เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - Webmaster

หน้า: 1 ... 22 23 [24] 25 26 27
346
อนุโมทนากับความรู้ดีๆครับ เรื่องนี้เคยได้อ่านมาบ้างเหมือนกัน
ขอขอบคุณที่ได้นำมาถ่ายทอดครับ

ธรรมรักษา

347
เรียนเชิญทุกท่านร่วมเข้าฟังการบรรยาย
ถามตอบปัญหาธรรมในแนวทางพระโพธิสัตว์ หลวงปู่ดู่ โดยหลวงตาม้า

รายละเอียดคลิ๊ก

http://www.watthummuangna.com/home/community/index.php/topic,2475.0.html

อนุโมทนาสาธุ

348
สวัสดีครับโพธิสัตว์ทุกท่าน
ผมชื่อ ตี้ เรียนมหาวิทยาลัยขอนแก่นครับ ผมเคยอ่านพุทธประวัติตั้งแต่12 ขวบ น้ำตาไหลปิติ ผมปรารถนาเป็นสายปัญญาธิกะมาเนิ่นนานแล้ว ได้ศึกษาข้อปฏิบัติสายหลวงพ่อฤาษี และอยู่ภาวนากับสายหลวงปู่ชา  พอเป็นที่พึ่งตัวได้ ตอนนี้มีโอกาสสร้างบุญบารมีและชักชวนบริวารร่วมบุญกับพระกรรมฐานมากอยู่ครับ

อนุโมทนาสาธุด้วยอย่างยิ่งครับ

สาธุ

ธรรมรักษา

349
:) สวัสดีครับบบบ ทุกท่าน ผมก็มาขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับบบบ  ผมก็ปรารถนาพุทธภูมิเหมือนกันคร้าบบบ ผมปรารถนาสายวิริยะธิกะคร้าบบบ  คิดว่าชาตินี้คงจะเป็นการปรารถนาชาติแรกของกระผม  ผมยังมีความเลวอยู่มาก อะไรๆก็ยังไม่ค่อยรู้หรอกคร้าบบบ  รบกวนชี้แนะด้วยนะคร้าบบ  สำหรับตัวผมที่มาเจอเว็ปนี้ก็เพราะเป็นคนเล่นเว็ปลังจิตอยู่แล้ว แล้วบังเอิญมาเจอลายเซ็นต์ของคุณwisdom ก็เลยกดตามมาดูคร้าบบ   แล้วในขณะนี้ ผมก็ถือศีล 5 อยู่คร้าบบ และแนะนำธรรมะกับคนทั่วไปที่พอจะแนะนำได้คร้าบบ ช่วยคนบ้าง และก็มีการทำบุญบ้างประปรายคร้าบบ บังเอิญเกิดเป็นคนงบน้อย เลยทำได้นิดหน่อยคร้าบบบ  อิอิอิอิ  แล้วตอนนี้ผมก็กำลังฝึกกสิณอยู่คร้าบบ ยังไม่ไปถึงไหนเลยคร้าบบ แล้วผมก็ยังไปแนะนำคนอื่นอีกด้วยคร้าบบ ตัวผมเองก็ยังไม่รอดเลย  อิอิอิ   ยินดีที่ได้รู้จักทุกท่านนะคร้าบบบ  ท่านศิษย์พี่ทั้งหลายย 

ยินดีต้อนรับคุณหกครับ โมทนาด้วยในปณิธานและขอให้มั่นใจ อย่าได้ท้อ

ที่เราปราถนานั้น ไม่ใช่ความบังเอิญ หากเราไม่เคย
คิดไม่เคยปราถนามาเลยในอดีตชาติ
ก็ยากนักที่จู่ๆจะมาปราถนาในชาตินี้
ขอเป็นกำลังใจให้ครับ สาธุ . . .

ธรรมรักษา

350
บทสวดมหาจักรพรรดิ


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ธัสสะ(๓ ครั้ง)

ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

* สวดตามกำลังวัน อาทิตย์ ๖, จันทร์ ๑๕, อังคาร ๘, พุธ ๑๗, พฤหัส ๑๙, ศุกร์ ๒๑, เสาร์ ๑๐ *



แต่เดิมนั้นสวดกัน 108 จบ แต่ต่อมาหลวงตาม้าท่านเมตตาต่อศิษย์ที่มาใหม่ ๆกลัวจะหมดกำลังใจ พาลเอาไม่ปฏิบัติกัน ท่านจึงให้สวดตามกำลังวันแทนหากใครใคร่สวดถึง 108 จบก็ขออนุโมทนาอย่างยิ่งมา ณ. โอกาสนี้ สาธุ…

คำแปลบทจักรพรรดิโดยหลวงตาม้า




นะโมพุทธายะ

พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์


พระพุทธไตรรัตนะญาณ

สุดยอดของศีล สมาธิ ปัญญา (ผมฟังแล้ววิเคราะห์ว่า ที่หลวงตาท่านพูดว่าสุดยอดของศีล สมาธิ ปัญญา เพราะมีคำว่าพระพุทธคือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนำหน้า)


มณีนพรัตน์
สมบัติจักรพรรดิ์
(ไปไล่ดู ลูกแก้ว ม้าแก้ว พระขรรค์แก้ว ฯลฯ)


สีสะหัสสะสุธัมมา

สีสะ
แปลว่า ความคิด

หัสสะ
แปลว่า มือ ก็คือ การกระทำ

สุธัมมา
คือ การรู้ทั้ง ๓ โลกธาตุ
รวมความคือ การคิดและลงมือทำ จนรู้ทั่วทั้ง ๓ โลก


พุทโธ ธัมโม สังโฆ

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์


ยะธาพุทโมนะ

พระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ในอนาคต คือพระศรีอริยเมตไตรย


พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา

บูชาพระรัตนตรัย


อัคคีธานัง วะรังคันธัง

อันตรายทั้งหมดทั้งมวลไม่เกิด


สีวลี จะ มหาเถรัง

โชค ลาภ ธุรกิจการงาน คลอบคลุมทั้งหมด


อะหังวันทามิ ทูระโต
อะหังวันทามิธาตุโย
อะหังวันทามิ สัพพะโส
พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ


บูชาทั้งหมดทั้งมวลในพระพุทธศาสนา
หลวงตาม้าท่านย้ำว่าถ้าจะแปลกันจริงๆเนี่ย แปลออกมาได้เป็นหนังสือเล่มใหญ่ๆเล่มหนึ่งก็อาจจะยังไม่หมดเลยครับ เพราะเยอะมาก


บทนี้เป็นการสวดไหว้พระพุทธเจ้าทั่วทั้งพระนิพพาน ตลอดจนถึงพระธรรมเจ้าและพระโพธิสัตว์เจ้า พระอริยะสงฆ์สาวกทั้งมวลไหว้พระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์รวมถึงน้อมนำกำลังของเทพพรหมพระอริยะเจ้าทั้งหลาย


การสวดครั้งหนึ่ง เป็นการดึงกำลังของพระเจ้าจักรพรรดิทุกๆพระองค์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต รวมถึงกำลังของพระมหาโพธิสัตว์เจ้ามารวมกัน อาราธนาเข้าที่กายและใจ

และรวมกำลังของพระโพธิญานโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายตั้งแต่อดีต ถึง ปัจจุบัน และอนาคต

การสวดครั้งหนึ่งมีอานิสงค์แผ่ไปทั่วจักรวาล สามแดนโลกธาตุสามารถแผ่บุญไปทั่วทุกสรรพสัตว์ตลอดจนเทวดาประจำตัวเรา ญาติมิตรเพื่อนฝูงครอบครัวเจ้ากรรมนายเวรและหากนำบทสวดนี้ไปสวดในนรกหรือแผ่ไปไฟนรกจะดับชั่วขณะ

บทนี้เป็นการสร้างกำแพงแก้วคุ้มกันตัว รวมถึงการอาราธนาบารมีครูบาอาจารย์พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์อัญเชิญเข้าตัวเพื่อป้องกันภัยและสร้างมหาโชค-มหาลาภ

อานิสงค์แก่ผู้สวดมีทั้งมหาบุญ-มหาลาภ เนื่องจากมีการกล่าวถึงพระสีวลี รวมถึงบทนี้มีพลังงานอย่างยิ่งในการเจริญพระกรรมฐาน หากนำไปสวดบริกรรมก่อนหรือระหว่างนั่งภาวนากรรมฐาน จะทำให้การภาวนามีพุทธานุภาพมาคลุม และคุมการปฏิบัติของเรา คลุมกายและจิตเราเป็นวิมานทิพย์(ครอบวิมานให้ตัวเองหรือสวดอธิษฐานครอบคนอื่นก็ได้)
หากสวดบทนี้ สามารถอธิษฐานเรื่องราวใดๆมี่ติดข้องใจได้ให้ผ่านพ้นไปอย่างทะลุปรุโปร่ง กล่าวโดยสรุปได้ว่าคาถาจักรพรรดินี้ จากการเรียบเรียงถ้อยคำโดยหลวงปู่ดู่ท่าน ก่อให้เกิด จักรพรรดิ กำลังจักรพรรดิขึ้นด้วยในบทสวด พระคาถาครอบจักรวาล(5)

พระคาถามหาจักรพรรดิที่หลวงปู่ดู่แต่งขึ้นมานั้น นอกจากท่านจะได้ทำการอธิษฐานบารมีให้ผู้สวดได้รับพลังจากพระรัตนตรัย อย่างมหาศาลแล้ว ยังก่อให้เกิด "พุทธนิมิต" เป็นวิมานแก้วพระพุทธเจ้า มาครอบสถิตผู้สวดด้วย โดยมีลักษณะเป็นมณฑปแก้วจัตุรมุข ปรากฎฉัพพรรณรังสีหกประการ สว่างไสวพร้อมด้วยโพธิสัตตราวุธทั้ง 4 ประการ ประจำอยู่ทั้ง 4 ทิศ ได้แก่ พระมหามงกุฎ ตรีศูล จักรแก้ว และ พระขรรค์เพชร ทั้งหมดล้วนเป็นของคู่บุญบารมี ของพระศรีอาริย์โพธิสัตว์ โดยมี "พระมหามงกุฎ" เป็นศิราภรณ์ที่เปี่ยมไปด้วยบุญฤทธิ์ (หลวงปู่บุดดา ถาวโร พระอรหันต์ระดับจตุปฎิสัมภิทาญาณ ได้เคยนำมาถวายหลวงปู่ดู่เป็นพุทธบูชาอีกองค์หนึ่งด้วย)

ส่วนอาวุธที่เหลือทั้ง 3 ล้วนเป็นเทพศาสตราวุธชั้นสูง มีไว้เพื่อประดับบารมีแห่งพระโพธิสัตว์ และเปี่ยมไปด้วยอิทธิฤทธิ์อย่างยิ่ง หากสวดเป็นประจำสามารถอธิษฐานให้เกิดเป็นองค์พระพุทธนิมิตปางมหาจักรพรรดิได้ ซึ่งเปี่ยมไปด้วยอิทธิฤทธิ์และบุญฤทธิ์ มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างมาก ประดับด้วยเครื่องทรงแห่งพระมหาจักรพรรดิอย่างวิจิตรอลังการ เปล่งรัศมีหลากสีด้วยแสงแห่งรัตนอัญมณี เรียกว่า "พระมหาวิษิตาภรณ์" มาครอบสถิตผู้ภาวนา บารมีของหลวงปู่ดู่ที่ท่านน้อมนำอธิษฐานจิต จึงมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก เพราะท่านใช้บารมีทั้งหมดของท่านอัญเชิญกระแสบารมีแห่งพระรัตนตรัย และตั้งองค์พระพุทธนิมิตปางมหาจักรพรรดิบรรจุลงไปในวัตถุมงคลที่บารมีท่านมาประจุอีกด้วย


เรียบรียงจาก : หนังสือมิติแห่งโลกวิญญาณและการสร้างบารมี(6)

บทความโดย
Atthawat_Rx

บทอัญเชิญพระเข้าตัว (แผ่เมตตา)


สัพเพพุทธา
ด้วยอำนาจแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
สัพเพธัมมา
ด้วยอำนาจแห่งพระธรรมทั้งหลาย
สัพเพสังฆา
ด้วยอำนาจแห่งพระสงฆ์ทั้งหลาย
พะลัพปัตตา ปัจเจกานัญ จะ ยังพะลัง
ด้วยอำนาจแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
อะระหันตานัญ จะเตเชนะรักขัง พันธามิ สัพพะโส (3 หรือ 5 จบ)
ด้วยอำนาจแห่งพระอรหันต์เจ้ารักษา(พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสงฆ์)ทั้งหมดทั้งมวล ขอให้เป็นไปตามคำอธิษฐาน
พุทธังอธิษฐามิ
ข้าพเจ้าขออธิษฐานด้วยอำนาจแห่งพระพุทธเจ้า
ธัมมังอธิษฐามิ
ข้าพเจ้าขออธิษฐานด้วยอำนาจแห่งพระธรรม
สังฆังอธิษฐามิ (ให้อธิษฐานเอา)
ข้าพเจ้าขออธิษฐานด้วยอำนาจแห่งพระสงฆ์



บทสัพเพนี้เป็นบทน้อมนำพลังงาน กล่าวอัญเชิญพลังงานบุญบารมีของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โดยมีบารมีรวมของหลวงปู่ดู่เป็นที่สุด เมื่อกล่าวบทนี้ โดยนึกถึงหลวงปู่ดู่ก่อน ท่านจะเป็นผู้น้อมนำดึงกระแสพลังงานบุญบารมีจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลจักรวาลมาผ่านที่ตัวเรา จากนั้นกระแสบุญดังกล่าวจะไปตามเจตนา หรือคำอธิษฐานที่เรากำหนดจิตเอาไว้

ตรงนี้หลายท่านอาจยังสงสัยว่าทำไมทำได้ คำตอบคือท่านเป็นบรมโพธิสัตว์ที่บารมีเต็มแล้ว ทั้งยังบำเพ็ญบารมีพิเศษต่ออีกนานนับกัปป์ไม่ถ้วน ช่วงยืดพระศาสนานี้ จึงเป็นวาระของท่านที่จะลงบารมีมาช่วย หากไม่ช่วยแล้ว เป็นการยากที่จะฟื้นฟูจิตใจคนให้เจริญอย่างก้าวกระโดดได้ เนื่องเพราะกระแสวัตถุนิยม ที่เหนือกระแสแห่งจิตวิญญาณกระแสแห่งความดีงาม ช่างรุนแรงเหลือเกิน เรียกว่ายุคนี้ผู้คนแม้ศีล 5 ยังปฏิบัติได้ยาก อย่าว่าแต่ศีล 8 หรือกรรมฐานเลย แตกต่างจากยุคโบราณเช่นสมัยสุโขทัยมากนัก คนในยุคนั้นไม่ค่อยมีใครตกนรกกัน ด้วยเพราะผู้คนรักสงบมีศีลมีธรรม

เรื่องภัยพิบัติต่าง ๆผู้มีธรรม และคุณธรรมพิเศษต่างช่วยกันยืดเวลาออกไป แต่ยิ่งยืดเวลา รังแต่จะยิ่งบ่มเพาะเชื้อพันธ์แห่งกระแสไม่ดีให้โตยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เข้าทำนองเงินต้นไม่คืน ดอกเบี้ยไม่ใช้ แถมใช้อย่างฟุ่มเฟือยอีก สักวันจะพังทั้งระบบไม่หลงเหลืออะไร

ด้วยประการนี้ หลวงปู่ท่านจึงถ่ายทอดและทำวิชาเปิดโลกนี้ให้ โดยท่านต้องการให้คนมีธรรม ตั้งแต่อ่อนจนละเอียดตามลำดับคือ ทาน ศีล ภาวนา โดยท่านทำกุศโลบาย สร้างพระคู่ชีวิต พระสารพัดใช้มาให้ ด้วยหวังให้คนได้ใช้บรรเทาทุกตัวเองในเบื้องต้น บรรเทาทุกผู้อื่นในท่ามกลาง บรรเทาทุกแห่งสังคมในที่สุด เมื่อสังคมย่างเข้าสู่ชาววิไลย์อีกครั้ง ผู้คนก็จะเข้าใจแก่นเพิกเฉยต่อเปลือกต่าง ๆ ที่นั่นความสงบสุขที่แท้จริงจะบังเกิด เกิดเพราะผู้คนในสังคมมีธรรมมะ

การจะปฏิบัติธรรมในยุคเร่งรีบ ยุคก้าวกระโดด ยุคสงครามระหว่างกระแสโลกีย์กับธรรมมะนี้ จึงต้องใช้วิชาเบ็ดเสร็จที่ง่าย แรง เร็ว ซึ่งวิชาเปิดโลกของหลวงปู่ท่านมีคำตอบให้แล้วทั้งหมด ขอเพียงคำอธิษฐานนั้นมีประโยชน์และไม่เอื้อด้วยกิเลส หากคำอธิษฐานนั้นเป็นมิจฉาทิฐิ หลวงปู่ก็จะไม่รวมบารมีมาให้(นับว่าเป็นการดี และปลอดภัยมาก) แต่ก่อนการจะส่งวิญญาณสักดวง ต้องทำสังฆทาน วิหารทานก่อน จากนั้นก็กรวดน้ำ กรวดแบบระบุชื่อเจาะจงด้วย วิญญาณไร้ญาติก็โชคร้ายไป แต่หากใช้วิชาเปิดโลก เพียงแต่ขอหลวงปู่ให้ส่งบุญให้ บุญทั้งหลายทั้งหมดทั้งมวลตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของทั้งเราเองและพระโพธิสัตว์ทั้งหมดทั้งมวล จำนวนนับอสงไขยไม่ถ้วน จะถูกรวมและส่งไปตามคำอธิษฐานของเรา อย่าว่าแต่วิญญาณดวงเดียวเลยหากเขามาโมทนาสักล้านดวง ล้านดวงวิญญาณนั้นก็จะได้รับบุญกันถ้วนหน้า

คำอธิษฐาน แผ่บุญหลังสวดมนต์

ข้าพเจ้า ......(นามของท่าน)...ผู้เป็นผู้รับใช้พระพุทธศาสนา ขอนอบน้อมและน้อมนำบารมีรวมแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยบุคคลทุกชั้นภูมิ พระโพธิสัตว์ และพระบรมมหาจักรพรรดิทุก ๆ พระองค์ โดยตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคต โดยมีบารมีรวมของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญเป็นที่สุด


ในส่วนอักษรสีแดงนี้สำคัญมากเพราะหากไม่อ้างหรือกำหนดจิตอ้างดังกล่าวแล้ว บารมีที่ส่งไปจะเป็นของเราเองซึ่งน้อยมาก แต่เมื่อเราอธิษฐานด้วยวิธีนี้จนเกิดความเคยชิน เพียงแค่นึกถึงหลวงปู่ ซ้อนภาพหลวงปู่ในกายเรา ก็สามารถทำได้แล้ว หลวงตาว่ากระแสจิตของหลวงปู่รับรู้เร็วมาก ช่วงที่เรานึกถึงหลวงปู่ 1 ครั้ง กระแสจิตไป-กลับ 7 รอบแล้ว

ขอพระบารมีอันหาที่สุดมิได้นี้ โปรดจงส่งไปให้ถึงภพภูมิต่างๆทั้งหลายในทั่วทั้ง 3 แดนโลกธาตุ อันประกอบไปด้วยเทพ 6 ชั้น พรหม 20 ชั้น เทพพรหมทุกชั้นฟ้ามหาสมุทรโดย ทั่วทั้งหมื่นแสนโกฐจักรวาล เทพพรหมเทวาที่เกี่ยวพันกับหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ หลวงตาม้า เทพพรหมเทวาที่เกี่ยวพันเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้า โดยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต ท่านปู่พระอินทร์เจ้าฟ้า ท่านท้าวจตุมหาราชทั้ง 4 พระยายมราชพร้อมด้วยบริวารทั้งหมด พระศรีสยามเทวาธิราชทุกๆพระองค์ วีรบุรุษและวีรสตรีทั้งหลาย ที่คอยปกป้องรักษาแผ่นดินสยาม โอปาติกะทั้งหลาย พระฤาษีและดาบสทั้งหลาย ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองทุกๆจังหวัด พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระราหูวราหก เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่พระโพสพ พระเพลิง พระพาย พระพิรุณ พญาครุฑ-พญานาคพร้อมด้วยบริวาร คนธรรพ์ ชาวเมืองลับแล และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าได้เคยไปอธิษฐานไว้ ตลอดจนถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย สรรพสัตว์ในดินแดนอบายภูมิทั้งหลายทั้งหมดทั้งสิ้น ขอโปรดจงได้รับมหากุศลผลบุญบารมีนี้ โดยถ้วนทั่วทุกตัวตน ทุกคนทุกท่าน เทอญ…(ตั้งใจโน้มนำบุญและแผ่บุญออกไปด้วยบทสัพเพฯ)

นี่เป็นตัวอย่างเช่นกัน จะย่นย่อ หรือกล่าวนามเทพ-พรหม สิ่งศักดิ์สิทธิ์อันใดเพิ่มเติมก็แล้วแต่จริตครับ การแผ่บุญอย่างนี้ดวงวิญญาณทั้งหลายที่กล่าวมาจะถึงแน่นอน แต่จะได้รับหรือไม่ขึ้นกับว่า เขารับหรือไม่ หรือกระแสมิจฉาทิฐิครอบเขาจนกระทั่งไม่รับรู้อะไร ไม่ยอมรับอะไรหรือไม่ ด้วยเหตุนี้เป็นคำตอบที่ว่า บางทีต้องไปปรับภูมิถึงที่ ก็เหมือนกับเรานั่งอ่านพระไตรปิฎก กับไปฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าโดยตรง ตรงแทบพระบาทท่าน ธรรมมะเหมือนกัน แต่การเข้าถึง การเข้าใจย่อมแตกต่างกัน(มาก) เรื่องนี้ก็เปรียบเทียบได้เช่นเดียวกัน

สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา
พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพลัง
อรหันตานัญ จะ เตเชนะรักขัง พันธามิ สัพพะโส

ในระหว่างนี้ให้วางจิตเบา ๆ โน้มนำพระบารมีเข้าตัว หรือผู้ที่ได้แล้ว จะเห็นเองว่าจะมีพระบารมีเข้าตัวเป็นแสงสว่างวาบไปหมด ในขณะเดียวกัน แสงนั้นก็พุ่งตรงไปยังดวงวิญญาณที่จะปรับภพ ปรับภูมิให้ แต่ทั้งนี้ ไม่ใช่ดวงวิญญาณทุกดวงที่จะได้รับบุญ บางวิญญาณที่มีมิจฉาทิฐิ หรือมีโมหะ คือ ไม่รู้เรื่องว่าโมทนาคืออะไร ก็จะยังไม่ได้รับ เราก็ต้องสัพเพฯ หลาย ๆรอบ จนบารพระท่านครอบกายทิพย์สว่างเย็นไปหมด ช่วยโน้มนำให้วิญญาณนั้นละพยศและความเขลานั้นได้สำเร็จ

พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ

การนำไปใช้จริง

๑.ให้หมั่นอุทิศบุญดามวิธีดังกล่าวอยู่เสมอไม่ว่าจะเดินทางไปในที่แห่งไหน โดยเฉพาะเวลาไปจ่ายตลาดในตลาดสด วิญญาณสัตว์ที่พึ่งตาย หรือที่ค้างอยู่มีมหาศาลทุก ๆวัน ตามป่าช้าหรือข้างทางที่เราเดินทางไปทุกที่ พร้อมทั้งอธิษฐานให้ทรงทั้งยามหลับยามตื่น เพราะเหล่าวิญญาณจะได้โมทนาได้ตลอด บางทีก็ครอบให้เสร็จสรรพ แบบมัดมือให้เลย การเดินทางไปต่างจังหวัดแต่ละทีก็เก็บได้มหาศาล

