เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - Webmaster

หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 27
61


อธิบายถึง เปรต จำพวก ต่างๆ (ตอนเดียวจบ)

อบายภูมินั้นไม่ได้มีเฉพาะนรกซึ่งเป็นแดนเกิดของสัตว์นรกเท่านั้น ยังมีภูมิแห่งเปรตทั้งหลาย ซึ่งเป็นแดนเกิดรองรับผู้มีจิตใจชั่วช้าทั้งหลาย นับได้ว่าภูมิเปรตจะเรียกว่านรกแบบประถมก็ว่าได่ ส่วนนรกภูมินั้นจึงเรียกว่านรกมัธยม ถ้านรกชั้นพิเศษที่เรียกว่าโลกันตนรกนั้นก็ถือเป็นนรกปริญญาแล้วกัน

ที่อยู่ที่เกิดของเปรตทั้งหลาย ชื่อว่า เปตติวิสยะ เพราะธรรมดาเปรตทั้งหลายย่อมไม่มีที่อาศัยอยู่โดยเฉพาะ แต่อาศัยอยู่ตามที่ทั่วไป เช่น ตามป่า ตามภูเขา เหว เกาะ ทะเล มหาสมุทร ป่าช้า และตามถนนหนทางต่างๆ

เปรตนั้น ได้แก่ ผี ยักษ์ และเปรต เป็นต้น ซึ่งคนทั้งหลายใช้พูดกันอยู่ทั่วไป เปรตมีหลายจำพวกด้วยกัน บางจำพวกเป็นเปรตเล็ก บางจำพวกก็เป็นเปรตใหญ่ เปรตนี้เนรมิตตัวให้เป็นอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ก็ได้ ฝ่ายอิฏฐารมณ์ให้เห็นเป็นเทวดา เป็นชายเป็นหญิง ดาบส เณร พระ แม่ชี ถ้าฝ่ายอนิฏฐารมณ์ให้เห็นเป็นวัว ควาย ช้าง สุนัข รูปร่างสัณฐานน่ากลัว มีศีรษะใหญ่ ตาพอง และบางทีก็ไม่ปรากฏชัด เพียงแต่ให้เห็นเป็นสีดำ แดง ขาว ในบรรดาเปรตทั้งหลายนี้ บางพวกก็ต้องเสวยทุกข์อยู่นาน มีการอดข้าว อดน้ำ บางพวกก็เข้าไปกินเศษอาหารที่ชาวบ้านทิ้งไว้ในที่โสโครก บางพวกก็กินเสมหะ น้ำลายและอุจจาระ ส่วนเปรตที่อาศัยอยู่ตามภูเขา เช่นเขาคิชฌกูฏนั้น ไม่ใช่แต่จะอดอาหารอย่างเดียว ยังต้องเสวยทุกข์เหมือนกันกับสัตว์นรกอีกด้วย

เปรต ๔ ประเภท ในอรรถกถาเปตวัตถุ คือ

1. ปรทัตตูปชีวิกเปรต - เปรตที่มีการ
เลี้ยงชีวิตอยู่โดยอาศัยอาหารที่ผู้อื่นอุทิศให้

2.ขุปปิปาสิกเปรต เปรตที่ถูกเบียดเบียน
ด้วยความหิวข้าวหิวน้ำ

3.นิชฌามตัณหิกเปรต เปรตที่ถูกไฟเผา
ให้เร่าร้อนอยู่เสมอ

4.กาลกัญจิกเปรต เป็นชื่อของอสุราที่เป็นเปรต กาลกัญจิกเปรตนี้มีร่างกายสูง ๓ คาวุต ไม่ค่อยมีแรง เพราะมีเลือดและเนื้อน้อย มีสีคล้ายใบไม้แห้ง ตาถลนออกมาเหมือนกับตาของปู และมีปากเท่ารูเข็มตั้งอยู่กลางศีรษะ

รายละเอียดเปรต 12 ตระกูล

ท่านผู้ศึกษาทราบแล้วว่า เปรตสามารถแบ่งเป็นหลายประเภท แต่ในที่นี้จะนำเสนอรายละเอียดเฉพาะเปรต 12 ตระกูล

ตระกูลที่ 1 วันตาสาเปรต

เปรตตระกูลนี้ มีรูปร่างน่าเกลียด น่ากลัว และอดอยากหิวโหย เมื่อเปรตเหล่านี้เห็นมนุษย์ถ่มเสลด น้ำลายออกมา ต่างตื่นเต้นดีใจรีบตรงไปดูดเอาโอชะเสลดเป็นอาหาร กินแล้วยังหิวโหยเช่นเดิม จนกว่าจะสิ้นกรรมที่ทำไว้ จึงจะไปเกิดในภูมิอื่น

กรรมที่ทำให้เป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะชาติก่อนเป็นคนตระหนี่จับขั้วหัวใจ เห็นผู้ใดอดอยากมาขออาหาร ก็พาลโกรธถ่มน้ำลายใส่ด้วยความรังเกียจ หรือเข้าไปในสถานที่ที่ควรเคารพบูชา เช่น โบสถ์ วิหาร ลานพระเจดีย์ แล้วไม่มีความเคารพต่อสถานที่ ได้ถ่มเสลดน้ำลายลงในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์นั้น เมื่อตายแล้วก็มาเกิดเป็นเปรตในตระกูลนี้

ตระกูลที่ 2 กุณปขาทาเปรต

เปรตตระกูลนี้มีรูปร่างน่าเกลียดมาก จะซอกซอนหาซากอสุภะกินเป็นอาหารด้วยความหิวโหย ครั้นเห็นซากอสุภะของสัตว์ที่ล้มตาย กลายเป็นศพอืดเน่าเหม็น เปรตเหล่านี้จะดีอกดีใจวิ่งเข้าไปดูดโอชะที่เน่าเหม็นจากซากอสุภะนั้น

กรรมที่ทำให้มาเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะชาติที่เป็นมนุษย์มีความตระหนี่ เมื่อมีผู้มาขอบริจาคทาน ก็แกล้งให้ของที่ไม่ควรให้ ด้วยความปรารถนาจะแกล้งประชด ไม่เคารพในทาน จึงมาเกิดเป็นเปรตประเภทนี้

ตระกูลที่ 3 คูถขาทาเปรต

เปรตตระกูลนี้ มีรูปร่างน่าสะอิดสะเอียน น่าเกลียด เปรตชนิดนี้จะเที่ยวแสวงหาคูถ คือ อุจจาระ ที่คนถ่ายเอาไว้ ยิ่งมีกลิ่นเหม็นมากเท่าไรก็ยิ่งชอบ เมื่อเปรตเหล่านี้เห็นอุจจาระจะดีใจจนเนื้อเต้น รีบวิ่งรี่เข้าไปที่กองอุจจาระเหมือนสุนัขอย่างนั้น ครั้นไปถึงก็ก้มหน้าดูดเอาโอชะของคูถนั้นเป็นอาหาร แต่ก็ไม่เคยอิ่มเลย

กรรมที่ทำให้มาเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะครั้งที่เป็นมนุษย์ มีความตระหนี่จัด เมื่อหมู่ญาติที่ตกทุกข์ได้ยาก หรือผู้คนมาหาเพื่อขอความช่วยเหลือ ขอข้าว ขอน้ำดื่ม จะเกิดอาการขุ่นเคืองขึ้นมาทันที ชี้ไปที่มูลสัตว์พร้อมกับบอกว่า "ถ้าอยากได้ ก็จงเอาไปกินเถิด แต่จะมาเอาข้าวปลาอาหาร ข้าไม่ให้หรอก" แล้วก็ขับไล่ไสส่ง ด่าด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย ตายแล้วจึงไปเกิดเป็นเปรตชนิดนี้

ตระกูลที่ 4 อัคคิชาลมุขาเปรต

เปรตตระกูลนี้ มีรูปร่างผอมโซ มีเปลวไฟแลบออกมาจากปากตลอดเวลา ทั้งกลางวันกลางคืน ไฟไหม้ปากไหม้ลิ้นเจ็บแสบเจ็บร้อน ครั้นทนไม่ได้ก็วิ่งร้องไห้ครวญครางไปไกลถึงร้อยโยชน์ พันโยชน์ ถึงกระนั้นไฟก็ไม่ดับ กลับเป็นเปลวเผาลนปากและลิ้นหนักเข้าไปอีก

กรรมที่ทำให้มาเกิดเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะครั้งเป็นมนุษย์ มีความตระหนี่เหนียวแน่น เมื่อมีใคร มาขอ ครั้นจะไม่ให้ก็กลัวคนอื่นดูแคลน จึงแกล้งให้สิ่งของร้อนๆ เพื่อหวังจะแกล้งให้ผู้รับเข็ดหลาบ จะได้เลิกมาขอ เพราะไม่เห็นอานิสงส์ของการทำทาน

ตระกูลที่ 5 สุจิมุขาเปรต

เปรตตระกูลนี้ รูปร่างแปลกพิกล คือ เท้าทั้งสองใหญ่โต คอยาวมาก แต่ปากเท่ารูเข็ม จะได้อาหารมาบริโภคแต่ละครั้งก็ไม่พออิ่ม เพราะมีปากเท่ารูเข็ม อาหารไม่อาจจะผ่านช่องปากเข้าไปได้ง่ายๆ อยากกินแต่กินไม่ได้ ต้องทุกข์ทรมานแสนลำบาก ร่างกายผอมโซดำเกรียม

กรรมที่ทำให้เป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะเป็นคนตระหนี่ในชาติที่เป็นมนุษย์ เมื่อมีใครมาขออาหาร ก็ไม่อยากให้ และไม่มีศรัทธาที่จะถวายทานแก่สมณพราหมณ์ผู้มีศีล มีจิตหวงแหนทรัพย์สมบัติ ผลกรรมตามสนอง ต้องมาเกิดเป็นเปรตปากเท่ารูเข็ม

ตระกูลที่ 6 ตัณหาชิตาเปรต

เปรตตระกูลนี้ มีรูปร่างผอมและอดอยากเช่นเดียวกับเปรตพวกอื่น คือ มีความอยากข้าว น้ำเป็นกำลัง ที่แปลกออกไป คือ เปรตเหล่านี้จะเดินตระเวนท่องเที่ยวไปเรื่อยๆ เพื่อหาอาหาร เมื่อมองไปเห็นสระ บ่อ ห้วย หนอง ก็ตื่นเต้นดีใจ รีบวิ่งไปโดยเร็ว แต่ครั้นไปถึงแหล่งน้ำนั้น กลับกลายเป็นสิ่งอื่นด้วย อำนาจกรรมบันดาล

กรรมที่ทำให้เป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะเป็นคนหวงข้าวหวงน้ำ เที่ยวปิดสระ ปิดบ่อ ปิดหม้อ ไม่ให้คนอื่นได้ดื่มกิน ครั้นละโลกแล้วก็มาเกิดเป็นเปรตอดอยากข้าวน้ำดังกล่าว

ตระกูลที่ 7 นิชฌามักกาเปรต

เปรตตระกูลนี้ มีรูปร่างเหมือนต้นเสาหรือต้นไม้ที่ถูกไฟไหม้ สูงชะลูดดำทะมึน แลดูน่ากลัวมาก มีกลิ่นเหม็นเน่า มือและเท้าเป็นง่อย ริมฝีปากด้านบนห้อยทับริมฝีปากด้านล่าง มีฟันยาว มีเขี้ยวออกจากปาก ผมยาวพะรุงพะรัง มีความอดอยากเหลือประมาณ ยืนทื่ออยู่ที่เดิมไม่ท่องเที่ยวไปไหนเหมือนเปรตชนิดอื่น

กรรมที่ทำให้เกิดเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะเป็นคนใจหยาบ เห็นสมณพราหมณ์ผู้มีศีลก็โกรธเคือง มีอกุศลจิตคิดว่า ท่านเหล่านั้นจะมาขอของตน จึงแสดงกิริยาอาการเยาะเย้ยถากถาง ขับไล่สมณพราหมณ์ เหล่านั้นให้ได้รับความอับอาย หรือเห็นพ่อแม่เป็นคนแก่คนเฒ่า เกิดโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนเพราะความชรา แกล้งให้ท่านตกใจจะได้ตายไวๆ ตัวเองจะได้ครอบครองสมบัติ

ตระกูลที่ 8 สัพพังคาเปรต

เปรตตระกูลนี้ มีร่างกายใหญ่โต มีเล็บมือเล็บเท้ายาวคมเหมือนมีดเหมือนดาบและงอเหมือนตะขอ ได้แต่ก้มหน้าก้มตาตะกายข่วนร่างกายตนเองให้ขาดเป็นแผลด้วยเล็บ แล้วกินเลือดเนื้อของตนเองเป็นอาหาร

กรรมที่ทำให้เกิดเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะชอบขูดรีดชาวบ้าน เอาเปรียบผู้อื่น หรือบางครั้งชอบรังแกหยิกข่วนบิดามารดา ถ้าเป็นหญิงก็หยิกข่วนสามีของตน

ตระกูลที่ 9 ปัพพตังคาเปรต

เปรตตระกูลนี้ มีร่างกายใหญ่เหมือนภูเขา เวลากลางคืนสว่างไสวรุ่งเรืองด้วยเปลวไฟ กลางวันเป็นควันล้อมรอบกาย เปรตเหล่านี้ต้องถูกไฟเผาคลอก นอนกลิ้งไปมาเหมือนขอนไม้ที่กลิ้งอยู่กลางไร่กลางป่า ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส ร้องไห้ปานจะขาดใจ

กรรมที่เกิดเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะครั้งเป็นมนุษย์ได้เอาไฟเผาบ้าน เผาโรงเรียน เผากุฏิ วิหาร เป็นต้น

ตระกูลที่ 10 อชครเปรต

เปรตตระกูลนี้ มีรูปร่างคล้ายกับสัตว์เดียรัจฉาน เช่น มีรูปร่างเป็นงูเหลือม เป็นเสือ เป็นม้า เป็นวัว เป็นควาย เป็นต้น แต่จะถูกไฟเผาไหม้ทั่วร่างกายทั้งกลางวันและกลางคืนไม่ว่างเว้น แม้แต่วันเดียว

กรรมที่ทำให้เกิดเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะเมื่อครั้งเป็นมนุษย์เป็นคนตระหนี่ เมื่อเห็นสมณพราหมณ์ ผู้มีศีลมาเยือน ก็ด่าเปรียบเปรยท่านว่า เสมอด้วยสัตว์เดียรัจฉานต่างๆ เพราะไม่อยากให้ทาน หรือแกล้งล้อเลียนเป็นรูปสัตว์ต่างๆ


ตระกูลที่ 11 มหิทธิกาเปรต

เปรตตระกูลนี้ เป็นเปรตที่มีฤทธิ์และรูปงามดุจเทวดา แต่ว่าอดอยากหิวโหยอาหารอยู่ตลอดเวลา เหมือนเปรตชนิดอื่นๆ จะเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ เมื่อพบคูถมูตร และของสกปรกก็จะดูดกินเป็นอาหาร

กรรมที่ทำให้เกิดเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะครั้งเป็นมนุษย์ บวชเป็นพระภิกษุสามเณร พยายามรักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์ จึงมีรูปงามผุดผ่องราวเทวดา แต่ไม่ได้บำเพ็ญธรรม มีใจเกียจคร้านต่อการบำเพ็ญสมณธรรมตามวิสัยของบรรพชิต จิตใจจึงมากไปด้วย โลภะ โทสะ โมหะ มีความเข้าใจผิดว่า "เราบวชแล้ว รักษาแต่ศีลอย่างเดียวก็พอ ไม่เห็นต้องทำบุญให้ทานเหมือนฆราวาสเลย" ครั้นเมื่อละโลกจึงมาเกิดเป็นเปรตตระกูลนี้ เปรตตระกูลสุดท้าย

ตระกูล ที่ 12 เวมานิก

เปรตตระกูลนี้จะมีสมบัติ คือ วิมานทองอันเป็นทิพย์ บางตนจะเสวยสุขราวเทวดาในเวลากลางวัน ส่วนเวลากลางคืนจะเสวยทุกข์ที่เกิดจากความตระหนี่ในทรัพย์ บางตนเสวยสุขเฉพาะในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันจะเสวยทุกข์ ตามสมควรแก่กรรม

กรรมที่ทำให้เกิดมาเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะครั้งเป็นมนุษย์มีศรัทธาทำบุญกุศลไว้มาก แต่ไม่รักษาศีล ไม่รักษากาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ ครั้นตายลงจึงตรงมาเกิดเป็นเวมานิกเปรต หรือเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนาได้รักษาศีลเพียงอย่างเดียว แล้วไม่มีศรัทธาในการสร้างบุญกุศลอื่น และมีความสงสัยในเรื่องบุญเรื่องบาป แม้รักษาศีลก็รักษาแบบเสียไม่ได้ หรือไม่ตั้งใจรักษา

เรา จะเห็นได้ว่า การเสวยวิบากกรรมในภูมิเปรตนั้น เป็นทุกข์ทรมานแสนสาหัสเพียงไร ทุกข์ในเมืองมนุษย์เทียบเท่าไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นอย่ากระทำการใดๆ ที่เสี่ยงต่อการถูกทรมานในภูมิเปรตนี้เลย...

จบตอน

62


ชีวิตในสังสารวัฏ เป็นชีวิตที่เสี่ยงภัยมาก!

