสาคระ

พระสุเมธะพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๘๘ ศอก มีพระรัศมีแผ่ไปได้โยชน์หนึ่งโดยรอบ เมื่อพระชนมายุได้ ๙๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน

25


พระปทุมุตระพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระนารทะพุทธเจ้าอันตรธานไปแล้ว เป็นช่วงเวลาว่างจากพระพุทธเจ้าถึงอสงไขยหนึ่ง เรียกว่า รุจิอสงไขย กาลเวลาล่วงมาถึงมัณฑกัปหนึ่ง จึงมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ๑ พระองค์ ทรงพระนามว่า พระปทุมุตระพุทธเจ้า
พระปทุมุตระพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นพระปทุมุตระราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งหังสวดีนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าอานันทะ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางสุชาดาเทวี
พระปทุมุตระราชกุมารทรงพระเกษมสำราญอยู่ ๑๐,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ นรวาหนะปราสาท ยสวาหนะปราสาท และวสวัตดีปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่าวสุทัตตาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๑๒๐,๐๐๐ นาง
วันหนึ่ง เมื่อพระเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า พระอุตตระกุมาร และปทุมุตระราชกุมารทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระดำริว่าจะออกบวช พอดำริดังนั้น วสวัตดีปราสาทก็ลอยเลื่อนไปลงกลางพื้นดิน เมื่อปทุมุตระราชกุมารพร้อมบุรุษผู้ติดตามออกบรรพชาแล้ว ปราสาทนั้นก็ลอยกลับที่เดิม
ปทุมุตระราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่เป็นเวลา ๗ วัน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากธิดารุจานันทเศรษฐี ณ อุชเชนีนิคม และรับหญ้า ๘ กำจากสุมิตตะอาชีวก ปูลาดใต้ต้นสลละ (ต้นช้างน้าว) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้นเอง
พระปทุมุตระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระโอรส ๒ องค์ของพระเจ้าอาแห่งกรุงมิถิลา คือ เทวละกุมาร และสุชาตะกุมาร ที่ราชอุทยานกรุงมิถิลา ทำให้พระโอรสทั้งสองและบริวารสำเร็จเป็นพระอริยบุคล

ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระปทุมุตระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๒ แสดงธรรมแก่สรทดาบส
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๓,๗๐๐,๐๐๐
วาระที่ ๓ แสดงธรรมแก่พระเจ้าอานันทะพุทธบิดา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๕,๐๐๐,๐๐๐

พระปทุมุตระพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ณ มิถิลานคร
ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๙๐,๐๐๐ โกฏิ ณ เวภารบรรพต
ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๘๐,๐๐๐ โกฏิ ณ คามนิคมชนบท

พระปทุมุตระพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
พระอัครสาวก คือ พระเทวิละเถระ และพระสุชาตะเถระ
พระอัครสาวิกา คือ พระอมิตาเถรี และพระอสมาเถรี
พระอุปัฏฐาก คือ พระสุมนะ

พระปทุมุตระพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก มีพระรัศมีแผ่ไป ๑๒ โยชน์โดยรอบ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพานที่พระวิหารนันทาราม พระศาสนาก็ดำรงมาได้อีก ๗๐,๐๐๐ ปี ก็อันตรธาน

26


สรุปพระพุทธเจ้า
ที่พระโพธิสัตว์อดิตชาติของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
ทรงพบและได้สร้างบารมี โดยละเอียดตั้งแต่ก่อนได้รับพุทธพยากรณ์
และหลังได้รับพุทธพยากรณ์

สรุปจากหนังสือ สัมภาระบารมี ของท่าน นาคะประทีป และ ศาสตร์ว่าด้วยการเป็นพุทธเจ้า ของ พระเทพมุนี (วิลาศ ญาณวโร)

อสงไขย พระพุทธเจ้าอุบัติ (ชื่อพระโพธิสัตว์ในอดิตของพุทธเจ้าปัจจุบัน)

*** บารมีตอนต้น ตั้งความปารถนาเป็นพระพุทธเจ้าไว้ในใจ 7 อสงไขย
องค์หญิงสุมิตตาเทวี(หรือ พระนางวิสุทธาเทวี ในหนังสือ พระพุทธเจ้าเคยเกิดเป็นผู้หญิง " ของ อ. บารมี) ชาติก่อนเริ่มต้นสร้างบารมีอย่างแท้จริง 100,000 มหากัป

เริ่มต้น 0 พระปุราณทีปังกรพุทธเจ้า (องค์หญิงสุมิตตาเทวี)(หรือ พระนางวิสุทธาเทวี)

เริ่ม พระพรหมเทวพุทธเจ้า (พระราชาอรตีเทวราช)
นันทะอสงไขย 1 พระพุทธเจ้า 5,000 พระองค์
สุนันทะอสงไขย 2 พระพุทธเจ้า 9,000 พระองค์
ปัฐวีอสงไขย 3 พระพุทธเจ้า 10,000 พระองค์
มัณทะอสงไขย 4 พระพุทธเจ้า 11,000 พระองค์
ธรณีอสงไขย 5 พระพุทธเจ้า 20,000 พระองค์
สาคระอสงไขย 6 พระพุทธเจ้า 30,000 พระองค์
ปุณทริกะอสงไขย 7 พระพุทธเจ้า 40,000 พระองค์
รวมได้พบกับพระพุทธเจ้าใน 7 อสงไขย 125,000 พระองค์

*** บารมีตอนกลาง กล่าววาจาปารถนาเป็นพระพุทธเจ้า 9 อสงไขย
เริ่มต้น พระปุราณศรีศากยมุนีชินสีห์พุทธเจ้า(พระเจ้าสาครจักรพรรดิ์)
สัพพถัททะอสงไขย 8 พระพุทธเจ้า 50,000 พระองค์
สัพพผุลละอสงไขย 9 พระพุทธเจ้า 60,000 พระองค์
สัพพรตนะอสงไขย 10 พระพุทธเจ้า 70,000 พระองค์
อสุภขันธะอสงไขย 11 พระพุทธเจ้า 80,000 พระองค์
มานีภัททะอสงไขย 12 พระพุทธเจ้า 90,000 พระองค์
ปทุมะอสงไขย 13 พระพุทธเจ้า 20,000 พระองค์
อุสภะอสงไขย 14 พระพุทธเจ้า 10,000 พระองค์
ขันธคมะอสงไขย 15 พระพุทธเจ้า 5,000 พระองค์
สัพพผาละอสงไขย 16 พระพุทธเจ้า 2,000 พระองค์
รวมได้พบพระพุทธเจ้าใน 9 อสงไขย 387,000 พระองค์

*** บารมีตอนปลาย ได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า 4 อสงไขย 100,000 มหากัปล์
กัปแรก - พระตัณหังกรพุทธเจ้า ยังไม่ได้รับพุทธพยากรณ์
สารมัณฑกัป - พระเมธังกรพุทธเจ้า ยังไม่ได้รับพุทธพยากรณ์
พุทธเจ้า 4 องค์ - พระสรนังกรพุทธเจ้า ยังไม่ได้รับพุทธพยากรณ์

** ได้รับพยากรณ์ - พระทีปังกรพุทธเจ้า (สุเมธดาบส) พุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก
อายุขัยสมัยนั้นประมาน 100,000 ปี ศาสนาอยู่ในโลก ได้นานปี
รวมเวลาจาก พระนางสุมิตตาถึงสุเมธดาบส 16 อสงไขย 1 แสนกัป

เสละอสงไขย - เป็นสูญกัปไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น 1 อสงไขย
สารกัปมี 1องค์ - พระโกณฑัญญะพุทธเจ้า (วิชิตาวีจักรพรรดิ ออกบวชมีอภิญญา)
อายุขัย 100,000 พรรษา
ภาสะอสงไขย - ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น 1 อสงไขย
ครบ 2 อสงไขย - พระสุมังคละพุทธเจ้า ( เป็นสุรุจิพราหมณ์โพธิสัตว์บวชมีอภิญ)
อายุขัย 90,000 พรรษา
สารมัณฑกับ - พระสุมนะพุทธเจ้า (เป็นพญานาคอดุลยวาสุกรีโพธิสัตว์)
อายุขัย 90,000 พรรษา
พุทธเจ้า 4 องค์ - พระเรวตะพุทธเจ้า (เป็นพราหมณ์ อติเทวมาณพโพธิสัตว์)
อายุขัย 60,000 พรรษา (อาจเป็นปัญญาพุทธเจ้า)
- พระโสภิตะพุทธเจ้า (เป็นพราหมณ์ อชิตมาณพโพธิสัตว์)
อายุขัย 90,000 พรรษา
ชยอสงไขย - ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น 1 อสงไขย
วรกัป - พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า (เป็นพญายักขเสนาบดีโพธิสัตว์)
อายุไขย 100,000 พรรษา
พุทธเจ้า 3 องค์ - พระปทุมะพุทธเจ้า (เป็นพญาไกรสรราชสี)
อายุไขย 100,000 พรรษา
- พระนารทะพุทธเจ้า (เป็นมหาฤาษีโพธิสัตว์)
อายุไขย 90,000 รุจิรอสงไขย - ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น 1 อสงไขย

** บารมีช่วง เศษแสนมหากัปที่เหลือ **
มัณฑกัป แต่มี - พระปทุมมุตระพุทธเจ้า (เป็นนายบ้านชื่อ ชฏิลบวชเป็นดาบส)
(พระพุทธเจ้า 1 พระองค์) พระอสิติสมัยพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้รับพยากรณ์จากพระปทุม มุตระมากที่สุด ดังมีในพระไตรปิฏก อายุขัย
100,000 พรรษา