ยิ่งทำบ่อยๆยิ่งคล่องครับ ถ้าทำคล่องแล้วต่อไปเวลากำหนดแผ่ก็กำพระ แล้วน้อมกำลังบุญไปได้ แค่กำหนดจิตชั่วขณะโดยไม่ต้องใช้คำพูดก็ยังได้ ขอแค่ให้ใจทรงกำลังทั้งหมดที่อาราธนามาในขณะนั้นได้ก็พอ แล้วก็กำหนดแผ่ไปได้เลย ขณะกำพระ แต่ถ้าเป็นการอธิษฐานใหญ่หรือการสวดมนต์ประจำวัน ก็อธิษฐานใหญ่ตามเนื้อหาด้านบนได้เลย แล้วก็แผ่ไปทั่ว 3 โลก ไม่ว่าพรหมโลก เทวะโลก มนุษยโลก ภพภูมิน้อยใหญ่ต่างๆ นรกโลก และทุกๆ อบายภูมิ ผู้มีพระคุณแก่ข้าพเจ้า ครอบครัว เพื่อนฝูง คนที่เกี่ยวข้องเกี่ยวพันกับข้าพเจ้าทุกๆคน ญาติข้าพเจ้าทั้งหมดในโลกทิพย์ บริวารข้าพเจ้าทั้งหมด เทวดาประจำตัวข้าพเจ้าทั้งหมด เจ้ากรรมนายเวรข้าพเจ้า

๒.ก่อนทานอาหาร หลวงตาแนะนำให้ส่งวิญญาณด้วย ให้ทำจนเป็นนิสัย เนื้อไม่ว่าชิ้นเล็กชิ้นน้อย จะเป็นชิ้น หรือเป็นน้ำก็มีกระแสโยงถึงวิญญาณเจ้าของธาตุนั้นได้ ส่งให้เนื้อ กระแสบุญจะส่งถึงวิญาณเอง ให้อธิษฐานส่งให้ถึงสายใยอาหารของเนื้อนั้นทั้งหมดทั้งมวลด้วย ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดทั้งมวล ตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบัน และอนาคต

คำอธิษฐานรวมบุญ


เพื่อความคล่องตัวในเรื่องการเงิน และทุก ๆเรื่อง เป็นการเบิกบุญเก่า และบุญใหม่ที่ยังไม่ให้ผลให้ส่งผลเร็วขึ้น(ควรอธิษฐานทุกวัน)

ก่อนการรวมบุญก็อัญเชิญภพภูมิทั้ง 3 แดนโลกธาตุมาร่วมรวมกองบุญด้วย จะทำให้เกิดกำลังที่มากขึ้น โดยอาจกล่าวสั้น ๆว่า “ ขอเชิญภพภูมิทั้ง 3 แดนโลกธาตุ เพื่อนผองบริวารทั้งหลายทั้งปวง ผู้มีพระคุณทั้งปวง ขอเชิญมาร่วมรวมกองบุญไปพร้อมกันกับข้าพเจ้าเถิด ”

ข้าพเจ้า ผู้เป็นผู้รับใช้พระพุทธศาสนา ขอนอบน้อม และน้อมนำบารมีรวม แห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยบุคคลทุกชั้นภูมิ พระโพธิสัตว์ โดยมีบารมีแห่งองค์สมเด็จองค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิเป็นประธาน มีบารมีรวม พระมหาจักรพรรดิของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญเป็นที่สุด ขอได้โปรดรวมกำลังบุญบารมีทั้ง 10 ทัศ อันได้แก่ ทาน, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา ของข้าพเจ้า เพื่อนำมาใช้เป็นกำลัง ให้มีความคล่องตัวในทุก ๆเรื่อง อันใดติดขัด ขอให้คล่องตัว อันใดคล่องตัวอยู่แล้วขอให้คล่องตัวยิ่ง ๆขึ้นไป โดยขึ้นชื่อว่าความอด ความอยาก ความยาก ความจน ความไม่มี และการรอคอย จงอย่าได้บังเกิดมีในข้าพเจ้า ผู้เป็นผู้รับใช้แห่งพระพุทธศาสนา นับตั้งแต่กาลบัดเดี๋ยวนี้ ตราบจนข้าพเจ้า เข้าสู่พระนิพพานด้วยเถิด และโดยเฉพาะกาลนี้ ขอให้มีความคล่องตัวในเรื่อง ...(อธิษฐานขอพิเศษเอา).....

ที่กล่าวว่า “ ผู้เป็นผู้รับใช้พระพุทธศาสนา ” ก็ด้วยเป็นกุศโลบายโน้มใจให้คนเข้าถึงพระไตรสรณะคมเพื่อปิดอบาย และเร่งนิพพานนั่นเอง


ตรงส่วน “ รวมกำลังบุญบารมีทั้ง 10 ทัศ ….” นี้ด้วยหากเป็นการรวมทั่วไปจะคิดกันแค่เรื่องทาน ทำให้คล่องตัวแต่เรื่องการเงินเท่านั้น บุญอย่างอื่นเช่น ปัญญา เมตตา(บริวาร ผู้มาช่วยเหลือ) ก็จะไม่มี จึงให้กล่าวบารมีรวมทั้ง 10 ทัศ ทำให้เกิดความคล่องตัวในทุกเรื่องนั่นเอง แต่สำหรับเหล่าพรโพธิญานนั้นให้อธิษฐานเต็มที่สูงสุดไปเลยนั่นคือ " รวมกำลังบุญบารมีทั้ง 10 ทัศถึง 30 ทัศ " เพื่อพลานิสงส์อันสูงสุด

สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา
พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพลัง
อรหันตานัญ จะ เตเชนะรักขัง พันธามิ สัพพะโส

ในระหว่างนี้ให้วางจิตเบา ๆ โน้มนำบุญบารมีเข้าตัว หากใจนิ่งสบาย ๆ แล้ว จะสัมผัสอารมณ์อิ่มเอิบอย่างประหลาดได้ในช่วงนี้





พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ

** ให้อธิษฐานทุกวัน เช้าตอนก่อนออกทำงาน-ก่อนนอน หากได้เวลา 20.30 น.ด้วยยิ่งดีมากครับ



คำอธิษฐาน ฝึกจิต เร่งสมาธิ เร่งนิมิต

ข้าพเจ้า ......(นามของท่าน)...ผู้เป็นข้ารับใช้แห่งพระพุทธองค์ ขอนอบน้อมและน้อมนำบารมีแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยบุคคลทุกชั้นภูมิ พระโพธิสัตว์ และพระบรมมหาจักรพรรดิ ตั่งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคต ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบ ๆกันมา โดยมีบารมีรวมของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญเป็นที่สุด ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้า ขึ้นสู่ภาวะ พระกรรมฐานทั้ง 40 ทัศ พระปิติทั้ง 5 และวิปัสสนาญาณทั้ง 9 ขอพระกรรมฐานทั้ง 40 ทัศ พระปีติทั้ง 5 และวิปัสสนาญาณทั้ง 9 จงมาบังเกิดปรากฏ ในกายทวาร ในวจีทวาร ในมโนทวาร ของข้าพระพุทธเจ้า ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้า ขึ้นสู่ภาวะเปิดโลก สามารถกำหนดจิต รู้ภาวะการณ์ต่างๆทั้งเหตุ ผล อดีต อนาคต และปัจจุบัน ได้ทุกขณะจิตที่ปรารถนาจะรู้ เมื่อรู้แล้วขอให้เห็นภาพนั้นได้ชัดเจนแจ่มใสและพยากรณ์ได้ตามความเป็นจริงทุกๆประการ เหตุที่จะพึงบังเกิดแก่ข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าได้รู้เหตุนั้นโดยมิต้องกำหนดจิตแม้แต่ประการใด ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

บทนี้ปรับปรุง(เล็กน้อย) จากบทสมาทานพระกรรมฐานของหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง ใช้อธิษฐานทุกเช้า และก่อนนั่งสมาธิประจำวัน ช่วยกำหนดให้นิมิตไม่ผิดพลาด ไม่เกิดอุปาทานเข้าแทรก เมื่อกล่าวถึงอุปาทาน หลายท่านอาจจะวิตกว่า การแผ่บุญหรือวิชาอะไรต่าง ๆ จะเป็นอุปาทานด้วย ขอได้เข้าใจอีกครั้งว่า แม้ท่านจะไม่เห็นนิมิตใด ๆเลย หรือเห็นแจ่มแจ้งก็ตาม หากเรื่องนั้นมีประโยชน์หลวงปู่ท่านอนุเคราะห์แน่นอน ขอให้เข้าใจว่าเรามิได้ใช้กำลังของเราล้วน ดังการเดินวิชาอย่างโบราณ แต่อุปาทานจะเกิดได้ มักเกิดจากการที่เรานำวิชาไปในทางที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ เช่น ไปอวดนั่นอวดนี่ แสดงความเก่งกล้า ทำนายนั่นทำนายนี่ที่ไม่มีสาระ ไม่ทำให้ใจเจริญขึ้น ไม่เป็นไปเพื่อการสร้างบารมีหรือการหลุดพ้น……สาธุ….

ลองอ่านดูนะครับ แล้วจะรู้ว่าหลวงปู่นี้รักเรามาก หาหนทางอย่างง่าย ๆ หลอกให้เราปฏิบัติ(กุศโลบาย) ตั้งแต่ปิดนรก ยันนิพพานเลย.....

บทความโดย
Atthawat_Rx

นะ โมพุทธายะ พระพุทธไตรรัตนญาณ มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา อัคคีธานัง วะรังคันธัง สีวลีจะมหาเถรัง อะหังวันทามิ ทูระโต อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะโส พุทธะ ธัมมะ สังฆะ
ปูเชมิ  ......      หลวงปู่ดู่บอกว่า นี่คือสุดยอดของบทสวด มีคุณมหาศาล แนะนำให้ท่องและสวดให้ได้ครับ หลวงปู่เคยบอกว่า เมื่อก่อนท่านขัดสนเวลามีแขกมาหาไม่มีน้ำชาเลี้ยงแขก แต่พอท่านสวดบทนี้แล้ว ไม่ต้องหาซื้อน้ำชาเลย มีมาให้ท่านตลอด แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องเชื่อก่อนนะครับ เชื่อในหลวงปู่ เชื่อในหลวงปู่ทวด สวดแล้วขอท่าน ระลึกถึงท่าน จะหลวงปู่ดู่ หลวงปู่ทวดก็ได้ครับ

351

โดยย่อกล่าวคือ

บทนี้เป็นการสวดไหว้พระพุทธเจ้าทั่วทั้งพระนิพพานตลอดจนถึงพระธรรมเจ้าและพระโพธิสัตว์เจ้า พระอริยสงฆ์สาวกทั้งมวลไหว้พระพุทธเจ้าทั้ง5พระองค์รวมถึงน้อมนำกำลังของเทพพรหมพระอริยะเจ้าทั้งหลาย

การสวดครั้งหนึงเป็นการดึงกำลังของพระเจ้าจักรพรรดิทุกๆพระองค์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมาร่วมถึงกำลังของพระมหาโพธิสัตว์เจ้ามารวมอารธนาเข้าที่กายและใจและรวมกำลังของพระโพธิญานโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายตั้งแต่อดีต
ถึง ปัจจุบัน และอณาคต

การสวดครั้งหนึงมีอานิสงส์แผ่ไปทั่วจักวาลสามแดนโลกธาตุสามารถแผ่บญไปทั่วทุกสรรพสัตว์ตลอดจนเทวดาประจำตัวเราญาติมิตรเพื่อนฝูงครอบครัวเจ้ากรรมนายเวรและหากนำบทสวดนี้ไปสวดในนรกหรือแผ่ไปไฟนรกจะดับชั่วขณะ

บทนี้เป็นการสร้างกำแพงแก้วคุ้มกันตัวร่วมถึงการอารธนาบารมีครูบาอาจารย์พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์อัญเชิญเข้าตัวเพื่อป้องกันภัยและสร้างมหาโชคมหาลาภ อานิสงส์แก่ผู้สวดมีทั่งมหาบุญมหาลาภเนื่องจากมีการกล่าวถึงพระสีวลีร่วมถึงบทนี้มีพลังงานอย่างยิ่งในการเจริญพระกรรมฐาน หากนำไปสวดบริกรรมก่อนหรือระหว่างนั่งภาวนากรรมฐาน...จะทำให้การภาวนามีพุทธานุภาพมาคลุมและคุมการปฎิบัติของเรา คลุมกายและจิตเราเป็นวิมานทิพย์(ครอบวิมานให้ตัวเองหรือสวดอธิษฐานครอบคนอื่นก็ได้)

หากสวดบทนี้สามารถอฐิษฐานเรื่องราวใดๆมี่ติดข้องใจได้ให้ผ่านพ้นไปอย่างทะลุปรุโปร่ง กล่าวโดยสรุปได้ว่าคาถาจักรพรรดินี้
จากการเรียบเรียงถ้อยคำโดยหลวงปู่ดู่ท่าน ก่อให้เกิด จักรพรรดิ กำลังจักรพรรดิขึ้นด้วยในบทสวด พระคาถาครอบจักรวาล

ปล.สำหรับนักปฎิบัติเบื้องต้นใช้คู่กับพระผงจักรพรรดิจะทำให้ก้าวหน้าเร็ว
บทนี้เป็นการสวดไหว้พระพุทธเจ้าทั่วทั้งพระนิพพานตลอดจนถึงพระธรรมเจ้าและพระโพธิสัตว์เจ้า พระอริยสงฆ์สาวกทั้งมวลไหว้พระพุทธเจ้าทั้ง5พระองค์รวมถึงน้อมนำกำลังของเทพพรหมพระอริยะเจ้าทั้งหลาย

การสวดครั้งหนึงเป็นการดึงกำลังของพระเจ้าจักรพรรดิทุกๆพระองค์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมาร่วมถึงกำลังของ
พระมหาโพธิสัตว์เจ้ามารวมอารธนาเข้าที่กายและใจ
และรวมกำลังของพระโพธิญานโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายตั้งแต่อดีต ถึง ปัจจุบัน และอณาคต

การสวดครั้งหนึงมีอานิสงส์แผ่ไปทั่วจักวาลสามแดนโลกธาตุสามารถแผ่บญไปทั่วทุกสรรพสัตว์ตลอดจนเทวดา
ประจำตัวเราญาติมิตรเพื่อนฝูงครอบครัวเจ้ากรรมนายเวรและหากนำบทสวดนี้ไปสวดในนรกหรือแผ่ไปไฟนรกจะดับชั่วขณะ

บทนี้เป็นการสร้างกำแพงแก้วคุ้มกันตัวร่วมถึงการอารธนาบารมีครูบาอาจารย์พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์อัญเชิญเข้าตัวเพื่อ
ป้องกันภัยและสร้างมหาโชคมหาลาภ

อานิสงส์แก่ผู้สวดมีทั่งมหาบุญมหาลาภเนื่องจากมีการกล่าวถึงพระสีวลีร่วมถึงบทนี้มีพลังงานอย่างยิ่งในการเจริญพระกรรมฐาน
หากนำไปสวดบริกรรมก่อนหรือระหว่างนั่งภาวนากรรมฐาน...จะทำให้การภาวนามีพุทธานุภาพมาคลุมและคุมการปฎิบัติของเรา
คลุมกายและจิตเราเป็นวิมานทิพย์(ครอบวิมานให้ตัวเองหรือสวดอธิษฐานครอบคนอื่นก็ได้)

หากสวดบทนี้สามารถอฐิษฐานเรื่องราวใดๆมี่ติดข้องใจได้ให้ผ่านพ้นไปอย่างทะลุปรุโปร่ง กล่าวโดยสรุปได้ว่าคาถาจักรพรรดินี้
จากการเรียบเรียงถ้อยคำโดยหลวงปู่ดู่ท่าน ก่อให้เกิด จักรพรรดิ กำลังจักรพรรดิขึ้นด้วยในบทสวด พระคาถาครอบจักรวาล

ปล.สำหรับนักปฎิบัติเบื้องต้นใช้คู่กับพระผงจักรพรรดิจะทำให้ก้าวหน้าเร็ว

--------------------------------------------------

พระคาถามหาจักรพรรดิก่อให้เกิดพุทธนิมิตครอบสถิตผู้ทรงคาถา

พระคาถามหาจักรพรรดิที่หลวงปู่ดู่แต่งขึ้นมานั้น
นอกจากท่านจะได้ทำการอธิษฐานบารมีให้ผู้สวดได้รับพลังจากพระรัตนตรัย
อย่างมหาศาลแล้ว ยังก่อให้กิด "พุทธนิมิต" เป็นวิมานแก้วพระพุทธเจ้า
มาครอบสถิตผู้สวดด้วย โดยมีลักษณะเป็นมณฑปแก้วจัตุรมุข
ปรากฎฉัพพรรณรังสีหกประการสว่างสไหวพร้อมด้วยโพธิสัตตราวุธ
ทั้ง 4 ประการ ประจำอยู่ทั้ง 4 ทิศ ได้แก่ พระมหามงกุฎ
ตรีศูล จักรแก้ว และ พระขรรค์เพชร ทั้งหมดล้วนเป็นของคู่บุญบารมี
ของพระศรีอารย์โพธิสัตว์ โดยมี "พระมหามงกุฎ" เป็นศิราภรณ์ที่ปี่ยมไปด้วย
บุญญฤทธิ์ (หลวงปู่บุดดา ถาวโร พระอรหันต์ระดับจตุปฎิสัมภิทาญานได้เคย
นำมาถวายหลวงปู่ดู่เป็นพุทธบูชาอีกองค์หนึงด้วย)

ส่วนอาวุธที่เหลือทั้ง 3 ล้วนเป็นเทพศาสตราวุธชั้นสูง
มีไว้เพื่อประดับบารมีแห่งพระโพธิสัตว์ และเปี่ยมไปด้วยอิทธิฤทธิ์อย่างยิ่ง
หากสวดเป็นประจำสามารถอธิษฐานให้เกิดเป็นองค์พระพุทธนิมิต
ปางมหาจักรพรรดิได้ ซึ่งเปี่ยมไปด้วยอิทธิฤทธิ์และบุญฤทธิ์
มีความศักสิทธิ์อย่างมาก ประดับด้วยครื่องทรงแห่งพระมหาจักรพรรดิ
อย่างวิจิตรอลังการเปล่งรัศมีหลากสีด้วยแสงแห่งรัตนอัญมณี
เรียกว่า "พระมหาวิษิตาภรณ์" มาครอบสถิตผู้ภาวนา บารมีของ
หลวงปู่ดู่ที่ท่านน้อมนำอธิษฐานจิตจึงมีความศักสิทธิ์ป็นอย่างมาก
เพราะท่านใช้บารมีทั้งหมดของท่านอัญชิญกระแสบารมีแห่งพระรัตนตรัย
และตั้งองค์พระพุทธนิมิตปางมหาจักรพรรดิบรรจุลงไปในวัตถุมงคลที่บารมี
ท่านมาประจุอีกด้วย


คำแปล

  นะโมพุทธายะ : ข้าพเจ้าขอนอบน้อมบูชา ต่อพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ คือ
    นะ - พระกกุสันธะ
    โม - พระโกนาคม
    พุท - พระกัสสป
    ธา - พระสมณโคดม
    ยะ - พระศรีอริยเมตไตรย
  พระพุทธไตรรัตนญาณ : พระพุทธเจ้าซึ่งมีพระญาณแก้วทั้งสาม อันหมายถึง ปุพเพนิวาสานุสติญาณ, จุตูปปาตญาณ, อาสวักขยญาณ
  มณีนพรัตน์ : มีสมบัติคือแก้ว ๙ ประการ มีเพชร, ทับทิม เป็นต้น ซึ่งหมายถึงพระนวโลกุตรธรรม
  สีสะหัสสะ สุธรรมา : มีมือถึงพันมือ หมายถึงการที่พระพุทธองค์ ทรงแจกแจงหลักธรรม คือ พระไตรปิฎก ถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
  พุทโธ : ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
  ธัมโม : พระธรรมของพระพุทธเจ้า
  สังโฆ : พระสาวกผู้ปฏิบัติตาม
  ยะธาพุทโมนะ : ขอพระพุทธเจ้าปางมหาจักรพรรดิ ซึ่งมีชัยแก่พญาชมพูผู้มีฤทธิ์มาก พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ จงบังเกิดขึ้น ณ บัดนี้ด้วยเทอญ
  พุทธบูชา : ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้า
  ธัมมะบูชา : ข้าพเจ้าขอบูชาพระธรรม
  สังฆะบูชา : ข้าพเจ้าขอบูชาพระสงฆ์
  อัคคีทานัง วะรังคันธัง : ด้วยสิ่งเหล่านี้ ได้แก่ ธูป เทียน ไฟ หรือแสงสว่าง และของหอมทั้งมวล มีดอกไม้และน้ำอบ เป็นต้น
  สีวลี จะมหาเถรัง : ขอนมัสการพระสีวลีเถระเจ้า ผู้เป็นเลิศทางลาภสักการะ
  อะหังวันทามิ ทูระโต : ขอนมัสการสถานศักดิ์สิทธิ์ทั่วไป มีสังเวชนียสถาน เป็นต้น
  อะหังวันทามิ ธาตุโย : ขอนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุทั้งหลาย ทั่วทั้งแสนโกฏิจักรวาล
  อะหังวันทามิ สัพพะโส : ขอนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย
  พุทธะ ธัมมะ สังฆะ : ซึ่งเป็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
  ปูเชมิ : ด้วยเทอญ

บทวิเคราะห็บทสวดมนต์มหาจักรพรรดิ

คำอัญเชิญภพภูมิ

การใช้คำอัญเชิญภพภูมิ ผลและกำลังบุญที่ได้จะมากมายกว่าสวดคนเดียวมาก และเช่นเดียวกัน หากสวดมนต์บทพระมหาจักรพรรดิเวลา 20.30 น. กำลังที่ได้ก็มากกว่าสวดเวลาอื่นมากมายนัก ด้วยสาเหตุคือ

1. เป็นการทำสมาธิหมู่ สวดมนต์หมู่ทั้ง 3 โลก กำลังย่อมมีมากกว่า
2. เป็นช่วงเวลาที่หลวงปู่ท่านเปิดโลกให้ภพภูมิมองเห็นกันทั้ง 3 โลก พลานิสงส์ การขอ การให้ การช่วยเหลือจึงเกิดขึ้นได้โดยง่าย และมหาศาลกว่ามาก

ลูกขอตั้งสัจจะอธิษฐานกราบขออาราธนาเมตตาบารมีรวมหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ ขอหลวงปู่ได้โปรดมีเมตตา อาราธนาบารมีรวม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยตั้งแต่องค์ปฐมจนถึงองค์ปัจจุบันบรมมหาจักรพรรดิทุกๆพระองค์ บารมีรวมพระปัจเจกพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระธรรม และพระอริยะสงฆ์ทั้งหลาย โดยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต บารมีรวมหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ ท่านอันเป็นที่สุด บารมีรวมหลวงตาม้าเป็นต้น

การอ้างอิงบารมีของพระพุทธเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวเพื่ออัญเชิญภพภูมิ จะมีผลมากกว่าเรากล่าวเชิญเองลอย ๆ ด้วยเหตุที่บางภพภูมิก็อยากจะมาแต่มาไม่ได้ เพราะด้วยข้อจำกัดแห่งบุญของแต่ละภพภูมิ คือชั้นที่จะไปไหนมาไหนได้เองไกล ๆ จะต้องสูงกว่าเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาเป็นต้นไป การกล่าวอ้างพระบารมีของพระพุทธองค์เป็นประธาน บารมีรวมของพระโพธิสัตว์เป็นที่สุด พระโพธิสัตว์ท่านจะกำหนดเป็นทางแสงทำให้ภพภูมิต่าง ๆตามแสงนั้นมาร่วมสวดมนต์ได้