ชีวิตในสังสารวัฏ เป็นชีวิตที่เสี่ยงภัยมาก เพราะเมื่อเราเกิดมาแล้ว หากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างความดี เราอาจจะพลาดพลั้งไปทำบาปอกุศล เพราะขาดกัลยาณมิตรคอยชี้แนะ หนทางแห่งการสร้างความดี เมื่อละโลกไป แรงกรรมที่เรากระทำไว้ย่อมจะส่งผลให้เรามีโอกาสไปเกิดในอบายได้มาก

อบายภูมิ เป็นสถานที่สิงสถิตของชีวิตหลังความตายของปรโลกฝ่ายทุคติ เป็นดินแดนที่ปราศจาก ความสุข และเต็มไปด้วยความทุกข์ทรมาน ทั้งจากความร้อนของไฟนรก และจากการทรมานของ นายนิรยบาล ที่มีวิธีการลงโทษหลากหลายไม่ซ้ำรูปแบบ ทำให้สัตว์นรกได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมานสุดจะบรรยาย ชาวโลกทั้งหลายเมื่อมีชีวิตอยู่ ไม่ประกอบกุศลกรรม ทำแต่อกุศลกรรมเป็นประจำ ครั้นเมื่อใกล้จะละโลก ภาพไม่ดีที่ตนได้กระทำไว้มาปรากฏให้เห็น ทำให้จิตของเขาเศร้าหมอง เมื่อละจากอัตภาพมนุษย์ ย่อมไปเกิดในอบาย ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน พาลบัณฑิตสูตร ว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั่นแล ประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อแตกกาย ทำลายขันธ์ ตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก"

จากพุทธภาษิตนี้ แสดงให้เห็นถึงการกระทำความชั่วของมนุษย์ ทั้งทางกาย วาจา ใจ มีผลต่อการไปสู่อบาย นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์ที่น่าสนใจอยู่ 4 คำ กล่าวคือ อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ซึ่งจะขอนำคำศัพท์เหล่านี้มาขยายความให้นักศึกษาได้เข้าใจมากขึ้นดังนี้

คำว่า อบายภูมิ หมายถึง สถานที่ที่สัตว์เกิดแล้วไม่มีโอกาสกระทำกุศลกรรม เพราะเป็นแดนที่ปราศจากความเจริญ เป็นแดนบาปที่ความสุขไม่สามารถเจริญงอกงามได้แม้เพียงนิดเดียว มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ ทำให้ไม่สามารถสร้างกุศลได้

คำว่า ทุคติ คือ สถานที่ที่ต้องเสวยทุกข์อย่างเดียว และเป็นสถานที่ที่เกิดขึ้นมาเพราะกรรมชั่วร้ายของตนเองที่ทำไว้ครั้งเป็น มนุษย์ ที่มีโทษมาก

คำว่า วินิบาต เป็นภูมิของพวกสัตว์ผู้ทำชั่ว เมื่อตกไปที่ภูมินี้ จะเป็นผู้ไร้อำนาจวาสนา หรือหมายถึงเป็นสถานที่ที่พวกสัตว์ผู้กำลังพินาศ มีอวัยวะน้อยใหญ่แตกกระจัดกระจายน่ากลัวมาก

ส่วนคำว่า นิรยะ หรือ นรก เป็นสถานที่ที่ไม่มีความเจริญ เป็นดินแดนที่ไร้ความยินดี มีแต่ความน่าหวาดเสียว น่าสะพรึงกลัวอยู่ตลอดเวลา เมื่อตกลงไปในนรกแล้ว ไม่มีสัตว์นรกตัวไหนอยากอยู่ในมหานรกนั้น

จากความหมายของศัพท์ที่กล่าวมาพอจะสรุปได้ว่า ศัพท์ทั้งหมดนั้นมีความหมายในลักษณะที่คล้ายคลึงกันคือ มุ่งไปในทางที่เสื่อม เป็นความทุกข์ทรมาน ไม่มีความเจริญ แต่ต่างกันในรายละเอียด ตามสภาพการเสวยสุข ทุกข์ เช่น สัตว์เดียรัจฉาน จัดอยู่ในอบายภูมิ 4 แต่มีสัตว์เดียรัจฉานบางประเภท เช่น ครุฑ นาค ไม่จัดเป็นทุคติภูมิ ไม่จัดเป็นวินิบาต เพราะไม่มีการถูกทำลายเหมือนเช่นสัตว์นรก และบางกลุ่มยังเสวยผลบุญอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา แต่ก็จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์เดียรัจฉานเพราะไม่มีความเจริญ ไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้

สรุปว่า อบายภูมินี้ เป็นสถานที่ชดใช้กรรมของมนุษย์ ที่ได้กระทำความชั่วไว้เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ซึ่งไม่มีใครเลยที่จะหลีกเลี่ยงจากกฎแห่งกรรมนี้ไปได้ ไม่ว่าเขาคนนั้นจะมีเชื้อชาติ ศาสนา หรือเผ่าพันธุ์ใดก็ตาม
นมหานรกนี้เลย

อบายภูมิ มี 4ภูมิ จัดอยู่ในกามภพ
จัดแบ่งตามลักษณะของการกระทำฝ่ายอกุศล

1. นิรยภูมิ ตั้งอยู่ใต้เขาตรีกูฏมี 8ขุมใหญ่ (มหานรก)ในแต่ละขุมใหญ่จะมีขุมบริวาร (อุสสทนรก) อยู่โดยรอบทั้ง4 ทิศ
ทิศละ 4ขุม รวมมี นรกขุมบริวาร 128ขุม ถัดจากอุสสทนรกออกไปจะเป็นนรกขุมย่อย (ยมโลก) อยู่โดยรอบทิศทั้ง 4
ของมหานรก ทิศละ 10 ขุม รวมมีนรกขุมย่อย 320 ขุม

2. ติรัจฉานภูมิ อยู่ภพเดียวกับมนุษย์

3. เปตติวิสยภูมิ อยู่ในซอกเขาตรีกูฏก็มี อยู่ซ้อนกับภูมิมนุษย์ก็มี

4. อสุรกายภูมิ อยู่ในซอกเขาตรีกูฏก็มี อยู่ซ้อนกับภูมิมนุษย์ก็มี

1. นิรยภูมิ หรือ นรก จัดอยู่ในอบายภูมิอันดับที่ 1 เป็นดินแดนที่ปราศจากความสุขสบาย สัตว์ที่ตกลงไปสู่นรก เพราะบาปกรรมชั่วที่ตนกระทำไว้เป็นอาจิณกรรม เมื่อตกลงไปแล้วจะต้องได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสไม่มีเวลาว่างเว้น จากการลงทัณฑ์ทรมาน นรกมีที่ตั้งอยู่ใต้เขาตรีกูฏ มีทั้งหมด 8 ขุมใหญ่ ที่เรียกว่า มหานรก และยังมีขุมบริวาร เรียกว่า อุสสทนรกอีก 128 ขุม มีนรกขุมย่อย ที่เรียกว่ายมโลกอีก 320 ขุม สัตว์ที่ใช้กรรมในมหานรกหมดแล้ว จะต้องมารับกรรมในอุสสทนรก และยมโลกต่อไป จนกว่าจะหมดกรรมที่ตนได้กระทำไว้

2. เปตติวิสยภูมิ หรือ ภูมิเปรต จัดอยู่ในอบายภูมิอันดับที่ 2 เป็นดินแดนที่มีแต่ความเดือดร้อน อดอยาก หิวกระหาย เปรตแบ่งออกเป็นหลายประเภท แต่ที่นิยมแบ่งกันมาก คือ เปรต 12 ตระกูล ที่อยู่ของเปรตนั้นมีอยู่ที่ซอกเขาตรีกูฏ และมีปะปนอยู่กับมนุษยโลกด้วย แต่เป็นภพที่ละเอียดกว่า เหตุที่ทำให้มาเป็นเปรตเพราะทำอกุศลกรรมประเภทตระหนี่ หวงแหนทรัพย์เป็นหลัก การเกิดเป็นเปรตนั้นมี 2 ลักษณะ คือ ผ่านมาจากมหานรก อุสสทนรก และยมโลก กับจากมนุษย์ผู้กระทำอกุศลกรรม ละโลกแล้วไปเกิดเป็นเปรต

3. อสุรกายภูมิ จัดอยู่ในอบายภูมิอันดับที่ 3 เป็นดินแดนที่ปราศจากความร่าเริง อสุรกายมีลักษณะคล้ายกับเปรตมาก แยกแยะได้ลำบาก และอยู่ในภพภูมิเดียวกันกับเปรต คือ ซอกเขาตรีกูฏ มีรูปร่างที่ประหลาด เช่น หัวเป็นหมูตัวเป็นคน มีความเป็นอยู่ที่ยากลำบากเช่นเดียวกับเปรต คือ อยู่ด้วยความหิวกระหาย แต่หนักไปทางกระหายน้ำมากกว่าอาหาร ที่ต้องเกิดมาเป็นอสุรกายเพราะความโลภอยากได้ของผู้อื่นในทางมิชอบ

4. ติรัจฉานภูมิ จัดอยู่ในอบายภูมิอันดับที่ 4 เป็นอบายภูมิอันดับสุดท้าย ที่มีความทุกข์ทรมานน้อยกว่าสัตว์ที่เกิดในนรก เปรต และอสุรกาย ที่ชื่อเดียรัจฉาน เพราะมีลำตัวไปทางขวาง อกขนานกับพื้น และจิตใจก็ขวางจากหนทางพระนิพพานด้วย ที่อยู่ของสัตว์เดียรัจฉานนี้ อยู่ปะปนกับมนุษย์ทั่วไปที่เราเห็น สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามจำนวนเท้าของสัตว์ ตั้งแต่ สัตว์ไม่มีเท้า สัตว์มี 2 เท้า สัตว์มี 4 เท้า และสัตว์มีเท้ามากกว่า 4 ขึ้นไป

จบตอน

63


พุทธานุสสติ เป็นกรรมฐานที่ง่ายมีแต่กำไร

"การสร้างพระพุทธรูป นี่เป็นพุทธบูชาเป็น พุทธานุสสติ ในกรรมฐาน ๔๐ กอง ท่านบอกว่ากำลัง พุทธานุสสติเป็นเหตุให้เข้าถึงพระนิพพานได้ง่ายที่สุด ง่ายกว่ากองอื่น ก็เห็นจะจริง เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านอยู่ที่นิพพานนี่ และท่านก็เป็นต้นตระกูลของพระนิพพาน ใช่ไหม... ทีนี้ถ้าเราต้องการสร้างให้สวยตามที่เราชอบ เห็นแล้วก็ทำให้จิตใจสดชื่น จิตมันก็นึกถึงพระอยู่เสมอ ถ้าจิตนึกถึงพระพุทธรูปองค์นั้นอยู่เสมอก็จัดเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน ถ้าใจเราเกาะพระพุทธเจ้าเป็นปกติ ตายแล้วลงนรกไม่เป็น ฉะนั้นถ้าหากโยมเห็นว่าพระที่ทำด้วยโลหะสวยกว่า ชอบมากกว่า โยมก็สร้างแบบนั้น"

"อาตมานี่เป็นคนเกาะ "พุทธานุสสติกรรมฐาน" เป็นอารมณ์ตลอดเวลา ถ้าวันไหนไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้าวันนั้นตายดีกว่า ทิ้งไม่ได้ไม่ยอม มันจะเป็นอย่างไร จะป่วยจะไข้จะปวด ยิ่งป่วยยิ่งหนักเกาะติดเลย ป่วยนิดเดียวไม่ยอมคลาย จิตไม่ยอมคลาดสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่าเราถือว่าเราเกาะพระพุทธเจ้าตายมันจะลงนรกก็เชิญ พระพุทธเจ้าท่านจะลงกับเราก็เอา ใช่ไหม ท่านคงไม่ยอมลงนะ"

(คัดลอกบางตอนจาก หนังสือพ่อรักลูก หน้า ๑๕๑)

พระพุทธองค์ทรงชมเชย และพยากรณ์

(คำสอนหลังกรรมฐาน คืนวันที่ ๘ กพ. ๒๕๓๑ แล้วหลวงพ่อบอกว่า)

...พระท่านสั่งถึงญาติโยมทุกคนมีคนยืนข้างนอกไหม (มีเยอะครับ) ท่านบอกว่า ทุกคนจิตเข้มข้นมาก ข้างในก็ดี ข้างนอกก็ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้างนอกหนัก ไม่งั้นยืนไม่ไหว

ท่านก็เลยบอกว่า "ทุกคนก่อนจะหลับ หรือตื่นใหม่ๆ ตั้งใจจำภาพพระพุทธรูป หรือคนที่เคยเห็นภาพพระพุทธเจ้าด้วยทิพจักขุญานนะ จับภาพพระพุทธเจ้าไว้ก่อนหลับหน่อยหนึ่ง หรือตื่นใหม่ๆ ไม่ต้องนั่งก็ได้ นอนก็ได้ นอนลืมตาดูท่าน หรือหลับตานึกถึงท่าน จะภาวนาก็ได้ แต่ห้ามภาวด่า นี่ท่านไม่ได้ห้ามนะฉันห้ามเอง ก็ถามท่านว่า มีผลอย่างไร ท่านบอก จะรู้ผลเองเมื่อตาย นี่ท่านพูดเองนะ

ทีนี้ท่านย่า ท่านยืนกับแม่ศรี ท่านก็หัวเราะ ย่าบอก "คุณ ๑๐๐ เปอร์เซนต์"

แต่ความจริงจับภาพพระพุทธเจ้านี่ดีนะ ฉันเคยไปหลับที่บ้านบนหลายหน ก่อนป่วยหนักฉันก็หลับอยู่บนบ้านนั้นแหละ บ้านสูง เดินเที่วไปเที่ยวมา อยู่บนนี้ดีกว่า เดี๋ยวไอ้ตัวล่างหลับแหงแก๋ไปแล้ว มันตัดกันนี่นะ มันหลับไปเราก็สบาย ลงโน่นนั่นแหละตี ๕ หรือไม่ก้ ๖ โมงเช้าสบายโก๋ ความจริงจิตเป็นสุขถ้าทำอย่างนี้ทุกวันนะ ผู้ได้มโนมยิทธิน่ะขึ้นไปเลย ถ้าก่อนนอนขึ้นไม่ไหว เช้ามืดตื่นปั๊บขึ้นไป ให้มันชินต่ออารมณ์ ถ้าชินต่ออารมณ์ก็มีความรักในสถานที่นั้น ถ้าเวลาจะตาย ใจมันไปที่มันรัก

(คัดลอกบางตอนจากหนังสือธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๘๕ มีนาคม ๒๕๓๑ หน้า ๒๐-๒๑)

อานุภาพแห่งพุทธานุสสติกรรมฐาน

กรรมฐานกองนี้ท่านสอนให้ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า การระลึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ระลึกได้ไม่จำกัดว่าจะต้องระลึกตามแบบของท่านผู้นั้นผู้นั้นที่สอนไว้้โดยจำกัด เพราะพระพุทธคุณ คือคุณความดีของพระพุทธเจ้านั้นมีมากมาย แล้วแต่บางท่านจะระลึกโดยใช้ว่า "พุทโธ" หรือ "สัมมาอรหัง" "อิติสุคโต" ต่าง ๆ ดังนี้เป็นต้น แล้วแต่ท่านจะถนัดหรือสะดวก ไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ใด ๆ ทั้งสิ้น

ท่านตัดวิชา คือความโง่ออกเสียได้สิ้นเชิง ท่านหมดความพอใจในสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต โดยคิดว่าเป็นสิ่งที่ยั่งยืน ท่านเห็นว่า ไม่ว่าอะไรมีเกิด แล้วก็มีเสื่อม และในที่สุดก็ต้องทำลาย ฉะนั้น อารมณ์ของท่านจึงไม่ถืออะไร มีก็ใช้ ไม่มีก็ไม่มีทุกข์ ตัดความกำหนัดยินดีในสมบัติของโลก ไม่มีเยื่อใยแม้แต่สังขารของท่าน

พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทุกองค์มีความรู้สึกอย่างนี้ ท่านที่เจริญอนุสสติข้อนี้ เมื่อใคร่ครวญตามความดีทั้งสิบประการนี้เสมอ ๆ ทำอารมณ์ให้ผ่องใสในพระพุทธคุณมากขึ้น จะเป็นเหตุให้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าได้

เรื่องราวตัวอย่างเรียบเรียงมาจากพระไตรปิฎก ซึ่งแสดงถึงอานิสงค์ของพุทธานุสสติกรรมฐานคือเรื่องเมื่อมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรผู้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าก่อนตายแล้วได้ไปสวรรค์

ท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร เดิมเป็นลูกชายของพราหมณ์ที่มีความร่ำรวยแต่ตระกูลของพราหมณ์ตระกูลนี้ไม่ได้นับถือ พระพุทธศาสนาเขามีศาสนาพราหมณ์เป็นที่เคารพอยู่แล้ว ต่อมาลูกชายของพราหมณ์ที่ชื่อว่ามัฏฐกุณฑลีป่วยมาก พ่อกับแม่จะรักษาก็เสียดายเงินจึงไปถามหมอว่า โรคผอมเหลืองของลูกชายใช้ยาอะไรรักษา หมอก็บอกยากลางบ้านคือ ยาที่ชาวบ้านเอามารักษาโรคกันเอง โดยที่ไม่มีหมอตรวจอาการของโรคก่อน เป็นยาที่ไม่ตรงกับโรค มัฏฐกุณฑลี จึงป่วยหนักขึ้น และเห็นว่าพ่อกับแม่ ไม่ได้เป็นที่พึ่งแน่นอน เมื่อทุกขเวทนามากขึ้นหมดที่พึ่งก็นึกถึงพระพุทธเจ้า โดยเธอคิดว่าชาวบัานเขาลือกันว่าพระสมณโคดม มีเมตตาสูงใจดี สงเคราะห์ไม่ว่าใคร ใครมีทุกข์ท่านสงเคราะห์ทุกคน เธอจึงได้นอนนึกถึงพระพุทธเจ้า ขอให้พระพุทธเจ้ามาช่วยรักษาให้หายจากโรค ในขณะนั้นเธอก็ได้ถึงคราวตาย เมื่อเขาตายจิตออกจากร่าง ด้วยเดชะบารมีพระพุทธเจ้าที่เขาคิดถึง ว่าอยากให้มารักษาโรคก็ บันดาลให้เขาไปเกิดเป็นเทวดา บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นามว่า มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร มีวิมานทองคำเป็นที่อยู่ มีนางฟ้าหนึ่งพันเป็นบริวาร

เมื่อมัฏฐกุณฑลี เสียชีวิต ด้วยเพราะคิดถึงลูก พราหมณ์ผู้เป็นพ่อจึงไปยืนอ้อนวอนที่หน้าหลุมศพทุกวันว่าขอให้ ลูกชาย กลับมาเกิดใหม่ ในที่สุดลูกชายที่เป็นเทวดาก็ปรากฏตัวขึ้น จึงได้บอกกับพ่อของเขาว่า เวลานี้เธอได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ ที่ไปเป็นได้เพราะอาศัยนึกถึงพระสมณโคดมให้มาช่วยให้หายป่วย มือไม่เคยยกไหว้ บาตรไม่เคยใส่ เทศน์ที่พระสมณโคดมเทศน์ก็ไม่เคยฟัง อาศัยที่นึกถึงชื่อพระองค์อย่างเดียวเป็นเหตุให้ไปเกิดเป็นเทวดาได้ จึงได้แนะนำพ่อว่า ต่อไปจงถวายทานแด่พระสมณโคดมและพระของท่าน จงฟังเทศน์ จงใส่บาตรพระ จะเป็นคนมีบุญมากๆ เมื่อตายจะมีความสุขมากกว่าเธอ แล้วเธอก็ได้เหาะกลับวิมาน

เมื่อฟังแล้วบิดาจึงตั้งใจจะถวายทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก เมื่อกลับถึงบ้านจึงบอกให้ภรรยาทำอาหารมากๆ เพื่อวันนี้จะได้ไปถวายทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก เมื่อเสร็จแล้วจึงได้เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่ไปถึงกลับกล่าววาจาโอหังยืนอยู่ข้างหน้าแล้วถามว่า "พระสมณโคดม คนไม่เคยยกมือไหว้ท่าน ไม่เคยใส่บาตร ไม่เคยฟังเทศน์ เพียงนึกชื่อท่านอย่างเดียวตายไปแล้วเกิดเป็นเทวดา นางฟ้ามีไหม"พระพุทธเจ้าตรัสว่า พราหมณ์ คนที่ไม่เคยใส่บาตร ไม่เคยยกมือไหว้ ไม่เคยฟังเทศน์จากเรา ตายไปแล้วไปเกิดบนสวรรค์ ไม่ใช่นับร้อยนับพัน แต่นับเป็นโกฏีๆ แต่ทว่าท่านที่ฝึกกรรมฐาน ถึงมีว่าจะมีสมาธิเล็กน้อย ท่านก็ว่ามีผลดีกว่า มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ทั้งนี้เพราะทุกคนเคารพ พระพุทธเจ้า เคยบูชาพระ เคยไหว้พระ เคยใส่บาตร เคยฟังเทศน์ และเจริญกรรมฐานด้วยความเคารพ


