เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - Webmaster

หน้า: 1 ... 14 15 [16]
226


สมัยที่ท่านพระอาจารย์มั่นพักอยู่บนดอยปะหร่อง (เชียงใหม่) กับพระอาจารย์มนู ตอนเช้าเที่ยวบิณฑบาต พอให้พรเสร็จ ท่านได้สอนให้ชาวบ้านกล่าวสาธุพร้อมกันด้วยเสียงสูง ท่าน (พระอาจารย์มั่น) เล่าเป็นเชิงตลกว่า มือทั้งสองข้างของเขาชูขึ้นข้างบนเหมือนบั้งไฟจะขึ้นสู่ท้องฟ้า ว่างั้น

วันหนึ่ง ท่านนั่งพักในส่วนที่ทำเป็นที่พักกลางวัน มีเทพพวกหนึ่งมาจากเขาจิตรกูฏ มาถามท่านว่า

"เสียงสาธุ สาธุนั้น สาธุอะไร สะเทือนสะท้านทุกวัน พวกเทพทั้งหลายได้ฟัง มีความสุขไปตามๆ กัน"

ท่านมาพิจารณาว่า เสียงอะไร ที่ไหน จึงระลึกได้ว่า เสียงสาธุการของชาวบ้านตอนถวายทานนั่นเอง
พอรับทราบแล้วพวกเทพก็กล่าวว่า "เขาก็สาธุการด้วย" แล้วทำประทักษิณเวียนขวาลากลับไป ส่วนมากพวกเทพเขาจะทำอย่างนั้น

ท่านพระอาจารย์มั่น เลยมาพิจารณาต่อได้ความว่า

พุทธมนต์นั้นใครสวดก็ตาม จะเป็นกิจวัตรของพระสงฆ์เช้า เย็น หรือชาวพุทธทุกคน

สวดมนต์ระลึกในใจ มีอานุภาพแผ่ไปได้หมื่นจักรวาล

สวดออกเสียงพอฟังได้ มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนจักรวาล

สวดมนต์เช้าเย็นธรรมดา มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนโกฏิจักรวาล

สวดเต็มเสียงสุดกู่ มีอานุภาพแผ่ไปได้อนันตจักรวาล

แม้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในสามภพ และที่สุดอเวจีมหานรก ยังได้รับความสุข เมื่อแว่วเสียงพุทธมนต์ผ่านลงไปถึงชั่วขณะชั่วครู่หนึ่ง ดีกว่า หาความสุขไม่ได้เลยตลอดกาล

นี้คืออานิสงส์ของพระพุทธมนต์ ท่านพระอาจารย์มั่นว่าอย่างนี้
..................................................................

ที่มา เกร็ดประวัติ และ ปกิณกธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ๑
จากหนังสือ "รำลึกวันวาน" โดย หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ
credit โพสต์ โดย: คนฝั่งโขง เว็บพลังจิต

227


พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตพระองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
เพื่อทรงแก้ทิฏฐิมานะ ของพญามหาชมพูบดี

ในสมัยพุทธกาล มีพระมหากษัตริย์ผู้เรืองอำนาจพระองค์หนึ่ง ซึ่งปกครองเมืองปัญจาลราษฐ พระนามว่า "พญาชมพูบดี" กล่าวกันว่า พร้อม ๆ กับการประสูติของพญาชมพูบดี ขุมทองในที่ต่างๆ ก็ผุดขึ้นมากมายอันแสดงถึงบุญญาธิการของพระองค์ ประชาชนในเมืองนี้จึงมีฐานะความเป็นอยู่ที่มั่งคั่งสมบูรณ์ พญาชมพูบดี ทรงมีอาวุธวิเศษ 2 อย่าง คือ
ฉลองพระบาทแก้ว ซึ่งเมื่อสวมเข้าไปแล้วก็จะพาพระองค์เหาะไปในที่ต่างๆ ได้ ทั้งยังใช้อธิษฐานแปลงเป็นนาคราชเข้าประหัตประหารศัตรูได้อีกด้วย
อาวุธวิเศษอย่างที่สอง คือ วิษศร ซึ่งเป็นศรวิเศษใช้ต่างราชทูต หากกษัตริย์เมืองใดไม่มาอ่อนน้อมขึ้นต่อพระองค์ วิษศรนี้ก็จะไปร้อยพระกรรณพาตัวเข้าเฝ้าพระองค์จนได้ ทำให้กษัตริย์ทั้งหลายพากันยำเกรงในพระเดชานุภาพแห่งพญาชมพูบดี
ด้วยอาวุธคู่พระวรกาย พญาชมพูบดีได้ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง กระทั้งถึงกรุงราชคฤห์ของพระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นอุบาสกแห่งสมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้า พญาชมพูบดีส่งอาวุธวิเศษของพระองค์ ไปทำอันตรายต่อพระเจ้าพิมพิสาร แต่ไม่อาจทำอันตรายแก่พระเจ้าพิมพิสารได้ ด้วยอาศัยพระพุทธานุภาพ ทำให้พญาชมพูบดีแค้นพระทัยมาก แม้ส่งอาวุธวิเศษอย่างใดไป ก็พ่ายแพ้แก่พระพุทธานุภาพแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นว่า พญาชมพูบดีประสบความพ่ายแพ้ และมีทิฏฐิมานะเบาบางลง ประกอบด้วยกับทรงเล็งเห็นวาสนาปัญญาของพญาชมพูบดีว่าสามารถสำเร็จมรรคผลได้ จึงมีพุทธฎีกาตรัสใช้ให้พระอินทร์แปลงเป็นราชทูตพาพญาชมพูบดีมาเข้าเฝ้า ส่วนพระองค์ทรงเนรมิตองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงมงกุฎ พร้อมเครื่องราชาภรณ์ แต่ล้วนงดงาม ส่วนพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานเถระเจ้า พร้อมด้วยเหล่าภิกษุสงฆ์สาวก ก็เนรมิตกายเป็นเสนาอำมาตย์ใหญ่น้อย ล้วนแล้วแต่น่าเกรงขาม ทั้งเนรมิตเวฬุวัน (ป่าไผ่) ให้เป็นพระนครใหญ่ประกอบด้วยกำแพงถึง 7 ชั้น และมีพุทธฎีกาตรัสสั่งให้เทวดา พรหม ทั้งหลาย ร่วมเนรมิตเป็นตลาดน้ำ ตลาดบก
เมื่อพระอินทร์ซึ่งเนรมิตกายเป็นราชทูต ไปถึงเมืองปัญจาลราษฐ เห็นพญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ยังถือดี จึงแสดงฤทธานุภาพเป็นที่ประจักษ์ พญาชมพูบดีไม่อาจแข็งขืนจำยอม ต้องยกพลเดินทัพเพื่อเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้า
เมื่อพญาชมพูบดี เดินทางเข้าเขตพระนคร ก็ตกตะลึงกับความยิ่งใหญ่อลังการแห่งพระนครที่พระพุทธองค์ทรงเนรมิต แม้แต่เหล่าแม่ค้าริมทาง ก็ยังงดงามกว่าพระอัครมเหสีของพญาชมพู จนชวนให้รู้สึกขวยเขินก้าวเดินไม่ตรงทาง และเมื่อผ่านทางยังกำแพงพระนครแต่ละชั้น ทอดพระเนตรเห็นเหล่าเสนาอำมาตย์ที่รักษาพระนคร พระทัยก็ประหวั่นพรั่นกลัวพระเสโทไหลโทรมทั่วพระสกลกาย ถึงกำแพงชั้นในซึ่งเป็นแก้ว ก็ทำท่าจูงกระเบนเหน็บรั้ง ด้วยเข้าพระทัยผิดคิดว่ามีเสียงนางในร้องเย้ยเยาะว่ากษัตริย์บ้านนอก กระทำเชยๆ พญาชมพูบดีก็รู้สึกได้รับความอัปยศอย่างยิ่ง
เมื่อพญาชมพูบดีมาถึงต่อหน้าพระพักตร์แห่งพระบรมศาสดา ซึ่งเนรมิตกายเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ยังไม่หมดทิฏฐิมานะ พระพุทธองค์ทรงเชื้อเชิญให้แสดงฤทธิ์เดชอำนาจและของวิเศษทุกสิ่งทุกอย่างออกมา เมื่อพญาชมพูบดีทรงแสดงแล้ว ก็ต้องได้รับความอัปยศยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยไม่อาจทำอันตรายพระพุทธองค์ได้เลยแม้แต่น้อย
เมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าพญาชมพูบดีคลายทิฏฐิมานะลงมากแล้ว จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพญาชมพูบดี และเหล่าเสนาอำมาตย์ที่ติดตามมาด้วยจำนวนมากมายให้เห็นสิ่งที่เป็นสาระและมิใช่สาระ ให้เห็นโทษแห่งการเวียนเกิด เวียนตาย ในวัฏสงสาร ทั้งให้เห็นคุณแห่งพระนิพพาน พญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ต่างรู้สึกปีติ โสมนัส จึงปลดมงกุฎและเครื่องประดับของตนวางแทบพระบาทแห่งองค์พระสัมพัญญูบรมศาสนา เพื่อสักการะด้วยความรู้สึกเทิดทูน จากนั้นจึงทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธองค์
จากนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้าบรมครู พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวก เทวดา พรหม ก็คล้ายฤทธานุภาพกลับสู่สภาพเดิม (เป็นป่าไผ่และสภาพทั้งหลายตามความเป็นจริง) สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานอุปสมบถแก่พญาชมพูบดี พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ และทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้คลายความลุ่มหลงในเบญจขันธ์ มีรูป เป็นต้นว่า อุปมาดั่งพยับแดด หาสาระตัวตนที่เที่ยงแท้อันใดมิได้ และแสดงเทศนาต่างๆ เป็นอเนกปริยาย พญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ ก็ดื่มดำในพระอมตธรรมสลัดเสียซึ่ง ตัณหา อุปาทาน จิตของท่านก็เข้าอรหันตผล สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลในพระบวรพุทธศาสนา

ยกตัวอย่างประวัติโดยย่อพระเจ้าจักรพรรดิในอดีตกาล(องค์ที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นพระโพธิสัตว์ด้วย)

พระเจ้าสังขจักรพรรดิราช

พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดเป็นเทวบุตรนามว่า นฬการเทพบุตร เสวยทิพยสมบัติในฉกามาพจรสวรรค์เป็นเวลาช้านาน
ในกาลสมัยแห่ง สมเด็จพระสิริมัตตะพุทธเจ้านั้น นฬการเทพบุตร ได้จุติจากฉกามาพจรสวรรค์มาบังเกิดเป็น
พระเจ้าสังขจักรพรรดิราช ครองอินทปัตนคร ทรงถึงพร้อมด้วย แก้ว ๗ ประการ และมหาปราสาท ๗ ชั้น
พระเจ้าสังขจักรพรรดิราชซึ่งเป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร ได้ทรงตั้งสัจจาธิษฐานว่า “ เราจักมอบราชสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์แก่ผู้ที่แจ้งข่าว พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ แก่เรา แล้วจักไปสู่สำนักพุทธเจ้า “
ในกาลนั้น สามเณรในพระศาสนาของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าสิริมัตตะ ได้เดินทางผ่านมาพระนคร ชาวเมืองเห็นเข้าด้วยไม่รู้จึงนึกว่าเป็นยักษ์ จึงหมายจะเข้าไปทำร้ายสามเณร ด้วยความสะดุ้งกลัวอันตรายสามเณรจึงวิ่งไปสู่พระบรมราชวังแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ์
พระเจ้าสังขจักรบรมโพธิสัตว์ ได้ตรัสถามความเป็นมาของสามเณร จึงทรงทราบว่าขณะนี้ ได้มีพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า “สิริมัตตะ” บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว จึงตรัสถามสามเณรว่า
“ ข้าแต่สามเณรผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด”
สามเณรกล่าวตอบว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในบุพพารามไกล ๑๖ โยชน์ ทางทิศอุดรจากมหานครนี้”
ด้วยสัจจาธิษฐานที่ทรงตั้งไว้ จึงสละจักรพรรดิ์สมบัติอันประเสริฐแก่สามเณร และทรงผินพระพักตร์ไปสู่ทิศอุดรเสด็จไปสู่ที่ประทับของพระพุทธเจ้า ด้วยทรงเป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ เสด็จพระราชดำเนินด้วยการก้าวย่างพระบาทเพียงวันเดียว พระบาททั้ง ๒ ก็แตก พระโลหิตไหลออกจากฝ่าพระบาททั้ง ๒ เมื่อพระบาททั้ง ๒ แตกแล้ว พระบรมโพธิสัตว์จึงเสด็จคลานด้วยพระชงฆ์ทั้ง ๒ กับทั้งพระหัตถ์ทั้ง ๒ เป็นเวลา ๓ วัน ในวันที่ ๔ พระโลหิตจึงไหลออกจากพระหัตถ์ และพระชงฆ์ทั้ง ๒ ข้าง
ในกาลนั้น พระบรมโพธิสัตว์ ทรงตัดสินใจว่าจะดำเนินไปด้วยพระอุระ ครั้นแล้วพระบรมโพธิสัตว์จึงทรงกระเถิบไปด้วยพระอุระด้วยมุ่งหมายเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสำคัญ จึงทรงอดกลั้นความลำบากได้
ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเล็งข่ายพระพุทธญาณตรวจดูสัตว์โลก ทรงเห็นกำลังพระวิริยะบารมีของพระบรมโพธิสัตว์ จึงทรงใช้อำนาจพระพุทธบารมีแปลงเพศเป็นคน เนรมิตรถแล้ว เสด็จไปประทับอยู่ตรงหน้าพระพักตร์ของพระเจ้าสังขจักรพรรดิ์บรมโพธิสัตว์
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ ดูก่อนท่านผู้เจริญ จงหลีกทาง เราจักขับรถไป “
พระบรมโพธิสัตว์เมื่อทรงสดับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงตรัสว่า
“ ดูก่อนนายสารถีผู้เจริญ เมื่อเราเดินทางไปด้วยหน้าที่ที่ต้องทำ ทำไมจึงต้องถอยหลีก เรายึดถือพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ยึดถือพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ขอท่านจงบังคับรถของท่านให้วิ่งทับร่างของเราไปได้ เราจะไม่ยอมหลีกทางให้ท่าน “
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า “ดูก่อนมาณพผู้เจริญ ถ้าท่านจะไปสู่สำนักพระพุทธเจ้าแล้วไซร้ ขอจงขึ้นรถเถิด เราจักนำไปสู่สำนักพระพุทธเจ้า “
ในกาลนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จถึงสำนักบุพพารามแล้วจึงทรงแปลงพระวรกายจากเพศคน แล้วประทับนั่งพุทธอาสน์ เมื่อพระบรมโพธิสัตว์แล้ว ทอดพระเนตรแสงพระพุทธฉัพพรรณรังสีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นถึงกับสลบไป
เมื่อพระบรมโพธิสัตว์ทรงฟื้นแล้ว เสด็จเข้าไปใกล้พระบรมศาสดา ทรงประคองอัญชลีได้กราบทูลขอฟังธรรมอันสูงสุดจากพระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมบทหนึ่งแล้ว พระราชาทูลขอร้องให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพักการแสดงธรรมไว้ก่อน เหตุเพราะเกรงว่า ถ้าพระพุทธเจ้าแสดงธรรมมากแล้วไซร้ จะไม่มีไทยธรรมที่ควรแก่การบูชาพระธรรม
พระบรมโพธิสัตว์ กราบทูลต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า
“ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์ทรงแสดงพระนิพพานอันเป็นธรรมเอก เป็นธรรมที่สุดในสรรพธรรม แม้ข้าพระองค์ตัดศีรษะอันเป็นอวัยวะสูงสุดในอวัยวะทั้งปวงของข้าพระองค์ บูชาพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน “
ครั้นตรัสแล้ว จึงทรงใช้พระนขะ(เล็บ)ตัดพระเศียร ทรงวางพระเศียรไว้บนฝ่าพระหัตถ์ แล้วตรัสว่า
“ ข้าแต่พระสิริมัตตะพุทธเจ้า ขอพระองค์ทรงบรรลุอมตธรรมก่อนเถิด
ด้วยการถวายศีรษะนี้ ข้าพระองค์ขอบรรลุนิพพาน ในภายหลัง “ ดังนี้ฯ