ขอบารมีหลวงปู่ได้โปรดเมตตาน้อมนำ ภพภูมิต่างๆทั้งหลายในทั่วทั้ง 3 แดนโลกธาตุ อันประกอบไปด้วยเทพ 6 ชั้นพรหม 20 ชั้น เทพพรหมทุกชั้นฟ้ามหาสมุทรโดย ทั่วทั้งหมื่นแสนโกฎิจักรวาล เทพพรหมเทวาที่เกี่ยวพันกับหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ หลวงตาม้า เทพพรหมเทวาที่เกี่ยวพันเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้า โดยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต ท่านปู่พระอินทร์เจ้าฟ้า ท่านท้าวจตุมหาราชทั้ง 4 พระยายมราชพร้อมด้วยบริวารทั้งหมด พระศรีสยามเทวาธิราชทุกๆพระองค์ วีรบุรุษและวีรสตรีทั้งหลาย ที่คอยปกป้องรักษาแผ่นดินสยาม โอปาติกะทั้งหลาย พระฤาษีและดาบสทั้งหลาย ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองทุกๆจังหวัด พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระราหูวราหก เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระโพสพ แม่พระคงคา พระเพลิง พระพาย พระพิรุณ พญาครุฑ-พญานาคพร้อมด้วยบริวาร คนธรรพ์ ชาวเมืองลับแล และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าได้เคยไปอธิษฐานไว้ ขอหลวงปู่ได้โปรดเมตตาน้อมนำท่านทั้งหลายมาร่วมสวดบทพระมหาจักรพรรดิ พร้อมกันกับพวกข้าพเจ้า เพื่อเพิ่มกำลัง ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้ด้วยเถิด

คำอัญเชิญนี้เป็นแบบยาวที่คิดว่ามีประโยชน์ เพราะท่านที่ลองฝึกใหม่ ๆอาจจะยังไม่คล่องในการกำหนดจิต จึงใส่คำอัญเชิญแบบคลุมที่สุดให้ จะตัดทอนหรือเพิ่มได้ตามใจชอบ รักใครชอบใคร นับถือใครพิเศษก็กล่าวเพิ่มได้ หรือจะย่อ ๆว่า “ ขอเชิญภพภูมิต่างๆทั้งหลายในทั่วทั้ง 3 แดนโลกธาตุ มาร่วมสวดมนต์พร้อมกันเพื่อเพิ่มกำลัง” ก็ได้



บทบูชาพระ


พุทธัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ
ข้าพเจ้า ขอบูชาพระพุทธเจ้า ด้วยชีวิต
ธัมมัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ
ข้าพเจ้า ขอบูชาพระธรรมเจ้า ด้วยชีวิต
สังฆัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ
ข้าพเจ้า ขอบูชาพระสงฆ์เจ้า ด้วยชีวิต

เป็นบทกล่าวถึงการมอบกายถวายชีวิต เพื่อพระรัตนตรัยแล้วแม้ชีวิตก็มอบให้ได้ พลานิสงส์บทนี้จึงมากมายนัก เรียกว่าทำดี ๆ ปิดทางนรกได้เว้นแต่กระทำอานันตนิรยะกรรม 4 ประการเท่านั้น เป็นบาทฐานของการเข้าถึงพระไตรสรณะคมนั่นเอง


กราบพระ ๖ ครั้ง

พุทธัง วันทามิ(กราบ)
ข้าพเจ้า ขอไหว้ซึ่งพระพุทธเจ้า
ธัมมัง วันทามิ(กราบ)
ข้าพเจ้า ขอไหว้ซึ่งพระธรรมเจ้า
สังฆัง วันทามิ(กราบ)
ข้าพเจ้า ขอไหว้ซึ่งพระสงฆ์เจ้า
ครูอุปัชฌาย์อาจาริยคุณัง วันทามิ(กราบ) (ผู้หญิงว่า อาจาริยคุณัง วันทามิ)
ข้าพเจ้า ขอไหว้ซึ่งครูอุปัชฌาย์อาจารย์
มาตาปิตุคุณัง วันทามิ(กราบ)
ข้าพเจ้า ขอไหว้ซึ่งบิดา มารดา
พระไตรสิกขาคุณัง วันทามิ(กราบ)
ข้าพเจ้า ขอไหว้ซึ่งพระไตรสิกขา


การไหว้พระ ๖ ครั้งเป็นการแสดงความอ่อนน้อมแก่สรณะผู้ควรบูชา ๖ สรณะด้วยกัน แฝงไว้ด้วยกุศโลบายแห่งความอ่อนน้อมและความกตัญญูกตเวทีอันเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี

สำหรับในบทกราบพระไตรสิกขาบทนั้น เนื่องเพราะเป็นบทสรุปแห่งธรรมะทั้งปวงในพระพุทธศาสนา เป็นหนทางโดยย่อแต่ชัดเจนไม่อ้อมค้อม ทั้งยังเป็นปัจฉิมโอวาท แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย นั่นคือ "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อม ความสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลาย จงบำเพ็ญไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"



บทสมาทานศีล ๕


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ(๓ ครั้ง)
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


หลายท่านคงสงสัยว่า ทำไมต้องกล่าวบทคำบูชาพระพุทธเจ้านี้ก่อนว่าคาถา(ที่โบราณเรียกตั้งนะโม ๓ จบ) หรือ นำหน้าบทสวดมนต์ต่าง ๆตลอดด้วย ที่มาของคำบูชาพระบรมศาสดานี้ มีเรื่องเล่าว่า ณ แดนหิมวันต์ประเทศ มีเทือกเขาชื่อว่า สาตาคิรี เป็นที่ร่มรื่น รมณียสถาน เป็นที่อยู่ของพวกยักษ์ที่เป็นภุมเทพยดา อันมีนามตามที่อยู่ว่า สาตาคิรียักษ์ มีหน้าที่เฝ้าทางเข้าหิมวันต์ ทางทิศเหนือ เป็นบริวารของท้าวเวสสุวัณ สาตาคิรียักษ์ได้มีโอกาสสดับ พระสัทธรรมจากพระบรมศาสดา จนมีจิตเลื่อมใสศรัทธา เปล่งคำยกย่องบูชาด้วยคำว่า " นะโม "หมายถึง พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นใหญ่กว่า มนุษย์ เทพยดา พราหมณ์ มาร ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง



กล่าวฝ่ายอสุรินทราหู เมื่อได้สดับพระเกียรติศัพท์ ของพระบรมศาสดา ก็มีจิตปรารถนา ที่จะได้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาบ้าง แต่ด้วยกายของตนใหญ่โตเท่ากับโลก จึงคิดดูแคลน พระบรมศาสดา ว่า มีพระวรกายเล็กดังมด จึงอดใจรั้งรออยู่ พอนานวันเข้า พระเกียรติคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ยิ่งขจรขจายไปทั้งสามโลก จนทำให้อสุรินทราหูอดรนทนอยู่มิได้ จึงเหาะมาในอากาศ ตั้งใจว่าจะร่ายเวทย่อกาย เพื่อเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอฟังธรรม แต่พอมาถึงที่ประทับ อสุรินทราหู กลับต้องแหงนหน้าคอตั้งบ่า เพื่อจะได้ทัศนาพระพักตร์พระบรมศาสดา พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงพระสัทธรรม ชำระจิตอันหยาบกระด้าง ของอสุรินทราหู ให้มีความเลื่อมใสศรัทธา แสดงตนเป็นอุบาสกผู้ถือพระรัตนตรัยตลอดชีวิต แล้วกล่าวสรรเสริญพระบรมศาสดาว่า “ ตัสสะ ”แปลว่า ขอบูชา ขอนอบน้อม ขอนมัสการ



เมื่อครั้งที่ท้าวจาตุมหาราช ทั้ง ๔ ผู้ดูแลปกครองสวรรค์ชั้นแรก มีชื่อเรียกว่า ชั้น กามาวจร มีหน้าที่ปกครองดูแลประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ พร้อมบริวาร ได้พากันเข้ามาเฝ้าพระบรมศาสดา แล้วทูลถามปัญหา พระบรมศาสดา ทรงแสดงธรรมตอบปัญหา แก่มหาราชทั้งสี่พร้อมบริวาร จนยังให้เกิดธรรมจักษุแก่มหาราชทั้งสี่ และบริวาร ท่านทั้ง ๔ นั้น จึงเปล่งคำบูชาสาธุขึ้นว่า “ ภะคะวะโต ” แปลว่า พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้จำแนกธรรมอันยิ่ง อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า


อะระหะโต เป็นคำกล่าวสรรเสริญ ของท้าวสักกะเทวราช เจ้าสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ท่านสถิตอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท้าวสักกะเทวราช ได้ทูลถามปัญหา แด่พระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์ทรงตรัสปริยายธรรม และ ทรงตอบปัญหา จนทำให้ท้าวสักกะเทวราช ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาปัตติผล จึงเปล่งอุทานคำบูชาขึ้นว่า " อะระหะโต " แปลเป็นใจความว่า อรหันต์ เป็นผู้ไกลจากกิเลส ไกลจากเครื่องข้องทั้งปวง



สัมมาสัมพุทธัสสะ เป็นคำกล่าวยกย่องสรรเสริญ ของท้าวมหาพรหม หลังจากได้ฟังธรรม จนบังเกิดธรรมจักษุ จึงเปล่งคำสาธุการ "สัมมาสัมพุทธัสสะ" หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยพระองค์เอง ทรงรู้ดี รู้จริง รู้ยิ่ง กว่าผู้รู้อื่นใด
รวมเป็นบทเดียวว่า "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" แปลโดยรวมว่า ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น(3) ด้วยเหตุนี้โบราณท่านจึงว่า หากขึ้นต้นคาถาหรือบทสวดมนต์ใด ๆด้วยการตั้งนะโม ๓ จบ คาถานั้นจะมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักด้วย เพราะเป็นคำสรรเสริญพระพุทธเจ้าที่มีเทพพรหมชั้นหัวหน้าได้กล่าวไว้ แรงครูหรือแรงแห่งเทพ-พรหม และแรงพระรัตนตรัยท่านจึงประสิทธิ์ให้สมประสงค์


พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก
ทุติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ทุติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ทุติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก
ตะติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ตะติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ตะติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก


บทสมาทานพระไตรสรณะคมณ์ : บทนี่สำคัญมาก กล่าวด้วยกำลังใจที่เข้าถึงเต็มเปี่ยม ขอพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งสูงสุด ไม่มีที่พึ่งที่ยึดถืออื่นใดสูงกว่า เป็นปัจจัยให้ปิดทางนรกภูมิได้ เว้นแต่ได้กระทำอานันตนิรยะกรรมมาก่อน บทนี้ควรทำความเข้าใจและให้เข้าถึงให้ได้ ด้วยเป็นเส้นทางเดินที่ตรงต่อพระนิพพาน ไม่หลงทาง ผู้เข้าถึงจะได้เกิดในบวรพุทธศ่าสนาอีกหากยังไม่เข้านิพพานฉันใด บทนี้คนกล่าวกันเป็นประจำแต่หาได้เข้าใจเข้าถึงอย่างลึกซึ้งไม่ จะสังเกตว่าด้วยไม่เข้าถึงจุดนี้กัน การถือมงคลตื่นข่าวจึงเกิดขึ้นได้ตลอดในสังคมไทย…..บทนี้นี่เองที่หลวงปู่ใช้ภาวนาทำสมาธิจนกระทั่งค้นพบวิชาภูติพระพุทธเจ้า หรือวิชาเปิดโลกที่มีผู้อื่นตั้งชื่อวิชาให้ในภายหลังนั่นเอง

และเพื่อพลานิสงส์ยิ่งขึ้น และเป็นการตล่อมจิตให้ชินต่อการทรงคุณความดี หลวงปู่ดู่ท่านแนะนำให้มีการบวชจิตในขณะกล่าวการสมาทานพระไตรสรณะคมด้วย ดังนี้

" ในขณะที่เรานั่งสมาธิเจริญภาวนานั้น คำกล่าวว่า
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ให้นึกถึงว่าเรามีพระพุทธเจ้าเป็นพระอุปัฌาย์ของเรา
ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ...
ให้นึกว่าเรามีพระธรรมเป็นพระกรรมวาจาจารย์
สังฆัง สรณัง คัจฉามิ...
ให้นึกว่าเรามีพระอริยสงฆ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

แล้วอย่าสนใจขันธ์ 5 หรือร่างกายเรานี้ ให้สำรวมจิตให้ดี มีความยินดีในการบวช ชายก็ตั้งจิตเป็นพระภิกษุ หญิงก็ตั้งจิตเป็นพระภิกษุณี อย่างนี้จะมีอานิสงส์สูงมาก จัดเป็นเนกขัมบารมีขั้นอุกฤษฎ์ทีเดียว "

เมื่อจะออกจากสมาธิก็ให้อธิษฐานกลับมาเป็นฆราวาสเหมือนเดิม การสวดมนต์ภาวนาของเราจะมีผลมากครับ อีกประการความชินของจิตในการทรงกำลังความเป็นพระจะทำให้เราปฏิบัตธรรมได้โดยง่ายขึ้น


บทอาราธนาศีล


1 ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่า
2 อทินนาทา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมยหรือโจร
3 อพรัมจริยา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในพรหมจรรย์
4 มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ
5 สุราเมรยะ มัชชปมาทัฎฐานา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
อิมานิ ปัญจสิกขา ปทานิ สมาธิยามิ(๓ ครั้ง)

ข้าพเจ้าขอทรงไว้ซึ่งศีลทั้งห้าประการด้วยจิตตั้งมั่น
สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปทา
ศีลนำความสุขมาให้ ศีลนำมาซึ่งโภคทรัพย์
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโส ธะเย
ศีลคือหนทางสู่พระนิพพาน

บทอาราธนาศีล : เป็นกุศโลบายให้คนชินต่อการกล่าวศีล เพื่อการรักษาศีลอย่างแท้จริงในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการเกิดพลานิสงส์อย่างมาก เพราะถือว่าตลอดเวลาที่เราสวดมนต์อยู่นี่เรามีศีลบริสุทธิ์จนกว่าเราจะล่วงศีลด้วยความจำเป็นต่าง ๆเช่น ด้วยอาชีพ ในส่วน “อพรัมจริยา เวรมณี…” นั้นเพราะในช่วงที่สวดมนต์อยู่นั้น เราไม่ได้ถูกเนื้อต้องตัวกับเพศตรงข้ามอยู่แล้ว ท่านจึงในถือพรหมจรรย์เสีย เพื่อบุญที่มากกว่า แต่เมื่อเราสวดมนต์เสร็จแล้วหากต้องถูกเนื้อต้องตัวเพศตรงข้ามด้วยฆราวาสวิสัยก็ย่อมทำได้ ศีลจะเลื่อนมาที่กาเมสุมิจฉาฯแทน เรื่องศีลนี้ความจริงมีถึง 3 ขั้น ตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงปรมัติเลยทีเดียว


บทอาราธนาพระ


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ(๓ ครั้ง)
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พุทธัง อาราธนานัง กะโรมิ
ข้าพเจ้าขออาราธนาซึ่ง พระพุทธเจ้า
ธัมมัง อาราธนานัง กะโรมิ
ข้าพเจ้าขออาราธนาซึ่ง พระธรรมเจ้า
สังฆัง อาราธนานัง กะโรมิ
ข้าพเจ้าขออาราธนาซึ่ง พระสงฆ์เจ้า





บทอาราธนาพระรัตนตรัยนี้เป็นการอัญเชิญพระบารมีของพระรัตนตรัยมาสถิตอยู่ที่กายและมโนแห่งเราอยู่ทุกลมหลายใจเข้า-ออก อยู่ทุกขณะจิต ให้เราไม่ห่างจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพื่อการเข้าถึงพระไตรสรณะคม เรื่องการเข้าถึงพระไตรสรณะคมนี่ถือว่าจำเป็นมาก เพราะปิดอบายได้ เราจะไม่ลงนรก ผู้เขียนเคยถามหลวงตาว่า แล้วชาติหน้าเราจะต้องทำใหม่ไหม หลวงตาท่านว่า ไม่ต้อง เข้าถึงชาตินี้แล้วอารมณ์เก่าจะมี จะเข้าถึงตลอดทุกชาติ ปิดอบายตลอดทุกชาติจนกว่าจะนิพพาน



คาถาหลวงปู่ทวด

น้อมระลึกถึงหลวงปู่ทวด แล้วว่าคาถาดังนี้
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา (๓ ครั้ง)
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่ เจ้าประคุณสมเด็จหลวงปู่ทวด ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ เป็นผู้มีโชคซึ่งเข้ามาสถิตอยู่ในตัวของข้าพเจ้านี้ (4)



คาถาหลวงปู่ดู่

น้อมระลึกถึงหลวงปู่ดู่ แล้วว่าคาถาดังนี้
นะโม โพธิสัตโต พรหม ปัญโญ (๓ ครั้ง)
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพรหม ปัญโญ โพธิสัตว์



หลวงตาม้าท่านเมตตาเล่าฟังว่า ถ้าจะศึกษาและปฏิบัติธรรมตามแนวของหลวงปู่ดู่ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจในชื่อของท่านก่อน คือพระพรหมปัญโญมีความหลายเช่นไร

โดยคำว่า “พรหมปัญโญ” มีความหมายถึง การเป็นผู้มีปัญญาเยี่ยงพระพรหม นั่นเอง ในการที่จะมีปัญญา เยี่ยงพระพรหม ได้นั้นต้องสร้างความเป็นพระพรหมให้เกิดขึ้นแก่เราก่อน โดยการปฏิบัติตามหลักของพรหมวิหาร 4 ประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และพยายามทรงอารมณ์ตามหลักของพรหมวิหารให้ได้ก่อน จึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามแนวของหลวงปู่ดู่พรหมปัญโญ



บทขอขมาพระรัตนตรัย


โยโทโส โมหะจิตเต นะพุทธัสมิง ปาปะกะโต มะยา ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ
การกระทำอันหลงผิดอันใด ซึ่งกระทำล่วงเกินแล้วในคุณพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าขอกล่าวคำขอขมา เพื่อการบาปกรรมทั้งหลายทั้งปวงจงสูญสิ้นไป
โยโทโส โมหะจิตเต นะธัมมัสมิง ปาปะกะโต มะยา ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ
การกระทำอันหลงผิดอันใด ซึ่งกระทำล่วงเกินแล้วในคุณพระธรรมเจ้า ข้าพเจ้าขอกล่าวคำขอขมา เพื่อการบาปกรรมทั้งหลายทั้งปวงจงสูญสิ้นไป
โยโทโส โมหะจิตเต นะสังฆัสมิง ปาปะกะโต มะยา ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ
การกระทำอันหลงผิดอันใด ซึ่งกระทำล่วงเกินแล้วในคุณพระสงฆ์เจ้า ข้าพเจ้าขอกล่าวคำขอขมา เพื่อการบาปกรรมทั้งหลายทั้งปวงจงสูญสิ้นไป

บทนี้มีความสำคัญมาก ด้วยกรรมไม่ดีที่เกิดแก่พระรัตนตรัยนั้น เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการปฏิบัติธรรม ต้องหมั่นดูกริยาของตัวเองมิให้ก้าวล่วงต่อพระรัตนตรัยอยู่ตลอดเวลา และให้คอยหมั่นขอขมาทุกวัน เนื่องเพราะบางทีเราอาจเผอเรอล่วงเกินทั้งโดยเจตนา หรือไม่เจตนา ทั้งเล็กน้อยทั้งใหญ่หลวง กุศโลบายข้อนี้คล้ายคลึงกับการต่อศีลของพระ หรือการปลงอาบัติของพระ ทั้งนี้เพื่อให้กำลังใจ ให้รู้ตัว ให้นึกรู้ตัวตาม ให้เกิดสติอยู่ทุกขณะจิตนั่นเอง เพื่อในกาลต่อไปจะได้ระมัดระวังตัวไม่ทำผิดอีกนั่นเอง


352


"วันหนึ่งสมเด็จท่านพามาที่วิมาน นิพพานที่มันกว้างลิ่ว และบ้านนี่นะนานๆจะได้ไปสักที ส่วนมากก็ไปนั่งป๋ออยู่ที่วิมานพระพุทธเจ้า ถ้าเราไปอยู่ที่นั่นแล้ว เวลาเราตายมันจะไปไหน อาตมาเป็นคนเกาะ พุทธานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ตลอดเวลา ถ้าวันไหนไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้าวันนั้นตายดีกว่า มันจะเป็นยังไงก็ตาม ยิ่งป่วยยิ่งไข้ยิ่งหนัก ป่วยนิดเดียวจิตจะไม่ยอมคลาดพระพุทธเจ้า เราถือว่าถ้าเราเกาะพระพุทธเจ้าอยู่ มันจะตายลงนรกก็ยอม ท่านคงไม่ยอมให้ลง แล้วท่านก็พาไปดูที่วิมาน ชี้ให้ดูบอกว่า "คณะของคุณมันมาก เพราะคุณใช้เวลาบำเพ็ญบารมีถึง ๑๖ อสงไขยกับแสนกัป และเป็นฝ่ายวิริยาธิกะ"
เป็นอันว่าคณะของเราที่ตามกันมาเป็นระยะ ไอ้ที่เขาหนีไปนิพพานแล้วนับไม่ถ้วน พวกนั้นขี้ขลาดสู้เราไม่ได้ ไอ้เราต้องมาตกระกำลำบาก ช่วยกันวิ่งโน่นวิ่งนี่ ไอ้ที่จะกินก็ยังไม่มี แต่ยังพยายามหาเลี้ยงคนอื่น ใช่ไหม....

วันนี้มีเวลาลองสอบดูนิดหนึ่ง ถามว่า "คณะของข้าพระพุทธเจ้ามีกี่สาย จากหลังบ้านไปนี่"
ท่านบอกว่า "มี ๓๗ สาย"
ถามว่า "สายหนึ่งมีระยะยาวเท่าไร....?"