ที่มา:หนังสือวิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ
โดย พระสุธรรมยานเถระ(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

64
จักรวาลแบบพุทธ / จักรพรรดิตามหลักศาสนาพุทธ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2014, 09:32:18 PM »


จักรพรรดิตามหลักศาสนาพุทธ

หลายๆครั้งที่เราได้ยินครูบาอาจารย์ท่านมักกล่าวถึงพระจักรพรรดิ พระพุทธเจ้าปางจักรพรรดิ พระปางจักรพรรดิ หรือ กำลังพระจักรพรรดิ ยังมีหลายๆคนที่อาจจะยังไม่ทราบถึงเรื่องราวอันเป็นที่มาของคำว่า "จักรพรรดิ" ตามหลักศาสนาพุทธ จึงขอสรุปมาย่อๆ โดยเรียบเรียงเนื้อหา สรุปจากพระไตรปิฎก ดังต่อไปนี้

พระเจ้าจักรพรรดิ (ภาษาบาลี: จกฺกวตฺติ) คือจักรพรรดิผู้ปกครองทวีปทั้ง 4 ในความเชื่อของพระพุทธศาสนา เป็นผู้รักษาศีล เป็นธรรมราชา ปกครองด้วยทศพิธราชธรรม มีพระโอรสนับพัน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ปรารถนาสงคราม ไม่ประสงค์เครื่องบรรณาการ พระเจ้าจักรพรรดิมีแต่ผู้เคารพนับถือ พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้มีบุญญาธิการมาก พระเจ้าจักรพรรดิมีลักษณะของมหาบุรุษเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า แต่ทรงเลือกปกครองแผ่นดิน ยามใดที่มีพระพุทธศาสนา พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงบำรุงอุปัฎฐากพระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก ช่วยเผยแพร่พระธรรม แต่ยามใดที่ไม่มีพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงรวบรวมผืนแผ่นดิน ผู้คนให้เป็นปึกแผ่น ทรงปกครองโดยธรรม สั่งสอนประชาชนทั้งมวล พระเจ้าจักรพรรดิทรงขยันในการสร้างบารมีมาก ถึงแม้จะเป็นพระมหาจักรพรรดิก็ยังทรงสร้างพระบารมีไม่หยุดหย่อน

ความพิเศษของพระเจ้าจักรพรรดิ

พระเจ้าจักรพรรดิมีพระวรกายงดงามยิ่งกว่ามนุษย์ใดๆ
พระเจ้าจักรพรรดิมีอายุยืนกว่ามนุษย์ใดๆ
มีอาพาธน้อย เจ็บป่วยได้ยากกว่าคนทั่วไป
พระเจ้าจักรพรรดิเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา
แม้แต่เทวดาก็ยังเกรงใจ

ประเภทของพระเจ้าจักรพรรดิ

พระเจ้าจักรพรรดินั้นยังแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทอีก ได้แก่

จักรพรรดิทองคือ พระเจ้าจักรพรรดิที่ครอบครองทั้ง 4 ทวีป ตั้งแต่ประสูติ โดยมิต้องทำการรบพุ่งแย่งชิงมา

จักรพรรดิเงินคือ พระเจ้าจักรพรรดิที่ครอบครอง 3 ทวีป ตั้งแต่ประสูติ โดยมิต้องทำการรบพุ่งแย่งชิงมา

จักรพรรดิทองแดงคือ พระเจ้าจักรพรรดิที่ครอบครอง 2 ทวีป แต่มิได้ครอบครองเช่นนี้มาตั้งแต่ประสูติ ต้องทำสงครามรบพุ่งแย่งชิงมา

จักรพรรดิเหล็กคือ พระเจ้าจักรพรรดิที่ครอบครองได้เฉพาะชมพูทวีป โดยทำสงครามรบพุ่งแย่งชิงมา ซึ่งพระจักรพรรดิเหล็กนี้เป็นสถานะพระจักรพรรดิที่เป็นไปได้ในโลกปัจจุบัน ซึ่งคติความเชื่อในเรื่องจักรพรรดิเหล็กนั้น ได้ปลูกฝังในระบอบคิดของกษัตริย์ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาเป็นหลักมาแต่ครั้งโบราณกาล

แก้ว 7 ประการ

พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้ครอบครองแก้ว 7 ประการ อันได้แก่

จักรแก้ว (จกฺกรตฺตนํ) เมื่อผู้ที่จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ พระองค์ทรงรักษาศีลอุโบสถ ชำระจิตให้สะอาดแล้วทรงทำสมาธิ จักรแก้วก็บังเกิดขึ้น ทำจากโลหะมีค่า ส่องแสงสว่างไสว แล้วพาพระเจ้าจักรพรรดิพร้อมเหล่าเสนาบดีลอยไปยังประเทศต่างๆ ในทวีปทั้ง 4 ประเทศต่างๆ ก็ยอมสวามิภักดิ์ ไม่มีการสู้รบกัน เมื่อจะถวายเครื่องบรรณาการพระเจ้าจักรพรรดิก็ไม่ยอมรับแต่พระราชทานโอวาทศีล 5 ให้

ช้างแก้ว (หตฺถีรตฺตนํ) ช้างแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาช้าง มีชื่อว่า อุโบสถ สีขาวเผือก สง่างาม มีฤทธิ์เดชสามารถเหาะได้ คล่องแคล่วว่องไว ฝึกหัดได้เอง สามารถพาพระเจ้าจักรพรรดิไปรอบชมพูทวีป จรดขอบมหาสมุทร ได้ตั้งแต่เช้ารุ่ง และกลับมาทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า

ม้าแก้ว (อสฺสรตฺตนํ)
ม้าแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาม้า มีชื่อว่า วลาหกะ เป็นอัศวราชผู้สง่างาม ขนงาม มีหางเป็นพวง ตรงปลายคล้ายดอกบัวตูม มีฤทธิ์เดชเหาะเหินเดินบนอากาศได้ คล่องแคล่วว่องไง ฝึกหัดได้เอง สามารถพาพระเจ้าจักรพรรดิไปรอบชมพูทวีป จรดขอบมหาสมุทร ได้ตั้งแต่เช้ารุ่ง และกลับมาทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า

มณีแก้ว (มณิรตฺตนํ) มณีแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นแก้วมณีเปล่งแสงสุกสกาว ใสแวววาวยิ่งกว่าเพชร เปล่งรังสีแสงสว่างไสวโดยรอบถึง 1 โยชน์ คอยบันดาลความอุดมสมบูรณ์ทุกอย่างให้บังเกิดขึ้น ดึงดูดสมบัติทั้งหลายมาให้ สามารถเลี้ยงคนได้ทั้งชมพูทวีปโดยไม่ต้องทำมาหากิน เมื่อพระมหาจักรพรรดิทรงทดลองแก้วมณีกับกองทัพ โดยติดแก้วมณีไว้บนยอดธงนำทัพ แก้วมณีก็เปล่งแสงสว่างไสว ทำให้กองทัพเดินทางได้สะดวกสบาย เหมือนเดินทัพในเวลากลางวัน

นางแก้ว (อิตถรตฺตนํ) นางแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นหญิงที่มีบุญญาธิการ รูปร่างน่าดูชม ผิวพรรณเปล่งปลั่งผ่องใส สวยงามกว่ามนุษย์ทั่วไป พูดจาไพเราะ ไม่โกหก มีกลิ่นดอกบัวหอมฟุ้งออกจากปาก มีกลิ่นจันทน์หอมฟุ้งรอบกาย นางแก้วเป็นผู้คอยปรนนิบัติพระเจ้าจักรพรรดิอย่างไม่ขาดสาย ตื่นก่อนนอนทีหลังพระเจ้าจักรพรรดิ คอยฟังรับสั่งของพระเจ้าจักรพรรดิ ประพฤติชอบต่อพระเจ้าจักรพรรดิเสมอ

ขุนคลังแก้ว (คหปติรตฺตนํ) คฤหบดีแก้ว หรือขุนคลังแก้ว สามารถนำทรัพย์สินมาให้แด่พระเจ้าจักรพรรดิได้ ขุมทรัพย์อยู่ที่ไหน ขุนคลังแก้วเห็นหมด

ขุนพลแก้ว (ปริณายกรตฺตนํ) ปริณายกแก้ว หรือขุนพลแก้ว คือพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นขุนศึกคู่ใจ เป็นบัณฑิตนักปราชญ์ มีความฉลาดเฉลียว รู้สิ่งใดควรไม่ควร คอยให้คำแนะนำปรึกษาแด่พระเจ้าจักรพรรดิอยู่เสมอ

อานิสงส์ผลบุญที่ทำให้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

ทำบุญทำทานด้วยจิตใจงดงาม เป็นเจ้าในงานทอดกฐิน หรือเป็นเจ้าภาพในการสร้างวัด พระอุโบสถ พระวิหาร พระพุทธรูป ฯลฯ เป็นประธานในการเทศนาธรรม การสังคายนาพระไตรปิฏก ฯลฯ บูชาเจดีย์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ในยุคพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน แม้นไม่มีพระเจ้าจักรพรรดิมาอุบัติเกิดขึ้นเหมือนในยุคอื่นๆที่ผ่านมาและในอณาคต เช่นในยุคพระศรีอาริยเมตไตรย พระพุทธเจ้าพระองค์หน้าที่จะมีพระสังขจักรพรรดิเกิดขึ้นมาอุปัฐฐากพระพุทธเจ้าศรีอริยเมตไตรย แต่ในพระไตรปิฎกก็มีกล่าวถึงตอนที่พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เนรมิตองค์ท่านเป็นพระเจ้าจักรพรรดิเพื่อปราบทิฐิมานะของท้าวพญาชมพูบดี ซึ่งมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก รวมถึงในส่วนของเนื้อหาพระเจ้าจักรพรรดิก็มีกล่าวถึงในพระไตรปิฎกเช่นกัน

อ่านความรู้เกี่ยวกับพระเจ้า“จักรพรรดิ” แบบละเอียดได้ที่
http://buddhapoom.com/index.php/topic,43.0.html

65


พุทธประวัติ ตอน ทรงแก้ทิฏฐิมานะ
ของพญามหาชมพูบดี

ในสมัยพุทธกาล มีพระมหากษัตริย์ผู้เรืองอำนาจพระองค์หนึ่ง ซึ่งปกครองเมืองปัญจาลราษฐ พระนามว่า "พญาชมพูบดี" กล่าวกันว่า พร้อม ๆ กับการประสูติของพญาชมพูบดี ขุมทองในที่ต่างๆ ก็ผุดขึ้นมากมายอันแสดงถึงบุญญาธิการของพระองค์ ประชาชนในเมืองนี้จึงมีฐานะความเป็นอยู่ที่มั่งคั่งสมบูรณ์

พญาชมพูบดี ทรงมีอาวุธวิเศษ 2 อย่าง คือ

ฉลองพระบาทแก้ว ซึ่งเมื่อสวมเข้าไปแล้วก็จะพาพระองค์เหาะไปในที่ต่างๆ ได้ ทั้งยังใช้อธิษฐานแปลงเป็นนาคราชเข้าประหัตประหารศัตรูได้อีกด้วย

อาวุธวิเศษอย่างที่สอง คือ วิษศร ซึ่งเป็นศรวิเศษใช้ต่างราชทูต หากกษัตริย์เมืองใดไม่มาอ่อนน้อมขึ้นต่อพระองค์ วิษศรนี้ก็จะไปร้อยพระกรรณพาตัวเข้าเฝ้าพระองค์จนได้ ทำให้กษัตริย์ทั้งหลายพากันยำเกรงในพระเดชานุภาพแห่งพญาชมพูบดี

ด้วยอาวุธคู่พระวรกาย พญาชมพูบดีได้ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง กระทั้งถึงกรุงราชคฤห์ของพระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นอุบาสกแห่งสมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้า พญาชมพูบดีส่งอาวุธวิเศษของพระองค์ ไปทำอันตรายต่อพระเจ้าพิมพิสาร แต่ไม่อาจทำอันตรายแก่พระเจ้าพิมพิสารได้ ด้วยอาศัยพระพุทธานุภาพ ทำให้พญาชมพูบดีแค้นพระทัยมาก แม้ส่งอาวุธวิเศษอย่างใดไป ก็พ่ายแพ้แก่พระพุทธานุภาพแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นว่า พญาชมพูบดีประสบความพ่ายแพ้ และมีทิฏฐิมานะเบาบางลง ประกอบด้วยกับทรงเล็งเห็นวาสนาปัญญาของพญาชมพูบดีว่าสามารถสำเร็จมรรคผลได้ จึงมีพุทธฎีกาตรัสใช้ให้พระอินทร์แปลงเป็นราชทูตพาพญาชมพูบดีมาเข้าเฝ้า ส่วนพระองค์ทรงเนรมิตองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงมงกุฎ พร้อมเครื่องราชาภรณ์ แต่ล้วนงดงาม ส่วนพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานเถระเจ้า พร้อมด้วยเหล่าภิกษุสงฆ์สาวก ก็เนรมิตกายเป็นเสนาอำมาตย์ใหญ่น้อย ล้วนแล้วแต่น่าเกรงขาม ทั้งเนรมิตเวฬุวัน (ป่าไผ่) ให้เป็นพระนครใหญ่ประกอบด้วยกำแพงถึง 7 ชั้น และมีพุทธฎีกาตรัสสั่งให้เทวดา พรหม ทั้งหลาย ร่วมเนรมิตเป็นตลาดน้ำ ตลาดบก

เมื่อพระอินทร์ซึ่งเนรมิตกายเป็นราชทูต ไปถึงเมืองปัญจาลราษฐ เห็นพญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ยังถือดี จึงแสดงฤทธานุภาพเป็นที่ประจักษ์ พญาชมพูบดีไม่อาจแข็งขืนจำยอม ต้องยกพลเดินทัพเพื่อเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้า

เมื่อพญาชมพูบดี เดินทางเข้าเขตพระนคร ก็ตกตะลึงกับความยิ่งใหญ่อลังการแห่งพระนครที่พระพุทธองค์ทรงเนรมิต แม้แต่เหล่าแม่ค้าริมทาง ก็ยังงดงามกว่าพระอัครมเหสีของพญาชมพู จนชวนให้รู้สึกขวยเขินก้าวเดินไม่ตรงทาง และเมื่อผ่านทางยังกำแพงพระนครแต่ละชั้น ทอดพระเนตรเห็นเหล่าเสนาอำมาตย์ที่รักษาพระนคร พระทัยก็ประหวั่นพรั่นกลัวพระเสโทไหลโทรมทั่วพระสกลกาย ถึงกำแพงชั้นในซึ่งเป็นแก้ว ก็ทำท่าจูงกระเบนเหน็บรั้ง ด้วยเข้าพระทัยผิดคิดว่ามีเสียงนางในร้องเย้ยเยาะว่ากษัตริย์บ้านนอก กระทำเชยๆ พญาชมพูบดีก็รู้สึกได้รับความอัปยศอย่างยิ่ง

เมื่อพญาชมพูบดีมาถึงต่อหน้าพระพักตร์แห่งพระบรมศาสดา ซึ่งเนรมิตกายเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ยังไม่หมดทิฏฐิมานะ พระพุทธองค์ทรงเชื้อเชิญให้แสดงฤทธิ์เดชอำนาจและของวิเศษทุกสิ่งทุกอย่างออกมา เมื่อพญาชมพูบดีทรงแสดงแล้ว ก็ต้องได้รับความอัปยศยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยไม่อาจทำอันตรายพระพุทธองค์ได้เลยแม้แต่น้อย

เมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าพญาชมพูบดีคลายทิฏฐิมานะลงมากแล้ว จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพญาชมพูบดี และเหล่าเสนาอำมาตย์ที่ติดตามมาด้วยจำนวนมากมายให้เห็นสิ่งที่เป็นสาระและมิใช่สาระ ให้เห็นโทษแห่งการเวียนเกิด เวียนตาย ในวัฏสงสาร ทั้งให้เห็นคุณแห่งพระนิพพาน พญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ต่างรู้สึกปีติ โสมนัส จึงปลดมงกุฎและเครื่องประดับของตนวางแทบพระบาทแห่งองค์พระสัมพัญญูบรมศาสนา เพื่อสักการะด้วยความรู้สึกเทิดทูน จากนั้นจึงทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธองค์

จากนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้าบรมครู พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวก เทวดา พรหม ก็คล้ายฤทธานุภาพกลับสู่สภาพเดิม (เป็นป่าไผ่และสภาพทั้งหลายตามความเป็นจริง) สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานอุปสมบถแก่พญาชมพูบดี พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ และทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้คลายความลุ่มหลงในเบญจขันธ์ มีรูป เป็นต้นว่า อุปมาดั่งพยับแดด หาสาระตัวตนที่เที่ยงแท้อันใดมิได้ และแสดงเทศนาต่างๆ เป็นอเนกปริยาย พญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ ก็ดื่มดำในพระอมตธรรมสลัดเสียซึ่ง ตัณหา อุปาทาน จิตของท่านก็เข้าอรหันตผล สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลในพระบวรพุทธศาสนา

66
จักรวาลแบบพุทธ / Re: "ความตาย"
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2014, 09:31:01 PM »
อาจจะเป็นตอนนี้..... วันนี้.... หรือพรุ่งนี้.....
แต่ยังไง เราและท่าน ก็.... ต้องตายเป็นแน่แท้

1 ชีวิตนี้วิปริตผันแปร ไม่แน่นอน

2 วัย หมดไปตามลำดับแห่งวัย

3 หนุ่มก็ตาย แก่ก็ตาย

4 ชีวิต ไม่ถึงร้อยปีก็จะตาย

5 ถ้าอยู่เลยร้อยปี ก็ต้องตายเพราะความแก่เป็นแน่แท้

6 คนโง่ก็ตาย คนฉลาดก็ตาย

7 สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนก้าวเดินไปสู่ความตาย

8 คนถึงคราวตาย หมู่ญาติก็ช่วยไม่ได้

9 ชีวิตนี้น้อยนัก ชีวิตนี้สั้นนัก

10 วันและคืนย่อมผ่านไป

11 เมื่อมีชีวิต วัยแห่งชีวิตก็ร่นเข้ามา

12 เกิด ก็เป็นทุกข์

13 จะตาย ก็ตายไปคนเดียว

14 กาลเวลาล่วงไป ราตรีก็ผ่านไป

15 ตาย ก็เป็นทุกข์

16 แก่ ก็เป็นทุกข์

17 สัตว์โลกถูกมฤตยูห้ำหั่น

18 จะวิ่งหนีก็ไม่ทัน (ความตายไม่มีใครหนีได้)