พระเจ้าจักรพรรดิ คือ มนุษย์ผู้มีบุญ เพราะได้ทำบุญมาดีแล้วแต่ชาติก่อน ด้วยการให้ทาน รักษาศีล ๕ และศีล ๘ หรือได้บำรุงบำเรอพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอะระหันต์ พระภิกษุสงฆ์ ได้บำรุงพระพุทธศาสนา ได้ประกาศเผยแพร่พระพุทธศาสนา หรือได้ทำประโยชน์แก่สาธารณะชนด้วยกำลังศรัทธาที่แรงกล้า.
พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพระราชาโดยธรรมะ ไม่ต้องแย่งชิงอำนาจจากใครด้วยอุบายหรือการทำสงคราม ทรงชนะแล้ว มีอาณาจักรที่มั่นคง ทรงมีพระราชอำนาจสิทธิ์ขาดในโลกแต่ผู้เดียว ทรงมีพระปัญญาอันประเสริฐ ฉลาดรอบรู้ในสรรพวิชาการ ทรงบำรุงพัฒนาบ้านเมืองจนเจริญสูงสุด พระองค์มีแก้ว ๗ ประการ มีพระราชบุตรมากกว่าพันล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีระกษัตริย์ สามารถย่ำยีกองกำลังของข้าศึกได้ไม่ยาก ด้วยอานุภาพบุญฤทธิ์ของพระองค์ และอานุภาพแห่งแก้ว ๗ ประการ ทำให้พระองค์ทรงบริหารและปกครองราษฎรโดยไม่ต้องใช้ศาสตรา ไม่ต้องใช้อาวุธหรือเครื่องมือประหัตประหารใดๆ ไม่ต้องลงโทษ ไม่ต้องลงอาชญา.
สมัยใดโลกมีพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา สมัยใดโลกว่างเปล่าจากจากพระพุทธศาสนาและพระปัจเจกพุทธเจ้า สมัยนั้นได้ชื่อว่าโลกมืด โลกจะแบ่งแยกเป็นประเทศเล็กประเทศน้อยอย่างมากมาย มีเชื้อชาติมากมาย ภาษามากมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีมากมาย มีลัทธิศาสนาอันไม่ได้ช่วยให้พ้นทุกข์ได้มากมาย แล้วมวลมนุษย์ในโลกก็เกิดความขัดแย้งกัน ทะเลาะไม่สามัคคีกัน ด่ากัน แล้วลงท้ายด้วยการจับก้อนดินบ้าง ท่อนไม้บ้าง อาวุธอันมีคมบ้าง ประหัตประหารกัน รบกัน ทำสงครามกัน แล้วเกิดการจองเวรด้วยการลอบทำร้ายกัน ลอบสังหารกันและก่อวินาศกรรม กลายเป็นลัทธิก่อการร้ายล้างผลาญกันไป ล้างผลาญกันมาไม่จบสิ้น พระองค์ทรงเห็นโทษเห็นความลามกของความแตกแยกและความแตกต่าง พระองค์จึงทรงรวบรวมมนุษย์ทุกชาติทุกเผ่าพันธุ์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้มนุษย์โลกมีเพียงชาติเดียว เผ่าพันธุ์เดียว ภาษาเดียว ขนบธรรมเนียมประเพณีเดียว ใช้สกุลเงินเดียว แล้วพระองค์ทรงสอนศีล ๕ แก่มวลมนุษย์ในโลก เป็นหลักคำสอนเดียวศาสนาเดียว ดังนั้นมนุษย์ในยุคนั้นจึงมีพระเจ้าจักรพรรดิเป็นพระประมุขของชาวโลก และเป็นศาสดาของชาวโลก.
เมื่อประมุขของโลกและมนุษย์โลกต่างมีศีล ๕ มีธรรมะอันงาม ไม่มีแหล่งอบายมุขใดๆในแผ่นดิน ไม่แตกแยกไม่ขัดแย้งกันดังนี้ มวลมนุษย์ย่อมเห็นความสุขความเจริญในปัจจุบัน เหล่าเทวดาทั้งหลายย่อมปลื้มปีติยินดี ร่าเริงบันเทิงใจ ฝนฟ้าก็ตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารก็อุดมสมบูรณ์ มนุษย์ทั้งหลายก็มีสุขภาพจิตสุขภาพกายดี อายุยืน จำนวนมนุษย์ก็มากขึ้นแต่ไม่ขาดแคลน มวลมนุษย์ทั้งปวงต่างมองหน้ากันด้วยแววตาแห่งความรักความเมตตา เมื่อนั้นได้ชื่อว่าพระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้ประทานแสงสว่างให้แก่โลก ประทานความร่มเย็นให้แก่โลก.
ฤทธิ์ ๔ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ

๑. พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีพระรูปงาม น่าดู น่าชม น่าเลื่อมใส ทรงมีพระฉวีวรรณผ่องใสยิ่งกว่ามนุษย์ทั่วไป
๒. พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีพระชนมายุยืนนานกว่ามนุษย์ทั่วไป
๓. พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีอาพาธน้อย มีพระโรคน้อยกว่ามนุษย์ทั่วไป
๔. พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นที่รักที่ชอบใจของมนุษย์ทั้งหลาย และมนุษย์ทั้งหลายก็เป็นที่รักที่ชอบใจของพระเจ้าจักรพรรดิ
ดุจบุตรเป็นที่รักที่ชอบใจของบิดาทีเดียว เมื่อถึงคราวพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จเลียบพระนครออกเยี่ยมราษฎร ราษฎรทั้งหลายไปเฝ้า พระองค์พลางกราบทูลว่า “ขอเดชะ... ขอพระองค์อย่าด่วนเสด็จไป พวกข้าพระองค์จะได้เฝ้าพระองค์นานๆ”แม้พระเจ้าจักรพรรดิก็
ทรงตรัสกับนายสารถีว่า “นายสารถี เธออย่าด่วนขับรถไป เราจะได้เห็นราษฎรนานๆ”

ลักษณะ ๓๒ ประการของมหาบุรุษ

มหาบุรุษผู้มีลักษณะ ๓๒ ประการนี้ ย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หรือเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น คือ....

๑. มีพระบาทเรียบเสมอ
๒. ที่ฝ่าพระบาททั้งสองมีลายรูปจักร อันมีซี่พันหนึ่ง มีกง มีดุมบริบูรณ์
๓. ส้นพระบาทยาว
๔. มีพระองคุลี (นิ้ว) ยาว
๕. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม
๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาท มีลายดุจตาข่าย
๗. มีพระบาทนูนสูงดุจสังข์คว่ำ
๘. มีพระชงฆ์ (แข้ง) เรียวดุจแข้งเนื้อทราย
๙. เมื่อประทับยืนมิได้ก้ม พระหัตถ์ทั้งสองลูบพระชานุ (เข่า) ทั้งสองได้
๑๐. มีพระคุยหะ (องคชาติ) เร้นอยู่ในฝัก
๑๑. พระฉวีวรรณดุจสีทอง
๑๒. พระฉวีวรรณละเอียดฝุ่นไม่เกาะ
๑๓. พระโลมา (ขน) เกิดขึ้นขุมละเส้น
๑๔. พระโลมาทุกเส้นชี้ขึ้นข้างบน
๑๕. พระวรกายตรงดุจกายพระพรหม
๑๖. พระมังสะเต็มในที่ ๗ แห่ง คือ หลังพระหัตถ์ทั้งสอง, หลังพระบาททั้งสอง, พระอังสะ (บ่า) ทั้งสอง และพระศอ (คอ)
๑๗. พระวรกายท่อนบนดุจกายท่อนหน้าของราชสีห์
๑๘. แผ่นหลังมีพระมังสะเต็ม
๑๙. พระวรกายดุจต้นไทร มีพระวรกายเท่ากับวา
๒๐. ลำพระศอกลม
๒๑. เส้นประสาทรับรู้รสได้ดี
๒๒. พระหนุ (คาง) ดุจคางของราชสีห์
๒๓. พระทนต์ (ฟัน) ๔๐ ซี่
๒๔. พระทนต์เรียบเสมอ
๒๕. พระทนต์ไม่ห่าง
๒๖. พระเขี้ยวแก้วขาวงาม
๒๗. พระชิวหา (ลิ้น) ใหญ่
๒๘. พระสุรเสียงก้องกังวานดุจเสียงของพระพรหม ไพเราะดุจเสียงของนกการเวก
๒๙. พระเนตรดำสนิท
๓๐. ดวงพระเนตรดุจตาของลูกโค
๓๑. พระอุณาโลม (ขนระหว่างคิ้ว) ขาวอ่อนนุ่มดุจสำลี
๓๒. พระเศียรดุจสวมมงกุฎ

คุณธรรมของพระราชาผู้ที่จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

คุณธรรมของพระราชาผู้จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

๑. อาศัยธรรมะ สักการะเคารพธรรมะ นับถือธรรมะ บูชาธรรมะ ยำเกรงธรรมะ มีธรรมะเป็นธงชัย มีธรรมะเป็นใหญ่
๒. รักษาคุ้มครอง ป้องกันอย่างเป็นธรรมะในราชนิกุล ในกองพล ในกษัตริย์ เมืองขึ้น ในชาวเมือง ชาวชนบท สมณะ พราหมณ์
๓. รักษาคุ้มครองป้องกันอย่างเป็นธรรมะในเหล่าสัตว์เดรัจฉาน ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า
๔. ไม่ให้มีสิ่งผิดศีลธรรมในแผ่นดิน
๕. ให้ทรัพย์แก่ผู้ไม่มีทรัพย์
๖. เข้าไปหาสมณะพราหมณ์ผู้มีความอดทน มีความสงบระงับ ฝึกตนอยู่ผู้เดียว ดับกิเลสอยู่ผู้เดียว ล้วถามว่า“ท่านขอรับ...กุศล
คือ อะไร อกุศลคืออะไร กรรมใดไม่มีโทษ กรรมใดมีโทษ กรรมใดควรเสพ กรรมใดไม่ควรเสพ กรรมใดทำแล้วเป็นประโยชน์ กรรมใด
ทำแล้วไม่เป็นประโยชน์”
๗. เมื่อฟังคำของสมณะพราหมณ์นั้นแล้ว สิ่งใดเป็นอกุศลจงเว้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลจงถือมั่นประพฤติปฏิบัติ

จักรแก้ว

พระราชาผู้ที่จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงศีล ๕ อยู่เป็นนิตย์ ในวันอุโบสถ ๘ ค่ำ ๑๔ – ๑๕ ค่ำ พระองค์จะทรงจัดการงานแผ่นดิน
ทั้งหลายให้เสร็จแต่เช้าตรู่ แล้วทรงถวายมหาทาน ทรงสรงน้ำชำระพระเศียรแล้วฉลองพระองค์ด้วยชุดขาว เสวยพระกระยาหารประทับนั่ง
สมาธิอยู่บนปราสาทสมาทานศีล ๘ ทรงลำลึกถึงเหตุแห่งบุญที่สำเร็จด้วย ทาน ศีล การข่มใจ และการฝึกตนของพระองค์ จนกระทั่งวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง คืนหนึ่งขณะที่พระองค์ทรงถือศีล ๘ และเจริญสมาธิอยู่ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ก็ปรากฏแก่พระองค์ จักรแก้วอันเป็นทิพย์นั้นบริบูรณ์ด้วย ดุม กง และซี่พันซี่ ล้วนสำเร็จด้วยทองและเงิน ประดับด้วยรัตนะชาติ ๙ ประการ ที่ได้รับการสลักลวดลายอย่างวิจิตรงดงาม มีแสงรัศมีซ่านออกโดยรอบดุจดวงอาทิตย์ จักรแก้วเมื่อต้องลมแล้วมีเสียงไพเราะยวนใจ ชวนให้ฟัง ชวนให้เคลิบเคลิ้ม เหมือนเสียงดนตรีทั้ง ๕ ที่บรรเลงโดยนักดนตรีผู้ชำนาญดีแล้ว
จักรแก้วนั้นลอยมาจากทิศตะวันออกเปล่งแสงสุกสว่างดุจพระจันทร์ดวงที่ ๒ มาวนเวียนรอบพระนครแล้วหยุดอยู่ที่สีหะบัญชรด้านทิศเหนือของปราสาท มหาชนเห็นแล้วแตกตื่นพากันวิ่งตามมาดูและสักการบูชา พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นจักร   
แก้วแล้วทรงดำริว่า “เราเคยได้ฟังมาว่า พระราชาผู้ได้รับการราชาภิเษ แล้วองค์ใด ทรงสรงน้ำชำระพระวรกาย สระพระเศียร แล้วรักษาอุโบสถศีลอยู่บนปราสาทในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ จักรแก้วอันเป็นทิพย์จะปรากฏแก่พระราชาพระองค์นั้น ผู้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เราเห็นจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิแล้วหรือ?” จึงทรงออกจากสมาธิลุกขึ้นมาทรงผ้าสไบเฉวียงบ่า พระหัตถ์ซ้ายจับพระเต้าทองหลั่งน้ำทักษิโณทก พระหัตถ์ขวาชูจักรขึ้น แล้วตรัสว่า “โอ... จักรแก้วอันเจริญ จงหมุนไปพิชิตจักรวรรดิเถิด” ทันใดนั้นจักรแก้วก็หมุนลอยนำไปทางทิศตะวันออก พระราชาพร้อมด้วยกองทัพ ๔ เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า อีกทั้งมหาชนทั้งหลายก็ติดตามไป ด้วยอานุภาพของจักรแก้วพาให้พระราชาและผู้ติดตามทั้งหมดเหาะลอยไปได้ในอากาศ ข้ามภูเขา ข้ามแม่น้ำ ข้ามทะเล จักรแก้วนำพาไปสู่อาณาจักรของประเทศใด ก็หยุดลงที่หน้าพระราชนิเวศของพระราชาประเทศนั้น พระองค์พร้อมผู้ติดตามก็หยุด ณ ที่นั้น พระราชาของประเทศนั้นๆก็นำเครื่องบรรณาการเสด็จเข้ามาเฝ้าพระองค์ แล้วน้อมพระเศียรอันทรงมหามงกุฎซบพระบาทของพระองค์ กราบทูลด้วยวจนะว่า “ข้าแต่มหาราช... ขอพระองค์ทรงเสด็จมาเถิด การเสด็จมาของพระองค์เป็นความดี ข้าพระองค์ขอถวายการต้อนรับพระองค์ด้วยราชสมบัติของหม่อมฉันขอยกถวายแก่พระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดประทานพระราชโอวาทแก่หม่อมฉันเถิด”.
พระองค์ไม่ทรงตรัสว่า “ท่านทั้งหลายจงนำเครื่องราชพลีมาให้เรา” พระองค์ไม่ทรงเอาโภคทรัพย์ของพระราชาองค์ใดไป แต่ทรงตรัสด้วยพระปัญญาอันสมควรที่พระองค์เป็นธรรมราชา ทรงแสดงธรรมะด้วยพระวจนะอันเป็นที่รัก อันละเอียดอ่อนว่า “ดูก่อนพ่อทั้งหลาย.... การฆ่าสัตว์ก็ดี การลักทรัพย์ก็ดี การประพฤติผิดในกามก็ดี การพูดโกหกก็ดี การเสพสุราเมรัยและสิ่งเสพติดก็ดี บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทุกข์ในโลกนี้ เมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่นรก การไม่เสพกรรมทั้ง ๕ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อสุขในโลกนี้ เมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่สวรรค์ ดังนั้นพ่อทั้งหลายไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์ ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงพูดโกหก ไม่พึงเสพสุราเมรัยและสิ่งเสพติด แล้วพ่อทั้งหลายจงเสวยราชสมบัติตามเดิมเถิด”.
จักรแก้วนำพาพระราชาพิชิตประเทศต่างๆทางทิศตะวันออก... พระราชาของประเทศเหล่านั้นก็ออกมาสวามิภักดิ์โดยดี ทรงเป็นบริวารของพระองค์โดยทั่วแล้ว จักรแก้วก็นำเสด็จสู่ทิศใต้... พระราชาแห่งประเทศทั้งหลายทางทิศใต้ก็ออกมาสวามิภักดิ์ จักรแก้วนำเสด็จสู่ทิศตะวันตก... พระราชาแห่งประเทศทั้งหลายทางทิศตะวันตกก็ออกมาสวามิภักดิ์ จักรแก้วนำเสด็จสู่ทิศเหนือ... พระราชาแห่งประเทศทั้งหลายทางทิศเหนือก็ออกมาสวามิภักดิ์ พระราชาทั้งหลายที่จะประชุมกองกำลังเตรียมรบหรือพยายามยก
อาวุธขึ้นต่อกรไม่มีเลยพระราชาของประเทศทั้งหลายย่อมเข้าถึงการฝึกอบรมแล้วด้วยอานุภาพของจักรแก้ว พระองค์ก็บรรลุความเป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งปฐพี โดยมีมหาสมุทรทั้งหมดเป็นขอบเขต ถึงซึ่งความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิปกครองโลกด้วยประการฉะนี้ เมื่อจักรแก้วนำพิชิตทั่วพื้นปฐพีนี้แล้ว ก็นำเสด็จกลับสู่ราชธานีตั้งประดิษฐานอยู่ในประตูเมืองให้สง่างาม มหาชนทั้งหลายก็นำเครื่องสักการะบูชาอันมีดอกไม้และของหอมเป็นต้นมาสักการะบูชา กิจที่จะต้องทำด้วยการจุดคบเพลิง ด้วยการจุดตะเกียงในราชธานีไม่มี แสงสว่างแห่งจักรแก้วย่อมกำจัดความมือแห่งราตรี บุคคลใดต้องการแสงสว่าง แสงสว่างก็เกิดแก่บุคคลนั้น บุคคลใดต้องการความมืด ความมืดก็เกิดแก่บุคคลนั้น.

