เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - mahapo

หน้า: [1]
1
 องค์แห่งศีล ๕ และศีล ๘

๑. สิกขาบทที่ ๑ บัญญัติขึ้น ด้วยหวังจะปลูกมิตรเมตตาจิตในสรรพสัตว์ทุกจำพวก
๒. สิกขาบทที่ ๒ บัญญัติขึ้น ด้วยหวังจะให้มีสัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพในทางที่ชอบ
เว้นจากการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
๓. สิกขาบทที่ ๓ เพื่อที่จะป้องกันความแตกร้าว ทำให้เป็นที่ไว้วางใจซึ่งกันและกันได้
๔. สิกขาบทที่ ๔ ด้วยหวังจะห้ามความตัดประโยชน์ทางวาจา
๕. สิกขาบทที่ ๕ เพื่อป้องกันมิให้ละเมิดข้อห้าม ๔ ข้อข้างต้น
๖. สิกขาบทที่ ๖ เพื่อปลดเปลื้องภาระ และความกังวลในเรื่องโภชนาหาร
๗. สิกขาบทที่ ๗ เพื่อละความทะยานอยาก และความฟุ้งเฟ้ออันเป็นเหตุให้หมกมุ่นอยู่ในกามารมณ์
๘. สิกขาบทที่ ๘ เพื่อละความสุขอันเป็นโลกียสุข

๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี มีองค์ ๕
๑ ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒ ปาณะสัญญิตา รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
๓ วะธะกะจิตตัง มีจิตคิดจะฆ่า
๔ อุปักกะโม พยายามเพื่อจะฆ่า
๕ เตนะ มะระณัง สัตว์ตายด้วยความเพียรนั้น
พร้อมด้วยองค์ ๕ นี้ จึงขาดจากปาณาติบาต.ฯ
๒. อทินนาทานา เวระมะณี มีองค์ ๕
๑ ปะระปะริคคะหิตัง ของมีเจ้าของหวงแหน
๒ ปะระริคคะหิตะสัญญิตา รู้อยู่ว่าของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
๓ เถยยะจิตตัง จิตคิดจะลัก
๔ อุปักกะโม พยายามเพื่อจะลัก
๕ เตนะ หะระณัง ลักของได้มาด้วยความเพียรนั้น
พร้อมด้วยองค์ ๕ นี้ จึงขาดจากอทินนาทาน.ฯ

๓.กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี มีองค์ ๔
๑ อะคะมะนียวัตถุ วัตถุที่ไม่ควรถึงไม่ควรเสพ
๒ ตัสมิงเสวะนะจิตตัง จิตคิดจะเสพในอคมนียวัตถุนั้น
๓ เสวะนัปปะโยโค เพียรเพื่อจะเสพ
๔ มัคเคนะ มัคคะปะฏิปัตติ อะธิวาสะนัง ยังมัคให้ถึงพร้อมด้วยมัค(คือองค์กำเนิดเข้าในช่องสังวาส)
พร้อมด้วยองค์ ๔ นี้ จึงขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร.ฯ

๔.มุสาวาทา เวระมะณี มีองค์ ๔
๑ อัตถังวัตถุ เรื่องไม่จริง
๒ วิสังวาทะนะจิตตัง จิตคิดจะกล่าวให้ผิดจากความจริง
๓ ตัชโช วายาโม พยายามกล่าวให้ผิดตามจิตคิดนั้น
๔ ปะรัสสะ ตะทัตถะ วิชานะนัง ผู้อื่นฟังรู้ความที่กล่าวนั้น
พร้อมด้วยองค์ ๔ นี้ จึงขาดจากมุสาวาท.ฯ

๕.สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวระมะณี มีองค์ ๔
๑ มะทะนิยัง น้ำนั้นเป็นน้ำเมา
๒ ปาตุกัมยะตาจิตตัง จิตคิดที่จะดื่มน้ำเมานั้น
๓ ตัชโช วายาโม พยายามที่จะดื่มตามจิตนั้น
๔ ปิตัปปะเวสะนัง ดื่มให้ล่วงลำคอลงไป
พร้อมด้วยองค์ ๔ นี้ จึงขาดจากสุราเมรยมัชช.ฯ