19 สัตว์โลก ถูกชราปิดล้อม

20 เจ็บ ก็เป็นทุกข์

21 จะเกิด ก็เกิดมาคนเดียว

22 ชีวิตนี้คับแค้น และสั้นนิดเดียว

23 ชีวิตสิ้นสุดลงที่ความตาย

24 เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ควรเกื้อกูลกัน

25 เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน

26 เมื่อคนจะตาย ยังแถมประกอบด้วยทุกข์อีก

27 คนที่ร้องให้ถึงคนตาย เขาก็จะต้องตายด้วย

28 ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก

29 เห็นอยู่เมื่อเช้า สายก็ตาย

30 ที่ตายแล้วก็แล้วไป ไม่ควรเศร้าโศกถึง

31 ปราชญ์ทั้งหลาย บอกแล้วว่าชีวิตนี้น้อยนัก

32 โลกถูกความตายครอบเอาไว้

33 เมื่อความตายมาถึงตัว ก็ไม่มีใครป้องกันได้

34 เมื่อคนตายแล้วสมบัติสักนิดก็ไม่ติดไป

35 ทุกชีวิตที่เกิดมาแล้วจะต้องแตกสลายในที่สุด

36 ทุกชีวิตจะต้องทอดทิ้งร่ายกายไว้ในโลก

37 ไม่มีใครผัดเพี้ยนกับความตาย ซึ่งมีอำนาจมากได้

38 สถานที่ที่ได้ชื่อว่าไม่มีคนตาย ไม่มีในโลก

39 ทุกคนควรทำหน้าที่ของตนและไม่ควรประมาท

40 ทั้งหนุ่มและแก่ ล้วนร่างกายแตกดับไปทุกคน

41 สัตว์โลกถูกมฤตยูห้ำหั่น ถูกชราปิดล้อม

42 เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน

43 ความผัดเพี้ยนกับมฤตยูอันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย

44 กี่วันผ่านไป ชีวิตก็ยิ่งใกล้ความตาย

45 คนทุกคนต้องตาย

46 วัยสิ้นไปตามคืนและวัน

47 การตายโดยชอบธรรม ดีกว่าการมีชีวิตอยู่โดยไม่ชอบธรรม

48 อายุของคนย่อมหมดสิ้นไป

49 ความตายย่อมมีแก่ผู้เกิด

50 วันคืนเคลื่อนคล้อย อายุก็เหลือน้อยเข้าทุกที

51 สัตว์ทั้งปวงย่อมถูกชราและมรณะพัดพาไป

52 สายเห็นกันอยู่ รุ่งเช้าอีกวันก็ตาย

53 มีชีวิตอยู่อย่างไม่ถูกต้อง หาประเสริฐไม่

54 เงิน ก็ซื้ออายุให้ยืนยาวไม่ได้

55 สัตว์ทั้งปวง จัดทอดทิ้งร่างไว้ในโลก

56 ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวปรโลก

57 วัยย่อมเสื่อมลงเรื่อยไป ทุกหลักตา ทุกลืมตา

58 เมื่อตาย ทรัพย์สักนิดเดียวจะติดตัวไปก็ไม่มี

59 ตายเพื่อความถูกต้องประเสริฐกว่า

60 ถึงคราวตาย บุตรทั้งหลายก็ช่วยไม่ได้

61 ถึงคราวตาย บิดา ญาติพี่น้องก็ช่วยไม่ได้

62 รวยก็ตาย จนก็ตาย

63 ทรัพย์สมบัติ ก็ซื้อความแก่ไม่ได้

64 สักวันหนึ่ง ก็จะพรากจากกันไป

65 วันคืน ไม่ผ่านไปเปล่า

66 มฤตยู พยาธิ ชรา ทั้งสามนี้ดุจไฟลามลุกไหม้

67 ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะกลัวความตาย

68 ผู้ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี

69 วันคืนผ่านพ้นไป ชีวิตย่อมจะเหลือน้อยลง

70 อายุย่อมหมดไปทุกขณะที่หลับตาและลืมตา

71 คนจะมีชีวิตอยู่ได้ก็เพียงร้อยปี หรือจะเกินก็เพียงเล็กน้อย

72 แม้ชีวิตอยู่ร้อยปี ก็ไม่พ้นความตายไปได้ มวลมนุษย์ล้วนมีความตายรออยู่ข้างหน้า
73 ชีวิตของเราเป็นของน้อย ชราและพยาธิก็คอยย่ำยี

74 กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสัตว์ทั้งหลาย พร้อมกันไปกับตัวมันเอง

75 คนใดร้องให้บ่นเพ้อถึงคนที่ตายไปแล้ว แม้คนที่ร้อนนั้นก็ต้องตายเหมือนกัน

76 เมื่อมาเกิด ก็ไม่มีใครอ้อนวอนมาเกิด เมื่อตายจากโลกนี้ ก็ไม่มีใครอนุญาตให้ไป

77 วันคืนล่วงไป ชีวิตของคนก็พร่องลงไป จากประโยชน์ที่จะทำ

78 ชีวิตของสัตว์เหมือนภาชนะดิน ซึ่งล้วนมีความสลายเป็นที่สุด

79 ทั้งคนมี ทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า

80 รูปกายของสัตว์ย่อมร่วงโรยไป แต่ชื่อและโครตไม่เสื่อมสลาย

81 อายุสังขาร ใช่จะประมาทไปตามสัตว์ผู้ยืน นั่ง นอน หรือ เดินอยู่ก็หาไม่

82 สิ่งมีชีวิตทั้งปวง ย่อมกลัวโทษและกลัวความตาย จงทำตนเป็นอุปมา แล้วไม่พึงฆ่าหรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า

83 เพราะฉะนั้น ในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ ทุกคนควรกระทำกิจหน้าที่ และไม่พึงประมาท

84 ร่างกายนี้ ไม่นานนัก เมื่อวิญญาณจากไปแล้ว หมู่ญาติก็เกลียดกลัว เอาไปทิ้งในป่าช้าเหมือนท่อนไม้

85 เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณะสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต

86 กาลเวลาล่วงไป วันคืนผ่านพ้นไป วัยก็หมดไปที่ละตอน ๆ ตามลำดับ

87 อายุของคนนี้น้อยนัก จะต้องจากโลกนี้ไป จึงควรทำกุศล และประพฤติพรหมจรรย์

88 น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นที่สูง ฉันใด อายุของคน ก็ย่อมไม่เวียนไปสู่วัยเด็กอีก ฉันนั้น

89 ชีวิตนี้เป็นสิ่งคับข้อง เป็นสิ่งเล็กน้อย ประกอบด้วยทุกข์ ใครเล่ายังจะอาศัยชีวิตนี้ ไปสร้างเวรกับผู้อื่น

90 ชีวิตนี้น้อยนัก ไม่ถึงร้อยปีก็ตายกันแล้ว ถ้าจะอยู่เกินไป ก็ต้องตายเพราะความแก่

91 วันคืนย่อมล่วงไป ชีวิตย่อมหมดเข้าไป อายุของสัตว์ ย่อมสิ่นไป เหมือนน้ำแห่งแม่น้ำน้อย ๆ ฉะนั้น

92 ชนเหล่าใดกำหนดรู้รูปธาตุ ไม่ตั้งอยู่ในอรูปธาตุ ย่อมหลุดพ้นไปได้ในในโรธธาตุ, ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ละมัจจุได้

93 อายุของมนุษย์มีน้อย คนดีพึงดูถูกอายุนั้นเสีย พึงประพฤติดุจคนมีศรีษะถูกไฟใหม้ มฤตยู (ความตาย) จะไม่มาถึง ย่อมไม่มี

94 ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งเขลา ทั้งฉลาด ล้วนไปสู่อำนาจแห่งความตาย ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า

95 ความตายย่อมครอบงำคนเก็บดอกไม้ (กามคุณ) ที่มีใจข้องในอารมณ์ต่าง ๆ ไม่อิ่มในกาม ไว้ในอำนาจ

96 ภัยของสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว ย่อมมี เพราะต้องตายแน่นอน เหมือนภัยของผลไม่สุก ย่อมมี เพราะต้องหล่นในเวลาเช้าฉะนั้น

97 ภาชนะดินที่ช่างหม้อทำแล้ว ล้วนมีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด, ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น

98 ผู้เลี้ยงโคย่อมต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากินด้วยพลอง ฉันใด, ความแก่และความตาย ย่อมต้อนอายุของสัตว์มีชีวิตไปเช่นกัน ฉันนั้น

99 การร้องให้ ความโศกเศร้า หรื การคร่ำครวญร่ำไรใด ๆ ย่อมไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ผู้ที่ตายแล้วก็คงอยู่อย่างเดิมนั้นเอง

100 เมื่อถูกพญามัจจุราชครอบงำ ไม่ว่าบุตร ไม่ว่าบิดา ไม่ว่าญาติพวกพ้อง มีไว้ก็ช่วยต้านทานไม่ได้ จะหาที่ปกป้องในหมู่ญาติ เป็นอันไม่มี

101 ข้าพเจ้าไม่มีความชั่ว ซึ่งทไว้ ณ ที่ไหน ๆ เลย ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงไม่หวั่นเกรงความตายที่จะมาถึง

102 การร้องให้หรือโศกเศร้า จะช่วยให้จิตใจสงบ สบาย ก็หาไม่ ทุกข์ยิ่งเกิดเพิ่มพูนทับทวี ทั้งร่ายกายก็พลอยทรุดโทรม

103 คนที่รักใคร่ ตายจากไปแล้ว ย่อมไม่ได้พบเห็นอีกเหมือนคนตื่นขึ้นไม่ได้เห็นสิ่งที่ได้พบในฝัน

104 จะตายก็ไปคนเดียว จะเกิดก็มาคนเดียว ความสัมพันธ์ของสัตว์ทั้งหลาย ก็เพียงแค่ได้มาพบปะเกี่ยวข้องกันเท่านั้นเอง

105 คนที่สละความเศร้าโศกไม่ได้ มัวทอดถอนถึงคนที่จากไปแล้ว ตกอยู่ในอำนาจของความโศก ย่อมประสบความทุกข์หนักยิ่งขึ้น

106 ตอนเช้ายังเห็นกันอยู่มากคน พอตกเห็นบางคนก็ไม่เห็น เมื่อเย็น ยังเห็นกันอยู่มากคน ตกถึงเช้า บางคนก็ไม่เห็น

107 ถ้าบุคคลจะเศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่มีอยู่แก่ตน (เช่นผู้ที่ตายไปแล้ว เป็นต้น) ไซร้ ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตนเอง
ซึ่งตกอยู่ในอำนาจของพญามัจจุราชตลอดเวลา

108 แม่น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นที่สูง ฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่เวียนกลับมาสู่วัยเด็กอีก ฉันนั้น

109 ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนพาล ทั้งบัณฑิต ทั้งคนมี ทั้งคนจน ล้วนเดินหน้าไปหาความตายทั้งหมด

110 ผลไม้สุกแล้ว ก็หวั่นแต่ละต้องร่วงหลุ่นไปตลอดเวลา ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ก็หวั่นแต่จะตายอยู่ตลอดเวลา ฉันนั้น

111 อายุของคนน้อยนัก คนดีไม่ควรลืมอายุ ควรระลึกถึงอายุดุจคนถูกไฟไหม้ศรีษะ เพราะการที่ความตายจะไม่มาถึงนั้น ไม่มีเลย

112 ถ้าจะเศร้าโศกถึงคนที่ตายไปแล้ว ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตนเองด้วย ที่ตกอยู่ในอำนาจของความตายตลอดเวลา

113 ห้วงน้ำที่เต็มฝั่ง พึงพัดต้นไม้ซึ่งเกิดที่ตลิ่งไปฉันใด, สัตว์มีชีวิตทั้งปวง ย่อมถูกความแก่และความตายพัดไปฉันนั้น

114 เพราะฉะนั้น สาธุชน สดับคำสอน ของท่านผู้ไกลกิเลสแล้ว พึงกำจัดความร่ำไรรำพันเสีย เห็นคนล่วงลับจากไป ก็ทำใจให้ได้ว่า
ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เราจะขอให้เป็นอยู่อีกย่อมไม่ได้

115 ดูซิ.. ถึงคนอื่น ๆ ที่กำลังเตรียมตัว เดินทางไปตามยถากรรม ที่นี่สัตว์ทั้งหลายเผชิญกับอำนาจ ของพญามัจจุราชเข้าแล้ว
กำลังดิ้นรนกันอยู่ทั้งนั้น

116 เมื่อวัยเสื่อมสิ้นไปอย่างนี้ ความพลัดพรากจากกัน ก็ต้องมีโดยไม่ต้องสงสัย หมู่สัตว์ที่ยังเหลืออยู่ ควรเมตตา เอื้อเอ็นดูกัน
ไม่ควรจะมัวเศร้าโศกถึงผู้ที่ตายไปแล้

117 วันคืนล่วงไปเท่าไรชีวิตก็พร่องลงไปเท่านั้น เวลาแห่งความตายรุกไล่เข้าไปทุกอิริยาบท ฉะนั้นจึงไม่ควรประมาทเวลา

118 จะอยู่ในอากาศ อยู่กลางมหาสมุทร เข้าไปสู่หลืบเขา ก็ไม่พ้นจากมฤตยูได้ ประเทศคือดินแดนที่มฤตยูจะไม่รุกรานผู้อยู่ ไม่มี

119 กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยล่อมละลำดับไป ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น พึงทำบุญอันนำสุขมาให้

120 เมื่อเศร้าโศกไป ก็เท่ากับทำร้ายตัวเอง ร่างกายจะผ่ายผอม ผิดพรรณจะซูบซีดหม่นหมอง ส่วนผู้ที่ตายไปแล้ว
ก็จะเอาความโศกเศร้านั้นของเรา ไปช่วยอะไรตัวเขาไม่ได้ ความร่ำไรรำพัน ย่อมไร้ประโยชน์

121 ผู้ที่เศร้าโศกถึงคนตาย ก็เหมือนเด็กร้องให้ เหมือนกับขอพระจันทร์ที่โคจรไปในอากาศ คนตายถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้ว่าญาติคร่ำครวญถึง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศก เขาไปแล้วตามวิถีทางของเขา

ความตายเป็นของเที่ยง ความมีชีวิตอยู่เป็นของไม่เที่ยง

ภาวนาอยู่ดังนี้เรื่อยๆ ไป ถ้าเป็นผู้มีปัญญินทรีย์แก่กล้า
จะสามารถข่มนิวรณ์ธรรมต่างๆ เสียได้ มีมรณารมณ์ตั้งมั่น
เข้าถึงอุปจารสมาธิโดยไม่ยาก นอกจากนั้นยังบังเกิดมรณสัญญา
ที่น่าปรารถนาถึง ๘ ประการ คือ เกิดความรู้สึกเกี่ยวกับความตายขึ้นมาว่า

๑. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกประมาณแค่วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือ ๒๔ ชั่วโมงเท่านั้น

๒. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกประมาณแค่วันหนึ่ง คือ ๑๒ ชั่วโมงเท่านั้น

๓. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกประมาณเพียงครึ่งวัน คือ ๖ ชั่วโมงเท่านั้น

๔. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกชั่วเวลาเพียงกินข้าวอิ่มหนึ่งเท่านั้น

๕. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกชั่วครึ่งเวลากินข้าวอิ่มเท่านั้น

๖. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อได้อีกชั่วเวลากินข้าวได้เพียง ๔ หรือ ๕ คำเท่านั้น

๗. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกชั่วเวลาเคี้ยวข้าวคำหนึ่งเท่านั้น

๘. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกชั่วระยะเวลาหายใจเข้าออกเท่านั้น

มรณสัญญาข้อ ๗ และ ๘ ทำให้มีสติเจริญดีเยี่ยม ถูกต้องตามพุทธประสงค์
ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสชมเชยไว้ ส่วนข้อที่ ๑ - ๖ สำหรับผู้คนในสมัยปัจจุบันนี้
ผู้ใดสามารถทำได้ก็นับว่าดีมากแล้ว

การเจริญมรณานุสสตินั้น ได้ผลอย่างมากเพียงอุปจารสมาธิ
ไม่เข้าถึงอัปปนาเนื่องจาก มรณะ ความตายที่นำมาใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน
นั้นเป็นสภาวะที่ทำให้เกิดความสังเวช เมื่อใช้ระลึกถึงอารมณ์ดังนี้เนืองๆ
ทำให้เกิดความสะดุ้งกลัวขึ้นกับจิต จิตจึงไปไม่ถึงอัปปนาสมาธิ

อานิสงส์อันเกิดแต่การเจริญมรณานุสสติมีดังนี้

- ทำให้ละความประมาทมัวเมาในชีวิตลง มองเห็นภัยในวัฏฏสงสาร

- ได้สัพพภเวสุอนภิรตสัญญา คือ ความกระสันที่จะเลิกอยู่ในภพทั้งปวง
สำหรับหน่อเนื้อพุทธะทั้งหลาย จะเิกิดความตื่นตัว ไม่ประมาทในการสร้างบารมี
เร่งบำเพียรบ่มเพาะจิตเพื่อพระโพธิญาณ เพื่อช่วยเหลือสัตว์ในวัฐสงสาร

- ละความยินดีในชีวิต ไม่รักชีวิต

- ติเตียนการกระทำอันเป็นบาป

- ยินดีด้วยสัลเลขะ ความมักน้อย สันโดษ ไม่สั่งสมของบริโภค

- สันดานปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน ไม่รักใคร่หวงแหนในสมบัติทั้งปวง

- จิตจะคุ้นเคยใน อนิจจสัญญา มองเห็นอนิจจังในรูปธรรม นามธรรม
เป็นเหตุให้ได้ทุกขสัญญา อนัตตสัญญาตามมา เห็นพระไตรลักษณ์ชัดแจ้งในสันดาน

- เมื่อเห็นพระไตรลักษณ์แล้ว แม้ต้องตายย่อมไม่นึกหวาดกลัว สติไม่หลงเลอะเลือน

คนที่ไม่เจริญมรณานุสสติ เมื่อถึงเวลาใกล้ตายย่อมสะดุ้งตกใจกลัวตาย เหมือนถูกเสือร้ายตะครุบตัวไว้กำลังจะกัดกินเป็นอาหาร หรือเหมือนคนอยู่ในเงื้อมมือโจร หรือเพชฌฆาต หรือเหมือนคนอยู่ในมือยักษ์ หรือในปากอสรพิษ

ข้อคิดเกี่ยวกับชีวิตและความตาย

๑. ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ สั้นนิดเดียว ลำบากยากเข็ญ มีทุกข์มาก แต่ก็ไม่มี เครื่องหมายให้รู้ว่า จะตายเมื่อใด

๒. สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว พยายามหาวิธีที่จะไม่ต้องตาย ก็ไม่สำเร็จ ถึงจะมีชีวิตอยู่ต่อไป จนชราภาพก็ต้องตาย อยู่ดี เพราะธรรมดาของสัตว์โลกเป็นอย่างนี้

๓. สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ก็มีภัยจากการที่ต้องตายเป็นนิตย์ เปรียบเหมือน ผลไม้สุกงอม แล้ว ก็มีภัย จากการที่ต้องร่วงหล่นไปในเวลาเช้า

๔. ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ต้องแตกดับไปเป็นธรรมดาเปรียบเหมือนภาชนะดินทุกชนิด ที่ช่างหม้อปั้นแล้วในที่สุดก็ต้องแตกไป
๕. ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนโง่ ทั้งคนฉลาด ล้วนตกอยู่ในอำนาจของมฤตยู บ่ายหน้า ไปสู่ความตายทั้งนั้น