ช้างแก้ว

ช้างแก้วได้ปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาช้างชื่อ อุโบสะถะ ตระกูลอุโบสถ เป็นช้างเผือกขาวปลอด มีลักษณะถูกต้องตามตำราคชลักษณ์ทั้งปวง มีฤทธิ์เหาะได้ พระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรด้วยความเลื่อมใสตรัสว่า “โอ... ผู้เจริญ ช้างเชือกนี้ถ้าได้รับการฝึกหัดก็จะดี” ช้างแก้วก็เป็นช้างแสนรู้ในทันทีเหมือนช้างที่ได้รับการฝึกอย่างดีมาเป็นเวลานาน ในเวลาเช้าพระองค์ทรงทดลองช้างแก้วด้วยการเสด็จขึ้นคอแล้วให้พาเที่ยวไปทั่วแผ่นดินจนสุดราชอาณาจักร เหาะไปรอบโลกแล้วกลับสู่ราชธานีทันเสวยพระกระยาหารเช้า.

ม้าแก้ว

ม้าแก้วได้ปรากฏขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาม้าชื่อ วลาหะกะ ตระกูลสินธพ มีสีขาวล้วน ศีรษะดำเหมือนกา มีผมเป็นพวงเหมือนหญ้าปล้อง มีฤทธิ์เหาะได้ พระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรด้วยความเลื่อมใสตรัสว่า “โอ... ผู้เจริญ ม้าตัวนี้ถ้าได้รับการฝึกหัดก็จะดี” ม้าแก้วก็เป็นม้าแสนรู้ในทันที เหมือนม้าที่ได้รับการฝึกหัดอย่างดีมาเป็นเวลานาน ในเวลาเช้าพระองค์ทรงทดลองม้าแก้วด้วยการเสด็จขึ้นขี่หลังแล้วให้พาเที่ยวไปทั่วแผ่นดินจนสุดราชอาณาจักร เหาะไปรอบโลกแล้วกลับสู่ราชธานีทันเสวยพระกระยาหารเช้า.

แก้วมณี

แก้วมณีได้ปรากฏขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นแก้วไพฑูรย์น้ำงามโดยกำเนิด แปดเหลี่ยมเจียรนัยดีแล้ว กว้างยาว ๔ ศอก ลักษณะงามพร้อมทุกประการ มีแสงสุกใสแวววาว มีรัศมีส่องแสงแผ่ออกไปไกล ๑ โยชน์ ถ้าติดไว้ที่ปลายยอดธงในเวลากลางคืนที่มืดมิด จะมีแสงสว่างดุจกลางวัน ชาวบ้านพากันประกอบการงานนึกว่าเป็นกลางวัน.

นางแก้ว

นางแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นสตรีรูปร่างสวยงาม น่าดู น่าชม น่าเลื่อมใส ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก เอวเล็กและบาง สะโพกผาย ทรวดทรงงามระหงอรชรได้สัดส่วน ผิวพรรณเปล่งปลั่งเกินมนุษย์ มีรัศมีสว่างไสวแผ่ไปไกล ๑๒ ศอก มีร่างกายอ่อนนุ่มเหมือนนุ่นหรือปุยฝ้าย เมื่ออากาศเย็นเนื้อตัวจะอุ่น เมื่ออากาศร้อนเนื้อตัวจะเย็น มีกลิ่นจันทร์ฟุ้งออกจากกาย กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปาก นางแก้วย่อมตื่นก่อนนอนทีหลังพระเจ้าจักรพรรดิ คอยรับฟังคำสั่ง คอยขับกล่อมพัดวี ประพฤติปฏิบัติเป็นที่พอพระราชหฤทัย พูดจาไพเราะอ่อนหวานด้วยคำที่น่ารัก ใจของนางไม่นอกพระหฤทัยของพระเจ้าจักรพรรดิแล้วทางกายจะประพฤติชั่วแต่ที่ไหน นางมีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสไม่บูดบึ้ง ชวนทัศนา.

คฤหบดีแก้ว

คฤหบดีแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นคนมีตาทิพย์ สามารถเห็นขุมทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของ ทั้งบนดินใต้ดิน ทั้งบนน้ำใต้น้ำ ได้ไกล ๑ โยชน์ เขากราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิว่า “ขอเดชะ... พระองค์ไม่ต้องทรงเป็นห่วงเรื่องทรัพย์ ข้าพระองค์จะกระทำหน้าที่จัดหาจัดการพระราชทรัพย์แก่พระองค์” พระเจ้าจักรพรรดิทรงทดลองคฤหบดีแก้ว ด้วยการเสด็จพาประทับบนเรือลอยสู่กลางแม่น้ำคงคา แล้วทรงรับสั่งคฤหบดีแก้ว “ดูก่อน... ท่านคฤหบดี ฉันต้องการเงินทอง”
คฤหบดี “มหาราชเจ้า... ถ้ากระนั้นขอพระองค์จงทรงให้เทียบเรือที่ริมตลิ่งเถิด”
พระเจ้าจักรพรรดิ “ท่านคฤหบดี... ฉันต้องการเงินทองตรงกลางแม่น้ำนี้แหละ”
ทันใดนั้น คฤหบดีแก้วก็เอามือทั้งสองจุ่มลงไปใต้น้ำ แล้วยกเอาหม้อที่เต็มไปด้วยเงินทองขึ้นมาพลางกราบทูลว่า “มหาราชเจ้า... เท่านี้พอ
หรือยังพระเจ้าข้า?”
พระเจ้าจักรพรรดิ “ท่านคฤหบดี... เท่านี้พอแล้ว ทำเพียงเท่านี้เถิด เท่านี้ก็เป็นอันท่านบูชาฉันแล้ว”


ปริณายกแก้ว

ปริณายกแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป้นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์เอง เป็นบัณฑิต เป็นนักปราชญ์ มีวิชาความรู้ทุกด้าน เฉลียวฉลาดสามารถรู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์ สามารถรู้วาระจิตของผู้อื่น เข้มแข็ง สามารถชี้แนะให้พระเจ้าจักรพรรดิเสด็จไปยังที่ๆควรไป ให้หลีกในที่ๆควรหลีก ให้ยับยั้งในที่ๆควรยับยั้ง เขากราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิว่า “ขอเดชะ... พระองค์ไม่ต้องทรงเป็นห่วง ข้าพระองค์จะทำหน้าที่จัดการปกครองและบริหารราชการแผ่นดินแทนพระองค์ พระองค์จะวางนโยบายอย่างไร ขอพระองค์จงทรงตรัสบอกเถิด พระเจ้าข้า” แก้วเจ็ดประการเห็นป่านนี้ปรากฏแล้วปรากฏแล้วแก่พระเจ้าจักรพรรดิ

228


"พุทธภูมิ"

พุทธภูมิ หรือ พระโพธิสัตว์ คือ ผู้ที่ปรารถนาพระโพธิญาณ ปรารถนาจะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาลเบื้องหน้า

ผมเคยกราบเรียนถามหลวงตาม้าถึงความหมายของคำว่าพระโพธิญาณ หลวงตาม้าท่านเมตตาตอบมาได้ใจความว่า

"โพธิญาณแปลว่าความรู้ใหญ่ ปรารถนาโพธิญาณก็แปลว่าปรารถนาความรู้ใหญ่ไง"

ผมจึงกราบเรียนถามท่านต่อไปว่า แล้วพุทธภูมินั้นควรทำอย่างไรจึงจะได้เป็น
หลวงตาท่านตอบมาง่ายๆสั้นๆเพียงแค่ว่า
"หากเป็นพุทธภูมิ ทำบุญทุกอย่างจะต้องอธิษฐานเพื่อโพธิญาณ แม้กระทั่งให้ขนมแก่มด"


"เวียนว่ายใน3ภพ"

เป็นที่รู้กันดีว่าพุทธภูมิจะต้องสั่งสมบำเพ็ญบารมีเพื่อให้ได้มาซึ่งพระโพธิญาณ หลวงตาม้าท่านเคยกล่าวไว้ได้ใจความว่า

"ไม่ใช่ปรารถนาแล้วจะเป็นกันได้เลยนะ มันต้องทำนะ"

การ สร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ไม่ได้จบเพียงชาติเดียว หากแต่จะต้องอาศัยช่วงระยะเวลาในการสร้างบารมีอันยาวนาน เวียนเกิด เวียนตายมากมายไม่สามารถนับได้ ทั้งลงนรก ทั้งขึ้นสวรรค์ ทั้งมาเกิดเป็นมนุษย์ หรือทั้งไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน



"มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมเคยถามหลวงตาเกี่ยวกับการที่พุทธภูมิต้องลงนรก"

หลวงตาท่านเมตตาตอบมาว่า

"ผู้ที่ปรารถนาพุทธภูมิ(พระโพธิสัตว์)
หากเข้าถึงไตรสรณคมณ์แล้ว จะสามารถปิดอบายภูมิได้"

ศิษย์: แล้วอย่างไรถึงจะเรียกว่าเข้าถึงไตรสรณคมณ์ครับ

หลวงตา: เรามองพระพุทธรูปหรือพระ แล้วรู้สึกยังไงล่ะ

ศิษย์: ขนลุกครับ ปิติ ชอบครับ

หลวงตา: นั่นแหละ เขาเรียกว่าเข้าถึงไตรสรณคมณ์

วันต่อมาผมนึกสงสัยในเรื่องนี้อีก จึงไปถามหลวงตาอีกครั้ง

ศิษย์: หากผู้ที่เพิ่งเริ่มปรารถนาพุทธภูมิ แต่สามารถเข้าถึงไตรสรณคมณ์ได้ จะปิดอบายภูมิเลยหรือ

หลวงตาม้าท่านก็เมตตาสั่งสอนว่า

"ถ้าเพิ่งปรารถนา มันต้องลงไปชิมดูก่อนนะ ถ้าเรียนจบทั้ง3ภพก็เป็นพระพุทธเจ้าได้เลย การสร้างบารมี เราต้องทำให้ครบ10อย่าง แต่ต้องเลือกเด่นๆสักอย่างหนึ่งในชาตินี้"


"พุทธภูมิจะต้องพยายามเป็นที่ ๑ ในทุกๆเรื่อง แม้เรื่องเรียนหนังสือก็เช่นกัน"

ความเป็น ๑ ของพุทธภูมิไม่ได้มีไว้แข่งขันชิงดีชิงเด่นกับใคร หากแต่เป็นไปเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นได้อย่างเต็มที่ ดังเช่นที่หลวงปู่ดู่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า


"กำลังของพุทธภูมิ
มีหน้าที่จะทำให้มหาชนมีความสุข
ถ้าคนเรียกร้องหรือบ้านเมืองเกิดยุคเข็ญ

ก็ต้องลงมาช่วย จะคิดเอาแต่สบายได้ยังไง
นั่นไม่ใช่ความคิดของหน่อพุทธภูมิ"

การเรียนรู้ของพุทธภูมิ



หลวงตาม้าท่านเคยกล่าวถึงการเรียนรู้แนวทางของพุทธภูมิไว้ ได้ใจความว่า

"ถ้าปรารถนาจะเป็นพุทธภูมิ เราก็ต้องไปเรียนกับพุทธภูมิที่บารมีสูงๆท่านถึงจะสอนให้ได้ ถ้าเราไปเรียนกับพระอรหันต์ ท่านก็สอนแนวทางการสร้างบารมีของโพธิสัตว์ไม่ได้ ท่านสอนเพียงทางไปพระนิพพานเท่านั้น แต่เราจะรู้ได้อย่างไรล่ะ ว่าครูบาอาจารย์ที่เป็นพระโพธิสัตว์บารมีสูงๆนั้นอยู่ที่ไหน ปัญหามันอยู่ตรงนี้"(หลวงตาม้าท่านพูดพร้อมกับหัวเราะอย่างอารมณ์ดี)

หลวงตาม้าท่านเคยกล่าวเอาไว้ได้ใจความว่า

"ในยุคนี้เนี่ยนะ ยุคที่เกิดกลียุคเนี่ยแหละ สร้างบารมีได้เยอะนะ แต่ต้องดูที่ความจำเป็นด้วย ฝึกกสิณนั้นก็ดีอยู่ แต่ในยุคสมัยเช่นนี้ฤทธิ์ไม่ค่อยจะเกิดประโยชน์เท่าใด ยุคนี้บุญฤทธิ์มีประโยชน์มากที่สุด"

มีอยู่ครั้งหนึ่ง หลวงตาม้าท่านพูดถึงครูบาอาจารย์หลายๆท่าน โดยที่ท่านยกมาเป็นตัวอย่างให้ฟังเพื่อให้เห็นถึงความยากลำบากในการสร้างบารมีของผู้ปรารถนาพระโพธิญาณและในบางครั้งที่พุทธภูมิจะต้องลงมาเกิดเป็นนักรบหรือต้องฆ่าเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาและแผ่นดินจากผู้รุกรานดังเช่นบูรพกษัตริย์ไทยหลายๆพระองค์ทรงกระทำมาแล้ว

ท่านกล่าวไว้ได้ใจความว่า

"หลวงพ่อดู่ท่านโดนกรรมหนักนะ ครูบาศรีวิชัยท่านก็โดนหนักเหมือนกัน หลวงปู่ศุข(วัดปากคลองมะขามเฒ่า) สมเด็จโตก็โดนเหมือนกัน คิดดูให้ดีๆ ไม่ใช่ของง่ายๆนะ(หัวเราะ)"

หลวงตาม้าท่านเคยถามลูกศิษย์คนหนึ่งได้ใจความว่า

"ปรารถนาพุทธภูมิเนี่ย วางแผนเอาไว้หรือยังว่าชาตินี้จะทำอะไร วันนี้จะทำอะไร วันพรุ่งนี้จะทำอะไร ลองคิดดู"

"จะทำอะไรก็ต้องให้มันเกิดประโยชน์ ถ้าไม่เกิดประโยชน์ก็อย่าไปทำ"

สิ่งที่หลวงตาม้าท่านเมตตาสอนนั้น ตรงกับหนึ่งใน พุทธภูมิธรรม ซึ่งมีเขียนเอาไว้ในบทสนทนาธรรมระหว่างพระมาลัยและพระศรีอารยเมตไตรโพธิสัตว์ดังนี้

ดูกรมหาบพิตร นิยตโพธิสัตว์ ที่ว่าต้องประกอบด้วย "พุทธภูมิ" นั้น อยาก ทราบว่า คำว่า "พุทธภูมิ" แปลและหมายความว่าอย่างไร มีเท่าไร อะไรบ้าง ขอถวายพระพร"

ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นักปราชญ์นิยมเรียกกันว่า "พุทธภูมิธรรม" คำว่า "พุทธภูมิธรรม" แปลว่าธรรมอันเป็นชั้นของพระพุทธเจ้า หมายความว่า ธรรมซึ่งจัดเป็นชั้นของผู้จะเป็นพระพุทธเจ้า อธิบายว่า นิยตโพธิสัตว์ คือ ผู้ที่เที่ยงแท้แน่นอนที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้านั้น จำเป็นต้องมีภูมิชั้นเชิงดีกว่า คนอื่นๆ มาก เพื่อเป็นเครื่องส่อให้เห็นว่า แปลกจากคนอื่นๆ อย่างไร และธรรมซึ่งเป็นภูมิ หรือ เป็นชั้นเชิงของผู้จะเป็นพระพุทธเจ้านั้น เรียกว่า พุทธภูมิธรรม มีอยู่ ๔ ประการ คือ

๑. อุสสาโห
ความองอาจกล้าหาญในการทำดี ไม่ยอ่ท้อต่อสิ่งอะไรทั้งหมด เป็นต้นว่า การงานที่ทำ ความเมื่อยล้า หิวกระหาย ใกล้ ไกล