๖.วิกาละโภชะนา เวระมะณี มีองค์ ๔
๑ เวลาตั้งแต่เที่ยงไปแล้วถึงก่อนอรุณขึ้น
๒ ของเคี้ยวของกินอันสงเคราะห์เข้าในอาหาร
๓ พยายามกลืนกิน
๔ กลืนให้ไหลล่วงลำคอเข้าไปตามความเพียรนั้น
พร้อมด้วยองค์ ๔ นี้ จึงขาดจากวิกาละโภชะนา.ฯ

๗.นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนามาลาคันธะวิเลปะนะธาระนะ มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวรมะณี มีองค์แบ่งออกเป็น ๒ ตอน
ตอนที่ ๑ มีองค์ ๓
๑ เริงเล่นฟ้อนรำขับร้องเป็นต้น (ทั้งโดยตนและผู้อื่น)
๒ ไปเพื่อจะดูหรือฟังการเริงเล่นนั้น
๓ ดูหรือฟังการเริงเล่นนั้น
ตอนที่ ๒ มีองค์ ๓
๑ เครื่องประดับตกแต่งมีดอกไม้ และของหอมเป็นต้น
๒ ไม่มีเหตุเจ็บไข้ตามที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต
๓ ทัดทรงตกแต่งด้วยจิตคิดจะประดับให้สวยงาม
พร้อมด้วยองค์ดังกล่าว จึงขาดจากนัจจะคี.ฯ

๘.อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี มีองค์ ๓
๑ ที่นั่งที่นอนสูงใหญ่
๒ รู้ว่าที่นั่งที่นอนสูงใหญ่
๓ นั่งหรือนอนลงในที่นั่งที่นอนนั้น
พร้อมด้วยองค์ ๓ นี้ จึงขาดจาก อุจจา.ฯ

2
อย่างไรจึงจะเรียกได้ว่า “พระโพธิสัตว์”
เป็นชื่อเรียกของผู้ที่กำลัง บำเพ็ญบารมี เพื่อจะมาตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พระโพธิ สัตว์เป็นผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ ยังต้องเวียนเกิดเวียนตาย ในสังสารวัฏฏ์อยู่ บางครั้งท่านก็กระทำ อกุศลส่งผลให้ไป บังเกิดในนรกเป็นเวลานานแสนนาน เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานผจญความทุกข์นานับประการ เปรียบเสมือน การเดินฝ่าลุยไฟนรกเป็นเวลาที่ยาวนาน โดยไม่เห็นจุดหมายที่ไกลออกไปเลย ว่าเมื่อไรที่จะถึงจุดหมาย จนกว่าจะได้รับการพยากรณ์จาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งก่อน ถึงจะรู้ได้ว่าเป้าหมายที่ตั้งความปรารถนาไว้ใกล้ที่จะถึงหรือยัง หลังจากพระพุทธเจ้าทรงพุทธพยากรณ์ให้แล้ว พระโพธิสัตว์ยังมิได้ตรัสรู้ได้ในระยะเวลาอันใกล้เลย พระโพธิสัตว์ยังต้องบำเพ็ญบารมี ต่อไปอีกอย่างยาวนาน แต่เป็นการบำเพ็ญบารมี อย่างที่มีความหวังได้ว่า พระองค์ต้องได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน เหตุที่ท่านกระทำไว้สมควรแก่ผลที่จะได้รับในอนาคตข้างหน้า ด้วยน้ำพระทัยที่เด็ดเดียว และด้วยจิตที่เป็นมหากุศล ท่านจึงประกอบความเพียร ตั้งใจบำเพ็ญบารมีเพื่อ พระโพธิญาณ เพื่อนำพระธรรมคำสอนมาโปรด เวไนยสัตว์ทั้งหลายที่จมอยู่ในความทุกข์ให้หลุดพ้นจากทุกข์ได้
พระโพธิสัตว์แบ่งได้2 ประเภทคือ
๑.อนิยตะโพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ที่ยังมิได้รับการพยากรณ์ จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านจะต้องบำเพ็ญบารมีต่อไป และยังไม่แน่ว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าหรือไม่
๒.นิยตะโพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ที่ได้รับการ พยากรณ์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ว่าในกาลต่อไปภายหน้า ท่านจะได้ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในโลกอย่างแน่นอน
ระยะเวลาในการบำเพ็ญบารมี
ปัญญาบารมี ใช้ปัญญาในการบำเพ็ญบารมี ใช้เวลา 20 อสงไขย 100,000 กัปป์
ศรัทธาบารมี ใช้ศรัทธาในการบำเพ็ญบารมี ใช้เวลา 40 อสงไขย100,000 กัปป์
วิริยะบารมี ใช้วิริยะในการบำเพ็ญบารมี ใช้เวลา 80 อสงไขย 100,000 กัปป์

