เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี

หมวดครูบาอาจารย์ => ธรรมะบารมี หลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ และ หลวงตาม้า => ข้อความที่เริ่มโดย: Webmaster ที่ ตุลาคม 02, 2012, 05:20:22 AM

หัวข้อ: การอฐิษฐานเวลาเราจะฝากกระแสบุญ
เริ่มหัวข้อโดย: Webmaster ที่ ตุลาคม 02, 2012, 05:20:22 AM
(https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash4/483040_272367902874772_1384883060_n.jpg)

ศิษย์ :หลวงตาครับ สมัยผมเป็นเด็ก ผู้ใหญ่เค้าคนเห็นเปรต เห็นอะไรกันง่าย เดี๋ยวนี้ไม่เห็น ?

หลวงตาม้า : มีนะ ตอนที่ไปสวดที่วัด ที่สุพรรณ ส่งวิญญาณน่ะ เปรตเยอะมากเลยวัดนี้ วัดไผ่ลงวัว

ศิษย์ : อ๋อ ที่เขาทำเป็นนรกจำลองไว้ใช่มั้ยครับ ?

หลวงตา : ไม่ใช่ เปรตจริงๆนะ ไอ้นั่นมันเปรตจำลองเฉยๆ พวกเปรต อสุรกายเยอะ เกิดจากคนแถวนั้น ที่ใดที่มีผลประโยชน์มาก ไม่เข้าใจเรื่องการชำระหนี้สงฆ์ ไม่ได้มารักษาศีลภาวนา มันเป็นวัดที่ก็ต้องหาเงินมาเพื่อจะสร้างวัตถุ ใช่มั้ย เป็นวัตถุให้คนกราบ ให้คนมาเที่ยวกราบ มันก็ยาก มันยากทุกวันนี้ มันไม่ใช่ง่ายๆหรอก หลวงปู่ดู่ท่านสอนวิธีแก้ให้หมดแหล่ะ อยู่วัดทำยังไง ปฏิบัติยังไง ภาวนายังไง อยู่วัดเนี่ยอานิสงส์มาก แล้วก็กรรมมากด้วย บุญมาก ก็กรรมมาก ฮึฮึ ถ้าไม่เข้าใจก็ยาก...

ศิษย์ : บางทีจิตก็ไปล่วงเกินพระ…

หลวงตา : มันก็มีนะ มันไม่มีไม่ได้หรอกนะ ใช่มั้ย ไม่มีไม่ได้ เรายังแยกแยะระหว่างพลังงานความคิดไม่ได้ คือสติยังไม่มีนะ คือถ้าจิตเข้าไตรสรณคมน์แล้วเนี่ย พอจิตติดอะไรเนี่ย มันจะแก้เองโดยสภาพของจิต โดยสภาพของพลังงานที่มันเกิดขึ้น โดยสภาพของกระแส

ศิษย์ : แล้วก็มีบางคนบอกว่า เวลานั่งแล้วใจชอบไปปรามาสพระอะไรบางอย่าง คือนึกไม่ดีอะไรอย่างนี้?

หลวงตา : ต้องรีบโยโทโสฯ

ศิษย์ : โยโทโสฯ ทันทีเลยเหรอครับ ?

หลวงตา : ทันทีเลยนะ เพื่อเอาพลังงานใหม่ล้าง ลบ

ศิษย์ : มันเกิดจากอะไร ?

หลวงตา : มันเกิดจากการปรามาสที่มาในอดีตนะ

ศิษย์ : อ๋อ มันติดมา ?

หลวงตา : ติดมาจากในอดีต... นี่ก็เป็น

ศิษย์ : หลวงตาก็เป็น ?

หลวงตา : เป็นนะ ใหม่ๆก็เป็นเหมือนกัน เป็นนานเลยล่ะ เป็นปี

ศิษย์ : ก็คือ โยโทโสฯ ไปเรื่อย ๆ จนกว่ามันจะหาย ?

หลวงตา : มันไม่คิดเพราะว่า ถ้าคิดเดี๋ยวมันก็ต้องโยโทโสฯใหม่อีก มันก็เลยไม่คิด

ศิษย์ : ยิ่งเรียนมาก ยิ่งจะทำผิดเยอะ ยิ่งรู้มาก ก็ยิ่งคิดมาก คิดไปนั่นไปนี่...

หลวงตา : ไม่ได้นะ ห้ามคิดอย่างนั้น ให้จับภาพแล้วภาวนาเลย ..ความคิดมันเป็นอุปาทาน ถ้าช่วงที่เราทำกรรมฐานแล้วมันคิดต้องให้เป็นเหมือนกันเป็นไตรสรณคมน์ หรือ จักรพรรดิ จับภาพให้ได้

ศิษย์ : เวลาเราจะฝากกระแสบุญนี่เราจะต้องอธิษฐาน ทำยังไงบ้างครับ?

