เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - DHAMMASAMEE

หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 15
46
... ผมนาย ดนัย-อารีรัตน์ ศิริเวช ได้โอนตังค์ร่วมทำบุญทอดกฐินกับสงฆ์วัดถ้ำเมืองนะ จำนวน 300 บาท

... ธ.กสิกรไทย วันที่ 09/10/14 เวลา 15:58 น. จำนวน 300 บาท

... ด้วยผลบุญที่ข้าพเจ้าทอดกฐินครั้งนี้ จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้บรรลุพระอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระพุทธมหามุนีธัมมสามีวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอนาคต เพื่อจะปลดเปลื้องสัตว์ทั้งหลายจากวัฏฏะสงสาร เข้าสู่แดนเอกันตบรมสุข คือ พระนิพพาน
     
... ตราบใดที่ข้าพเจ้ายังเป็นผู้มีบารมียังอ่อน   ยังจักต้องเร่ร่อนไปในชาติภพใดใด ขอความขัดข้องต่างๆ ความอดอยากยากจน ความทุกข์ยากลำบากเข็ญใจ คำว่าไม่รู้ คำว่าไม่มี และคำว่าความปรารถนาไม่สมหวัง  ความท้อแท้เหนื่อยหน่ายคลายความเพียรในการสร้างบารมี ๓๐ทัศ  ความท้อแท้เหนื่อยหน่ายคลายความเพียรในการสร้างพระโพธิญาณและการลาพุทธภูมิ จงอย่าพึงบังเกิดมีแก่ข้าพเจ้าเลย นับตั้งแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเถิด ฯ.


47
... นี่เมื่อพิจารณาดูแล้ว ก็เหมือนอิริยาบถยืนให้เท่ากับเดิน เดินก็เท่ากับยืน ยืนก็เท่ากับนั่ง นั่งก็เท่ากับนอนนะ อันนี้ผมทำแล้ว ทำไม่ได้ ถ้าว่านักปฏิบัตินี้ต้องทำการยืน การเดิน การนั่ง การนอนให้ได้เสมอกัน จะทำได้สักกี่วันล่ะ จะยืนให้เสมอกับนั่ง ยืน ๕ นาที นั่ง ๕ นาที นอน ๕ นาที อะไรทั้งหลายนี้ ผมทำไม่นาน ก็มานั่งคิดพิจารณาใหม่ อะไรกันหนอ อย่างนี้คนในโลกนี้ทำไม่ได้หรอก ผมพยายามทำไปค้นไปคิดไป ...อ้อ มันไม่ถูกนี่ มันไม่ถูก ดูแล้วมันไม่ถูก ทำไม่ได้ นอนกับนั่งกับเดินกับยืน ทำให้มันเท่ากัน จะเรียกว่าอิริยาบถมันสม่ำเสมอกัน แบบท่านบอกไว้ว่า ทำอิริยาบถให้สม่ำเสมอ
     
... แต่ว่าเราทำอย่างนี้ได้ จิต...พูดถึงส่วนจิตของเรา ให้มีสติความระลึกอยู่ สัมปชัญญะความรู้ตัวอยู่  ปัญญาความรอบรู้อยู่ อันนี้ทำได้ อันนี้น่าจะเอาไปปฏิบัติ

... คือเรียกว่า ถ้าเราปฏิบัติ เราจะยืนอยู่ก็มีสติ เราจะนั่งอยู่ก็มีสติ เราจะเดินอยู่ก็มีสติ เราจะนอนก็มีสติอยู่สม่ำเสมออย่างนี้ อันนี้เป็นไปได้ จะเอาตัวรู้ไปเดิน ไปยืน ไปนั่ง ไปนอน ให้เสมอกันทุกอิริยาบถเป็นไปได้

... ดังนั้น เมื่อเราฝึกจิตของเรา จิตจะมีความรู้สม่ำเสมอในการปฏิบัติกับทุกอิริยาบถว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ

... คือความรู้ รู้จักอะไร รู้จักภาวะที่ถูกต้อง รู้จักลักษณะที่ถูกต้องอยู่เสมออยู่นั้น จะยืนก็มีจิตอยู่อย่างนั้น จะเดินก็มีจิตเป็นอยู่อย่างนั้น

... เออ อันนี้ได้ใกล้เข้าไปเหลือเกิน เฉียดๆ เข้าไปมากเหลือเกิน เรียกว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอนอยู่นี้ มันมีสติอยู่เสมอทีเดียว ฯ.


