เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - Webmaster

หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 16
46


อธิบาย พรหมภูมิ หรือ พรหมโลก 20 ชั้น (ตอนเดียวจบ)

เหนือสวรรค์ 6 ชั้นจะมีต่ออีกภูมิ เรียกว่า พรหมภูมิ หรือ พรหมโลก ถือเป็นดินแดนของพระพรหม ซึ่งเป็นภพภูมิที่สถิตย์อยู่เสวยสุขของพระพรหมผู้อุบัติเกิดในพรหมวิมาน ณ พรหมโลก อันเป็นแดนซึ่งมีแต่ความสุขอันเกิดจากฌานเท่านั้น (แบ่งชั้นตามอำนาจฌานที่ได้บรรลุ) ในภพภูมินี้ตามคัมภีร์กล่าวว่าไม่มีความสุขที่เนื่องด้วยกามราคะ

พรหมภูมิอาจแบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่ รูปพรหม และ อรูปพรหม

รูปพรหม

รูปพรหม หรือ รูปาวจรภูมิ คือ ชั้นที่พระพรหมผู้วิเศษมีรูป หากแต่เป็นรูปทิพย์ มนุษย์ธรรมดาไม่สามารถ มองเห็นได้ จักเห็นได้ก็โดยทิพยวิสัยเท่านั้น ประกอบด้วยวิมาน 16 ชั้น

สามชั้นแรก รวมเรียกว่า ปฐมฌานภูมิ ด้วยพระพรหมในชั้นนี้บรรลุด้วยปฐมฌาน ทั้งสามชั้นนี้ ความจริงตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่เป็น 3 เขต

ชั้นที่ 4 - ชั้นที่ 6 รวมเรียกว่า ทุติยฌานภูมิ ด้วยเหล่าพระพรหมในชั้นนี้บรรลุด้วยทุติยฌาน ทั้งสามชั้นนี้ ความจริงตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่เป็น 3 เขต

ชั้นที่ 7 - ชั้นที่ 9 รวมเรียกว่า ตติยฌานภูมิ ด้วยเหล่าพระพรหมในชั้นนี้บรรลุด้วยตติยฌาน ทั้งสามชั้นนี้ ความจริงตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่เป็น 3 เขต

ตั้งแต่ชั้นที่ 10 ขึ้นไป รวมเรียกว่า จตุตถฌานภูมิ ด้วยเหล่าพระพรหมในชั้นนี้บรรลุด้วยจตุตถฌาน ชั้นที่ 10-11 ตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่กันอยู่ และมีระยะห่างไกลกันมาก

หากแต่เฉพาะเหล่าพระพรหมในชั้นที่ 12 – 16 เรียกว่า ปัญจสุทธาวาส หรือ สุทธาวาสภูมิ อันเป็นชั้นที่เหล่าพระพรหมในชั้นนี้ ต้องเป็นพระพรหมอริยบุคคลในพุทธศาสนา ระดับอนาคามีอริยบุคคล เท่านั้น ต่างจาก 11 ชั้นแรก แม้พระพรหมทั้งหลายจะได้สำเร็จฌานวิเศษเพียงใด ก็อุบัติในสุทธาวาสภูมิไม่ได้อย่างเด็ดขาด สุทธาวาสภูมินี้มีอยู่ 5 ชั้น ตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ และตั้งอยู่เป็นชั้นๆ ขึ้นไป ตามลำดับภูมิไม่ตั้งในระดับเดียวกันเช่นชั้นแรกๆที่ผ่านมา

ชั้นที่ 1 พรหมปาริสัชชาภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้เป็นบริวารแห่งท้าวมหาพรหม พรหมโลกชั้นที่ 1 พรหมปาริสัชชาภูมิ เป็นพรหมโลกชั้นแรก เป็นพรหมชั้นล่างสุด ตั้งอยู่เบื้องบนสูงกว่าปรนิมมิตวสวัตตีสวรรค์ขึ้นไปถึงห้าล้านห้าแสน แปดพันโยชน์ คือไกลจากมนุษยโลกจนไม่สามารถนับได้ ซึ่งหากเอาก้อนศิลาขนาดเท่าปราสาทเหล็ก (โลหปราสาท) ทิ้งลงมาจากชั้นนี้ ยังใช้เวลาถึง 4 เดือนจึงจะตกถึงแผ่นดิน พระพรหมในที่นี้มีคุณวิเศษ โดยเคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุ ปฐมฌาน อย่างสามัญมาแล้วทั้งสิ้น เสวยปณีตสุขอยู่ มีความเป็นอยู่อย่างแสนจะสุขนักหนา ตราบจนหมด พรหมายุขัย มีอายุแห่งพรหมประมาณส่วนที่ 3 แห่งมหากัป (1 ใน 3 แห่งมหากัป)

ชั้นที่ 2 พรหมปุโรหิตาภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้เป็นปุโรหิต (อาจารย์ใหญ่) ของท้าวมหาพรหม พรหมโลกชั้นที่ 2 พรหมปุโรหิตาภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหมผู้ทรงฐานะประเสริฐ คือเป็นปุโรหิตของท่านมหาพรหม ความเป็นอยู่ทุกอย่างล้ำเลิศวิเศษกว่าพรหมโลกชั้นแรก รัศมีก็รุ่งเรืองกว่า รูปทรงร่างกายใหญ่กว่า สวยงามกว่า พรหมทุกท่านล้วนมีคุณวิเศษ ได้เคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้ บรรลุ ปฐมฌาน ขั้นมัชฌิมะ คือขั้นปานกลาง มาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณครึ่งมหากัป

ชั้นที่ 3 มหาพรหมาภูมิ


ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ยิ่งใหญ่ พรหมโลกชั้นที่ 3 มหาพรหมาภูมิ ที่อยู่แห่งท่านพระพรหม ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย มีความเป็นอยู่และรูปกายประเสริฐยิ่งขึ้นไปอีก ได้เคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุปฐมฌานขั้น ปณีตะคือขั้นสูงสุดมาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 1 มหากัป

ชั้นที่ 4 ปริตรตาภาภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีน้อยกว่าชั้นพรหมที่สูงกว่าตน พรหมโลกชั้นที่ 4 ปริตรตาภาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลายผู้มีรัศมีน้อยกว่าพระพรหมที่มีศักดิ์สูงกว่าตน ได้เจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ทุติยฌาน ขั้นปริตตะ คือ ขั้นสามัญมาแล้ว มีอายุแห่งพรหมประมาณ 2 มหากัป

ชั้นที่ 5 อัปปมาณาภาภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีรุ่งเรืองหาประมาณมิได้ พรหมโลกชั้นที่ 5 อัปปมาณาภาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ผู้มีรัศมีรุ่งเรืองมากมายหาประมาณมิได้ เคยเจริญภาวนาการบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ทุติยฌาน ขั้นมัชฌิมะ คือขั้นปานกลางมาแล้ว มีอายุแห่งพรหมประมาณ 4 มหากัป

ชั้นที่ 6 อาภัสราภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีเป็นประกายรุ่งเรือง พรหมโลกชั้นที่ 6 อาภัสสราภูมิ เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญ สมถกรรมฐานจนได้บรรลุ ทุติยฌาน ขั้นปณีตะ คือ ประณีตสูงสุดมาแล้ว มีอายุแห่งพรหมประมาณ 8 มหากัป

ชั้นที่ 7 ปริตตสุภาภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีสง่างามน้อยกว่าชั้นพรหมที่สูงกว่าตน พรหมโลกชั้นที่ 7 ปริตตสุภาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมีเป็นส่วนน้อย คือน้อยกว่าพระพรหมในพรหมโลกที่สูงกว่าตนนั่นเอง ได้เคยเจริญภาวนากรรม บำเพ็ญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุตติยฌาน ขั้นปริตตะ คือขั้นสามัญมาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 16 มหากัป

ชั้นที่ 8 อัปปมาณสุภาภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้รัศมีสง่างามหาประมาณมิได้ พรหมโลกชั้นที่ 8 อัปปมาณสุภาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลาย ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมีมากมายไม่มี ประมาณ สง่าสวยงามแห่งรัศมีซึ่งซ่านออกจากกายตัว มากมายสุดประมาณได้เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ตติยฌาน ขั้นมัชฌิมะ คือขั้นปานกลางมาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 32 มหากัป

ชั้นที่ 9 สุภกิณหาภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีสง่างามสุกปลั่งทั่วสรรพางค์กาย พรหมโลกชั้นที่ 9 สุภกิณหาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมี ที่ออกสลับ ปะปนกันอยู่เสมอเป็นนิตย์ ทรงรัศมีนานาพรรณ เป็นที่น่าเพ่งพิศทัศนาได้เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ตติยฌาน ขั้นปณีตะ คือขั้นประณีตสูงสุดมาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 64 มหากัป

ชั้นที่ 10 เวหัปผลาภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้รับผลแห่งฌานอันไพบูลย์ พรหมโลกชั้นที่ 10 เวหัปผลาภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลาย ผู้ได้รับผลแห่งฌานกุศลอย่างไพบูลย์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ 500 มหากัป
อนึ่งผลแห่งฌานกุศล ที่ส่งให้ไปอุบัติเกิดในพรหมโลก 9 ชั้นแรกนั้น ไม่เรียกว่า มีผลไพบูลย์เต็มที่ ทั้งนี้ก็โดยมี เหตุผลตามสภาวธรรมที่เป็นจริง ดังต่อไปนี้

เมื่อคราวโลกถูกทำลายด้วยไฟนั้น
พรหมภูมิ 4 ชั้นแรก ก็ถูกทำลายไปด้วย

เมื่อคราวโลกถูกทำลายด้วยน้ำนั้น
พรหมภูมิ 6 ชั้นแรก ก็ถูกทำลายไปด้วย

เมื่อคราวโลกถูกทำลายด้วยลมนั้น
พรหมภูมิทั้ง 9 ชั้นแรก ก็ถูกทำลายไปไม่มีเหลือเลย

ชั้นที่ 11 อสัญญีสัตตาภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้หาสัญญามิได้ (คือมีแต่รูป) พรหมโลกชั้นที่ 11 อสัญญีสัตตาภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหมผู้อุบัติเกิดด้วยอำนาจแห่งสัญญาวิราคภาวนา เสวยสุขอัน ประณีตนักหนา เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้สำเร็จจตุตถฌาน อันเป็นรูปฌานขั้นสูงสุดสถิตย์อยู่ในปราสาท แก้ววิมานอันมโหฬารกว้างขวาง มีบุปผชาติประดับประดาเรียบ ไม่รู้แห้งเหี่ยว มีหน้าตาสวยสง่าอุปมากังรูปพระปฏิมากรพุทธรูปทองคำขัดสี แต่มีอิริยาบถไม่เหมือนกัน บางองค์นั่ง บางองค์นอน บางองค์ยืน มีอิริยาบถใดก็ เป็นอย่างนั้นตลอดไป ไม่เคลื่อนไหวจักษุทั้งสอง ก็มิได้กะพริบเลย สถิตย์เสวยสุขเป็นประดุจรูปปั้น อยู่อย่างนั้นชั่วกาล มีอายุแห่งพรหมประมาณ 500 มหากัป

ชั้นที่ 12 อวิหาสุทธาวาสภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ไม่เสื่อมคลายในสมบัติแห่งตน สูงขึ้นไปจากอสัญญีสัตตาภูมิประมาณ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามีอริยบุคคลที่ไม่ละทิ้งสมบัติ เป็นผู้มีวาสนาบารมี กิเลสธุลีเหลือติดอยู่ในจิตสันดานน้อยมาก ด้วยได้เคยเป็นสาวกแห่งพระพุทธองค์ พบพระบวรพุทธศาสนาแล้วมีปกติเห็นภัยในวัฏสงสาร อุตสาหะจำเริญ วิปัสสนากรรมฐาน จนยังตติยมรรคให้ เกิดในขันธสันดานได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลจะสถิตย์อยู่จนอายุครบกำหนด ไม่จุติเสียก่อน ต่างจากพระพรหมในสุทธาวาสภูมิที่เหลืออยู่อีก 4 ภูมิ คือพระพรหมในอีก 4 สุทธาวาสภูมิที่เหลือ ซึ่งอาจมีการจุติหรือนิพพานเสียก่อนอายุครบกำหนด มีอายุแห่งพรหมประมาณ 1000 มหากัป

ชั้นที่ 13 อตัปปาสุทธาวาสภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร สูงขึ้นไปต่อจากอวิหาสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามี ผู้ละซึ่งเป็นกิเลสอันทำให้ จิตเดือดร้อน ทั้งทางกาย วาจาและใจเลย ย่อมเข้าฌานสมาบัติ หรือผลสมาบัติอยู่เสมอ นิวรณธรรมซึ่งเป็นกิเลสอันทำให้ จิตเดือดร้อนไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ฉะนั้นจิตใจของท่านเหล่านั้นจึงมีแต่สงบเยือกเย็นได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลและในขณะที่เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มีวิริยินทรีย์ คือมี วิริยะแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 2000 มหากัป

ชั้นที่ 14 สุทัสสาสุทธาวาสภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีความเห็น (สภาวธรรม) อย่างแจ่มแจ้ง สูงขึ้นไปต่อจากอตัปปาสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามี ผู้มีความแจ่มใส สามารถเห็นสภาวธรรมได้โดยแจ้งชัดเพราะบริบูรณ์ ด้วยประสาทจักษุ ทิพพจักษุ ธัมมจักษุและปัญญาจักษุ จึงเห็นสภาวธรรมได้แจ่มใส ชัดเจน ท่านเหล่านี้เคยเป็นพระสาวกแห่งพระพุทธองค์ อุตสาหะจำเริญวิปัสสนากรรมฐานจนสามารถยัง ตติยมรรคให้บังเกิดในขันธสันดาน ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลและในขณะที่เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มีสตินทรีย์ คือมี สติแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 4000 มหากัป

ชั้นที่ 15 สุทัสสีสุทธาวาสภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีความเห็น (สภาวธรรม) อย่างแจ่มแจ้งยิ่ง สูงขึ้นไปต่อจากสุทัสสาสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามี ผู้มีความเห็นอย่างแจ่มใสมากกว่า มีประสาทจักษุ ทิพพจักษุ ปัญญาจักษุ ทั้ง 3 นี้มีกำลังแก่ กล้ากว่าพระพรหมในสุทัสสาสุทธาวาสภูมิ ทำให้ท่านมีความเห็นในสภาวธรรมได้ชัดเจนแจ่มใสยิ่ง ท่านเหล่านี้เคยเป็นพระสาวกแห่งพระพุทธองค์ อุตสาหะจำเริญวิปัสสนากรรมฐานจนสามารถยังตติยมรรค ให้บังเกิดในขันธสันดานได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล และในขณะที่เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มี สมาธินทรีย์ คือมีสมาธิแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 8000 มหากัป

ชั้นที่ 16 อกนิฏฐสุทธาวาสภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ทรงคุณพิเศษไม่มีใครเป็นรอง สูงขึ้นไปต่อจากสุทัสสีสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามีอริยบุคคลทั้งหลาย ผู้มีวาสนาบารมี มีกิเลสธุลีเหลือติดอยู่น้อยนักหนาโดยท่านเหล่านี้เคยเป็นพระสาวกแห่งพระพุทธองค์ อุตสาหะจำเริญวิปัสสนากรรมฐานจนสามารถยัง ตติยมรรคให้บังเกิดในขันธสันดาน ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลและในขณะที่เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มีปัญญินทรีย์ คือมี ปัญญาแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น ฉะนั้น ท่านพระพรหมอนาคามีบุคคลที่อุบัติเกิดในอกนิฏฐพรหมโลกนี้ จึงมีคุณสมบัติวิเศษยิ่งกว่า บรรดาพระพรหมทั้งสิ้นในพรหมโลกทั้งหลายรวมทั้งสุทธาวาสพรหมทั้งสี่ที่กล่าวมาแล้ว มีอายุแห่งพรหมประมาณ 16000 มหากัป