๖. เมื่อเหล่าสัตว์จะตาย ต้องไปปรโลกแน่นอนแล้ว บิดามารดาก็ไม่สามารถช่วย บุตรธิดาของตนไว้ได้ หรือหมู่ญาติก็ไม่สามารถจะช่วยพวกญาติของตนไว้ได้

๗. จงดูเถิด ทั้งๆ ที่มีหมู่ญาติมาเฝ้ารำพึงรำพันอยู่ โดยประการต่างๆ แต่ผู้จะตาย กลับถูกมฤตยูคร่าตัวเอาไปแต่เพียงผู้เดียว เหมือนโคที่เขาจะฆ่า ถูกนำไปแต่เพียงตัวเดียว

๘. สัตว์โลกตกอยู่ในอำนาจของความแก่และความตายอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายทราบชัดถึงสภาพของสัตว์โลกแล้ว จึงไม่เศร้าโศกกัน

๙. ท่านหาได้รู้ทางของผู้มา (เกิด) หรือผู้ไป (สู่ปรโลก) ไม่ เมื่อไม่เห็นปลายสุดทั้งสองด้าน ถึงจะคร่ำครวญไปก็ไร้ประโยชน์

๑๐. ถ้าผู้ที่ทำตนให้เดือดร้อนด้วยการหลงใหลคร่ำครวญ จะทำประโยชน์อะไร ให้เกิดขึ้นได้บ้าง นักปราชญ์ผู้รู้แจ้งก็คงจะทำอย่างนั้นตามไปแล้ว

๑๑. การร้องไห้ เศร้าโศก ไม่สามารถทำใจของผู้คนให้สงบได้ มีแต่จะเกิดทุกข์มากยิ่งขึ้น ทั้งร่างกายก็จะพลอยทรุดโทรม

๑๒. จะเบียดเบียนตนเอง มีร่างกายซูบผอม ผิวพรรณหมองคล้ำ การร่ำไห้คร่ำครวญ ไม่ได้ช่วยอะไรแก่คนที่ตายไปแล้ว จึงไม่มีประโยชน์อะไรเลย

๑๓. คนที่สลัดความโศกไม่ได้ มัวทอดถอนใจถึงคนที่ตายไปแล้ว ตกอยู่ในอำนาจของ ความเศร้าโศก มีแต่จะทุกข์มากยิ่งขึ้น

๑๔. จงดูเถิด ถึงแม้คนอื่นก็กำลังจะตายไปตามยถากรรม สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ต่างตกอยู่ในอำนาจมฤตยู กำลังพากันดิ้นรน (กลัวตาย) ด้วยกันทั้งนั้น

๑๕. สัตว์ทั้งหลายตั้งความหวังอยากจะให้เป็นอย่างอื่น (คือไม่ตาย) แต่ก็ไม่สมหวัง ความพลัดพรากจากกันมีอยู่เป็นประจำ ท่านจงพิจารณาดูความจริงแท้ของสัตว์โลกเถิด

๑๖. แม้จะมีคนอยู่ได้ถึงร้อยปี หรือเกินกว่านั้นไปบ้าง ก็ต้องพลัดพรากจากหมู่ญาติ ทิ้งชีวิตไว้ในโลกนี้ อยู่ดี

๑๗. เพราะเหตุนั้น เมื่อได้สดับธรรมเทศนาของพระท่านแล้ว ก็พึงระงับ ความคร่ำครวญ ร่ำไห้เสีย ยามเมื่อเห็นคนล่วงลับดับชีวิตไป ก็ให้กำหนดรู้ว่า เขาตายไปแล้ว เราจะให้ เขาฟื้นคืนมาอีกไม่ได้

๑๘. ธีรชนผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด พึงกำจัดความเศร้าโศกที่เกิดขึ้นเสียโดยฉับพลัน เหมือนเอาน้ำดับไฟ ที่กำลังไหม้ลุกลาม และเหมือนลมพัดปุยนุ่น

๑๙. ผู้แสวงสุขแก่ตน พึงระงับความเศร้าโศกคร่ำครวญร่ำไห้ ความโหยหา และ ความโทมนัส พึงถอนลูกศรคือความเศร้าโศกเสียให้ได้

๒๐. ผู้ถอนลูกศรนี้ได้แล้ว ก็จะมีอิสระ ได้ความสงบใจ ผ่านพ้นความเศร้าโศกทั้งปวง ไม่มีความเศร้าโศกมีแต่เยือกเย็นใจ

๒๑. ชีวิตนี้น้อยนัก มนุษย์ย่อมตายภายในร้อยปี ถึงใครจะอยู่เกินกว่านั้นไปบ้าง ก็ต้องตายเพราะชราเป็นแน่แท้

๒๒. ชนทั้งหลายเศร้าโศก เพราะสิ่งที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ทั้งๆ ที่สิ่งที่ยึดถือนั้น ไม่มีอะไรเที่ยงแท้เลย ผู้ที่มองเห็นว่า ความพลัดพรากจากกันจะต้องมีแน่นอนเช่นนี้แล้ว ก็ไม่ควรอยู่ครองเรือน

๒๓. คนที่สำคัญหมายสิ่งใดว่า " นี้ของเรา" ก็จะต้องจากสิ่งนั้นไปเพราะความตาย พุทธมามกะผู้เป็นบัณฑิต ทราบความข้อนี้แล้ว ก็ไม่ควรเอนเอียงไปในทาง ที่จะยึดถือว่า เป็นของเรา

๒๔. คนที่รักใคร่กัน ตายจากไปแล้ว ก็จะไม่ได้พบเห็นกันอีก เหมือนคนตื่นขึ้น ไม่เห็นสิ่งที่พบในฝัน

๒๕. (ขณะมีชีวิตอยู่) คนที่มีชื่อเรียกขาน ก็ยังพอได้พบเห็นกันบ้าง ได้ยินเสียงกันบ้าง คนที่ตายไปแล้วก็เหลือแต่ชื่อเท่านั้น ที่จะพูดถึงกันอยู่

๒๖. ผู้ที่พึงพอใจในสิ่งที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมสละความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ และความหวงแหนไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ผู้เข้าถึงธรรม (มุนี) ทั้งหลายเห็น ความปลอดโปร่ง จึงสละสิ่งที่เคยแหนหวงเที่ยวไปได้

๒๗. บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวถึงผู้ไม่แสดงตนในภพ (ผู้บรรลุแล้ว) ว่าเป็นบุคคลที่สอดคล้อง เหมาะสมกับภิกษุผู้บำเพ็ญความหลีกเร้นถอนจิต (ผู้ที่ยังไม่บรรลุ) ซึ่งอยู่ในเสนาสนะที่สงัด

๒๘. ผู้เข้าถึงธรรม (มุนี) ไม่ติดอยู่ในสิ่งทั้งปวง ไม่ทำอะไรๆ ให้เป็นที่รัก ให้เป็นที่ชัง ความรำพึงรำพันและความหวงแหน จึงมิได้แปดเปื้อน เหมือนน้ำไม่แปดเปื้อนใบบัว

๒๙. หยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว วารีไม่ติดบนดอกบัวฉันใด ผู้เข้าถึงธรรม(มุนี) ก็ไม่ติดในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ทราบ ฉันนั้น

๓๐. ผู้ห่างไกลจากกิเลส ผู้มีปัญญา ไม่สำคัญหมายในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่รับทราบ ไม่ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยวิธีการอื่น ทั้งไม่ยินดียินร้าย

๓๑. บุคคลใด ประพฤติชั่วร้าย ไม่มีความคิด ถึงจะมีชีวิตตั้งร้อยปี ชีวิตของเขา ก็หาประเสริฐไม่ ส่วนบุคคลใด มีศีล มีความคิด แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ก็เป็นชีวิต ที่ประเสริฐกว่า

๓๒. บุคคลใด เกียจคร้าน มีความเพียรทราม ถึงจะมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี ชีวิตของเขา ก็หาประเสริฐไม่ ส่วนบุคคลใด มุ่งหน้าทำความเพียรอย่างมั่นคง แม้มีชีวิตอยู่ เพียงวันเดียว ก็เป็นชีวิตที่ประเสริฐกว่า

๓๓. บุคคลพึงสละทรัพย์เมื่อจะรักษาอวัยวะ พึงยอมสละอวัยวะเมื่อจะรักษาชีวิต และยอมสละทุกอย่างทั้งอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต เมื่อคำนึงถึงธรรม

๓๔. อายุสังขารจะพลอยประมาทไปกับมนุษย์ทั้งหลาย ที่ยืน เดิน นั่งนอนอยู่ ก็หาไม่

๓๕. เพราะฉะนั้น ในชีวิตที่ยังเหลืออยู่นี้ คนเราควรทำกิจหน้าที่ของตน และไม่พึง ประมาท

๓๖. ดอกไม้ที่สุมกันอยู่เป็นกอง นายช่างที่ฉลาด สามารถนำมาร้อย เป็นพวงมาลัย มีคุณค่ามากได้ฉันใด ชีวิตคนเราที่เกิดมานี้ ก็ควรจะใช้ ประกอบกุศลกรรม ความดีให้มาก ฉันนั้น

๓๗. บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ในปรโลก

๓๘. ความตายเราก็มิได้ชื่นชอบ ชีวิตเราก็มิได้ติดใจ เราจักทอดทิ้งกายนี้ อย่างมีสติ สัมปชัญญะ มีสติมั่น

๓๙. ความตายเราก็มิได้ชื่นชอบ ชีวิตเราก็มิได้ติดใจเรารอคอยเวลา เหมือนคนรับจ้าง ทำงานเสร็จแล้วรอรับค่าจ้าง

๔๐. วัยสิ้นไปตามคืนและวัน

๔๑. วันคืนล่วงไป ชีวิตของคนก็พร่องลงไป จากประโยชน์ที่จะทำ

๔๒. วันคืนไม่ผ่านไปเปล่าๆ

๔๓. กาลเวลาล่วงไป วันคืนผ่านพ้นไป วัยก็หมดไปทีละตอนๆ ตามลำดับ

๔๔. รูปกายของสัตว์ย่อมร่วงโรยไป แต่ชื่อและโคตรไม่เสื่อมสลาย

๔๕. เมื่อจะตาย ทรัพย์แม้แต่น้อยก็ติดตามไปไม่ได้

๔๖. กาลเวลาย่อมกลืนกินสัตว์ทั้งหลาย พร้อมกับตัวมันเอง

๔๗. ถ้าบุคคลจะเศร้าโศกถึงคนที่ไม่มีอยู่แก่ตนคือ คนที่ตายไปแล้ว ก็ควรจะเศร้าโศก ถึงตนเอง ซึ่งตกอยู่ในอำนาจของพญามัจจุราชตลอดเวลา

๔๘. วัยย่อมเสื่อมลงไปเรื่อย ทุกหลับตา ทุกลืมตา

๔๙. เมื่อวัยเสื่อมสิ้นไปอย่างนี้ ความพลัดพรากจากกันก็ต้องมีโดยไม่ต้องสงสัย หมู่สัตว์ที่ยังเหลืออยู่ควรเมตตาเอื้อเอ็นดูกัน ไม่ควรจะมัวเศร้าโศกถึงผู้ที่ตายไปแล้ว

๕๐. ผู้ที่เศร้าโศกถึงคนตาย ก็เหมือนเด็กร้องไห้ขอพระจันทร์ที่โคจรอยู่ในอวกาศ คนตายถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้ว่าญาติคร่ำครวญถึง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศก เขาไปแล้วตามวิถีทางของเขา

๕๑. ตอนเช้า ยังเห็นกันอยู่มากคน พอตกเย็น บางคนก็ไม่เห็นกัน เมื่อเย็น ยังเห็นกันอยู่ มากคน ตกถึงเช้า บางคนก็ไม่เห็นกัน

๕๒. จะตายก็ไปคนเดียว จะเกิดก็มาคนเดียว ความสัมพันธ์ของสัตว์ทั้งหลาย ก็เพียงแค่ มาพบปะเกี่ยวข้องกันเท่านั้นเอง

๕๓. วันคืนผ่านไป อายุก็เหลือน้อยเข้าทุกที

๕๔. แม่น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นสู่ที่สูงฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่เวียนกลับมาสู่วัยเด็กได้อีก ฉันนั้น

๕๕. ผู้เข้าถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ดำรงอยู่กับปัจจุบัน ฉะนั้นผิวพรรณจึงผ่องใส

๕๖. คืนวันผ่านไป ไม่มีอะไรให้เราเดือดร้อน ไม่เห็นมีอะไรที่เราสูญเสียในโลก ฉะนั้น เราจึงนอนสบายใจคิดแต่จะช่วยปวงสัตว์

๕๗. เวลาแต่ละวัน อย่าให้ผ่านไปเปล่าๆ จะน้อย หรือมาก ก็ให้ทำอะไรไว้บ้าง

๕๘. เร่งทำความเพียรเสียแต่วันนี้ ใครจะรู้ว่าพรุ่งนี้จะตายหรือจะอยู่

๕๙. คนขยันทั้งคืนวัน ไม่ซึมเซา เรียกว่า มีแต่ละวันนำโชค

๖๐. จะมีชีวิตอยู่ก็ไม่เดือดร้อน ถึงจะตายก็ไม่เศร้าโศก ถ้าเป็นปราชญ์ มองเห็นที่หมายแล้ว ถึงอยู่ท่ามกลางความเศร้าโศก ก็ไม่เศร้าโศก

67
จักรวาลแบบพุทธ / "ความตาย"
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2014, 09:30:53 PM »


บทความทรงคุณค่าเรื่องยาว
ตอนเดียวจบ "ความตาย"

โอกาสตายในช่วงชีวิตต่างๆ

ปัจจุบันดาวเคราะห์ที่เราอาศัยช่างเต็มไปด้วยภยันตราย เกิดสงครามและอาชญากรรมปะทุขึ้นที่นั่นที่นี่ หากติดตามข่าวรอบโลกก็จะเห็นเหมือนทั่วทุกหย่อมหญ้าเต็มไปด้วยคาวเลือดและการล้างผลาญชีวิต ทั้งมหันตภัยจากธรรมชาติและมหาภัยจากน้ำมือมนุษย์ด้วยกันเอง

ข่าวอุบัติเหตุบางชิ้นเช่นเครื่องบินตก หรือการตายหมู่จากตึกถล่มนับร้อยนับพันนั้น มักเผยแพร่ออกไปในระดับโลก เพราะเป็นภาพการตายพร้อมกันที่น่าสะเทือนขวัญ แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่าประชากรโลกตายกันอยู่แล้ววันละแสนห้า!

ไม่มีใครทำรายงานเช่น ‘ข่าวด่วน! มีคนตายในวันเดียวถึงเกือบสองแสนคน’ นั่นเพราะพวกเรากระจายกันตายแบบห่างๆ เราอาจต้องรู้จักชาวบ้านร่วมครึ่งตำบลจึงจะได้ยินข่าวการตายของใครสักคนหนึ่ง แต่เราต้องรู้จักคน ๖ พันล้านจึงจะทราบว่ามีการตายวันละเกือบสองแสน

แต่อย่างไรความจริงก็คือความจริง วันหนึ่งเกือบสองแสน ซึ่งเกือบเท่าจำนวนคนตายที่ฮิโรชิม่าและนางาซากิรวมกันเมื่อครั้งตกอยู่ในสภาพหนูทดลองระเบิดนิวเคลียร์ ๒ ลูกแรก ทุกคนสามารถจดจำการตายหมู่อันเป็นประวัติศาสตร์ทมิฬของญี่ปุ่นได้ แต่วันนี้ไม่มีใครปั่นข่าวให้ทราบเลยว่าความตายระดับใกล้เคียงกันก็เกิดขึ้น และวันพรุ่งนี้จะมีคนตายเพิ่มอีกหนึ่งแสนห้าหมื่นคน!

ยังมีความเชื่อตามสามัญสำนึกอยู่อีกประการหนึ่ง คือคนเราควรจะตายตอนแก่ อาจเพราะพวกเรารู้จักคนกันไม่มากพอ จึงมักเห็นคนอยู่ได้จนแก่กัน หากขอให้คนรุ่น ๔๐ แจ้งรายชื่อเพื่อนร่วมรุ่นซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ส่วนใหญ่ก็อาจแจ้งได้เป็นจำนวนเลขหลักหน่วย คือไม่ถึงสิบด้วยซ้ำ ต้องขอให้คนรุ่น ๕๐ ขึ้นไปนั่นแหละ จึงจะเริ่มเห็นน้ำเห็นเนื้อขึ้นมาหน่อย นี่จึงทำให้เรารู้สึกว่าช่วงเวลาในชีวิตส่วนใหญ่อยู่ห่างไกลจากความตายไปมาก แม้หนังสือพิมพ์จะลงข่าวเด็กและวัยรุ่นเสียชีวิตกันโครมครามทุกวันก็ตาม

ในหัวข้อนี้ขอแสดงให้เห็นเพียงสถิติที่น่าสนใจ เพื่อให้เห็นว่าความจริงก็คือคนเรามีโอกาสตายได้ทุกช่วงวัย ผ่านความน่าจะเป็นของโรคภัยต่างๆดังนี้

๑) ช่วง ๑ ขวบ มีโอกาสตายเพราะโรคเกี่ยวกับการย่อยอาหารจำพวกไขมัน โปรตีน แป้ง คือกินไม่ได้เพราะร่างกายไม่สามารถสลายได้หมด และเด็กบางคนก็อาจเป็นเบาหวานได้ตั้งแต่เกิดเพราะตับอ่อนเสีย ไม่สามารถสร้างอินซูลินได้

๒) ช่วง ๑๐ ขวบ มีโอกาสตายเพราะโรคมะเร็งที่สมองและไต

๓) ช่วง ๒๐ ปี มีโอกาสตายจากอุบัติเหตุได้มากที่สุด และอาจมีโรคจำพวกปลายประสาทสมองเสื่อมผิดปกติ คล้ายอัลไซเมอร์

๔) ช่วง ๓๐ ปี มีโอกาสตายเพราะโรคติ่งเนื้อในลำไส้ ซึ่งมีอยู่แล้วตั้งแต่เกิด แต่เริ่มเจอเอาช่วงนี้เอง บางคนมีโอกาสรู้ตัวได้เพราะมีประวัติในพ่อแม่ (ซึ่งถ้าเป็นกรรมพันธุ์จริงก็อาจเจอติ่งเนื้อแล้วตัดไส้ส่วนนั้นทัน) วัยนี้บางทีก็มีเรื่องเบาหวานและตับอ่อนเสื่อมให้เห็นเสมอๆ

๕) ช่วง ๔๐ ปี มีโอกาสตายเพราะโรคมะเร็งกันสูง เพราะสภาพร่างกายเริ่มเสื่อม ไม่ยากที่จะเกิดการสร้างเซลล์ใหม่อย่างผิดปกติ หรือไม่ยิ่งอยู่นานก็เท่ากับยิ่งรับสารเคมีจากสภาพแวดล้อมอันเป็นพิษเข้าไปสะสมมากขึ้นๆ แล้วทำให้เซลล์แบ่งตัวผิด พอเป็นมะเร็งแล้วก็จะต่างจากเนื้องอกตรงที่กระจายได้ ลุกลามได้ พอเป็นขึ้นมาถ้าไม่ตรวจพบและรักษาแต่เนิ่นๆจึงมักไปกันไว