๒. อุมมัคโค
มีปัญญาแก่กล้าเชี่ยวชาญ ความรู้อันแก่กล้า ได้แก่ความรู้ใน เหตุผลของการกระทำ นิยตโพธิสัตว์ต้องมีความรู้ในเหตุผลต้นปลายของ การกระทำต่างๆ ว่าอย่างไหนจะมีเหตุผลดีชั่วอย่างไร แล้วเลือกไม่ทำสิ่งที่ มีผลชั่ว เลือกทำแต่สิ่งที่มีผลดี

๓. วะวัตถานัง
มีอธิษฐานมั่นคง คือมีใจคอหนักแน่นมั่นคง มีความมั่นใจ นิยตโพธิสัตว์ย่อมมีใจคอมั่นคง หนักแน่น ไม่เหลาะแหละเหลวไหล เมื่อทำ สิ่งใดต้องทำให้สำเร็จ เป็นอันไม่ทอดทิ้ง

๔. หิตจริยา
ทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ นิยตโพธิสัตว์ย่อมทำแต่สิ่งที่เป็น ประโยชน์แก่ตนและแก่ผู้อื่น

ในคุณธรรม ๔ ข้อนี้ ถ้าลำดับตามวิธีใช้ ต้องลำดับอย่างนี้ คือ
อุมมัคคะ- หิตจริยา-อวัตถานะ-อุสสาหะ

อธิบายว่า ก่อนจะทำสิ่งใดลงไป ต้องใช้อุมมัคคะ คือ ปัญญาพิจารณาดู เสียก่อน แล้วจึงใช้หิตจริยา คือทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ใช้วัตถานะ คือ ความมั่นใจเป็นที่ ๓ ใช้อุตสาหะคือความไม่ย่อท้อเป็นที่ ๔ ส่วนพวกเราที่ไม่ใช่โพธิสัตว์ประเภทนิยตโพธิสัตว์ หรือสักว่าโพธิสัตว์ ก็ควรพยายามทำตนให้ตั้งอยู่ในภูมิธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ เมื่อสามารถ เลื่อนตนไปถึงภูมิธรรมทั้ง ๔ ประการนี้แล้ว จึงจะเรียกว่า "ปณีตบุคคล" คือ บุคคลชั้นดี และได้ชื่อว่า เป็นผู้มีภูมิดี

229
อภิญญาปฎิบัติ / ปฐมฌาน
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2012, 09:54:03 PM »
คำสอน พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

ปฐมฌาน

จาก หนังสือ กรรมฐาน ๔๐

วันนี้ก่อนที่จะศึกษาอย่างอื่น ก็ให้นึกถึงกฎธรรมดาไว้เป็นสำคัญ กฎธรรมดาที่จะมีสำหรับเรานั้นก็คือ ชาติปิ ทุกฺขา ความเกิดเป็นทุกข์ ชราปิ ทุกฺขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณมปิ ทุกฺขํ ความตายเป็นทุกข์ โสกปริเทวทุกขโสมนัสเป็นต้น ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ มีอาราณ์ขัดข้องหรือความปรารถนาไม่สมหวังเป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า เราเกิดมาเพื่อมาประสบกับความทุกข์ คนที่เกิดมาแล้วทุกคนที่จะไม่มีทุกข์ ไม่มี ถ้าหากว่าเรายังยึดถือว่า ร่างกายเป็นของเรา ทรัพย์สินเป็นของเรา ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเป็นของเรา อารมณ์ทุกข์มันก็เกิด เกิดเพราะว่าเราเกาะ ที่เรียกว่าอุปาทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกธรรมทั้ง ๘ ประการ คือ มีลาภดีใจ ลาภสลายตัวไป เสียใจ มียศ ดีใจ ยศสลายตัวไป เสียใจ มีความสุขในกามสุข ดีใจ ความทุกข์หมดไป ร้อนใจ ได้รับคำนินทา เดือดร้อน ได้รับคำสรรเสริญ มีสุข นี่ก็ถือว่าเป็นอารมณ์ของอุปาทาน สร้างความทุกข์ สร้างความหวั่นไหวให้เกิดขึ้นกับเรา

ทำอย่างไร เราจึงจะพ้นทุกข์

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แนะนำให้พวกเราถือว่าใช้อารมณ์คิดอยู่เสมอว่า กฎนี้เป็นกฎธรรมดาของโลกที่เราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงมันไปได้ ถ้ามันเกิดขึ้นกับเราก็ถือว่า ช่างมัน ตามศัพท์ภาษาบาลีท่านเรียกว่า ขันติ ความอดทน ถ้าใช้คำว่าอดทนมันเข้าใจยาก ใช้ภาษาไทยธรรมดาดีกว่า ว่ามันจะเกิดขึ้นมาประเภทไหนก็ช่างมัน

เกิดเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะการแสวงหา การเลี้ยงชีวิต การประกอบอาชีพ การบริหารร่างกาย การบริหารหมู่คณะ กิจที่จะต้องทำมันเหนื่อยยาก ได้รับความขัดข้องใจ เราคือว่าเราทำตามหน้าที่ เราทำไว้เต็มความสามารถแล้วใครจะติว่าดีหรือไม่ดี ไม่ถือ ไม่ปรารภว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะองค์สมเด็จพระทรงธรรม์กล่าวว่า นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต คนที่ไม่ถูกนินทาเลยไม่มีในโลก ฉะนั้น การนินทาว่าร้ายอะไรก็ตาม ก็ถือว่าช่างมันเป็นธรรมดา ทุกอย่างเราทำงานตามหน้าที่

ถ้าความเกิดมันเป็นทุกข์อย่างนี้ เราก็ถือว่านี่เพราะว่าอาศัยเราโง่เราจึงเกิด โง่เพราะอะไร ? โง่เพราะยึดมั่นว่า ร่างกายมันเป็นเรา เป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมันมีในเรา เมื่อยึดร่างกายเสียอย่างเดียว ก็เลยยึดทรัพย์สินภายนอกไปด้วย แต่ความจริงสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ถ้ามันเป็นเราจริง มันต้องไม่แก่ มันต้องไม่ป่วย มันต้องไม่ตาย ที่เกิดมาแล้ว มันต้องแก มันต้องป่วย มันต้องตาย ทำไมจิตใจเราจะต้องไปทุกข์มันด้วย ถ้าเราคิดไว้เสมอว่า เราเกิดเพื่อแก่ เกิดมาเพื่อป่วยไข้ไม่สบาย เกิดมาเพื่อกระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่เราไม่ชอบใจ เกิดมาเพื่อความพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ซึ่งมีความตายไปในที่สุด รวมความว่าเราเกิดมาเพื่อตาย ในเมื่อหน้าที่ของเราเกิดมาต้องประสบด้วยเหตุอย่างนี้ เราจะไปทุกข์มันทำไมเมื่ออาการทั้งหลายเหล่านั้นมันเกิด ถือว่านี่มันเป็นเรื่องธรรมดา ภายในไม่ช้าเราก็จะสิ้นทุกข์

วิธีสิ้นทุกข์ทำยังไง ?

เราก็มีการให้ทานเป็นปกติ ถ้าอารมณ์เราพร้อมเพรียงในทาน ก็ชื่อว่าเป็นการตัดโลภะ ความโลภ เรามีเมตตาเป็นปกติ อารมณ์ของเมตตาที่เราทรงอยู่คือรักษาศีลได้ ถ้ามีเมตตาอยู่ศีลมันก็ไม่ขาด ถ้ามีเมตตาอยู่เป็นปกติ นอกจากมีเมตตาอยู่แล้วศีลไม่ขาดแล้ว เมตตามันยังเป็นตัวทำลายโลภะ เราก็มาพิจารณาหาความจริงว่า ชาติปิ ทุกฺขา ความเกิดเป็นทุกข์ เจ้าอยากเกิดนี่ มันจะทุกข์อย่างไรก็ช่างมัน ใจเราก็วางเฉยไว้ ชราปิ ทุกฺขา ความแก่เป็นทุกข์ อาการงกๆ เงิ่นๆ ร่างกายไม่แข็งแรง ไม่กระปรี้กระเปร่า มีความปรารถนาไม่สมหวัง เพราะทำเองไม่ได้ แล้วเราก็เลยมีทุกข์ ถือว่านี่เป็นเรื่องธรรมดาของคนแก่ เกิดมาเพื่อแก่ มรณมฺปิ ทุกฺขํ ความตายเป็นทุกข์ เรื่องของชาวบ้านธรรมดาเราไม่ทุกข์ ถือว่าเป็นกฎธรรมดา ตายเสียได้ก็ดี เพระามันจะได้หมดเรื่องยุ่ง แล้วเราเห็นว่าขันธ์ห้าเป็นโทษ เป็นทุกข์สำหรับเรา เราก็เลยคิดต่อไปว่า ขึ้นชื่อว่าขันธ์ห้า ความเกิดมามีร่างกายขันธ์ห้า แบบนี้จะไม่มีสำหรับเราอีก เราจะไม่โง่ยอมรับนับถือให้มีร่างกายต่อไป ถ้าอารมณ์ใจของเราคิดไว้อย่างนี้เป็นปกติ เราก็จะหมดความทุกข์ มันค่อยๆ เข้าใจไปเอง

นี่เป็นบทที่บรรดาพุทธบริษัทควรจะคิดให้เป็นปกติ เพื่อความเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน นี่เป็นวิปัสสนาญาณตัวสุดท้าย

ต่อแต่นี้ไป ก็จะขอพูดต่อเมื่อวานนี้ เมื่อวานเรามาพูดกันถึงจบอุปจารสมาธิ วันนี้ก็จะขอพูดเข้าถึงจุดของฌาน การรักษาลมหายใจเข้าออกและคำภาวนาว่าพุทโธ ความจริงการภาวนานี่ไม่ได้จำกัด ท่านจะภาวนาอย่างใดก็ได้ตามอัธยาศัย การภาวนาใดๆ ก็ตามให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกไปด้วย เวลาหายใจเข้านึกว่าพุธ เวลาหายใจออกนึกว่าโธ ขณะใดที่จิตใจเรายังมีความรู้สึก จิตยังอยู่ในขอบเขตคำว่าพุทโธ หรือลมหายใจเข้าออก พึงทราบว่าขณะนั้นจิตของเราตั้งอยู่ในอารมณ์ของสมาธิ

การทรงสมาธิวันละนิดหนึ่ง องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า ท่านผู้นั้นเป็นผู้ไม่ว่างจากฌาน คือมีคุณธรรมสูงพอที่จะเอาตัวรอดได้ ถ้าเราทรงสมาธิได้ดีกว่านั้น หมายความว่าขณะที่ท่านทั้งหลายกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกแล้วก็กำหนดคำภาวนา ภาวนาไปด้วยจิตใจมีอารมณ์สบาย หูได้ยินเสียงภายนอกชัดเจนดี สุนัขเห่า สุนัขหอน คนพูดเสียงร้องเพลงร้องละคร เสียงชาวบ้านทะเลาะกัน เขานินทากัน หรือแม้ว่านินทาว่าร้ายเรา เราได้ยินหมด แล้วก็ปรากฏว่าใจของเราไม่รำคาญ เราไม่มีความรำคาญในเสียง สามารถกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกและคำภาวนาได้แบบสบาย อารมณ์อย่างนี้ถ้าทรงไว้ได้ ๒, ๓ นาที ๕ นาที ๑๐ นาทีก็ตาม ท่านถือว่าอารมณ์อย่างนี้เป็นอารมณ์ของปฐมฌาน จิตเราเข้าถึงปฐมฌาน เป็นฌานที่ ๑

ฌานที่ ๑ นี่เรามีกฏสังเกตไว้อย่างนี้ คือว่า เราไม่รำคาญในเสียง เพราะเสียงนี่เป็นศัตรูของปฐมฌาน ให้สังเกตไว้ แต่การเข้าถึงปฐมฌานกับการทรงปฐมฌานมันต่างกัน การทรงหมายความว่าเราบังคับจิตให้ทรงอยู่ในอารมณ์นั้นๆ เวลาเท่าใดก็ได้ตามที่เราตั้งใจไว้ อย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงฌาน ถ้าอารมณ์จิตเข้าถึงปฐมฌาน มันก็ลดตัวตัดลงมา ลดลงมาต่ำ เมื่อลดลงมาต่ำแล้ว เราก็ตั้งใจจะก้าวขึ้นไปอีก มันขึ้นไปได้หรือไม่ได้ก็ตามใจ

การที่จะเข้าถึงปฐมฌานในตอนต้น มันมีเรื่องอยู่ที่เป็นเรื่องน่าสงสัย นั้นคืออารมณ์เบื้องต้น ถ้าอารมณ์ของเราหยาบ มันจะมีอาการมืดตื้อ เคลิ้มคล้ายหลับ จะมีอารมณ์มืด บางทีเรามีความรู้สึกตัวเหมือนจะหลับไป ถ้าจิตมันตกจากอารมณ์นั้นลงมา จิตใจจะมีอารมณ์สว่าง เราก็คิดว่าเราเผลอหลับไปหรือไงก็ไม่ทราบ เราจะสังเกตได้ว่าเราหลับหรือไม่หลับ หรือว่าจิตเข้าสู่อารมณ์ฌานหยาบ ถ้าเราหลับหลับมันต้องโงกไปข้างหน้า หรือหงายไปข้างหลังเป็นอาการของคนหลับ ถ้าร่างกายมันนั่งอยู่เฉยๆ แล้วมีอาการเคลิ้มอย่างนั้น เกือบจะหมดความรู้สึกตัวเผลอไปแล้วก็รู้สึกขึ้นมาใหม่ อย่างนี้แสดงว่าจิตของท่านเข้าถึงปฐมฌาน แต่มันหยาบ มันทรงไม่ได้นาน ต่อไปจิตมันก็จะละเอียดเอง นี่เป็นลักษณะหนึ่งที่บรรดานักปฏิบัติทั้งหลายมีความสงสัย

อีกลักษณะหนึ่งนั่นคือว่า เวลานั่งๆ ไป มีอาการหวิวคล้ายกับตกจากที่สูง ทำให้ตกใจเสียวขึ้นมาทันที บางทีก็มีการใจเต้นแรงเหมือนเราตกจากที่สูง เมื่อมีความรู้สึกเป็นเช่นนี้ อารมณ์ดิ่งจะไม่มี เราจับได้ต่อไปก็จะมีแต่อารมณ์สบาย อาการอย่างนี้ขอบรรดาท่านทั้งหลายพึงเข้าใจ ว่านั่นจิตมันเข้าไปสู่ปฐมฌานแล้ว แต่ว่าจิตมันทรงอยู่ไม่ได้นาน มันพลัดตกจากฌาน คือมันพลัดแรงเกินไป ตกเข้าสู่สภาวะภวังค์ที่เรียกว่าจิตปกติ

ถ้าเป็นปฐมฌานอย่างละเอียด มันจะมีอารมณ์สบาย เฉยๆ มีความสว่างของจิต จิตจะมีอารมณ์สงบสงัด หูจะได้ยินเสียงทั้งหมด แต่ก็มีใจสบายไม่รำคาญในเสียง นี่เป็นปฐมฌานละเอียด

ถ้ามีอารมณ์อย่างนี้ทั้งสองประการ ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านก็ควรจะภูมิใจว่าจิตเราเข้าสู่ปฐมฌาน วันหนึ่งขณะหนึ่งก็ดี นาทีหนึ่ง ๒ นาที ๓ นาทีก็ดี ถ้าจิตทรงได้อย่างนี้ทุกๆ วันก็ชื่อว่าเราเป็นผู้ไม่ว่างจากฌาน เวลาที่ตายไปแล้วเราก็จะกลายเป็นพรหม เวลาที่เราป่วยหนัก อารมณ์ของสมาธิจิตจะเข้ามารวมตัว เมื่ออารมณ์จิตเข้ามารวมตัวแล้วเราก็จะมีความสุข นี่เราจะไปรู้กันเวลาที่ป่วยหนักๆ ว่ามันณขนาดไหน ถ้าจิตรวมตัวได้จิตทรงปฐมฌานอยู่ เวลาป่วยนี่มันได้ผลจริงๆ มันจะทรงตัวได้ดีมาก เมื่อจิตทรงตัวได้ดีมากเวลาตาย ตายในระหว่างปฐมฌาน ถ้าหากว่าเราได้ฌานอย่างหยาบ เราก็เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๑ ถ้าเป็นฌานอย่างกลางเราก็เป็นพรหมชั้นที่ ๒ ถ้าเป็นฌานอย่างละเอียดก็เป็นพรหมชั้นที่ ๓ ีนี่พูดกันถึงด้านโลกียวิสัย เป็นฌานโลกีย์