ท่านบอกว่า "สองแสนโยชน์ของนิพพาน"
แล้วก็ไปดูเห็นหมดทั้ง ๓๗ สาย สองฝั่งของถนนวิมานเต็มหมด มันไม่มีจุดพร่อง สายหนึ่งประมาณ ๒ แสนโยชน์ แต่ละสาย ๓๗ คูณด้วย ๒ วิมานมันจะตั้งสายละสองฝั่งถนน ๓๗ ถนนยาวเหยียด ถนนกลายเป็นแก้วแพรวเป็นประกายสวยสดงดงามไปหมดบอกไม่ถูก วิมานแต่ละหลังก็แพรวพราวหาที่ติไม่ได้เลย หัวหน้าทีมตั้งบ้านใหญ่อยู่ด้านหน้า ต่อไปก็มีถนนซอยเข้าไป

ทางด้านของนิพพานนี่เขาอยู่กันเป็นกลุ่มๆ อย่างกลุ่มของพระกกุสันโธ ท่านก็อยู่กลุ่มหนึ่ง วิมานของพระพุทธเจ้าก็ตั้งข้างหน้า บริวารก็เป็นสายอยู่ข้างหลัง พระโกนาคม ท่านก็อยู่กลุ่มหนึ่ง พระพุทธกัสป ก็ตั้งอยู่จุดหนึ่ง ของสมเด็จพระสมณโคดม ท่านก็ตั้งอยู่จุดหนึ่ง

ตอนนี้ของอาตมาก็เป็นจุดที่แปลก วิมานตั้งอยู่ในเกณฑ์เรียงของพระพุทธเจ้า ใหญ่คล้ายคลึงกัน แต่สวยสู้ของท่านไม่ได้ เพราะเราไม่ใช่พระพุทธเจ้า แต่ในฐานะที่ปรารถนาพุทธภูมิมาสิ้นระยะเวลา ๑๖ อสงไขยกับแสนกัปพอดี แต่ว่าต้องเกิดไปอีก ๗ ที ทนไม่ไหวไม่เอา แค่นี้พอ รอเกิดอีก ๗ ครั้ง ก็ในกัปนี้แหละ และต้องไปรอองค์ที่ ๒๒ หลังจากพระศรีอาริย์ ต้องไปนั่งรออยู่ชั้นดุสิต ไม่ไหวเปิดดีกว่า ฉะนั้นกลุ่มของพวกเราจึงมีวิมานตั้งอยู่ในระหว่างกลุ่มของพระพุทธกัสป และกลุ่มของพระสมณโคดม

เป็นอันว่าหาจุดพร่องไม่ได้ตามสายของพวกเรา วิมานสวยไม่เต็มที่มีอยู่มากพอสมควร แต่ก็ไม่เต็มสาย ที่วิมานสวยไม่มากก็เพราะว่า จิตของบุคคลใดถ้ารักพระนิพพาน วิมานจะปรากฎที่นั่น แต่ถ้าจิตใจของท่านผู้นั้นยังไม่ถึงอรหัตผลเพียงใด วิมานจะสวยไม่เต็มที่ ไอ้จิตกับวิมานมันสวยเท่ากัน เดินไปจึงรู้ เป็นอันว่าวิมานมันนั่งคอยอยู่ เป็นอันว่าคนที่ติดตามมาไม่พลาดพระนิพพาน
สมเด็จท่านตรัสต่อไปว่า


ทุกคนที่เอาจริง ที่ตามแกมาตั้ง ๑๖ อสงไขยกับแสนกัปมันมีที่อยู่กันหมดแล้ว คำว่าถอยหลังไม่มี ประการที่สองให้เตือนไว้ว่า

ในระหว่างชีวิตที่ยังไม่ตาย
ใครจะปฏิบัติดีบ้างปฏิบัติชั่วบ้าง ขณะใดที่เราสร้างความดีเพราะจิตมันดี แต่บางครั้งจิตมันจะเศร้าหมองลงไปให้มีแต่ความวุ่นวาย นั่นต้องถือว่าเป็นเรื่องของกรรมที่เป็นอกุศลของชาติก่อนเข้ามาบันดาล แต่เรื่องนี้เราจะแพ้มันในระยะต้น เวลาตายน่ะไม่มีหรอก มันจะทำร้ายได้ชั่วคราวเท่านั้น

เราจะให้มันในขณะที่มีชีวิตทรงอยู่เท่านั้น ถ้าใกล้ตายจริงๆ ไม่สามารถจะสังหารจิตเราได้ เมื่อใกล้จะถึงความตาย พอจิตเข้าถึงจุดนั้น ไอ้กิเลสไม่สามารถเข้ามายุ่งได้เลย เพราะว่ากรรมที่เป็นกุศลใหญ่ที่บำเพ็ญมาแล้วจะเข้าไปกีดกันหมด กรรมที่เป็นอกุศลเข้าไม่ถึง อาตมารับรองผลว่าทุกคนไม่ไร้สติ และไม่ไร้ความดีที่ปฎิบัติ

เพราะอะไรเพราะไปตรวจบ้านมาแล้วสบายใจ หมดเรื่องหมดราวเสียที ตามธรรมดาเราจะตำหนิกัน บางคนเราก็เห็นว่ามานั่งกรรมฐานกัน มาศึกษากัน กลับไปก็ดีบ้างไม่ดีบ้าง เอะอะโวยวาย ก็ถือว่าเป็นการชำระหนี้ชำระสินกันไป ถือว่าช่างมันไว้ ท่านบอกว่าไปบอกเขานะ เพื่อความมั่นใจ

เป็นอันว่าทุกคนที่มีวิมานอยู่ที่นิพพานละก็ควรจะภูมิใจว่าเราเข้าถึงกิจสูงสุดในพระพุทธศาสนาแล้ว ขึ้นชื่อว่าการถอยหลังกลับไปสู่อบายภูมิย่อมไม่มี ถึงแม้ว่าในชาตินี้เราจะประมาทพลาดพลั้งในด้านอกุศลกรรมเป็นธรรมดา ก็แต่ว่าจิตเราก็ต้องหน่วงเหนี่ยวเอาไว้ ถือว่าขันธ์ ๕ ไม่มีความหมายสำหรับเรา ว่าช่างมันๆเอาไว้ อารมณ์ดีก็ช่างมัน เวลาคันก็ช่างเผือก หมดเรื่องหมดราว อย่างนี้สลับกันไปสลับกันมา คำว่า ฌาน ก็คือ อารมณ์ชิน จิตมันชินอยู่อย่างนั้น จิตมันก็ตั้งอยู่ในอารมณ์พระนิพพานโดยเฉพาะ จิตก็เข้าถึงพระโสดาบัน เรื่องสกิทาคา อนาคา อรหันต์ เป็นของไม่ยาก ยากอยู่ที่พระโสดาบันเท่านั้น

สมเด็จท่านตรัสเรื่องพระศาสนาว่า
"การขึ้นคราวนี้กว่าจะลงของพระพุทธศาสนา คนที่จะบรรลุมรรคผล คราวนี้นับโกฏิเหมือนกัน และจะไปโทรมเอา พ.ศ. ๔๕00 ช่วงนี้จะขึ้นเรื่อยๆต่อไปไม่ช้าคำว่าพระนิพพานจะพูดกันติดปาก ชินเป็นของธรรมดา จะเห็นเป็นเรื่องปกติ"

ถ้าเราจะถอยหลังไปจากนี้ ๒0 ปี จะเห็นว่าจิตใจของคนเวลานี้ต่างกันเยอะ พูดถึงด้านความดีนะ เวลานี้ฟังแล้วทุกคนอยากไปนิพพาน สังเกตที่จดหมายมาบอกอยากจะไปนิพพานทั้งนั้น

และจากนี้ไปอีกไม่ถึง ๒0 ปี จะมีพระอริยเจ้านับแสนไม่ใช่ฉันสอนเป็นผู้เดียวหรอกนะ คือว่าเขาสอนกันโดยทั่วๆไป แต่ว่ากลุ่มเราจะมาก หมายถึงว่าอาจจะไม่มีตัวมาแต่มีหนังสือมีเทป กาลเวลามันเข้ามาถึง เวลานี้คนที่เข้าถึงมุมง่ายแล้ว กำลังใจมันตีขึ้นมา ถามว่าตอนก่อนทำไมไม่ให้สอนแบบนี้ ท่านบอกว่า คนมันหาว่าง่ายเกินไป มันเลยไม่เอาเลย จะต้องยากๆ แต่พวกของแกไม่มีใครเหลือ ท่านชี้จุดเลย ก็เลยดีใจ แล้วท่านก็บอกว่า

"ต่อไปภาระมันจะหนัก ต้องวางพื้นฐานไว้"
ก็ถามว่า "พื้นฐานจากพระองค์อื่นไม่มีหรือ"
ท่านก็บอกว่า "พระองค์อื่นเขาก็มีความสามารถ ไม่ใช่ไม่มี แต่สงสัยว่าคนที่เรียนกรรมฐาน ๔0 กับมหาสติปัฏฐานจนครบกันนี่มีกี่องค์ หมายถึงว่าทำได้ฌาน ๔ หมด"
บอก "ไม่เคยถามชาวบ้านเขาเลย" ท่านบอก "ไม่มีหรอก ปัจจุบันนี้ ไม่มีใครเขาจบ มันเหลืออยู่แกคนเดียว ท่านปานก็ตายเสียแล้ว"

ท่านบอกว่า "ผู้ที่จะทรงกรรมฐาน ๔0 นี่ ต้องเป็นฝ่ายพุทธภูมิถึงขั้นปรมัตถบารมี ถ้ายังไม่เต็มปรมัตถบารมีนี่ยังไม่ได้กรรมฐาน ๔0 ครบ พระโพธิสัตว์ต้องเรียนวิชาครู"

ท่านก็ถามว่า "คุณทำไมไม่หมั่นขึ้นมา"
ก็บอกว่า "เหนื่อยเต็มที ร่างกายเพลียมากก็ต้องชำระตัว เกรงว่าจะประมาท"
ท่านถามว่า "คนอย่างแกยังมีคำว่าประมาทหรือ....?"
เลยบอกท่านว่า มี
ท่านถามว่า "ทำไมว่ามี....?"
ก็เลยบอกว่า "ยังไม่รู้ตัวว่าดี"
ท่านบอกว่า "เออ ใช้ได้"

คือว่าถ้ารู้ตัวว่าดีเมื่อไรก็เลวเมื่อนั้น รู้ตัวว่าเราวิเศษแล้วเราประเสริฐแล้ว เราสำเร็จแล้ว ทุกข์มันก็เกิด แต่ว่าอารมณ์จิตถึงระดับนี้แล้ว มันก็คิดงั้นไม่ได้แล้วนะ เรื่องตัวนี้ชำระกันอยู่ตลอดวันเป็นปกติ คำว่าชำระก็หมายความว่า พิจารณาว่าร่างกายไม่มีความหมาย โลกนี้ไม่มีความหมาย คำว่าไม่มีความหมายมันติดอารมณ์
สมเด็จท่านตรัสต่อไปว่า

"งานสาธารณประโยชน์ มันเป็น ปรมัตถบารมี อย่างสูงสุด อันนี้จะทำให้เร็วที่สุด ทำให้เร่งรัดพวกเราให้เร็วที่สุด ท่านบอกว่าให้คุณบอกลูกหลานไว้ จะได้รู้ว่าเป็นจุดที่มีกำลังแรงให้เข้าถึงได้เร็วที่สุด เป็นการบั่นทอนไอ้กฎของกรรมต่างๆ ที่มันคอยกั้นขวางเรา งานนี้มันเป็นเมตตากฎของกรรมมันก็ดันไม่อยู่"

ต่อไปเรื่อง "สมเด็จองค์ปฐม" ซึ่งทรงพระนามว่า พระพุทธสิกขี พระพุทธเจ้านี่มีชื่อซ้ำกันนะ อย่าง เรวัติ ก็มีชื่อซ้ำกัน พระพุทธสิกขีนี่องค์ปฐมจริงๆ
วันนั้นพบท่านเข้า พบจริงๆสมัยที่ พล.อ.ท.อาทร โรจนวิภาค อยู่ที่นครราชสีมา วันนั้นไปนั่งกรรมฐานกันเห็นพระพุทธเจ้าท่านเยอะ ยืนสองแถวพนมมือ เราคิดว่าพระพุทธเจ้าไหว้ใครไม่มี ใช่ไหม...ก็เลยถามหลวงพ่อปานว่า มีเรื่องอะไรกัน ท่านบอกว่า
"ประเดี๋ยวพระพุทธเจ้าองค์ปฐมจะเสด็จ"

องค์ปฐม หมายถึงองค์แรกสุด ไม่มีครูสำหรับท่านเลย ต้องบำเพ็ญบารมีอย่างหนัก ต้องเข้มแข็ง เดี๋ยวท่านเดินมากลางพระพุทธเจ้า ยืนสองข้างพนมมือตลอดสวยสว่าง จิตเราเลยสว่างเห็นอะไรชัดหมด"


จากหนังสือ "หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๓"
โดย พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
 
อ่านจบแล้วอย่าลืมอุทิศส่วนกุศลด้วยนะครับ


คำอุทิศส่วนกุศล
โดยพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ)
วัดจันทาราม(ท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี

อิทังปุญญะผะลังผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่เจ้ากรรมนายขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่วันนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน

และข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลายที่ปกปักรักษาข้าพเจ้าและเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ และพระยายมราชขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราชจงโมทนาส่วนกุศลนี้ขอจงเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญกุศล ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด

และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดีเสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับ

353

พระญาณสิทธาจารย์
(หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)
สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง
อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่


การสวดมนต์จึงเป็นการภาวนาวิธีหนึ่งที่ หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโรท่านอบรมลูกศิษย์ให้ฝึกฝนจนเกิดความชำนิชำนาญ
นอกเหนือจากการเดินจงกรมและนั่งสมาธิภาวนา
หลวงปู่ย้ำว่า อานิสงส์ของการสวดมนต์ทำให้จิตใจตั้งมั่นได้เช่นเดียวกัน
แต่ต้องสวดด้วยความตั้งอกตั้งใจจริงๆ ฝึกให้คล่อง ออกเสียงให้ชัดเจน

“ ไม่ใช่สวดเล่นๆ สวดเปล่าๆ สวดให้เป็นสิริมงคลแก่ตนและหมู่คณะ
บางแห่งท่านก็กล่าวไว้ว่า สวดมนต์ภาวนา สวดมนต์ก็เป็นภาวนาทำให้จิตใจตั้งมั่นได้
คือ เมื่อสวดไปจิตก็ตามไปพิจารณา ทำให้จิตใจสงบระงับได้

แม้บางครั้งบางอย่างเราจะไม่รู้ความหมายก็ตาม แต่ในนั้นมันเป็นอุบายธรรม เป็นธรรมมงคล เมื่อเราสวดไปไม่รู้ ก็จะรู้ภายหลัง
เพราะอะไรทุกอย่าง ถ้าสวด ถ้าว่า ถ้ากล่าวไปบ่อยๆ ความเคยชิน ความชำนิชำนาญมันก็เกิดมีขึ้น
ถ้าเราอยากจะรู้จะเข้าใจ ก็มีในสวดมนต์แปล

สวดมนต์แปลนั้น เพิ่นแปลเอาไว้ อธิบายไว้ ถ้าเราอ่านก็จดจำไปในนั้น ก็เป็นมงคล
ฉะนั้น มงคลอันนี้นั้นอยู่ที่เจริญ (สวด, ระลึกถึง) ไม่ใช่ว่ามงคลอยู่ที่ธรรม มีตู้พระธรรมแล้วนั่งเฝ้าพระธรรมอยู่
ไม่ไหว้พระสวดมนต์ไม่ภาวนา ก็ได้ผลน้อยเต็มที”

354


สมัยที่ท่านพระอาจารย์มั่นพักอยู่บนดอยปะหร่อง (เชียงใหม่) กับพระอาจารย์มนู ตอนเช้าเที่ยวบิณฑบาต พอให้พรเสร็จ ท่านได้สอนให้ชาวบ้านกล่าวสาธุพร้อมกันด้วยเสียงสูง ท่าน (พระอาจารย์มั่น) เล่าเป็นเชิงตลกว่า มือทั้งสองข้างของเขาชูขึ้นข้างบนเหมือนบั้งไฟจะขึ้นสู่ท้องฟ้า ว่างั้น

วันหนึ่ง ท่านนั่งพักในส่วนที่ทำเป็นที่พักกลางวัน มีเทพพวกหนึ่งมาจากเขาจิตรกูฏ มาถามท่านว่า

"เสียงสาธุ สาธุนั้น สาธุอะไร สะเทือนสะท้านทุกวัน พวกเทพทั้งหลายได้ฟัง มีความสุขไปตามๆ กัน"

ท่านมาพิจารณาว่า เสียงอะไร ที่ไหน จึงระลึกได้ว่า เสียงสาธุการของชาวบ้านตอนถวายทานนั่นเอง
พอรับทราบแล้วพวกเทพก็กล่าวว่า "เขาก็สาธุการด้วย" แล้วทำประทักษิณเวียนขวาลากลับไป ส่วนมากพวกเทพเขาจะทำอย่างนั้น

ท่านพระอาจารย์มั่น เลยมาพิจารณาต่อได้ความว่า

พุทธมนต์นั้นใครสวดก็ตาม จะเป็นกิจวัตรของพระสงฆ์เช้า เย็น หรือชาวพุทธทุกคน

สวดมนต์ระลึกในใจ มีอานุภาพแผ่ไปได้หมื่นจักรวาล

สวดออกเสียงพอฟังได้ มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนจักรวาล

สวดมนต์เช้าเย็นธรรมดา มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนโกฏิจักรวาล

สวดเต็มเสียงสุดกู่ มีอานุภาพแผ่ไปได้อนันตจักรวาล

แม้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในสามภพ และที่สุดอเวจีมหานรก ยังได้รับความสุข เมื่อแว่วเสียงพุทธมนต์ผ่านลงไปถึงชั่วขณะชั่วครู่หนึ่ง ดีกว่า หาความสุขไม่ได้เลยตลอดกาล

นี้คืออานิสงส์ของพระพุทธมนต์ ท่านพระอาจารย์มั่นว่าอย่างนี้
..................................................................

ที่มา เกร็ดประวัติ และ ปกิณกธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ๑
จากหนังสือ "รำลึกวันวาน" โดย หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ
credit โพสต์ โดย: คนฝั่งโขง เว็บพลังจิต

355


พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตพระองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
เพื่อทรงแก้ทิฏฐิมานะ ของพญามหาชมพูบดี

ในสมัยพุทธกาล มีพระมหากษัตริย์ผู้เรืองอำนาจพระองค์หนึ่ง ซึ่งปกครองเมืองปัญจาลราษฐ พระนามว่า "พญาชมพูบดี" กล่าวกันว่า พร้อม ๆ กับการประสูติของพญาชมพูบดี ขุมทองในที่ต่างๆ ก็ผุดขึ้นมากมายอันแสดงถึงบุญญาธิการของพระองค์ ประชาชนในเมืองนี้จึงมีฐานะความเป็นอยู่ที่มั่งคั่งสมบูรณ์ พญาชมพูบดี ทรงมีอาวุธวิเศษ 2 อย่าง คือ
ฉลองพระบาทแก้ว ซึ่งเมื่อสวมเข้าไปแล้วก็จะพาพระองค์เหาะไปในที่ต่างๆ ได้ ทั้งยังใช้อธิษฐานแปลงเป็นนาคราชเข้าประหัตประหารศัตรูได้อีกด้วย
อาวุธวิเศษอย่างที่สอง คือ วิษศร ซึ่งเป็นศรวิเศษใช้ต่างราชทูต หากกษัตริย์เมืองใดไม่มาอ่อนน้อมขึ้นต่อพระองค์ วิษศรนี้ก็จะไปร้อยพระกรรณพาตัวเข้าเฝ้าพระองค์จนได้ ทำให้กษัตริย์ทั้งหลายพากันยำเกรงในพระเดชานุภาพแห่งพญาชมพูบดี
ด้วยอาวุธคู่พระวรกาย พญาชมพูบดีได้ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง กระทั้งถึงกรุงราชคฤห์ของพระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นอุบาสกแห่งสมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้า พญาชมพูบดีส่งอาวุธวิเศษของพระองค์ ไปทำอันตรายต่อพระเจ้าพิมพิสาร แต่ไม่อาจทำอันตรายแก่พระเจ้าพิมพิสารได้ ด้วยอาศัยพระพุทธานุภาพ ทำให้พญาชมพูบดีแค้นพระทัยมาก แม้ส่งอาวุธวิเศษอย่างใดไป ก็พ่ายแพ้แก่พระพุทธานุภาพแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นว่า พญาชมพูบดีประสบความพ่ายแพ้ และมีทิฏฐิมานะเบาบางลง ประกอบด้วยกับทรงเล็งเห็นวาสนาปัญญาของพญาชมพูบดีว่าสามารถสำเร็จมรรคผลได้ จึงมีพุทธฎีกาตรัสใช้ให้พระอินทร์แปลงเป็นราชทูตพาพญาชมพูบดีมาเข้าเฝ้า ส่วนพระองค์ทรงเนรมิตองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงมงกุฎ พร้อมเครื่องราชาภรณ์ แต่ล้วนงดงาม ส่วนพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานเถระเจ้า พร้อมด้วยเหล่าภิกษุสงฆ์สาวก ก็เนรมิตกายเป็นเสนาอำมาตย์ใหญ่น้อย ล้วนแล้วแต่น่าเกรงขาม ทั้งเนรมิตเวฬุวัน (ป่าไผ่) ให้เป็นพระนครใหญ่ประกอบด้วยกำแพงถึง 7 ชั้น และมีพุทธฎีกาตรัสสั่งให้เทวดา พรหม ทั้งหลาย ร่วมเนรมิตเป็นตลาดน้ำ ตลาดบก
เมื่อพระอินทร์ซึ่งเนรมิตกายเป็นราชทูต ไปถึงเมืองปัญจาลราษฐ เห็นพญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ยังถือดี จึงแสดงฤทธานุภาพเป็นที่ประจักษ์ พญาชมพูบดีไม่อาจแข็งขืนจำยอม ต้องยกพลเดินทัพเพื่อเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้า
เมื่อพญาชมพูบดี เดินทางเข้าเขตพระนคร ก็ตกตะลึงกับความยิ่งใหญ่อลังการแห่งพระนครที่พระพุทธองค์ทรงเนรมิต แม้แต่เหล่าแม่ค้าริมทาง ก็ยังงดงามกว่าพระอัครมเหสีของพญาชมพู จนชวนให้รู้สึกขวยเขินก้าวเดินไม่ตรงทาง และเมื่อผ่านทางยังกำแพงพระนครแต่ละชั้น ทอดพระเนตรเห็นเหล่าเสนาอำมาตย์ที่รักษาพระนคร พระทัยก็ประหวั่นพรั่นกลัวพระเสโทไหลโทรมทั่วพระสกลกาย ถึงกำแพงชั้นในซึ่งเป็นแก้ว ก็ทำท่าจูงกระเบนเหน็บรั้ง ด้วยเข้าพระทัยผิดคิดว่ามีเสียงนางในร้องเย้ยเยาะว่ากษัตริย์บ้านนอก กระทำเชยๆ พญาชมพูบดีก็รู้สึกได้รับความอัปยศอย่างยิ่ง
เมื่อพญาชมพูบดีมาถึงต่อหน้าพระพักตร์แห่งพระบรมศาสดา ซึ่งเนรมิตกายเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ยังไม่หมดทิฏฐิมานะ พระพุทธองค์ทรงเชื้อเชิญให้แสดงฤทธิ์เดชอำนาจและของวิเศษทุกสิ่งทุกอย่างออกมา เมื่อพญาชมพูบดีทรงแสดงแล้ว ก็ต้องได้รับความอัปยศยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยไม่อาจทำอันตรายพระพุทธองค์ได้เลยแม้แต่น้อย
เมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าพญาชมพูบดีคลายทิฏฐิมานะลงมากแล้ว จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพญาชมพูบดี และเหล่าเสนาอำมาตย์ที่ติดตามมาด้วยจำนวนมากมายให้เห็นสิ่งที่เป็นสาระและมิใช่สาระ ให้เห็นโทษแห่งการเวียนเกิด เวียนตาย ในวัฏสงสาร ทั้งให้เห็นคุณแห่งพระนิพพาน พญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ต่างรู้สึกปีติ โสมนัส จึงปลดมงกุฎและเครื่องประดับของตนวางแทบพระบาทแห่งองค์พระสัมพัญญูบรมศาสนา เพื่อสักการะด้วยความรู้สึกเทิดทูน จากนั้นจึงทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธองค์
จากนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้าบรมครู พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวก เทวดา พรหม ก็คล้ายฤทธานุภาพกลับสู่สภาพเดิม (เป็นป่าไผ่และสภาพทั้งหลายตามความเป็นจริง) สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานอุปสมบถแก่พญาชมพูบดี พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ และทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้คลายความลุ่มหลงในเบญจขันธ์ มีรูป เป็นต้นว่า อุปมาดั่งพยับแดด หาสาระตัวตนที่เที่ยงแท้อันใดมิได้ และแสดงเทศนาต่างๆ เป็นอเนกปริยาย พญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ ก็ดื่มดำในพระอมตธรรมสลัดเสียซึ่ง ตัณหา อุปาทาน จิตของท่านก็เข้าอรหันตผล สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลในพระบวรพุทธศาสนา

ยกตัวอย่างประวัติโดยย่อพระเจ้าจักรพรรดิในอดีตกาล(องค์ที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นพระโพธิสัตว์ด้วย)