48
... ขี้เกียจหรือขยันก็ต้องทำอยู่เรื่อย พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนั้น โดยมากคนธรรมดานั้นขยันจึงค่อยทำ ขี้เกียจไม่ทำ นี่มันเป็นเสียอย่างนี้ มันปฏิบัติอยู่แค่นี้ ก็เรียกว่า มันวิบัติเสียแล้ว ไม่ใช่ปฏิบัติ
     
... การปฏิบัติจริงๆ แล้วมันสุขก็ปฏิบัติ มันทุกข์ก็ปฏิบัติ มันง่ายก็ปฏิบัติ มันยากก็ปฏิบัติ มันร้อนก็ปฏิบัติ มันเย็นก็ปฏิบัติ นี่เรียกว่าตรงไปตรงมาอย่างนี้

... ปฏิปทาที่เราต้องยืนหรือเดิน หรือนั่ง หรือนอน การมีความรู้สึกนึกคิดที่เราจะต้องปฏิบัติในหน้าที่การงานของเรานั้น ต้องสม่ำเสมอ ทำสติให้สม่ำเสมอในอิริยาบถ การยืน การเดิน การนั่ง การนอน ฯ.

49
... ที่เราไม่เห็นธรรมะก็เพราะตัณหา บางทีมันอยากอย่างรุนแรง คืออยากจะเห็นเดี๋ยวนี้ ธรรมะนี้ไม่ใช่ใจเรา ใจเราไม่ใช่ธรรมะ ธรรมะมันเป็นอย่างหนึ่ง ใจเรามันเป็นอย่างหนึ่ง มันคนละอย่างกัน

... ฉะนั้นแม้เราจะคิดอย่างไรก็ตาม อันนี้เราชอบเหลือเกิน แต่มันไม่ใช่ธรรมะ อันนี้เราไม่ชอบ ก็ไม่ใช่ธรรมะ ไม่ใช่ว่าเราคิดชอบใจอะไร อันนั้นเป็นธรรมะ เราคิดไม่ชอบใจอะไร อันนั้นไม่ใช่ธรรมะ...ไม่ใช่อย่างนั้น ฯ.

50
... การปฏิบัตินี้มันยาก มันยากเพราะอะไร มันยากเพราะตัณหาความอยาก ถ้าไม่อยากก็ไม่ได้ปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติเพราะความอยากก็ไม่พบธรรมะ อันนี้มันเป็นปัญหาอยู่อย่างนี้

... ฉะนั้น การประพฤติปฏิบัตินี้มันมีความยุ่งยาก มีความลำบาก ถ้าไม่มีความอยากก็ไม่มีกำลังที่จะปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติเพราะความอยากก็วุ่นวายไม่มีความสงบ ทั้งสองอย่างนี้เป็นเหตุอยู่เสมอ ฯ.

51
... องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราท่านมีรากฐาน ให้เราทั้งหลายปฏิบัติ ให้รู้ ธรรมะไม่เป็นของมาก มันเป็นของน้อย แต่เป็นของที่ถูกต้อง เช่นว่าจะเปรียบเทียบให้ฟังเรื่องขน
     
... ถ้าเรารู้จักว่าอันนี้มันเป็นขน รู้จักขนเส้นเดียวนั้น ขนในร่างกายเรานี้ทุกเส้น แม้ในร่างกายคนอื่นทุกเส้น ก็รู้กันหมดทั้งนั้นแหละ รู้ว่าเป็นขนทั้งนั้น หรือเส้นผม รู้จักผมเส้นเดียวเท่านั้น ผมบนศีรษะของเรา บนศีรษะของคนอื่นก็รู้หมดทุกเส้นเหมือนกัน ที่รู้ก็เพราะว่ามันเป็นเส้นผมเหมือนกัน เรารู้ผมเส้นเดียว แต่ก็รู้ทุกเส้นผม ฯ.