พรหมโลกนี้ มีพระเจดีย์เจ้าองค์สำคัญ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงว่าเป็นพรหมโลกที่เคารพนับถือพระบวรพุทธศาสนา องค์หนึ่งมีนามว่า ทุสสะเจดีย์ ซึ่งเป็นที่บรรจุผ้าขาวของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งทรงเสด็จออกผนวช โดยพระพรหมทั้งหลายได้นำบริขารและไตรจีวรลงมาถวาย และพระองค์ได้ถอดผ้าขาวที่ทรงอยู่ยื่นให้ พระพรหมจึงรับเอาและนำมาบรรจุไว้ยังเจดีย์ที่นฤมิตขึ้นนี้ และเป็นที่สักการบูชาของพระพรหมทั้งหลายในปัจจุบัน

พระพรหมอนาคามีทั้งหลายในสุทธาวาสพรหมแรกทั้ง 4 หากยังมิได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์และดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพาน พอสิ้นพรหมายุขัย ก็ต้องจุติจากสุทธาวาสพรหมภูมิที่ตนสถิตอยู่มาอุบัติในชั้นที่ 16 นี้ เพื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์และดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานโดยทั้งสิ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า อกนิฏฐสุทธาวาสพรหมภูมินี้ เป็นพรหมภูมิที่มีศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ อยางประเสริฐล้ำเลิศยิ่งกว่าพรหมโลกชั้นอื่นๆ ทั้งหมด

อรูปพรหม

อรูปพรหม หรือ อรูปาวจรภูมิ สมัยที่โลกยังว่างจากพระพุทธศาสนา บรรดาโยคี ฤๅษี ชีไพรดาบส ที่บำเพ็ญตบะเดชะภาวนา รำพึงว่าอันว่าตัวตน กล่าวคืออัตภาพร่างกายนี้ไม่ดีเป็นนักหนา กอปรไปด้วย ทุกข์โทษหาประมาณมิได้ ควรที่ตูจะปรารถนากระทำตัว ให้หายไปเสียเถิด แล้วก็เกิดความพอใจเป็นนักหนา ในภาวะที่ไม่มีตัวตนไม่มีรูปกาย ปรารถนาอยู่แต่ในความไม่มีรูป

อรูปภูมิมี 4 ชั้น คือ อากาสานัญจายตนภูมิ วิญญาณัญจายตนภูมิ อากิญจัญญายตนภูมิ และ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ พรหมในชั้นนี้ไม่มีรูปร่าง มีแต่จิตเจตสิก เพราะเห็นว่าหากมีร่างกายอยู่นั้นจะมีแต่โทษ อาจจะไปทำร้ายซึ่งกันและกันได้ จึงบริกรรมด้วยความว่างเปล่า ยึดเอาอากาศซึ่งเป็นความว่างเปล่าเป็นอารมณ์ จนได้ฌานที่มีอากาศเป็นอารมณ์เรียกว่า อากาสานัญจายตนภูมิ ซึ่งมีอายุอยู่ได้สองหมื่นกัปป์ จากนั้นก็อาจภาวนาเพื่อจะได้ไปอยู่ในพรหมโลกขั้นสูงต่อไปอีกได้ อายุของพรหมเหล่านี้จะยืนอยู่ได้สี่หมื่น หกหมื่น และแปดหมื่นสี่พันกัปป์ ตามลำดับ

ชั้นที่ 17 อากาสานัญจายตนภูมิ

ชั้นที่ทรงอากาศไม่มีที่สิ้นสุด ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้ยึดเอา อากาศ เป็นอารมณ์ เป็นที่ตั้งอยู่แห่งพระพรหม ผู้เกิดจากฌานที่อาศัยอากาสบัญญัติ ไม่มีที่สุดเป็นอารมณ์ ตั้งอยู่พ้นจากอกนิฏฐสุทธาวาสพรหมโลกไปอีก 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ 20000 มหากัป

ชั้นที่ 18 วิญญาณัญจายตนภูมิ

ชั้นที่ทรงภาวะวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้ยึด วิญญาณ เป็นอารมณ์ พ้นจากอากาสัญจายตนภูมิขึ้นไปอีก 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ วิญญาณัญจายตนภูมิ เป็นที่อยู่ แห่งพระพรหมผู้วิเศษ ผู้เกิดจากฌานที่อาศัย วิญญาณบัญญัติ พระพรหมผู้วิเศษไม่มีรูป และปฏิสนธิด้วยวิญญาณัญจายตนวิบากจิต มีอายุแห่งพรหมประมาณ 40000 มหากัป

ชั้นที่ 19 อากิญจัญญายตนภูมิ

ชั้นที่ทรงภาวะไม่มีอะไรเลย ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้ยึดเอาความไม่มีอะไรเลย เป็นอารมณ์ เป็นที่อยู่แห่งพระพรหมผู้วิเศษ ผู้เกิดจากฌานที่อาศัย นัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์ พระพรหมผู้วิเศษไม่มีรูป และปฏิสนธิด้วยอากิญจัญญายตนวิบากจิตพ้นจากวิญญานัญจายตนภูมิขึ้นไปอีก 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ 60000 มหากัป

ชั้นที่ 20 เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ

ชั้นที่ทรงภาวะที่มีสัญญาไม่ปรากฏชัด ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้เข้าถึงภาวะมี สัญญา ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เป็นที่อยู่แห่งพระพรหมผู้เกิดจากฌานที่อาศัย ความประณีตเป็นอย่างยิ่ง พระพรหมวิเศษแต่ละองค์ในชั้นสูงสุดนี้ ล้วนแต่เป็นผู้ที่ได้สำเร็จยอดแห่งอรูปฌาน คืออรูปฌานที่ 4 มาแล้ว มีอายุยืนนานเป็นที่สุดด้วยอำนาจแห่ง อรูปฌานกุศลอันสูงสุดที่ตนได้บำเพ็ญมา เพราะเหตุที่ตนปฏิสนธิด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนวิบากจิตทั้ง อยู่พ้นจากอากิญจัญญายตนภูมิขึ้นไปอีก 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ 84000 มหากัป

ปิดท้าย

อานิสงส์การประพฤติธรรม
1.เป็นมหากุศล
2.เป็นผู้ไม่ประมาท
3.เป็นผู้รักษาสัทธรรม
4.เป็นผู้นำศาสนาให้เจริญ
5.เป็นสุขในโลกนี้และโลกหน้า
6.ไม่ก่อเวรก่อภัยกับใคร ๆ
7.เป็นผู้ให้อภัยแก่สรรพสัตว์
8.เป็นผู้ดำเนินตามปฏิปทาของนักปราชญ์
9.สร้างความเจริญความสงบสุขแก่ตนเองและส่วนรวม
10.เป็นผู้สร้างทางมนุษย์ สวรรค์ พรหม นิพพาน

"ธมฺมจารี สุขํ เสติ
การประพฤติธรรม นำสุขมาให้"
(พุทธพจน์)


จบชุดอธิบายสุคคติภูมิบริบูรณ์...

47


เสริมความรู้ กัป กัลป์ และอสงไขย คือ...

การนับกาลเวลามี ๒ แบบ คือ แบบที่นับเป็นตัวเลข ๑ ๒ ๓ .... เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เรียกว่านับเป็นตัวเลขสังขยา คือ ตัวเลขที่นับได้ ถ้ามากเกินจะนับไหวแล้ว ก็จะเปลี่ยนมานับโดยการอุปมา คือการเปรียบเทียบเอา

แล้วตัวเลขแค่ไหนล่ะที่นับไม่ได้ เราจะนับกันสูงสุดแค่ไหน ตัวเลขที่กำหนดว่าไม่นับแล้ว เลิกนับแบบสังขยากันดีกว่า คือ ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ตัว ซึ่งถือเป็นตัวเลขสูงสุดที่นับกัน ถ้าเกินไปกว่านี้ พระพรหมก็เบือนหน้าหนีแล้ว จำนวนที่เกินจาก ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ตัว จึงเรียกว่าเป็นจำนวน อสังขยา หรือ อสงไขยนั่นเอง

กาลเวลาทางพุทธศาสนาที่พบเจอกันบ่อยๆ ก็คือ

๑. กัป
๒. อสงไขยปี
๓. รอบอสงไขย
๔. อันตรกัป
๕. อสงไขยกัป
๖. มหากัป
๗. อสงไขย
๘. พุทธันดร

กัป

ในความหมายแรก หมายถึงอายุกัป คือระยะเวลาที่เท่ากับอายุเฉลี่ยของมนุษย์ยุคนั้น ซึ่งผันแปรตั้งแต่ ๑๐ - อสงไขยปี สมัยพุทธกาล อายุกัปเท่ากับ ๑๐๐ ปี ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้บำเพ็ญอิทธิบาท ๔ สามารถมีอายุอยู่ได้ตลอดกัป ก็หมายถึงมีอายุอยู่ได้ ๑๐๐ ปี นั่นเอง และเนื่องจากตอนนี้อยู่ในช่วงอายุขาลง ทุก ๑๐๐ ปี อายุมนุษย์จะลดลง ๑ ปี ปัจจุปัน อายุกัปของเราจึงเหลืออยู่เพียง ๗๕ ปีเท่านั้น คำว่ากัป หรือกัปป์ หรือกัปปะ เป็นภาษาบาลี ส่วนภาษาสันสกฤติใช้คำว่า กัลป์ สรุปแล้ว กัป กับ กัลป์ ก็คือตัวเดียวกันนั่นเอง

อสงไขยปี

ก็คือ จำนวนปีที่ขึ้นต้นด้วย ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ปีนั่นเอง ตัวเลขนี้เป็นอายุของมนุษย์ยุคสร้างโลก เมื่อโลกเกิดขึ้นใหม่ พระพรหมที่หมดอายุก็จุติมาอุบัติเป็นสัตว์โลกผู้มีจิตประภัสสร ลอยไปลอยมาในอากาศได้ มีอาหารเป็นทิพย์ มีศีลธรรมดีดุจพระพรหม อายุจึงยืนยาวถึงอสงไขยหนึ่ง

รอบอสงไขย

ต่อมามนุษย์เริ่มไปกินง้วนดินเข้า จิตก็เริ่มหยาบ กายก็เริ่มหยาบ กิเลสก็พอกหนา เหาะไม่ได้ กลายเป็นมนุษย์เดินดิน อายุก็ค่อยๆ ลดลง ทุก ๑๐๐ ปี ลดลง ๑ ปี จนเหลือแค่ ๑๐ ปี ยุคนั้นก็เป็นยุคมิคสัญญี มนุษย์ฆ่าฟันกันเหมือนผักปลา ศีลธรรมก็ไม่มี พอฆ่ากันตายเกือบหมดโลก พวกที่เหลือสังเวชใจ เริ่มรักษาศีลกันอีกครั้ง อายุก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้น ทุก ๑๐๐ ปี ก็เพิ่มขึ้น ๑ ปี จนกลับไปยืนยาวถึงอสงไขยปีอีกครั้ง เวลาทั้งหมดนี้ เรียกว่ารอบอสงไขย

อันตรกัป

ก็คือ ๑ รอบอสงไขยนั่นเอง

อสงไขยกัป

โลกนี้มีเกิดดับเป็นวัฏจักร รอบหนึ่งใช้เวลาทั้งสิ้น ๒๕๖ อันตรกัป คือ

๑ โลกกำลังถูกทำลาย อาจโดนไฟประลัยกัปเผา หรือน้ำประลัยกัปตกกระหน่ำ หรือลมประลัยกัปพัดทำลาย ทุกสรรพสิ่งจะถูกทำลายย่อยยับไม่มีเหลือเลย ทำลายตั้งแต่มหานรกขึ้นไปถึงพรหมอีกหลายชั้น ใช้เวลาทำลายทั้งสิ้น ๖๔ อันตรกัป หรือเรียกว่า ๑ อสงไขยกัป โดยมีชื่อเฉพาะว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป

๒ จากนั้นทุกอย่างก็ว่างเปล่า มืดมิด ไม่มีอะไรเลย เป็นเวลาอีก ๖๔ อันตรกัป หรือเรียกว่า ๑ อสงไขยกัป โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป

๓ จากนั้นโลกก็จะเริ่มก่อตัวขึ้นมาใหม่ มีผืนน้ำ มีแผ่นดิน รวมเวลาอีก ๖๔ อันตรกัป หรือเรียกว่า ๑ อสงไขยกัป โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า วิวัฏฏอสงไขยกัป

๔ จากนั้นโลกจึงมนุษย์และสัตว์อาศัยอยู่ได้ เป็นเวลาอีก ๖๔ อันตรกัป หรือเรียกว่า ๑ อสงไขยกัป โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป

มหากัป

คือเวลา 1 รอบวัฏจักรการแตกดับของโลก หรือเท่ากับ ๒๕๖ อันตรกัป
๑ มหากัป อุปมาว่ามีพื้นที่ขนาดกว้าง ๑ โยชน์ ยาว ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ บรรจุเมล็ดพันธุ์ผักกาดไว้เต็ม ทุก ๑๐๐ ปีก็มาหยิบเมล็ดผักกาดออกเมล็ดหนึ่ง แม้จะหยิบเมล็ดผักกาดออกหมดแล้วก็ยังไม่นานเท่า ๑ มหากัป
คำว่ามหากัป มักเรียกสั้นๆ ว่า กัป

อสงไขย

คงเคยได้ยินคำว่า ๔ อสงไขยกำไรแสนกัป คำว่าอสงไขยในที่นี้หมายถึงระยะยาวนานมาก นับเป็นจำนวนกัปแล้วยังนับไม่ได้ คือจำนวนกัปมากกว่า ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ตัวเสียอีก ๔ อสงไขยกำไรแสนกัป ก็คือระยะเวลาที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีในช่วงปรมัตถ์ ก่อนจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน

พุทธันดร

คือระยะเวลาตั้งแต่พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งตรัสรู้ จนกระทั่งถึงพระพุทธเจ้าองค์ต่อปมาตรัสรู้ เรียกว่า ๑ พุทธันดร พุทธันดรของพระพุทธเจ้าแต่ละองค์ยาวไม่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันเราอยู่ในอันตรกัปที่ ๑๒ และพระศรีอาริยเมตไตรยจะมาตรัสรู้ในอันตรกัปที่ ๑๓ จากนั้นไม่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้เลยนานถึงอสงไขยหนึ่ง ดังนั้น ๑ พุทธันดรของพระสมณโคดมพุทธเจ้าจึงยาวนานแค่ ๑ อันตรกัป ส่วน ๑ พุทธันดรของพระศรีอาริยเมตไตรยยาวนานถึงอสงไขยหนึ่ง

ระยะเวลาช่างยาวนาน แต่สัตว์โลกก็ยังคงวนเวียนเวียนว่ายตายเกิด ชั่วกัปชั่วกัลป์ เมื่อใดพบพระธรรมแล้วจึงอย่าได้ประมาทพากันสั่งสมบุญบารมี ภาวนาปฎิบัติ เพื่อถึงซึ่งพระนิพพานโดยพลัน ออกจากวงจรแห่งความทุกข์ที่ไม่จบไม่สิ้นนี้เสียเทิอญ...