พระเจ้าสังขจักรพรรดิราช

พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดเป็นเทวบุตรนามว่า นฬการเทพบุตร เสวยทิพยสมบัติในฉกามาพจรสวรรค์เป็นเวลาช้านาน
ในกาลสมัยแห่ง สมเด็จพระสิริมัตตะพุทธเจ้านั้น นฬการเทพบุตร ได้จุติจากฉกามาพจรสวรรค์มาบังเกิดเป็น
พระเจ้าสังขจักรพรรดิราช ครองอินทปัตนคร ทรงถึงพร้อมด้วย แก้ว ๗ ประการ และมหาปราสาท ๗ ชั้น
พระเจ้าสังขจักรพรรดิราชซึ่งเป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร ได้ทรงตั้งสัจจาธิษฐานว่า “ เราจักมอบราชสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์แก่ผู้ที่แจ้งข่าว พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ แก่เรา แล้วจักไปสู่สำนักพุทธเจ้า “
ในกาลนั้น สามเณรในพระศาสนาของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าสิริมัตตะ ได้เดินทางผ่านมาพระนคร ชาวเมืองเห็นเข้าด้วยไม่รู้จึงนึกว่าเป็นยักษ์ จึงหมายจะเข้าไปทำร้ายสามเณร ด้วยความสะดุ้งกลัวอันตรายสามเณรจึงวิ่งไปสู่พระบรมราชวังแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ์
พระเจ้าสังขจักรบรมโพธิสัตว์ ได้ตรัสถามความเป็นมาของสามเณร จึงทรงทราบว่าขณะนี้ ได้มีพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า “สิริมัตตะ” บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว จึงตรัสถามสามเณรว่า
“ ข้าแต่สามเณรผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด”
สามเณรกล่าวตอบว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในบุพพารามไกล ๑๖ โยชน์ ทางทิศอุดรจากมหานครนี้”
ด้วยสัจจาธิษฐานที่ทรงตั้งไว้ จึงสละจักรพรรดิ์สมบัติอันประเสริฐแก่สามเณร และทรงผินพระพักตร์ไปสู่ทิศอุดรเสด็จไปสู่ที่ประทับของพระพุทธเจ้า ด้วยทรงเป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ เสด็จพระราชดำเนินด้วยการก้าวย่างพระบาทเพียงวันเดียว พระบาททั้ง ๒ ก็แตก พระโลหิตไหลออกจากฝ่าพระบาททั้ง ๒ เมื่อพระบาททั้ง ๒ แตกแล้ว พระบรมโพธิสัตว์จึงเสด็จคลานด้วยพระชงฆ์ทั้ง ๒ กับทั้งพระหัตถ์ทั้ง ๒ เป็นเวลา ๓ วัน ในวันที่ ๔ พระโลหิตจึงไหลออกจากพระหัตถ์ และพระชงฆ์ทั้ง ๒ ข้าง
ในกาลนั้น พระบรมโพธิสัตว์ ทรงตัดสินใจว่าจะดำเนินไปด้วยพระอุระ ครั้นแล้วพระบรมโพธิสัตว์จึงทรงกระเถิบไปด้วยพระอุระด้วยมุ่งหมายเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสำคัญ จึงทรงอดกลั้นความลำบากได้
ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเล็งข่ายพระพุทธญาณตรวจดูสัตว์โลก ทรงเห็นกำลังพระวิริยะบารมีของพระบรมโพธิสัตว์ จึงทรงใช้อำนาจพระพุทธบารมีแปลงเพศเป็นคน เนรมิตรถแล้ว เสด็จไปประทับอยู่ตรงหน้าพระพักตร์ของพระเจ้าสังขจักรพรรดิ์บรมโพธิสัตว์
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ ดูก่อนท่านผู้เจริญ จงหลีกทาง เราจักขับรถไป “
พระบรมโพธิสัตว์เมื่อทรงสดับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงตรัสว่า
“ ดูก่อนนายสารถีผู้เจริญ เมื่อเราเดินทางไปด้วยหน้าที่ที่ต้องทำ ทำไมจึงต้องถอยหลีก เรายึดถือพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ยึดถือพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ขอท่านจงบังคับรถของท่านให้วิ่งทับร่างของเราไปได้ เราจะไม่ยอมหลีกทางให้ท่าน “
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า “ดูก่อนมาณพผู้เจริญ ถ้าท่านจะไปสู่สำนักพระพุทธเจ้าแล้วไซร้ ขอจงขึ้นรถเถิด เราจักนำไปสู่สำนักพระพุทธเจ้า “
ในกาลนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จถึงสำนักบุพพารามแล้วจึงทรงแปลงพระวรกายจากเพศคน แล้วประทับนั่งพุทธอาสน์ เมื่อพระบรมโพธิสัตว์แล้ว ทอดพระเนตรแสงพระพุทธฉัพพรรณรังสีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นถึงกับสลบไป
เมื่อพระบรมโพธิสัตว์ทรงฟื้นแล้ว เสด็จเข้าไปใกล้พระบรมศาสดา ทรงประคองอัญชลีได้กราบทูลขอฟังธรรมอันสูงสุดจากพระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมบทหนึ่งแล้ว พระราชาทูลขอร้องให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพักการแสดงธรรมไว้ก่อน เหตุเพราะเกรงว่า ถ้าพระพุทธเจ้าแสดงธรรมมากแล้วไซร้ จะไม่มีไทยธรรมที่ควรแก่การบูชาพระธรรม
พระบรมโพธิสัตว์ กราบทูลต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า
“ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์ทรงแสดงพระนิพพานอันเป็นธรรมเอก เป็นธรรมที่สุดในสรรพธรรม แม้ข้าพระองค์ตัดศีรษะอันเป็นอวัยวะสูงสุดในอวัยวะทั้งปวงของข้าพระองค์ บูชาพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน “
ครั้นตรัสแล้ว จึงทรงใช้พระนขะ(เล็บ)ตัดพระเศียร ทรงวางพระเศียรไว้บนฝ่าพระหัตถ์ แล้วตรัสว่า
“ ข้าแต่พระสิริมัตตะพุทธเจ้า ขอพระองค์ทรงบรรลุอมตธรรมก่อนเถิด
ด้วยการถวายศีรษะนี้ ข้าพระองค์ขอบรรลุนิพพาน ในภายหลัง “ ดังนี้ฯ

พระเจ้าจักรพรรดิ คือ มนุษย์ผู้มีบุญ เพราะได้ทำบุญมาดีแล้วแต่ชาติก่อน ด้วยการให้ทาน รักษาศีล ๕ และศีล ๘ หรือได้บำรุงบำเรอพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอะระหันต์ พระภิกษุสงฆ์ ได้บำรุงพระพุทธศาสนา ได้ประกาศเผยแพร่พระพุทธศาสนา หรือได้ทำประโยชน์แก่สาธารณะชนด้วยกำลังศรัทธาที่แรงกล้า.
พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพระราชาโดยธรรมะ ไม่ต้องแย่งชิงอำนาจจากใครด้วยอุบายหรือการทำสงคราม ทรงชนะแล้ว มีอาณาจักรที่มั่นคง ทรงมีพระราชอำนาจสิทธิ์ขาดในโลกแต่ผู้เดียว ทรงมีพระปัญญาอันประเสริฐ ฉลาดรอบรู้ในสรรพวิชาการ ทรงบำรุงพัฒนาบ้านเมืองจนเจริญสูงสุด พระองค์มีแก้ว ๗ ประการ มีพระราชบุตรมากกว่าพันล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีระกษัตริย์ สามารถย่ำยีกองกำลังของข้าศึกได้ไม่ยาก ด้วยอานุภาพบุญฤทธิ์ของพระองค์ และอานุภาพแห่งแก้ว ๗ ประการ ทำให้พระองค์ทรงบริหารและปกครองราษฎรโดยไม่ต้องใช้ศาสตรา ไม่ต้องใช้อาวุธหรือเครื่องมือประหัตประหารใดๆ ไม่ต้องลงโทษ ไม่ต้องลงอาชญา.
สมัยใดโลกมีพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา สมัยใดโลกว่างเปล่าจากจากพระพุทธศาสนาและพระปัจเจกพุทธเจ้า สมัยนั้นได้ชื่อว่าโลกมืด โลกจะแบ่งแยกเป็นประเทศเล็กประเทศน้อยอย่างมากมาย มีเชื้อชาติมากมาย ภาษามากมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีมากมาย มีลัทธิศาสนาอันไม่ได้ช่วยให้พ้นทุกข์ได้มากมาย แล้วมวลมนุษย์ในโลกก็เกิดความขัดแย้งกัน ทะเลาะไม่สามัคคีกัน ด่ากัน แล้วลงท้ายด้วยการจับก้อนดินบ้าง ท่อนไม้บ้าง อาวุธอันมีคมบ้าง ประหัตประหารกัน รบกัน ทำสงครามกัน แล้วเกิดการจองเวรด้วยการลอบทำร้ายกัน ลอบสังหารกันและก่อวินาศกรรม กลายเป็นลัทธิก่อการร้ายล้างผลาญกันไป ล้างผลาญกันมาไม่จบสิ้น พระองค์ทรงเห็นโทษเห็นความลามกของความแตกแยกและความแตกต่าง พระองค์จึงทรงรวบรวมมนุษย์ทุกชาติทุกเผ่าพันธุ์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้มนุษย์โลกมีเพียงชาติเดียว เผ่าพันธุ์เดียว ภาษาเดียว ขนบธรรมเนียมประเพณีเดียว ใช้สกุลเงินเดียว แล้วพระองค์ทรงสอนศีล ๕ แก่มวลมนุษย์ในโลก เป็นหลักคำสอนเดียวศาสนาเดียว ดังนั้นมนุษย์ในยุคนั้นจึงมีพระเจ้าจักรพรรดิเป็นพระประมุขของชาวโลก และเป็นศาสดาของชาวโลก.
เมื่อประมุขของโลกและมนุษย์โลกต่างมีศีล ๕ มีธรรมะอันงาม ไม่มีแหล่งอบายมุขใดๆในแผ่นดิน ไม่แตกแยกไม่ขัดแย้งกันดังนี้ มวลมนุษย์ย่อมเห็นความสุขความเจริญในปัจจุบัน เหล่าเทวดาทั้งหลายย่อมปลื้มปีติยินดี ร่าเริงบันเทิงใจ ฝนฟ้าก็ตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารก็อุดมสมบูรณ์ มนุษย์ทั้งหลายก็มีสุขภาพจิตสุขภาพกายดี อายุยืน จำนวนมนุษย์ก็มากขึ้นแต่ไม่ขาดแคลน มวลมนุษย์ทั้งปวงต่างมองหน้ากันด้วยแววตาแห่งความรักความเมตตา เมื่อนั้นได้ชื่อว่าพระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้ประทานแสงสว่างให้แก่โลก ประทานความร่มเย็นให้แก่โลก.
ฤทธิ์ ๔ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ

๑. พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีพระรูปงาม น่าดู น่าชม น่าเลื่อมใส ทรงมีพระฉวีวรรณผ่องใสยิ่งกว่ามนุษย์ทั่วไป
๒. พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีพระชนมายุยืนนานกว่ามนุษย์ทั่วไป
๓. พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีอาพาธน้อย มีพระโรคน้อยกว่ามนุษย์ทั่วไป
๔. พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นที่รักที่ชอบใจของมนุษย์ทั้งหลาย และมนุษย์ทั้งหลายก็เป็นที่รักที่ชอบใจของพระเจ้าจักรพรรดิ
ดุจบุตรเป็นที่รักที่ชอบใจของบิดาทีเดียว เมื่อถึงคราวพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จเลียบพระนครออกเยี่ยมราษฎร ราษฎรทั้งหลายไปเฝ้า พระองค์พลางกราบทูลว่า “ขอเดชะ... ขอพระองค์อย่าด่วนเสด็จไป พวกข้าพระองค์จะได้เฝ้าพระองค์นานๆ”แม้พระเจ้าจักรพรรดิก็
ทรงตรัสกับนายสารถีว่า “นายสารถี เธออย่าด่วนขับรถไป เราจะได้เห็นราษฎรนานๆ”

ลักษณะ ๓๒ ประการของมหาบุรุษ

มหาบุรุษผู้มีลักษณะ ๓๒ ประการนี้ ย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หรือเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น คือ....

๑. มีพระบาทเรียบเสมอ
๒. ที่ฝ่าพระบาททั้งสองมีลายรูปจักร อันมีซี่พันหนึ่ง มีกง มีดุมบริบูรณ์
๓. ส้นพระบาทยาว
๔. มีพระองคุลี (นิ้ว) ยาว
๕. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม
๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาท มีลายดุจตาข่าย
๗. มีพระบาทนูนสูงดุจสังข์คว่ำ
๘. มีพระชงฆ์ (แข้ง) เรียวดุจแข้งเนื้อทราย
๙. เมื่อประทับยืนมิได้ก้ม พระหัตถ์ทั้งสองลูบพระชานุ (เข่า) ทั้งสองได้
๑๐. มีพระคุยหะ (องคชาติ) เร้นอยู่ในฝัก
๑๑. พระฉวีวรรณดุจสีทอง
๑๒. พระฉวีวรรณละเอียดฝุ่นไม่เกาะ
๑๓. พระโลมา (ขน) เกิดขึ้นขุมละเส้น
๑๔. พระโลมาทุกเส้นชี้ขึ้นข้างบน
๑๕. พระวรกายตรงดุจกายพระพรหม
๑๖. พระมังสะเต็มในที่ ๗ แห่ง คือ หลังพระหัตถ์ทั้งสอง, หลังพระบาททั้งสอง, พระอังสะ (บ่า) ทั้งสอง และพระศอ (คอ)
๑๗. พระวรกายท่อนบนดุจกายท่อนหน้าของราชสีห์
๑๘. แผ่นหลังมีพระมังสะเต็ม
๑๙. พระวรกายดุจต้นไทร มีพระวรกายเท่ากับวา
๒๐. ลำพระศอกลม
๒๑. เส้นประสาทรับรู้รสได้ดี
๒๒. พระหนุ (คาง) ดุจคางของราชสีห์
๒๓. พระทนต์ (ฟัน) ๔๐ ซี่
๒๔. พระทนต์เรียบเสมอ
๒๕. พระทนต์ไม่ห่าง
๒๖. พระเขี้ยวแก้วขาวงาม
๒๗. พระชิวหา (ลิ้น) ใหญ่
๒๘. พระสุรเสียงก้องกังวานดุจเสียงของพระพรหม ไพเราะดุจเสียงของนกการเวก
๒๙. พระเนตรดำสนิท
๓๐. ดวงพระเนตรดุจตาของลูกโค
๓๑. พระอุณาโลม (ขนระหว่างคิ้ว) ขาวอ่อนนุ่มดุจสำลี
๓๒. พระเศียรดุจสวมมงกุฎ

คุณธรรมของพระราชาผู้ที่จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

คุณธรรมของพระราชาผู้จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

๑. อาศัยธรรมะ สักการะเคารพธรรมะ นับถือธรรมะ บูชาธรรมะ ยำเกรงธรรมะ มีธรรมะเป็นธงชัย มีธรรมะเป็นใหญ่
๒. รักษาคุ้มครอง ป้องกันอย่างเป็นธรรมะในราชนิกุล ในกองพล ในกษัตริย์ เมืองขึ้น ในชาวเมือง ชาวชนบท สมณะ พราหมณ์
๓. รักษาคุ้มครองป้องกันอย่างเป็นธรรมะในเหล่าสัตว์เดรัจฉาน ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า
๔. ไม่ให้มีสิ่งผิดศีลธรรมในแผ่นดิน
๕. ให้ทรัพย์แก่ผู้ไม่มีทรัพย์
๖. เข้าไปหาสมณะพราหมณ์ผู้มีความอดทน มีความสงบระงับ ฝึกตนอยู่ผู้เดียว ดับกิเลสอยู่ผู้เดียว ล้วถามว่า“ท่านขอรับ...กุศล
คือ อะไร อกุศลคืออะไร กรรมใดไม่มีโทษ กรรมใดมีโทษ กรรมใดควรเสพ กรรมใดไม่ควรเสพ กรรมใดทำแล้วเป็นประโยชน์ กรรมใด
ทำแล้วไม่เป็นประโยชน์”
๗. เมื่อฟังคำของสมณะพราหมณ์นั้นแล้ว สิ่งใดเป็นอกุศลจงเว้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลจงถือมั่นประพฤติปฏิบัติ

จักรแก้ว

พระราชาผู้ที่จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงศีล ๕ อยู่เป็นนิตย์ ในวันอุโบสถ ๘ ค่ำ ๑๔ – ๑๕ ค่ำ พระองค์จะทรงจัดการงานแผ่นดิน
ทั้งหลายให้เสร็จแต่เช้าตรู่ แล้วทรงถวายมหาทาน ทรงสรงน้ำชำระพระเศียรแล้วฉลองพระองค์ด้วยชุดขาว เสวยพระกระยาหารประทับนั่ง
สมาธิอยู่บนปราสาทสมาทานศีล ๘ ทรงลำลึกถึงเหตุแห่งบุญที่สำเร็จด้วย ทาน ศีล การข่มใจ และการฝึกตนของพระองค์ จนกระทั่งวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง คืนหนึ่งขณะที่พระองค์ทรงถือศีล ๘ และเจริญสมาธิอยู่ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ก็ปรากฏแก่พระองค์ จักรแก้วอันเป็นทิพย์นั้นบริบูรณ์ด้วย ดุม กง และซี่พันซี่ ล้วนสำเร็จด้วยทองและเงิน ประดับด้วยรัตนะชาติ ๙ ประการ ที่ได้รับการสลักลวดลายอย่างวิจิตรงดงาม มีแสงรัศมีซ่านออกโดยรอบดุจดวงอาทิตย์ จักรแก้วเมื่อต้องลมแล้วมีเสียงไพเราะยวนใจ ชวนให้ฟัง ชวนให้เคลิบเคลิ้ม เหมือนเสียงดนตรีทั้ง ๕ ที่บรรเลงโดยนักดนตรีผู้ชำนาญดีแล้ว
จักรแก้วนั้นลอยมาจากทิศตะวันออกเปล่งแสงสุกสว่างดุจพระจันทร์ดวงที่ ๒ มาวนเวียนรอบพระนครแล้วหยุดอยู่ที่สีหะบัญชรด้านทิศเหนือของปราสาท มหาชนเห็นแล้วแตกตื่นพากันวิ่งตามมาดูและสักการบูชา พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นจักร   
แก้วแล้วทรงดำริว่า “เราเคยได้ฟังมาว่า พระราชาผู้ได้รับการราชาภิเษ แล้วองค์ใด ทรงสรงน้ำชำระพระวรกาย สระพระเศียร แล้วรักษาอุโบสถศีลอยู่บนปราสาทในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ จักรแก้วอันเป็นทิพย์จะปรากฏแก่พระราชาพระองค์นั้น ผู้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เราเห็นจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิแล้วหรือ?” จึงทรงออกจากสมาธิลุกขึ้นมาทรงผ้าสไบเฉวียงบ่า พระหัตถ์ซ้ายจับพระเต้าทองหลั่งน้ำทักษิโณทก พระหัตถ์ขวาชูจักรขึ้น แล้วตรัสว่า “โอ... จักรแก้วอันเจริญ จงหมุนไปพิชิตจักรวรรดิเถิด” ทันใดนั้นจักรแก้วก็หมุนลอยนำไปทางทิศตะวันออก พระราชาพร้อมด้วยกองทัพ ๔ เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า อีกทั้งมหาชนทั้งหลายก็ติดตามไป ด้วยอานุภาพของจักรแก้วพาให้พระราชาและผู้ติดตามทั้งหมดเหาะลอยไปได้ในอากาศ ข้ามภูเขา ข้ามแม่น้ำ ข้ามทะเล จักรแก้วนำพาไปสู่อาณาจักรของประเทศใด ก็หยุดลงที่หน้าพระราชนิเวศของพระราชาประเทศนั้น พระองค์พร้อมผู้ติดตามก็หยุด ณ ที่นั้น พระราชาของประเทศนั้นๆก็นำเครื่องบรรณาการเสด็จเข้ามาเฝ้าพระองค์ แล้วน้อมพระเศียรอันทรงมหามงกุฎซบพระบาทของพระองค์ กราบทูลด้วยวจนะว่า “ข้าแต่มหาราช... ขอพระองค์ทรงเสด็จมาเถิด การเสด็จมาของพระองค์เป็นความดี ข้าพระองค์ขอถวายการต้อนรับพระองค์ด้วยราชสมบัติของหม่อมฉันขอยกถวายแก่พระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดประทานพระราชโอวาทแก่หม่อมฉันเถิด”.
พระองค์ไม่ทรงตรัสว่า “ท่านทั้งหลายจงนำเครื่องราชพลีมาให้เรา” พระองค์ไม่ทรงเอาโภคทรัพย์ของพระราชาองค์ใดไป แต่ทรงตรัสด้วยพระปัญญาอันสมควรที่พระองค์เป็นธรรมราชา ทรงแสดงธรรมะด้วยพระวจนะอันเป็นที่รัก อันละเอียดอ่อนว่า “ดูก่อนพ่อทั้งหลาย.... การฆ่าสัตว์ก็ดี การลักทรัพย์ก็ดี การประพฤติผิดในกามก็ดี การพูดโกหกก็ดี การเสพสุราเมรัยและสิ่งเสพติดก็ดี บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทุกข์ในโลกนี้ เมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่นรก การไม่เสพกรรมทั้ง ๕ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อสุขในโลกนี้ เมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่สวรรค์ ดังนั้นพ่อทั้งหลายไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์ ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงพูดโกหก ไม่พึงเสพสุราเมรัยและสิ่งเสพติด แล้วพ่อทั้งหลายจงเสวยราชสมบัติตามเดิมเถิด”.
จักรแก้วนำพาพระราชาพิชิตประเทศต่างๆทางทิศตะวันออก... พระราชาของประเทศเหล่านั้นก็ออกมาสวามิภักดิ์โดยดี ทรงเป็นบริวารของพระองค์โดยทั่วแล้ว จักรแก้วก็นำเสด็จสู่ทิศใต้... พระราชาแห่งประเทศทั้งหลายทางทิศใต้ก็ออกมาสวามิภักดิ์ จักรแก้วนำเสด็จสู่ทิศตะวันตก... พระราชาแห่งประเทศทั้งหลายทางทิศตะวันตกก็ออกมาสวามิภักดิ์ จักรแก้วนำเสด็จสู่ทิศเหนือ... พระราชาแห่งประเทศทั้งหลายทางทิศเหนือก็ออกมาสวามิภักดิ์ พระราชาทั้งหลายที่จะประชุมกองกำลังเตรียมรบหรือพยายามยก
อาวุธขึ้นต่อกรไม่มีเลยพระราชาของประเทศทั้งหลายย่อมเข้าถึงการฝึกอบรมแล้วด้วยอานุภาพของจักรแก้ว พระองค์ก็บรรลุความเป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งปฐพี โดยมีมหาสมุทรทั้งหมดเป็นขอบเขต ถึงซึ่งความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิปกครองโลกด้วยประการฉะนี้ เมื่อจักรแก้วนำพิชิตทั่วพื้นปฐพีนี้แล้ว ก็นำเสด็จกลับสู่ราชธานีตั้งประดิษฐานอยู่ในประตูเมืองให้สง่างาม มหาชนทั้งหลายก็นำเครื่องสักการะบูชาอันมีดอกไม้และของหอมเป็นต้นมาสักการะบูชา กิจที่จะต้องทำด้วยการจุดคบเพลิง ด้วยการจุดตะเกียงในราชธานีไม่มี แสงสว่างแห่งจักรแก้วย่อมกำจัดความมือแห่งราตรี บุคคลใดต้องการแสงสว่าง แสงสว่างก็เกิดแก่บุคคลนั้น บุคคลใดต้องการความมืด ความมืดก็เกิดแก่บุคคลนั้น.

ช้างแก้ว

ช้างแก้วได้ปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาช้างชื่อ อุโบสะถะ ตระกูลอุโบสถ เป็นช้างเผือกขาวปลอด มีลักษณะถูกต้องตามตำราคชลักษณ์ทั้งปวง มีฤทธิ์เหาะได้ พระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรด้วยความเลื่อมใสตรัสว่า “โอ... ผู้เจริญ ช้างเชือกนี้ถ้าได้รับการฝึกหัดก็จะดี” ช้างแก้วก็เป็นช้างแสนรู้ในทันทีเหมือนช้างที่ได้รับการฝึกอย่างดีมาเป็นเวลานาน ในเวลาเช้าพระองค์ทรงทดลองช้างแก้วด้วยการเสด็จขึ้นคอแล้วให้พาเที่ยวไปทั่วแผ่นดินจนสุดราชอาณาจักร เหาะไปรอบโลกแล้วกลับสู่ราชธานีทันเสวยพระกระยาหารเช้า.