พ้นจากช่วงนี้สามารถตายได้ทุกเมื่อด้วยความน่าจะเป็นของทุกโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคสมัยที่ต้องเร่งรีบ หรือต้องแบกภาระการงานอันหนักอึ้งเพื่อผ่อนจ่ายทรัพย์สมบัติต่างๆ จนเริ่มมีข่าวคนนอนฟุบหลับเพื่อพักงีบบนโต๊ะทำงานแล้วไม่ตื่นขึ้นมาอีกเลยประปราย ที่โน่นที่นี่ และต่อไปก็มีแนวโน้มว่าอาจได้ยินกันบ่อยขึ้น นี่ยังไม่รวมความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุบนท้องถนนที่แต่ละปีคร่าชีวิตหญิงชายไปมากมายเกินจะนับอีกต่างหาก

ไม่มีใครเกิดมาพร้อมกับความรู้ตัวว่าติดกลุ่มเสี่ยงต่อมรณภัยรูปแบบไหน แต่ทุกคนสามารถเลิกประมาทได้เท่าเทียมกัน หันมาตระหนักว่าเราตายได้ทุกเมื่อ และการเตรียมตัวเตรียมใจพร้อมอยู่เสมอเป็นนโยบายที่ฉลาดของคนไม่ประมาทกับชีวิต

ความตายเป็นความเที่ยงแท้ที่ไม่แน่นอน

อันว่าความตายนั้นเป็นของที่คู่กับชีวิตของเรา เมื่อเราเกิดขึ้นมา เราก็ต้องคำพิพากษาเสียแล้วว่าเป็นนักโทษประหาร ต้องถึงแก่ความตาย ด้วยการลงโทษประหารในวันใดวันหนึ่ง โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ซึ่งโทษประหารชีวิตนี้มิได้ระบุแน่นอนชัดเจนว่า เราจะตายเมื่อไหร่ จะตายที่ไหน จะตายอย่างไร แต่ที่เที่ยงแท้ก็คือว่า เราทุกคนที่เกิดมาจะต้องพบความตายโดยหลีกเลี่ยงมิได้ ความเที่ยงแท้ที่ไม่แน่นอนนี้ เราควรที่จะกำหนดจิตกำหนดใจของเราให้ยอมรับความจริง คือยอมรับสภาพที่รู้แน่นอนว่าต้องตายนั้นประการหนึ่ง กับสภาพที่ไม่รู้ได้แน่นอนว่าจะตายเมื่อไหร่ จะตายที่ไหน จะตายอย่างไรอีกประการหนึ่ง เพื่อเตรียมจิตเตรียมใจของเราให้พร้อม เพื่อรับสภาพการณ์ที่ความตายจะมาเยือน ถ้าทำได้อย่างนี้ก็จะมีประโยชน์อย่างมาก ประโยชน์ยิ่งกว่านั้นก็คือว่า จะได้หาหนทาง หาวิธีที่เราจะก้าวพ้นความตายทั้งหลายไม่ให้มัจจุราชมารมองเห็นตัวของเราได้ ทั้งนี้ ก็โดยอาศัยพระธรรมคำสอนที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงสั่งสอนไว้ ให้เราประพฤติปฏิบัติและจะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ …

คติธรรมพิจารณามรณานุสติ

อายุคนเราเฉลี่ย 76ปี.... นั่นคือแค่ 3592 อาทิตย์ เท่านั้น

คุณหมดเวลากับการนอนไปถึง 1317 อาทิตย์

ซึ่งเท่ากับคุณเหลือเวลาที่ใช้ดำเนินชีวิตแค่ 2635 อาทิตย์!!!

......สองพันกว่าอาทิตย์เองที่ได้อยู่บนโลก......

ถามตัวคุณเองดีกว่า ว่าจะยอมเศร้าซักกี่อาทิตย์ เหงาซักกี่อาทิตย์ มีความสุขซักกี่อาทิตย์....... เพราะทั้งหมดเราก็มีอยู่แค่สองพันกว่าอาทิตย์เอง

ที่กล่าวว่า อายุเฉลี่ยของคนเราคือ76ปีนี้ นี้คือค่ามัชฌิม....ค่าเฉลี่ยอายุคนทั่วไป บางคนอาจจะอยู่ได้นานกว่านั้น..... แต่อีกหลายๆคนก็อยู่ได้ไม่ถึง...... มันไม่มีอะไรจะมารองรับประกันได้เสียด้วยว่าใครจะอยู่ได้นานแค่ไหน..... ใครจะรู้ความตายแม้นพรุ่งนี้......

ครูบาอาจารย์ท่านจะเตือนให้พิจารณาถึงความตายให้บ่อยๆ ไม่ให้ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยทิ้งไปเปล่าๆ.....ให้เพียรพยายามเลิกละกิเลสในใจของตน เพื่อจะได้ไม่ต้องมาเกิดเพื่อตายอีก

ความตายเป็นทุกข์ก็จริง...... แต่ท่านสอนให้พิจารณาทุกข์ ให้เอาทุกข์ที่จะต้องมาถึงแน่ๆมาเตือนตน...... ความตายจึงมีประโยชน์กับผู้ที่รู้จักพิจารณา
ความตายเป็นสัจจธรรมที่ฟังเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆธรรมดา เหมือนเป็นเรื่องพื้นๆ..... แต่สำหรับผู้ที่พิจารณาโดยแยบคายจะได้อุบายดับทุกข์-ละกิเลสอันยอดเยี่ยม

มรณํง เม ภวิสสติ...... พึงระลึกถึงความตายที่จะมาถึงตัวเราเถิด

สักวันหนึ่งข้าพเจ้าต้องตาย
สักวันหนึ่งท่านก็ต้องตาย
สักวันหนึ่งคนที่ข้าพเจ้ารักต้องตาย
สักวันหนึ่งคนที่ท่านรักก็ต้องตาย

สักวันหนึ่งของที่ข้าพเจ้าชอบต้องพัง
สักวันหนึ่งของที่ท่านชอบก็ต้องพัง
สักวันข้าพเจ้าต้องพลัดพราก
สักวันท่านก็ต้องพลัดพราก

สักวัน.... เราต้องตาย
สักวัน.... สักวัน.....

68
อภิญญาปฎิบัติ / หนังสือ "กายสิทธิ์"
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2014, 09:29:52 PM »
หนังสือ "กายสิทธิ์" หนังสือเก่า หนา 307 หน้า อายุเกือบ 20 ปี หายาก เขียนขึ้นตั้งแต่สมัยวัดยังเป็นสำนักสงฆ์อยู่ เนื้อหาภายในเล่มรวบรวม ประวัติ คำสอน ปฎิปทา และ เรื่องราว ของ หลวงปู่ดู่ หลวงตาม้า รวมถึงเรื่องราวพิเศษต่างๆ เกี่ยวกับ หลวงปู่ หลวงตา ที่หาอ่านได้ยาก

ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้ แบบไฟล์ PDF
คลิ๊ก http://goo.gl/vzf6hu (.rar 68 MB)

69


ธรรมะบำบัดกับ วัดพุทธพรหมปัญโญ (วัดถ้ำเมืองนะ)

ว่ากันว่า ธรรมะก็ถือว่าเป็นธรรมชาติบำบัดอย่างหนึ่ง ปัจจุบันจึงมีผู้คนมากหน้าหลายตาที่พยายามจะหาความสงบสุขที่แท้จริงให้กับตัวเอง โดยการเข้าวัดปฏิบัติธรรม สวดมนต์ ภาวนา สร้างสมาธิ สติ และปัญญา นอกจากจะสร้างบุญกุศลแล้ว ยังเป็นวิธีที่เราจะได้อยู่กับตัวเองให้ได้มากที่สุด และช่วยบำบัดสุขภาวะจิตอีกด้วย

หากใครที่กำลังหาสถานที่สงบจิตสงบใจ เพื่อปฏิบัติธรรม ขอแนะนำ วัดพุทธพรหมปัญโญ หรือวัดถ้ำเมืองนะ วัดที่มีบรรยากาศอันแสนสงบ เย็นสบาย อบอวนไปด้วยความเป็นธรรมชาติสุดๆ ด้วยหมู่แมกไม้นานาพรรณ ทั้งอากาศที่ร่มเย็นทำให้ผู้มาเยือนส่วนใหญ่ต่างรู้สึกถึงความเป็นธรรมชาติที่หลอมรวมมนุษย์ขึ้นมา วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เป็นวัดที่อยู่ห่างจากชายแดนไทย-พม่าเพียง 1.5 กิโลเมตร บริเวณตำบลเมืองนะตามตำนานเล่าว่าพระสมณโคดมมาโปรดมนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน พระองค์ทรงเสด็จมาที่เทือกเขาแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่รวมกันของแม่น้ำหลายสาย ปัจจุบันเรียกว่า “สันดอยถ้วย” เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาก็ต่างมีผู้คน และสัตว์มากราบไหว้สักการบูชา และก็มีช้างเผือกเชือกหนึ่งได้เก็บ “ผลนะ” (ลูกสมอ) มาถวาย เมื่อพระพุทธเจ้ารับผลนะก็กลายเป็นทองคำทันที ต่อมาพญาช้างเผือกจึงถวายตัวเป็นทาสรับใช้ อยู่มาวันหนึ่งพญาช้างเผือกลงไปเล่นน้ำในลำธาร จึงพรานป่ารุมทำร้ายพญาช้างเผือกจนขาดใจตาย แล้วเมื่อพรานป่าไปพบพระพุทธเจ้า พระองค์จึงเทศนา สั่งสอนให้เลิกทำชั่ว และได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนโดยมีชื่อว่า “เมืองนะ”

นอกจากนี้บริเวณตำบลเมืองนะยังแฝงด้วยประวัติศาสตร์อันล้ำค่าคือ เป็นเส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระนเรศวรที่ยกไปตีทัพอังวะ ที่มารุกรานเมืองงาย และเมืองแสนหวีซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาในสมัยนั้น

วัดถ้ำเมืองนะ แม้จะอยู่ติดชายแดน แต่เดินทางไปไม่ลำบากอย่างที่คิด เพราะวัดแห่งนี้อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่เพียง 2 ชั่วโมง ถ้านำรถส่วนตัวมาก็มุ่งหน้าไปทางอ.เชียงดาว เมืองเจอสามแยกเมืองงาย (ห่างจากวัดประมาณ 44 กิโลเมตร) ให้เลี้ยวขวาเพื่อไปทางเมืองงาย เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1178 ขับตรงไปเรื่อยๆตรงกิโลเมตรที่ 41 ก็จะถึงหมู่บ้านเมืองนะเหนือ เลี้ยวขวาเข้าไปในทางเล็กๆ ขับไปตามทางบังคับประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดพุทธพรหมปัญโญ หรือวัดถ้ำเมืองนะในที่สุด

แต่หากมาด้วยรถโดยสาร ให้ขึ้นรถบัสสีส้มแดงที่ไปเชียงดาว ขึ้นที่ขนส่งช้างเผือกแล้วไปลงแถวๆคิวรถสีเหลืองสายที่ 2 ที่ อ.เชียงดาว จากนั้นบอกเขาว่าไปวัดหลวงตาม้า เพียงเท่านี้ท่านก็ได้ไปแสวงหาบุญที่วัดถ้ำเมืองนะได้สำเร็จ

ซึ่งวัดถ้ำเมืองนะแห่งนี้ทำให้ผู้มาเยือนหลายต่อหลายคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวว่า นี่คือสถานที่ปฏิบัติธรรมที่เป็นธรรมชาติบำบัดอย่างแท้จริง ด้วยกรรมวิธีที่ท่านพระสงฆ์และแม่ชีของที่นี่อบรมสั่งสอนอย่างเป็นมิตร ทำให้เรื่องของธรรมมะดูเป็นเรื่องง่ายๆ เข้าใจได้ไม่ยาก และทำให้ตระหนักถึงทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่ธรรมชาตินำพาทั้งสิ้น ดังนั้นการดำเนินชีวิตอย่างเป็นธรรมชาติ รู้จักเรียนรู้จากธรรมชาติ จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบัน

รับรองได้ว่าพุทธศาสนสถานแห่งนี้ จะเป็นสถานที่ทำให้ผู้มาเยือนทั้งหลายไม่ผิดหวัง และได้รับอะไรดีๆกลับไปดำเนินชีวิตต่อในโลกที่กว้างขวางใบนี้อย่างแน่นอน . . .

เชิญรับชมสารคดีท่องเที่ยวเชิงธรรมะ วัดพุทธพรหมปัญโญ (ถ้ำเมืองนะ) ให้เสียงพากย์โดย นิรุตติ์ ศิริจรรยา รับชม คลิ๊ก: http://youtu.be/Bh6HdoefqMI

Wat Thum Muangna the celestial cave temple of Thailand documentary. Watch English subtitle version Click: http://youtu.be/hcC1XkapVrc

Link สำหรับรับชมบนมือถือหรือแท็ปเล็ต
[[ http://youtu.be/O0h6-1l5lOM ]]

70


Biography of Luangpu Du Phromapanyo

Childhood

Luangpu Du Phromapanyo (originally known by the name of “Du”) was born on Friday, May 10th 1904 in Ban Khaomao in the U-Thai district of the Ayutthaya province. His birthday coincides with Visakah Puja day (Vesak), the day of Buddha's birth and the most important Buddhist holiday, in the 6th moon of the year of the dragon, or rather year of the “large snake” according to the Thai zodiac. Du was born into a farmer family of four consisting of his father “Phud”, his mother “Phuang” and two older sisters. Each year when the rice harvesting season was over, his parents made and sold Thai desserts, to supplement the family income.

A remarkable occurrence is recounted about Du's babyhood. One day when his parents where preparing “Khanom Khai Mongkhol” (a Thai dessert), his mother placed him onto a mattress on the terrace outside the house. This was during the rainy season when the surroundings of the house, the fields, the lower lying houses, barns, and animal pens were all flooded, as it often happens during the monsoon season in Ayutthaya. While the parents were busily working in the kitchen, the family's dog suddenly started to act strange. It barked outside on the terrace, ran into the kitchen, and then ran back outside still barking. Since the dog normally didn't act in such a way, the parents went outside to investigate. They were in for a shock to find that their baby boy had fallen into the water below the terrace which had no fence. However, instead of drowning immediately, the baby was floating on its mattress. Du's father at once jumped into the water to rescue the child. The parents could not help wondering about the incident and the inviolacy of their baby. How came the boy fell into the water? He was still too young to move around and the wind didn't blow hard enough to have carried the mattress over the edge of the terrace. And how did he manage to stay afloat on his mattress? Why didn't the mattress get soaked and drown or turn over? There were too many questions and improbabilities, so the parents believed that their son possessed special powers which protected him from harm.

Soon after the incident, when he was still a baby, Du's mother died. At the age of four he lost his father too. Being orphaned as a young child, he was then raised by his grandmother and his older sister Sum. After having faced tragedy and bereavement very early in his life, Du received his education at the temple school of Wat Klangkhlongsabna, Wat Pradusongthom, and Wat Niwedthammapawad. It was then when he decided to devote his life to Buddhism and to live as a monk under the Buddhist rule. The following years Du spent as a novice at the temple.

Ordination And Monastic Life

Du was properly ordained when he was 21 years old. His ordination ceremony took place at Wat Sakae in Ayutthaya on Sunday, the 10th of May 1925. It was the 4th day of the waning moon in the sixth month. The preceptor of the ceremony was Luangpu Glan, the abbot of Wat Prayaatikararm. The first ordination teacher was Luangpu Dae, the abbot of Wat Sakae, and Lang Pu Chaai of Wat Glaangklong Sabua functioned as the ordination-proclaiming teacher (second ordination teacher). Luangpu Du was given the monastic name of “Phromapanyo Bikkhu”. In his first Buddhist lent, he studied the dharma scriptures at Wat Pra Doo Song Dharma which was called Wat Phra Doo Rong Dharma at the time. His instructor was Chao Khun Nuang. The title “Than Chao Khun” is a title unofficially used when speaking to or of a monk of a higher rank; it means “The Right Venerable”. His two other teachers were Phra Khru Chom and Luangpu Rod (also known as Suea). The title “Phra Khru” means “Venerable Teacher” (which is lower than Chao Khun in the monastic order).

His meditation teachers were Luangpu Glan, his ordination preceptor, and Luangpu Pao. The latter was not only one of Luangpu Glan's master students, but he was also Luangpu Du's uncle. In addition to these venerable teachers, Luangpu Du studied and practised meditation with a variety of accomplished masters in different places, for example in the Suphan Buri and Saraburi provinces. In his third lent, he started to adhere to (the thirteen) austere practices, which constitute a Buddhist ascetic practice targeted at removing the defilements.

Luangpu Du abided by a strict moral code for all of his life, so he ate just one meal per day. It wasn't until 1982 when his students and followers asked him to eat two meals per day instead, because his health was weakening as he was getting older. This new practice gave him more flexibility in receiving worshippers who came to offer him food. When his students asked his opinion about having two meals, he replied that its only advantage is giving Buddhist followers who live far away a second chance to make merit by offering a second meal.

The Dharma Dream

One night around 1957 after his evening chanting routine, Luangpu Du had gone to bed. In that night he dreamt that he ate three bright shining stars. While he was chewing on the three stars, he felt that they were crisp and cracking and he suddenly woke up in surprise. He wondered about his strange dream and came to the conclusion that the three bright stars represented the Triple Gem (the Buddha, the Dharma, and the Sangha). Realising this, he began to recite the prayer of the refuge in the Triple Gem. He was extremely delighted by the experience and simultaneously reached complete confidence about holding onto the Triple Gem as the right method that leads the core of Buddhism. Henceforth, he determined to make meditation on the the Triple Gem (and the threefold refuge) a centrepiece of his meditation practice.

Loving Kindness

Luangpu Du has always welcomed any visitor regardless of class and background and he treated everybody equally. He never allowed his helpers to hold back guests or deny them entry. Luangpu Du was aware that many of his guests came a long way to see him to pay respect to him and to ask Dharma questions. If visitors were kept from meeting him at their convenience, they would be very disappointed. Luangpu Du showed loving kindness to his visitors and students. If they showed interest in mediation practice he was delighted to give them support and advice. He never grew tired of giving dharma talks to his followers.

Luangpu Du was not only a very patient man, but he also embodied the complete absence of arrogance. He was well-mannered all of his life and never treated anyone haughtily.

Once Somdet Phra Buddhajarn (Seng) of Wat Suthat Thepwararam came to see him, one of the highest dignitaries in Thai Sangha, second only to the Supreme Patriarch, who is also perhaps better known as “Than Chao Khun Sangiam ”. He was one lent older than Luangpu Du and came to pay veneration to him. He also praised him as his teacher. When Chao Khun Sangiam finished paying respect to Luangpu Du he returned the gesture, and so they were paying respect to each other.