30000 มหากัป - เป็นสูญกัป ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น
มัณฑกัป - พระสุเมธพุทธเจ้า (เป็น อุตตรมานพ ได้ออกบวชเป็นภิกษุ)
อายุขัย 90,000 พรรษา
พุทธเจ้า 2 องค์ - พระสุชาตะพุทธเจ้า (เป็น บรมจักรพรรดิ ได้ออกบวช)
อายุขัย 90,000 พรรษา
60000 มหากัป - เป็นสูญกัป ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น
วรกัป - พระปิยทัสสีพุทธเจ้า ( เป็นกัสสปะมานพ)
อายุขัย 90,000 พรรษา
พุทธเจ้า 3 องต์ - พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า (เป็นสุสิมะดาบส)
อายุไขย 100,000 พรรษา
- พระธรรมทัสสีพุทธเจ้า (เป็นพระอินทร์)
อายุไขย 100,000 พรรษา
9904 มหากัป - เป็นสูญกัป
สารกัปมี 1องค์ - พระสิทธัตถะพุทธเจ้า (เป็นมังคะฤาษี)
อายุไขย 100,000 พรรษา
2 มหากัป - เป็นสูญกัป
มัณฑกัป - พระดิสสะพุทธเจ้า (เป็นพระเจ้าสุชาตะมหาราชดาบส)
อายุไขย 100,000 พรรษา
พุทธเจ้า 2 องค์ - พระมหาปุสสะพุทธเจ้า (เป็นพระเจ้าวิชิตกษัตริย์ได้ออกบวช)
อายุไขย 90,000 พรรษา
สารกัปมี 1องค์ - พระวัปัสสีพุทธเจ้า (เป็นภุชงคนาคราช)
อายุไขย 80,000 พรรษา
60 มหากัป - เป็นสูญกัป
มัณฑกัป - พระสิขีพุทธเจ้า (เป็นพระเจ้าอรินทมะราชาธิราช)
อายุไขย 70,000 พรรษา
พุทธเจ้า 2 องค์ - พระเวสสภูพุทธเจ้า (เป็นพระเจ้าสุทัสสนะมหาราชได้ออกบวช)
อายุไขย 60,000 พรรษา (เป็นศรัทธาพุทธเจ้า)
31 มาหากัป - เป็นสูญกัป ภัทรกัป(ปัจจุบัน) - พระกกุสันธะพุทธเจ้า(เป็นพระเจ้าเขมะนราธิราชได้ออกบวช)
อายุไขยมนุษย์สมัยนั้น 40,000 ปี ศรัทธาพุทธเจ้า
พุทธเจ้า 5 องค์ - พระโกนาคมมะพุทธเจ้า(เป็นพระเจ้าบรรพตบรมขัตติยาภิกษุ)
อายุไขยมนุษย์สมัยนั้น 30,000 ปี ศรัทธาพุทธเจ้า
- พระกัสสปะพุทธเจ้า (เป็นโซติปาลมาณพได้ออกบรรพชา)
อายุไขยมนุษย์สมัยนั้น 20,000 ปี ศรัทธาพุทธเจ้า
- พระศรีศากยมุนีโคดมพุทธเจ้า (เป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน)
อายุไขยมนุษย์ 100 ปี ศาสนาตั้งอยู่ในโลก 5,000 ปี
- พระศรีอริยเมตไตรพุทธเจ้า(เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตในกัปนี้)
อายุไขยมนุษย์สมัยนั้น 80,000 ปี วิริยะพุทธเจ้า
ถ้ากล่าวถึงบารมีตอนปลาย 4 อสงไขยกับเศษแสนมหากัปนั้นพระโพธิสัตว์พบพระพุทธเจ้าเพียง 27 พระองค์เท่านั้น น้อยกว่าบารมีตอนต้นและตอนกลางมาก ที่พระโพธิสัตว์พบพระพุทธเจ้าถึง ห้าแสนหนึ่งหมื่นสองพันพระองค์ (512,003) สามารถแยกบารมีตอนปลายได้ 2 ช่วงที่ได้พบพระพุทธเจ้า
1 ในระยะเวลา 4 อสงไขย เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์ ได้ทรงพบพระพุทธเจ้า 12 พระองค์
2. ในระยะเวลาหนึ่งแสนมหากัปนั้น ได้ทรงพบพระพุทธเจ้า 15 พระองค์
หมายเหตุ หลังสิ้นสมัยของพระศรีอริยเมตไตรพุทธเจ้าไปแล้ว อาจจะว่างจากพระพุทธเจ้าอีกนานเพราะเมื่อได้มีพระพุทธเจ้า บังเกิดขึ้น ติดต่อกัน หลังจากนั้นไปอีกก็จะว่างจากการบังเกิดพระพุทธเจ้าไปอีกนานแสนนาน อ้างอิงได้จากช่วง 4 อสงไขยกับ เศษแสนมหากับที่ผ่านมา เมื่อมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในกัปใดติดต่อกัน 3 หรือ 4 พระองค์ หลังจากนั้นจะเป็นสูญกัปไปอีกนานแสนนาน ซึ่งในกัปนี้มีพระพุทธเจ้าถึง 5 พระองค์ และในช่วง 100 มหากัปที่ผ่านมาถึงกัปปัจจุบัน มีพระพูทธเจ้า ถึง 11 พระองค์ ร่วมทั้งพระศรี อริยะเมตตรัยพุทธเจ้า ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นช่วงที่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นมากที่สุด ของระยะเวลา 4 อสงไขยกับเศษแสนมหากัปที่ผ่านมา และจากการวิเคราะห์ หลังจากสิ้นสมัยพระศรีศากยมุนีโคดมพุทธเจ้า(ปัจจุบัน)ไปแล้ว ซึ่งเป็นประเภทปัญญาพุทธเจ้า แล้วจะบังเกิดปัญญา พุทธะอีกสักพระองค์ในอนาคตเบื่องหน้า ต้องรอเวลาอย่างน้อยที่สุดหนึ่งอสงขัยกัป และต้องเป็นพระโพธิสัตว์ประเภทปัญญาที่ได้รับ พุทธพยากรณ์ครังแรก ในสมัยพระโกณฑัญญะพุทธเจ้าเท่านั้น ดังนั้นหลังจากปัจจุบันนี้จนถึงหนึ่งอสงขัยกัปเบื้องหน้า ก็จะมีแต่พระพุทธเจ้าประเภทศรัทธาและวิริยะพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นเท่านั้น ในอสงขัยนี้เพิ่งเริ่มต้นแสนมหากัปก็บังเกิดมีพระพุทธเจ้า เกิดขึ้น 16 พระองค์แล้ว ดังนั้นในอสงขัยนี้อาจจะมีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นเป็นร้อยเป็นพันพระองค์ก็คงเป็นไปได้ เพราะช่วง 4 อสงขัยที่ผ่านมามีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นน้อยมากเพียง 15 (รวม พระ ตัณหังกร เมธังกร สรนังกร พุทธเจ้า) พระองค์เท่านั้น ซึ่งจะเห็นว่าเมื่อเทียบระยะเวลาแล้วหนึ่ง อสงขัยเท่ากับจำนวนกัป ที่มากมายจนนับไม่ได้ แต่บังเกิดมีพระพุทธเจ้าเพียงหนึ่งหรือเป็นหมื่นพระองค์เท่านั้น ดังนั้นการที่จะบังเกิดมีพระพุทธเจ้าสักพระองค์นั้น เป็นสิ่งที่ยากแสนยากเป็นหนักหนา แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีพุทธเจ้าอีกเลย เพราะในเมื่อธรรมชาตินั้นมีวัฏฏสงสารอันเป็นทุกข์ ก็ย่อมมีผู้ที่เพียร ที่จะหลุดพ้นจากทุกข์นั้นจนได้ ก็คือพระอริยะเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน

27


เหตุ 8 ประการของพระพุทธเจ้าไม่เหมือนกัน
ของ "พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ ที่พระโคดมพุทธเจ้าทรงพบหลังรับพุทธพยากรณ์นับแต่พระพุทธเจ้าทีปังกร"
"พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ ที่พระโคดมพุทธเจ้าทรงพบ"
พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์นี้ ๒๔ พระองค์ คือ พระพุทธเจ้าที่ระโคดมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ได้ทรงพบและพระโคดมพุทธเจ้าทรงได้รับพยากรณ์ว่า จะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า นิยมนับรวมพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเข้ารวมด้วยเรียกว่า "พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์" นับแต่พระองค์แรกจนถึงพระโคดมพุทธเจ้า มีดังนี้

๑. พระทีปังกร
๒. พระโกณฑัญญะ
๓. พระสุมัคละ
๔. พระสุมนะ
๕. พระเรวตะ
๖. พระโสภิตะ
๗. พระอโนมทัสสี
๘. พระปทุมะ
๙. พระนารทะ
๑๐. พระปทุมุตตระ
๑๑. พระสุเมธะ
๑๒. พระสุชาตะ
๑๓. พระปิยทัสสี
๑๔. พระอัตถทัสสี
๑๕. พระธรรมทัสสี
๑๖. พระสิทธัตถะ
๑๗. พระติสสะ
๑๘. พระปุสสะ
๑๙. พระวิปัสสี
๒๐. พระสิขี
๒๑. พระเวสสภู
๒๒. พระกกุสันธะ
๒๓. พระโกนาคมนะ
๒๔. พระกัสสปะ
๒๕. พระโคตมะ (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน)



1. อายุต่างแห่งพระชนมายุของพระพุทธเจ้า"
พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ ที่พระโคดมพุทธเจ้าทรงพบ"
จากมากไปน้อย

100,000 พรรษา มี พระทีปักร พระโกณฑัญญะ
พระอโนมทัสสี พระปทุม พระปทุมุตตร
พระอัตถทัสสี พระธรรมทัสสี พระสิทธัตถ พระติสส

90,000 พรรษา มี พระสุมังค พระสุมน พระโสภิต
พระนารท พระสุเมธ พระสุชาต พระปิยทัสสี พระปุสส

80,000 พรรษา มี พระวิปัสสี

70,000 พรรษา มี พระสิขี

60,000 พรรษา มี พระเรวต พระเวสสภู

40,000 พรรษา มี พระกกุสันธ

30,000 พรรษา มี พระโกนาคม

20,000 พรรษา มี พระกัสสป

80 พรรษา มี พระโคดม (พระศรีศากยมุนีโคดม องค์ปัจจุบัน ส่วนพระศรีอารย เมตตรัยที่จะบังเกิดในอนาคตเบื้องหน้ามี 80,000 พรรษา)


2. ความต่างแห่งพระสรีระของพระพุทธเจ้า

พระสรีระสูง 80 ศอก มี พระทีปังกร พระเรวต พระปียทัสสี
พระอัตถทัสี พระธัมทัสสี พระวิปัสสี

พระสรีระสูง 60 ศอก มี พระสิทธัตถะ พระเวสสภู พระดิสส

พระสรีระสูง 40 ศอก มี พระกกุสันธ

พระสรีระสูง 37 ศอก มี พระสิขี

พระสรีระสูง 30 ศอก มี พระโกนาคม

พระสรีระสูง 20 ศอก มี พระกัสสป

พระสรีระสูง 4 ศอก มี พระโคดม
(พระศรีศากยมุนีโคดมองค์ปัจจุบัน)