48


อธิบายถึง เปรต จำพวก ต่างๆ (ตอนเดียวจบ)

อบายภูมินั้นไม่ได้มีเฉพาะนรกซึ่งเป็นแดนเกิดของสัตว์นรกเท่านั้น ยังมีภูมิแห่งเปรตทั้งหลาย ซึ่งเป็นแดนเกิดรองรับผู้มีจิตใจชั่วช้าทั้งหลาย นับได้ว่าภูมิเปรตจะเรียกว่านรกแบบประถมก็ว่าได่ ส่วนนรกภูมินั้นจึงเรียกว่านรกมัธยม ถ้านรกชั้นพิเศษที่เรียกว่าโลกันตนรกนั้นก็ถือเป็นนรกปริญญาแล้วกัน

ที่อยู่ที่เกิดของเปรตทั้งหลาย ชื่อว่า เปตติวิสยะ เพราะธรรมดาเปรตทั้งหลายย่อมไม่มีที่อาศัยอยู่โดยเฉพาะ แต่อาศัยอยู่ตามที่ทั่วไป เช่น ตามป่า ตามภูเขา เหว เกาะ ทะเล มหาสมุทร ป่าช้า และตามถนนหนทางต่างๆ

เปรตนั้น ได้แก่ ผี ยักษ์ และเปรต เป็นต้น ซึ่งคนทั้งหลายใช้พูดกันอยู่ทั่วไป เปรตมีหลายจำพวกด้วยกัน บางจำพวกเป็นเปรตเล็ก บางจำพวกก็เป็นเปรตใหญ่ เปรตนี้เนรมิตตัวให้เป็นอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ก็ได้ ฝ่ายอิฏฐารมณ์ให้เห็นเป็นเทวดา เป็นชายเป็นหญิง ดาบส เณร พระ แม่ชี ถ้าฝ่ายอนิฏฐารมณ์ให้เห็นเป็นวัว ควาย ช้าง สุนัข รูปร่างสัณฐานน่ากลัว มีศีรษะใหญ่ ตาพอง และบางทีก็ไม่ปรากฏชัด เพียงแต่ให้เห็นเป็นสีดำ แดง ขาว ในบรรดาเปรตทั้งหลายนี้ บางพวกก็ต้องเสวยทุกข์อยู่นาน มีการอดข้าว อดน้ำ บางพวกก็เข้าไปกินเศษอาหารที่ชาวบ้านทิ้งไว้ในที่โสโครก บางพวกก็กินเสมหะ น้ำลายและอุจจาระ ส่วนเปรตที่อาศัยอยู่ตามภูเขา เช่นเขาคิชฌกูฏนั้น ไม่ใช่แต่จะอดอาหารอย่างเดียว ยังต้องเสวยทุกข์เหมือนกันกับสัตว์นรกอีกด้วย

เปรต ๔ ประเภท ในอรรถกถาเปตวัตถุ คือ

1. ปรทัตตูปชีวิกเปรต - เปรตที่มีการ
เลี้ยงชีวิตอยู่โดยอาศัยอาหารที่ผู้อื่นอุทิศให้

2.ขุปปิปาสิกเปรต เปรตที่ถูกเบียดเบียน
ด้วยความหิวข้าวหิวน้ำ

3.นิชฌามตัณหิกเปรต เปรตที่ถูกไฟเผา
ให้เร่าร้อนอยู่เสมอ

4.กาลกัญจิกเปรต เป็นชื่อของอสุราที่เป็นเปรต กาลกัญจิกเปรตนี้มีร่างกายสูง ๓ คาวุต ไม่ค่อยมีแรง เพราะมีเลือดและเนื้อน้อย มีสีคล้ายใบไม้แห้ง ตาถลนออกมาเหมือนกับตาของปู และมีปากเท่ารูเข็มตั้งอยู่กลางศีรษะ

รายละเอียดเปรต 12 ตระกูล

ท่านผู้ศึกษาทราบแล้วว่า เปรตสามารถแบ่งเป็นหลายประเภท แต่ในที่นี้จะนำเสนอรายละเอียดเฉพาะเปรต 12 ตระกูล

ตระกูลที่ 1 วันตาสาเปรต

เปรตตระกูลนี้ มีรูปร่างน่าเกลียด น่ากลัว และอดอยากหิวโหย เมื่อเปรตเหล่านี้เห็นมนุษย์ถ่มเสลด น้ำลายออกมา ต่างตื่นเต้นดีใจรีบตรงไปดูดเอาโอชะเสลดเป็นอาหาร กินแล้วยังหิวโหยเช่นเดิม จนกว่าจะสิ้นกรรมที่ทำไว้ จึงจะไปเกิดในภูมิอื่น

กรรมที่ทำให้เป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะชาติก่อนเป็นคนตระหนี่จับขั้วหัวใจ เห็นผู้ใดอดอยากมาขออาหาร ก็พาลโกรธถ่มน้ำลายใส่ด้วยความรังเกียจ หรือเข้าไปในสถานที่ที่ควรเคารพบูชา เช่น โบสถ์ วิหาร ลานพระเจดีย์ แล้วไม่มีความเคารพต่อสถานที่ ได้ถ่มเสลดน้ำลายลงในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์นั้น เมื่อตายแล้วก็มาเกิดเป็นเปรตในตระกูลนี้

ตระกูลที่ 2 กุณปขาทาเปรต

เปรตตระกูลนี้มีรูปร่างน่าเกลียดมาก จะซอกซอนหาซากอสุภะกินเป็นอาหารด้วยความหิวโหย ครั้นเห็นซากอสุภะของสัตว์ที่ล้มตาย กลายเป็นศพอืดเน่าเหม็น เปรตเหล่านี้จะดีอกดีใจวิ่งเข้าไปดูดโอชะที่เน่าเหม็นจากซากอสุภะนั้น

กรรมที่ทำให้มาเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะชาติที่เป็นมนุษย์มีความตระหนี่ เมื่อมีผู้มาขอบริจาคทาน ก็แกล้งให้ของที่ไม่ควรให้ ด้วยความปรารถนาจะแกล้งประชด ไม่เคารพในทาน จึงมาเกิดเป็นเปรตประเภทนี้

ตระกูลที่ 3 คูถขาทาเปรต

เปรตตระกูลนี้ มีรูปร่างน่าสะอิดสะเอียน น่าเกลียด เปรตชนิดนี้จะเที่ยวแสวงหาคูถ คือ อุจจาระ ที่คนถ่ายเอาไว้ ยิ่งมีกลิ่นเหม็นมากเท่าไรก็ยิ่งชอบ เมื่อเปรตเหล่านี้เห็นอุจจาระจะดีใจจนเนื้อเต้น รีบวิ่งรี่เข้าไปที่กองอุจจาระเหมือนสุนัขอย่างนั้น ครั้นไปถึงก็ก้มหน้าดูดเอาโอชะของคูถนั้นเป็นอาหาร แต่ก็ไม่เคยอิ่มเลย

กรรมที่ทำให้มาเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะครั้งที่เป็นมนุษย์ มีความตระหนี่จัด เมื่อหมู่ญาติที่ตกทุกข์ได้ยาก หรือผู้คนมาหาเพื่อขอความช่วยเหลือ ขอข้าว ขอน้ำดื่ม จะเกิดอาการขุ่นเคืองขึ้นมาทันที ชี้ไปที่มูลสัตว์พร้อมกับบอกว่า "ถ้าอยากได้ ก็จงเอาไปกินเถิด แต่จะมาเอาข้าวปลาอาหาร ข้าไม่ให้หรอก" แล้วก็ขับไล่ไสส่ง ด่าด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย ตายแล้วจึงไปเกิดเป็นเปรตชนิดนี้

ตระกูลที่ 4 อัคคิชาลมุขาเปรต

เปรตตระกูลนี้ มีรูปร่างผอมโซ มีเปลวไฟแลบออกมาจากปากตลอดเวลา ทั้งกลางวันกลางคืน ไฟไหม้ปากไหม้ลิ้นเจ็บแสบเจ็บร้อน ครั้นทนไม่ได้ก็วิ่งร้องไห้ครวญครางไปไกลถึงร้อยโยชน์ พันโยชน์ ถึงกระนั้นไฟก็ไม่ดับ กลับเป็นเปลวเผาลนปากและลิ้นหนักเข้าไปอีก

กรรมที่ทำให้มาเกิดเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะครั้งเป็นมนุษย์ มีความตระหนี่เหนียวแน่น เมื่อมีใคร มาขอ ครั้นจะไม่ให้ก็กลัวคนอื่นดูแคลน จึงแกล้งให้สิ่งของร้อนๆ เพื่อหวังจะแกล้งให้ผู้รับเข็ดหลาบ จะได้เลิกมาขอ เพราะไม่เห็นอานิสงส์ของการทำทาน

ตระกูลที่ 5 สุจิมุขาเปรต

เปรตตระกูลนี้ รูปร่างแปลกพิกล คือ เท้าทั้งสองใหญ่โต คอยาวมาก แต่ปากเท่ารูเข็ม จะได้อาหารมาบริโภคแต่ละครั้งก็ไม่พออิ่ม เพราะมีปากเท่ารูเข็ม อาหารไม่อาจจะผ่านช่องปากเข้าไปได้ง่ายๆ อยากกินแต่กินไม่ได้ ต้องทุกข์ทรมานแสนลำบาก ร่างกายผอมโซดำเกรียม

กรรมที่ทำให้เป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะเป็นคนตระหนี่ในชาติที่เป็นมนุษย์ เมื่อมีใครมาขออาหาร ก็ไม่อยากให้ และไม่มีศรัทธาที่จะถวายทานแก่สมณพราหมณ์ผู้มีศีล มีจิตหวงแหนทรัพย์สมบัติ ผลกรรมตามสนอง ต้องมาเกิดเป็นเปรตปากเท่ารูเข็ม

ตระกูลที่ 6 ตัณหาชิตาเปรต

เปรตตระกูลนี้ มีรูปร่างผอมและอดอยากเช่นเดียวกับเปรตพวกอื่น คือ มีความอยากข้าว น้ำเป็นกำลัง ที่แปลกออกไป คือ เปรตเหล่านี้จะเดินตระเวนท่องเที่ยวไปเรื่อยๆ เพื่อหาอาหาร เมื่อมองไปเห็นสระ บ่อ ห้วย หนอง ก็ตื่นเต้นดีใจ รีบวิ่งไปโดยเร็ว แต่ครั้นไปถึงแหล่งน้ำนั้น กลับกลายเป็นสิ่งอื่นด้วย อำนาจกรรมบันดาล

กรรมที่ทำให้เป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะเป็นคนหวงข้าวหวงน้ำ เที่ยวปิดสระ ปิดบ่อ ปิดหม้อ ไม่ให้คนอื่นได้ดื่มกิน ครั้นละโลกแล้วก็มาเกิดเป็นเปรตอดอยากข้าวน้ำดังกล่าว

ตระกูลที่ 7 นิชฌามักกาเปรต

เปรตตระกูลนี้ มีรูปร่างเหมือนต้นเสาหรือต้นไม้ที่ถูกไฟไหม้ สูงชะลูดดำทะมึน แลดูน่ากลัวมาก มีกลิ่นเหม็นเน่า มือและเท้าเป็นง่อย ริมฝีปากด้านบนห้อยทับริมฝีปากด้านล่าง มีฟันยาว มีเขี้ยวออกจากปาก ผมยาวพะรุงพะรัง มีความอดอยากเหลือประมาณ ยืนทื่ออยู่ที่เดิมไม่ท่องเที่ยวไปไหนเหมือนเปรตชนิดอื่น

กรรมที่ทำให้เกิดเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะเป็นคนใจหยาบ เห็นสมณพราหมณ์ผู้มีศีลก็โกรธเคือง มีอกุศลจิตคิดว่า ท่านเหล่านั้นจะมาขอของตน จึงแสดงกิริยาอาการเยาะเย้ยถากถาง ขับไล่สมณพราหมณ์ เหล่านั้นให้ได้รับความอับอาย หรือเห็นพ่อแม่เป็นคนแก่คนเฒ่า เกิดโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนเพราะความชรา แกล้งให้ท่านตกใจจะได้ตายไวๆ ตัวเองจะได้ครอบครองสมบัติ

ตระกูลที่ 8 สัพพังคาเปรต

เปรตตระกูลนี้ มีร่างกายใหญ่โต มีเล็บมือเล็บเท้ายาวคมเหมือนมีดเหมือนดาบและงอเหมือนตะขอ ได้แต่ก้มหน้าก้มตาตะกายข่วนร่างกายตนเองให้ขาดเป็นแผลด้วยเล็บ แล้วกินเลือดเนื้อของตนเองเป็นอาหาร

กรรมที่ทำให้เกิดเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะชอบขูดรีดชาวบ้าน เอาเปรียบผู้อื่น หรือบางครั้งชอบรังแกหยิกข่วนบิดามารดา ถ้าเป็นหญิงก็หยิกข่วนสามีของตน

ตระกูลที่ 9 ปัพพตังคาเปรต

เปรตตระกูลนี้ มีร่างกายใหญ่เหมือนภูเขา เวลากลางคืนสว่างไสวรุ่งเรืองด้วยเปลวไฟ กลางวันเป็นควันล้อมรอบกาย เปรตเหล่านี้ต้องถูกไฟเผาคลอก นอนกลิ้งไปมาเหมือนขอนไม้ที่กลิ้งอยู่กลางไร่กลางป่า ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส ร้องไห้ปานจะขาดใจ

กรรมที่เกิดเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะครั้งเป็นมนุษย์ได้เอาไฟเผาบ้าน เผาโรงเรียน เผากุฏิ วิหาร เป็นต้น

ตระกูลที่ 10 อชครเปรต

เปรตตระกูลนี้ มีรูปร่างคล้ายกับสัตว์เดียรัจฉาน เช่น มีรูปร่างเป็นงูเหลือม เป็นเสือ เป็นม้า เป็นวัว เป็นควาย เป็นต้น แต่จะถูกไฟเผาไหม้ทั่วร่างกายทั้งกลางวันและกลางคืนไม่ว่างเว้น แม้แต่วันเดียว

กรรมที่ทำให้เกิดเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะเมื่อครั้งเป็นมนุษย์เป็นคนตระหนี่ เมื่อเห็นสมณพราหมณ์ ผู้มีศีลมาเยือน ก็ด่าเปรียบเปรยท่านว่า เสมอด้วยสัตว์เดียรัจฉานต่างๆ เพราะไม่อยากให้ทาน หรือแกล้งล้อเลียนเป็นรูปสัตว์ต่างๆ


ตระกูลที่ 11 มหิทธิกาเปรต

เปรตตระกูลนี้ เป็นเปรตที่มีฤทธิ์และรูปงามดุจเทวดา แต่ว่าอดอยากหิวโหยอาหารอยู่ตลอดเวลา เหมือนเปรตชนิดอื่นๆ จะเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ เมื่อพบคูถมูตร และของสกปรกก็จะดูดกินเป็นอาหาร

กรรมที่ทำให้เกิดเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะครั้งเป็นมนุษย์ บวชเป็นพระภิกษุสามเณร พยายามรักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์ จึงมีรูปงามผุดผ่องราวเทวดา แต่ไม่ได้บำเพ็ญธรรม มีใจเกียจคร้านต่อการบำเพ็ญสมณธรรมตามวิสัยของบรรพชิต จิตใจจึงมากไปด้วย โลภะ โทสะ โมหะ มีความเข้าใจผิดว่า "เราบวชแล้ว รักษาแต่ศีลอย่างเดียวก็พอ ไม่เห็นต้องทำบุญให้ทานเหมือนฆราวาสเลย" ครั้นเมื่อละโลกจึงมาเกิดเป็นเปรตตระกูลนี้ เปรตตระกูลสุดท้าย

ตระกูล ที่ 12 เวมานิก

เปรตตระกูลนี้จะมีสมบัติ คือ วิมานทองอันเป็นทิพย์ บางตนจะเสวยสุขราวเทวดาในเวลากลางวัน ส่วนเวลากลางคืนจะเสวยทุกข์ที่เกิดจากความตระหนี่ในทรัพย์ บางตนเสวยสุขเฉพาะในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันจะเสวยทุกข์ ตามสมควรแก่กรรม

กรรมที่ทำให้เกิดมาเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะครั้งเป็นมนุษย์มีศรัทธาทำบุญกุศลไว้มาก แต่ไม่รักษาศีล ไม่รักษากาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ ครั้นตายลงจึงตรงมาเกิดเป็นเวมานิกเปรต หรือเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนาได้รักษาศีลเพียงอย่างเดียว แล้วไม่มีศรัทธาในการสร้างบุญกุศลอื่น และมีความสงสัยในเรื่องบุญเรื่องบาป แม้รักษาศีลก็รักษาแบบเสียไม่ได้ หรือไม่ตั้งใจรักษา

เรา จะเห็นได้ว่า การเสวยวิบากกรรมในภูมิเปรตนั้น เป็นทุกข์ทรมานแสนสาหัสเพียงไร ทุกข์ในเมืองมนุษย์เทียบเท่าไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นอย่ากระทำการใดๆ ที่เสี่ยงต่อการถูกทรมานในภูมิเปรตนี้เลย...