บารมีที่ต้องบำเพ็ญ
1.ทานบารมี
2.ศีลบารมี
3.เนกขัมมบารมี
4.ปัญญาบารมี
5.วิริยบารมี
6.ขันติบารมี
7.สัจจบารมี
8.อธิษฐานบารมี
9.เมตตาบารมี
10.อุเบกขาบารมี

ระดับของบารมี

๑.บารมี ๑๐ การบำเพ็ญบารมีเบื้องต้น อุทิศด้วยทรัพย์สมบัติและบริวารทั้งหลายที่มี เพื่อพระโพธิญาณ
๒.อุปบารมี ๑๐ การบำเพ็ญบารมีขั้นกลาง อุทิศอวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกายของตน เพื่อพระโพธิญาณ
๓.ปรมัตถปารมี ๑๐ การบำเพ็ญบารมีขั้นสูง อุทิศด้วยชีวิตของตนเอง เพื่อพระโพธิญาณ
ท่านทั้งหลาย เห็นพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้าไหม ตัวของพระองค์จะต้อง อุทิศพระองค์อย่างไร ใช้เวลายาวนานเพียงใด เสียสละสิ่งต่างมากมาย มหาศาลเท่าไร กว่าจะได้ตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านทั้งหลายเห็น มหากุศลของตัวท่านไหม? ท่านใช้โอกาสที่ยิ่งใหญ่นี้อย่างไร ท่านเคยพิจารณาไหมว่า โอกาสที่จะได้พบพระพุทธศาสนามีอีกกี่ชาติ
ถ้าท่านเกิดมาในชาติที่ไม่มีพระพุทธศาสนา ท่านเคยคิดไหมว่า ท่านจะกระทำกุศลหรืออกุศลมากกว่ากัน ถ้าท่านกระทำแต่อกุศลโดยไม่รู้ว่าเป็นอกุศล ท่านคิดว่า ท่านจะเสวยทุกข์หรือสุข ถ้าเสวยแต่ทุกข์ด้วยอกุศลที่ทำไว้ ท่านจะพ้นจากความทุกข์ในอบายภูมินั้นเมื่อไหร่ แล้วใครจะเป็นผู้ช่วยท่านให้พ้นเสียจากความทุกข์ ถ้าท่านพ้นมาจากอบายภูมิได้ ท่านจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ท่านจะไม่กลับลงไปอีก
ถ้าท่านทั้งหลาย เกิดมาพบพระพุทธศาสนา ท่านกำลังทำกุศลหรืออกุศลมากกว่ากัน ถ้าทำกุศลมากกว่า กุศลนั้นมีกำลังมากพอที่จะ ส่งผลให้ไปเกิดในสุคติภูมิไหม ในปัจจุบันชาตินี้ที่มีพระสัทธรรมคำสอนอยู่ ท่านใช้โอกาสนี้อย่างไร ท่านมีความศรัทธาในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เชื่อมั่นในคำสอน หรือเชื่อมั่นในอาจารย์ท่านอื่น มีการให้ทานมากเพียงไร มีการรักษาศีลหรือไม่ รักษาได้อีกข้อ รักษาได้นานกี่วัน รักษาศีลด้วยความเห็นคุณค่าหรือไม่ มีการเจริญสมาธิหรือไม่ เจริญวันละกี่นาที สมาธิที่เจริญเป็น สัมมาสมาธิหรือ มิจฉาทิฏฐิ ท่านมีการศึกษาพระอภิธรรมไหม ศึกษาอย่างมีศรัทธาหรือเปล่า ศึกษาแล้วน้อมมาพิจารณาวิปัสสนาหรือไม่ หรือเรียนเพื่อรู้ บารมี10ประการที่ควรเจริญ ท่านมีการเจริญมากน้อยเพียงไร มากพอสำหรับสุคติภูมิหรือยัง มากพอที่จะพ้นไปจากสังสารวัฏฏ์แล้วหรือ ยังท่านจะมั่นใจได้อย่างไร สำหรับ พุทธบริษัทเหล่าที่มี พระรัตนตรัยเป็นสรณะ มีการเจริญบารมี10 ที่สมบูรณ์ ขอนุโมทนา สาธุ   