หมายเหตุ เทียบกับศอกของมนุษย์ปัจจุบัน 1 ศอก = 50 เซนติเมตร

3.ความต่างแห่ง เวลาบำเพ็ญทุกกิริยา
ในพระชาติสุดท้าย
ทีได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

ใช้เวลา 6 ปี คือ พระโคดม(พระศรีศากยมุนีโคดมองค์ปัจจุบัน)

ใช้เวลา 10 เดือน คือ พระทีปังกร พระโกณฑัญญะ
พระสุมน พระอโนมทัสสี พระสุชาต พระสิทธถ พระกกุสันธ

ใช้เวลา 8 เดือน คือ พระสุเมธ พระสุมังคล พระติสส พระสิขี

ใช้เวลา 7 เดือน คือ พระเรวต

ใช้เวลา 4 เดือน คือ พระโสภิต

ใช้เวลา 1 เดือน คือ พระปุสส พระปิยทัสสี พระโกนาคม พระเวสสภู

ใช้เวลา ครึ่งเดือน คือ พระปทุม พระอัตถทัสสี พระวิปัสสี

ใช้เวลา 7 วัน คือ พระปทุมุตตร พระนารท พระธัมมทัสสี พระกัสสป

หมายเหตุ วันเดือนปีในที่นี้นั้นหมายถึงวันเดือนปี ของยุคนั้นๆ

4. ความต่างแห่งพุทธรังสี
(เทียบกับมนุษย์ปัจจุบัน หน่วยวัด 1 โยชน์ = 16 กิโลเมตร)

พุทธรังสีสร้านไปไกล 1,000 โยชน์ คือ พระสุมังคล
คำนวณได้ รัศมี 16,000 กม.
คลุมพื้นที่ 3.1428*(16,000)**2 = 804,556,800 ตรกม.

ถ้าพระภิกษุมีความสูง 80 ศอก จะได้รัศมีการนั่ง
30 ศอก หรือ 15 ม. คือ 1 รูปต่อ 3.1428*15*15 = 707.13

ตรม.ดังนั้นรังสีของพระองค์สามารถคลอบคลุมพระภิกษุที่
นั่งรายล้อมพระองค์อย่างสบายๆ
804,556,800*1000/707.13 = 1,137,777,777 รูป

----------

พุทธรังสีสร้านไปไกล 12 โยชน์ คือ พระปทุมุตตร

คำนวณได้ รัศมี 192 กม.
คลุมพื้นที่ 3.1428*(192)**2 = 115,856.18 ตรกม

----------

พุทธรังสีสร้านไปไกล 10 โยชน์ คือ พระกกุสันธ
(สรีระสูง 40 ศอก)

คำนวณได้ รัศมี 160 กม.
คลุมพื้นที่ 3.1428*(160)**2 = 80,455.68 ตรกม.

ถ้าพระภิกษุมีความสูง 40 ศอก
จะได้รัศมีการนั่ง 18 ศอก หรือ 9 ม.
คือ 1 รูปต่อ 3.1428*9*9 = 254.57 ตรม.

ดังนั้นรังสีของพระองค์สามารถคลอบคลุมพระภิกษุที่
นั่งรายล้อมพระองค์อย่างสบายๆ
ถึง 80,455.68*1000/254.57 = 316,046 รูป

-----------

พุทธรังสีสร้านไปไกล 6 โยชน์ กับ 400 เส้น คือ พระวิปัสสี
คำนวณได้ รัศมี 112 กม.
คลุมพื้นที่ 3.1428*(112)**2 = 39,423.28 ตรกม.

ถ้าพระภิกษุมีความสูง 80 ศอก จะได้รัศมีการนั่ง 30 ศอก
หรือ 15 ม.คือ 1 รูปต่อ
3.1428*15*15 = 707.13 ตรม.

ดังนั้นรังสีของ พระองค์สามารถคลอบคลุมพระภิกษุที่
นั่งรายล้อมพระองค์อย่างสบายๆ
ถึง 39,423.28*1000/707.13 = 55,751 รูป

----------

พุทธรังสีสร้านไปไกล 3 โยชน์ คือ พระสิขี

คำนวณได้ รัศมี 48 กม.
คลุมพื้นที่ 3.1428*(48)**2 = 7,241 ตรกม.

ถ้าพระภิกษุมีความสูง 37 ศอก จะได้รัศมีการนั่ง 16 ศอก
หรือ 8 ม.คือ 1 รูปต่อ 3.1428*8*8 = 201.14 ตรม.

ดังนั้นรังสีของพระองค์สามารถคลอบคลุมพระภิกษุที่
นั่งรายล้อมพระองค์อย่างสบายๆ
ถึง 7241*1000/201.14 = 36,000 รูป

-----------

พุทธรังสีสร้านไปไกล 1 วา คือ พระศรีศากยมุนีโคดม

คำนวณได้ รัศมี 2 ม.
คลุมพื้นที่ 3.1428*(2)**2 = 12.57 ตรม.

----------
พุทธรังสีสร้านไปไกล สุดแต่พระองค์ประสงค์
คือพระพุทธเจ้าที่เหลือ

5.ความต่างแห่งตระกุล

พระกกุสันธ พระโกนาคม
พระกัปสสป เกิดในตระกุลพราหมณ์มหาศาล

พระพุทธเจ้าที่เหลือ ในช่วง 4 อสงไขยเศษแสนมหากัป
ที่ผ่านมา เกิดในตระกุลกษัตริย์

6. ความต่างแห่งยานออกมหาภิเนษกรม

ยานมีความต่างกัน 5 อย่าง

1.ทรงคชยาน(ช้าง)
2.ทรงรถยาน
3.ทรงอัสวยาน(ม้า)
4.ทรงสีวิกามาศราชยาน
5.ทรงมณเฑียรมหาปราสาท

ในบางประการยานที่ทรงออกมหาภิเนษกรม
นั้นขึ้นอยู่กับยุคสมัยนั้นๆด้วย

7. ความต่างแห่งไม้ที่ตรัสรู้

8. ความต่างแห่งอปราซิตบัลลังก์

28


อนันตประทีปนั้นอุปมาว่าเหมือน ประทีปดวงหนึ่งสามารถเป็นสมุฎฐานจุดประทีปให้ลุกโพลงขึ้นอีกหลายร้อยหลายพันดวง ยังผู้ตกอยู่ในความมืดให้ได้รับแสงสว่าง และแสงสว่างนี้ก็มิรู้จักขาดสิ้นไปได้ โดยประการฉะนี้แลพวกเธอทั้งหลาย พระโพธิสัตว์องค์หนึ่งๆย่อมเป็นผู้กล่าวแนะนำชี้ทางแก่สรรพสัตว์อีกหลายร้อยหลายพันไม่มีประมาณ ยังสรรพสัตว์เหล่านั้นให้ตั้งจิตมุ่งตรงต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มีจิตที่มุ่งในการปฏิบัติธรรมไม่รู้จักขาดสิ้น แสดงพระสัทธรรมตามฐานะอันควร ยังสรรพกุศลสมภารของตนเองให้ทวีไพบูลย์ขึ้น นั้นแลชื่อว่า อนันตประทีป

ที่มา : วิมลเกียรตินิทเทสสูตร

29


ขอนำเสนอเรื่องราวของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึงในอดีตที่เป็นที่รู้จักกันดี
เรื่องของพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า
และที่เกี่ยวข้องกับสุเมธดาบส(พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์)ขอนำเสนอเป็นพุทธบูชา

ในที่สุดสี่อสงไขยด้วยแสนกัปนับแต่นี้ ได้มีนครหนึ่งนามว่า อมรวดี ในนครนั้นมีพราหมณ์ชื่อสุเมธอาศัยอยู่ เขามีกำเนิดดี มีครรภ์อันบริสุทธิ์ทั้งทางฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดานับได้เจ็ดชั่ว ตระกูลใครจะดูถูกมิได้ หาผู้ตำหนิมิได้เกี่ยวกับเรื่องเชื้อชาติ มีรูปสวย น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณอันงามยิ่ง เขา ไม่กระทำการงานอย่างอื่นเลย ศึกษาแต่ศิลปะของพราหมณ์ บิดาและมารดาของเขาได้ถึงแก่กรรมเสียตั้งแต่เขารุ่นหนุ่ม ต่อมา อำมาตย์ผู้จัดการผลประโยชน์นำเอาบัญชีทรัพย์สินมา เปิดห้องคลังที่เต็มไปด้วยทองเงินแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น บอกให้ ทราบถึงทรัพย์ตลอดเจ็ดชั่วตระกูลว่า ข้าแต่กุมาร ทรัพย์สินเท่านี้เป็นของมารดา เท่านี้เป็นของบิดา เท่านี้เป็นของปู่ตาและ ทวดแล้วเรียนว่า ขอท่านจงจัดการเถิด สุเมธบัณฑิตคิดว่า ปู่เป็นต้น ของเราสะสมทรัพยนี้ไว้แล้ว เมื่อจะไปสู่ปรโลกที่ชื่อว่าจะ ถือเอาทรัพย์แม้กหาปณะหนึ่งติดตัวไปด้วยหามีไม่ แต่เราควรกระทำเหตุที่จะถือเอาทรัพย์ไปด้วยได้ ดังนี้แล้วกราบทูลแด่พระ ราชา ให้ตีกลองป่าวร้องไปในพระนครให้ทานแก่มหาชนแล้วออกบวชเป็นดาบส ก็เพื่อที่จะให้ความนี้แจ่มแจ้งควรจะกล่าวสุเมธ

กถาไว้ในที่นี้ด้วย แต่สุเมธกถานี้มีมาแล้วในพุทธวงศ์ติดต่อกัน แต่เพราะเล่าเรื่องประพันธ์เป็นคาถาจึงไม่ใคร่จะแจ่มชัดดีนัก เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจักกล่าวพร้อมกับแสดงคำที่ประพันธ์ เป็นคาถาแทรกไว้ในระหว่างๆ ในที่สุดแห่งสี่องสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ได้มีพระนครมีนามว่า อมรวดี และอีกนามหนึ่งว่า อมร อึกทึกไปด้วยเสียง ๑0 เสียง ที่ท่านหมายถึงเสียงที่กล่าวไว้ใน พุทธวงศ์ ว่า

ในสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป มีพระนครหนึ่งนามว่า อมร เป็นเมืองสวยงามน่าดู น่ารื่นรมย์ สมบูรณ์ด้วยข้าวและน้ำ อึกทึกไปด้วยเสียง ๑0 เสียง

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสหิ สทฺเทหิ อวิวิตฺตํ ความว่า อึกทึกไปด้วยเสียงเหล่านี้คือ เสียงช้าง เสียงม้า
เสียงรถ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงสังข์ เสียงกังดาล เสียงที่ ๑ ว่า เชิญกิน เชิญขบเคี้ยว เชิญดื่ม ซึ่งท่านถือ เอาเพียงเอกเทศหนึ่งแห่งเสียง เหล่านั้นจึงกล่าวคาถานี้ไว้ในพุทธวงศ์ว่า

กึกก้องด้วยเสียงช้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียงสังข์และเสียงรถ เสียงป่าวร้องด้วยข้าวและน้ำว่า เชิญขบเคี้ยว เชิญดื่ม

แล้วกล่าวว่า
พระนครอันสมบูรณ์ด้วยคุณลักษณะทุกประการ เข้าถึงความเป็นพระนครที่มีสิ่งที่ต้องการทุกชนิด สมบูรณ์ด้วยแก้วเจ็ดประการ ขวักไขว่ไปด้วยเหล่าชนต่างๆมั่งคั่งเป็นดุจเทพนารี เป็นที่อาศัยอยู่ของเหล่าผู้มีบุญ พราหมณ์ชื่อสุเมธ มีสมบัติสะสมไว้นั้นได้หลายโกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากมาย เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงมนต์ ได้มาก เรียนจบไตรเพท ถึงความสำเร็จบริบูรณ์ในลักขณศาสตร์ อิติศาสตร์ และ สัทธรรม

ต่อมาวันหนึ่ง สุเมธบัณฑิตนั้น ไปในที่เร้น ณ พื้นปราสาทชั้นบนนั่งขัดสมาธิคิดว่า นี่แน่ะบัณฑิตการเกิดอีกชื่อว่าการ ถือปฏิสนธิเป็นทุกข์ การแตกดับแห่งสรีระในที่ที่เกิดแล้วก็เป็นทุกข์เช่นกัน และเราก็มีการเกิดเป็นธรรมดา มีความแก่ธรรมดา มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา มีความตายเป็นธรรมดา ควรที่เราผู้เป็นเช่นนี้จะแสวงหาพระมหานิพพานที่ไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่ มีทุกข์ มีแต่สุข เยือกเย็น ไม่รู้จักตาย ทางสายเดียวที่พ้นจากภพมีปรกตินำไปสู่พระนิพพานจะพึงมีแน่นอน ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เราเข้าไปสู่ที่เร้นนั่งแล้วในตอนนั้นได้คิดว่า ขึ้นชื่อว่า การเกิดใหม่เป็นทุกข์ การแตกดับของสรีระก็เป็น
ทุกข์ เรามีความเกิดเป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดาเช่นกัน เราจักแสวงหา
พระนิพพานที่ไม่แก่ ไม่ตาย เป็นแดนเกษม ไฉนหนอเราพึงไม่มีเยื่อใย ไร้ความต้องการทิ้งร่างกายเน่าซึ่งเต็มไป
ด้วยซากศพนานาชนิดนี้เสียได้แล้วไปทางนั้นมีอยู่ จักมีแน่ ทางนั้นอันใครๆไม่อาจที่จะไม่ให้มีได้ เราจักแสวง
หาทางนั้น เพื่อพ้นจากภพให้ได้ ดังนี้

ต่อจากนั้นก็คิดยิ่งขึ้นไปอีกอย่างนี้ว่า เหมือนอย่างว่า ชื่อว่าสุขที่เป็นปฏิปักษ์ต่อทุกข์มีอยู่ในโลกฉันใด เมื่อภพมีอยู่แม้ สิ่งที่ปราศจากภพอันเป็นปฏิปักษ์ต่อภพนั้น ก็พึงมีฉันนั้น และเหมือนเมื่อความร้อนมีอยู่ แม้ความเย็นที่จะระงับความร้อนนั้น ต้องมีฉันใด แม้พระนิพพานที่ระงับไฟมีราคะเป็นต้นก็พึงมีฉันนั้น ธรรมที่ไม่มีโทษอันงามที่เป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมอันเป็นบาปอัน ลามก ย่อมมีอยู่ฉันใด เมื่อชาติอันลามกมีอยู่ แม้พระนิพพานกล่าวคือความไม่เกิด เพราะให้ความเกิดทุกอย่างสิ้นไป ก็พึงมีฉัน นั้น ดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เมื่อทุกข์มีอยู่ ขึ้นชื่อว่าสุขก็ต้องมีฉันใด เมื่อภพมีอยู่ แม้สภาพที่ปราศจากภพก็ควรปรารถนาฉันนั้น เมื่อความร้อนมีอยู่ ความเย็นอีกอย่างก็ต้องมีฉันใด ไฟสามอย่างมีอยู่ พระนิพพานก็ควรปรารถนาฉันนั้น เมื่อ
สิ่งชั่วมีอยู่ แม้ความดีงามก็ต้องมี ฉันใด ความเกิดมีอยู่ แม้ความไม่เกิด ก็ควรปรารถนาฉันนั้น ดังนี้

ท่านยังคิดข้ออื่นๆ อีกว่า บุรุษผู้จมอยู่ในกองคูถเห็นสระใหญ่ดาดาษไปด้วยดอกปทุมห้าสีแต่ไกล ควรที่แสวงหาสระนั้น คิดว่า เราควรจะไปที่สระนั้นโดยทางไหนหนอ การไม่แสวงหาสระนั้น หาเป็นความผิดของสระนั้นไม่ แต่เป็นความผิดของบุรุษ นั้นเท่านั้น ฉันใด เมื่อสระใหญ่คืออมตนิพพานเป็นที่ชำระล้างมลทินคือกิเลสมีอยู่ การไม่แสวงหาสระนั้นไม่เป็นความผิดของสระ ใหญ่คืออมตนิพาน แต่เป็นความผิดของบุรุษนั้นเท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน อนึ่งบุรุษผู้ถูกพวกโจรห้อมล้อม เมื่อทางหนีมีอยู่ ถ้า เขาไม่หนีไป ข้อนั้นหาเป็นความผิดของทางไม่ แต่เป็นความผิดของบุรุษนั้นเท่านั้นฉันใด บุรุษผู้ถูกกิเลสห้อมล้อมจับไว้ได้แล้ว เมื่อทางอันเยือกเย็นเป็นที่สู่พระนิพพานมีอยู่ แต่ไม่แสวงหาทางนั้น หาเป็นความผิดของทางไม่ แต่เป็นความผิดของบุคคลนั้น เท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน และบุรุษผู้ถูกพยาธิเบียดเบียน เมื่อหมอผู้รักษาความเจ็บป่วยมีอยู่ หากเขาไม่แสวงหาหมอนั้นให้รัก ษาความเจ็บป่วย ข้อนั้นหาเป็นความผิดของหมอไม่ แต่เป็นความผิดของบุรุษนั้นฉันใด ผู้ใดถูกพยาธิคือกิเลสเบียดเบียน ไม่ แสวงหาอาจารย์ผู้ฉลาดในการระงับกิเลสซึ่งมีอยู่ ข้อนั้นเป็นความผิดของผู้นั้นเท่านั้น หาเป็นความผิดของอาจารย์ผู้ทำกิเลส ให้พินาศไม่ ฉันนั้นเหมือนกันดังนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

บุรูษผู้ตกอยู่ในคูถ เห็นสระมีน้ำเต็มเปี่ยม ไม่ไปหาสระนั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของสระไม่ฉันใด เมื่อ
สระคืออมตะในการที่จะชำระล้างมลทินคือกิเลสมีอยู่ เขาไม่ไปหาสระนั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของสระคืออมตะ
ไม่ ฉันนั้นเหมือนกัน

คนผู้ถูกศัตรูกลุ้มรุม เมื่อทางหนีไปมีอยู่ไม่หนีไป ข้อนั้นหาเป็นความผิดของทางไม่ฉันใด คนที่ถูกกิเลส
กลุ้มรุม เมื่อทาง ปลอดภัยมีอยู่ไม่ไปหาทางนั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของทางที่ปลอดภัยนั้นไม่ ฉันนั้นเหมือนกัน
คนผู้เจ็บป่วยเมื่อหมอรักษาโรคมีอยู่ ไม่ยอมให้รักษาความเจ็บป่วยนั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของหมอ
นั้นไม่ ฉันใด คน ผู้ได้รับทุกข์ความเจ็บป่วยคือกิเลสเบียดเบียนแล้ว ไม่ไปหาอาจารย์นั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิด
ของอาจารย์ผู้แนะนำไม่ ฉันนั้น เหมือนกัน

ท่านยังนึกถึงแม้ข้ออื่นๆ อีกว่า คนผู้ชอบแต่งตัวพึงทิ้งซากศพที่คล้องไว้ที่คอไปได้อย่างมีความสุข ฉันใด แม้เราก็ควร ทิ้งกายอันเน่านี้ไม่มีอาลัยเข้าไปสู่นิพพานนครฉันนั้น ชายหญิงทั้งหลายถ่ายอุจจาระและปัสสาวะรดบนพื้นที่อันสกปรกแล้ว
ย่อมไม่เก็บใส่พกหรือเอาชายผ้าห่อไป ต่างรังเกียจไม่อาลัยเลย กลับทิ้งไปเสียฉันใด แม้เราก็ควรจะไม่มีอาลัยทิ้งกายเน่านี้เสีย
เข้าไปสู่นิพพานนครอันเป็นอมตะฉันนั้น และนายเรือไม่มีอาลัยทิ้งเรือลำเก่าคร่ำคร่าไปฉันใด แม้เราก็จะละกายอันเป็นที่หลั่ง
ไหลออกจากปากแผลทั้งเก้านี้ ไม่มีอาลัยเข้าไปสู่นิพพานบุรี ฉันนั้น อนึ่ง บุรุษเอาแก้วนานาชนิดเดินทางไปพร้อมกับโจร จึงละทิ้งพวกโจร เหล่านั้นเสีย เพราะกลัวจะเสียแก้วของตน ถือเอาทางปลอดภัย ฉันใด กรชกาย ( กายที่เกิดจากธุลี ) แม้นี้ ก็ฉันนั้นเป็นเช่นโจรปล้นแก้ว ถ้าเราจักก่อตัณหาขึ้นในกายนี้ แก้วคือพระธรรมอันเป็นกุศล คืออริยมรรคจะสูญเสียไป เพราะฉะ
นั้นควรที่เราจะละทิ้ง กายอันเช่นกับโจรนี้เสีย แล้วเข้าสู่นิพพานนคร ดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่าน จึงกล่าวว่า