จบตอน

49


ชีวิตในสังสารวัฏ เป็นชีวิตที่เสี่ยงภัยมาก!

ชีวิตในสังสารวัฏ เป็นชีวิตที่เสี่ยงภัยมาก เพราะเมื่อเราเกิดมาแล้ว หากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างความดี เราอาจจะพลาดพลั้งไปทำบาปอกุศล เพราะขาดกัลยาณมิตรคอยชี้แนะ หนทางแห่งการสร้างความดี เมื่อละโลกไป แรงกรรมที่เรากระทำไว้ย่อมจะส่งผลให้เรามีโอกาสไปเกิดในอบายได้มาก

อบายภูมิ เป็นสถานที่สิงสถิตของชีวิตหลังความตายของปรโลกฝ่ายทุคติ เป็นดินแดนที่ปราศจาก ความสุข และเต็มไปด้วยความทุกข์ทรมาน ทั้งจากความร้อนของไฟนรก และจากการทรมานของ นายนิรยบาล ที่มีวิธีการลงโทษหลากหลายไม่ซ้ำรูปแบบ ทำให้สัตว์นรกได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมานสุดจะบรรยาย ชาวโลกทั้งหลายเมื่อมีชีวิตอยู่ ไม่ประกอบกุศลกรรม ทำแต่อกุศลกรรมเป็นประจำ ครั้นเมื่อใกล้จะละโลก ภาพไม่ดีที่ตนได้กระทำไว้มาปรากฏให้เห็น ทำให้จิตของเขาเศร้าหมอง เมื่อละจากอัตภาพมนุษย์ ย่อมไปเกิดในอบาย ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน พาลบัณฑิตสูตร ว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั่นแล ประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อแตกกาย ทำลายขันธ์ ตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก"

จากพุทธภาษิตนี้ แสดงให้เห็นถึงการกระทำความชั่วของมนุษย์ ทั้งทางกาย วาจา ใจ มีผลต่อการไปสู่อบาย นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์ที่น่าสนใจอยู่ 4 คำ กล่าวคือ อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ซึ่งจะขอนำคำศัพท์เหล่านี้มาขยายความให้นักศึกษาได้เข้าใจมากขึ้นดังนี้

คำว่า อบายภูมิ หมายถึง สถานที่ที่สัตว์เกิดแล้วไม่มีโอกาสกระทำกุศลกรรม เพราะเป็นแดนที่ปราศจากความเจริญ เป็นแดนบาปที่ความสุขไม่สามารถเจริญงอกงามได้แม้เพียงนิดเดียว มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ ทำให้ไม่สามารถสร้างกุศลได้

คำว่า ทุคติ คือ สถานที่ที่ต้องเสวยทุกข์อย่างเดียว และเป็นสถานที่ที่เกิดขึ้นมาเพราะกรรมชั่วร้ายของตนเองที่ทำไว้ครั้งเป็น มนุษย์ ที่มีโทษมาก

คำว่า วินิบาต เป็นภูมิของพวกสัตว์ผู้ทำชั่ว เมื่อตกไปที่ภูมินี้ จะเป็นผู้ไร้อำนาจวาสนา หรือหมายถึงเป็นสถานที่ที่พวกสัตว์ผู้กำลังพินาศ มีอวัยวะน้อยใหญ่แตกกระจัดกระจายน่ากลัวมาก

ส่วนคำว่า นิรยะ หรือ นรก เป็นสถานที่ที่ไม่มีความเจริญ เป็นดินแดนที่ไร้ความยินดี มีแต่ความน่าหวาดเสียว น่าสะพรึงกลัวอยู่ตลอดเวลา เมื่อตกลงไปในนรกแล้ว ไม่มีสัตว์นรกตัวไหนอยากอยู่ในมหานรกนั้น

จากความหมายของศัพท์ที่กล่าวมาพอจะสรุปได้ว่า ศัพท์ทั้งหมดนั้นมีความหมายในลักษณะที่คล้ายคลึงกันคือ มุ่งไปในทางที่เสื่อม เป็นความทุกข์ทรมาน ไม่มีความเจริญ แต่ต่างกันในรายละเอียด ตามสภาพการเสวยสุข ทุกข์ เช่น สัตว์เดียรัจฉาน จัดอยู่ในอบายภูมิ 4 แต่มีสัตว์เดียรัจฉานบางประเภท เช่น ครุฑ นาค ไม่จัดเป็นทุคติภูมิ ไม่จัดเป็นวินิบาต เพราะไม่มีการถูกทำลายเหมือนเช่นสัตว์นรก และบางกลุ่มยังเสวยผลบุญอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา แต่ก็จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์เดียรัจฉานเพราะไม่มีความเจริญ ไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้

สรุปว่า อบายภูมินี้ เป็นสถานที่ชดใช้กรรมของมนุษย์ ที่ได้กระทำความชั่วไว้เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ซึ่งไม่มีใครเลยที่จะหลีกเลี่ยงจากกฎแห่งกรรมนี้ไปได้ ไม่ว่าเขาคนนั้นจะมีเชื้อชาติ ศาสนา หรือเผ่าพันธุ์ใดก็ตาม
นมหานรกนี้เลย

อบายภูมิ มี 4ภูมิ จัดอยู่ในกามภพ
จัดแบ่งตามลักษณะของการกระทำฝ่ายอกุศล

1. นิรยภูมิ ตั้งอยู่ใต้เขาตรีกูฏมี 8ขุมใหญ่ (มหานรก)ในแต่ละขุมใหญ่จะมีขุมบริวาร (อุสสทนรก) อยู่โดยรอบทั้ง4 ทิศ
ทิศละ 4ขุม รวมมี นรกขุมบริวาร 128ขุม ถัดจากอุสสทนรกออกไปจะเป็นนรกขุมย่อย (ยมโลก) อยู่โดยรอบทิศทั้ง 4
ของมหานรก ทิศละ 10 ขุม รวมมีนรกขุมย่อย 320 ขุม

2. ติรัจฉานภูมิ อยู่ภพเดียวกับมนุษย์

3. เปตติวิสยภูมิ อยู่ในซอกเขาตรีกูฏก็มี อยู่ซ้อนกับภูมิมนุษย์ก็มี

4. อสุรกายภูมิ อยู่ในซอกเขาตรีกูฏก็มี อยู่ซ้อนกับภูมิมนุษย์ก็มี

1. นิรยภูมิ หรือ นรก จัดอยู่ในอบายภูมิอันดับที่ 1 เป็นดินแดนที่ปราศจากความสุขสบาย สัตว์ที่ตกลงไปสู่นรก เพราะบาปกรรมชั่วที่ตนกระทำไว้เป็นอาจิณกรรม เมื่อตกลงไปแล้วจะต้องได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสไม่มีเวลาว่างเว้น จากการลงทัณฑ์ทรมาน นรกมีที่ตั้งอยู่ใต้เขาตรีกูฏ มีทั้งหมด 8 ขุมใหญ่ ที่เรียกว่า มหานรก และยังมีขุมบริวาร เรียกว่า อุสสทนรกอีก 128 ขุม มีนรกขุมย่อย ที่เรียกว่ายมโลกอีก 320 ขุม สัตว์ที่ใช้กรรมในมหานรกหมดแล้ว จะต้องมารับกรรมในอุสสทนรก และยมโลกต่อไป จนกว่าจะหมดกรรมที่ตนได้กระทำไว้

2. เปตติวิสยภูมิ หรือ ภูมิเปรต จัดอยู่ในอบายภูมิอันดับที่ 2 เป็นดินแดนที่มีแต่ความเดือดร้อน อดอยาก หิวกระหาย เปรตแบ่งออกเป็นหลายประเภท แต่ที่นิยมแบ่งกันมาก คือ เปรต 12 ตระกูล ที่อยู่ของเปรตนั้นมีอยู่ที่ซอกเขาตรีกูฏ และมีปะปนอยู่กับมนุษยโลกด้วย แต่เป็นภพที่ละเอียดกว่า เหตุที่ทำให้มาเป็นเปรตเพราะทำอกุศลกรรมประเภทตระหนี่ หวงแหนทรัพย์เป็นหลัก การเกิดเป็นเปรตนั้นมี 2 ลักษณะ คือ ผ่านมาจากมหานรก อุสสทนรก และยมโลก กับจากมนุษย์ผู้กระทำอกุศลกรรม ละโลกแล้วไปเกิดเป็นเปรต

3. อสุรกายภูมิ จัดอยู่ในอบายภูมิอันดับที่ 3 เป็นดินแดนที่ปราศจากความร่าเริง อสุรกายมีลักษณะคล้ายกับเปรตมาก แยกแยะได้ลำบาก และอยู่ในภพภูมิเดียวกันกับเปรต คือ ซอกเขาตรีกูฏ มีรูปร่างที่ประหลาด เช่น หัวเป็นหมูตัวเป็นคน มีความเป็นอยู่ที่ยากลำบากเช่นเดียวกับเปรต คือ อยู่ด้วยความหิวกระหาย แต่หนักไปทางกระหายน้ำมากกว่าอาหาร ที่ต้องเกิดมาเป็นอสุรกายเพราะความโลภอยากได้ของผู้อื่นในทางมิชอบ

4. ติรัจฉานภูมิ จัดอยู่ในอบายภูมิอันดับที่ 4 เป็นอบายภูมิอันดับสุดท้าย ที่มีความทุกข์ทรมานน้อยกว่าสัตว์ที่เกิดในนรก เปรต และอสุรกาย ที่ชื่อเดียรัจฉาน เพราะมีลำตัวไปทางขวาง อกขนานกับพื้น และจิตใจก็ขวางจากหนทางพระนิพพานด้วย ที่อยู่ของสัตว์เดียรัจฉานนี้ อยู่ปะปนกับมนุษย์ทั่วไปที่เราเห็น สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามจำนวนเท้าของสัตว์ ตั้งแต่ สัตว์ไม่มีเท้า สัตว์มี 2 เท้า สัตว์มี 4 เท้า และสัตว์มีเท้ามากกว่า 4 ขึ้นไป

จบตอน

50


พุทธานุสสติ เป็นกรรมฐานที่ง่ายมีแต่กำไร

"การสร้างพระพุทธรูป นี่เป็นพุทธบูชาเป็น พุทธานุสสติ ในกรรมฐาน ๔๐ กอง ท่านบอกว่ากำลัง พุทธานุสสติเป็นเหตุให้เข้าถึงพระนิพพานได้ง่ายที่สุด ง่ายกว่ากองอื่น ก็เห็นจะจริง เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านอยู่ที่นิพพานนี่ และท่านก็เป็นต้นตระกูลของพระนิพพาน ใช่ไหม... ทีนี้ถ้าเราต้องการสร้างให้สวยตามที่เราชอบ เห็นแล้วก็ทำให้จิตใจสดชื่น จิตมันก็นึกถึงพระอยู่เสมอ ถ้าจิตนึกถึงพระพุทธรูปองค์นั้นอยู่เสมอก็จัดเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน ถ้าใจเราเกาะพระพุทธเจ้าเป็นปกติ ตายแล้วลงนรกไม่เป็น ฉะนั้นถ้าหากโยมเห็นว่าพระที่ทำด้วยโลหะสวยกว่า ชอบมากกว่า โยมก็สร้างแบบนั้น"

"อาตมานี่เป็นคนเกาะ "พุทธานุสสติกรรมฐาน" เป็นอารมณ์ตลอดเวลา ถ้าวันไหนไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้าวันนั้นตายดีกว่า ทิ้งไม่ได้ไม่ยอม มันจะเป็นอย่างไร จะป่วยจะไข้จะปวด ยิ่งป่วยยิ่งหนักเกาะติดเลย ป่วยนิดเดียวไม่ยอมคลาย จิตไม่ยอมคลาดสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่าเราถือว่าเราเกาะพระพุทธเจ้าตายมันจะลงนรกก็เชิญ พระพุทธเจ้าท่านจะลงกับเราก็เอา ใช่ไหม ท่านคงไม่ยอมลงนะ"

(คัดลอกบางตอนจาก หนังสือพ่อรักลูก หน้า ๑๕๑)

พระพุทธองค์ทรงชมเชย และพยากรณ์

(คำสอนหลังกรรมฐาน คืนวันที่ ๘ กพ. ๒๕๓๑ แล้วหลวงพ่อบอกว่า)

...พระท่านสั่งถึงญาติโยมทุกคนมีคนยืนข้างนอกไหม (มีเยอะครับ) ท่านบอกว่า ทุกคนจิตเข้มข้นมาก ข้างในก็ดี ข้างนอกก็ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้างนอกหนัก ไม่งั้นยืนไม่ไหว

ท่านก็เลยบอกว่า "ทุกคนก่อนจะหลับ หรือตื่นใหม่ๆ ตั้งใจจำภาพพระพุทธรูป หรือคนที่เคยเห็นภาพพระพุทธเจ้าด้วยทิพจักขุญานนะ จับภาพพระพุทธเจ้าไว้ก่อนหลับหน่อยหนึ่ง หรือตื่นใหม่ๆ ไม่ต้องนั่งก็ได้ นอนก็ได้ นอนลืมตาดูท่าน หรือหลับตานึกถึงท่าน จะภาวนาก็ได้ แต่ห้ามภาวด่า นี่ท่านไม่ได้ห้ามนะฉันห้ามเอง ก็ถามท่านว่า มีผลอย่างไร ท่านบอก จะรู้ผลเองเมื่อตาย นี่ท่านพูดเองนะ

ทีนี้ท่านย่า ท่านยืนกับแม่ศรี ท่านก็หัวเราะ ย่าบอก "คุณ ๑๐๐ เปอร์เซนต์"

แต่ความจริงจับภาพพระพุทธเจ้านี่ดีนะ ฉันเคยไปหลับที่บ้านบนหลายหน ก่อนป่วยหนักฉันก็หลับอยู่บนบ้านนั้นแหละ บ้านสูง เดินเที่วไปเที่ยวมา อยู่บนนี้ดีกว่า เดี๋ยวไอ้ตัวล่างหลับแหงแก๋ไปแล้ว มันตัดกันนี่นะ มันหลับไปเราก็สบาย ลงโน่นนั่นแหละตี ๕ หรือไม่ก้ ๖ โมงเช้าสบายโก๋ ความจริงจิตเป็นสุขถ้าทำอย่างนี้ทุกวันนะ ผู้ได้มโนมยิทธิน่ะขึ้นไปเลย ถ้าก่อนนอนขึ้นไม่ไหว เช้ามืดตื่นปั๊บขึ้นไป ให้มันชินต่ออารมณ์ ถ้าชินต่ออารมณ์ก็มีความรักในสถานที่นั้น ถ้าเวลาจะตาย ใจมันไปที่มันรัก

(คัดลอกบางตอนจากหนังสือธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๘๕ มีนาคม ๒๕๓๑ หน้า ๒๐-๒๑)

อานุภาพแห่งพุทธานุสสติกรรมฐาน

กรรมฐานกองนี้ท่านสอนให้ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า การระลึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ระลึกได้ไม่จำกัดว่าจะต้องระลึกตามแบบของท่านผู้นั้นผู้นั้นที่สอนไว้้โดยจำกัด เพราะพระพุทธคุณ คือคุณความดีของพระพุทธเจ้านั้นมีมากมาย แล้วแต่บางท่านจะระลึกโดยใช้ว่า "พุทโธ" หรือ "สัมมาอรหัง" "อิติสุคโต" ต่าง ๆ ดังนี้เป็นต้น แล้วแต่ท่านจะถนัดหรือสะดวก ไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ใด ๆ ทั้งสิ้น