ถ้าอารมณ์เข้าถึงปฐมฌานแบบนี้ ถ้าเราพิจารณาอย่างตอนต้นแบบง่ายๆ ถึงอัตภาพร่างกายนี้ มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา เราไม่ยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย มันจะป่วยมันจะแก่ มันจะตายก็ช่างมัน ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ใครจะนินทาใครจะสรรเสริญเราไม่สนใจ ความร่ำรวยมีเท่าใด มันยากจนอย่างไร ก็ช่างมันหากินไปตามหน้าที่ มีมากกินมาก มีน้อยกินน้อย ถือว่ามีมากก็ตาย มีน้อยก็ตาย มีมากก็แก่ มีน้อยก็แก่ มีมากก็ป่วย มีน้อยก็ป่วย มีมากก็กลุ้ม มีน้อยก็กลุ้ม มันก็ไอ้กลุ้มเหมือนกัน สิ่งทั้งหลายเหล่านี้นั้น มันเป็นของธรรมดา เราทำใจให้สบาย

ถ้าจิตใจของเราไม่ยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย เห็นว่าร่างกายมีความเกิด มีความแก่เจ็บตายไปในที่สุด เป็นของธรรมดา มีอารมณ์แรงกล้า คือยอมรับนับถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างมั่นคงมีศีลบริสุทธิ์ มีอารมณ์รักพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่แค่ปฐมฌานทำได้แล้วขนาดนี้ เพราะกำลังของปฐมฌานมีกำลังพอที่จะตัดกิเลส อย่างนี้องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์เรียกว่าพระโสดาปัตติผล ถ้าอารมร์ใจของเราเข้าถึงความเป็นพระโสดาบันหรือโสดาปัตติผลนั่นเอง อารมณ์จิตมันก็จะไม่ตกต่ำ ไม่เคลื่อนไปอบายภูมิ ถ้าเราตายจากความเป็นมนุษย์ มีเกิดเป็นมนุษย์บ้างเป็นเทวดาบ้างสลับกันไป ถ้าได้พระโสดาอย่างหยาบ ก็เกิดเป็นมนุษย์อีก ๗ ชาติแล้วไปนิพพาน เป็นพระโสดาบันอย่างกลางก็เกิดเป็นมนุษย์อีก ๓ ชาติ เป็นพระโสดาบันอย่างละเอียดก็เป็นมนุษย์อีก ๑ ชาติ นี่พูดกันถึงตามหลักการที่เราจะได้พระโสดาบันหรือจะไม่ได้พบพระพุทธเจ้า อย่าลืมว่าพระโสดาบันทรงคุณธรรมเพียงสามประการเท่านั้น คือนึกอยู่เสมอว่าเราจะต้องตายเป็นปกติ เห็นความเกิด ความแก่ ความกลัดกลุ้มใดๆ ก็ตามมันเป็นของธรรมดา แต่ความโลภอยากรวยยังมีอยู่ ความอยากสวยยังมีอยู่ ความโกรธยังมีอยู่ ความหลงยังมีอยู่ แล้วความอยากสวยอยากรวยอยากโกรธอยากหลงมันอยู่ในขอบเขตของศีล อยากสวยก็สวยโดยไม่ผิดศีล อยากรวยได้มาโดยไม่ผิดศีล ไม่คดไม่โกงใคร โกรธได้แต่ทำร้ายใครเขาไม่ได้กลัวศีลขาด ยังหลงในร่างกายว่าเป็นเรา เป็นของเรา มีอยู่แต่ว่ารู้อยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย จิตใจมันปล่อยได้ งานทุกอย่างทำตามหน้าที่แล้วมีอารมณ์ยอมรับนับถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีศีลห้าบริสุทธิ์ มีอารมณ์รักพระนิพพานเป็นปกติ นี่แค่นี้เองพระโสดาบัน

ถ้าจะพูดย่อให้สั้นลงมา องค์พระโสดาบันก็คือ

๑) มีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างแน่นอน

๒) มีศีลห้าเป็นปกติ ศีลห้าไม่ขาด

อาการของพระโสดาบันก็คือชาวบ้านชั้นดี การปฏิบัติแบบนี้เพื่อจะเข้าถึงพระโสดาบันมันเป็นของไม่ยาก

เอาละต่อแต่นี้ไปบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย พยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่นกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา


ปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัตินี้ ท่านกำหนดองค์ของปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัติไว้ ๕ อย่างดังต่อไปนี้

1. วิตก จิตกำหนดนึกคิด โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ว่าหายใจเข้าหรือออก ถ้าใช้คำภาวนา ก็รู้ว่าเราภาวนาอยู่ คือภาวนาไว้มิให้ขาดสาย ถ้าเพ่งกสิณ ก็กำหนดจับภาพ กสิณอยู่ตลอดเวลาอย่างนี้เรียกว่าวิตก
2. วิจาร ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็ใคร่ครวญกำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราหายใจเข้าหรือ หายใจออก หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น หายใจเบา หรือแรง ในวิสุทธิมรรคท่านให้รู้กำหนด ลมสามฐานคือ หายใจเข้าลมกระทบจมูก กระทบอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย หายใจ ออกลมกระทบศูนย์ กระทบอกกระทบจมูกหรือริมฝีปาก

ถ้าภาวนา ก็กำหนดรู้ไว้เสมอว่าเราภาวนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ประการ ใด

ถ้าเพ่งภาพกสิณ ก็กำหนดหมายภาพกสิณว่า เราเพ่งกสิณอะไร มีสีสัน วรรณะเป็นอย่างไร ภาพกสิณเคลื่อนหรือคงสภาพ สีของกสิณเปลี่ยนแปลงไป หรือคงเดิม ภาพที่เห็นอยู่นั้นเป็นภาพกสิณที่เราต้องการ หรือ ภาพหลอนสอด แทรกเข้ามา ภาพกสิณเล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ ดังนี้เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่า วิจาร
3. ปีติ ความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีเป็นปกติ
4. ความสุขเยือกเย็น เป็นความสุขทางกายอย่างประณีต ซึ่งไม่เคยมีมาใน กาลก่อน
5. เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ตั้งมั่นอยู่ในองค์ทั้ง ๔ ประการนั้น ไม่คลาดเคลื่อน

ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัตินี้ เมื่อขณะทรงสมาธิอยู่นั้น หูยังได้ยินเสียงภายนอกทุกอย่าง แต่ว่าอารมณ์ภาวนาหรือรักษาอารมณ์ไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียง เสียงก็ได้ยินแต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ อย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ อารมณ์เพ่งอยู่ โดยไม่รำคาญ ในเสียงทรงความเป็นหนึ่งไว้ได้ ท่านกล่าวว่า กายกับ จิตเริ่มแยกตัวกันเล็กน้อย แล้วตามปกติจิตย่อมสนใจในเรื่องของกาย เช่นหูได้ยินเสียง จิตก็คิดอะไรไม่ออกเพราะรำคาญในเสียง แต่พอจิตเข้าระดับปฐมฌาน กลับเฉยเมย ต่อเสียงคิดคำนึงถึงอารมณ์กรรมฐานได้เป็นปกติที่ท่านเรียกว่า ปฐมสมาบัติ ก็ เพราะ อารมณ์สมาธิเข้าถึงเกณฑ์ของปฐมฌานที่จิตกับกายเริ่มแยกทางกันบ้างเล็กน้อย แล้วนั่นเอง

อารมณ์ปฐมฌาน และปฐมสมาบัติ

เพื่อให้จำง่ายเข้า จะขอนำอารมณ์ปฐมฌานมากล่าวโดยย่อเพื่อทราบไว้ อารมณ์- ปฐมฌานโดยย่อมีดังนี้

1. วิตก ความตรึกนึกคิดถึงอารมณ์ภาวนา
2. วิจาร ความใคร่ครวญทบทวนถึงองค์ภาวนานั้นๆ ครบถ้วนถูกต้องหรือไม่เพียงใด
3. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ มีความชุ่มชื่นเบิกบานหรรษา
4. สุข มีความสุขสันต์ทางกายและจิตใจอย่างไม่เคยมีมาในกาลก่อน เป็นความสุข อย่างประณีต
5. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ทรงวิตก วิจาร ปีติ สุข ไว้ได้โดยไม่มีอารมณ์ อื่นเข้ามาแทรกแซง

องค์ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ ๕ อย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ ต้องปรากฏพร้อม ๆ กันไปคือ นึกคิดถึงองค์ภาวนาใคร่ครวญในองค์ภาวนานั้น ๆ ว่า ครบถ้วนถูกต้องหรือ ไม่ประการใด มีความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีอารมณ์ผ่องใสสว่างไสวในขณะภาวนา มีความสุข สันต์หรรษา มีอารมณ์จับอยู่ในองค์ภาวนา ไม่สนใจต่ออารมณ์ภายนอก แม้แต่เสียงที่ได้ยิน สอดแทรกเข้ามาทำให้ได้ยินชัดเจน แต่จิตใจก็ไม่หวั่นไหว ไปตามเสียงนั้น จิตใจคงมั่นคง อยู่กับอารมณ์ภาวนาเป็นปกติ

เสี้ยนหนามของปฐมฌาน

เสี้ยนหนามหรือศัตรูตัวสำคัญของปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัตินี้ ก็ได้แก่ เสียง เสียงเป็นศัตรูที่คอยทำลายอารมณ์ปฐมฌาน ถ้านักปฏิบัติทรงสมาธิอยู่ได้ โดยไม่ต้องระแวงหวั่นไหวในเสียง คือไม่รำคาญเสียงที่รบกวนได้ก็แสดงว่าท่านเข้าถึง ปฐมฌานแล้ว ข้อที่ไม่ควรลืมก็คือ ฌานโลกีย์นี้เป็นฌานระดับต่ำ เป็นฌานที่ปุถุชน คนธรรมดาสามารถจะทำให้ได้ถึงทุกคน เป็นฌานที่เสื่อมโทรมง่าย หากจิตใจของ ท่านไปมั่วสุมกับนิวรณ์ห้าประการอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าแม้แต่อย่างเดียว ฌานของท่าน ก็จะเสื่อมทันที ต่อว่าเมื่อไรท่านขับไล่นิวรณ์ไม่ให้เข้ามารบกวนจิตใจได้ ฌานก็เกิดขึ้น แก่จิตใจของท่านต่อไป ฌานจะเสื่อม หรือ เจริญก็อยู่ที่นิวรณ์ ด้านนิวรณ์ไม่ปรากฏจิตว่าง จากนิวรณ์ จิตก็เข้าถึงฌาน ถ้านิวรณ์มารบกวนจิตได้ ฌานก็จะสลายตัวไป ฌานตั้งแต่ ฌานที่ ๑ ถึง ฌานที่ ๘ มีสภาพเช่นเดียวกัน คือต้องระมัดระวังนิวรณ์ไม่ให้เข้ามายุ่ง แทรกแซงเหมือนกัน ก่อนที่จะพูดถึงฌานที่ ๒ จะขอนำเอานิวรณ์ศัตรูร้ายผู้คอยทำลาย ฌานมาให้ท่านรู้จักหน้าตาไว้เสียก่อน

นิวรณ์ ๕

อกุศลธรรมที่คอยทำลายล้างความดีที่เป็นกุศล คือ ฌาน ท่านเรียกว่า นิวรณ์ มี ๕ อย่างคือ

1. กามฉันทะ ความพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสอันเป็นวิสัยของ กามารมณ์
2. พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
3. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะเจริญสมณธรรม
4. อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิดใจ
5. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิด ไว้หรือไม่เพียงใด

อารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นเพื่อนสนิทกับจิตใจมานับจำนวนปีไม่ถ้วน ควรจะพูด ว่า จิตใจของเราคบกับนิวรณ์มานานหลายร้อยหลายพันชาติ เมื่อจิตใจเราสนิทสนม กับอารมณ์ของนิวรณ์มานานอย่างนี้ เป็นธรรมดาอยู่เองที่จิตใจจะต้องอดคบหาสมาคมกับ นิวรณ์ไม่ได้ เมื่อเรามาแนะนำให้คบหาสมาคมกับฌาน ซึ่งเป็นเพื่อนหน้าใหม่ มีนิสัยตรงข้าม กับเพื่อนเก่าก็เป็นการฝืนอารมณ์อยู่ไม่น้อย ฉะนั้น ในฐานะที่นิวรณ์กับจิตเป็นเพื่อนสนิทกัน มานาน ก็อดที่จะแอบไปคบหาสมาคมกันไม่ได้ อารมณ์ที่จะคอยหักล้างนิวรณ์ คืออกุศลห้า- ประการนี้ได้ ก็อารมณ์ ๕ ประการของปฐมฌานนั่นเอง เมื่อจิตกับนิวรณ์เป็นมิตรสนิทกัน มานาน

ฉะนั้น การดำรงจิตอยู่ในอารมณ์ฌานจึงทรงอยู่ได้ไม่นาน ทรงอยู่ได้ชั่วครู่ชั่วขณะ จิตก็เลื่อนเคลื่อนออกจากอารมณ์ฌานคลานเข้าไปหานิวรณ์ อาการอย่างนี้เป็นกฎธรรมดา ของท่านที่เข้าถึงฌานในระยะต้น หรือที่มีความช่ำชองชำนาญในฌานยังน้อยอยู่ต่อเมื่อไร ได้ฝึกการดำรงฌาน กำหนดเวลาตามความต้องการได้แล้ว เมื่อนั้นแหละความเข้มข้นเข้ม แข็งของกำลังจิตที่จะทรงฌานอยู่ได้นานตามความต้องการจึงจะปรากฏมีขึ้น ขอนักปฏิบัติ จงเข้าใจไว้ด้วยว่า จิตที่เข้าสู่ระดับฌาน คือ ปฐมฌาน หรือฌานอื่นใดก็ตาม ถ้า ยังไม่ฝึกฝนจนชำนาญ เข้าฌานออกฌานตามกำหนดเวลาได้แล้ว จิตก็จะยังทรงสมาธิไว้ ได้ไม่นาน จิตจะค่อยถอยหลังเข้าหานิวรณ์ ๕ ประการอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่ออารมณ์ฌาน ย่อหย่อน เมื่อมีอาการอย่างนั้นบังเกิดขึ้นก็จงอย่าท้อใจหมั่นฝึกฝนเข้าฌานโดยการกำหนด เวลาว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะดำรงอยู่ในฌาน ตั้งแต่เวลานี้ถึงเวลาเท่านั้น แล้วเริ่มทำสมาธิเข้าสู่ ระดับฌาน ทรงฌานไว้ตามเวลาจนกว่าเมื่อถึงเวลาแล้วจิตจะเคลื่อนจากฌาน มีความรู้สึก ตามปกติเอง เมื่อทำได้แล้วหัดทำบ่อย ๆ จากเวลาน้อย ไปหาเวลามาก คือ ๑ ชั่วโมง ไป หา ๒-๓-๔-๕-๖ จนถึง ๑ วัน ๒-๓-๔-๕-๖-๗ พอครบกำหนด จิตก็จะคลายตัวออกเองโดย ไม่ต้องตั้งนาฬิกาปลุกหรือคนเรียก เมื่อชำนาญอย่างนี้ ชื่อว่าท่านเอาชนะนิวรณ์ได้ แต่ก็ อย่าประมาทเพราะฌานโลกีย์ ถึงอย่างไรก็ดี ยังไม่พ้นอำนาจนิวรณ์อยู่นั่นเอง นิวรณ์ที่ไม่มา รบกวนนั้นไม่ใช่นิวรณ์สูญไปหรือสลายตัวเพียงแต่เพลียไปเท่านั้นเอง ต่อเมื่อไรท่านได้ โลกุตตรฌาน คือ บรรลุพระอริยะ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปนั่นแหละท่านพอจะไว้ใจตัว ได้ว่าท่านไม่มีวันที่จะต้องตกมาอยู่ใต้อำนาจนิวรณ์ คืออกุศลธรรมต่อไปอีก เพราะโลกุต- ตรฌานคือ ได้ฌานโลกีย์แล้วเจริญวิปัสสนาญาณจนบรรลุอริยมรรคอริยผล เป็นพระอริย- บุคคล แล้วอกุศลคือนิวรณ์ ๕ ประการเข้าครองจิตไม่ได้สนิทนักสำหรับพระอริยะต้น พอจะ กวนบ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็จักจูงใจให้ทำตามนิวรณ์สั่งไม่ได้ นิวรณ์บางอย่างเช่น กามฉันทะ ความพอใจในความสวยงามของ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ความโกรธ ความขัด เคือง พระโสดาบัน พระสกิทาคามียังมี แต่ก็มีเพียงคิดนึกไม่ถึงกับลงมือทำ เรียกว่าอกุศลกวนใจ นิดหน่อย พอทำได้ แต่จะบังคับให้ทำไม่ได้ สำหรับพระอนาคามี ยังตกอยู่ใต้อำนาจของ อุทธัจจะ คือความคิดฟุ้งซ่าน แต่ก็คิดไปในส่วนที่เป็นกุศลใหญ่มากกว่า ความคิดฟุ้งเลอะ เลือนเล็กๆ น้อย ๆ พอมีบ้าง แต่ไม่มีอะไรเป็นภัย เพราะพระอนาคามีหมดความโกรธ ความพยาบาทเสียแล้ว