บุรุษปลดเปลื้องซากศพที่น่าเกลียด ซึ่งผูกไว้ที่คอแล้ว อยู่อย่างสุขเสรี อยู่ลำพังตนได้ ฉันใด คนก็ควร
ละทิ้งร่างกายเน่า ที่มากมูลด้วยซากศพนานาชนิดไปอย่างไม่มีอาลัย ไม่มีความต้องการอะไรฉันนั้น
ชายหญิงทั้งหลายถ่ายกรีสลงในที่ถ่ายอุจจาระทิ้งไปอย่างไม่มีอาลัย ไม่มีความต้องการอะไร ฉันใด เราจะ
ละทิ้งกายที่เต็มไปด้วยซากศพนานาชนิดนี้ไป เหมือนคนถ่ายอุจจาระแล้วละทิ้งส้วมไปฉะนั้น

เจ้าของละทิ้งเรือเก่าคร่ำคร่าผุพัง น้ำรั่วเข้าไปได้ ไม่มีความอาลัย ไม่มีความต้องการอะไร ฉันใด เราจัก ละทิ้งกายนี้ที่มีช่องเก้าช่อง หลั่งไหลออกเป็นนิตย์ เหมือนเจ้าของทิ้งเรือเก่าไป ฉะนั้น
บุรุษไปพร้อมกับโจรถือห่อของไป เห็นภัยที่จะเกิดจากการตัดห่อของจึงทิ้งแล้วไปเสียฉันใด กายนี้เปรียบ เหมือนมหาโจร เราจักละทิ้งกายนี้ไปเพราะกลัวจะถูกตัดกุศล ฉันนั้นเหมือนกัน

สุเมธบัณฑิตคิดเนื้อความประกอบด้วยเนกขัมมะนี้ ด้วยอุปมาต่างๆ แล้ว สละกองแห่งโภคสมบัตินับไม่ถ้วนในเรือน ของตน แก่เหล่าชนมีคนกำพร้าและคนเกิดทางไกลเป็นต้น ตามนัยที่กล่าวมาแล้วแต่หนหลัง ถวายมหาทานละวัตถุกามและ
กิเลสกามแล้ว ออกจากอมรนครคนเดียวเท่านั้น อาศัยภูเขาชื่อธรรมิกะในป่าหิมพานต์ สร้างอาศรม เนรมิตบรรณศาลาและที่ จงกรมเนรมิตขึ้นด้วยกำลังแห่งบุญของตน เพื่อจะละเว้นเสียจากโทษแห่งนิวรณ์ทั้งห้า นำมาซึ่งกำลัง กล่าวคืออภิญญาที่ ประกอบด้วนเหตุ อันเป็นคุณ ๘ อย่างตามที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เมื่อจิตมั่นคงแล้วอย่างนี้ ดังนี้ และละทิ้งผ้าสาฎกที่ ประกอบด้วยโทษ ๙ ประการไว้ในอาศรมบทนั้น แล้วนุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ที่ประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการบวชเป็นฤาษี ท่านเมื่อ บวชแล้วอย่างนี้ ก็ละบรรณศาลานั้น ซึ่งเกลื่อนกล่นไปด้วยโทษ ๘ ประการ เข้าไปทางโคนต้นไม้ซึ่งประกอบด้วยคุณ ๑0
ประการ เลิกละข้าวต่างๆอย่างทั้งปวง หันมาบริโภคผลไม้ที่หล่นเองจากต้น เริ่มตั้งความเพียรด้วยอำนาจการนั่งการยืนและ
การเดินจงกรม ในภายในเจ็ดวันนั่นเองก็ได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ท่านได้บรรลุกำลังแห่งอภิญญาตามที่ปรารถนาไว้นั้นด้วย
ประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เราคิดอย่างนี้แล้วได้ให้ทรัพย์นั้นได้หลายร้อยโกฏิ แก่คนยากจนอนาถา แล้วเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์ ในที่ไม่
ไกลแห่งป่าหิมพานต์มีภูเขาชื่อธรรมิกะ เราสร้างอาศรมอย่างดีไว้ เนรมิตบรรณศาลาไว้อย่างดี ทั้งยังเนรมิต ที่จงกรมเว้นจากโทษ ๕ ประการไว้ในอาศรมนั้น เราได้กำลังอภิญญาประกอบด้วยองค์แปดประการ เราเลิกใช้ผ้า สาฎกอันประกอบด้วยโทษ ๙ ประการ หันมานุ่งห่มผ้าเปลือกไม้อันประกอบด้วยคุณ ๙ ประการ เราเลิกละบรรณ ศาลาที่กล่นเกลื่อนไปด้วยโทษ ๘ ประการ เข้าสู่โคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑0 ประการ เราเลิกละข้าวที่หว่านที่ ปลูกโดยไม่มีส่วนเหลือเลย หันมาบริโภคผลไม้หล่นเองที่สมบูรณ์ด้วยคุณเป็นอเนกประการ เราเริ่มตั้งความเพียร ในที่นั่งที่ยืนและที่จงกรมในอาศรมบทนั้น ภายในเจ็ดวันก็ได้บรรลุกำลังแห่งอภิญญา ดังนี้





เมื่อสุเมธดาบสบรรลุอภิญญาพละอย่างนี้แล้ว ให้เวลาล่วงไปด้วยสุขอันเกิดจากสมาบัติ พระศาสดาทรงพระนามว่า ทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ในการถือปฏิสนธิ การอุบัติขึ้น การตรัสรู้และการประกาศพระธรรมจักร โลกธาตุหมื่นหนึ่งแม้ ทั้งสิ้นหวั่นไหวสะเทือนร้องลั่นไปหมด บุรพนิมิต ๓๒ ประการปรากฏขึ้นแล้ว สุเมธบัณฑิตให้เวลาล่วงเลยไปด้วยสุขอันเกิดแต่ สมาบัติ ไม่ได้ยินเสียงนั้นเลย ทั้งไม่ได้เห็นนิมิตแม้เหล่านั้นด้วย เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เมื่อเราบรรลุความสำเร็จในศาสนาเป็นผู้มีความชำนิชำนาญอย่างนี้ พระชินเจ้าผู้เป็นโลกนายกทรงพระ นามว่าทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว เมื่อพระองค์ทรงถือกำเนิด เสด็จอุบัติขึ้น ตรัสรู้ แสดงพระธรรมเทศนา เราเอิบ อิ่มด้วยความยินดีในฌาน มิได้เห็นนิมิตทั้ง ๔ เลย

ในกาลนั้นพระทศพลทรงพระนามว่าทีปังกร มีพระขีณาสพสี่แสนห้อมล้อมแล้ว เสด็จจาริกไปตามลำดับเสด็จถึงนครชื่อ รัมมกะ เสด็จประทับ ณ สุทัสนมหาวิหาร พวกชาวรัมมกนครได้ข่าวว่า ได้ยินว่าพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร ผู้เป็นใหญ่ กว่าสมณะ ทรงบรรลุอภิสัมโพธิอย่างยิ่ง ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จจาริกไปโดยลำดับ เสด็จประทับอยู่ที่สุทัสนมหา วิหาร ต่างพากันถือเภสัชมีเนยใสและเนยข้นเป็นต้น และผ้าเครื่องนุ่มห่ม มีมือถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่ ณ ที่ใด ก็หลั่งไหลพากันติดตามไป ณ ที่นั้นๆ เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วถวายบังคม บูชาด้วยของหอม
และดอกไม้เป็นต้นแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ฟังพระธรรมเทศนาแล้วทูลนิมนต์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น พากันลุกขึ้นจากที่นั่งแล้ว
หลีกไป ในวันรุ่งขึ้นต่างพากันตระเตรียมมหาทาน ประดับประดานคร ตกแต่งหนทางที่จะเสด็จมาของพระทศพล ในที่มีน้ำเซาะ
ก็เอาดินถมทำพื้นที่ดินให้ราบเสมอ โรยทรายอันมีสี ดังแผ่นเงิน โปรยข้าวตอกและดอกไม้ ปักธงชายและธงแผ่นผ้าพร้อมด้วย
ผ้าย้อมสีต่างๆ ตั้งต้นกล้วยและหม้อน้ำเต็มด้วยดอกไม้ เรียงรายเป็นแถว ในกาลนั้นสุเมธดาบสเหาะจากอาศรมบทของตน มาโดยทางอากาศ เบื้องบนของพวกมนุษย์เหล่านั้น เห็นพวก เขาร่าเริงยินดีกันคิดว่า มีเหตุอะไรหนอ จึงลงจากอากาศยืน ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ถามพวกเขาว่า ท่านผู้เจริญ พวกท่านพากัน ประดับประดาทางนี้เพื่อใคร ดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

พวกมนุษย์มีใจยินดีนิมนต์พระตถาคต ในเขตแดนแห่งปัจจันตประเทศแล้ว พากันชำระสะสางทางเสด็จ ดำเนินมาของพระองค์ สมัยนั้นเราออกไปจากอาศรมของตน สะบัดผ้าเปลือกไม้ไปมาแล้ว ทีนั้นก็เหาะไปทางอากาศ
เราเห็นชนต่างเกิดความดีใจ ต่างยินดีร่าเริง ต่างปราโมทย์ จึงลงจากท้องฟ้าไต่ถามพวกมนุษย์ทันทีว่า มหาชนยินดีร่าเริงปราโมทย์ เกิดความดีใจ พวกเขาชำระสะสางถนนหนทางเพื่อใคร