ท่านตัดวิชา คือความโง่ออกเสียได้สิ้นเชิง ท่านหมดความพอใจในสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต โดยคิดว่าเป็นสิ่งที่ยั่งยืน ท่านเห็นว่า ไม่ว่าอะไรมีเกิด แล้วก็มีเสื่อม และในที่สุดก็ต้องทำลาย ฉะนั้น อารมณ์ของท่านจึงไม่ถืออะไร มีก็ใช้ ไม่มีก็ไม่มีทุกข์ ตัดความกำหนัดยินดีในสมบัติของโลก ไม่มีเยื่อใยแม้แต่สังขารของท่าน

พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทุกองค์มีความรู้สึกอย่างนี้ ท่านที่เจริญอนุสสติข้อนี้ เมื่อใคร่ครวญตามความดีทั้งสิบประการนี้เสมอ ๆ ทำอารมณ์ให้ผ่องใสในพระพุทธคุณมากขึ้น จะเป็นเหตุให้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าได้

เรื่องราวตัวอย่างเรียบเรียงมาจากพระไตรปิฎก ซึ่งแสดงถึงอานิสงค์ของพุทธานุสสติกรรมฐานคือเรื่องเมื่อมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรผู้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าก่อนตายแล้วได้ไปสวรรค์

ท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร เดิมเป็นลูกชายของพราหมณ์ที่มีความร่ำรวยแต่ตระกูลของพราหมณ์ตระกูลนี้ไม่ได้นับถือ พระพุทธศาสนาเขามีศาสนาพราหมณ์เป็นที่เคารพอยู่แล้ว ต่อมาลูกชายของพราหมณ์ที่ชื่อว่ามัฏฐกุณฑลีป่วยมาก พ่อกับแม่จะรักษาก็เสียดายเงินจึงไปถามหมอว่า โรคผอมเหลืองของลูกชายใช้ยาอะไรรักษา หมอก็บอกยากลางบ้านคือ ยาที่ชาวบ้านเอามารักษาโรคกันเอง โดยที่ไม่มีหมอตรวจอาการของโรคก่อน เป็นยาที่ไม่ตรงกับโรค มัฏฐกุณฑลี จึงป่วยหนักขึ้น และเห็นว่าพ่อกับแม่ ไม่ได้เป็นที่พึ่งแน่นอน เมื่อทุกขเวทนามากขึ้นหมดที่พึ่งก็นึกถึงพระพุทธเจ้า โดยเธอคิดว่าชาวบัานเขาลือกันว่าพระสมณโคดม มีเมตตาสูงใจดี สงเคราะห์ไม่ว่าใคร ใครมีทุกข์ท่านสงเคราะห์ทุกคน เธอจึงได้นอนนึกถึงพระพุทธเจ้า ขอให้พระพุทธเจ้ามาช่วยรักษาให้หายจากโรค ในขณะนั้นเธอก็ได้ถึงคราวตาย เมื่อเขาตายจิตออกจากร่าง ด้วยเดชะบารมีพระพุทธเจ้าที่เขาคิดถึง ว่าอยากให้มารักษาโรคก็ บันดาลให้เขาไปเกิดเป็นเทวดา บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นามว่า มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร มีวิมานทองคำเป็นที่อยู่ มีนางฟ้าหนึ่งพันเป็นบริวาร

เมื่อมัฏฐกุณฑลี เสียชีวิต ด้วยเพราะคิดถึงลูก พราหมณ์ผู้เป็นพ่อจึงไปยืนอ้อนวอนที่หน้าหลุมศพทุกวันว่าขอให้ ลูกชาย กลับมาเกิดใหม่ ในที่สุดลูกชายที่เป็นเทวดาก็ปรากฏตัวขึ้น จึงได้บอกกับพ่อของเขาว่า เวลานี้เธอได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ ที่ไปเป็นได้เพราะอาศัยนึกถึงพระสมณโคดมให้มาช่วยให้หายป่วย มือไม่เคยยกไหว้ บาตรไม่เคยใส่ เทศน์ที่พระสมณโคดมเทศน์ก็ไม่เคยฟัง อาศัยที่นึกถึงชื่อพระองค์อย่างเดียวเป็นเหตุให้ไปเกิดเป็นเทวดาได้ จึงได้แนะนำพ่อว่า ต่อไปจงถวายทานแด่พระสมณโคดมและพระของท่าน จงฟังเทศน์ จงใส่บาตรพระ จะเป็นคนมีบุญมากๆ เมื่อตายจะมีความสุขมากกว่าเธอ แล้วเธอก็ได้เหาะกลับวิมาน

เมื่อฟังแล้วบิดาจึงตั้งใจจะถวายทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก เมื่อกลับถึงบ้านจึงบอกให้ภรรยาทำอาหารมากๆ เพื่อวันนี้จะได้ไปถวายทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก เมื่อเสร็จแล้วจึงได้เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่ไปถึงกลับกล่าววาจาโอหังยืนอยู่ข้างหน้าแล้วถามว่า "พระสมณโคดม คนไม่เคยยกมือไหว้ท่าน ไม่เคยใส่บาตร ไม่เคยฟังเทศน์ เพียงนึกชื่อท่านอย่างเดียวตายไปแล้วเกิดเป็นเทวดา นางฟ้ามีไหม"พระพุทธเจ้าตรัสว่า พราหมณ์ คนที่ไม่เคยใส่บาตร ไม่เคยยกมือไหว้ ไม่เคยฟังเทศน์จากเรา ตายไปแล้วไปเกิดบนสวรรค์ ไม่ใช่นับร้อยนับพัน แต่นับเป็นโกฏีๆ แต่ทว่าท่านที่ฝึกกรรมฐาน ถึงมีว่าจะมีสมาธิเล็กน้อย ท่านก็ว่ามีผลดีกว่า มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ทั้งนี้เพราะทุกคนเคารพ พระพุทธเจ้า เคยบูชาพระ เคยไหว้พระ เคยใส่บาตร เคยฟังเทศน์ และเจริญกรรมฐานด้วยความเคารพ


ที่มา:หนังสือวิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ
โดย พระสุธรรมยานเถระ(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

51
จักรวาลแบบพุทธ / จักรพรรดิตามหลักศาสนาพุทธ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2014, 09:32:18 PM »


จักรพรรดิตามหลักศาสนาพุทธ

หลายๆครั้งที่เราได้ยินครูบาอาจารย์ท่านมักกล่าวถึงพระจักรพรรดิ พระพุทธเจ้าปางจักรพรรดิ พระปางจักรพรรดิ หรือ กำลังพระจักรพรรดิ ยังมีหลายๆคนที่อาจจะยังไม่ทราบถึงเรื่องราวอันเป็นที่มาของคำว่า "จักรพรรดิ" ตามหลักศาสนาพุทธ จึงขอสรุปมาย่อๆ โดยเรียบเรียงเนื้อหา สรุปจากพระไตรปิฎก ดังต่อไปนี้

พระเจ้าจักรพรรดิ (ภาษาบาลี: จกฺกวตฺติ) คือจักรพรรดิผู้ปกครองทวีปทั้ง 4 ในความเชื่อของพระพุทธศาสนา เป็นผู้รักษาศีล เป็นธรรมราชา ปกครองด้วยทศพิธราชธรรม มีพระโอรสนับพัน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ปรารถนาสงคราม ไม่ประสงค์เครื่องบรรณาการ พระเจ้าจักรพรรดิมีแต่ผู้เคารพนับถือ พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้มีบุญญาธิการมาก พระเจ้าจักรพรรดิมีลักษณะของมหาบุรุษเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า แต่ทรงเลือกปกครองแผ่นดิน ยามใดที่มีพระพุทธศาสนา พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงบำรุงอุปัฎฐากพระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก ช่วยเผยแพร่พระธรรม แต่ยามใดที่ไม่มีพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงรวบรวมผืนแผ่นดิน ผู้คนให้เป็นปึกแผ่น ทรงปกครองโดยธรรม สั่งสอนประชาชนทั้งมวล พระเจ้าจักรพรรดิทรงขยันในการสร้างบารมีมาก ถึงแม้จะเป็นพระมหาจักรพรรดิก็ยังทรงสร้างพระบารมีไม่หยุดหย่อน

ความพิเศษของพระเจ้าจักรพรรดิ

พระเจ้าจักรพรรดิมีพระวรกายงดงามยิ่งกว่ามนุษย์ใดๆ
พระเจ้าจักรพรรดิมีอายุยืนกว่ามนุษย์ใดๆ
มีอาพาธน้อย เจ็บป่วยได้ยากกว่าคนทั่วไป
พระเจ้าจักรพรรดิเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา
แม้แต่เทวดาก็ยังเกรงใจ

ประเภทของพระเจ้าจักรพรรดิ

พระเจ้าจักรพรรดินั้นยังแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทอีก ได้แก่

จักรพรรดิทองคือ พระเจ้าจักรพรรดิที่ครอบครองทั้ง 4 ทวีป ตั้งแต่ประสูติ โดยมิต้องทำการรบพุ่งแย่งชิงมา

จักรพรรดิเงินคือ พระเจ้าจักรพรรดิที่ครอบครอง 3 ทวีป ตั้งแต่ประสูติ โดยมิต้องทำการรบพุ่งแย่งชิงมา

จักรพรรดิทองแดงคือ พระเจ้าจักรพรรดิที่ครอบครอง 2 ทวีป แต่มิได้ครอบครองเช่นนี้มาตั้งแต่ประสูติ ต้องทำสงครามรบพุ่งแย่งชิงมา

จักรพรรดิเหล็กคือ พระเจ้าจักรพรรดิที่ครอบครองได้เฉพาะชมพูทวีป โดยทำสงครามรบพุ่งแย่งชิงมา ซึ่งพระจักรพรรดิเหล็กนี้เป็นสถานะพระจักรพรรดิที่เป็นไปได้ในโลกปัจจุบัน ซึ่งคติความเชื่อในเรื่องจักรพรรดิเหล็กนั้น ได้ปลูกฝังในระบอบคิดของกษัตริย์ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาเป็นหลักมาแต่ครั้งโบราณกาล

แก้ว 7 ประการ

พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้ครอบครองแก้ว 7 ประการ อันได้แก่

จักรแก้ว (จกฺกรตฺตนํ) เมื่อผู้ที่จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ พระองค์ทรงรักษาศีลอุโบสถ ชำระจิตให้สะอาดแล้วทรงทำสมาธิ จักรแก้วก็บังเกิดขึ้น ทำจากโลหะมีค่า ส่องแสงสว่างไสว แล้วพาพระเจ้าจักรพรรดิพร้อมเหล่าเสนาบดีลอยไปยังประเทศต่างๆ ในทวีปทั้ง 4 ประเทศต่างๆ ก็ยอมสวามิภักดิ์ ไม่มีการสู้รบกัน เมื่อจะถวายเครื่องบรรณาการพระเจ้าจักรพรรดิก็ไม่ยอมรับแต่พระราชทานโอวาทศีล 5 ให้

ช้างแก้ว (หตฺถีรตฺตนํ) ช้างแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาช้าง มีชื่อว่า อุโบสถ สีขาวเผือก สง่างาม มีฤทธิ์เดชสามารถเหาะได้ คล่องแคล่วว่องไว ฝึกหัดได้เอง สามารถพาพระเจ้าจักรพรรดิไปรอบชมพูทวีป จรดขอบมหาสมุทร ได้ตั้งแต่เช้ารุ่ง และกลับมาทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า

ม้าแก้ว (อสฺสรตฺตนํ)
ม้าแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาม้า มีชื่อว่า วลาหกะ เป็นอัศวราชผู้สง่างาม ขนงาม มีหางเป็นพวง ตรงปลายคล้ายดอกบัวตูม มีฤทธิ์เดชเหาะเหินเดินบนอากาศได้ คล่องแคล่วว่องไง ฝึกหัดได้เอง สามารถพาพระเจ้าจักรพรรดิไปรอบชมพูทวีป จรดขอบมหาสมุทร ได้ตั้งแต่เช้ารุ่ง และกลับมาทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า

มณีแก้ว (มณิรตฺตนํ) มณีแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นแก้วมณีเปล่งแสงสุกสกาว ใสแวววาวยิ่งกว่าเพชร เปล่งรังสีแสงสว่างไสวโดยรอบถึง 1 โยชน์ คอยบันดาลความอุดมสมบูรณ์ทุกอย่างให้บังเกิดขึ้น ดึงดูดสมบัติทั้งหลายมาให้ สามารถเลี้ยงคนได้ทั้งชมพูทวีปโดยไม่ต้องทำมาหากิน เมื่อพระมหาจักรพรรดิทรงทดลองแก้วมณีกับกองทัพ โดยติดแก้วมณีไว้บนยอดธงนำทัพ แก้วมณีก็เปล่งแสงสว่างไสว ทำให้กองทัพเดินทางได้สะดวกสบาย เหมือนเดินทัพในเวลากลางวัน

นางแก้ว (อิตถรตฺตนํ) นางแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นหญิงที่มีบุญญาธิการ รูปร่างน่าดูชม ผิวพรรณเปล่งปลั่งผ่องใส สวยงามกว่ามนุษย์ทั่วไป พูดจาไพเราะ ไม่โกหก มีกลิ่นดอกบัวหอมฟุ้งออกจากปาก มีกลิ่นจันทน์หอมฟุ้งรอบกาย นางแก้วเป็นผู้คอยปรนนิบัติพระเจ้าจักรพรรดิอย่างไม่ขาดสาย ตื่นก่อนนอนทีหลังพระเจ้าจักรพรรดิ คอยฟังรับสั่งของพระเจ้าจักรพรรดิ ประพฤติชอบต่อพระเจ้าจักรพรรดิเสมอ

ขุนคลังแก้ว (คหปติรตฺตนํ) คฤหบดีแก้ว หรือขุนคลังแก้ว สามารถนำทรัพย์สินมาให้แด่พระเจ้าจักรพรรดิได้ ขุมทรัพย์อยู่ที่ไหน ขุนคลังแก้วเห็นหมด

ขุนพลแก้ว (ปริณายกรตฺตนํ) ปริณายกแก้ว หรือขุนพลแก้ว คือพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นขุนศึกคู่ใจ เป็นบัณฑิตนักปราชญ์ มีความฉลาดเฉลียว รู้สิ่งใดควรไม่ควร คอยให้คำแนะนำปรึกษาแด่พระเจ้าจักรพรรดิอยู่เสมอ

อานิสงส์ผลบุญที่ทำให้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

ทำบุญทำทานด้วยจิตใจงดงาม เป็นเจ้าในงานทอดกฐิน หรือเป็นเจ้าภาพในการสร้างวัด พระอุโบสถ พระวิหาร พระพุทธรูป ฯลฯ เป็นประธานในการเทศนาธรรม การสังคายนาพระไตรปิฏก ฯลฯ บูชาเจดีย์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ในยุคพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน แม้นไม่มีพระเจ้าจักรพรรดิมาอุบัติเกิดขึ้นเหมือนในยุคอื่นๆที่ผ่านมาและในอณาคต เช่นในยุคพระศรีอาริยเมตไตรย พระพุทธเจ้าพระองค์หน้าที่จะมีพระสังขจักรพรรดิเกิดขึ้นมาอุปัฐฐากพระพุทธเจ้าศรีอริยเมตไตรย แต่ในพระไตรปิฎกก็มีกล่าวถึงตอนที่พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เนรมิตองค์ท่านเป็นพระเจ้าจักรพรรดิเพื่อปราบทิฐิมานะของท้าวพญาชมพูบดี ซึ่งมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก รวมถึงในส่วนของเนื้อหาพระเจ้าจักรพรรดิก็มีกล่าวถึงในพระไตรปิฎกเช่นกัน

อ่านความรู้เกี่ยวกับพระเจ้า“จักรพรรดิ” แบบละเอียดได้ที่
http://buddhapoom.com/index.php/topic,43.0.html

52


พุทธประวัติ ตอน ทรงแก้ทิฏฐิมานะ
ของพญามหาชมพูบดี

ในสมัยพุทธกาล มีพระมหากษัตริย์ผู้เรืองอำนาจพระองค์หนึ่ง ซึ่งปกครองเมืองปัญจาลราษฐ พระนามว่า "พญาชมพูบดี" กล่าวกันว่า พร้อม ๆ กับการประสูติของพญาชมพูบดี ขุมทองในที่ต่างๆ ก็ผุดขึ้นมากมายอันแสดงถึงบุญญาธิการของพระองค์ ประชาชนในเมืองนี้จึงมีฐานะความเป็นอยู่ที่มั่งคั่งสมบูรณ์