52
... การปฏิบัตินี้เป็นของยาก ฝึกอะไรอย่างอื่นๆ ทุกอย่างมันก็ไม่ยาก มันก็สบาย แต่ใจของมนุษย์ทั้งหลายนี้ฝึกได้ยาก ฝึกได้ลำบาก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ท่านก็ฝึกจิต จิตนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก อะไรทั้งหมดในรูปธรรมนามธรรมนี้มันรวมอยู่ที่จิต เช่นว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย เหล่านี้ ส่งไปให้จิตอันเดียวเป็นผู้บริหารการงาน รับรู้รับฟัง รับผิดชอบจากอายตนะทั้งหลายเหล่านั้น ฉะนั้น การอบรมจิตนี้จึงเป็นของสำคัญ ถ้าใครอบรมจิตของตนให้สมบูรณ์บริบูรณ์แล้ว ปัญหาอะไรทุกอย่างมันก็หมดไป ฯ.

53
... ถ้าเราเป็นผู้มีสติอยู่ ก็เป็นผู้สำรวม ถ้าเป็นผู้สำรวมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ประมาท ถ้าเป็นผู้ไม่ประมาท ก็เป็นผู้ปฏิบัติถูกต้องเท่านั้น อันนี้เป็นหน้าที่ของเราทั้งหลาย ฯ.

54
... อย่าไปลืมความตายนี้ ดูซิ ถามว่าเมื่อเราตายมีเวลาไหม ถามทวงเราเสมอแหละ “ ตาย...เมื่อไหร่ตาย ” ถ้าเราคิดเช่นนี้ จิตเราจะระวังทุกวินาทีเลยทีเดียว ความไม่ประมาทจะเกิดขึ้นมาทันที เมื่อความประมาทไม่มีแล้ว สติ ความระลึกได้ว่า อะไรเป็นอะไรก็เกิดขึ้นมาทันที ปัญญาก็แจ่มแจ้ง เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งชัดเจนในเวลานั้น เราก็มีสติประคองอยู่ รอบรู้อยู่ทางอารมณ์ทั้งกลางวันกลางคืน ทุกสิ่งสารพัดนั้นแหละ ก็เป็นผู้มีสติอยู่ ฯ.

55
... เราบวชกันมาทำไม เราปฏิบัติกันทำไม บวชมาปฏิบัติ ถ้าหากเราไม่ปฏิบัติก็อยู่เฉยๆ เท่านั้นแหละ ถ้าไม่ปฏิบัติก็เหมือนฆราวาส มันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ไม่ทำธุระหน้าที่การงานของเรา นี้มันก็เสียเพศสมณะ ผิดความมุ่งหวังมาแล้ว ถ้าเป็นเช่นนั้นก็เรียกว่า เราประมาทแล้ว เราประมาทแล้วก็เรียกว่าเราตายแล้ว อันนี้ให้เข้าใจ ฯ.

56
... เราบวชมาในพระพุทธศาสนานี้ก็เพื่อหวังการประพฤติปฏิบัติ เพราะเราละมาแล้ว ไม่เอาอะไรแล้ว เราจะมาคิดเอาอะไรอีก จะมาเอาโลภอีก จะมาเอาโกรธอีก จะมาเอาหลงอีก จะมาเอาอะไรต่างๆ ไว้ในใจของเราอีก อันนี้มันไม่สมควรแล้ว ฯ.