3
เรื่องทุกเรื่องในโลกล้วนแต่เป็น ความทุกข์ทั้งสิ้น ทุกข์น้อยก็พากันเรียกเอาเองว่าสุข  ครั้นทุกข์มากก็โทษกรรมเวร ทั้งที่ตัวทุกข์ทั้งมวลอยู่ที่ ตัวกู  ของกู ทั้งนั้น และเขาเหล่านั้นไม่รู้จักว่าความสุขที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร  ตาไม่เห็นรูปอันเลิศ  หูไม่ได้ยินเสียงอันเป็นทิพย์ สัมผัสอันเลิศก็ไม่เคยได้รับรู้  จมอยู่ในสิ่งสมมุติติดในเหยื่อของโลก  สิ่งที่เลิศที่ประเสริฐที่สุขสว่างมีในคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา กับไม่ได้รับการสนใจที่จะพิสูจน์หาความจริงที่ตนเองสงสัย กระทำตามสังคมที่หลงไปตามวัตถุอำนวยความสะดวกบูชาทรัพย์สมบัติจอมปลอม เมื่อมีผู้แสดงธรรมชี้ให้เห็นความจริงอันประเสริฐก็กล่าวหาว่า งมงาย น่าเสียดายกับการได้เกิดเป้นมนุษย์  ได้พบพระพุทธศาสนา ได้อ่นยู่ในถิ่นที่ดีงาม มีกายสังขารอันบริบูรณ์ กับทิ้งโชคอันประเสริฐนั้นเสีย  ย้อนกลับไปสู่นิรยภูมิที่ประกอบด้วยทุกข์อันยาวนาน  ชีวิตพลาดจากความมีโชคทั้งมวลน่าเสียดาย  น่าสงสาร น่าเวทนา  ขอท่านจงตื่น  รู้และเบิกบาน พ้นจากเวรภัยเถิด

4
ขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้  อนุโมทนาบุญอันยิ่งนี้ ขอความเจริญงอกงามในศีลธรรม ถึงที่สุดแห่งธรรมโดยเร็วพลัน สาธุ  สาธุ  สาธุ

5
สาเหตุที่ทรงได้ลักษณะ มหาบุรุษแต่ละประการโดยทรงจัดกลุ่มตามลักษณะ ที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกัน มิได้เป็นไปตามลำดับที่ทรง จำแยกไว้ในตอนต้น ดังนี้

ลักษณะที่ ๑ มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน
สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้สมาทานมั่นในกุศลกรรมบถ ๑๐
สมาทานมั่นในสุจริต ๓ บริจาคทาน รักษาศีล ๕ รักษาอุโบสถศีล เกื้อกูลมารดาบิดา สมณ-พราหมณ์
ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลและสมาทานมั่นในกุศลธรรมอื่น ๆ อีก

ลักษณะที่ ๒ พื้นฝ่าพระบาททั้งสองมีจักรซึ่งมีกำข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และส่วนประกอบครบทุกอย่าง
สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้นำความสุขมาให้แก่คนหมู่มาก
บรรเทาภัยคือความหวาดกลัวและความสะดุ้ง จัดการป้องกันคุ้มครองอย่างเป็นธรรม และให้ทานพร้อมทั้งของที่เป็นบริวาร

ลักษณะที่ ๓-๕ (๓) มีส้นพระบาทยื่นยาว ออกไป (๔) มีพระองคุลียาว และ (๕) มีพระวรกายตั้งตรงดุจกายพรหม๑
สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากการฆ่าสัตว์
มีความละอายต่อบาป มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์