พวกมนุษย์จึงเรียนว่า ข้าแต่ท่านสุเมธผู้เจริญ ท่านไม่ทราบอะไร พระทศพลทีปังกรทรงบรรลุสัมโพธิญาณแล้ว ประกาศธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จจาริกมาถึงนครของพวกเราแล้ว เสด็จพำนักที่สุทัสนมหาวิหาร พวกเรานิมนต์พระผู้มีพระ ภาคเจ้าพระองค์นั้นมา จึงตกแต่งทางนี้ ที่จะเป็นที่เสด็จมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น สุเมธดาบสคิดว่า แม้เพียงคำ ประกาศว่า พระพุทธเจ้า ก็หาได้ยากในโลก จะป่วยกล่าวไปไยถึงการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า แม้เราก็ควรจะร่วมกับมนุษย์
เหล่านี้ตกแต่งทางเพื่อพระทศพลด้วย ท่านจึงกล่าวกะพวกมนุษย์เหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญถ้าพวกท่านตกแต่งทางนี้เพื่อพระ
พุทธเจ้า ขอจงให้โอกาสส่วนหนึ่งแก่เราบ้าง แม้เราก็จักตกแต่งทางเพื่อพระทศพลพร้อมกับพวกท่าน พวกเขาก็รับปากว่า ดี
แล้ว ต่างรู้ว่า สุเมธดาบสมีฤทธิ์ จึงกำหนดที่ว่างซึ่งมีน้ำเซาะให้กล่าวว่า ท่านจงแต่งที่นี้เถิด แล้วมอบให้ไป สุเมธดาบสยึดเอา
ปีติซึ่งมีพระ พุทธเจ้าเป็นอารมณ์คิดว่า เราสามารถจะตกแต่งที่ว่างนี้ด้วยฤทธิ์ได้ แต่เมื่อเราตกแต่งเช่นนี้ ใจก็ไม่ยินดีนัก วันนี้
เราควรจะ กระทำการรับใช้ด้วยกาย ดังนี้แล้ว ขนดินมาเทลงในที่ว่างนั้น เมื่อที่ว่างแห่งนั้นยังตกแต่งไม่เสร็จเลย พระทศพล
ทีปังกร มีพระขีณาสพผู้ได้อภิญญา ๖ มีอานุภาพมาก สี่แสนรูปห้อมล้อม เมื่อเหล่ามนุษย์บูชาด้วยของหอมและดอกไม้ เสด็จ
เยื้องกรายบนพื้น มโนสิลา ด้วยพระพุทธลีลาอันหาที่สุดมิได้ ประดุจราชสีห์ เสด็จดำเนินมาสู่ทางที่ตกแต่งประดับประดาแล้ว
นั้น สุเมธดาบส ลืมตาทั้งสองขึ้นมองดูพระวรกายของพระทศพลผู้เสด็จดำเนินมาตามทางที่ตกแต่งแล้ว ซึ่งถึงความเลิศด้วย
พระรูปโฉม ประดับด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ สวยงามด้วยพระอนุพยัญชนะ ( ลักษณะส่วนประกอบ ) ๘0 ประการ แวดล้อมด้วยแสงสว่าง ประมาณวาหนึ่ง เปล่งพระพุทธรัศมีหนาทึบมีสี ๖ ประการออกมาดูประหนึ่งสายฟ้าหลายหลาก ในพื้น
ท้องฟ้ามีสีดุจแก้วมณี ฉายแสงแปลบปลาบไปมาเป็นคู่ๆ กัน จึงคิดว่า วันนี้เราควรกระทำการบริจาคชีวิตแด่พระทศพล เพราะ
ฉะนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่าได้ทรงเหยียบเปือกตม แต่จงทรงย่ำหลังของเรา เสด็จพร้อมกับพระขีณาสพสี่แสนเหมือน
ทรงเหยียบสะพานแก้วมณีเถิด ข้อนั้นจักเป็นเพื่อประโยชน์เพื่อควมสุขแก่เราตลอกกาลนาน ดังนี้แล้วแก้ผมออก ลาดหนังเสือ ชฎาและผ้าเปลือกไม้วางลงบนเปือกตม ซึ่งมีสีดำ นอนบนหลังเปือกตมเหมือนสะพานแผ่นแก้วมณี เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าว
ว่า

พวกมนุษย์เหล่านั้น ถูกเราถามแล้วยืนยันว่า พระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมเป็นพระชินะเป็นพระโลกนายกทรง พระนามว่า ทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก พวกเขาแผ้วถางถนนหนทางเพื่อพระองค์ ปีติเกิดขึ้นแล้วแก่เราทัน ใดเพราะได้ฟังคำว่า พุทโธ เราเมื่อกล่าวอยู่ว่า พุทโธ พุทโธ ก็ได้เสวยโสมนัสแล้ว เรายืนอยู่ในที่นั้นยินดี มีใจ เกิดความสังเวชจึงคิดว่า เราจักปลูกพืชไว้ที่นั้น ขณะอย่าได้ล่วงเลยเราไปเสียเปล่า ถ้าพวกท่านจะแผ้วถางหน ทางเพื่อพระพุทธเจ้า ก็จงให้ที่ว่างแห่งหนึ่งแก่เรา แม้เราก็จักแผ้วถาง ถนนหนทาง ทีนั้นพวกเขาได้ให้ที่ว่างแก่ เราเพื่อจะแผ้วถางทางได้
เวลานั้นเรากำลังคิดอยู่ว่า พุทโธ พุทโธ แผ้วถางทาง เมื่อที่ว่างของเราทำไม่เสร็จ พระมหามุนีทีปังกร ผู้เป็นพระชินเจ้า พร้อมกับพระขีณาสพสี่แสนผู้ได้อภิญญา ๖ ผู้คงที่ปราศจากมลทินเสด็จดำเนินมาทางนั้น การ ต้อนรับต่างๆ ก็มีขึ้น กลองมากมายก็บรรเลงขึ้น เหล่าคนเหล่าเทวดาล้วนร่าเริง ต่างทำเสียงสาธุการลั่นไปทั่ว เหล่าเทวดาเห็นพวกมนุษย์และพวกมนุษย์ก็เห็นเทวดา แม้ทั้งสองพวกนั้นต่างประคองอัญชลีเดินตามพระตถาคต ไป เหล่าเทวดาที่เหาะมาทางอากาศก็โปรยปรายดอกมณฑารพ ดอกบัวหลวง ดอกปาริฉัตรอันทิพย์ไปทั่วทุกทิศ เหล่าคนที่อยู่พื้นดินต่างก็ชูดอกจำปา ดอก (สัลลชะ) ดอกกระทุ่ม ดอกกากระทิง ดอกบุนนาค ดอกการะเกดไปทั่ว ทุกทิศ เราแก้ผมออก เปลื้องผ้าเปลือกไม้และหนังเสือ ในที่นั้นลาดลงบนเปือกตมนอนคว่ำหน้า พระพุทธเจ้าพร้อม ด้วยศิษย์จงทรงเหยียบเราเสด็จไป อย่าได้เหยียบบนเปือกตมเลย ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เรา ดังนี้

สุเมธดาบสนั้นนอนบนหลังเปือกตมนั่นแล ลืมตาทั้งสองเห็นพระพุทธสิริของพระทศพลทีปังกรจึงคิดว่า ถ้าเราพึงต้อง
การ ก็พึงเผากิเลสทั้งปวงหมดแล้วเป็นพระสงฆ์นวกะเข้าไปสู่รัมมกนครได้ แต่เราไม่มีกิจด้วยการเผากิเลส ด้วยเพศที่ใครไม่รู้
จักแล้วบรรลุนิพพาน ถ้ากระไรเราพึงเป็นดังพระทศพลทีปังกรบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณอย่างสูงยิ่งแล้วขึ้นสู่ธรรมนาวา ให้
มหาชนข้ามสงสารสาครได้แล้วปรินิพพานในภายหลัง ข้อนี้สมควรแก่เรา ดังนี้แล้ว ต่อจากนั้นประมวลธรรม ๘ ประการกระทำ
ความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าแล้วนอนลง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า


30
พระอนาคตวงศ์ 10 พระองค์



คำนำ

http://www.84000.org/anakot/index.html

พระอนาคตวงศ์นี้ เป็นเรื่องกล่าวถึงประวัติย่อของพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย ผู้บำเพ็ญพระบารมีในชาติหนึ่ง


ซึ่งปรากฏเป็นยอดปรมัตถบารมีอันประเสริฐ เกิดสำเร็จผล ทรงพระอภินิหาร ประกอบด้วยพระเดชามหานุภาพ
เป็นพุทธสมบัติที่จะมาอุบัติตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสิบพระองค์ในโลก ณ อนาคตกาลภายหน้า นั้นคือ

- พระศรีอาริยเมตไตรย์ พระองค์หนึ่ง
- พระราม พระองค์หนึ่ง
- พระธรรมราช พระองค์หนึ่ง
- พระธรรมสามี พระองค์หนึ่ง
- พระนารท พระองค์หนึ่ง
- พระรังสีมุนีนาถ พระองค์หนึ่ง
- พระเทวเทพ พระองค์หนึ่ง
- พระนรสีหะ พระองค์หนึ่ง
- พระติสสะ พระองค์หนึ่ง
- พระสุมงคล พระองค์หนึ่ง

ซึ่งต่อจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราไป โดยลำดับกัปป์ นับตั้งแต่ภัทรกัปป์นี้เป็นต้นไป
พระพุทธเจ้าสิบพระองค์นี้ ทรงสร้างพระบารมีสิบทัศครบบริบูรณ์แล้ว จึงทรงพระคุณ มีอภินิหารต่างๆ ยิ่งหย่อนกว่ากัน ด้วยสามารถพระบารมีนั้นๆของพระองค์ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ตรัสไว้แก่พระสารีบุตร โดยพุทธภาษิตบรรยาย จัดเป็นพุทธประวัติกาลอนาคตเรื่องหนึ่งฯ

กัณฑ์ที่ ๑

( เอกํ สมยํ ภควา สาวตฺถิยํ วิสาขาย สตฺตวีสติโกฏิธนปริจฺจาเคน การิเต
ปุพฺพาราเม วสฺสาวาสํ วสนฺโต อชิตตฺเถรํ อารพฺภ ทส โพธิสตฺตาติ อิมํ ธมฺมเทสนํ กเถสีติฯ )

( บัดนี้ จะได้วิสัชนาในเรื่อง พระอนาคตวงศ์ โดยพุทธภาษิตปริยาย มีเนื้อความตามพระบาลีว่า เอกํ สมยํ )