ม้าแก้ว

ม้าแก้วได้ปรากฏขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาม้าชื่อ วลาหะกะ ตระกูลสินธพ มีสีขาวล้วน ศีรษะดำเหมือนกา มีผมเป็นพวงเหมือนหญ้าปล้อง มีฤทธิ์เหาะได้ พระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรด้วยความเลื่อมใสตรัสว่า “โอ... ผู้เจริญ ม้าตัวนี้ถ้าได้รับการฝึกหัดก็จะดี” ม้าแก้วก็เป็นม้าแสนรู้ในทันที เหมือนม้าที่ได้รับการฝึกหัดอย่างดีมาเป็นเวลานาน ในเวลาเช้าพระองค์ทรงทดลองม้าแก้วด้วยการเสด็จขึ้นขี่หลังแล้วให้พาเที่ยวไปทั่วแผ่นดินจนสุดราชอาณาจักร เหาะไปรอบโลกแล้วกลับสู่ราชธานีทันเสวยพระกระยาหารเช้า.

แก้วมณี

แก้วมณีได้ปรากฏขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นแก้วไพฑูรย์น้ำงามโดยกำเนิด แปดเหลี่ยมเจียรนัยดีแล้ว กว้างยาว ๔ ศอก ลักษณะงามพร้อมทุกประการ มีแสงสุกใสแวววาว มีรัศมีส่องแสงแผ่ออกไปไกล ๑ โยชน์ ถ้าติดไว้ที่ปลายยอดธงในเวลากลางคืนที่มืดมิด จะมีแสงสว่างดุจกลางวัน ชาวบ้านพากันประกอบการงานนึกว่าเป็นกลางวัน.

นางแก้ว

นางแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นสตรีรูปร่างสวยงาม น่าดู น่าชม น่าเลื่อมใส ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก เอวเล็กและบาง สะโพกผาย ทรวดทรงงามระหงอรชรได้สัดส่วน ผิวพรรณเปล่งปลั่งเกินมนุษย์ มีรัศมีสว่างไสวแผ่ไปไกล ๑๒ ศอก มีร่างกายอ่อนนุ่มเหมือนนุ่นหรือปุยฝ้าย เมื่ออากาศเย็นเนื้อตัวจะอุ่น เมื่ออากาศร้อนเนื้อตัวจะเย็น มีกลิ่นจันทร์ฟุ้งออกจากกาย กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปาก นางแก้วย่อมตื่นก่อนนอนทีหลังพระเจ้าจักรพรรดิ คอยรับฟังคำสั่ง คอยขับกล่อมพัดวี ประพฤติปฏิบัติเป็นที่พอพระราชหฤทัย พูดจาไพเราะอ่อนหวานด้วยคำที่น่ารัก ใจของนางไม่นอกพระหฤทัยของพระเจ้าจักรพรรดิแล้วทางกายจะประพฤติชั่วแต่ที่ไหน นางมีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสไม่บูดบึ้ง ชวนทัศนา.

คฤหบดีแก้ว

คฤหบดีแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นคนมีตาทิพย์ สามารถเห็นขุมทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของ ทั้งบนดินใต้ดิน ทั้งบนน้ำใต้น้ำ ได้ไกล ๑ โยชน์ เขากราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิว่า “ขอเดชะ... พระองค์ไม่ต้องทรงเป็นห่วงเรื่องทรัพย์ ข้าพระองค์จะกระทำหน้าที่จัดหาจัดการพระราชทรัพย์แก่พระองค์” พระเจ้าจักรพรรดิทรงทดลองคฤหบดีแก้ว ด้วยการเสด็จพาประทับบนเรือลอยสู่กลางแม่น้ำคงคา แล้วทรงรับสั่งคฤหบดีแก้ว “ดูก่อน... ท่านคฤหบดี ฉันต้องการเงินทอง”
คฤหบดี “มหาราชเจ้า... ถ้ากระนั้นขอพระองค์จงทรงให้เทียบเรือที่ริมตลิ่งเถิด”
พระเจ้าจักรพรรดิ “ท่านคฤหบดี... ฉันต้องการเงินทองตรงกลางแม่น้ำนี้แหละ”
ทันใดนั้น คฤหบดีแก้วก็เอามือทั้งสองจุ่มลงไปใต้น้ำ แล้วยกเอาหม้อที่เต็มไปด้วยเงินทองขึ้นมาพลางกราบทูลว่า “มหาราชเจ้า... เท่านี้พอ
หรือยังพระเจ้าข้า?”
พระเจ้าจักรพรรดิ “ท่านคฤหบดี... เท่านี้พอแล้ว ทำเพียงเท่านี้เถิด เท่านี้ก็เป็นอันท่านบูชาฉันแล้ว”


ปริณายกแก้ว

ปริณายกแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป้นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์เอง เป็นบัณฑิต เป็นนักปราชญ์ มีวิชาความรู้ทุกด้าน เฉลียวฉลาดสามารถรู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์ สามารถรู้วาระจิตของผู้อื่น เข้มแข็ง สามารถชี้แนะให้พระเจ้าจักรพรรดิเสด็จไปยังที่ๆควรไป ให้หลีกในที่ๆควรหลีก ให้ยับยั้งในที่ๆควรยับยั้ง เขากราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิว่า “ขอเดชะ... พระองค์ไม่ต้องทรงเป็นห่วง ข้าพระองค์จะทำหน้าที่จัดการปกครองและบริหารราชการแผ่นดินแทนพระองค์ พระองค์จะวางนโยบายอย่างไร ขอพระองค์จงทรงตรัสบอกเถิด พระเจ้าข้า” แก้วเจ็ดประการเห็นป่านนี้ปรากฏแล้วปรากฏแล้วแก่พระเจ้าจักรพรรดิ

356
หลวงตาม้าพูดถึงพุทธภูมิบารมีครึ่งหรือเกินครึ่ง



ณ คืนหนึ่งในวัดถ้ำเมืองนะ หลวงตาม้าท่านเคยพูดถึงพุทธภูมิผู้ทำบารมีมาแล้วครึ่งหนึ่งหรือเกินครึ่ง ได้ใจความว่า

"บารมีเกินครึ่งนี่ยังไม่ถือว่าเยอะนะ ถือว่ายังไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร จะรู้เรื่องรู้ราวจริงๆก็ตอนนู๊นล่ะ ตอนบารมีใกล้จะเต็ม"

มีน้องคนหนึ่งฝากผมกราบเรียนถามหลวงตาม้าว่า จะเป็นพุทธภูมิ ยากไหม?
หลวงตาท่านก็เมตตาตอบให้ว่า

"ไม่ยาก แต่ส่วนมากมักจะมาลา(พุทธภูมิ)กันตอนบารมีครึ่งหนึ่งเนี่ยแหละ"

หลวงตาม้าท่านเป็นพระสุปฏิปัณโณที่เอาใจใส่ในการฝึกฝนลูกศิษย์เป็นอย่างมาก และท่านไม่เคยพูดให้ใครเสียกำลังใจแม้แต่น้อยนิด โดยปกติแล้วหลวงตาท่านจะไม่ค่อยพูดจนกว่าจะมีลูกศิษย์กราบเรียนถาม

แต่ถ้าขณะที่นั่งรวมๆกันหลายๆคน หากผู้ใดที่เจอปัญหาอันใหญ่หลวง หรือ กำลังหลงระเริงไปกับโลกธรรมทั้ง8 ท่านก็จะเมตตาพูดเตือนสติขึ้นมาแต่ท่านจะไม่เอ่ยชื่อคนผู้นั้น เพราะถ้าเอ่ยขึ้นมาแล้วล่ะก็...ศิษย์ผู้นั้นจะต้องเกิดความรู้สึกอับอายอย่างแน่นอน เช่น มีอยู่ครั้งหนึ่งนั่งรวมกันอยู่หลายคน อยู่ๆท่านก็พูดขึ้นมาลอยๆว่า

"...เอ้อ..คนเรานี่มันชิงดีชิงเด่นกันนะ พอมีกำลังเข้าหน่อยก็แย่งลูกแย่งเมียเขา..."

ศิษย์ผู้ที่ถูกหลวงตาพูดถึงนี้ ถึงกับสะดุ้งขึ้นมาในทันใด เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ก็เช่นเดียวกัน ณ ตอนนั้นมีลูกศิษย์นั่งรวมกันอยู่มาก ท่านก็พูดขึ้นมาได้ใจความว่า

"...สภาพแวดล้อมก็มีส่วนนะ พระโพธิสัตว์บางองค์ติดสุข ทำให้เสียเวลาไปเลย ที่ทำอยู่ก็ไม่ได้เลวร้ายอะไรหรอก แต่จะเอาแค่นั้นจริงๆหรือ? ทั้งๆที่บารมีตัวเองก็มีอยู่แท้ๆ... "

357


"พุทธภูมิ"

พุทธภูมิ หรือ พระโพธิสัตว์ คือ ผู้ที่ปรารถนาพระโพธิญาณ ปรารถนาจะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาลเบื้องหน้า

ผมเคยกราบเรียนถามหลวงตาม้าถึงความหมายของคำว่าพระโพธิญาณ หลวงตาม้าท่านเมตตาตอบมาได้ใจความว่า

"โพธิญาณแปลว่าความรู้ใหญ่ ปรารถนาโพธิญาณก็แปลว่าปรารถนาความรู้ใหญ่ไง"

ผมจึงกราบเรียนถามท่านต่อไปว่า แล้วพุทธภูมินั้นควรทำอย่างไรจึงจะได้เป็น
หลวงตาท่านตอบมาง่ายๆสั้นๆเพียงแค่ว่า
"หากเป็นพุทธภูมิ ทำบุญทุกอย่างจะต้องอธิษฐานเพื่อโพธิญาณ แม้กระทั่งให้ขนมแก่มด"


"เวียนว่ายใน3ภพ"

เป็นที่รู้กันดีว่าพุทธภูมิจะต้องสั่งสมบำเพ็ญบารมีเพื่อให้ได้มาซึ่งพระโพธิญาณ หลวงตาม้าท่านเคยกล่าวไว้ได้ใจความว่า

"ไม่ใช่ปรารถนาแล้วจะเป็นกันได้เลยนะ มันต้องทำนะ"

การ สร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ไม่ได้จบเพียงชาติเดียว หากแต่จะต้องอาศัยช่วงระยะเวลาในการสร้างบารมีอันยาวนาน เวียนเกิด เวียนตายมากมายไม่สามารถนับได้ ทั้งลงนรก ทั้งขึ้นสวรรค์ ทั้งมาเกิดเป็นมนุษย์ หรือทั้งไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน



"มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมเคยถามหลวงตาเกี่ยวกับการที่พุทธภูมิต้องลงนรก"

หลวงตาท่านเมตตาตอบมาว่า

"ผู้ที่ปรารถนาพุทธภูมิ(พระโพธิสัตว์)
หากเข้าถึงไตรสรณคมณ์แล้ว จะสามารถปิดอบายภูมิได้"

ศิษย์: แล้วอย่างไรถึงจะเรียกว่าเข้าถึงไตรสรณคมณ์ครับ

หลวงตา: เรามองพระพุทธรูปหรือพระ แล้วรู้สึกยังไงล่ะ

ศิษย์: ขนลุกครับ ปิติ ชอบครับ

หลวงตา: นั่นแหละ เขาเรียกว่าเข้าถึงไตรสรณคมณ์

วันต่อมาผมนึกสงสัยในเรื่องนี้อีก จึงไปถามหลวงตาอีกครั้ง

ศิษย์: หากผู้ที่เพิ่งเริ่มปรารถนาพุทธภูมิ แต่สามารถเข้าถึงไตรสรณคมณ์ได้ จะปิดอบายภูมิเลยหรือ

หลวงตาม้าท่านก็เมตตาสั่งสอนว่า

"ถ้าเพิ่งปรารถนา มันต้องลงไปชิมดูก่อนนะ ถ้าเรียนจบทั้ง3ภพก็เป็นพระพุทธเจ้าได้เลย การสร้างบารมี เราต้องทำให้ครบ10อย่าง แต่ต้องเลือกเด่นๆสักอย่างหนึ่งในชาตินี้"


"พุทธภูมิจะต้องพยายามเป็นที่ ๑ ในทุกๆเรื่อง แม้เรื่องเรียนหนังสือก็เช่นกัน"

ความเป็น ๑ ของพุทธภูมิไม่ได้มีไว้แข่งขันชิงดีชิงเด่นกับใคร หากแต่เป็นไปเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นได้อย่างเต็มที่ ดังเช่นที่หลวงปู่ดู่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า


"กำลังของพุทธภูมิ
มีหน้าที่จะทำให้มหาชนมีความสุข
ถ้าคนเรียกร้องหรือบ้านเมืองเกิดยุคเข็ญ

ก็ต้องลงมาช่วย จะคิดเอาแต่สบายได้ยังไง
นั่นไม่ใช่ความคิดของหน่อพุทธภูมิ"

การเรียนรู้ของพุทธภูมิ



หลวงตาม้าท่านเคยกล่าวถึงการเรียนรู้แนวทางของพุทธภูมิไว้ ได้ใจความว่า

"ถ้าปรารถนาจะเป็นพุทธภูมิ เราก็ต้องไปเรียนกับพุทธภูมิที่บารมีสูงๆท่านถึงจะสอนให้ได้ ถ้าเราไปเรียนกับพระอรหันต์ ท่านก็สอนแนวทางการสร้างบารมีของโพธิสัตว์ไม่ได้ ท่านสอนเพียงทางไปพระนิพพานเท่านั้น แต่เราจะรู้ได้อย่างไรล่ะ ว่าครูบาอาจารย์ที่เป็นพระโพธิสัตว์บารมีสูงๆนั้นอยู่ที่ไหน ปัญหามันอยู่ตรงนี้"(หลวงตาม้าท่านพูดพร้อมกับหัวเราะอย่างอารมณ์ดี)

หลวงตาม้าท่านเคยกล่าวเอาไว้ได้ใจความว่า

"ในยุคนี้เนี่ยนะ ยุคที่เกิดกลียุคเนี่ยแหละ สร้างบารมีได้เยอะนะ แต่ต้องดูที่ความจำเป็นด้วย ฝึกกสิณนั้นก็ดีอยู่ แต่ในยุคสมัยเช่นนี้ฤทธิ์ไม่ค่อยจะเกิดประโยชน์เท่าใด ยุคนี้บุญฤทธิ์มีประโยชน์มากที่สุด"

มีอยู่ครั้งหนึ่ง หลวงตาม้าท่านพูดถึงครูบาอาจารย์หลายๆท่าน โดยที่ท่านยกมาเป็นตัวอย่างให้ฟังเพื่อให้เห็นถึงความยากลำบากในการสร้างบารมีของผู้ปรารถนาพระโพธิญาณและในบางครั้งที่พุทธภูมิจะต้องลงมาเกิดเป็นนักรบหรือต้องฆ่าเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาและแผ่นดินจากผู้รุกรานดังเช่นบูรพกษัตริย์ไทยหลายๆพระองค์ทรงกระทำมาแล้ว

ท่านกล่าวไว้ได้ใจความว่า

"หลวงพ่อดู่ท่านโดนกรรมหนักนะ ครูบาศรีวิชัยท่านก็โดนหนักเหมือนกัน หลวงปู่ศุข(วัดปากคลองมะขามเฒ่า) สมเด็จโตก็โดนเหมือนกัน คิดดูให้ดีๆ ไม่ใช่ของง่ายๆนะ(หัวเราะ)"

หลวงตาม้าท่านเคยถามลูกศิษย์คนหนึ่งได้ใจความว่า

"ปรารถนาพุทธภูมิเนี่ย วางแผนเอาไว้หรือยังว่าชาตินี้จะทำอะไร วันนี้จะทำอะไร วันพรุ่งนี้จะทำอะไร ลองคิดดู"

"จะทำอะไรก็ต้องให้มันเกิดประโยชน์ ถ้าไม่เกิดประโยชน์ก็อย่าไปทำ"

สิ่งที่หลวงตาม้าท่านเมตตาสอนนั้น ตรงกับหนึ่งใน พุทธภูมิธรรม ซึ่งมีเขียนเอาไว้ในบทสนทนาธรรมระหว่างพระมาลัยและพระศรีอารยเมตไตรโพธิสัตว์ดังนี้

ดูกรมหาบพิตร นิยตโพธิสัตว์ ที่ว่าต้องประกอบด้วย "พุทธภูมิ" นั้น อยาก ทราบว่า คำว่า "พุทธภูมิ" แปลและหมายความว่าอย่างไร มีเท่าไร อะไรบ้าง ขอถวายพระพร"

ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นักปราชญ์นิยมเรียกกันว่า "พุทธภูมิธรรม" คำว่า "พุทธภูมิธรรม" แปลว่าธรรมอันเป็นชั้นของพระพุทธเจ้า หมายความว่า ธรรมซึ่งจัดเป็นชั้นของผู้จะเป็นพระพุทธเจ้า อธิบายว่า นิยตโพธิสัตว์ คือ ผู้ที่เที่ยงแท้แน่นอนที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้านั้น จำเป็นต้องมีภูมิชั้นเชิงดีกว่า คนอื่นๆ มาก เพื่อเป็นเครื่องส่อให้เห็นว่า แปลกจากคนอื่นๆ อย่างไร และธรรมซึ่งเป็นภูมิ หรือ เป็นชั้นเชิงของผู้จะเป็นพระพุทธเจ้านั้น เรียกว่า พุทธภูมิธรรม มีอยู่ ๔ ประการ คือ

๑. อุสสาโห
ความองอาจกล้าหาญในการทำดี ไม่ยอ่ท้อต่อสิ่งอะไรทั้งหมด เป็นต้นว่า การงานที่ทำ ความเมื่อยล้า หิวกระหาย ใกล้ ไกล

๒. อุมมัคโค
มีปัญญาแก่กล้าเชี่ยวชาญ ความรู้อันแก่กล้า ได้แก่ความรู้ใน เหตุผลของการกระทำ นิยตโพธิสัตว์ต้องมีความรู้ในเหตุผลต้นปลายของ การกระทำต่างๆ ว่าอย่างไหนจะมีเหตุผลดีชั่วอย่างไร แล้วเลือกไม่ทำสิ่งที่ มีผลชั่ว เลือกทำแต่สิ่งที่มีผลดี

๓. วะวัตถานัง
มีอธิษฐานมั่นคง คือมีใจคอหนักแน่นมั่นคง มีความมั่นใจ นิยตโพธิสัตว์ย่อมมีใจคอมั่นคง หนักแน่น ไม่เหลาะแหละเหลวไหล เมื่อทำ สิ่งใดต้องทำให้สำเร็จ เป็นอันไม่ทอดทิ้ง

๔. หิตจริยา
ทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ นิยตโพธิสัตว์ย่อมทำแต่สิ่งที่เป็น ประโยชน์แก่ตนและแก่ผู้อื่น

ในคุณธรรม ๔ ข้อนี้ ถ้าลำดับตามวิธีใช้ ต้องลำดับอย่างนี้ คือ
อุมมัคคะ- หิตจริยา-อวัตถานะ-อุสสาหะ

อธิบายว่า ก่อนจะทำสิ่งใดลงไป ต้องใช้อุมมัคคะ คือ ปัญญาพิจารณาดู เสียก่อน แล้วจึงใช้หิตจริยา คือทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ใช้วัตถานะ คือ ความมั่นใจเป็นที่ ๓ ใช้อุตสาหะคือความไม่ย่อท้อเป็นที่ ๔ ส่วนพวกเราที่ไม่ใช่โพธิสัตว์ประเภทนิยตโพธิสัตว์ หรือสักว่าโพธิสัตว์ ก็ควรพยายามทำตนให้ตั้งอยู่ในภูมิธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ เมื่อสามารถ เลื่อนตนไปถึงภูมิธรรมทั้ง ๔ ประการนี้แล้ว จึงจะเรียกว่า "ปณีตบุคคล" คือ บุคคลชั้นดี และได้ชื่อว่า เป็นผู้มีภูมิดี

358
อภิญญาปฎิบัติ / ปฐมฌาน
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2012, 09:54:03 PM »
คำสอน พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

ปฐมฌาน

จาก หนังสือ กรรมฐาน ๔๐

วันนี้ก่อนที่จะศึกษาอย่างอื่น ก็ให้นึกถึงกฎธรรมดาไว้เป็นสำคัญ กฎธรรมดาที่จะมีสำหรับเรานั้นก็คือ ชาติปิ ทุกฺขา ความเกิดเป็นทุกข์ ชราปิ ทุกฺขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณมปิ ทุกฺขํ ความตายเป็นทุกข์ โสกปริเทวทุกขโสมนัสเป็นต้น ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ มีอาราณ์ขัดข้องหรือความปรารถนาไม่สมหวังเป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า เราเกิดมาเพื่อมาประสบกับความทุกข์ คนที่เกิดมาแล้วทุกคนที่จะไม่มีทุกข์ ไม่มี ถ้าหากว่าเรายังยึดถือว่า ร่างกายเป็นของเรา ทรัพย์สินเป็นของเรา ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเป็นของเรา อารมณ์ทุกข์มันก็เกิด เกิดเพราะว่าเราเกาะ ที่เรียกว่าอุปาทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกธรรมทั้ง ๘ ประการ คือ มีลาภดีใจ ลาภสลายตัวไป เสียใจ มียศ ดีใจ ยศสลายตัวไป เสียใจ มีความสุขในกามสุข ดีใจ ความทุกข์หมดไป ร้อนใจ ได้รับคำนินทา เดือดร้อน ได้รับคำสรรเสริญ มีสุข นี่ก็ถือว่าเป็นอารมณ์ของอุปาทาน สร้างความทุกข์ สร้างความหวั่นไหวให้เกิดขึ้นกับเรา

ทำอย่างไร เราจึงจะพ้นทุกข์

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แนะนำให้พวกเราถือว่าใช้อารมณ์คิดอยู่เสมอว่า กฎนี้เป็นกฎธรรมดาของโลกที่เราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงมันไปได้ ถ้ามันเกิดขึ้นกับเราก็ถือว่า ช่างมัน ตามศัพท์ภาษาบาลีท่านเรียกว่า ขันติ ความอดทน ถ้าใช้คำว่าอดทนมันเข้าใจยาก ใช้ภาษาไทยธรรมดาดีกว่า ว่ามันจะเกิดขึ้นมาประเภทไหนก็ช่างมัน

เกิดเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะการแสวงหา การเลี้ยงชีวิต การประกอบอาชีพ การบริหารร่างกาย การบริหารหมู่คณะ กิจที่จะต้องทำมันเหนื่อยยาก ได้รับความขัดข้องใจ เราคือว่าเราทำตามหน้าที่ เราทำไว้เต็มความสามารถแล้วใครจะติว่าดีหรือไม่ดี ไม่ถือ ไม่ปรารภว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะองค์สมเด็จพระทรงธรรม์กล่าวว่า นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต คนที่ไม่ถูกนินทาเลยไม่มีในโลก ฉะนั้น การนินทาว่าร้ายอะไรก็ตาม ก็ถือว่าช่างมันเป็นธรรมดา ทุกอย่างเราทำงานตามหน้าที่

ถ้าความเกิดมันเป็นทุกข์อย่างนี้ เราก็ถือว่านี่เพราะว่าอาศัยเราโง่เราจึงเกิด โง่เพราะอะไร ? โง่เพราะยึดมั่นว่า ร่างกายมันเป็นเรา เป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมันมีในเรา เมื่อยึดร่างกายเสียอย่างเดียว ก็เลยยึดทรัพย์สินภายนอกไปด้วย แต่ความจริงสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ถ้ามันเป็นเราจริง มันต้องไม่แก่ มันต้องไม่ป่วย มันต้องไม่ตาย ที่เกิดมาแล้ว มันต้องแก มันต้องป่วย มันต้องตาย ทำไมจิตใจเราจะต้องไปทุกข์มันด้วย ถ้าเราคิดไว้เสมอว่า เราเกิดเพื่อแก่ เกิดมาเพื่อป่วยไข้ไม่สบาย เกิดมาเพื่อกระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่เราไม่ชอบใจ เกิดมาเพื่อความพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ซึ่งมีความตายไปในที่สุด รวมความว่าเราเกิดมาเพื่อตาย ในเมื่อหน้าที่ของเราเกิดมาต้องประสบด้วยเหตุอย่างนี้ เราจะไปทุกข์มันทำไมเมื่ออาการทั้งหลายเหล่านั้นมันเกิด ถือว่านี่มันเป็นเรื่องธรรมดา ภายในไม่ช้าเราก็จะสิ้นทุกข์

วิธีสิ้นทุกข์ทำยังไง ?