ลักษณะที่ ๖ มีพระมังสะในที่ ๗ แห่ง เต็ม บริบูรณ์๒
สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ให้ของที่ควรเคี้ยวของที่ควรบริโภค
ของที่ควรลิ้ม ของที่ควรชิม น้ำที่ควรดื่มอันประณีตและมีรสอร่อย

ลักษณะที่ ๗-๘ (๗) มีพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่ม และ (๘) ฝ่าพระหัตถ์
และฝ่าพระบาทมีเส้นที่ข้อพระองคุลีจดกันเป็นรูปตาข่าย๓
สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ได้สงเคราะห์ประชาชนด้วยสังคหวัตถุ ๔ คือ
(๑) ทาน (การให้) (๒) เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก)
(๓) อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) (๔) สมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ)

ลักษณะที่ ๙-๑๐ (๙) มีข้อพระบาทสูง และ (๑๐) มีพระโลมชาติปลายงอนขึ้น คือ
พระโลมชาติขอดเป็นวงเวียนขวา ดังกุณฑล สีครามเข้มดังดอก อัญชัน๑
สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้กล่าววาจาประกอบด้วยประโยชน์
ประกอบด้วยธรรม แนะนำคนหมู่มาก เป็นผู้นำประโยชน์และความสุขมาให้แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้บูชาธรรมโดยปกติ


ลักษณะที่ ๑๑ มีพระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อ ทราย๒
สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ตั้งใจสอนศิลปะ (วิชาชีพ)
วิชา (เช่น วิชาหมอดู) จรณะ (ศีล) หรือกรรม (ความรู้เรื่องกฎแห่งกรรม)
โดยประสงค์ให้คนทั้งหลายได้รับความรู้อย่างรวดเร็ว ปฏิบัติได้เร็ว ไม่ต้องลำบากนาน

ลักษณะที่ ๑๒ มีพระฉวีละเอียดจนละอองธุลี ไม่อาจติดพระวรกายได้
สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ ได้เข้าไปหาสมณะพรือพราหมณ์
แล้วซักถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไร มีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเกี่ยวข้อง
อะไรไม่ควรเกี่ยวข้อง อะไรที่ทำอยู่พึงเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน
อะไรที่ทำอยู่พึงเป็นไปเพื่อความเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน แล้วตั้งใจฟัง คำตอบด้วยดี มุ่งประโยชน์
ไตร่ตรองเรื่องที่เป็น ประโยชน์

ลักษณะที่ ๑๓ มีพระฉวีสีทอง๓
สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ไม่โกรธ ไม่แค้น (คือทำให้บรรเทาได้)
แม้ถูกว่ากล่าวอย่างรุนแรงก็ไม่ขัดเคือง ไม่พยายาท ไม่จองล้างจองผลาญ ไม่สำแดงความ โกรธ ความอาฆาต
และความเสียใจให้ปรากฏ เป็น ผู้ให้เครื่องลาดเนื้อดีอ่อนนุ่ม ให้ผ้าห่มที่เป็นผ้า โขมพัสตร์เนื้อดี ผ้าฝ้ายเนื้อดี
ผ้าไหมเนื้อดีและผ้ากัมพลเนื้อดี

ลักษณะที่ ๑๔ มีพระคุยหฐานเร้นอยู่ในฝัก๔
สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้นำพวกญาติมิตรสหาย
ผู้มีใจดีที่หายไปนาน จากกันไปนาน ให้กลับมาพบกันคือนำมารดาให้พบกับบุตร นำบุตรให้พบกับมารดา
นำบิดาให้พบกับบุตร นำบุตรให้พบกับบิดา นำพี่ชายน้องชายให้พบกับพี่ชายน้องชาย
นำพี่ชายน้องชายให้พบพี่สาวน้องสาว นำพี่สาวน้องสาวให้พบพี่ชายน้อง ชาย
นำพี่สาวน้องสาวให้พบพี่สาวน้องสาว