พญาชมพูบดี ทรงมีอาวุธวิเศษ 2 อย่าง คือ

ฉลองพระบาทแก้ว ซึ่งเมื่อสวมเข้าไปแล้วก็จะพาพระองค์เหาะไปในที่ต่างๆ ได้ ทั้งยังใช้อธิษฐานแปลงเป็นนาคราชเข้าประหัตประหารศัตรูได้อีกด้วย

อาวุธวิเศษอย่างที่สอง คือ วิษศร ซึ่งเป็นศรวิเศษใช้ต่างราชทูต หากกษัตริย์เมืองใดไม่มาอ่อนน้อมขึ้นต่อพระองค์ วิษศรนี้ก็จะไปร้อยพระกรรณพาตัวเข้าเฝ้าพระองค์จนได้ ทำให้กษัตริย์ทั้งหลายพากันยำเกรงในพระเดชานุภาพแห่งพญาชมพูบดี

ด้วยอาวุธคู่พระวรกาย พญาชมพูบดีได้ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง กระทั้งถึงกรุงราชคฤห์ของพระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นอุบาสกแห่งสมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้า พญาชมพูบดีส่งอาวุธวิเศษของพระองค์ ไปทำอันตรายต่อพระเจ้าพิมพิสาร แต่ไม่อาจทำอันตรายแก่พระเจ้าพิมพิสารได้ ด้วยอาศัยพระพุทธานุภาพ ทำให้พญาชมพูบดีแค้นพระทัยมาก แม้ส่งอาวุธวิเศษอย่างใดไป ก็พ่ายแพ้แก่พระพุทธานุภาพแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นว่า พญาชมพูบดีประสบความพ่ายแพ้ และมีทิฏฐิมานะเบาบางลง ประกอบด้วยกับทรงเล็งเห็นวาสนาปัญญาของพญาชมพูบดีว่าสามารถสำเร็จมรรคผลได้ จึงมีพุทธฎีกาตรัสใช้ให้พระอินทร์แปลงเป็นราชทูตพาพญาชมพูบดีมาเข้าเฝ้า ส่วนพระองค์ทรงเนรมิตองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงมงกุฎ พร้อมเครื่องราชาภรณ์ แต่ล้วนงดงาม ส่วนพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานเถระเจ้า พร้อมด้วยเหล่าภิกษุสงฆ์สาวก ก็เนรมิตกายเป็นเสนาอำมาตย์ใหญ่น้อย ล้วนแล้วแต่น่าเกรงขาม ทั้งเนรมิตเวฬุวัน (ป่าไผ่) ให้เป็นพระนครใหญ่ประกอบด้วยกำแพงถึง 7 ชั้น และมีพุทธฎีกาตรัสสั่งให้เทวดา พรหม ทั้งหลาย ร่วมเนรมิตเป็นตลาดน้ำ ตลาดบก

เมื่อพระอินทร์ซึ่งเนรมิตกายเป็นราชทูต ไปถึงเมืองปัญจาลราษฐ เห็นพญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ยังถือดี จึงแสดงฤทธานุภาพเป็นที่ประจักษ์ พญาชมพูบดีไม่อาจแข็งขืนจำยอม ต้องยกพลเดินทัพเพื่อเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้า

เมื่อพญาชมพูบดี เดินทางเข้าเขตพระนคร ก็ตกตะลึงกับความยิ่งใหญ่อลังการแห่งพระนครที่พระพุทธองค์ทรงเนรมิต แม้แต่เหล่าแม่ค้าริมทาง ก็ยังงดงามกว่าพระอัครมเหสีของพญาชมพู จนชวนให้รู้สึกขวยเขินก้าวเดินไม่ตรงทาง และเมื่อผ่านทางยังกำแพงพระนครแต่ละชั้น ทอดพระเนตรเห็นเหล่าเสนาอำมาตย์ที่รักษาพระนคร พระทัยก็ประหวั่นพรั่นกลัวพระเสโทไหลโทรมทั่วพระสกลกาย ถึงกำแพงชั้นในซึ่งเป็นแก้ว ก็ทำท่าจูงกระเบนเหน็บรั้ง ด้วยเข้าพระทัยผิดคิดว่ามีเสียงนางในร้องเย้ยเยาะว่ากษัตริย์บ้านนอก กระทำเชยๆ พญาชมพูบดีก็รู้สึกได้รับความอัปยศอย่างยิ่ง

เมื่อพญาชมพูบดีมาถึงต่อหน้าพระพักตร์แห่งพระบรมศาสดา ซึ่งเนรมิตกายเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ยังไม่หมดทิฏฐิมานะ พระพุทธองค์ทรงเชื้อเชิญให้แสดงฤทธิ์เดชอำนาจและของวิเศษทุกสิ่งทุกอย่างออกมา เมื่อพญาชมพูบดีทรงแสดงแล้ว ก็ต้องได้รับความอัปยศยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยไม่อาจทำอันตรายพระพุทธองค์ได้เลยแม้แต่น้อย

เมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าพญาชมพูบดีคลายทิฏฐิมานะลงมากแล้ว จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพญาชมพูบดี และเหล่าเสนาอำมาตย์ที่ติดตามมาด้วยจำนวนมากมายให้เห็นสิ่งที่เป็นสาระและมิใช่สาระ ให้เห็นโทษแห่งการเวียนเกิด เวียนตาย ในวัฏสงสาร ทั้งให้เห็นคุณแห่งพระนิพพาน พญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ต่างรู้สึกปีติ โสมนัส จึงปลดมงกุฎและเครื่องประดับของตนวางแทบพระบาทแห่งองค์พระสัมพัญญูบรมศาสนา เพื่อสักการะด้วยความรู้สึกเทิดทูน จากนั้นจึงทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธองค์

จากนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้าบรมครู พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวก เทวดา พรหม ก็คล้ายฤทธานุภาพกลับสู่สภาพเดิม (เป็นป่าไผ่และสภาพทั้งหลายตามความเป็นจริง) สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานอุปสมบถแก่พญาชมพูบดี พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ และทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้คลายความลุ่มหลงในเบญจขันธ์ มีรูป เป็นต้นว่า อุปมาดั่งพยับแดด หาสาระตัวตนที่เที่ยงแท้อันใดมิได้ และแสดงเทศนาต่างๆ เป็นอเนกปริยาย พญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ ก็ดื่มดำในพระอมตธรรมสลัดเสียซึ่ง ตัณหา อุปาทาน จิตของท่านก็เข้าอรหันตผล สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลในพระบวรพุทธศาสนา

53
จักรวาลแบบพุทธ / "ความตาย"
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2014, 09:30:53 PM »


บทความทรงคุณค่าเรื่องยาว
ตอนเดียวจบ "ความตาย"

โอกาสตายในช่วงชีวิตต่างๆ

ปัจจุบันดาวเคราะห์ที่เราอาศัยช่างเต็มไปด้วยภยันตราย เกิดสงครามและอาชญากรรมปะทุขึ้นที่นั่นที่นี่ หากติดตามข่าวรอบโลกก็จะเห็นเหมือนทั่วทุกหย่อมหญ้าเต็มไปด้วยคาวเลือดและการล้างผลาญชีวิต ทั้งมหันตภัยจากธรรมชาติและมหาภัยจากน้ำมือมนุษย์ด้วยกันเอง

ข่าวอุบัติเหตุบางชิ้นเช่นเครื่องบินตก หรือการตายหมู่จากตึกถล่มนับร้อยนับพันนั้น มักเผยแพร่ออกไปในระดับโลก เพราะเป็นภาพการตายพร้อมกันที่น่าสะเทือนขวัญ แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่าประชากรโลกตายกันอยู่แล้ววันละแสนห้า!

ไม่มีใครทำรายงานเช่น ‘ข่าวด่วน! มีคนตายในวันเดียวถึงเกือบสองแสนคน’ นั่นเพราะพวกเรากระจายกันตายแบบห่างๆ เราอาจต้องรู้จักชาวบ้านร่วมครึ่งตำบลจึงจะได้ยินข่าวการตายของใครสักคนหนึ่ง แต่เราต้องรู้จักคน ๖ พันล้านจึงจะทราบว่ามีการตายวันละเกือบสองแสน

แต่อย่างไรความจริงก็คือความจริง วันหนึ่งเกือบสองแสน ซึ่งเกือบเท่าจำนวนคนตายที่ฮิโรชิม่าและนางาซากิรวมกันเมื่อครั้งตกอยู่ในสภาพหนูทดลองระเบิดนิวเคลียร์ ๒ ลูกแรก ทุกคนสามารถจดจำการตายหมู่อันเป็นประวัติศาสตร์ทมิฬของญี่ปุ่นได้ แต่วันนี้ไม่มีใครปั่นข่าวให้ทราบเลยว่าความตายระดับใกล้เคียงกันก็เกิดขึ้น และวันพรุ่งนี้จะมีคนตายเพิ่มอีกหนึ่งแสนห้าหมื่นคน!

ยังมีความเชื่อตามสามัญสำนึกอยู่อีกประการหนึ่ง คือคนเราควรจะตายตอนแก่ อาจเพราะพวกเรารู้จักคนกันไม่มากพอ จึงมักเห็นคนอยู่ได้จนแก่กัน หากขอให้คนรุ่น ๔๐ แจ้งรายชื่อเพื่อนร่วมรุ่นซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ส่วนใหญ่ก็อาจแจ้งได้เป็นจำนวนเลขหลักหน่วย คือไม่ถึงสิบด้วยซ้ำ ต้องขอให้คนรุ่น ๕๐ ขึ้นไปนั่นแหละ จึงจะเริ่มเห็นน้ำเห็นเนื้อขึ้นมาหน่อย นี่จึงทำให้เรารู้สึกว่าช่วงเวลาในชีวิตส่วนใหญ่อยู่ห่างไกลจากความตายไปมาก แม้หนังสือพิมพ์จะลงข่าวเด็กและวัยรุ่นเสียชีวิตกันโครมครามทุกวันก็ตาม

ในหัวข้อนี้ขอแสดงให้เห็นเพียงสถิติที่น่าสนใจ เพื่อให้เห็นว่าความจริงก็คือคนเรามีโอกาสตายได้ทุกช่วงวัย ผ่านความน่าจะเป็นของโรคภัยต่างๆดังนี้

๑) ช่วง ๑ ขวบ มีโอกาสตายเพราะโรคเกี่ยวกับการย่อยอาหารจำพวกไขมัน โปรตีน แป้ง คือกินไม่ได้เพราะร่างกายไม่สามารถสลายได้หมด และเด็กบางคนก็อาจเป็นเบาหวานได้ตั้งแต่เกิดเพราะตับอ่อนเสีย ไม่สามารถสร้างอินซูลินได้

๒) ช่วง ๑๐ ขวบ มีโอกาสตายเพราะโรคมะเร็งที่สมองและไต

๓) ช่วง ๒๐ ปี มีโอกาสตายจากอุบัติเหตุได้มากที่สุด และอาจมีโรคจำพวกปลายประสาทสมองเสื่อมผิดปกติ คล้ายอัลไซเมอร์

๔) ช่วง ๓๐ ปี มีโอกาสตายเพราะโรคติ่งเนื้อในลำไส้ ซึ่งมีอยู่แล้วตั้งแต่เกิด แต่เริ่มเจอเอาช่วงนี้เอง บางคนมีโอกาสรู้ตัวได้เพราะมีประวัติในพ่อแม่ (ซึ่งถ้าเป็นกรรมพันธุ์จริงก็อาจเจอติ่งเนื้อแล้วตัดไส้ส่วนนั้นทัน) วัยนี้บางทีก็มีเรื่องเบาหวานและตับอ่อนเสื่อมให้เห็นเสมอๆ

๕) ช่วง ๔๐ ปี มีโอกาสตายเพราะโรคมะเร็งกันสูง เพราะสภาพร่างกายเริ่มเสื่อม ไม่ยากที่จะเกิดการสร้างเซลล์ใหม่อย่างผิดปกติ หรือไม่ยิ่งอยู่นานก็เท่ากับยิ่งรับสารเคมีจากสภาพแวดล้อมอันเป็นพิษเข้าไปสะสมมากขึ้นๆ แล้วทำให้เซลล์แบ่งตัวผิด พอเป็นมะเร็งแล้วก็จะต่างจากเนื้องอกตรงที่กระจายได้ ลุกลามได้ พอเป็นขึ้นมาถ้าไม่ตรวจพบและรักษาแต่เนิ่นๆจึงมักไปกันไว

พ้นจากช่วงนี้สามารถตายได้ทุกเมื่อด้วยความน่าจะเป็นของทุกโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคสมัยที่ต้องเร่งรีบ หรือต้องแบกภาระการงานอันหนักอึ้งเพื่อผ่อนจ่ายทรัพย์สมบัติต่างๆ จนเริ่มมีข่าวคนนอนฟุบหลับเพื่อพักงีบบนโต๊ะทำงานแล้วไม่ตื่นขึ้นมาอีกเลยประปราย ที่โน่นที่นี่ และต่อไปก็มีแนวโน้มว่าอาจได้ยินกันบ่อยขึ้น นี่ยังไม่รวมความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุบนท้องถนนที่แต่ละปีคร่าชีวิตหญิงชายไปมากมายเกินจะนับอีกต่างหาก

ไม่มีใครเกิดมาพร้อมกับความรู้ตัวว่าติดกลุ่มเสี่ยงต่อมรณภัยรูปแบบไหน แต่ทุกคนสามารถเลิกประมาทได้เท่าเทียมกัน หันมาตระหนักว่าเราตายได้ทุกเมื่อ และการเตรียมตัวเตรียมใจพร้อมอยู่เสมอเป็นนโยบายที่ฉลาดของคนไม่ประมาทกับชีวิต

ความตายเป็นความเที่ยงแท้ที่ไม่แน่นอน

อันว่าความตายนั้นเป็นของที่คู่กับชีวิตของเรา เมื่อเราเกิดขึ้นมา เราก็ต้องคำพิพากษาเสียแล้วว่าเป็นนักโทษประหาร ต้องถึงแก่ความตาย ด้วยการลงโทษประหารในวันใดวันหนึ่ง โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ซึ่งโทษประหารชีวิตนี้มิได้ระบุแน่นอนชัดเจนว่า เราจะตายเมื่อไหร่ จะตายที่ไหน จะตายอย่างไร แต่ที่เที่ยงแท้ก็คือว่า เราทุกคนที่เกิดมาจะต้องพบความตายโดยหลีกเลี่ยงมิได้ ความเที่ยงแท้ที่ไม่แน่นอนนี้ เราควรที่จะกำหนดจิตกำหนดใจของเราให้ยอมรับความจริง คือยอมรับสภาพที่รู้แน่นอนว่าต้องตายนั้นประการหนึ่ง กับสภาพที่ไม่รู้ได้แน่นอนว่าจะตายเมื่อไหร่ จะตายที่ไหน จะตายอย่างไรอีกประการหนึ่ง เพื่อเตรียมจิตเตรียมใจของเราให้พร้อม เพื่อรับสภาพการณ์ที่ความตายจะมาเยือน ถ้าทำได้อย่างนี้ก็จะมีประโยชน์อย่างมาก ประโยชน์ยิ่งกว่านั้นก็คือว่า จะได้หาหนทาง หาวิธีที่เราจะก้าวพ้นความตายทั้งหลายไม่ให้มัจจุราชมารมองเห็นตัวของเราได้ ทั้งนี้ ก็โดยอาศัยพระธรรมคำสอนที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงสั่งสอนไว้ ให้เราประพฤติปฏิบัติและจะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ …

คติธรรมพิจารณามรณานุสติ

อายุคนเราเฉลี่ย 76ปี.... นั่นคือแค่ 3592 อาทิตย์ เท่านั้น

คุณหมดเวลากับการนอนไปถึง 1317 อาทิตย์

ซึ่งเท่ากับคุณเหลือเวลาที่ใช้ดำเนินชีวิตแค่ 2635 อาทิตย์!!!