***บาลีและข้อความในวงเล็บทุกแห่งได้เพิ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๔ เพื่อให้เทศน์ได้สะดวก***



พระศรีอาริยเมตไตร (พระอชิตเถระ)

ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์พุทธเจ้าเสด็จยับยั้งอาศัยใกล้กรุงสาวัตถีมหานคร วสนฺโต เมื่อสมเด็จพระชินวรผู้ทรงญาณสำราญพระอิริยาบถ เข้าพรรษาอยู่ในบุพพาราม อันพระวิสาขา สร้างถวายสิ้นทรัพย์ ๒๗ โกฏิฯ

ครั้งนั้น พระองค์ทรงปรารภซึ่งพระอชิตเถระ ผู้หน่อบรมพุทธางกูรอริยเมตไตรยเจ้าให้เป็นเหตุ พระโลกเชษฐ์จึงตรัสพระธรรมเทศนา สำแดงซึ่งพระโพธิสัตว์ทั้ง ๑๐ องค์ อันจะมาตรัสเป็น องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลฯ ครั้งนั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถรเจ้า จึงกราบทูลอาราธนา พระองค์ก็นำมาซึ่งอดีตนิทาน แห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ พระองค์ ที่จะลงมาตรัสในอนาคตกาลเบื้องหน้าต่อไป

เป็นใจความว่า เมื่อศาสนาพระตถาคตครบ ๕๐๐๐ ปีแล้ว ฝูงสัตว์ก็มีอายุถอยลง คงอยู่ ๑๐ ปีเป็นอายุขัย ครั้งนั้นแล จะบังเกิดมหาภัยเป็นอันมาก มีสัตถันตะระกัปป์ มนุษย์ทั้งหลายจะวุ่นวายเป็นโกลาหล เกิดรบพุ่งฆ่าฟันซึ่งกันและกัน จะจับไม้และใบหญ้าก็กลับกลายเป็นหอก ดาบ แหลน หลาว อาวุธน้อยใหญ่ ไล่ทิ่มแทงกัน ถึงซึ่งความฉิบหายเป็นอันมาก ฝูงมนุษย์ทั้งหลายที่มีปัญญา ก็หนีไปซุกซ่อนตัวอยู่ในซอกห้วย หุบเขา เมื่อพ้น ๗ วันล่วงไปแล้ว มนุษย์ทั้งหลายที่เร้นซ่อนอยู่นั้น เห็นสงบสงัดเสียงคนก็ออกมาจากที่ซ่อนเร้น ครั้นเห็นซึ่งกันและกัน ก็มีความสงสารรักใคร่เป็นอันมาก เข้าสวมสอดกอดรัดร้องไห้กันไปมา บังเกิดมีความเมตตากรุณากันมากขึ้นไป ครั้นตั้งอยู่ในเมตตาพรหมวิหาร แล้วก็อุตสาหะรักษาศีล ๕ จำเริญกรรมฐานภาวนาว่า อยํ อตฺตภาโว อันว่าร่างกายของอาตมานี้ อนิจฺจํ หาจริงมิได้ ทุกฺขํ เป็นกองแห่งทุกข์ฝ่ายเดียว อนตฺตา หาสัญญา สำคัญมั่นหมายมิได้ ด้วยกายอาตมาไม่มีแก่นสารฯ
…..เมื่อมนุษย์ทั้งหลาย ปลงสัญญาเห็นในกระแสพระกรรมฐานภาวนาดังนี้เนืองๆ อายุของมนุษย์ทั้งหลายก็วัฒนาจำเริญขึ้นไป ที่มีอายุ ๑๐ ปีเป็นอายุขัยนั้น ค่อยทวีขึ้นไปถึง ๒๐ ปีเป็นอายุขัย ค่อยทวีขึ้นไปทุกชั้นทุกชั้น จนอายุได้ ร้อย พัน หมื่น แสน โกฏิ จนถึงอสงไขยหนึ่ง ครั้นนานไปเห็นว่าไม่รู้จักความตายแล้ว ก็มีความประมาท มิได้ปลงใจลงในกอง ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา อายุก็ถอยน้อยลงมาทุกทีจนถึง ๘ หมื่นปี ฝนก็ตกเป็นฤดูคือ ๕ วันตก ๑๐ วันตก ในชมพูทวีปทั้งปวงมีพื้นแผ่นดินราบคาบสม่ำเสมอเป็นอันดีฯ

ครั้งนั้น กรุงพาราณสีเปลี่ยนนาม ชื่อว่า เกตุมมะดี โดยยาวได้ ๑๖ โยชน์ โดยกว้างได้ ๑ โยชน์ มีไม้กัลปพฤกษ์เกิดทั้ง ๔ ประตูเมือง มีแก้ว ๗ ประการ ประกอบเป็นกำแพงแก้ว ๗ ชั้นโดยรอบพระนคร ครั้งนั้น มหานฬกาลเทวบุตร ก็จุติลงมาเกิดเป็นสมเด็จบรมจักรพรรตราธิราช ทรงพระนามว่า พระยาสังขจักร เสวยศิริราชสมบัติในเกตุมมะดีมหานคร ในท่ามกลางเมืองนั้นมีปรางค์ปราสาททองอันแล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการ ผุดขึ้นมาแต่มหาคงคา ลอยมายังนภาดลอากาศเวหา มาตั้งอยู่ในท่ามกลางพระนคร ปรางค์ปราสาทนี้ แต่กาลก่อนเป็นปรางค์ปราสาทแห่งสมเด็จพระเจ้ามหาปะนาท ครั้นสิ้นบุญพระเจ้ามหาปะนาทแล้ว ปรางค์ปราสาทนั้นก็จมลงไปในคงคา เมื่อสมเด็จบรมจักรจอมทวีปผู้ทรงพระนามว่า พระยาสังขจักร ได้เสวยราชสมบัติในเกตุมมะดีนั้น ปรางค์ปราสาทก็ผุดขึ้นมาแต่มหาคงคาด้วยอานุภาพแห่งบรมจักร ประดับไปด้วยหมู่พระสนมแสนสาวสุรางค์ทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่น ๔ พัน พระองค์มีพระราชโอรสประมาณพันพระองค์ พระราชโอรสผู้ใหญ่นั้น ทรงพระนามว่า อชิตราชกุมาร เจ้าอชิตราชกุมารนั้น เป็นปรินายกแก้ว แห่งสมเด็จพระราชบิดาผู้เป็นพระยาบรมสังขจักร อันบริบูรณ์ไปด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ
จักรแก้ว ๑
นางแก้ว ๑
แก้วมณีโชติ ๑
ช้างแก้ว ๑
ม้าแก้ว ๑
คฤหบดีแก้ว ๑
ปรินายกแก้ว ๑
อันว่าสมบัติบรมจักรนั้นย่อมมีทุกสิ่งทุกประการ เป็นที่เกษมสานต์ยิ่งนัก เหลือที่จะพรรณนาในกาลนั้นฯ

ฝ่ายว่า มหาปุโรหิตผู้ใหญ่ของสมเด็จพระเจ้าสังขจักรนั้น เป็นมหาพราหมณ์ประกอบไปด้วยอิสริยยศเป็นอันมาก หาผู้จะเปรียบเสมอมิได้ มีนามปรากฏว่า สุตพราหมณ์ นางพราหมณีผู้เป็นภรรยานั้นมีนามว่า นางพราหมณวดีฯ ในกาลนั้น สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า รับอาราธนานิมนต์แห่งฝูงเทพยดาทั้งหลาย ก็จุติลงมาจากสวรรค์เทวโลก ลงมาถือเอาปฏิสนธิในครรภ์แห่งนางพราหมณวดี ภรรยาแห่งมหาปุโรหิตพราหมณ์ผู้ใหญ่ ในวันบัณณสี อุโบสถ เพ็ญเดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลาปัจจุสสมัยใกล้รุ่ง พร้อมด้วยอัศจรรย์ทั้งหลาย ๑๒ ประการ เทพยดาพากันกระทำสักการบูชาดังห่าฝนตกลงในกลางอากาศ แล้วก็มีปรางค์ปราสาททั้ง ๓ ผุดขึ้นมา เพื่อจะให้เป็นที่สำราญ แห่งพระบรมโพธิสัตว์เจ้า
ปราสาท ๑ ชื่อว่า ศิริวัฒนะ
ปราสาท ๑ ชื่อว่า สิทธัตถะ
ปราสาท ๑ ชื่อว่า จันทกะ

ปรางค์ปราสาททั้ง ๓ นี้เป็นที่จำเริญพระศิริสวัสดิมงคล ควรจะให้สำเร็จประโยชน์ทุกประการ ปรากฏงามดังดวงพระจันทร์ แล้วหอมฟุ้งไปด้วยกลิ่นอันหอมมิรู้ขาด เดียรดาษไปด้วยนางนาฏพระสนมประมาณ ๗ แสน ส่วนสมเด็จพระอัครมเหสีแห่งสมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรย บรมโพธิสัตว์เจ้านั้น ทรงพระนามว่า พระจันทมุขี เป็นประธานแห่งนางบริวารทั้ง ๗ แสน มีพระราชโอรสองค์ ๑ ทรงพระนามว่า พราหมณ์วัฒนกุมาร เมื่อพระมหาบุรุษผู้ประเสริฐ ทรงพระสำราญแรมอยู่ในปรางค์ปราสาททั้ง ๓ ควรแก่ฤดูโดยนิยมดังนี้ฯ จนพระองค์มีพระชนม์ได้ ๘ หมื่นปี แล้วจึงเสด็จขึ้นสู่รถแก้วอันเป็นทิพย์วิมานมีศิริหาเสมอมิได้ เสด็จไปประพาสอุทยานทอดพระเนตรเห็นจตุรนิมิตทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นเทวทูตยังธรรมสังเวชให้เกิดขึ้น ก็มีพระทัยน้อมไปในบรรพชา พิจารณาเห็นเพศสมณะนั้นเป็นอารมณ์ ในขณะนั้นอันว่าปรางค์ปราสาทแก้วซึ่งทรงพระสำราญยับยั้งอยู่นั้น ก็ลอยไปในอากาศเวหา พร้อมทั้งพระราชโอรส และหมู่นิกรอนงค์นางกัลยาทั้งหลายก็ไปกับปรางค์ปราสาทนั้น