ลักษณะที่ ๑๕-๑๖ (๑๕) มีพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลแห่งต้นไทร
พระวรกายสูง เท่ากับ ๑ วา ของพระองค์ ๑ วาของพระองค์เท่ากับส่วนสูงของพระวรกาย และ (๑๖)
เมื่อประทับยืน ไม่ต้องน้อมพระองค์ลงก็ทรงลูบคลำถึงพระชานุด้วยฝ่า พระหัตถ์ทั้งสองได้๕
สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เมื่อตรวจดูมหาชนที่ควรสงเคราะห์
ก็รู้จักบุคคลเท่าเทียมกัน รู้จักตนเอง รู้จักฐานะของบุคคล รู้จักความแตกต่างของบุคคล
หยั่งรู้ว่าบุคคลนี้ควรกับสิ่งนี้ บุคคลนี้ควรกับสิ่งนี้ แล้วทำให้เหมาะกับความแตกต่างในฐานะนั้น ๆ ในกาลก่อน

ลักษณะที่ ๑๗-๑๙ (๑๗) มีพระวรกายทุกส่วน บริบูรณ์ดุจลำตัวท่อนหน้าของราชสีห์ และ (๑๘)
มีร่องพระปฤษฎางค์เต็มเสมอกัน และ (๒๐) มีลำ พระศอกลมเท่ากันตลอด๑
สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์
เป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความ เกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมจากโยคะแก่คนหมู่มาก
ด้วยความคิดนึกตรึกตรองว่า ทำอย่างไร ชนเหล่านี้จะเจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ พุทธิ จาคะ ธรรม ปัญญา ทรัพย์ และธัญชาติ
เจริญด้วยนา และสวน สัตว์สองเท้าและสัตว์สี่เท้า บุตรและภรรยา ทาสกรรมกรและคนรับใช้ ญาติ มิตร
และเจริญด้วยพวกพ้อง

ลักษณะที่ ๒๐ มีเส้นประสาทรับรส พระกระยาหารได้ดี๒
สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือ
ด้วยก้อนหิน ท่อนไม้ หรือด้วยศัสตรา


ลักษณะที่ ๒๑-๒๒ (๒๑) มีดวงพระเนตร ดำสนิท และ (๒๒) มีดวงพระเนตรแจ่มใสดุจลูกโคเพิ่งคลอด๓
สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ ไม่ถลึงตาดู (ไม่จ้องดูด้วยความโกรธ)
ไม่ค้อน ไม่เมิน มองตรง มองเต็มตา และแลดูคนหมู่มากด้วยดวงตาเปี่ยมด้วยความรัก

ลักษณะที่ ๒๓ มีพระเศียรดุจประดับด้วย กรอบพระพักตร์๔
สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้นำของคนหมู่มากในกุศลธรรม
เป็นประมุขของคนหมู่มากในกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ในการจำแนกแจกทาน
ในการสมาทานศีล ในการรักษาอุโบสถศีล ในความเกื้อกูลมารดาบิดา สมณะและพราหมณ์
ในความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล และในกุศลธรรมอันยิ่ง อื่น ๆ

ลักษณะที่ ๒๔-๒๕ (๒๔) มีพระโลมชาติเดี่ยว คือในแต่ละขุมมีเพียงเส้นเดียว และ (๒๕)
มี พระอุณาโลมระหว่างพระโขนงสีขาวอ่อนเหมือนนุ่น๕
สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากการพูดเท็จ
คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักเชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก

ลักษณะที่ ๒๖-๒๗ (๒๖) มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ และ (๒๗) มีพระทนต์ไม่ห่างกัน๖
สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากคำส่อเสียด
คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้หรือฟังความจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่มาบอกฝ่ายนี้
เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน
พูดแต่คำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี

ลักษณะที่ ๒๘-๒๙ (๒๘) มีพระชิวหาใหญ่ยาว และ (๒๙) มีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ตรัสดุจเสียงร้องของนกการเวก๗
สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากคำหยาบ
คือ พูดแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ

ลักษณะที่ ๓๐ มีพระหนุดุจคางราชสีห์๑
สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากคำเพ้อเจ้อ
คือพูดถูกกาล พูดแต่คำจริง พูดอิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด
ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่เวลา