หลวงตา : ตั้งสัจจะและอธิษฐานเอา สิ่งที่ข้าพเจ้าทำ ทำเพื่อศาสนาอย่างเดียวเลยฮะ ศาสนา ชาติ พระมหากษัตริย์ มันตั้งตรงนี้โดยตรง ไม่ได้ตั้งเพื่ออะไร มันเป็นเรื่องของโพธิญาณโดยตรง

ศิษย์ : เพื่อต่ออายุพระศาสนา ก็คือฝากไปเป็นทอดๆ?

หลวงตา :ใช่... คือว่ายังต้องเวียนว่ายตายเกิด จิตยังไม่พ้นจากความทุกข์ 0b9ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ยังต้องเกิด ใช่มั้ย... เกิดก็ต้องเกิดกับคน เราก็อยากเกิดกับคนดีใช่มั้ย... เราก็หากระแสที่ดี กระแสที่ดีเราก็หากระแสที่ดี กระแสที่ไม่ดีเราก็อย่าไปเกิด

ศิษย์ : ท่านวางกระแสไว้เลือกได้เหรอครับ?
หลวงตา : เอ้า... ทุกวันนี้เราก็เลือกอยู่แล้วนะ ทุกวันนี้เราก็เลือกกินอยู่แล้วนะ เลือกอยู่อยู่แล้วนะ เลือกที่จะทำอยู่แล้วนะ เลือกที่จะปฏิบัติอยู่แล้ว แม้แต่ทำงานเรายังเลือกเลยนะ แม้แต่เรียนเราก็ต้องเลือกนะ ฉะนั้นในกาลข้างหน้า ไม่เลือกไม่ได้นะ เราอยากไปเกิดในหมู่ชนที่ไม่ได้เรื่องได้ราวมั้ยล่ะ เราก็ไม่อยากอีกแหล่ะ เราก็ฝากกระแสเยอะๆ ที่กระแสเดียวกันนะ กระแสพุทธะด้วยกัน.. กระแสของกรรมร่วมกัน

ศิษย์ : โดยการฝากไว้ จะต้องมีรูปลักษณ์อะไรบางอย่างมาฝาก?

หลวงตา : มีทั้งรูปและนาม หรือมีแต่นาม ก็ได้

ศิษย์ : มีแต่นามก็ได้?

หลวงตา : ใช่ มีรูปเช่น เทพ พรหมทั้งหลาย เพียงแต่เราอาศัยเขา ตอนนี้เขาอาจจะอาศัยเรา ใช่มั้ย... ในการเพิ่มกำลัง เพิ่มบุญ

ศิษย์ : โดยอาศัยกันไปกันมา ?

หลวงตา : ใช่... พอเราตายไปเป็นเทวดา หรือ เป็นพรหมเนี่ย เขาก็เกิดเป็นมนุษย์อยู่ดีนั่นแหล่ะ ถ้ายังอยู่ มันก็เกี่ยวข้องเกี่ยวพันกันอยู่นี่แหล่ะ มันไม่หนีไปไหนหรอก มันหนีไม่ออก

ศิษย์ : วนไปวนมา?

หลวงตา : เพราะฉะนั้นต้องฝาก ต้องหาเพื่อน หาเพื่อนก็ต้องหาเพื่อนที่ดี

ศิษย์ : ยังไงก็ต้องมีหมู่คณะ?

หลวงตา : ใช่

ศิษย์ :แม้แต่พระปัจเจกฯ ก็ยังต้องมีหมู่คณะ?

หลวงตา : มีนะ แต่ท่านไม่ได้มากมายเท่าไหร่ ไม่มีมากมาย ไม่เอามากมาย มาก็ได้ ไม่มาก็ได้

ศิษย์ : การทำความสะอาดพระพุทธรูปอย่างนี้ก็เป็นพุทธานุสติหรือเปล่าครับหลวงตา?

หลวงตา : ก็นึกถึงพระ มันก็เป็นพุทธานุสติ

ศิษย์ : แล้วถ้าเกิดทำความสะอาดพระพุทธรูปที่บ้าน กับทำความสะอาดพระพุทธรูปที่วัดจะได้อานิสงส์เท่ากันหรือเปล่าครับ ?

หลวงตา : เหมือนกัน ที่บ้านเราก็คือพระพุทธรูป ที่วัดก็คือพระพุทธรูป มันก็ไม่ต่างอะไรกัน

ศิษย์ : ที่บ้านองค์เล็กกว่า (หัวเราะ)