อำนาจของนิวรณ์มีอย่างนี้ บอกให้รู้ไว้ จะได้คอยยับยั้งชั่งใจคอยระมัดระวังไว้ไม่ปล่อย ให้ใจระเริงหลงไปกับนิวรณ์ ที่ชวนให้จิตมีความรู้สึกนึกคิดไปในส่วนที่เป็นอกุศลยับยั้งตนไว้ ในอารมณ์ของฌานเป็นปกติ ท่านที่มีอารมณ์จิตเข้าถึงอารมณ์ฌานและเข้าฌานไว้เป็นปกติ ท่านผู้นั้นมีหน้าตาแช่มชื่นเอิบอิ่มอยู่เสมอ มีอารมณ์เบิกบานไม่หดหู่ เห็นน่ารักอยู่ตลอดเวลา ฌานแม้แต่เพียงปฐมฌานจัดว่าเป็นฌานเบื้องต้น ก็มีผลไม่น้อยถ้าทรงไว้ได้ไม่ปล่อยให้เสื่อม ตายไปในขณะที่ทรงฌาน ก็สามารถไปเกิดในพรหมโลกได้สามชั้น คือ ปฐมฌานหยาบเกิด เป็นพรหมชั้นที่ ๑ ปฐมฌานกลาง เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๒ ปฐมฌานละเอียด เกิดเป็นพรหม ชั้นที่ ๓ ถ้าท่านเอาสมาธิในปฐมฌานมาเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณแล้วอำนาจสมาธิของ ปฐมฌานก็สามารถเป็นกำลังให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสเป็น สมุจเฉทปหาน คือตัดกิเลส ได้เด็ดขาดจนบรรลุอรหัตตผลได้สมความปรารถนา อำนาจฌานแม้แต่ฌานที่ ๑ มีอานุภาพ มากอย่างนี้ ขอท่านนักปฏิบัติจงอย่าท้อใจ ระมัดระวังใจ อย่าหลงใหลในนิวรณ์จนเสียผลฌาน

230


ท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร เดิมเป็นลูกชายของพราหมณ์ที่มีความร่ำรวยแต่ตระกูลของพราหมณ์ตระกูลนี้ไม่ได้นับถือ พระพุทธศาสนาเขามีศาสนาพราหมณ์เป็นที่เคารพอยู่แล้ว ต่อมาลูกชายของพราหมณ์ที่ชื่อว่ามัฏฐกุณฑลีป่วยมาก พ่อกับแม่จะรักษาก็เสียดายเงินจึงไปถามหมอว่า โรคผอมเหลืองของลูกชายใช้ยาอะไรรักษา หมอก็บอกยากลางบ้านคือ ยาที่ชาวบ้านเอามารักษาโรคกันเอง โดยที่ไม่มีหมอตรวจอาการของโรคก่อน เป็นยาที่ไม่ตรงกับโรค มัฏฐกุณฑลี จึงป่วยหนักขึ้น และเห็นว่าพ่อกับแม่ ไม่ได้เป็นที่พึ่งแน่นอน เมื่อทุกขเวทนามากขึ้นหมดที่พึ่งก็นึกถึงพระพุทธเจ้า โดยเธอคิดว่าชาวบัานเขาลือกันว่าพระสมณโคดม มีเมตตาสูงใจดี สงเคราะห์ไม่ว่าใคร ใครมีทุกข์ท่านสงเคราะห์ทุกคน เธอจึงได้นอนนึกถึงพระพุทธเจ้า ขอให้พระพุทธเจ้ามาช่วยรักษาให้หายจากโรค ในขณะนั้นเธอก็ได้ถึงคราวตาย เมื่อเขาตายจิตออกจากร่าง ด้วยเดชะบารมีพระพุทธเจ้าที่เขาคิดถึง ว่าอยากให้มารักษาโรคก็ บันดาลให้เขาไปเกิดเป็นเทวดา บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นามว่า มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร มีวิมานทองคำเป็นที่อยู่ มีนางฟ้าหนึ่งพันเป็นบริวาร

เมื่อมัฏฐกุณฑลี เสียชีวิต ด้วยเพราะคิดถึงลูก พราหมณ์ผู้เป็นพ่อจึงไปยืนอ้อนวอนที่หน้าหลุมศพทุกวันว่าขอให้ ลูกชาย กลับมาเกิดใหม่ ในที่สุดลูกชายที่เป็นเทวดาก็ปรากฏตัวขึ้น จึงได้บอกกับพ่อของเขาว่า เวลานี้เธอได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ ที่ไปเป็นได้เพราะอาศัยนึกถึงพระสมณโคดมให้มาช่วยให้หายป่วย มือไม่เคยยกไหว้ บาตรไม่เคยใส่ เทศน์ที่พระสมณโคดมเทศน์ก็ไม่เคยฟัง อาศัยที่นึกถึงชื่อพระองค์อย่างเดียวเป็นเหตุให้ไปเกิดเป็นเทวดาได้ จึงได้แนะนำพ่อว่า ต่อไปจงถวายทานแด่พระสมณโคดมและพระของท่าน จงฟังเทศน์ จงใส่บาตรพระ จะเป็นคนมีบุญมากๆ เมื่อตายจะมีความสุขมากกว่าเธอ แล้วเธอก็ได้เหาะกลับวิมาน

เมื่อฟังแล้วบิดาจึงตั้งใจจะถวายทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก เมื่อกลับถึงบ้านจึงบอกให้ภรรยาทำอาหารมากๆ เพื่อวันนี้จะได้ไปถวายทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก เมื่อเสร็จแล้วจึงได้เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่ไปถึงกลับกล่าววาจาโอหังยืนอยู่ข้างหน้าแล้วถามว่า "พระสมณโคดม คนไม่เคยยกมือไหว้ท่าน ไม่เคยใส่บาตร ไม่เคยฟังเทศน์ เพียงนึกชื่อท่านอย่างเดียวตายไปแล้วเกิดเป็นเทวดา นางฟ้ามีไหม"พระพุทธเจ้าตรัสว่า พราหมณ์ คนที่ไม่เคยใส่บาตร ไม่เคยยกมือไหว้ ไม่เคยฟังเทศน์จากเรา ตายไปแล้วไปเกิดบนสวรรค์ ไม่ใช่นับร้อยนับพัน แต่นับเป็นโกฏีๆ แต่ทว่าท่านที่ฝึกกรรมฐาน ถึงมีว่าจะมีสมาธิเล็กน้อย ท่านก็ว่ามีผลดีกว่า มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ทั้งนี้เพราะทุกคนเคารพ พระพุทธเจ้า เคยบูชาพระ เคยไหว้พระ เคยใส่บาตร เคยฟังเทศน์ และเจริญกรรมฐานด้วยความเคารพ

ที่มา:หนังสือวิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ โดย พระสุธรรมยานเถระ(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

231


กัป กัลป์ และอสงไขย

การนับกาลเวลามี ๒ แบบ คือ แบบที่นับเป็นตัวเลข ๑ ๒ ๓ .... เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เรียกว่านับเป็นตัวเลขสังขยา คือ ตัวเลขที่นับได้
ถ้ามากเกินจะนับไหวแล้ว ก็จะเปลี่ยนมานับโดยการอุปมา คือการเปรียบเทียบเอา

แล้วตัวเลขแค่ไหนล่ะที่นับไม่ได้ เราจะนับกันสูงสุดแค่ไหน
ตัวเลขที่กำหนดว่าไม่นับแล้ว เลิกนับแบบสังขยากันดีกว่า คือ ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ตัว ซึ่งถือเป็นตัวเลขสูงสุดที่นับกัน ถ้าเกินไปกว่านี้ พระพรหมก็เบือนหน้าหนีแล้ว
จำนวนที่เกินจาก ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ตัว จึงเรียกว่าเป็นจำนวน อสังขยา หรือ อสงไขยนั่นเอง

กาลเวลาทางพุทธศาสนาที่พบเจอกันบ่อยๆ ก็คือ
๑. กัป
๒. อสงไขยปี
๓. รอบอสงไขย
๔. อันตรกัป
๕. อสงไขยกัป
๖. มหากัป
๗. อสงไขย
๘. พุทธันดร

กัป
ในความหมายแรก หมายถึงอายุกัป คือระยะเวลาที่เท่ากับอายุเฉลี่ยของมนุษย์ยุคนั้น ซึ่งผันแปรตั้งแต่ ๑๐ - อสงไขยปี
สมัยพุทธกาล อายุกัปเท่ากับ ๑๐๐ ปี ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้บำเพ็ญอิทธิบาท ๔ สามารถมีอายุอยู่ได้ตลอดกัป ก็หมายถึงมีอายุอยู่ได้ ๑๐๐ ปี นั่นเอง
และเนื่องจากตอนนี้อยู่ในช่วงอายุขาลง ทุก ๑๐๐ ปี อายุมนุษย์จะลดลง ๑ ปี ปัจจุปัน อายุกัปของเราจึงเหลืออยู่เพียง ๗๕ ปีเท่านั้น
คำว่ากัป หรือกัปป์ หรือกัปปะ เป็นภาษาบาลี ส่วนภาษาสันสกฤติใช้คำว่า กัลป์ สรุปแล้ว กัป กับ กัลป์ ก็คือตัวเดียวกันนั่นเอง

อสงไขยปี
ก็คือ จำนวนปีที่ขึ้นต้นด้วย ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ปีนั่นเอง ตัวเลขนี้เป็นอายุของมนุษย์ยุคสร้างโลก เมื่อโลกเกิดขึ้นใหม่ พระพรหมที่หมดอายุก็จุติมาอุบัติเป็นสัตว์โลกผู้มีจิตประภัสสร ลอยไปลอยมาในอากาศได้ มีอาหารเป็นทิพย์ มีศีลธรรมดีดุจพระพรหม อายุจึงยืนยาวถึงอสงไขยหนึ่ง

รอบอสงไขย
ต่อมามนุษย์เริ่มไปกินง้วนดินเข้า จิตก็เริ่มหยาบ กายก็เริ่มหยาบ กิเลสก็พอกหนา เหาะไม่ได้ กลายเป็นมนุษย์เดินดิน อายุก็ค่อยๆ ลดลง ทุก ๑๐๐ ปี ลดลง ๑ ปี จนเหลือแค่ ๑๐ ปี ยุคนั้นก็เป็นยุคมิคสัญญี มนุษย์ฆ่าฟันกันเหมือนผักปลา ศีลธรรมก็ไม่มี พอฆ่ากันตายเกือบหมดโลก พวกที่เหลือสังเวชใจ เริ่มรักษาศีลกันอีกครั้ง อายุก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้น ทุก ๑๐๐ ปี ก็เพิ่มขึ้น ๑ ปี จนกลับไปยืนยาวถึงอสงไขยปีอีกครั้ง
เวลาทั้งหมดนี้ เรียกว่ารอบอสงไขย
อันตรกัป
ก็คือ ๑ รอบอสงไขยนั่นเอง

อสงไขยกัป
โลกนี้มีเกิดดับเป็นวัฏจักร รอบหนึ่งใช้เวลาทั้งสิ้น ๒๕๖ อันตรกัป คือ
๑ โลกกำลังถูกทำลาย อาจโดนไฟประลัยกัปเผา หรือน้ำประลัยกัปตกกระหน่ำ หรือลมประลัยกัปพัดทำลาย ทุกสรรพสิ่งจะถูกทำลายย่อยยับไม่มีเหลือเลย ทำลายตั้งแต่มหานรกขึ้นไปถึงพรหมอีกหลายชั้น ใช้เวลาทำลายทั้งสิ้น ๖๔ อันตรกัป หรือเรียกว่า ๑ อสงไขยกัป โดยมีชื่อเฉพาะว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป
๒ จากนั้นทุกอย่างก็ว่างเปล่า มืดมิด ไม่มีอะไรเลย เป็นเวลาอีก ๖๔ อันตรกัป หรือเรียกว่า ๑ อสงไขยกัป โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป
๓ จากนั้นโลกก็จะเริ่มก่อตัวขึ้นมาใหม่ มีผืนน้ำ มีแผ่นดิน รวมเวลาอีก ๖๔ อันตรกัป หรือเรียกว่า ๑ อสงไขยกัป โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า วิวัฏฏอสงไขยกัป
๔ จากนั้นโลกจึงมนุษย์และสัตว์อาศัยอยู่ได้ เป็นเวลาอีก ๖๔ อันตรกัป หรือเรียกว่า ๑ อสงไขยกัป โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป

มหากัป
คือเวลา 1 รอบวัฏจักรการแตกดับของโลก หรือเท่ากับ ๒๕๖ อันตรกัป
๑ มหากัป อุปมาว่ามีพื้นที่ขนาดกว้าง ๑ โยชน์ ยาว ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ บรรจุเมล็ดพันธุ์ผักกาดไว้เต็ม ทุก ๑๐๐ ปีก็มาหยิบเมล็ดผักกาดออกเมล็ดหนึ่ง แม้จะหยิบเมล็ดผักกาดออกหมดแล้วก็ยังไม่นานเท่า ๑ มหากัป
คำว่ามหากัป มักเรียกสั้นๆ ว่า กัป

อสงไขย
คงเคยได้ยินคำว่า ๔ อสงไขยกำไรแสนกัป คำว่าอสงไขยในที่นี้หมายถึงระยะยาวนานมาก นับเป็นจำนวนกัปแล้วยังนับไม่ได้ คือจำนวนกัปมากกว่า ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ตัวเสียอีก
๔ อสงไขยกำไรแสนกัป ก็คือระยะเวลาที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีในช่วงปรมัตถ์ ก่อนจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน

พุทธันดร
คือระยะเวลาตั้งแต่พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งตรัสรู้ จนกระทั่งถึงพระพุทธเจ้าองค์ต่อปมาตรัสรู้ เรียกว่า ๑ พุทธันดร
พุทธันดรของพระพุทธเจ้าแต่ละองค์ยาวไม่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันเราอยู่ในอันตรกัปที่ ๑๒ และพระศรีอาริยเมตไตรยจะมาตรัสรู้ในอันตรกัปที่ ๑๓ จากนั้นไม่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้เลยนานถึงอสงไขยหนึ่ง
ดังนั้น ๑ พุทธันดรของพระสมณโคดมพุทธเจ้าจึงยาวนานแค่ ๑ อันตรกัป ส่วน ๑ พุทธันดรของพระศรีอาริยเมตไตรยยาวนานถึงอสงไขยหนึ่ง

232


พระแก้วแดงเป็นรูปลักษณ์แทน บารมีรวมพระศรีฯ ทั้งหมดทั้งมวล และเป็นจุดศูนย์กลางเชื่อมโยงบารมีรวมของโพธิญาณทุกท่าน ที่ปรารถนาสร้างบารมีและฝากกระแสไว้กับพระศรีฯ ฉะนั้น เวลาเราท่านน้อมบารมีองค์พระแก้วแดงเข้าตัวเรา ก็จะได้รับบารมีรวมพระศรีฯ บารมีรวมเหล่าโพธิญาณทุกๆองค์ กำลังจึงมีมาก แต่ไม่ใช่ว่า ท่านที่จับภาพหลวงปู่ดู่ หรือหลวงปู่ทวด ก็ใช่ว่ากำลังท่านจะน้อยนะ....กำลังท่านมีเยอะ มีมากมาย มหาศาล ....