57
... ดูก่อนสำแดงสารีบุตร ครั้นเมื่อพระบรมโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยเจ้าได้ตรัสเป็นสมเด็จพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จึงมีพระองค์สูงได้ ๘๐ ศอก ด้วยผลทานที่เด็ดพระเศียรเกล้ากระทำสักการบูชาพระสัทธรรม

... พระองค์ทรงพระรัศมีสิ้นทั้งกลางวันและกลางคืนมิได้ขาดนั้น ด้วยอานิสงส์ที่พระองค์อุตสาหะไปในมรรคาหนทาง ปรารถนาจะพบเห็นพระพุทธเจ้าจนพระโลหิตไหลออกจากพระบาท พระชงฆ์ พระหัตถ์ และพระอุระของพระองค์ เมื่อเป็นพระบรมสังขจักรนั้น
     
... อนึ่ง พระพุทธรัศมีของพระองค์แผ่ซ่านตลอดไปเบื้องบนจนถึงพรหมโลก เบื้องต่ำตลอดลงไปถึงอเวจีมหานรก ด้วยผลอานิสงส์ที่พระองค์เด็ดเศียรเกล้าออกกระทำสักการบูชาพระสัทธรรมโลหิตไหลออกจากพระเศียร 
     
... อนึ่ง ในศาสนาของสมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยพุทธเจ้า บังเกิดมีไม้กัลปพฤกษ์ในทุกที่ทุกสถานในโลก ด้วยอานิสงส์ที่พระองค์ทรงเสด็จไปตามมรรคหนทางจะใคร่พบองค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ถ้วนถึงเจ็ดวันเป็นกำหนดจึงได้ประสบพบปะ
     
... ดูก่อนสารีบุตร ผู้เป็นธรรมเสนาบดีของตถาคต ฝูงคนทั้งหลายที่มิได้เห็นรูปกายของตถาคตนี้ แล้วได้กระทำการให้ทาน(สังฆทาน ทอดกฐิน วิหารทาน ธรรมทาน และสาธารณประโยชน์ ตลอดจนรักษาศีล ๕ กรรมบถ ๑๐ จำเริญภาวนา ทำมากไม่ได้แค่หัวถึงหมอน ให้ดูลมหายใจเข้าพร้อมภาวนาว่า พุท ดูลมหายใจออกพร้อมภาวนาว่า โธ จนหลับไป ตื่นนอนก็ภาวนาอีกสัก ๙ จบ ทำทุกวัน) ด้วยเดชะผลานิสงส์ ฝูงคนทั้งหลายเหล่านั้น จะเกิดทันพระศาสนาของสมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า อันจะมาตรัสเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าในอนาคต ฯ. 

58
... พระองค์คิดดังนี้จึงทูลห้ามสมเด็จพระพุทธเจ้าเสียพระองค์จึงกราบทูลว่า   

... " ข้าพระพุทธเจ้าเกล้ากระหม่อมฉัน ได้สดับพระสัทธรรมของพระองค์ในกาลบัดนี้ พระองค์ทรงพระกรุณาตรัสพระสัทธรรมเทศนาสำแดงคุณแห่งพระนิพพานบทเดียว ก็เป็นที่สุดพระสัทธรรมเทศนาอยู่แล้ว

... ข้าพระพุทธเจ้าขอตัดเศียรเกล้าอันเป็นที่สุดสรีระกายแห่งข้าพระพุทธเจ้า ออกกระทำสักการะบูชาพระสัทธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก่อน " 
     
... ตรัสดังนั้นแล้ว พระเจ้าสังขจักรผู้มีอัธยาศัยอันยิ่ง จึงทรงอธิษฐานขอให้เล็บของพระองค์คมดุจดังพระแสงดาบเด็ดซึ่งพระศอให้ขาด แล้ววางไว้บนฝ่าพระหัตถ์ ตั้งปณิธานความปรารถนาออกพระโอษฐ์ตรัสด้วยวาจาว่า
     