ลักษณะที่ ๓๑-๓๒ (๓๑) มีพระทนต์เรียบเสมอกัน และ (๓๒) มีพระเขี้ยวแก้วขาวงาม๒
สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละมิจฉาอาชีวะ ดำรง ชีวิตอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ
คือ เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม การโกงด้วยเครื่องตวงวัด การรับสินบน การล่อลวง
การตลบตะแลง การตัด อวัยวะ การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว การปล้น และการขู่กรรโชก

เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงแสดงจบ ภิกษุเหล่านั้น ต่างมีใจยินดีชื่นชมพระพุทธภาษิตนี้

สรุปความว่า
ลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ เกิดจากกรรมดีที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญสั่งสมไว้ในอดีตชาติต่าง ๆ
ที่ทรงแสดงเรื่องนี้เพราะทรงประสงค์จะชี้ให้เห็นกฎแห่งกรรมว่า บุคคลทำกรรมเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น

ทำดีได้ ทำชั่วได้ชั่ว


พระมังสะในที่ ๗ แห่ง คือ

หลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ ข้าง

หลังพระบาททั้ง ๒ ข้าง พระอังสะทั้ง ๒ ข้าง

และลำพระศอ

(ที.ม.อ. ๓๕/๔๓)
6/1/2006 23:40 
 

6
นะมัตถุ  ระตะนัตตะยัสสะ  ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระพุทธผู้สูงล้ำ
ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระธรรมอันสูงเลิศ   ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระสงฆ์ผู้ทรงประเสริฐ
เส้นทางพระโพธิสัตว์   ๑.อนิยตโพธิสัตว์    ไม่แน่ชัดว่าจะได้ตรัสรู้
                                      ๒.นิยตโพธิสัตว์     จะต้องได้ตรัสรู้เที่ยงแท้แน่นอน
ครั้งแรกมีความปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้า  แต่เป็นความฝันที่อยากจะได้
เป็นคุณสมบัติยังน้อย  จึงเริ่ม ทำ  ความดีจนถึงจุดหนึ่ง...... มี ความเชื่อมั่นสูงขึ้น
ยังไม่บรรลุ  ทำดีต่อ   ความเชื่อมั่นสูงขึ้นอีก
ท่านพิจารณาว่า   
ไม่สละสิ่งที่สละได้ยาก   ไม่บริจาคสิ่งที่บริจาคได้ยาก  ไม่อดทนต่อสิ่งที่อดทนยาก
ไม่อาจที่จะบรรลุพุทธภูมิได้   ในชาตินั้นจึงได้สละชีวิตของตนแก่แม่เสือที่หิวโหยกำลังจะกินลูกของตน
แม้จะทำขนาดนั้นแล้วก็ยังไม่บรรลุเป็นพระพุทธเจ้า ...... ทรงกระทำต่อไปจนบารมีมากพอที่จะได้เป็นโพธิสัตว์ระดับนิยตโพธิสัตว์   มีความแน่ชัดว่าจะได้ตรัสรู้  แต่อยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าจะต้องทำความดีให้มีความเข็มข้นขึ้นอีก (ระดับบารมี  อุปบารมี   ปรมัตถบารมี) ผ่านวันเวลาอันยาวนาน นาน นาน
จนสู่หลักชัยของพุทธภูมิความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงปรากฏในโลก
จากสูงสุด  คืนสู่สามัญ  จากรัชทายาท  มาเป็นนักบวชเร่ร่อน  เข้าถึงสูงสุด
เป็นพุทธเจ้า อยู่เหนือเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย  และกลับสู่สามัญครองชีวิตอย่างนักบวช  กินกับพื้นดิน  นอนกับพื้นดิน  ดับขันธ์กับพื้นดิน  คงอยู่แต่ ความบริสุทธิคุณ  ปัญญาธิคุณ และกรุณาธิคุณ  เหนือกาลเวลา
พร้อมกรรมทั้งสิ้น
ข้าพเจ้าขออภิวาทพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า  แม้ทรงปรินิพพานนานแล้ว