......สองพันกว่าอาทิตย์เองที่ได้อยู่บนโลก......

ถามตัวคุณเองดีกว่า ว่าจะยอมเศร้าซักกี่อาทิตย์ เหงาซักกี่อาทิตย์ มีความสุขซักกี่อาทิตย์....... เพราะทั้งหมดเราก็มีอยู่แค่สองพันกว่าอาทิตย์เอง

ที่กล่าวว่า อายุเฉลี่ยของคนเราคือ76ปีนี้ นี้คือค่ามัชฌิม....ค่าเฉลี่ยอายุคนทั่วไป บางคนอาจจะอยู่ได้นานกว่านั้น..... แต่อีกหลายๆคนก็อยู่ได้ไม่ถึง...... มันไม่มีอะไรจะมารองรับประกันได้เสียด้วยว่าใครจะอยู่ได้นานแค่ไหน..... ใครจะรู้ความตายแม้นพรุ่งนี้......

ครูบาอาจารย์ท่านจะเตือนให้พิจารณาถึงความตายให้บ่อยๆ ไม่ให้ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยทิ้งไปเปล่าๆ.....ให้เพียรพยายามเลิกละกิเลสในใจของตน เพื่อจะได้ไม่ต้องมาเกิดเพื่อตายอีก

ความตายเป็นทุกข์ก็จริง...... แต่ท่านสอนให้พิจารณาทุกข์ ให้เอาทุกข์ที่จะต้องมาถึงแน่ๆมาเตือนตน...... ความตายจึงมีประโยชน์กับผู้ที่รู้จักพิจารณา
ความตายเป็นสัจจธรรมที่ฟังเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆธรรมดา เหมือนเป็นเรื่องพื้นๆ..... แต่สำหรับผู้ที่พิจารณาโดยแยบคายจะได้อุบายดับทุกข์-ละกิเลสอันยอดเยี่ยม

มรณํง เม ภวิสสติ...... พึงระลึกถึงความตายที่จะมาถึงตัวเราเถิด

สักวันหนึ่งข้าพเจ้าต้องตาย
สักวันหนึ่งท่านก็ต้องตาย
สักวันหนึ่งคนที่ข้าพเจ้ารักต้องตาย
สักวันหนึ่งคนที่ท่านรักก็ต้องตาย

สักวันหนึ่งของที่ข้าพเจ้าชอบต้องพัง
สักวันหนึ่งของที่ท่านชอบก็ต้องพัง
สักวันข้าพเจ้าต้องพลัดพราก
สักวันท่านก็ต้องพลัดพราก

สักวัน.... เราต้องตาย
สักวัน.... สักวัน.....

54
อภิญญาปฎิบัติ / หนังสือ "กายสิทธิ์"
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2014, 09:29:52 PM »
หนังสือ "กายสิทธิ์" หนังสือเก่า หนา 307 หน้า อายุเกือบ 20 ปี หายาก เขียนขึ้นตั้งแต่สมัยวัดยังเป็นสำนักสงฆ์อยู่ เนื้อหาภายในเล่มรวบรวม ประวัติ คำสอน ปฎิปทา และ เรื่องราว ของ หลวงปู่ดู่ หลวงตาม้า รวมถึงเรื่องราวพิเศษต่างๆ เกี่ยวกับ หลวงปู่ หลวงตา ที่หาอ่านได้ยาก

ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้ แบบไฟล์ PDF
คลิ๊ก http://goo.gl/vzf6hu (.rar 68 MB)

55


ธรรมะบำบัดกับ วัดพุทธพรหมปัญโญ (วัดถ้ำเมืองนะ)

ว่ากันว่า ธรรมะก็ถือว่าเป็นธรรมชาติบำบัดอย่างหนึ่ง ปัจจุบันจึงมีผู้คนมากหน้าหลายตาที่พยายามจะหาความสงบสุขที่แท้จริงให้กับตัวเอง โดยการเข้าวัดปฏิบัติธรรม สวดมนต์ ภาวนา สร้างสมาธิ สติ และปัญญา นอกจากจะสร้างบุญกุศลแล้ว ยังเป็นวิธีที่เราจะได้อยู่กับตัวเองให้ได้มากที่สุด และช่วยบำบัดสุขภาวะจิตอีกด้วย

หากใครที่กำลังหาสถานที่สงบจิตสงบใจ เพื่อปฏิบัติธรรม ขอแนะนำ วัดพุทธพรหมปัญโญ หรือวัดถ้ำเมืองนะ วัดที่มีบรรยากาศอันแสนสงบ เย็นสบาย อบอวนไปด้วยความเป็นธรรมชาติสุดๆ ด้วยหมู่แมกไม้นานาพรรณ ทั้งอากาศที่ร่มเย็นทำให้ผู้มาเยือนส่วนใหญ่ต่างรู้สึกถึงความเป็นธรรมชาติที่หลอมรวมมนุษย์ขึ้นมา วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เป็นวัดที่อยู่ห่างจากชายแดนไทย-พม่าเพียง 1.5 กิโลเมตร บริเวณตำบลเมืองนะตามตำนานเล่าว่าพระสมณโคดมมาโปรดมนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน พระองค์ทรงเสด็จมาที่เทือกเขาแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่รวมกันของแม่น้ำหลายสาย ปัจจุบันเรียกว่า “สันดอยถ้วย” เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาก็ต่างมีผู้คน และสัตว์มากราบไหว้สักการบูชา และก็มีช้างเผือกเชือกหนึ่งได้เก็บ “ผลนะ” (ลูกสมอ) มาถวาย เมื่อพระพุทธเจ้ารับผลนะก็กลายเป็นทองคำทันที ต่อมาพญาช้างเผือกจึงถวายตัวเป็นทาสรับใช้ อยู่มาวันหนึ่งพญาช้างเผือกลงไปเล่นน้ำในลำธาร จึงพรานป่ารุมทำร้ายพญาช้างเผือกจนขาดใจตาย แล้วเมื่อพรานป่าไปพบพระพุทธเจ้า พระองค์จึงเทศนา สั่งสอนให้เลิกทำชั่ว และได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนโดยมีชื่อว่า “เมืองนะ”

นอกจากนี้บริเวณตำบลเมืองนะยังแฝงด้วยประวัติศาสตร์อันล้ำค่าคือ เป็นเส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระนเรศวรที่ยกไปตีทัพอังวะ ที่มารุกรานเมืองงาย และเมืองแสนหวีซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาในสมัยนั้น

วัดถ้ำเมืองนะ แม้จะอยู่ติดชายแดน แต่เดินทางไปไม่ลำบากอย่างที่คิด เพราะวัดแห่งนี้อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่เพียง 2 ชั่วโมง ถ้านำรถส่วนตัวมาก็มุ่งหน้าไปทางอ.เชียงดาว เมืองเจอสามแยกเมืองงาย (ห่างจากวัดประมาณ 44 กิโลเมตร) ให้เลี้ยวขวาเพื่อไปทางเมืองงาย เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1178 ขับตรงไปเรื่อยๆตรงกิโลเมตรที่ 41 ก็จะถึงหมู่บ้านเมืองนะเหนือ เลี้ยวขวาเข้าไปในทางเล็กๆ ขับไปตามทางบังคับประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดพุทธพรหมปัญโญ หรือวัดถ้ำเมืองนะในที่สุด

แต่หากมาด้วยรถโดยสาร ให้ขึ้นรถบัสสีส้มแดงที่ไปเชียงดาว ขึ้นที่ขนส่งช้างเผือกแล้วไปลงแถวๆคิวรถสีเหลืองสายที่ 2 ที่ อ.เชียงดาว จากนั้นบอกเขาว่าไปวัดหลวงตาม้า เพียงเท่านี้ท่านก็ได้ไปแสวงหาบุญที่วัดถ้ำเมืองนะได้สำเร็จ

ซึ่งวัดถ้ำเมืองนะแห่งนี้ทำให้ผู้มาเยือนหลายต่อหลายคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวว่า นี่คือสถานที่ปฏิบัติธรรมที่เป็นธรรมชาติบำบัดอย่างแท้จริง ด้วยกรรมวิธีที่ท่านพระสงฆ์และแม่ชีของที่นี่อบรมสั่งสอนอย่างเป็นมิตร ทำให้เรื่องของธรรมมะดูเป็นเรื่องง่ายๆ เข้าใจได้ไม่ยาก และทำให้ตระหนักถึงทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่ธรรมชาตินำพาทั้งสิ้น ดังนั้นการดำเนินชีวิตอย่างเป็นธรรมชาติ รู้จักเรียนรู้จากธรรมชาติ จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบัน

รับรองได้ว่าพุทธศาสนสถานแห่งนี้ จะเป็นสถานที่ทำให้ผู้มาเยือนทั้งหลายไม่ผิดหวัง และได้รับอะไรดีๆกลับไปดำเนินชีวิตต่อในโลกที่กว้างขวางใบนี้อย่างแน่นอน . . .

เชิญรับชมสารคดีท่องเที่ยวเชิงธรรมะ วัดพุทธพรหมปัญโญ (ถ้ำเมืองนะ) ให้เสียงพากย์โดย นิรุตติ์ ศิริจรรยา รับชม คลิ๊ก: http://youtu.be/Bh6HdoefqMI

Wat Thum Muangna the celestial cave temple of Thailand documentary. Watch English subtitle version Click: http://youtu.be/hcC1XkapVrc

Link สำหรับรับชมบนมือถือหรือแท็ปเล็ต
[[ http://youtu.be/O0h6-1l5lOM ]]

56


Biography of Luangpu Du Phromapanyo

Childhood

Luangpu Du Phromapanyo (originally known by the name of “Du”) was born on Friday, May 10th 1904 in Ban Khaomao in the U-Thai district of the Ayutthaya province. His birthday coincides with Visakah Puja day (Vesak), the day of Buddha's birth and the most important Buddhist holiday, in the 6th moon of the year of the dragon, or rather year of the “large snake” according to the Thai zodiac. Du was born into a farmer family of four consisting of his father “Phud”, his mother “Phuang” and two older sisters. Each year when the rice harvesting season was over, his parents made and sold Thai desserts, to supplement the family income.

A remarkable occurrence is recounted about Du's babyhood. One day when his parents where preparing “Khanom Khai Mongkhol” (a Thai dessert), his mother placed him onto a mattress on the terrace outside the house. This was during the rainy season when the surroundings of the house, the fields, the lower lying houses, barns, and animal pens were all flooded, as it often happens during the monsoon season in Ayutthaya. While the parents were busily working in the kitchen, the family's dog suddenly started to act strange. It barked outside on the terrace, ran into the kitchen, and then ran back outside still barking. Since the dog normally didn't act in such a way, the parents went outside to investigate. They were in for a shock to find that their baby boy had fallen into the water below the terrace which had no fence. However, instead of drowning immediately, the baby was floating on its mattress. Du's father at once jumped into the water to rescue the child. The parents could not help wondering about the incident and the inviolacy of their baby. How came the boy fell into the water? He was still too young to move around and the wind didn't blow hard enough to have carried the mattress over the edge of the terrace. And how did he manage to stay afloat on his mattress? Why didn't the mattress get soaked and drown or turn over? There were too many questions and improbabilities, so the parents believed that their son possessed special powers which protected him from harm.

Soon after the incident, when he was still a baby, Du's mother died. At the age of four he lost his father too. Being orphaned as a young child, he was then raised by his grandmother and his older sister Sum. After having faced tragedy and bereavement very early in his life, Du received his education at the temple school of Wat Klangkhlongsabna, Wat Pradusongthom, and Wat Niwedthammapawad. It was then when he decided to devote his life to Buddhism and to live as a monk under the Buddhist rule. The following years Du spent as a novice at the temple.

Ordination And Monastic Life

Du was properly ordained when he was 21 years old. His ordination ceremony took place at Wat Sakae in Ayutthaya on Sunday, the 10th of May 1925. It was the 4th day of the waning moon in the sixth month. The preceptor of the ceremony was Luangpu Glan, the abbot of Wat Prayaatikararm. The first ordination teacher was Luangpu Dae, the abbot of Wat Sakae, and Lang Pu Chaai of Wat Glaangklong Sabua functioned as the ordination-proclaiming teacher (second ordination teacher). Luangpu Du was given the monastic name of “Phromapanyo Bikkhu”. In his first Buddhist lent, he studied the dharma scriptures at Wat Pra Doo Song Dharma which was called Wat Phra Doo Rong Dharma at the time. His instructor was Chao Khun Nuang. The title “Than Chao Khun” is a title unofficially used when speaking to or of a monk of a higher rank; it means “The Right Venerable”. His two other teachers were Phra Khru Chom and Luangpu Rod (also known as Suea). The title “Phra Khru” means “Venerable Teacher” (which is lower than Chao Khun in the monastic order).

His meditation teachers were Luangpu Glan, his ordination preceptor, and Luangpu Pao. The latter was not only one of Luangpu Glan's master students, but he was also Luangpu Du's uncle. In addition to these venerable teachers, Luangpu Du studied and practised meditation with a variety of accomplished masters in different places, for example in the Suphan Buri and Saraburi provinces. In his third lent, he started to adhere to (the thirteen) austere practices, which constitute a Buddhist ascetic practice targeted at removing the defilements.

Luangpu Du abided by a strict moral code for all of his life, so he ate just one meal per day. It wasn't until 1982 when his students and followers asked him to eat two meals per day instead, because his health was weakening as he was getting older. This new practice gave him more flexibility in receiving worshippers who came to offer him food. When his students asked his opinion about having two meals, he replied that its only advantage is giving Buddhist followers who live far away a second chance to make merit by offering a second meal.

The Dharma Dream

One night around 1957 after his evening chanting routine, Luangpu Du had gone to bed. In that night he dreamt that he ate three bright shining stars. While he was chewing on the three stars, he felt that they were crisp and cracking and he suddenly woke up in surprise. He wondered about his strange dream and came to the conclusion that the three bright stars represented the Triple Gem (the Buddha, the Dharma, and the Sangha). Realising this, he began to recite the prayer of the refuge in the Triple Gem. He was extremely delighted by the experience and simultaneously reached complete confidence about holding onto the Triple Gem as the right method that leads the core of Buddhism. Henceforth, he determined to make meditation on the the Triple Gem (and the threefold refuge) a centrepiece of his meditation practice.

Loving Kindness

Luangpu Du has always welcomed any visitor regardless of class and background and he treated everybody equally. He never allowed his helpers to hold back guests or deny them entry. Luangpu Du was aware that many of his guests came a long way to see him to pay respect to him and to ask Dharma questions. If visitors were kept from meeting him at their convenience, they would be very disappointed. Luangpu Du showed loving kindness to his visitors and students. If they showed interest in mediation practice he was delighted to give them support and advice. He never grew tired of giving dharma talks to his followers.

Luangpu Du was not only a very patient man, but he also embodied the complete absence of arrogance. He was well-mannered all of his life and never treated anyone haughtily.

Once Somdet Phra Buddhajarn (Seng) of Wat Suthat Thepwararam came to see him, one of the highest dignitaries in Thai Sangha, second only to the Supreme Patriarch, who is also perhaps better known as “Than Chao Khun Sangiam ”. He was one lent older than Luangpu Du and came to pay veneration to him. He also praised him as his teacher. When Chao Khun Sangiam finished paying respect to Luangpu Du he returned the gesture, and so they were paying respect to each other.

It was a rare occurrence in a world that is dominated by power struggles, stubbornness, and arrogance. Most people tend to present themselves as clever and superior, but are unaware that in reality they are obsessed with and lead by their own defilements.

Luangpu never criticised the dharma practice of any institution in insulting terms. His point of view was that “a good person doesn't beat other people”, not even with words and his students took this as an example of good conduct. Generally, he was a quiet but outspoken man who did not make a lot of words, but always meant what he said. He emphasised steady dharma practice and reminded people not to be negligent. Some of his sayings were: “The good is with you, just continue practising”, “ never stop watching your mind and thought”, “don't forget that everyone is going to die”, and “consider impermanence, suffering, and non-self.”