พระ พุทธเจ้า มี 3 แบบ

ปัญญาธิกะ บำเพ็ญบารมี 4 อสงไขย์ กับอีกแสนมหากัปป์

ศรัทธา ธิกะ บำเพ็ญบารมี 6 อสงไขย์ กับอีกแสนมหากัปป์

วิริยะธิกะ บำเพ็ญบารมี 12 อสงไขย์ กับอีกแสนมหากัปป์

พระศรีฯ ท่านบำเพ็ญบารมีแบบวิริยะธิกะก็จริง หากแต่ว่าท่านบำเพ็ญบารมีเกินนั้นมากโข ...ท่านบำเพ็ญบารมี 16 อสงไขย เยอะจริงๆ

พระศรีฯ ท่านสร้างท่านทำบารมีพิเศษ กำลังท่านจึงเยอะช่วยเหลือผู้ที่มีกระแสเกี่ยวข้องเนื่องอยู่กับท่านได้เยอะ
เราที่เป็นลูกศิษย์(ในชาตินี้) จึงพลอยได้รับอานิสงส์ ได้มารับรู้เรื่องราวของท่าน ได้เรียนรู้สรรพวิชาของท่าน
(วิชาภูตพระ พุทธเจ้า ,การแผ่บุญ ปรับภพภูมิ ,การครอบวิมาน อื่นๆ อีกมากมาย ที่เปิดเผยได้ และที่ไม่สามารถเปิดเผย เพราะเป็นปัจจัตตังเป็นความรู้พิเศษเฉพาะตัว ฯลฯ)

ไม่ใช่เหตุ บังเอิญนะ ที่ เหล่าเราท่านได้มารับรู้เรื่องราวของพระศรี เรื่องราวของหลวงปู่ ไม่ใช่เหตุบังเอิญเลย

....นั้นเป็นเพราะ เราท่านต่างเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันมากับหลวงปู่ ไม่ภพใดก็ภพหนึ่ง ในอดีตกาล ที่ผ่านมา
นั้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ ชาตินี้ ภพนี้ เราท่านได้มาพบได้มาเรียนรู้วิชา ศึกษาข้อธรรมแนวทางการปฏิบัติ
ได้มา ฝากกระแสต่อเนื่อง กับหลวงปู่...นั้นเพราะคำๆเดียว คือ   "กระแสเดิม"

233


พระฉัพพรรณรังสีที่แผ่จากพระวรกายพระพุทธเจ้า

ฉัพพรรณรังสี คือแสงสว่างที่พวยพุ่งออกจากจุดกลางเป็นรัศมี ๖ ประการ ซึ่งเปล่งออกจากพระสรีรกายของพระพุทธเจ้า คือ

1. นีละ(สีเขียวเข้ม) พระรัศมีนี้ ซ่านออกจากพระเกษา พระมัสสุ และจากพระเนตรทั้งสอง
2. ปิตะ(สีเหลือง) ฑระรัศมีนี้ซ่านออกจากพระฉวีวรรณ และพระเนตรทั้งสอง
3. โลหิตะ(สีแดง) พระรัศมีนี้ซ่านออกจากพระมังสะ พระโลหิต และจากพระเนตรทั้งสอง
4. โอทากะ(สีขาว) พระรัศมีนี้ซ่านออกจากพระอัฐิ พระทนต์ และจากพระเนตรทั้งสอง
5. มัญชิฏฐะ(หงสบาท)
6. ปภัสสระ(เลื่อมพรายปภัสสร) พระรัศมีทั้ง 5 และ6 ซ่านออกจากพระสรีระ


สีทั้ง ๖ นี้ไม่ได้พุ่งออกเป็นสีๆ ดังที่แยกไว้นี้ แต่แผ่ออกมาพร้อมกันในหนังสือปฐมสมโพธิกถา ฉบับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส กล่าวถึงพระฉัพพรรณรังสีที่แผ่ซ่านออกจากพระกายพระพุทธเจ้า ไว้ดังนี้

"ในลำดับนั้น พระฉัพพรรณรังสีก็โอภาสแผ่ออกจากพระสริรกาย อันว่านิลประภาก็เขียวสดเสมอด้วยสีแห่งดอกอัญชันมิฉะนั้นดุจพื้นแห่งเมฆแลดอกนิลุบลแลปีกแห่งแมลงภู่ ผุดออกจากอังคาพยพในที่อันเขียวแล่นไปจับเอาราวป่า และพระรัศมีที่เหลืองนั้นมีครุวนา ดุจสีเขียวแล่นไปจับเอาราวป่า แลพระรัศมีที่เหลืองนั้นมีครุวนา ดุจสีหรดารทองแลดอกกรรณิการ์แลกาญจนปัฏอันแผ่ไว้ พระรัศมีออกจากพระสริรประเทศในที่อันเหลืองแล้ว แล่นไปสู่ทิศานุทิศต่างๆ พระรัศมีที่แดงอย่างพาลทิพากรแลแก้วประพาฬ แลกุมุทปทุมกุสุมชาติ โอภาสออกจากพระสริรอินทรีย์ในที่อันแดงแล้วแล่นฉวัดเฉวียนไปในประเทศที่ทั้งปวง พระรัศมีมีที่ขาวก็ขาวดุจดวงรัชนิกร แลแก้วมณี แลสีสังข์ แลแผ่นเงิน แลดวงดาวพกาพฤกษ์ พุ่งออกจากพระสริรประเทศในที่อันขาวแล้วแล่นไปในทิศโดยรอบ พระรัศมีหงสสิบาทก็พิลาสเล่ห์ดุจสีดอกเซ่ง แลดอกชบา แลดอกหงอนไก่ออกจากรัชกายรุ่งเรืองจำรัส พระรัศมีประภัสสรประภาครุนาดุจสีแก้วพลึกแลแก้วไพฑูริย์เลื่อมประพระฉัพพรรณรังสีทั้ง ๖ ประการแผ่ไพศาลแวดล้อมไปโดยรอบพระสกลกายยินทรีย์ กำหนดที่ ๑๒ ศอก โดยประมาณ อันว่าศศิสุริยประภาแลดาราก็วิกลวิการอันแสง เศร้าสีดุจหิ่งห้อยเหือดสิ้นสูญ มิได้จำรูญไพโรจโชติชัชวาล"

รัศมีเฉกเช่นฉัพพรรณรังสีนี้มีเฉพาะพระพุทธเจ้าและเทวดาเท่านั้น นอกจากนี้ก็เกิดแต่ธรรมชาติเช่นสีรุ้งที่เรียกกันเป็นสามัญว่ารุ้งกินน้ำ หรือ พระจันทร์ พระอาทิตย์ทรงกลด ที่ออกจากเทวดานั้นจะเห็นได้ดังที่พรรณนาไว้ในพระสูตรต่างๆ ในเวลาที่เทวดามาเฝ้าพระพุทธเจ้าดังนี้

มีเทวดาตนหนึ่งมีรัศมีสว่างจ้าเข้ามายังพระเชตวัน ทำพระเชตวันให้สว่างไสวไปทั่วบริเวณ เข้าเผ้าพระทุทธเจ้าที่ประทับความสว่างของรัศมีนั้น ไม่เหมือนแสงเดือนแสงตะวัน หรือไม่เหมือนแสงไฟ เป็นแสงสว่างที่เสมอกันทั้งหมด และเป็นแสงสว่างที่ไม่มีเงาเหมือนแสงอื่นเป็นแสงที่แผ่ไปติดอยู่ทั่วบริเวณ

มีข้อความในปฐมสมโพธกถา ปริเฉทที่ ๑๓ ธรรมจักรปริวรรตว่าดังนี้

"ฝ่ายอุปกาชีวเดินมาโดยทุราคมวิถีทางไกล ระหว่างคยาประเทศเขตเมืองราชคฤห์กับมหาโพธิญาณ ติดต่อกัน แลเห็นไพสณฑ์สถานอันโอฬารไพโรจน์พรรณราย ด้วยข่ายฉัพพรรณรังสีโสณิวิลาส ปรากฏโดยทิวาทัศนาการทั้งพสุธารแลอากาศโอภาสด้วยพระรัศมีมีพรรณแห่งละ ๖ อย่าง ทั่วทั้งทิศล่างและทิศบน มาสัมผัสกายตนประหลาดมหัศจรรย์ไม่เคยได้พบเห็นเป็นเช่นนี้มาแต่ก่อน ถ้าจะเป็นเพลิง ไฉนกายอาตมาจึงไม่ร้อนกระวนกระวายแม้จะเป็นน้ำ ไฉนกายอาตมาจะไม่ชุ่มชื้นเย็นนี่จะเป็นสิ่งอันใดยิ่งสงสัยสนเท่ห์จิต จึงเพ่งพิศไปข้างโน้นข้างนี้ ก็เห็นองค์พระผู้ทรงสวัสดิ์ภาคย์เสด็จบทจรมา รุ่งเรืองด้วยพระสิดิฉันธมหาหว่างติสสุระ ลักษณะแลพระพยามประภาโอภาสเบื้องบน พระสุริยก็ช่วงโชติด้วยพระเกตุมาลา ครุนาดุจทองทั้งแท่งประดับด้วยฉัพพรรณรังสี รังสีแสงไพโรจน์จำรัส"

หมวดที่ ๒ - พระพุทธเจ้า และพระนาม

๏ พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ อุบัติในภัททกัปนี้


คำว่า "กัป" หมายถึง ระยะเวลาที่ยาวนานเหลือเกินที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักวาฬ ประลัยครั้งหนึ่ง คือกำหนดอายุของโลก ท่านให้เข้าใจด้วยอุปามาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ ๑ โยชน์ (๔๐๐ เส้น หรือประมาณ ๑๖ กิโลเมตร) ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวกว่านั้น

"กัป" ปัจจุบันนี้เรียกว่า "ภัททกัป" หรือ "ภัทรกัป" แปลว่า กัปเจริญ เพราะในภัททกัปจะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นถึง ๕ พระองค์ คือ

๑. พระกกุสันธะ
๒. พระโกนาคมนะ
๓. พระกัสสปะ
๔. พระโคดม (คือพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน)
๕. พระศรีอริยเมตไตรย

ในภัททกัปนี้จักมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในอนาคตอีกหนึ่ง พระองค์คือ "พระศรีอริยเมตไตรย"
บทนมัสการว่า "นโม พุทธาย" แปลตามศัพท์ว่า "นอบน้อมแต่พระพุทธเจ้า"เป็นคำ กลางๆ แต่ก็นับถือกันว่าเป็นบทไหว้พระพุทธเจ้า ๕ ประองค์ น่าจะเพราะนับได้ ๕ อักษร และพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์นั้น ก็หมายถึง พระพุทธเจ้าซึ่งได้อุบัติแล้วและจักอุบัติในภัททกัปนี้

234

"......ภควา สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเทศนาแก่พระสารีบุตรสืบต่อไปว่า ในกาลเมื่อพระพุทธศาสนา แห่งองค์สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยเสื่อมสูญสิ้นแล้ว อันว่าประทีปแก้ว คือพระสัทธรรมนั้น ก็สูญสิ้น ฝูงสัตว์ทั้งหลายก็มืดมัวไม่รู้จักบาปและบุญ คุณและโทษ ประโยชน์และไม่ประโยชน์ ประการใด จนถึงไฟประลัยโลกล้างวินาศฉิบหายสิ้นทั้งแสนโกฏิจักรวาล เพลิงประลัยกัลป์เกิดขึ้นไหม้แผ่นดินภัทรกัปอันนี้ฉิบหายหมดแล้ว สิ้นกาลช้านาน จึงบังเกิดแผ่นดินใหม่ขึ้นมา มีมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายบังเกิดมีมาสำหรับแผ่นดิน ก็มีมาเสียเปล่า กัปป์แผ่นดินที่มีมาในเบื้องหน้านั้นเป็นสุญญกัปนับได้อสงไขยแผ่นดิน จะได้มีสมเด็จพระพุทธเจ้า ปัจเจกพุทธเจ้า และพระยาจักรผู้ประเสริฐบังเกิดมีมานั้นหามิได้ จึงมีนามว่าสุญญกัปป์ เกิดมีแต่มนุษย์ทั้งหลายหาบุณหาวาสนาบารมีมิได้ฯ เมื่อแผ่นดินเกิดขึ้นมา สูญเสียจากท่านผู้ทรงพระคุณแล้ว ฉิบหายไปด้วยไฟ ด้วยน้ำ ด้วยลม แล้วเกิดขึ้นใหม่อีกเล่าจนถ้วนอสงไขย แผ่นดินล่วงลับไปนับด้วยอสงไขยแผ่นดินแล้วฯ
ในกาลนั้น บังเกิดแผ่นดินขึ้นมาใหม่เรียกชื่อว่ามัณฑกัปป์ พระพุทธเจ้าจักได้บังเกิด ๒ พระองค์ คือ
- พระรามโพธิสัตว์ ๑
- พระเจ้าปเสนทิโกศล ๑...."
                                                                    ที่มา ,อนาคตวงศ์

235

 
พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะมีพระแก้วประจำองค์
และมีได้ตั้งแต่ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่และจะปรากฎชัดขึ้น
ตามความเข้มข้นของบารมีที่สร้าง
ยุคพระศรีก็จะมีพระแก้วแดงทำจากทับทิมแดง
(คล้ายพระพุทธรูปในภาพเหตุที่ใช้ว่า "คล้าย" เพราะองค์จริงงดงามกว่ามาก)

 
ส่วนพระแก้วขององค์ปฐมนั้นจะเป็นองค์สีขาว

ยกตัวอย่างพระแก้วคู่บารมีพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ในภัทรกัปนี้

1. พระกกุสันธพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์
เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า เมื่อสมัย เป็นพระโพธิสัตว์
หลังจากนั้น 8 อสงไขยแสนกัป
ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 37,024 พระองค์

เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย 40,000 พรรษา
พระสรีระสูง 40 ศอก หรือ 20 เมตร
บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 10 เดือน
พุทธรังสีสร้านไปไกล 10 โยชน์ (160 กิโลเมตร)
พระแก้วประจำองค์ พระแก้วขาว หน้าตักกว้าง 20 วา


2. พระโกนาคมพุทธเจ้า
หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า
เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 8 อสงไขยแสนกัป
ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 37,024 พระองค์

เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย 30,000 พรรษา
พระสรีระสูง 30 ศอก หรือ 15 เมตร
บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 1 เดือน
พุทธรังสีสร้านไปไกล ตามแต่พระประสงค์
พระแก้วประจำองค์ พระแก้วเหลือง หน้าตักกว้าง 15 วา

3. พระกัสสปพุทธเจ้า
หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า
เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 8 อสงไขยแสนกัป
ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 37,024 พระองค์
เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย 20,000 พรรษา
พระสรีระสูง 20 ศอก หรือ 10 เมตร
บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 7 วัน
พุทธรังสีสร้านไปไกล ตามแต่พระประสงค์
พระแก้วประจำองค์ พระแก้วน้ำเงิน หน้าตักกว้าง 10 วา

4. พระศากยมุนีโคดมพุทธเจ้า
หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า
เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 4 องไขยแสนกัป
ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีก 24 พระองค์ ซึ่งน้อยมาก
เป็นปัญญาพุทธเจ้า อายุไขย 80 พรรษา
พระสรีระสูง 4 ศอก หรือ 2 เมตร
บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 6 ปี
พุทธรังสีสร้านไปข้างละ 1 วา เป็นปกติ
พระแก้วประจำองค์ พระแก้วเขียว(เขียวมรกต) หน้าตักกว้าง 5 วา

5. พระอริยเมตตรัยพุทธเจ้า
หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า
เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 16 อสงไขยแสนกัป
ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 477,029 พระองค์
เป็นวิริยะพุทธเจ้า อายุไขย 80,000 พรรษา
พระสรีระสูง 80 ศอก หรือ 40 เมตร
บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 7 วัน
พุทธรังสีสร้านไปไกล ยังกำหนดไม่ได้
พระแก้วประจำองค์ พระแก้วแดง และทรงเครื่องบรมหาจักรพรรดิ
หน้าตักกว้าง 20 วา

พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะมีพระแก้วประจำองค์
และมีได้ตั้งแต่ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่และจะปรากฎชัดขึ้น
ตามความเข้มข้นของบารมีที่สร้าง
ยุคพระศรีก็จะมีพระแก้วแดงทำจากทับทิมแดง
ปัจจุบันนี้ประดิษฐานเตรียมไว้แล้ว ณ ภูมิทิพย์
ซึ่งซ้อนอยู่กับ สถานที่แห่งหนึง
และพระแก้วแดงจะปรากฎออกมา เมื่อถึงยุคพระศรี
พระแก้วคู่บารมีของพระพุทธเจ้า องค์ปัจจุบันก็คือพระแก้วมรกต
ส่วนพระแก้วคู่บารมีของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
เป็นพุทธนิมิตอยู่ที่พระนิพพานคู่วิมานพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์