8
 ประกอบด้วย

1.พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า ร่างกายจะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
2.พระโพธิสัตว์ ครองชีพโดยไม่ปรารถนาว่าจะไม่มีภัยอันตราย
3.พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีอุปสรรคในการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์
4.พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีมารขัดขวางการปฏิบัติภารกิจ
5.พระโพธิสัตว์ ถือว่าทำงานให้นานที่สุด โดยไม่ปรารถนาจะให้สำเร็จผลเร็ว
6.พระโพธิสัตว์ คบเพื่อน โดยไม่ปรารถนาจะได้รับผลประโยชน์จากเพื่อน
7.พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาว่า จะให้คนอื่นต้องตามใจตนเองเสมอไปทุกอย่าง
8.พระโพธิสัตว์ ทำความดีกับคนอื่น โดยไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทน
9.พระโพธิสัตว์ เห็นลาภแล้ว ไม่ปรารถนาว่าจะได้รับ
10.พระโพธิสัตว์ เมื่อถูกใส่ร้ายป้ายสี ติเตียนนินทาแล้ว ไม่ปรารถนาที่จะตอบโต้

9
ดำริ แห่งองค์พระโพธิสัตว์
เมื่อเรานอนบนแผ่นดินได้มีความคิดอย่างนี้ว่า วันนี้ เราเมื่อปรารถนาอยู่ก็พึงเผากิเลสของเราได้. จะมีประโยชน์อะไรแก่เราเล่า ด้วยการทำให้แจ้งธรรมในที่นี้ ด้วยเพศที่ใครๆ ไม่รู้จัก. เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ จักเป็นพระพุทธเจ้าในโลก พร้อมทั้งเทวโลก. จะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ด้วยลูกผู้ชายผู้มีรูปร่างแข็งแรงนี้ ข้ามฝั่งไปคนเดียว. เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ แล้วจักให้มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาข้ามฝั่ง. ด้วยการกระทำอันยิ่งใหญ่ของเรา ด้วยลูกผู้ชายผู้มีรูปร่างแข็งแรงนี้ เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว จะให้เหล่าชนมากมายข้ามฝั่ง. เราตัดกระแสน้ำ คือสงสาร ทำลายภพทั้งสามแล้ว ขึ้นสู่ธรรมนาวา จักให้มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาข้ามฝั่ง ดังนี้.
.. อรรถกถา เอกกนิบาตชาดก อปัณณกวรรค

10
นานาสาระและเสวนาทั่วไป / นโมมหาโพธิสัตโต
« เมื่อ: กันยายน 15, 2012, 09:41:55 PM »
เข้ามาเยี่ยม เพื่อนอบน้อมแด่พระโพธิสัตว์เจ้าทุกพระองค์  ทั้งท่านที่เริ่มต้น เหมือนเด็กอนุบาล  หน่อเนื้อมหาโพธิอ่อน ๆ  ท่านที่มีบารมีปานกลาง ท่านที่มีบารมีแก่กล้า และพระนิตยโพธิสัตว์ ผู้เที่ยงแท้แน่นอนแล้ว ขอให้กำลังใจน้อมแผ่บารมีประสานส่งให้ มหาสัตว์ทุกท่านได้ เติบโตเป็นโพธิพฤษ์อันร่มเย็น เป็นประโยชน์แก่เหล่าสัตว์ผู้ยากทั้งหลายได้แอบอิงอาศัยร่มเงา นำไปจนถึงปริโยสานแห่ง พระนิพพานอันเป็นบรมสุขแท้ ตามกำลังของแต่ละท่าน วงษ์แห่งโพธิสัตว์ทุกท่าน ขอความสุขความเจริญงอกงามแห่งพุทธภูมิบารมี จงสืบต่อเนื่อง อย่าได้ท้อแท้ต่อ มาร อุปสรรค์ เครื่องล่อทั้งปวง ตราบจนถึงเต็มรอบแห่งบารมีทั้งสิ้นเทอญ

ขอข้าพเจ้าผู้ตั้งปราถนาพุทธภูมิ จงสำเร็จด้วยเช่นทุกท่านเถิด  สิทธิมัตถุ อิทธิพลัง

หน้า: [1]