Luangpu Thuad

Luangpu Doo taught his students to hold Luangpu Thuad of Wat Chang Hai in great esteem. He always praised Luangpu Thuad saying that he has fully realised the ten perfections (i.e. the stages of spiritual perfection achieved by a bodhisattva on his path to Buddhahood ). He suggested that Luangpu Thuad is a bodhisattva who will be fully enlightened in the future. He guided all of his students and followers to put their faith in Luangpu Thuad and to keep him always in mind, especially in times of difficulty during meditation or when facing obstacles in life. Luangpu Du used to say that “Luangpu Thuad is already waiting to give help to everyone. Just don't give up or abandon your dharma practice.”

Amulet Making

Luangpu Du had made different types of amulets although he did not intend to make it a profession. He produced small Buddha images, because he realised that there were many people who needed something material to remind them of the Buddhist teachings. There were students who sought only the pure dharma and there were others who relied on talismans and amulets. He used to say that “being attached to a good talisman is better than being attached to a bad talisman”.

Although, Luangpu Du confirmed that all of his amulets received his blessings, there was one thing which clearly stands above amulets, namely meditation practice. He always told people who came to him to ask him for a talisman that the very best talisman they could think of was in their own body.
Late Period

Around 1984 Luangpu Du's health started to decline and he fell ill frequently because he allowed himself too little resting time. He welcomed guests and students from different parts of the country all the time. Even when he was seriously ill, he insisted on continuing this as usual. The monk who took care of Luangpu Du said that there were occasions when he was shivering and had to be carried to welcome visitors. Yet, he never complained and he never made anyone worry about him; he never even talked about his pain. Later in life he was examined by a physician who found that he suffered from heart disease and ordered him to rest and to seek treatment at the hospital. He refused it. At the end of 1989 he proclaimed several times that he would soon leave his physical body. Although he suffered intensely he maintained outward composure through patient meditation. His mind was unaffected and serene, so people did not notice that there was anything wrong with him.

On Tuesday, 16th January 1990 in the afternoon he talked to one of his students who was a Thai air force officer. During conversation his face glowed and he said: “I will no longer feel pain.” In the night of that day many followers came to visit him. Luangpu Du said: “there are no parts of my body that don't feel pain,” and he confirmed “I am leaving.” In his last words to his followers, he warned them not to be careless and not to neglect the dharma. He compared meditation practice to boxing: “Dharma practise is like a boxer in the ring. You have to start punching right away and don't fool around.” After that he retired to his kuti where he died peacefully on Wednesday, 17th January 1990 at the age of 85. On 20th April 1991 royal a funeral service was arranged in his honour. Luangpu Du spent 65 years of his life in robes. Though he is gone, his teaching lives on in the hearts and minds of his students.

-------------------------
Translate to English from
Thai version by Thomas & Ann
www.watthummuangna.com

57


Short Biography of Venerable Acariya Varongkot Virivatharo (Luangta Ma) Wat PhuttaPhrommapanyo (Wat Tham Muang Na) Thambon Muang Na, Amphor Chiang Dao, Chiang Mai, Thailand.

Early Life

Luangta Ma's original name is Varongkot Suwannakun. He was born on November 23rd 1944 in the Noraniwat district of Sakon Nakhon, a north-eastern province of Thailand. His father's name is Wandee Suwannakun and his mother's name is Sorpar Suwannakun. His parents had three children of which Vorangkot was the second.

Ordination

Luangta Ma has been a lay disciple of Luangpu Du (the highly respected Bodhisattva monk of Ayutthaya) and practised meditation under Luang Pu's guidance for more than 20 years. When his teacher was over 70 years old, he implored Luangta Ma to ordain as a monk. Luangta Ma complied with his teacher's wish.

He was ordained on Sunday, July 24th 1988 at 10:06 AM at Wat Buddhathaisawan in the Ayutthaya province. Venerable Ajahn Pathrakit (Luangpor Huan), the abbot of Wat Buddhathaisawan, was the preceptor of the ceremony. Venerable Ajahn Suangthorn Dhammanithed (nicknamed Boonsong) acted as first ordination teacher and Venerable Ajahn Pichit Kitarthorn (nicknamed Sanae) acted as the second ordination teacher.

Pilgrimage and Ascetic Practices

After Luangta Ma spent one lent in robes, he went to pay respect to Luangpor Huan and asked his permission to leave the monastery in order to go on a pilgrimage. He also took the Thirteen Austere Practices, which constitute an ascetic practice considered helpful by the Buddha for removing the defilements. Luangpor Huan gave his consent, upon which Luangta Ma went to pay respect to Luangpu Du at Wat Sakae.

He arrived at night time when Luangpu Du was the only person residing at the abode at Wat Sakae. Luangpu Du gave him a sermon and wished him well. He finally added: “Wherever you stay, I will be with you. Take this amulet. If you need my assistance, just turn to the amulet.” With these words he gave him an amulet with Luangpu Du's image imprinted on it, some travel utensils, and 500 Baht in cash.

Luangpu Du told Luangta Ma to go up north, yet he did not state any reason for it. In the morning, Luangpu Du sent a monk to bring Luangta Ma a lunch box, since he knew that Luangta Ma was too busy with preparations that morning and didn't go on alms round. After these events, Luangta Ma followed his master's advice and went north. He became a solitary wandering monk and practised Tudong (pilgrimage on foot) through northern Thailand for several years. He often lived in caves to practice meditation.

He experienced many odd and unusual occurrences during this time. One day he reached Prathat Jomjaeng which was formerly known as Prathat Jomkithi. At this place, he meditated in the open and prayed to find a secluded place suitable for solitary meditation. Miraculously, an old man appeared in the morning and told Luangta Ma about a remote cave in the forest of Muang Na. If it wasn't for the old man's story, he would moved onwards to the Four Buddha Footprints in Mae Rim.

Muang Na Cave

Luangta Ma, however, decided to follow the old man's lead. He sought the cave which the old man had told him about and -while on his way- asked Luangpu Du for guidance through serene contemplation. It wasn't long until Luangta Ma found the cave, which the locals simply called Muang Na cave. The cave was exactly as the old man had told him. When he arrived there, Luangta Ma took up mediation and contacted Luangpu Du through contemplation.

In 1990 it became known to Luangta Ma that Luangpu Du had left his physical body. He went to Ayutthaya to join the royal funeral ceremony. After the ceremony, he returned to the Muang Na. Since then Luangta Ma practised solitary meditation at the cave for more than ten years. During this time he was supported by the Thai and Shan villagers who live in the Muang Na area.

Originally, Luangta Ma set out to seek enlightenment in this life, as epitomised by the Arahat ideal. Yet, when he advanced his meditation practice, he connected to previous stores of Bodhicitta. He felt deep sympathy for all beings and prayed to stay on, rather than to pass into Nirvana, in order to help all beings in the heaven, human, animal, and hell realms.

Consequently, Luangta Ma decided to give up the solitary life in order to help others to practise. He began building a temple around the cave in Muang Na. At the same time, he started to teach the Dhamma to people who came to the temple and he instructed them in meditation practice.

In recent years, Luangta Ma was able to attract a considerable following. He is now widely recognised in Northern Thailand; he is also known for his great kindness. It is obvious to his students that Luangta Ma follows the ideal of the Bodhisattva. He teaches the Dhamma to his students, as well as meditation and amulet making in the tradition of Luangpu Du. Thus Luangta Ma continues the lineage of his great Ayutthayan master Luangpu Du.

English Documentary with subtitle
http://youtu.be/hcC1XkapVrc

58
นานาสาระและเสวนาทั่วไป / ทำพาสปอร์ตไปสวรรค์!
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2014, 09:26:57 PM »


ทำพาสปอร์ตไปสวรรค์!

ครั้งหนึ่งมีลูกศิษย์หลวงปู่ได้มาเล่าให้ท่านฟังว่า ได้เคยไปร่วมพิธีกรรมจัดสำเภาทัวร์สวรรค์ ซึ่งอ้างถึงพุทธบริษัท มีพระพุทธเจ้าเป็นผู้จัดการบริษัท ญาติโยมเป็นหนึ่งในบริษัททั้งสี่ ให้มาทำพิธีเสริมสิริมงคล หลวงปู่ท่านก็ไม่ว่าอะไร จนมาถึงการทำพาสปอร์ตเพื่อไปสวรรค์ หลวงปู่ท่านจึงพูดขึ้นว่า

“ของข้าไม่ต้องทำหรอก พาสปอร์ต ขอให้แกว่า พุทธัง ธัมมัง สังฆัง ไม่ต้องไปทำหรอกทั้งพาสปอร์ต ทั้งวีซ่า ข้ารับรอง”

คำพูดของหลวงปู่ ท่านเน้นถึงการปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง เพื่อตนเอง และได้ด้วยตนเอง เพราะถ้ามีวิธีการเช่นนี้จริงแล้ว พระพุทธองค์ก็คงไม่ต้องเปลืองคำสอนถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระผู้มีเมตตา กรุณาคุณอันยิ่งใหญ่แห่งสามโลก คงใช้วิธีการแบบนี้มานานแล้ว พวกเราคงได้ไปสวรรค์ นิพพานกันได้สมตามความปรารถนา

59


ครั้งหนึ่ง น่าจะในราวประมาณปี ๒๕๓๐ มีรถบัสเข้ามาจอดที่วัดสะแก จากนั้นก็มีคนแต่งชุดขาวจำนวนหลายคนเดินออกมา ตรงไปที่กุฎิ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ซึ่งขณะนั้นมีลูกศิษย์หนุ่มสาวอยู่ไม่กี่คน

คนชุดขาวเหล่านั้น จะว่ามากราบนมัสการท่านก็หามิได้ เพราะเมื่อมาถึงที่หน้ากุฏิท่านแล้ว ก็พากันนั่งหลับตา หันไปทางหลวงปู่ ท่าทางเหมือนจะพยายามนั่งสมาธิเพ่งใส่หลวงปู่ สักครู่คนที่เป็นหัวหน้าก็มานั่งรวมอยู่ด้วย

ลูกศิษย์หลวงปู่ที่อยู่ในเหตุการณ์ ก็งง ๆ ไม่เข้าใจว่าพวกเขามาทำไมกัน แล้วทำไมไม่พูดไม่จา เอาแต่นั่งประจัญหน้ากับหลวงปู่ จากนั้นไม่นานนัก ผู้ที่ดูว่าจะเป็นหัวหน้าคณะ ก็ลุกเดินออกไปอาเจียนที่หน้าบันไดทางขึ้น จากนั้น สานุศิษย์ที่เหลือของเขาก็พากันลุกเดินไปขึ้นรถ

ลูกศิษย์หลวงปู่ มาเข้าใจในภายหลังว่าพวกคณะรถบัสที่มานี่ เขาเที่ยวตระเวนลองของ ลองกำลังจิตครูบาอาจารย์ พอดีมาเจอของจริง ก็เลยแพ้ภัยตัวเอง ไม่รู้ว่าพวกเขาจะไปปรามาสครูอาจารย์ที่ไหนต่ออีก แต่อย่างน้อย จากประสบการณ์ที่ได้มาพบหลวงปู่ ก็น่าจะทำให้เขาสำนึกขึ้นบ้างว่า "ของจริงยังมีอยู่"

60


อานิสงส์ความสุขแก่ผู้ปฏิบัติพรหมวิหาร 4 ถึง 11 ประการ
..........................................................................
พรหมวิหาร วิหาร แปลว่า ที่อยู่ พรหม แปลว่า ประเสริฐ คำว่า พรหมวิหาร หมายความว่า เอาใจจับอยู่ในอารมณ์แห่งความประเสริฐ หรือเอาใจไปขังไว้ในความดีที่สุด ซึ่งมีคุณธรรม 4 ประการ คือ

เมตตา
กรุณา
มุทิตา
อุเบกขา

คุณธรรม 4 ประการนี้ นอกจากความเป็นมนุษย์ผู้เประเสริฐแล้ว ยังเป็นอานิสงส์ความสุขแก่ผู้ปฏิบัติถึง 11 ประการ ดังนี้

1.สุขัง สุปฏิ นอนหลับเป็นสุข เหมือนนอนหลับในสมาบัติ
2.ตื่นขึ้นมีความสุข ไม่มีความขุ่นมัวในใจ
3.นอนฝัน ก็ฝันเป็นมงคล
4.เป็นที่รักของมนุษย์ เทวดา พรหม และภูติผีทั้งหลาย
5.เทวดา พรหม จะรักษาให้ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง
6.จะไม่มีอันตรายจากเพลิง สรรพาวุธ และยาพิษ
7.จิตจะตั้งมั่นในอารมณ์สมาธิเป็นปกติ
สมาธิที่ได้ไว้แล้วจะไม่เสื่อม มีแต่จะเจริญยิ่งขึ้น
8.มีดวงหน้าผุดผ่องเป็นปกติ
9.เมื่อจะตาย จะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
10.ถ้ามิได้บรรลุมรรคผลในชาตินี้ผลแห่งการเจริญ
พรหมวิหาร 4 นี้ จะส่งผลให้ไปเกิดในพรหมโลก
11.มีอารมณ์แจ่มใส จิตใจปลอดโปร่ง ทรงสมาบัติ
วิปัสสนา และทรงศีลบริสุทธิ์

เมตตา แปลว่า ความรัก หมายถึง รักที่มุ่งเพื่อปรารถนาดี โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ จึงจะตรงกับคำว่า เมตตาในที่นี้ ถ้าหวังผลตอบแทนจะเป็นเมตตาที่เจือด้วยกิเลส ไม่ตรงต่อเมตตาในพรหมวิหารนี้

ลักษณะของเมตตา ควรสร้างความรู้สึกคุมอารมณ์ไว้ตลอดวัน ว่า เราจะเมตตาสงเคราะห์ เพื่อนที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย จะไม่สร้างความลำบากให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ความทุกข์ที่เขามี เราก็มีเสมอเขา ความสุขที่เขามี เราก็สบายใจไปกับเขา รักผู้อื่นเสมอด้วยรักตนเอง

กรุณา แปลว่า ความสงสาร หมายถึง ความปรานี ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความสงสารปรานีีนี้ก็ไม่หวังผลตอบแทนเช่นเดียวกัน สงเคราะห์สรรพสัตว์ที่มีความทุกข์ให้หมดทุกข์ตามกำลังกาย กำลังปัญญา กำลังทรัพย์

ลักษณะของกรุณา การสงเคราะห์ทั้งทางด้านวัตถุ โดยธรรม ว่าผู้ที่จะสงเคราะห์๋นั้นขัดข้องทางใด หรือถ้าหาให้ไม่ได้ ก็ชี้ช่องบอกทาง

มุทิตา แปลว่า มีจิตอ่อนโยน หมายถึง จิตที่ไมีความอิจฉาริษยาเจือปน มีอารมณ์สดชื่นแจ่มใสตลอดเวลา คิดอยู่เสมอว่า ถ้าคนทั้งโลกมีความโชคดีด้วยทรัพย์ มีปัญญาเฉลียวฉลาดเหมือนกันทุกคนแล้ว โลกนี้จะเต็มไปด้วยความสุข สงบ ปราศจากอันตรายทัั้งปวง คิดยินดี โดยอารมณ์พลอยยินดีนี้ไม่เนื่องเพื่อผลตอบแทน การแสดงออกถึงความยินดีในพรหมวิหาร คือไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น

อุเบกขา แปลว่า ความวางเฉย นั่นคือ มีการวางเฉยต่ออารมณ์ที่มากระทบความวางเฉยในพรหมวิหารนี้ หมายถึง เฉยโดยธรรม คือทรงความยุติธรรมไม่ลำเอียงต่อผู้ใดผู้หนึ่ง

คนที่มีพรหมวิหาร 4 สมบููรณ์ ศีลย่อมบริสุทธิ์
คนที่มีพรหมวิหาร 4 สมบูรณ์ ย่อมมีฌานสมาบัติ
คนที่มีพรหมวิหาร 4 สมบูรณ์ เพราะอาศัยใจเยือกเย็น ปัญญาก็เกิด

หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 16