ครั้งนั้นเปรียบประดุจดังว่า พระยาสุวรรณราชหงส์ทองอันบินไปในอากาศเวหา ฝ่ายฝูงเทพยดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาล ก็ชวนกันถือเครื่องสักการบูชา เหาะตามกันมากระทำสักการบูชาในอากาศเวหา แน่นเนื่องกันมาเป็นอเนกอสงไขย ทั้งท้าวพระยามหากษัตริย์ทั้งหลาย ๘ หมื่น ๔ พัน พระนครก็ดี และชาวนิคมประจันตประเทศชนบททั้งหลายก็ดี ก็ชวนกันมากระทำสักการบูชาด้วยดอกไม้และของหอม มีประการต่างๆเต็มเดียรดาษกลาดเกลื่อนไปทั้งชมพูทวีป เหล่าพวกอสูรทั้งหลาย ก็เข้าแวดล้อมพิทักษ์รักษาปรางค์ปราสาทฯ ฝ่ายพระยานาคราชนั้น กระทำสักการบูชาด้วยแก้วมณี พระยาสุวรรณราชปักษีกระทำสักการบูชาด้วยแก้ว อันเป็นเครื่องประดับตน พระยาคนธรรพ์ทั้งหลายนั้น กระทำสักการบูชาด้วยเครื่องทิพย์ดุริยางค์ ฟ้อนรำ มีประการต่างๆฯ

ปางเมื่อองค์สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยเจ้าเสด็จออกบรรพชานั้น ฝูงเทพยดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ และ มนุษย์ นาค ครุฑ คนธรรพ์ทั้งหลาย กระทำสักการบูชา ทั้งพระยาบรมจักรพรรตราธิราชเจ้าผู้ประเสริฐ ก็พร้อมด้วยแสนสาวสนมในทั้งปวง และโยธาหาญ หมู่จตุรงค์องค์พยุหะเสนาอเนกนับมิได้ เสด็จไปที่ใกล้แห่งสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์

ครั้งนั้นมหาชนทั้งหลายทั้งปวง มีความปรารถนาจะทรงบรรพชาแล้วก็ลอยไปในอากาศ กับด้วยพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ด้วยเดชานุภาพแห่งบรมจักร และอานุภาพแห่งพระศรีอาริยเมตไตรยบรมโพธิสัตว์นั้น ครั้นเสด็จถึงควงไม้พระศรีรัตนมหาโพธิ์ คือไม้กากะทิงแล้ว ปรางค์ปราสาทแก้วก็เลื่อนลอยลงจากอากาศใกล้ในที่ปริมณฑลไม้มหาโพธินั้น ฝ่ายท้าวมหาพรหมก็เชิญซึ่งพานผ้ากาสาวพัสตร์ กับเครื่องบริขารทั้ง ๘ น้อมเข้าไปถวายสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ แล้วพระองค์จึงชักเอาพระแสงดาบแก้วตัดพระเกศเกล้าให้ขาด แล้วก็โยนขึ้นไปในอากาศเวหา ถือเครื่องบริขารทั้ง ๘ ประการ ทรงเพศบรรพชาเสร็จแล้ว ส่วนว่าบริวารทั้งหลายทั้งปวงนั้น ก็ชวนกันบรรพชา บวชตามสมเด็จพระโพธิสัตว์เจ้าเป็นอันมาก ฝ่ายพระมหาบุรุษราช องค์พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้านั้น กระทำความเพียรอยู่ที่ใกล้พระศรีมหาโพธิสิ้นประมาณ ๗ วัน ในเมื่อเวลาเย็นพระองค์ก็เสด็จเข้าไปสู่ควงไม้พระมหาโพธิ ขึ้นทรงนั่งเหนือรัตนอปราชิตบัลลังค์พระที่นั่งแก้ว แล้วทรงพระคำนึงระลึกถึงบุพพชาติของพระองค์ด้วย บุพเพนิวาสานุสติญาณ ทรงเห็นโดยลำดับกัน ประจักษ์แจ้งในปฐมยามฯ ครั้นล่วงเข้ามัชฌิมยามทรงเห็นซึ่ง จุติ-ปฏิสนธิ แห่งสัตว์ทั้งหลาย ด้วยทิพย์จักษุญาณฯ ครั้นล่วงไปในปัจฉิมยามที่สุดนั้น พระองค์พิจารณาซึ่งปัจจัยการ อันประกอบไปด้วยองค์ ๒ ประการ ตามกระแสพระปฏิจจสมุปบาทธรรม ด้วยสามารถอนุโลม ตรัสรู้ตลอดกัน ในลำดับนั้นก็ได้สำเร็จแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ ทรงพระนามว่า อรหังสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอาทิ ปรากฏเป็นพระพุทธคุณทั่วโลกธาตุ แล้วพระองค์ก็ยังมนุษย์ทั้งหลายประมาณแสนโกฏิ ให้ดื่มกินซึ่งน้ำอมฤตรสคือพระสัทธรรม
เห็นพระนิพพานอันมิได้รู้แก่ รู้ตาย เป็นธรรมาภิสมัย ให้บังเกิดแก่ฝูงเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ได้ตรัสรู้มรรคและผลหาประมาณมิได้ฯ - และองค์พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้าผู้ทรงพระภาคมีประเภทเป็นอันงามนั้น
- พระองค์มีพระวรกายสูงได้ ๘๘ ศอก
- พระองค์ใหญ่กว้างได้ ๒๕ ศอก
- ตั้งแต่พระบาทถึงพระชานุมณฑลมีประมาณ ๒๒ ศอก
- ตั้งแต่พระชานุมณฑลขึ้นไปถึงพระนาภีประมาณ ๒๒ ศอก
- ตั้งแต่พระนาภีขึ้นไปถึงพระรากขวัญทั้ง ๒ ประมาณ ๒๒ ศอก
- ตั้งแต่พระรากขวัญขึ้นไปถึงพระเศียรเกล้า ที่สุดยอดพระอุณหิส เปลวพระพุทธรัศมีนั้น ประมาณ ๒๒ ศอก เสมอกันทั้ง ๔ส่วน
- พระรากขวัญทั้ง ๒ แต่ละอันนั้นยาวได้ ๕ ศอก
- อันว่าพระหัตถ์ทั้ง ๒ ซ้าย-ขวานั้น ยาวได้ ๔๐ ศอก ( เข้าใจว่าความยาวจากหัวไหล่ถึงปลายนิ้วมือแต่ละข้าง ยาวได้ ๔๐ ศอก…..พีรจักร )
- ในระหว่างภายในแห่งพระพาหาทั้ง ๒ ซ้าย-ขวา นั้นมีประมาณ ๒๕ ศอก
- พระอังคุลีแต่ละอันยาวได้ ๕ ศอก
- ฝ่าพระหัตถ์แต่ละข้างกว้างได้ ๕ ศอก
- พระศอโดยกลมรอบมีประมาณ ๕ ศอก โดยยาวก็ ๕ ศอก
- พระโอษฐ์เบื้องบนเบื้องล่างกว้าง ๑๐ ศอกเสมอกัน เป็นอันดี
- พระชิวหาอยู่ภายในพระโอษฐ์ยาว ๑๐ ศอก
- พระนาสิกสูงยาวลงมาได้ ๗ ศอก
- ดวงพระเนตรทั้ง ๒ โดยกว้างได้ ๗ ศอก
- แววพระเนตรทั้ง ๒ ที่ดำ กลม เป็นปริมณฑลอยู่นั้น มีประมาณ ๕ ศอก
- พระขนงแต่ละข้าง ยาวได้ ๕ ศอก
- ในระหว่างพระขนงทั้ง ๒ กว้างได้ ๔ ศอก
- พระกรรณทั้ง ๒ แต่ละข้าง ยาวได้ ๗ ศอก
- ดวงพระพักตร์นั้นเป็นปริมณฑล กลมดังดวงพระจันทร์เมื่อวันเพ็ญ มีประมาณกลมได้ ๒๕ ศอก
- พระอุณหิสที่เวียนเป็นทักขิณาวัฏรอบพระเศียร เป็นเปลวพระพุทธรัศมีขึ้นไปนั้น โดยกลมรอบได้ ๒๕ ศอกฯ
…..ลำดับนี้ จะพรรณนาไม้พระศรีรัตนมหาโพธิต่อไป อันว่า ต้นไม้กากะทิง ที่เป็นไม้ศรีมหาโพธินั้น
- มีปริมณฑลไปได้ ๑๒๐ ศอก
- มีกิ่งทั้ง ๕ โดยรอบครอบนั้นก็ได้ ๑๒๐ ศอก
- แต่ต้นขึ้นไปปลายสุดกิ่งนั้นได้ ๒๔๐ ศอก โดยสูง โดยสะกัดเป็นปริมณฑลเหมือนกัน
- มีใบสดเขียวอยู่เป็นนิจจกาล
- ทรงดอกและเกสรหอมฟุ้งขจรมิรู้ขาด เปรียบประดุจดอกปาริชาติ ในดาวดึงสาสวรรค์ก็เหมือนกันฯ

สมเด็จพระสัพพัญญูองค์พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ทรงทวัตติงสามหาปุริสลักษณะประกอบไปด้วยพระฉัพพรรณรังสี พระพุทธรัศมี ๖ ประการ สว่างออกจากพระสรีรกายเป็นอันงาม ประดุจดังท่อธารสุวรรณ ธาราน้ำทองอันไหลหลั่งออกมา เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ไปด้วยสุขทุกเมื่อ มีสติระลึกถึงพระพุทธคุณเป็นอารมณ์เนืองๆ ด้วยเดชานุภาพพระพุทธคุณนั้น มนุษย์ทั้งหลายได้บริโภคซึ่งโภชนาหารแต่เนื้อแห่งข้าวสาลี อันบังเกิดมีมาเอง ได้ประดับประดาสรีรกายและผ้านุ่งผ้าห่ม เครื่องอาภรณ์ต่างๆ แต่ต้นไม้กัลปพฤกษ์ ประพฤติเลี้ยงชีวิตเป็นบรมสุขฯ ปางเมื่อพระองค์ผู้ทรงสวัสดิภาคเป็นอันงาม ทรงพระนามว่า พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ตรัสแสดงพระสัทธรรมเทศนา
พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนั้น มนุษย์และเทพยดาทั้งหลายได้ซึ่งธรรมาภิสมัย มรรคและผลธรรมวิเศษ ประมาณ ๓ แสนโกฏิฯ


หน้า: 1 [2] 3 4 5