เราก็มีการให้ทานเป็นปกติ ถ้าอารมณ์เราพร้อมเพรียงในทาน ก็ชื่อว่าเป็นการตัดโลภะ ความโลภ เรามีเมตตาเป็นปกติ อารมณ์ของเมตตาที่เราทรงอยู่คือรักษาศีลได้ ถ้ามีเมตตาอยู่ศีลมันก็ไม่ขาด ถ้ามีเมตตาอยู่เป็นปกติ นอกจากมีเมตตาอยู่แล้วศีลไม่ขาดแล้ว เมตตามันยังเป็นตัวทำลายโลภะ เราก็มาพิจารณาหาความจริงว่า ชาติปิ ทุกฺขา ความเกิดเป็นทุกข์ เจ้าอยากเกิดนี่ มันจะทุกข์อย่างไรก็ช่างมัน ใจเราก็วางเฉยไว้ ชราปิ ทุกฺขา ความแก่เป็นทุกข์ อาการงกๆ เงิ่นๆ ร่างกายไม่แข็งแรง ไม่กระปรี้กระเปร่า มีความปรารถนาไม่สมหวัง เพราะทำเองไม่ได้ แล้วเราก็เลยมีทุกข์ ถือว่านี่เป็นเรื่องธรรมดาของคนแก่ เกิดมาเพื่อแก่ มรณมฺปิ ทุกฺขํ ความตายเป็นทุกข์ เรื่องของชาวบ้านธรรมดาเราไม่ทุกข์ ถือว่าเป็นกฎธรรมดา ตายเสียได้ก็ดี เพระามันจะได้หมดเรื่องยุ่ง แล้วเราเห็นว่าขันธ์ห้าเป็นโทษ เป็นทุกข์สำหรับเรา เราก็เลยคิดต่อไปว่า ขึ้นชื่อว่าขันธ์ห้า ความเกิดมามีร่างกายขันธ์ห้า แบบนี้จะไม่มีสำหรับเราอีก เราจะไม่โง่ยอมรับนับถือให้มีร่างกายต่อไป ถ้าอารมณ์ใจของเราคิดไว้อย่างนี้เป็นปกติ เราก็จะหมดความทุกข์ มันค่อยๆ เข้าใจไปเอง

นี่เป็นบทที่บรรดาพุทธบริษัทควรจะคิดให้เป็นปกติ เพื่อความเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน นี่เป็นวิปัสสนาญาณตัวสุดท้าย

ต่อแต่นี้ไป ก็จะขอพูดต่อเมื่อวานนี้ เมื่อวานเรามาพูดกันถึงจบอุปจารสมาธิ วันนี้ก็จะขอพูดเข้าถึงจุดของฌาน การรักษาลมหายใจเข้าออกและคำภาวนาว่าพุทโธ ความจริงการภาวนานี่ไม่ได้จำกัด ท่านจะภาวนาอย่างใดก็ได้ตามอัธยาศัย การภาวนาใดๆ ก็ตามให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกไปด้วย เวลาหายใจเข้านึกว่าพุธ เวลาหายใจออกนึกว่าโธ ขณะใดที่จิตใจเรายังมีความรู้สึก จิตยังอยู่ในขอบเขตคำว่าพุทโธ หรือลมหายใจเข้าออก พึงทราบว่าขณะนั้นจิตของเราตั้งอยู่ในอารมณ์ของสมาธิ

การทรงสมาธิวันละนิดหนึ่ง องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า ท่านผู้นั้นเป็นผู้ไม่ว่างจากฌาน คือมีคุณธรรมสูงพอที่จะเอาตัวรอดได้ ถ้าเราทรงสมาธิได้ดีกว่านั้น หมายความว่าขณะที่ท่านทั้งหลายกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกแล้วก็กำหนดคำภาวนา ภาวนาไปด้วยจิตใจมีอารมณ์สบาย หูได้ยินเสียงภายนอกชัดเจนดี สุนัขเห่า สุนัขหอน คนพูดเสียงร้องเพลงร้องละคร เสียงชาวบ้านทะเลาะกัน เขานินทากัน หรือแม้ว่านินทาว่าร้ายเรา เราได้ยินหมด แล้วก็ปรากฏว่าใจของเราไม่รำคาญ เราไม่มีความรำคาญในเสียง สามารถกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกและคำภาวนาได้แบบสบาย อารมณ์อย่างนี้ถ้าทรงไว้ได้ ๒, ๓ นาที ๕ นาที ๑๐ นาทีก็ตาม ท่านถือว่าอารมณ์อย่างนี้เป็นอารมณ์ของปฐมฌาน จิตเราเข้าถึงปฐมฌาน เป็นฌานที่ ๑

ฌานที่ ๑ นี่เรามีกฏสังเกตไว้อย่างนี้ คือว่า เราไม่รำคาญในเสียง เพราะเสียงนี่เป็นศัตรูของปฐมฌาน ให้สังเกตไว้ แต่การเข้าถึงปฐมฌานกับการทรงปฐมฌานมันต่างกัน การทรงหมายความว่าเราบังคับจิตให้ทรงอยู่ในอารมณ์นั้นๆ เวลาเท่าใดก็ได้ตามที่เราตั้งใจไว้ อย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงฌาน ถ้าอารมณ์จิตเข้าถึงปฐมฌาน มันก็ลดตัวตัดลงมา ลดลงมาต่ำ เมื่อลดลงมาต่ำแล้ว เราก็ตั้งใจจะก้าวขึ้นไปอีก มันขึ้นไปได้หรือไม่ได้ก็ตามใจ

การที่จะเข้าถึงปฐมฌานในตอนต้น มันมีเรื่องอยู่ที่เป็นเรื่องน่าสงสัย นั้นคืออารมณ์เบื้องต้น ถ้าอารมณ์ของเราหยาบ มันจะมีอาการมืดตื้อ เคลิ้มคล้ายหลับ จะมีอารมณ์มืด บางทีเรามีความรู้สึกตัวเหมือนจะหลับไป ถ้าจิตมันตกจากอารมณ์นั้นลงมา จิตใจจะมีอารมณ์สว่าง เราก็คิดว่าเราเผลอหลับไปหรือไงก็ไม่ทราบ เราจะสังเกตได้ว่าเราหลับหรือไม่หลับ หรือว่าจิตเข้าสู่อารมณ์ฌานหยาบ ถ้าเราหลับหลับมันต้องโงกไปข้างหน้า หรือหงายไปข้างหลังเป็นอาการของคนหลับ ถ้าร่างกายมันนั่งอยู่เฉยๆ แล้วมีอาการเคลิ้มอย่างนั้น เกือบจะหมดความรู้สึกตัวเผลอไปแล้วก็รู้สึกขึ้นมาใหม่ อย่างนี้แสดงว่าจิตของท่านเข้าถึงปฐมฌาน แต่มันหยาบ มันทรงไม่ได้นาน ต่อไปจิตมันก็จะละเอียดเอง นี่เป็นลักษณะหนึ่งที่บรรดานักปฏิบัติทั้งหลายมีความสงสัย

อีกลักษณะหนึ่งนั่นคือว่า เวลานั่งๆ ไป มีอาการหวิวคล้ายกับตกจากที่สูง ทำให้ตกใจเสียวขึ้นมาทันที บางทีก็มีการใจเต้นแรงเหมือนเราตกจากที่สูง เมื่อมีความรู้สึกเป็นเช่นนี้ อารมณ์ดิ่งจะไม่มี เราจับได้ต่อไปก็จะมีแต่อารมณ์สบาย อาการอย่างนี้ขอบรรดาท่านทั้งหลายพึงเข้าใจ ว่านั่นจิตมันเข้าไปสู่ปฐมฌานแล้ว แต่ว่าจิตมันทรงอยู่ไม่ได้นาน มันพลัดตกจากฌาน คือมันพลัดแรงเกินไป ตกเข้าสู่สภาวะภวังค์ที่เรียกว่าจิตปกติ

ถ้าเป็นปฐมฌานอย่างละเอียด มันจะมีอารมณ์สบาย เฉยๆ มีความสว่างของจิต จิตจะมีอารมณ์สงบสงัด หูจะได้ยินเสียงทั้งหมด แต่ก็มีใจสบายไม่รำคาญในเสียง นี่เป็นปฐมฌานละเอียด

ถ้ามีอารมณ์อย่างนี้ทั้งสองประการ ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านก็ควรจะภูมิใจว่าจิตเราเข้าสู่ปฐมฌาน วันหนึ่งขณะหนึ่งก็ดี นาทีหนึ่ง ๒ นาที ๓ นาทีก็ดี ถ้าจิตทรงได้อย่างนี้ทุกๆ วันก็ชื่อว่าเราเป็นผู้ไม่ว่างจากฌาน เวลาที่ตายไปแล้วเราก็จะกลายเป็นพรหม เวลาที่เราป่วยหนัก อารมณ์ของสมาธิจิตจะเข้ามารวมตัว เมื่ออารมณ์จิตเข้ามารวมตัวแล้วเราก็จะมีความสุข นี่เราจะไปรู้กันเวลาที่ป่วยหนักๆ ว่ามันณขนาดไหน ถ้าจิตรวมตัวได้จิตทรงปฐมฌานอยู่ เวลาป่วยนี่มันได้ผลจริงๆ มันจะทรงตัวได้ดีมาก เมื่อจิตทรงตัวได้ดีมากเวลาตาย ตายในระหว่างปฐมฌาน ถ้าหากว่าเราได้ฌานอย่างหยาบ เราก็เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๑ ถ้าเป็นฌานอย่างกลางเราก็เป็นพรหมชั้นที่ ๒ ถ้าเป็นฌานอย่างละเอียดก็เป็นพรหมชั้นที่ ๓ ีนี่พูดกันถึงด้านโลกียวิสัย เป็นฌานโลกีย์

ถ้าอารมณ์เข้าถึงปฐมฌานแบบนี้ ถ้าเราพิจารณาอย่างตอนต้นแบบง่ายๆ ถึงอัตภาพร่างกายนี้ มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา เราไม่ยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย มันจะป่วยมันจะแก่ มันจะตายก็ช่างมัน ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ใครจะนินทาใครจะสรรเสริญเราไม่สนใจ ความร่ำรวยมีเท่าใด มันยากจนอย่างไร ก็ช่างมันหากินไปตามหน้าที่ มีมากกินมาก มีน้อยกินน้อย ถือว่ามีมากก็ตาย มีน้อยก็ตาย มีมากก็แก่ มีน้อยก็แก่ มีมากก็ป่วย มีน้อยก็ป่วย มีมากก็กลุ้ม มีน้อยก็กลุ้ม มันก็ไอ้กลุ้มเหมือนกัน สิ่งทั้งหลายเหล่านี้นั้น มันเป็นของธรรมดา เราทำใจให้สบาย

ถ้าจิตใจของเราไม่ยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย เห็นว่าร่างกายมีความเกิด มีความแก่เจ็บตายไปในที่สุด เป็นของธรรมดา มีอารมณ์แรงกล้า คือยอมรับนับถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างมั่นคงมีศีลบริสุทธิ์ มีอารมณ์รักพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่แค่ปฐมฌานทำได้แล้วขนาดนี้ เพราะกำลังของปฐมฌานมีกำลังพอที่จะตัดกิเลส อย่างนี้องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์เรียกว่าพระโสดาปัตติผล ถ้าอารมร์ใจของเราเข้าถึงความเป็นพระโสดาบันหรือโสดาปัตติผลนั่นเอง อารมณ์จิตมันก็จะไม่ตกต่ำ ไม่เคลื่อนไปอบายภูมิ ถ้าเราตายจากความเป็นมนุษย์ มีเกิดเป็นมนุษย์บ้างเป็นเทวดาบ้างสลับกันไป ถ้าได้พระโสดาอย่างหยาบ ก็เกิดเป็นมนุษย์อีก ๗ ชาติแล้วไปนิพพาน เป็นพระโสดาบันอย่างกลางก็เกิดเป็นมนุษย์อีก ๓ ชาติ เป็นพระโสดาบันอย่างละเอียดก็เป็นมนุษย์อีก ๑ ชาติ นี่พูดกันถึงตามหลักการที่เราจะได้พระโสดาบันหรือจะไม่ได้พบพระพุทธเจ้า อย่าลืมว่าพระโสดาบันทรงคุณธรรมเพียงสามประการเท่านั้น คือนึกอยู่เสมอว่าเราจะต้องตายเป็นปกติ เห็นความเกิด ความแก่ ความกลัดกลุ้มใดๆ ก็ตามมันเป็นของธรรมดา แต่ความโลภอยากรวยยังมีอยู่ ความอยากสวยยังมีอยู่ ความโกรธยังมีอยู่ ความหลงยังมีอยู่ แล้วความอยากสวยอยากรวยอยากโกรธอยากหลงมันอยู่ในขอบเขตของศีล อยากสวยก็สวยโดยไม่ผิดศีล อยากรวยได้มาโดยไม่ผิดศีล ไม่คดไม่โกงใคร โกรธได้แต่ทำร้ายใครเขาไม่ได้กลัวศีลขาด ยังหลงในร่างกายว่าเป็นเรา เป็นของเรา มีอยู่แต่ว่ารู้อยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย จิตใจมันปล่อยได้ งานทุกอย่างทำตามหน้าที่แล้วมีอารมณ์ยอมรับนับถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีศีลห้าบริสุทธิ์ มีอารมณ์รักพระนิพพานเป็นปกติ นี่แค่นี้เองพระโสดาบัน

ถ้าจะพูดย่อให้สั้นลงมา องค์พระโสดาบันก็คือ

๑) มีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างแน่นอน

๒) มีศีลห้าเป็นปกติ ศีลห้าไม่ขาด

อาการของพระโสดาบันก็คือชาวบ้านชั้นดี การปฏิบัติแบบนี้เพื่อจะเข้าถึงพระโสดาบันมันเป็นของไม่ยาก

เอาละต่อแต่นี้ไปบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย พยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่นกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา


ปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัตินี้ ท่านกำหนดองค์ของปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัติไว้ ๕ อย่างดังต่อไปนี้

1. วิตก จิตกำหนดนึกคิด โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ว่าหายใจเข้าหรือออก ถ้าใช้คำภาวนา ก็รู้ว่าเราภาวนาอยู่ คือภาวนาไว้มิให้ขาดสาย ถ้าเพ่งกสิณ ก็กำหนดจับภาพ กสิณอยู่ตลอดเวลาอย่างนี้เรียกว่าวิตก
2. วิจาร ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็ใคร่ครวญกำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราหายใจเข้าหรือ หายใจออก หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น หายใจเบา หรือแรง ในวิสุทธิมรรคท่านให้รู้กำหนด ลมสามฐานคือ หายใจเข้าลมกระทบจมูก กระทบอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย หายใจ ออกลมกระทบศูนย์ กระทบอกกระทบจมูกหรือริมฝีปาก

ถ้าภาวนา ก็กำหนดรู้ไว้เสมอว่าเราภาวนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ประการ ใด

ถ้าเพ่งภาพกสิณ ก็กำหนดหมายภาพกสิณว่า เราเพ่งกสิณอะไร มีสีสัน วรรณะเป็นอย่างไร ภาพกสิณเคลื่อนหรือคงสภาพ สีของกสิณเปลี่ยนแปลงไป หรือคงเดิม ภาพที่เห็นอยู่นั้นเป็นภาพกสิณที่เราต้องการ หรือ ภาพหลอนสอด แทรกเข้ามา ภาพกสิณเล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ ดังนี้เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่า วิจาร
3. ปีติ ความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีเป็นปกติ
4. ความสุขเยือกเย็น เป็นความสุขทางกายอย่างประณีต ซึ่งไม่เคยมีมาใน กาลก่อน
5. เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ตั้งมั่นอยู่ในองค์ทั้ง ๔ ประการนั้น ไม่คลาดเคลื่อน

ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัตินี้ เมื่อขณะทรงสมาธิอยู่นั้น หูยังได้ยินเสียงภายนอกทุกอย่าง แต่ว่าอารมณ์ภาวนาหรือรักษาอารมณ์ไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียง เสียงก็ได้ยินแต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ อย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ อารมณ์เพ่งอยู่ โดยไม่รำคาญ ในเสียงทรงความเป็นหนึ่งไว้ได้ ท่านกล่าวว่า กายกับ จิตเริ่มแยกตัวกันเล็กน้อย แล้วตามปกติจิตย่อมสนใจในเรื่องของกาย เช่นหูได้ยินเสียง จิตก็คิดอะไรไม่ออกเพราะรำคาญในเสียง แต่พอจิตเข้าระดับปฐมฌาน กลับเฉยเมย ต่อเสียงคิดคำนึงถึงอารมณ์กรรมฐานได้เป็นปกติที่ท่านเรียกว่า ปฐมสมาบัติ ก็ เพราะ อารมณ์สมาธิเข้าถึงเกณฑ์ของปฐมฌานที่จิตกับกายเริ่มแยกทางกันบ้างเล็กน้อย แล้วนั่นเอง

อารมณ์ปฐมฌาน และปฐมสมาบัติ

เพื่อให้จำง่ายเข้า จะขอนำอารมณ์ปฐมฌานมากล่าวโดยย่อเพื่อทราบไว้ อารมณ์- ปฐมฌานโดยย่อมีดังนี้

1. วิตก ความตรึกนึกคิดถึงอารมณ์ภาวนา
2. วิจาร ความใคร่ครวญทบทวนถึงองค์ภาวนานั้นๆ ครบถ้วนถูกต้องหรือไม่เพียงใด
3. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ มีความชุ่มชื่นเบิกบานหรรษา
4. สุข มีความสุขสันต์ทางกายและจิตใจอย่างไม่เคยมีมาในกาลก่อน เป็นความสุข อย่างประณีต
5. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ทรงวิตก วิจาร ปีติ สุข ไว้ได้โดยไม่มีอารมณ์ อื่นเข้ามาแทรกแซง

องค์ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ ๕ อย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ ต้องปรากฏพร้อม ๆ กันไปคือ นึกคิดถึงองค์ภาวนาใคร่ครวญในองค์ภาวนานั้น ๆ ว่า ครบถ้วนถูกต้องหรือ ไม่ประการใด มีความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีอารมณ์ผ่องใสสว่างไสวในขณะภาวนา มีความสุข สันต์หรรษา มีอารมณ์จับอยู่ในองค์ภาวนา ไม่สนใจต่ออารมณ์ภายนอก แม้แต่เสียงที่ได้ยิน สอดแทรกเข้ามาทำให้ได้ยินชัดเจน แต่จิตใจก็ไม่หวั่นไหว ไปตามเสียงนั้น จิตใจคงมั่นคง อยู่กับอารมณ์ภาวนาเป็นปกติ

เสี้ยนหนามของปฐมฌาน

เสี้ยนหนามหรือศัตรูตัวสำคัญของปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัตินี้ ก็ได้แก่ เสียง เสียงเป็นศัตรูที่คอยทำลายอารมณ์ปฐมฌาน ถ้านักปฏิบัติทรงสมาธิอยู่ได้ โดยไม่ต้องระแวงหวั่นไหวในเสียง คือไม่รำคาญเสียงที่รบกวนได้ก็แสดงว่าท่านเข้าถึง ปฐมฌานแล้ว ข้อที่ไม่ควรลืมก็คือ ฌานโลกีย์นี้เป็นฌานระดับต่ำ เป็นฌานที่ปุถุชน คนธรรมดาสามารถจะทำให้ได้ถึงทุกคน เป็นฌานที่เสื่อมโทรมง่าย หากจิตใจของ ท่านไปมั่วสุมกับนิวรณ์ห้าประการอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าแม้แต่อย่างเดียว ฌานของท่าน ก็จะเสื่อมทันที ต่อว่าเมื่อไรท่านขับไล่นิวรณ์ไม่ให้เข้ามารบกวนจิตใจได้ ฌานก็เกิดขึ้น แก่จิตใจของท่านต่อไป ฌานจะเสื่อม หรือ เจริญก็อยู่ที่นิวรณ์ ด้านนิวรณ์ไม่ปรากฏจิตว่าง จากนิวรณ์ จิตก็เข้าถึงฌาน ถ้านิวรณ์มารบกวนจิตได้ ฌานก็จะสลายตัวไป ฌานตั้งแต่ ฌานที่ ๑ ถึง ฌานที่ ๘ มีสภาพเช่นเดียวกัน คือต้องระมัดระวังนิวรณ์ไม่ให้เข้ามายุ่ง แทรกแซงเหมือนกัน ก่อนที่จะพูดถึงฌานที่ ๒ จะขอนำเอานิวรณ์ศัตรูร้ายผู้คอยทำลาย ฌานมาให้ท่านรู้จักหน้าตาไว้เสียก่อน

นิวรณ์ ๕

อกุศลธรรมที่คอยทำลายล้างความดีที่เป็นกุศล คือ ฌาน ท่านเรียกว่า นิวรณ์ มี ๕ อย่างคือ

1. กามฉันทะ ความพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสอันเป็นวิสัยของ กามารมณ์
2. พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
3. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะเจริญสมณธรรม
4. อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิดใจ
5. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิด ไว้หรือไม่เพียงใด

อารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นเพื่อนสนิทกับจิตใจมานับจำนวนปีไม่ถ้วน ควรจะพูด ว่า จิตใจของเราคบกับนิวรณ์มานานหลายร้อยหลายพันชาติ เมื่อจิตใจเราสนิทสนม กับอารมณ์ของนิวรณ์มานานอย่างนี้ เป็นธรรมดาอยู่เองที่จิตใจจะต้องอดคบหาสมาคมกับ นิวรณ์ไม่ได้ เมื่อเรามาแนะนำให้คบหาสมาคมกับฌาน ซึ่งเป็นเพื่อนหน้าใหม่ มีนิสัยตรงข้าม กับเพื่อนเก่าก็เป็นการฝืนอารมณ์อยู่ไม่น้อย ฉะนั้น ในฐานะที่นิวรณ์กับจิตเป็นเพื่อนสนิทกัน มานาน ก็อดที่จะแอบไปคบหาสมาคมกันไม่ได้ อารมณ์ที่จะคอยหักล้างนิวรณ์ คืออกุศลห้า- ประการนี้ได้ ก็อารมณ์ ๕ ประการของปฐมฌานนั่นเอง เมื่อจิตกับนิวรณ์เป็นมิตรสนิทกัน มานาน