It was a rare occurrence in a world that is dominated by power struggles, stubbornness, and arrogance. Most people tend to present themselves as clever and superior, but are unaware that in reality they are obsessed with and lead by their own defilements.

Luangpu never criticised the dharma practice of any institution in insulting terms. His point of view was that “a good person doesn't beat other people”, not even with words and his students took this as an example of good conduct. Generally, he was a quiet but outspoken man who did not make a lot of words, but always meant what he said. He emphasised steady dharma practice and reminded people not to be negligent. Some of his sayings were: “The good is with you, just continue practising”, “ never stop watching your mind and thought”, “don't forget that everyone is going to die”, and “consider impermanence, suffering, and non-self.”

Luangpu Thuad

Luangpu Doo taught his students to hold Luangpu Thuad of Wat Chang Hai in great esteem. He always praised Luangpu Thuad saying that he has fully realised the ten perfections (i.e. the stages of spiritual perfection achieved by a bodhisattva on his path to Buddhahood ). He suggested that Luangpu Thuad is a bodhisattva who will be fully enlightened in the future. He guided all of his students and followers to put their faith in Luangpu Thuad and to keep him always in mind, especially in times of difficulty during meditation or when facing obstacles in life. Luangpu Du used to say that “Luangpu Thuad is already waiting to give help to everyone. Just don't give up or abandon your dharma practice.”

Amulet Making

Luangpu Du had made different types of amulets although he did not intend to make it a profession. He produced small Buddha images, because he realised that there were many people who needed something material to remind them of the Buddhist teachings. There were students who sought only the pure dharma and there were others who relied on talismans and amulets. He used to say that “being attached to a good talisman is better than being attached to a bad talisman”.

Although, Luangpu Du confirmed that all of his amulets received his blessings, there was one thing which clearly stands above amulets, namely meditation practice. He always told people who came to him to ask him for a talisman that the very best talisman they could think of was in their own body.
Late Period

Around 1984 Luangpu Du's health started to decline and he fell ill frequently because he allowed himself too little resting time. He welcomed guests and students from different parts of the country all the time. Even when he was seriously ill, he insisted on continuing this as usual. The monk who took care of Luangpu Du said that there were occasions when he was shivering and had to be carried to welcome visitors. Yet, he never complained and he never made anyone worry about him; he never even talked about his pain. Later in life he was examined by a physician who found that he suffered from heart disease and ordered him to rest and to seek treatment at the hospital. He refused it. At the end of 1989 he proclaimed several times that he would soon leave his physical body. Although he suffered intensely he maintained outward composure through patient meditation. His mind was unaffected and serene, so people did not notice that there was anything wrong with him.

On Tuesday, 16th January 1990 in the afternoon he talked to one of his students who was a Thai air force officer. During conversation his face glowed and he said: “I will no longer feel pain.” In the night of that day many followers came to visit him. Luangpu Du said: “there are no parts of my body that don't feel pain,” and he confirmed “I am leaving.” In his last words to his followers, he warned them not to be careless and not to neglect the dharma. He compared meditation practice to boxing: “Dharma practise is like a boxer in the ring. You have to start punching right away and don't fool around.” After that he retired to his kuti where he died peacefully on Wednesday, 17th January 1990 at the age of 85. On 20th April 1991 royal a funeral service was arranged in his honour. Luangpu Du spent 65 years of his life in robes. Though he is gone, his teaching lives on in the hearts and minds of his students.

-------------------------
Translate to English from
Thai version by Thomas & Ann
www.watthummuangna.com

71


Short Biography of Venerable Acariya Varongkot Virivatharo (Luangta Ma) Wat PhuttaPhrommapanyo (Wat Tham Muang Na) Thambon Muang Na, Amphor Chiang Dao, Chiang Mai, Thailand.

Early Life

Luangta Ma's original name is Varongkot Suwannakun. He was born on November 23rd 1944 in the Noraniwat district of Sakon Nakhon, a north-eastern province of Thailand. His father's name is Wandee Suwannakun and his mother's name is Sorpar Suwannakun. His parents had three children of which Vorangkot was the second.

Ordination

Luangta Ma has been a lay disciple of Luangpu Du (the highly respected Bodhisattva monk of Ayutthaya) and practised meditation under Luang Pu's guidance for more than 20 years. When his teacher was over 70 years old, he implored Luangta Ma to ordain as a monk. Luangta Ma complied with his teacher's wish.

He was ordained on Sunday, July 24th 1988 at 10:06 AM at Wat Buddhathaisawan in the Ayutthaya province. Venerable Ajahn Pathrakit (Luangpor Huan), the abbot of Wat Buddhathaisawan, was the preceptor of the ceremony. Venerable Ajahn Suangthorn Dhammanithed (nicknamed Boonsong) acted as first ordination teacher and Venerable Ajahn Pichit Kitarthorn (nicknamed Sanae) acted as the second ordination teacher.

Pilgrimage and Ascetic Practices

After Luangta Ma spent one lent in robes, he went to pay respect to Luangpor Huan and asked his permission to leave the monastery in order to go on a pilgrimage. He also took the Thirteen Austere Practices, which constitute an ascetic practice considered helpful by the Buddha for removing the defilements. Luangpor Huan gave his consent, upon which Luangta Ma went to pay respect to Luangpu Du at Wat Sakae.

He arrived at night time when Luangpu Du was the only person residing at the abode at Wat Sakae. Luangpu Du gave him a sermon and wished him well. He finally added: “Wherever you stay, I will be with you. Take this amulet. If you need my assistance, just turn to the amulet.” With these words he gave him an amulet with Luangpu Du's image imprinted on it, some travel utensils, and 500 Baht in cash.

Luangpu Du told Luangta Ma to go up north, yet he did not state any reason for it. In the morning, Luangpu Du sent a monk to bring Luangta Ma a lunch box, since he knew that Luangta Ma was too busy with preparations that morning and didn't go on alms round. After these events, Luangta Ma followed his master's advice and went north. He became a solitary wandering monk and practised Tudong (pilgrimage on foot) through northern Thailand for several years. He often lived in caves to practice meditation.

He experienced many odd and unusual occurrences during this time. One day he reached Prathat Jomjaeng which was formerly known as Prathat Jomkithi. At this place, he meditated in the open and prayed to find a secluded place suitable for solitary meditation. Miraculously, an old man appeared in the morning and told Luangta Ma about a remote cave in the forest of Muang Na. If it wasn't for the old man's story, he would moved onwards to the Four Buddha Footprints in Mae Rim.

Muang Na Cave

Luangta Ma, however, decided to follow the old man's lead. He sought the cave which the old man had told him about and -while on his way- asked Luangpu Du for guidance through serene contemplation. It wasn't long until Luangta Ma found the cave, which the locals simply called Muang Na cave. The cave was exactly as the old man had told him. When he arrived there, Luangta Ma took up mediation and contacted Luangpu Du through contemplation.

In 1990 it became known to Luangta Ma that Luangpu Du had left his physical body. He went to Ayutthaya to join the royal funeral ceremony. After the ceremony, he returned to the Muang Na. Since then Luangta Ma practised solitary meditation at the cave for more than ten years. During this time he was supported by the Thai and Shan villagers who live in the Muang Na area.

Originally, Luangta Ma set out to seek enlightenment in this life, as epitomised by the Arahat ideal. Yet, when he advanced his meditation practice, he connected to previous stores of Bodhicitta. He felt deep sympathy for all beings and prayed to stay on, rather than to pass into Nirvana, in order to help all beings in the heaven, human, animal, and hell realms.

Consequently, Luangta Ma decided to give up the solitary life in order to help others to practise. He began building a temple around the cave in Muang Na. At the same time, he started to teach the Dhamma to people who came to the temple and he instructed them in meditation practice.

In recent years, Luangta Ma was able to attract a considerable following. He is now widely recognised in Northern Thailand; he is also known for his great kindness. It is obvious to his students that Luangta Ma follows the ideal of the Bodhisattva. He teaches the Dhamma to his students, as well as meditation and amulet making in the tradition of Luangpu Du. Thus Luangta Ma continues the lineage of his great Ayutthayan master Luangpu Du.

English Documentary with subtitle
http://youtu.be/hcC1XkapVrc

72
นานาสาระและเสวนาทั่วไป / ทำพาสปอร์ตไปสวรรค์!
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2014, 09:26:57 PM »


ทำพาสปอร์ตไปสวรรค์!

ครั้งหนึ่งมีลูกศิษย์หลวงปู่ได้มาเล่าให้ท่านฟังว่า ได้เคยไปร่วมพิธีกรรมจัดสำเภาทัวร์สวรรค์ ซึ่งอ้างถึงพุทธบริษัท มีพระพุทธเจ้าเป็นผู้จัดการบริษัท ญาติโยมเป็นหนึ่งในบริษัททั้งสี่ ให้มาทำพิธีเสริมสิริมงคล หลวงปู่ท่านก็ไม่ว่าอะไร จนมาถึงการทำพาสปอร์ตเพื่อไปสวรรค์ หลวงปู่ท่านจึงพูดขึ้นว่า

“ของข้าไม่ต้องทำหรอก พาสปอร์ต ขอให้แกว่า พุทธัง ธัมมัง สังฆัง ไม่ต้องไปทำหรอกทั้งพาสปอร์ต ทั้งวีซ่า ข้ารับรอง”

คำพูดของหลวงปู่ ท่านเน้นถึงการปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง เพื่อตนเอง และได้ด้วยตนเอง เพราะถ้ามีวิธีการเช่นนี้จริงแล้ว พระพุทธองค์ก็คงไม่ต้องเปลืองคำสอนถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระผู้มีเมตตา กรุณาคุณอันยิ่งใหญ่แห่งสามโลก คงใช้วิธีการแบบนี้มานานแล้ว พวกเราคงได้ไปสวรรค์ นิพพานกันได้สมตามความปรารถนา

73


ครั้งหนึ่ง น่าจะในราวประมาณปี ๒๕๓๐ มีรถบัสเข้ามาจอดที่วัดสะแก จากนั้นก็มีคนแต่งชุดขาวจำนวนหลายคนเดินออกมา ตรงไปที่กุฎิ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ซึ่งขณะนั้นมีลูกศิษย์หนุ่มสาวอยู่ไม่กี่คน

คนชุดขาวเหล่านั้น จะว่ามากราบนมัสการท่านก็หามิได้ เพราะเมื่อมาถึงที่หน้ากุฏิท่านแล้ว ก็พากันนั่งหลับตา หันไปทางหลวงปู่ ท่าทางเหมือนจะพยายามนั่งสมาธิเพ่งใส่หลวงปู่ สักครู่คนที่เป็นหัวหน้าก็มานั่งรวมอยู่ด้วย

ลูกศิษย์หลวงปู่ที่อยู่ในเหตุการณ์ ก็งง ๆ ไม่เข้าใจว่าพวกเขามาทำไมกัน แล้วทำไมไม่พูดไม่จา เอาแต่นั่งประจัญหน้ากับหลวงปู่ จากนั้นไม่นานนัก ผู้ที่ดูว่าจะเป็นหัวหน้าคณะ ก็ลุกเดินออกไปอาเจียนที่หน้าบันไดทางขึ้น จากนั้น สานุศิษย์ที่เหลือของเขาก็พากันลุกเดินไปขึ้นรถ

ลูกศิษย์หลวงปู่ มาเข้าใจในภายหลังว่าพวกคณะรถบัสที่มานี่ เขาเที่ยวตระเวนลองของ ลองกำลังจิตครูบาอาจารย์ พอดีมาเจอของจริง ก็เลยแพ้ภัยตัวเอง ไม่รู้ว่าพวกเขาจะไปปรามาสครูอาจารย์ที่ไหนต่ออีก แต่อย่างน้อย จากประสบการณ์ที่ได้มาพบหลวงปู่ ก็น่าจะทำให้เขาสำนึกขึ้นบ้างว่า "ของจริงยังมีอยู่"

74


อานิสงส์ความสุขแก่ผู้ปฏิบัติพรหมวิหาร 4 ถึง 11 ประการ
..........................................................................
พรหมวิหาร วิหาร แปลว่า ที่อยู่ พรหม แปลว่า ประเสริฐ คำว่า พรหมวิหาร หมายความว่า เอาใจจับอยู่ในอารมณ์แห่งความประเสริฐ หรือเอาใจไปขังไว้ในความดีที่สุด ซึ่งมีคุณธรรม 4 ประการ คือ

เมตตา
กรุณา
มุทิตา
อุเบกขา

คุณธรรม 4 ประการนี้ นอกจากความเป็นมนุษย์ผู้เประเสริฐแล้ว ยังเป็นอานิสงส์ความสุขแก่ผู้ปฏิบัติถึง 11 ประการ ดังนี้

1.สุขัง สุปฏิ นอนหลับเป็นสุข เหมือนนอนหลับในสมาบัติ
2.ตื่นขึ้นมีความสุข ไม่มีความขุ่นมัวในใจ
3.นอนฝัน ก็ฝันเป็นมงคล
4.เป็นที่รักของมนุษย์ เทวดา พรหม และภูติผีทั้งหลาย
5.เทวดา พรหม จะรักษาให้ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง
6.จะไม่มีอันตรายจากเพลิง สรรพาวุธ และยาพิษ
7.จิตจะตั้งมั่นในอารมณ์สมาธิเป็นปกติ
สมาธิที่ได้ไว้แล้วจะไม่เสื่อม มีแต่จะเจริญยิ่งขึ้น
8.มีดวงหน้าผุดผ่องเป็นปกติ
9.เมื่อจะตาย จะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
10.ถ้ามิได้บรรลุมรรคผลในชาตินี้ผลแห่งการเจริญ
พรหมวิหาร 4 นี้ จะส่งผลให้ไปเกิดในพรหมโลก
11.มีอารมณ์แจ่มใส จิตใจปลอดโปร่ง ทรงสมาบัติ
วิปัสสนา และทรงศีลบริสุทธิ์

เมตตา แปลว่า ความรัก หมายถึง รักที่มุ่งเพื่อปรารถนาดี โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ จึงจะตรงกับคำว่า เมตตาในที่นี้ ถ้าหวังผลตอบแทนจะเป็นเมตตาที่เจือด้วยกิเลส ไม่ตรงต่อเมตตาในพรหมวิหารนี้

ลักษณะของเมตตา ควรสร้างความรู้สึกคุมอารมณ์ไว้ตลอดวัน ว่า เราจะเมตตาสงเคราะห์ เพื่อนที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย จะไม่สร้างความลำบากให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ความทุกข์ที่เขามี เราก็มีเสมอเขา ความสุขที่เขามี เราก็สบายใจไปกับเขา รักผู้อื่นเสมอด้วยรักตนเอง

กรุณา แปลว่า ความสงสาร หมายถึง ความปรานี ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความสงสารปรานีีนี้ก็ไม่หวังผลตอบแทนเช่นเดียวกัน สงเคราะห์สรรพสัตว์ที่มีความทุกข์ให้หมดทุกข์ตามกำลังกาย กำลังปัญญา กำลังทรัพย์

ลักษณะของกรุณา การสงเคราะห์ทั้งทางด้านวัตถุ โดยธรรม ว่าผู้ที่จะสงเคราะห์๋นั้นขัดข้องทางใด หรือถ้าหาให้ไม่ได้ ก็ชี้ช่องบอกทาง

มุทิตา แปลว่า มีจิตอ่อนโยน หมายถึง จิตที่ไมีความอิจฉาริษยาเจือปน มีอารมณ์สดชื่นแจ่มใสตลอดเวลา คิดอยู่เสมอว่า ถ้าคนทั้งโลกมีความโชคดีด้วยทรัพย์ มีปัญญาเฉลียวฉลาดเหมือนกันทุกคนแล้ว โลกนี้จะเต็มไปด้วยความสุข สงบ ปราศจากอันตรายทัั้งปวง คิดยินดี โดยอารมณ์พลอยยินดีนี้ไม่เนื่องเพื่อผลตอบแทน การแสดงออกถึงความยินดีในพรหมวิหาร คือไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น

อุเบกขา แปลว่า ความวางเฉย นั่นคือ มีการวางเฉยต่ออารมณ์ที่มากระทบความวางเฉยในพรหมวิหารนี้ หมายถึง เฉยโดยธรรม คือทรงความยุติธรรมไม่ลำเอียงต่อผู้ใดผู้หนึ่ง

คนที่มีพรหมวิหาร 4 สมบููรณ์ ศีลย่อมบริสุทธิ์
คนที่มีพรหมวิหาร 4 สมบูรณ์ ย่อมมีฌานสมาบัติ
คนที่มีพรหมวิหาร 4 สมบูรณ์ เพราะอาศัยใจเยือกเย็น ปัญญาก็เกิด

75


แนะนำหลักการแนวทางอีกรูปแบบหนึ่งในการปฎิบัติ
ตามจริตสายหลวงปู่ดู่หลวงตาม้า . . . (บทความตอนเดียวจบ)

ขั้นตอนที่ ๑
ให้ท่านกล่าว นะโม ขึ้นมา ๓ ครั้งดังนี้

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
(๓ ครั้ง)

ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบนมัสการนอบน้อมต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตที่จะเกิดขึ้นข้าพเจ้าขอระลึกถึงพระปัญญาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว ทำให้จิตของพระพุทธองค์เต็มไปด้วยความบริสุทธิ์แจ่มใสเรียกว่า พระบริสุทธิคุณ และเมื่อพระองค์มีพระบริสุทธิคุณ และมีพระปัญญาธิคุณแล้ว ก็มิได้นิ่งนอนใจ หวังเพียงเพื่อที่จะช่วยให้สัตว์โลกทั้งหลาย ที่กำลังระทมไปด้วยความทุกข์ได้พ้นทุกข์ ซึ่งมีวิธีการที่จะทำให้จิตของตนเองนั้น เกิดความสว่างจากความดี จากคุณธรรม เป็นพระคุณในข้อที่ ๓ อันนี้เรียกว่า พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไม่มีประมาณข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมรับ ระลึกถึงพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับตั้งแต่บัดนี้ . . .

พุทธัง ชีวิตัง เมปูเชมิ
ธัมมัง ชีวิตัง เมปูเชมิ
สังฆัง ชีวิตัง เมปูเชมิ

ข้าพเจ้าขอเอาชีวิตจิตใจ ร่างกาย ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ในบางครั้งที่เราทำสมาธิ เราอาจจะไม่มีดอกไม้ธูปเทียนเราก็ใช้วิธีเอาชีวิต จิตใจ ถวายเป็พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เพราะว่าพระพุทธองค์ พระธรรม พระสงฆ์ จะเป็นผู้ชุบชีวิต ทำจิตของเราจากการที่เป็นผู้ที่มีสันดานบาปหยาบช้า เป็นปุถุชน ให้เป็นสาธุชนหรือกัลยาณชน ในที่สุดจนเป็นพระอริยบุคคล เนื่องจากว่า ในพระพุทธศาสนานั้น ไม่ได้สอนเพียงให้ทำดี และละความชั่ว แต่มีขั้นตอนอีกอย่างหนึ่งคือ วิธีการทำจิตให้บริสุทธิ์ เมื่อจิตที่บริสุทธิ์แจ่มใสแล้ว จะเป็นจิตที่เป็นเหมือนพระอริยะ จึงกล่าวได้ว่า ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาเอกของโลก เนื่องจากพระพุทธองค์ ทรงค้นพบสัจจะธรรม ทรงพบทุกข์ - เหตุของทุกข์ - วิธีการดับทุกข์ และผลที่ได้รับจากการดับทุกข์ . . .