... " ภนฺเต ภควา ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงสิริเป็นที่เฉลิมโลก เชิญพระองค์เสด็จเข้าสู่เมืองแก้วอันเกษมสานต์ คือ พระอมตะมหานิพพาน อันสำราญก่อนข้าพระบาทเถิด
     
... ข้าพระบาทจะขอตามเสด็จไปสู่พระนิพพานอันสำราญต่อภายหลัง ด้วยข้าพระพุทธเจ้าได้ถวายเศียรเกล้าบูชาพระสัทธรรมเทศนาของพระองค์ในกาลบัดนี้ ขอจงเป็นปัจจัยให้ข้าพระพุทธเจ้าได้สำเร็จแก่พระโพธิญาณในกาลเบื้องหน้าด้วยเถิด "

     
... ในที่สุดขาดพระวาจาปณิธานปรารถนาลง พระบรมโพธิสัตว์ก็สิ้นชีวิตไปจุติบังเกิดในดุสิตเทวโลก


59
... ปางนั้นสมเด็จพระชินสีห์ จึงตรัสพระสัทธรรมเทศนาโปรดแก่พระยาสังขจักร เมื่อพระองค์ได้ทรงสดับพระสัทธรรมเทศนาบทหนึ่งสิ้นเนื้อความลงแล้ว  ก็ทูลห้ามสมเด็จพระประทีปแก้วว่า 
     
... " ขอองค์พระพุทธเจ้าจงหยุดตรัสพระสัทธรรมเทศนาเสียเถิด  อย่าทรงสำแดงต่อไปเลย "
     
... มีปุจฉาว่าเหตุไฉนพระเจ้าสังขจักรจึงทูลห้ามสมเด็จพระพุทธเจ้าเสียดังนี้  เดิมทีสิมีพระทัยผูกพันในพระพุทธศาสนาระลึกถึงซึ่งคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า เป็นอันมาก สู้ทรงสละสิริราชสมบัติบรมจักร  เสด็จมาด้วยความยากลำบากแทบถึงซึ่งชีวิต ครั้นมาประสบพบสมเด็จพระภควันตบพิตรเจ้า พระองค์ทรงประทานพระสัทธรรมเทศนาแล้วห้ามเสียด้วยเหตุประการใด
     
... วิสัชนาว่า สมเด็จบรมสังขจักรหน่อพระพุทธางกูรทรงคิดเห็นว่า
     
... " ถ้าสมเด็จพระพุทธเจ้าโปรดประทานพระสัทธรรมเทศนาเป็นอันมาก  แล้วพระองค์ก็เสด็จมาแต่พระองค์เดียวเปลี่ยวพระทัยนัก จะหาเครื่องไทยธรรมอันสมควร ที่จะสักการะบูชาให้สมควรแก่รสพระสัทธรรมเทศนานั้นหามีไม่ บัดนี้เราได้สดับรสพระสัทธรรมเทศนาแต่บทเดียว เครื่องสักการะบูชาของอาตมานี้มิสมควรแก่พระสัทธรรมแล้ว " 

60
... สงสารนั้นคืออะไร สังสาเรสุขัง สังสาเรทุกขัง ทุกข์ในสงสารนี้เหลือที่จะทนได้ มันมากเหลือเกินแหละ อย่างความสุขนี่มันก็เป็นสงสาร ท่านก็ไม่ให้เอาไปยึดมั่น
     
... ถ้าเราเข้าใจการประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ว่า ภิกขุ ผู้เห็นภัยในสงสาร ถ้ามีธรรมะข้อนี้ เข้าใจอย่างนี้ มันจมอยู่ในใจของผู้ใด ผู้นั้นจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ที่ไหนก็ตาม ก็เกิดความสลด เกิดความสังเวช เกิดความรู้ตัว เกิดความไม่ประมาทอยู่นั่นแหละ ถึงท่านจะนั่งอยู่เฉยๆ ก็เป็นอยู่อย่างนั้น ท่านจะทำอย่างไรอยู่ ท่านก็เห็นภัยอยู่อย่างนั้น ฯ.

หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 15