ฉะนั้น การดำรงจิตอยู่ในอารมณ์ฌานจึงทรงอยู่ได้ไม่นาน ทรงอยู่ได้ชั่วครู่ชั่วขณะ จิตก็เลื่อนเคลื่อนออกจากอารมณ์ฌานคลานเข้าไปหานิวรณ์ อาการอย่างนี้เป็นกฎธรรมดา ของท่านที่เข้าถึงฌานในระยะต้น หรือที่มีความช่ำชองชำนาญในฌานยังน้อยอยู่ต่อเมื่อไร ได้ฝึกการดำรงฌาน กำหนดเวลาตามความต้องการได้แล้ว เมื่อนั้นแหละความเข้มข้นเข้ม แข็งของกำลังจิตที่จะทรงฌานอยู่ได้นานตามความต้องการจึงจะปรากฏมีขึ้น ขอนักปฏิบัติ จงเข้าใจไว้ด้วยว่า จิตที่เข้าสู่ระดับฌาน คือ ปฐมฌาน หรือฌานอื่นใดก็ตาม ถ้า ยังไม่ฝึกฝนจนชำนาญ เข้าฌานออกฌานตามกำหนดเวลาได้แล้ว จิตก็จะยังทรงสมาธิไว้ ได้ไม่นาน จิตจะค่อยถอยหลังเข้าหานิวรณ์ ๕ ประการอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่ออารมณ์ฌาน ย่อหย่อน เมื่อมีอาการอย่างนั้นบังเกิดขึ้นก็จงอย่าท้อใจหมั่นฝึกฝนเข้าฌานโดยการกำหนด เวลาว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะดำรงอยู่ในฌาน ตั้งแต่เวลานี้ถึงเวลาเท่านั้น แล้วเริ่มทำสมาธิเข้าสู่ ระดับฌาน ทรงฌานไว้ตามเวลาจนกว่าเมื่อถึงเวลาแล้วจิตจะเคลื่อนจากฌาน มีความรู้สึก ตามปกติเอง เมื่อทำได้แล้วหัดทำบ่อย ๆ จากเวลาน้อย ไปหาเวลามาก คือ ๑ ชั่วโมง ไป หา ๒-๓-๔-๕-๖ จนถึง ๑ วัน ๒-๓-๔-๕-๖-๗ พอครบกำหนด จิตก็จะคลายตัวออกเองโดย ไม่ต้องตั้งนาฬิกาปลุกหรือคนเรียก เมื่อชำนาญอย่างนี้ ชื่อว่าท่านเอาชนะนิวรณ์ได้ แต่ก็ อย่าประมาทเพราะฌานโลกีย์ ถึงอย่างไรก็ดี ยังไม่พ้นอำนาจนิวรณ์อยู่นั่นเอง นิวรณ์ที่ไม่มา รบกวนนั้นไม่ใช่นิวรณ์สูญไปหรือสลายตัวเพียงแต่เพลียไปเท่านั้นเอง ต่อเมื่อไรท่านได้ โลกุตตรฌาน คือ บรรลุพระอริยะ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปนั่นแหละท่านพอจะไว้ใจตัว ได้ว่าท่านไม่มีวันที่จะต้องตกมาอยู่ใต้อำนาจนิวรณ์ คืออกุศลธรรมต่อไปอีก เพราะโลกุต- ตรฌานคือ ได้ฌานโลกีย์แล้วเจริญวิปัสสนาญาณจนบรรลุอริยมรรคอริยผล เป็นพระอริย- บุคคล แล้วอกุศลคือนิวรณ์ ๕ ประการเข้าครองจิตไม่ได้สนิทนักสำหรับพระอริยะต้น พอจะ กวนบ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็จักจูงใจให้ทำตามนิวรณ์สั่งไม่ได้ นิวรณ์บางอย่างเช่น กามฉันทะ ความพอใจในความสวยงามของ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ความโกรธ ความขัด เคือง พระโสดาบัน พระสกิทาคามียังมี แต่ก็มีเพียงคิดนึกไม่ถึงกับลงมือทำ เรียกว่าอกุศลกวนใจ นิดหน่อย พอทำได้ แต่จะบังคับให้ทำไม่ได้ สำหรับพระอนาคามี ยังตกอยู่ใต้อำนาจของ อุทธัจจะ คือความคิดฟุ้งซ่าน แต่ก็คิดไปในส่วนที่เป็นกุศลใหญ่มากกว่า ความคิดฟุ้งเลอะ เลือนเล็กๆ น้อย ๆ พอมีบ้าง แต่ไม่มีอะไรเป็นภัย เพราะพระอนาคามีหมดความโกรธ ความพยาบาทเสียแล้ว

อำนาจของนิวรณ์มีอย่างนี้ บอกให้รู้ไว้ จะได้คอยยับยั้งชั่งใจคอยระมัดระวังไว้ไม่ปล่อย ให้ใจระเริงหลงไปกับนิวรณ์ ที่ชวนให้จิตมีความรู้สึกนึกคิดไปในส่วนที่เป็นอกุศลยับยั้งตนไว้ ในอารมณ์ของฌานเป็นปกติ ท่านที่มีอารมณ์จิตเข้าถึงอารมณ์ฌานและเข้าฌานไว้เป็นปกติ ท่านผู้นั้นมีหน้าตาแช่มชื่นเอิบอิ่มอยู่เสมอ มีอารมณ์เบิกบานไม่หดหู่ เห็นน่ารักอยู่ตลอดเวลา ฌานแม้แต่เพียงปฐมฌานจัดว่าเป็นฌานเบื้องต้น ก็มีผลไม่น้อยถ้าทรงไว้ได้ไม่ปล่อยให้เสื่อม ตายไปในขณะที่ทรงฌาน ก็สามารถไปเกิดในพรหมโลกได้สามชั้น คือ ปฐมฌานหยาบเกิด เป็นพรหมชั้นที่ ๑ ปฐมฌานกลาง เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๒ ปฐมฌานละเอียด เกิดเป็นพรหม ชั้นที่ ๓ ถ้าท่านเอาสมาธิในปฐมฌานมาเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณแล้วอำนาจสมาธิของ ปฐมฌานก็สามารถเป็นกำลังให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสเป็น สมุจเฉทปหาน คือตัดกิเลส ได้เด็ดขาดจนบรรลุอรหัตตผลได้สมความปรารถนา อำนาจฌานแม้แต่ฌานที่ ๑ มีอานุภาพ มากอย่างนี้ ขอท่านนักปฏิบัติจงอย่าท้อใจ ระมัดระวังใจ อย่าหลงใหลในนิวรณ์จนเสียผลฌาน

359


ท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร เดิมเป็นลูกชายของพราหมณ์ที่มีความร่ำรวยแต่ตระกูลของพราหมณ์ตระกูลนี้ไม่ได้นับถือ พระพุทธศาสนาเขามีศาสนาพราหมณ์เป็นที่เคารพอยู่แล้ว ต่อมาลูกชายของพราหมณ์ที่ชื่อว่ามัฏฐกุณฑลีป่วยมาก พ่อกับแม่จะรักษาก็เสียดายเงินจึงไปถามหมอว่า โรคผอมเหลืองของลูกชายใช้ยาอะไรรักษา หมอก็บอกยากลางบ้านคือ ยาที่ชาวบ้านเอามารักษาโรคกันเอง โดยที่ไม่มีหมอตรวจอาการของโรคก่อน เป็นยาที่ไม่ตรงกับโรค มัฏฐกุณฑลี จึงป่วยหนักขึ้น และเห็นว่าพ่อกับแม่ ไม่ได้เป็นที่พึ่งแน่นอน เมื่อทุกขเวทนามากขึ้นหมดที่พึ่งก็นึกถึงพระพุทธเจ้า โดยเธอคิดว่าชาวบัานเขาลือกันว่าพระสมณโคดม มีเมตตาสูงใจดี สงเคราะห์ไม่ว่าใคร ใครมีทุกข์ท่านสงเคราะห์ทุกคน เธอจึงได้นอนนึกถึงพระพุทธเจ้า ขอให้พระพุทธเจ้ามาช่วยรักษาให้หายจากโรค ในขณะนั้นเธอก็ได้ถึงคราวตาย เมื่อเขาตายจิตออกจากร่าง ด้วยเดชะบารมีพระพุทธเจ้าที่เขาคิดถึง ว่าอยากให้มารักษาโรคก็ บันดาลให้เขาไปเกิดเป็นเทวดา บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นามว่า มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร มีวิมานทองคำเป็นที่อยู่ มีนางฟ้าหนึ่งพันเป็นบริวาร

เมื่อมัฏฐกุณฑลี เสียชีวิต ด้วยเพราะคิดถึงลูก พราหมณ์ผู้เป็นพ่อจึงไปยืนอ้อนวอนที่หน้าหลุมศพทุกวันว่าขอให้ ลูกชาย กลับมาเกิดใหม่ ในที่สุดลูกชายที่เป็นเทวดาก็ปรากฏตัวขึ้น จึงได้บอกกับพ่อของเขาว่า เวลานี้เธอได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ ที่ไปเป็นได้เพราะอาศัยนึกถึงพระสมณโคดมให้มาช่วยให้หายป่วย มือไม่เคยยกไหว้ บาตรไม่เคยใส่ เทศน์ที่พระสมณโคดมเทศน์ก็ไม่เคยฟัง อาศัยที่นึกถึงชื่อพระองค์อย่างเดียวเป็นเหตุให้ไปเกิดเป็นเทวดาได้ จึงได้แนะนำพ่อว่า ต่อไปจงถวายทานแด่พระสมณโคดมและพระของท่าน จงฟังเทศน์ จงใส่บาตรพระ จะเป็นคนมีบุญมากๆ เมื่อตายจะมีความสุขมากกว่าเธอ แล้วเธอก็ได้เหาะกลับวิมาน

เมื่อฟังแล้วบิดาจึงตั้งใจจะถวายทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก เมื่อกลับถึงบ้านจึงบอกให้ภรรยาทำอาหารมากๆ เพื่อวันนี้จะได้ไปถวายทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก เมื่อเสร็จแล้วจึงได้เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่ไปถึงกลับกล่าววาจาโอหังยืนอยู่ข้างหน้าแล้วถามว่า "พระสมณโคดม คนไม่เคยยกมือไหว้ท่าน ไม่เคยใส่บาตร ไม่เคยฟังเทศน์ เพียงนึกชื่อท่านอย่างเดียวตายไปแล้วเกิดเป็นเทวดา นางฟ้ามีไหม"พระพุทธเจ้าตรัสว่า พราหมณ์ คนที่ไม่เคยใส่บาตร ไม่เคยยกมือไหว้ ไม่เคยฟังเทศน์จากเรา ตายไปแล้วไปเกิดบนสวรรค์ ไม่ใช่นับร้อยนับพัน แต่นับเป็นโกฏีๆ แต่ทว่าท่านที่ฝึกกรรมฐาน ถึงมีว่าจะมีสมาธิเล็กน้อย ท่านก็ว่ามีผลดีกว่า มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ทั้งนี้เพราะทุกคนเคารพ พระพุทธเจ้า เคยบูชาพระ เคยไหว้พระ เคยใส่บาตร เคยฟังเทศน์ และเจริญกรรมฐานด้วยความเคารพ

ที่มา:หนังสือวิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ โดย พระสุธรรมยานเถระ(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

360
พระพุทธเจ้าที่พระโพธิสัตว์อดีตชาติของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
ทรงได้พบและได้สร้างบารมี โดยละเอียดตั้งแต่ก่อนได้รับพุทธพยากรณ์
และหลังได้รับพุทธพยากรณ์ เพื่อเข้าใจถึงความยาวนานของกัป กัลป์ และอสงไขย มากขึ้น

สรุปจากหนังสือ สัมภาระบารมี ของท่าน นาคะประทีป และ ศาสตร์ว่าด้วยการเป็นพุทธเจ้า ของ พระเทพมุนี (วิลาศ ญาณวโร)

อสงไขย พระพุทธเจ้าอุบัติ (ชื่อพระโพธิสัตว์ในอดิตของพุทธเจ้าปัจจุบัน)

*** บารมีตอนต้น ตั้งความปารถนาเป็นพระพุทธเจ้าไว้ในใจ 7 อสงไขย
องค์หญิงสุมิตตาเทวี(หรือ พระนางวิสุทธาเทวี ในหนังสือ พระพุทธเจ้าเคยเกิดเป็นผู้หญิง " ของ อ. บารมี) ชาติก่อนเริ่มต้นสร้างบารมีอย่างแท้จริง 100,000 มหากัป

เริ่มต้น 0 พระปุราณทีปังกรพุทธเจ้า (องค์หญิงสุมิตตาเทวี)(หรือ พระนางวิสุทธาเทวี)

เริ่ม พระพรหมเทวพุทธเจ้า (พระราชาอรตีเทวราช)
นันทะอสงไขย 1 พระพุทธเจ้า 5,000 พระองค์
สุนันทะอสงไขย 2 พระพุทธเจ้า 9,000 พระองค์
ปัฐวีอสงไขย 3 พระพุทธเจ้า 10,000 พระองค์
มัณทะอสงไขย 4 พระพุทธเจ้า 11,000 พระองค์
ธรณีอสงไขย 5 พระพุทธเจ้า 20,000 พระองค์
สาคระอสงไขย 6 พระพุทธเจ้า 30,000 พระองค์
ปุณทริกะอสงไขย 7 พระพุทธเจ้า 40,000 พระองค์
รวมได้พบกับพระพุทธเจ้าใน 7 อสงไขย 125,000 พระองค์

*** บารมีตอนกลาง กล่าววาจาปารถนาเป็นพระพุทธเจ้า 9 อสงไขย
เริ่มต้น พระปุราณศรีศากยมุนีชินสีห์พุทธเจ้า(พระเจ้าสาครจักรพรรดิ์)
สัพพถัททะอสงไขย 8 พระพุทธเจ้า 50,000 พระองค์
สัพพผุลละอสงไขย 9 พระพุทธเจ้า 60,000 พระองค์
สัพพรตนะอสงไขย 10 พระพุทธเจ้า 70,000 พระองค์
อสุภขันธะอสงไขย 11 พระพุทธเจ้า 80,000 พระองค์
มานีภัททะอสงไขย 12 พระพุทธเจ้า 90,000 พระองค์
ปทุมะอสงไขย 13 พระพุทธเจ้า 20,000 พระองค์
อุสภะอสงไขย 14 พระพุทธเจ้า 10,000 พระองค์
ขันธคมะอสงไขย 15 พระพุทธเจ้า 5,000 พระองค์
สัพพผาละอสงไขย 16 พระพุทธเจ้า 2,000 พระองค์
รวมได้พบพระพุทธเจ้าใน 9 อสงไขย 387,000 พระองค์

*** บารมีตอนปลาย ได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า 4 อสงไขย 100,000 มหากัปล์
กัปแรก - พระตัณหังกรพุทธเจ้า ยังไม่ได้รับพุทธพยากรณ์
สารมัณฑกัป - พระเมธังกรพุทธเจ้า ยังไม่ได้รับพุทธพยากรณ์
พุทธเจ้า 4 องค์ - พระสรนังกรพุทธเจ้า ยังไม่ได้รับพุทธพยากรณ์

** ได้รับพยากรณ์ - พระทีปังกรพุทธเจ้า (สุเมธดาบส) พุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก
อายุขัยสมัยนั้นประมาน 100,000 ปี ศาสนาอยู่ในโลก ได้นานปี
รวมเวลาจาก พระนางสุมิตตาถึงสุเมธดาบส 16 อสงไขย 1 แสนกัป

เสละอสงไขย - เป็นสูญกัปไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น 1 อสงไขย
สารกัปมี 1องค์ - พระโกณฑัญญะพุทธเจ้า (วิชิตาวีจักรพรรดิ ออกบวชมีอภิญญา)
อายุขัย 100,000 พรรษา
ภาสะอสงไขย - ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น 1 อสงไขย
ครบ 2 อสงไขย - พระสุมังคละพุทธเจ้า ( เป็นสุรุจิพราหมณ์โพธิสัตว์บวชมีอภิญ)
อายุขัย 90,000 พรรษา
สารมัณฑกับ - พระสุมนะพุทธเจ้า (เป็นพญานาคอดุลยวาสุกรีโพธิสัตว์)
อายุขัย 90,000 พรรษา
พุทธเจ้า 4 องค์ - พระเรวตะพุทธเจ้า (เป็นพราหมณ์ อติเทวมาณพโพธิสัตว์)
อายุขัย 60,000 พรรษา (อาจเป็นปัญญาพุทธเจ้า)
- พระโสภิตะพุทธเจ้า (เป็นพราหมณ์ อชิตมาณพโพธิสัตว์)
อายุขัย 90,000 พรรษา
ชยอสงไขย - ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น 1 อสงไขย
วรกัป - พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า (เป็นพญายักขเสนาบดีโพธิสัตว์)
อายุไขย 100,000 พรรษา
พุทธเจ้า 3 องค์ - พระปทุมะพุทธเจ้า (เป็นพญาไกรสรราชสี)
อายุไขย 100,000 พรรษา
- พระนารทะพุทธเจ้า (เป็นมหาฤาษีโพธิสัตว์)
อายุไขย 90,000 รุจิรอสงไขย - ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น 1 อสงไขย

** บารมีช่วง เศษแสนมหากัปที่เหลือ **
มัณฑกัป แต่มี - พระปทุมมุตระพุทธเจ้า (เป็นนายบ้านชื่อ ชฏิลบวชเป็นดาบส)
(พระพุทธเจ้า 1 พระองค์) พระอสิติสมัยพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้รับพยากรณ์จากพระปทุม มุตระมากที่สุด ดังมีในพระไตรปิฏก อายุขัย
100,000 พรรษา

30000 มหากัป - เป็นสูญกัป ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น
มัณฑกัป - พระสุเมธพุทธเจ้า (เป็น อุตตรมานพ ได้ออกบวชเป็นภิกษุ)
อายุขัย 90,000 พรรษา
พุทธเจ้า 2 องค์ - พระสุชาตะพุทธเจ้า (เป็น บรมจักรพรรดิ ได้ออกบวช)
อายุขัย 90,000 พรรษา
60000 มหากัป - เป็นสูญกัป ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น
วรกัป - พระปิยทัสสีพุทธเจ้า ( เป็นกัสสปะมานพ)
อายุขัย 90,000 พรรษา
พุทธเจ้า 3 องต์ - พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า (เป็นสุสิมะดาบส)
อายุไขย 100,000 พรรษา
- พระธรรมทัสสีพุทธเจ้า (เป็นพระอินทร์)
อายุไขย 100,000 พรรษา
9904 มหากัป - เป็นสูญกัป
สารกัปมี 1องค์ - พระสิทธัตถะพุทธเจ้า (เป็นมังคะฤาษี)
อายุไขย 100,000 พรรษา
2 มหากัป - เป็นสูญกัป
มัณฑกัป - พระดิสสะพุทธเจ้า (เป็นพระเจ้าสุชาตะมหาราชดาบส)
อายุไขย 100,000 พรรษา
พุทธเจ้า 2 องค์ - พระมหาปุสสะพุทธเจ้า (เป็นพระเจ้าวิชิตกษัตริย์ได้ออกบวช)
อายุไขย 90,000 พรรษา
สารกัปมี 1องค์ - พระวัปัสสีพุทธเจ้า (เป็นภุชงคนาคราช)
อายุไขย 80,000 พรรษา
60 มหากัป - เป็นสูญกัป
มัณฑกัป - พระสิขีพุทธเจ้า (เป็นพระเจ้าอรินทมะราชาธิราช)
อายุไขย 70,000 พรรษา
พุทธเจ้า 2 องค์ - พระเวสสภูพุทธเจ้า (เป็นพระเจ้าสุทัสสนะมหาราชได้ออกบวช)
อายุไขย 60,000 พรรษา (เป็นศรัทธาพุทธเจ้า)
31 มาหากัป - เป็นสูญกัป ภัทรกัป(ปัจจุบัน) - พระกกุสันธะพุทธเจ้า(เป็นพระเจ้าเขมะนราธิราชได้ออกบวช)
อายุไขยมนุษย์สมัยนั้น 40,000 ปี ศรัทธาพุทธเจ้า
พุทธเจ้า 5 องค์ - พระโกนาคมมะพุทธเจ้า(เป็นพระเจ้าบรรพตบรมขัตติยาภิกษุ)
อายุไขยมนุษย์สมัยนั้น 30,000 ปี ศรัทธาพุทธเจ้า
- พระกัสสปะพุทธเจ้า (เป็นโซติปาลมาณพได้ออกบรรพชา)
อายุไขยมนุษย์สมัยนั้น 20,000 ปี ศรัทธาพุทธเจ้า
- พระศรีศากยมุนีโคดมพุทธเจ้า (เป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน)
อายุไขยมนุษย์ 100 ปี ศาสนาตั้งอยู่ในโลก 5,000 ปี
- พระศรีอริยเมตไตรพุทธเจ้า(เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตในกัปนี้)
อายุไขยมนุษย์สมัยนั้น 80,000 ปี วิริยะพุทธเจ้า

ถ้ากล่าวถึงบารมีตอนปลาย 4 อสงไขยกับเศษแสนมหากัปนั้นพระโพธิสัตว์พบพระพุทธเจ้าเพียง 27 พระองค์เท่านั้น น้อยกว่าบารมีตอนต้นและตอนกลางมาก ที่พระโพธิสัตว์พบพระพุทธเจ้าถึง ห้าแสนหนึ่งหมื่นสองพันพระองค์ (512,003) สามารถแยกบารมีตอนปลายได้ 2 ช่วงที่ได้พบพระพุทธเจ้า

1 ในระยะเวลา 4 อสงไขย เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์ ได้ทรงพบพระพุทธเจ้า 12 พระองค์
2. ในระยะเวลาหนึ่งแสนมหากัปนั้น ได้ทรงพบพระพุทธเจ้า 15 พระองค์

หมายเหตุ หลังสิ้นสมัยของพระศรีอริยเมตไตรพุทธเจ้าไปแล้ว อาจจะว่างจากพระพุทธเจ้าอีกนานเพราะเมื่อได้มีพระพุทธเจ้า บังเกิดขึ้น ติดต่อกัน หลังจากนั้นไปอีกก็จะว่างจากการบังเกิดพระพุทธเจ้าไปอีกนานแสนนาน อ้างอิงได้จากช่วง 4 อสงไขยกับ เศษแสนมหากับที่ผ่านมา เมื่อมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในกัปใดติดต่อกัน 3 หรือ 4 พระองค์ หลังจากนั้นจะเป็นสูญกัปไปอีกนานแสนนาน ซึ่งในกัปนี้มีพระพุทธเจ้าถึง 5 พระองค์ และในช่วง 100 มหากัปที่ผ่านมาถึงกัปปัจจุบัน มีพระพูทธเจ้า ถึง 11 พระองค์ ร่วมทั้งพระศรี อริยะเมตตรัยพุทธเจ้า ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นช่วงที่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นมากที่สุด ของระยะเวลา 4 อสงไขยกับเศษแสนมหากัปที่ผ่านมา และจากการวิเคราะห์ หลังจากสิ้นสมัยพระศรีศากยมุนีโคดมพุทธเจ้า(ปัจจุบัน)ไปแล้ว ซึ่งเป็นประเภทปัญญาพุทธเจ้า แล้วจะบังเกิดปัญญา พุทธะอีกสักพระองค์ในอนาคตเบื่องหน้า ต้องรอเวลาอย่างน้อยที่สุดหนึ่งอสงขัยกัป และต้องเป็นพระโพธิสัตว์ประเภทปัญญาที่ได้รับ พุทธพยากรณ์ครังแรก ในสมัยพระโกณฑัญญะพุทธเจ้าเท่านั้น ดังนั้นหลังจากปัจจุบันนี้จนถึงหนึ่งอสงขัยกัปเบื้องหน้า ก็จะมีแต่พระพุทธเจ้าประเภทศรัทธาและวิริยะพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นเท่านั้น ในอสงขัยนี้เพิ่งเริ่มต้นแสนมหากัปก็บังเกิดมีพระพุทธเจ้า เกิดขึ้น 16 พระองค์แล้ว ดังนั้นในอสงขัยนี้อาจจะมีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นเป็นร้อยเป็นพันพระองค์ก็คงเป็นไปได้ เพราะช่วง 4 อสงขัยที่ผ่านมามีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นน้อยมากเพียง 15 (รวม พระ ตัณหังกร เมธังกร สรนังกร พุทธเจ้า) พระองค์เท่านั้น ซึ่งจะเห็นว่าเมื่อเทียบระยะเวลาแล้วหนึ่ง อสงขัยเท่ากับจำนวนกัป ที่มากมายจนนับไม่ได้ แต่บังเกิดมีพระพุทธเจ้าเพียงหนึ่งหรือเป็นหมื่นพระองค์เท่านั้น ดังนั้นการที่จะบังเกิดมีพระพุทธเจ้าสักพระองค์นั้น เป็นสิ่งที่ยากแสนยากเป็นหนักหนา แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีพุทธเจ้าอีกเลย เพราะในเมื่อธรรมชาตินั้นมีวัฏฏสงสารอันเป็นทุกข์ ก็ย่อมมีผู้ที่เพียร ที่จะหลุดพ้นจากทุกข์นั้นจนได้ ก็คือพระอริยะเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน

หน้า: 1 ... 22 23 [24] 25 26 27