หลังจากนั้น ให้ตั้งใจสมาทานศีล เนื่องจากว่าในวันหนึ่งๆ นั้น เราอาจจะไปทำผิดศีลข้อหนึ่งข้อใด การสมาทานศีลจะป็นการทำจิตให้พร้อม เพราะเมื่อสมาทานศีลแล้ว จิตของเราก็จะบริบูรณ์ โดยให้ระลึกนึกถึงดังนี้

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (กราบ 3 ครั้ง)
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ตติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ตติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ตติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ อทินนาทานา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ (หรือ: อพรัมจริยา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ :ก็ได้ข้อนี้เป็นการระงับในกามสำหรับเวลาก่อนเราจะปฎิบัติ) มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ สุราเมรยะ มัชชปมาทัฎฐานา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ

** อิมานิ ปัญจสิกขา ปทานิ สมาธิยามิ ** (3 ครั้ง)

สีเลนะ สุคติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปทา สีเลนะ นิพพุตติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโส ธะเย

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ทั้งครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๓ การที่เราได้กล่าวไตรสรณคมน์นี้ ก็เป็นการประกาศตนเองเป็นพุทธมามกะ เมื่อประกาศตนเป็นพุทธมามกะได้ ก็จะต้องมีศีล ศีลของฆราวาส หรือศีลของปุถุชนทั่วไป คือ ศีล ๕ ศีลแปลว่า ความปกติ จะเป็นปกติได้ก็อยู่ที่กฎเกณฑ์ของสังคม พระพุทธเจ้าทรงมองสังคมว่า ถ้าไม่มีการล่วงละเมิดศีลทั้ง ๕ ข้อนี้ สังคมนั้น ก็จะเป็นสังคมที่สงบ เนื่องจากว่า ถ้าคนทุกรูป ทุกนาม ถือศีล รักษาศีล ศีลก็จะรักษาตัวเรา และรักษาสังคม . . .

หลังจากนั้น ให้พึงกำหนดจิต
กล่าวอาราธนาบารมีพระ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะะหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ ครั้ง)

พุทธัง อาราธนานัง กะโรมิ
ธัมมัง อาราธนานัง กะโรมิ
สังฆัง อาราธนานัง กะโรมิ

นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา (๓ ครั้ง)
นะโม โพธิสัตโต พรหมปัญโญ (๓ ครั้ง)

ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขออารธนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ทั้งแสนโกฎิจักรวาล พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ทั้งแสนโกฎิจักรวาล พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย อันมีบารมีหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด บารมีของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เป็นที่สุด และหลวงตาม้า ขอได้โปรดได้ควบคุมการปฏิบัติสมาธิของข้าพเจ้า ให้มีจิตใจที่สะอาด ให้มีจิตใจที่สว่าง และมีจิตใจที่สงบด้วยเทอญ . . .

ลำดับต่อไปให้นึกถึง ความผิดที่เราได้เคยกระทำมา ด้วยกาย วาจา ใจ หรืการประมาทพลาดพลั้งในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ซึ่งการกระทำของเราจะเป็นไปด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม เราตั้งใจที่จะขอขมาโทษ เพราะว่ากรรมที่ได้ประมาทในพระรัตนตรัยนั้น จะทำให้จิตของเราเนิ่นช้าต่อคุณธรรมที่ควรจะได้ จงดำริขึ้นในใจว่า

โยโทโส โมหะจิตเต นะพุทธัสมิง ปาปะกะโต มะยา
ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

โยโทโส โมหะจิตเต นะธัมมัสมิง ปาปะกะโต มะยา
ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

โยโทโส โมหะจิตเต นะสังฆัสมิง ปาปะกะโต มะยา
ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

ทำจิตของเรานึกถึงบารมีของ หลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ ทำจิตของเรานึกถึงบารมีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมทั้งบุญที่เราเคยทำมาตั้งแต่อดีตชาติ ปัจจุบัน และในขณะนี้ แผ่เมตตาไปโดยไม่มีประมาณไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายว่า

พุทธัง อนันตัง ธัมมัง จักรวาลัง สังฆัง นิพพานะปัจจะโยโหตุ

การที่เราจะทำสมาธิต่อไปนั้น ให้นั่งเอาเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาวางไว้บนมือซ้าย มือขวากำพระไว้ในมือ กำพระไว้ในอุ้งมือโดยให้หัวแม่มือชนกันตั้งกายให้ตรง ทำกายให้ตรงไม่ต้องยืดหรือเกร็งตัวจนเกินไปนั่งให้สบายๆ เสร็จแล้วนำความรู้สึกนึกคิดทั้งหมดมาวางไว้ที่ตรงหน้าผากเหมือนเราคิดอะไรในใจ ความคิดอะไรวางไว้ตรงนั้นซึ่งหน้าผากนี้ จะเป็นฐานหนึ่งของลมหายใจเช่นกันไม่ต้องนึกถึงลมหายใจเข้าออกเพราะลมหายใจเป็นของที่ละเอียด แต่จิตของเราจะเป็นของที่หยาบของที่หยาบจะไปจับของที่ละเอียดนั้น เป็นไปได้ยากอันแรกเราก็ำหนดฐานของลมหายใจไว้ตรงที่กลางหน้าผาก หรือจะใช้การกำหนดภาพองค์พระ กำหนดภาพ หลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ ในใจ ก็ได้ เบาๆสบายๆ ไม่เพ่ง นึกสบายๆ เหมือนเวลานึกถึงพ่อกับแม่ แล้วบริกรรมในใจว่า

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

หรือใช้คาถามหาจักรพรรดิเป็นองค์บริกรรมก็ได้เช่นกัน

การบริกรรมนี้ก็ให้บริกรรมไปเรื่อยๆ ไม่ต้องรีบไม่ต้องร้อนไม่ต้องเร่ง ทำใจให้สบายๆทีนี้ บางครั้งก่อนที่เราจะบริกรรมนั้น เราอาจจะสูดลมหายใจเข้าไปลึกๆเพื่อเป็นการปรับอารมณ์ ให้จิตของเราสบายโปรดจำไว้อย่างหนึ่งว่า ให้ปฏิบัติหรือให้ทำอย่างสบายๆอย่าไปเคร่งเครียด อย่าไปเร่งรัดเพราะจะทำให้ไม่ได้อะไรขึ้นมาให้ทำใจเราให้ยึดอยู่แต่คำภาวนา

หน้าที่ของเราก็คือ การบริกรรมนี้ เขาเรียกว่า การทำงานของจิตเนื่องจากว่าจิตของคนเรานั้นจะสนองทันทีในการคิด วุ่นวาย สับสน ปรุงแต่งเมื่อมีการปรุงแต่งแล้ว จิตของเราก็จะหาความสงบไม่ได้เมื่อจิตหาความสงบไม่ได้ ก็เป็นจิตที่วุ่นวายสับสนเมื่อจิตวุ่นวายสับสน ก็หาความสุขไม่ได้ดังพุทธภาษิตของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ว่า

นัตถิ สันติปะรัง สุขังสุขยิ่งกว่าความสงบไม่มี

การที่เราได้มาบำเพ็ญสมาธิ ได้ชื่อว่า เรากำลังทำให้จิตได้ทำงานเพื่อให้เกิดความสงบเพราะจิตที่สงบเท่านั้นจึงจะเป็นการพักจิต ฟอกจิตคนเราทุกวันนี้ อาบน้ำชำระร่างกายวันละ ๓ เวลาแต่ว่าไม่ได้ฟอกจิตของตัวเองเลยเรารับประทานอาหารวันละหลายมื้อ แต่ว่าเราไม่ได้ให้อาหารแก่จิตเลยเมื่อจิตซึ่งปราศจากความสงบ ความสมบูรณ์พูนสุขเข้าไปสะสมอยู่ในตัวจิตนั้นจะไปเกิดเป็น อาสวะ เป็นกิเลสซึ่งหมักหมมพอหมักหมมแล้วก็จะเกิดเป็นพิษต่อเจ้าของเขาเหล่านั้นจะหาหนทาง หรือหาตัวเองไม่พบเนื่องจากว่า ไม่ได้เข้ามาสู่การปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนาเพราะการปฏิบัติภาวนาเป็นวิถีทางที่พระอริยเจ้าทั้งหลายได้ดำเนินมาเราซึ่งได้ชื่อว่า เป็นลูกหลานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ควรกะทำตาม ประพฤติยึดแนวตามที่เรากล่าวกันว่าเรานับถือบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้น

การนับถือบูชาคือการยอมรับและนำมาปฏิบัติตามพระพุทธองค์ทรงสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ก็ด้วยวิถีแห่งการบำเพ็ญสมาธิ

เพราะเมื่อจิตสงบแล้ว ก็จะเกิดกำลังของจิตขึ้นเมื่อเราวิเคราะห์ไตร่ตรองได้แล้วเราก็มีปัญญารู้ตามว่า สิ่งนั้นผิด สิ่งนั้นถูกโดยจิตใจของเราเองหรือเรียกว่า เป็นคนที่รู้จริง ไม่ได้รู้ตามทฤษฎีคนที่รู้ตามทฤษฎีนั้น โอกาสที่จะทำจิตใจของตนเองเพื่อที่จะค้นคว้าเข้าไปหาจิตของตนเองนั้นเป็นไปได้ยาก
การที่เราบำเพ็ญภาวนาและกล่าวไตรสรณคมน์นั้นเมื่อจิตของเรายังไม่สงบนิ่งก็ให้กำหนดให้จิตเห็นเป็นตัวหนังสือปรากฎขึ้นในห้วงใจของเราที่จิตของเรา เหมือนกับเรากำลังเขียนหนังสือลงบนกระดานดำหรือเขียนหนังสือฉายลงบนจอภาพพอเราภาวนาว่า พุทธัง สะระณัง คัจฉามิก็ให้เขียนเป็นตัวหนังสือไปตามนั้นทั้ง ๓ อย่างพอจิตของเราชำนาญก็จะทำได้ดีเนื่องจากว่าเราใช้จิตของเราทำงานถึง ๒ อย่างคือ

๑. การบริกรรมในใจ
๒. การกำหนดตัวหนังสือ หรือ กำหนดภาพองค์พระ

เมื่อจิตมีงานทำทั้ง ๒ อย่างการที่จิตจะส่ายก็จะลดน้อยลงจิตก็จะมุ่งมั่นอยู่กับการภาวนาอย่างสม่ำเสมอภาวนาไปเรื่อยๆ อย่างที่บอก ไม่ต้องรีบให้ถือ มัชฌิมา ปฏิปทาคือว่าในตอนแรกๆ ไม่ต้องนั่งนาน ทั้งนี้ เพราะจิตยังไม่คุ้นเคยก็จะเกิดทุกขเวทนาขึ้นมา คือการปวดเมื่อยตามร่างกายแรกๆ เราก็อย่าไปฝืนนั่งพอจิตของเราเริ่มมีกำลังขึ้น เราก็ค่อยๆ เพิ่มทีละนิดๆเพื่อให้จิตคุ้นอยู่กับคำภาวนา เมื่อจิตสงบแล้วมันจะมีตัวชี้ความสงบนั้นแสดงผลอยู่ที่ใจ
คือ ใจหรือจิตของเราจะไม่ฟุ้งซ่านจะมีความสบายกาย เบาเนื้อ เบาตัว เบาจิต เบาใจเนื่องจาก จิตกับกายกำลังแยกออกจากกัน

การที่จิตกับกายเริ่มแยกออกจากกันนั้นเกิดจากจิตที่เป็นสมาธิในขั้นหยาบ ขั้นกลาง ขั้นละเอียดเป็นลำดับๆไม่มีวิธีการใดเลย ในทางพระพุทธศาสนา ที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่าการบำเพ็ญสมาธิเพราะเมื่อมีสมาธิแล้ว สิ่งที่ติดตามมาก็คือ ปัญญาเราจึงมีปัญญาเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เนื่องจากว่าเราจะเห็นทุกสิ่งทุกอย่างในขณะที่เราไม่ได้บำเพ็ญสมาธิ เข้ามาอยู่ในสายตาของเราเข้ามาอยู่ในอารมณ์ของเราอยู่ตลอดเมื่อจิตของเราได้รับการทำสมาธิแล้ว จิตมีกำลังแล้วก็เริ่มที่จะพิจารณาความเป็นจริงความเป็นจริงที่แสดงออก เมื่อแสดงออกมาแล้ว เราจะเข้าใจสิ่งเหล่านั้นอันนี้คือ วิถีทางหรือกระบวนการที่ทำให้จิตเกิดวิปัสสนาวิปัสสนาคือปัญญา

ปัญญาเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมที่จะไปคุมศีล หรือคุมสมาธิคือว่าเราจะรักษาศีล ทำสมาธิโดยไม่ต้องมีใครมาบังคับเพราะปัญญาเราเริ่มจะรู้แจ้งเห็นจริงแล้วว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นคุณ เหมือนกับเราต้องรับประทานอาหาร หรือเราต้องหายใจพอสิ่งเหล่านี้เป็นคุณ เราก็ถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งจะประจำตัวของเรา

การที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้มาพบพระพุทธศาสนาและได้มาปฏิบัติธรรมนั้น เป็นสิ่งที่ยากเย็นมากเพราะบารมีของผู้ที่จะมาศึกษา มาปฏิบติภาวนานั้นเป็นบารมีขั้นสุดท้ายในการที่จะตัดภพ ตัดชาติการที่จะตัดภพตัดชาติได้ บารมีของท่านผู้นั้นจะต้องเข้มข้นจึงสามารถจะตัดสินได้เลยว่า บุคคลนั้นมีบารมีเข้มข้นหรือยังถ้าเราเริ่มที่จะพอใจในการบำเพ็ญสมาธิ ปฏิบัติภาวนานั่นแหละขอให้รู้ว่า บารมีของเรากำลังบังเกิดขึ้นและกำลังจะดำเนินไปสู่ทางที่ดีงามที่สุด

ให้บริกรรมไปเรื่อยๆ บริกรรมไป ทำจิต ทำใจ ตั้งสติให้คุมคำภาวนาไว้ตลอด
ไม่ให้จิตส่ายโอนเอียงไปข้างหน้าไปข้างหลังให้ทำจิตใจของเราให้เหมือนเรากำลังเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรากำลังอยู่เบื้องพระพักตร์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรากำลังอยู่ในแวดวงพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
เมื่อเราได้บำเพ็ญมาแล้วด้วยดีทุกครั้งก่อนที่เราจะเริ่มทำสมาธิหรือเริ่มภาวนาให้ตั้งจิตของเราให้มีเมตตา อ้างเอาบุญญาธิการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระปัจเจกพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
ขอบุญบารมีของหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด หลวงปู่ดู่ วัดสะแกรวมทั้งบุญบารมีของข้าพเจ้าที่ได้กระทำมาด้วยดีขอแผ่ผลบุญนี้ไปไม่มีประมาณ ณ กาลบัดนี้

พุทธัง อนันตัง ธัมมัง จักรวาลัง สังฆัง นิพพานะปัจจะโย โหตุ

สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา
พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพะลัง
อะระหันตานัญจะเตเชนะรักขัง พันธามิสัพพะโส

ขออำนาจบุญบารมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
จงมาสถิตติดอยู่ในใจของข้าพเจ้าตลอดไป

พุทธังกำลังกล้า ธัมมังกำลังแกร่ง สังฆังกำลังแรงด้วยฤทธิ์แห่งพระกำลัง ขอเชิญพระปัจเจกมาช่วยเสกกับพระอรหันต์ให้เป็นวิมานแก้วล้อมรอบครอบตัวพัวพัน คอยป้องกันภยันตราย

พุทธัง อธิษฐามิ
ขอการอธิษฐานของข้าพเจ้า จงสำเร็จได้ด้วยอานุภาพพระพุทธเจ้า
ธัมมัง อธิษฐามิ
ขอการอธิษฐานของข้าพเจ้า จงสำเร็จได้ด้วยอานุภาพพระธรรม
สังฆัง อธิษฐามิ
ขอการอธิษฐานของข้าพเจ้า จงสำเร็จได้ด้วยอานุภาพพระอริยสงฆ์ทั้งหลายด้วยเทอญ

ก่อนที่เราจะลืมตาขึ้นมานั้น ให้พึงพิจารณาว่าทุกสิ่งทุกอย่างพอเกิดขึ้น แล้วมาตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปนี่เป็นของจริงแท้แน่นอน เป็นสัจธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นด้วยพระญาณอันประเสริฐว่า ขึ้นชื่อว่าโลกแล้วจะต้องถึงคราวอันตรธานสูญหายวิบัติไปโลกภายนอกเช่น บุคคล สิ่งของทั้งหลายโลกภายใน คือโลกของเราเอง เปรียบเสมือนพวกร่างกาย
เมื่อถึงวันเวลาซึ่งเรายืมเขามา คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศธาตุมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย โดยมีจิตปฏิสนธิวิญญาณของเราครองอยู่ สิงสถิตรวมอยู่
จึงถือได้ว่า พ่อแม่เป็นผู้ที่ให้ร่างกายให้เรามาอาศัยอยู่ถึงเวลาแล้วเขาก็ต้องเรียกคืนไป โลกก็จะต้องกลับคืนไปสู่โลกไม่มีคนหนึ่งคนใดจะเอาทรัพย์สมบัติอะไรไปได้ แม้แต่เพียงหยิบมือ หรือเพียงธุลีเดียวสิ่งที่จะติดตัวไปได้นั้นคือ บุญ บาป ชั่ว ดี เท่านั้นหมั่นพิจารณาอยู่เสมอๆ ว่า พอร่างกายนั้นตาย เราไม่สามารถจะนำเอาอะไรไปได้การที่เราได้คิดอยู่ทุกวัน คิดถึงความตายอยู่เสมอๆจิตของเราก็จเป็นจิตซึ่งทรงอานุภาพ และเป็นจิตที่ไม่ประมาท
ในการที่จะสร้างคุณงามความดียิ่งๆ ขึ้นไปสมดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสบอกกับพระอานนท์ว่าตถาคตคิดถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก
พระดำรัสนี้ย่อมแสดงถึงว่าผู้มีสติพร้อมบริบูรณ์ก็จะระลึกความตายเหมือนสายฟ้าแลบเมื่อระลึกดังนี้ได้อยู่อย่างสม่ำเสมอ จิตของเราก็จะเป็นจิตที่เมตตาไม่อาฆาต ไม่พยาบาท บุคคลหนึ่งบุคคลใด

และก่อนที่จะลืมตา ให้ทำจิตของเราให้แจ่มใสแผ่เมตตาและสูดลมหายใจเข้าไปลึกๆอธิษฐานถึงความดีอันนี้ ขอให้ติดตัวตลอดไป . . .

. . .

เรียบเรียงบทความมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆใน
watthummuangna.com

ศึกษาเพิ่มเติมโดยละเอียดได้ที่
http://www.watthummuangna.com/home/practice

หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 27