 
วันหนึ่งหลวงปู่ดู่ได้เล่าถึงการปฏิบัติครั้งคุมสมาธิศิษย์
ยกใจความมาตอนหนึงว่า

วันหนึ่งหลวงพ่อได้เล่าถึงการปฏิบัติ โดยท่านเป็นผู้บอกว่า “เมื่อไปถึงวิมานแก้วได้แล้ว เป็นวิมานแก้วของพระพุทธเจ้าก็เหมือนกุฏิของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ก็มีวิมานพระธรรม อยู่ไปทางขวามือของพระพุทธเจ้ามีตู้พระไตรปิฎกอยู่หลายตู้ เขียนเป็นภาษาบาลีอักษรขอม ถ้าอยากรู้แปลว่าอะไรให้ถามหลวงปู่ทวด ซ้ายมือเป็นวิมานของพระสงฆ์ มีพระสงฆ์อยู่พระพุทธเจ้าเป็นประธาน แกเดินจิตให้ดีจากวิมานแก้วจะไปถึงพระพุทธรูป 4 องค์ของกัปป์นี้ มีลักษณะหน้าตักกว้างไม่เท่ากันตามบารมี องค์แรกเป็นของพระกกุสันโธมีหน้าตักกว้าง 20 วา องค์ที่สองพระโกนาคม หน้าตัก 15 วา องค์ที่สาม ของพระกัสสปหน้าตัก 10 วา องค์ที่สี่ หน้าตัก 5 วา ถ้าเป็นพระศรีอริย์องค์ที่ห้า ยังไม่ปรากฎถ้าอธิษฐาน ขอดูจะพบว่ามีหน้าตักเท่ากับองค์แรก เพราะท่านสร้างบารมีมาถึง 16 อสงไขยกับแสนมหากัปป์"

236



พระศรีอาริยเมตไตรย์
ตามคำบอกเล่าของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย เป็นผู้บำเพ็ญพระบารมีอย่างยาวนาน
จนปรากฏเป็นยอดปรมัตถบารมีอันประเสริฐ
เกิดสำเร็จผล ทรงพระอภินิหาร ประกอบด้วยพระเดชามหานุภาพ
เป็นพุทธสมบัติที่จะมาอุบัติตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธ

พระอนาคตวงศ์นี้มาอุบัติตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสิบพระองค์ในโลก
ณ อนาคตกาลภายหน้า นั้น มี 10 พระองค์ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสอธิบายถึง


- พระศรีอาริยเมตไตรย์ พระองค์หนึ่ง
- พระราม พระองค์หนึ่ง
- พระธรรมราช พระองค์หนึ่ง
- พระธรรมสามี พระองค์หนึ่ง
- พระนารท พระองค์หนึ่ง
- พระรังสีมุนีนาถ พระองค์หนึ่ง
- พระเทวเทพ พระองค์หนึ่ง
- พระนรสีหะ พระองค์หนึ่ง
- พระติสสะ พระองค์หนึ่ง
- พระสุมงคล พระองค์หนึ่ง


ซึ่งต่อจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราไป
โดยลำดับกัปป์ นับตั้งแต่ภัทรกัปป์นี้เป็นต้นไป
พระพุทธเจ้าสิบพระองค์นี้ ทรงสร้างพระบารมีสิบทัศครบบริบูรณ์แล้ว
จึงทรงพระคุณ มีอภินิหารต่างๆ ยิ่งหย่อนกว่ากัน
ด้วยสามารถพระบารมีนั้นๆของพระองค์
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ตรัสไว้แก่พระสารีบุตร
โดยพุทธภาษิตบรรยาย จัดเป็นพุทธประวัติกาลอนาคตเรื่องหนึ่งฯ

โดย บัดนี้จะขอกล่าวถึงพระพุทธเจ้าลำดับถัดไปจาก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันของเราๆท่านๆ ซึ่งพระนามว่า

พระศรีอาริยเมตไตร

ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์พุทธเจ้าเสด็จยับยั้งอาศัยใกล้กรุงสาวัตถีมหานคร วสนฺโต เมื่อสมเด็จพระชินวรผู้ทรงญาณสำราญพระอิริยาบถ เข้าพรรษาอยู่ในบุพพาราม อันพระวิสาขา สร้างถวายสิ้นทรัพย์ ๒๗ โกฏิฯ

ครั้งนั้น พระองค์ทรงปรารภซึ่งพระอชิตเถระ ผู้หน่อบรมพุทธางกูรอริยเมตไตรยเจ้าให้เป็นเหตุ พระโลกเชษฐ์จึงตรัสพระธรรมเทศนา สำแดงซึ่งพระโพธิสัตว์ทั้ง ๑๐ องค์ อันจะมาตรัสเป็น องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลฯ ครั้งนั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถรเจ้า จึงกราบทูลอาราธนา พระองค์ก็นำมาซึ่งอดีตนิทาน แห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ พระองค์ ที่จะลงมาตรัสในอนาคตกาลเบื้องหน้าต่อไป

เป็นใจความว่า เมื่อศาสนาพระตถาคตครบ ๕๐๐๐ ปีแล้ว ฝูงสัตว์ก็มีอายุถอยลง คงอยู่ ๑๐ ปีเป็นอายุขัย ครั้งนั้นแล จะบังเกิดมหาภัยเป็นอันมาก มีสัตถันตะระกัปป์ มนุษย์ทั้งหลายจะวุ่นวายเป็นโกลาหล เกิดรบพุ่งฆ่าฟันซึ่งกันและกัน จะจับไม้และใบหญ้าก็กลับกลายเป็นหอก ดาบ แหลน หลาว อาวุธน้อยใหญ่ ไล่ทิ่มแทงกัน ถึงซึ่งความฉิบหายเป็นอันมาก ฝูงมนุษย์ทั้งหลายที่มีปัญญา ก็หนีไปซุกซ่อนตัวอยู่ในซอกห้วย หุบเขา เมื่อพ้น ๗ วันล่วงไปแล้ว มนุษย์ทั้งหลายที่เร้นซ่อนอยู่นั้น เห็นสงบสงัดเสียงคนก็ออกมาจากที่ซ่อนเร้น ครั้นเห็นซึ่งกันและกัน ก็มีความสงสารรักใคร่เป็นอันมาก เข้าสวมสอดกอดรัดร้องไห้กันไปมา บังเกิดมีความเมตตากรุณากันมากขึ้นไป ครั้นตั้งอยู่ในเมตตาพรหมวิหาร แล้วก็อุตสาหะรักษาศีล ๕ จำเริญกรรมฐานภาวนาว่า อยํ อตฺตภาโว อันว่าร่างกายของอาตมานี้ อนิจฺจํ หาจริงมิได้ ทุกฺขํ เป็นกองแห่งทุกข์ฝ่ายเดียว อนตฺตา หาสัญญา สำคัญมั่นหมายมิได้ ด้วยกายอาตมาไม่มีแก่นสารฯ
…..เมื่อมนุษย์ทั้งหลาย ปลงสัญญาเห็นในกระแสพระกรรมฐานภาวนาดังนี้เนืองๆ อายุของมนุษย์ทั้งหลายก็วัฒนาจำเริญขึ้นไป ที่มีอายุ ๑๐ ปีเป็นอายุขัยนั้น ค่อยทวีขึ้นไปถึง ๒๐ ปีเป็นอายุขัย ค่อยทวีขึ้นไปทุกชั้นทุกชั้น จนอายุได้ ร้อย พัน หมื่น แสน โกฏิ จนถึงอสงไขยหนึ่ง ครั้นนานไปเห็นว่าไม่รู้จักความตายแล้ว ก็มีความประมาท มิได้ปลงใจลงในกอง ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา อายุก็ถอยน้อยลงมาทุกทีจนถึง ๘ หมื่นปี ฝนก็ตกเป็นฤดูคือ ๕ วันตก ๑๐ วันตก ในชมพูทวีปทั้งปวงมีพื้นแผ่นดินราบคาบสม่ำเสมอเป็นอันดีฯ

ครั้งนั้น กรุงพาราณสีเปลี่ยนนาม ชื่อว่า เกตุมมะดี โดยยาวได้ ๑๖ โยชน์ โดยกว้างได้ ๑ โยชน์ มีไม้กัลปพฤกษ์เกิดทั้ง ๔ ประตูเมือง มีแก้ว ๗ ประการ ประกอบเป็นกำแพงแก้ว ๗ ชั้นโดยรอบพระนคร ครั้งนั้น มหานฬกาลเทวบุตร ก็จุติลงมาเกิดเป็นสมเด็จบรมจักรพรรตราธิราช ทรงพระนามว่า พระยาสังขจักร เสวยศิริราชสมบัติในเกตุมมะดีมหานคร ในท่ามกลางเมืองนั้นมีปรางค์ปราสาททองอันแล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการ ผุดขึ้นมาแต่มหาคงคา ลอยมายังนภาดลอากาศเวหา มาตั้งอยู่ในท่ามกลางพระนคร ปรางค์ปราสาทนี้ แต่กาลก่อนเป็นปรางค์ปราสาทแห่งสมเด็จพระเจ้ามหาปะนาท ครั้นสิ้นบุญพระเจ้ามหาปะนาทแล้ว ปรางค์ปราสาทนั้นก็จมลงไปในคงคา เมื่อสมเด็จบรมจักรจอมทวีปผู้ทรงพระนามว่า พระยาสังขจักร ได้เสวยราชสมบัติในเกตุมมะดีนั้น ปรางค์ปราสาทก็ผุดขึ้นมาแต่มหาคงคาด้วยอานุภาพแห่งบรมจักร ประดับไปด้วยหมู่พระสนมแสนสาวสุรางค์ทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่น ๔ พัน พระองค์มีพระราชโอรสประมาณพันพระองค์ พระราชโอรสผู้ใหญ่นั้น ทรงพระนามว่า อชิตราชกุมาร เจ้าอชิตราชกุมารนั้น เป็นปรินายกแก้ว แห่งสมเด็จพระราชบิดาผู้เป็นพระยาบรมสังขจักร อันบริบูรณ์ไปด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ

จักรแก้ว ๑
นางแก้ว ๑
แก้วมณีโชติ ๑
ช้างแก้ว ๑
ม้าแก้ว ๑
คฤหบดีแก้ว ๑
ปรินายกแก้ว ๑

อันว่าสมบัติบรมจักรนั้นย่อมมีทุกสิ่งทุกประการ
เป็นที่เกษมสานต์ยิ่งนัก เหลือที่จะพรรณนาในกาลนั้นฯ

ฝ่ายว่า มหาปุโรหิตผู้ใหญ่ของสมเด็จพระเจ้าสังขจักรนั้น เป็นมหาพราหมณ์ประกอบไปด้วยอิสริยยศเป็นอันมาก หาผู้จะเปรียบเสมอมิได้ มีนามปรากฏว่า สุตพราหมณ์ นางพราหมณีผู้เป็นภรรยานั้นมีนามว่า นางพราหมณวดีฯ ในกาลนั้น สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า รับอาราธนานิมนต์แห่งฝูงเทพยดาทั้งหลาย ก็จุติลงมาจากสวรรค์เทวโลก ลงมาถือเอาปฏิสนธิในครรภ์แห่งนางพราหมณวดี ภรรยาแห่งมหาปุโรหิตพราหมณ์ผู้ใหญ่ ในวันบัณณสี อุโบสถ เพ็ญเดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลาปัจจุสสมัยใกล้รุ่ง พร้อมด้วยอัศจรรย์ทั้งหลาย ๑๒ ประการ เทพยดาพากันกระทำสักการบูชาดังห่าฝนตกลงในกลางอากาศ แล้วก็มีปรางค์ปราสาททั้ง ๓ ผุดขึ้นมา เพื่อจะให้เป็นที่สำราญ แห่งพระบรมโพธิสัตว์เจ้า


ปราสาท ๑ ชื่อว่า ศิริวัฒนะ
ปราสาท ๑ ชื่อว่า สิทธัตถะ
ปราสาท ๑ ชื่อว่า จันทกะ

ปรางค์ปราสาททั้ง ๓ นี้เป็นที่จำเริญพระศิริสวัสดิมงคล ควรจะให้สำเร็จประโยชน์ทุกประการ ปรากฏงามดังดวงพระจันทร์ แล้วหอมฟุ้งไปด้วยกลิ่นอันหอมมิรู้ขาด เดียรดาษไปด้วยนางนาฏพระสนมประมาณ ๗ แสน ส่วนสมเด็จพระอัครมเหสีแห่งสมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรย บรมโพธิสัตว์เจ้านั้น ทรงพระนามว่า พระจันทมุขี เป็นประธานแห่งนางบริวารทั้ง ๗ แสน มีพระราชโอรสองค์ ๑ ทรงพระนามว่า พราหมณ์วัฒนกุมาร เมื่อพระมหาบุรุษผู้ประเสริฐ ทรงพระสำราญแรมอยู่ในปรางค์ปราสาททั้ง ๓ ควรแก่ฤดูโดยนิยมดังนี้ฯ จนพระองค์มีพระชนม์ได้ ๘ หมื่นปี แล้วจึงเสด็จขึ้นสู่รถแก้วอันเป็นทิพย์วิมานมีศิริหาเสมอมิได้ เสด็จไปประพาสอุทยานทอดพระเนตรเห็นจตุรนิมิตทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นเทวทูตยังธรรมสังเวชให้เกิดขึ้น ก็มีพระทัยน้อมไปในบรรพชา พิจารณาเห็นเพศสมณะนั้นเป็นอารมณ์ ในขณะนั้นอันว่าปรางค์ปราสาทแก้วซึ่งทรงพระสำราญยับยั้งอยู่นั้น ก็ลอยไปในอากาศเวหา พร้อมทั้งพระราชโอรส และหมู่นิกรอนงค์นางกัลยาทั้งหลายก็ไปกับปรางค์ปราสาทนั้น

ครั้งนั้นเปรียบประดุจดังว่า พระยาสุวรรณราชหงส์ทองอันบินไปในอากาศเวหา ฝ่ายฝูงเทพยดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาล ก็ชวนกันถือเครื่องสักการบูชา เหาะตามกันมากระทำสักการบูชาในอากาศเวหา แน่นเนื่องกันมาเป็นอเนกอสงไขย ทั้งท้าวพระยามหากษัตริย์ทั้งหลาย ๘ หมื่น ๔ พัน พระนครก็ดี และชาวนิคมประจันตประเทศชนบททั้งหลายก็ดี ก็ชวนกันมากระทำสักการบูชาด้วยดอกไม้และของหอม มีประการต่างๆเต็มเดียรดาษกลาดเกลื่อนไปทั้งชมพูทวีป เหล่าพวกอสูรทั้งหลาย ก็เข้าแวดล้อมพิทักษ์รักษาปรางค์ปราสาทฯ ฝ่ายพระยานาคราชนั้น กระทำสักการบูชาด้วยแก้วมณี พระยาสุวรรณราชปักษีกระทำสักการบูชาด้วยแก้ว อันเป็นเครื่องประดับตน พระยาคนธรรพ์ทั้งหลายนั้น กระทำสักการบูชาด้วยเครื่องทิพย์ดุริยางค์ ฟ้อนรำ มีประการต่างๆฯ

ปางเมื่อองค์สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยเจ้าเสด็จออกบรรพชานั้น ฝูงเทพยดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ และ มนุษย์ นาค ครุฑ คนธรรพ์ทั้งหลาย กระทำสักการบูชา ทั้งพระยาบรมจักรพรรตราธิราชเจ้าผู้ประเสริฐ ก็พร้อมด้วยแสนสาวสนมในทั้งปวง และโยธาหาญ หมู่จตุรงค์องค์พยุหะเสนาอเนกนับมิได้ เสด็จไปที่ใกล้แห่งสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์

ครั้งนั้นมหาชนทั้งหลายทั้งปวง มีความปรารถนาจะทรงบรรพชาแล้วก็ลอยไปในอากาศ กับด้วยพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ด้วยเดชานุภาพแห่งบรมจักร และอานุภาพแห่งพระศรีอาริยเมตไตรยบรมโพธิสัตว์นั้น ครั้นเสด็จถึงควงไม้พระศรีรัตนมหาโพธิ์ คือไม้กากะทิงแล้ว ปรางค์ปราสาทแก้วก็เลื่อนลอยลงจากอากาศใกล้ในที่ปริมณฑลไม้มหาโพธินั้น ฝ่ายท้าวมหาพรหมก็เชิญซึ่งพานผ้ากาสาวพัสตร์ กับเครื่องบริขารทั้ง ๘ น้อมเข้าไปถวายสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ แล้วพระองค์จึงชักเอาพระแสงดาบแก้วตัดพระเกศเกล้าให้ขาด แล้วก็โยนขึ้นไปในอากาศเวหา ถือเครื่องบริขารทั้ง ๘ ประการ ทรงเพศบรรพชาเสร็จแล้ว ส่วนว่าบริวารทั้งหลายทั้งปวงนั้น ก็ชวนกันบรรพชา บวชตามสมเด็จพระโพธิสัตว์เจ้าเป็นอันมาก ฝ่ายพระมหาบุรุษราช องค์พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้านั้น กระทำความเพียรอยู่ที่ใกล้พระศรีมหาโพธิสิ้นประมาณ ๗ วัน ในเมื่อเวลาเย็นพระองค์ก็เสด็จเข้าไปสู่ควงไม้พระมหาโพธิ ขึ้นทรงนั่งเหนือรัตนอปราชิตบัลลังค์พระที่นั่งแก้ว แล้วทรงพระคำนึงระลึกถึงบุพพชาติของพระองค์ด้วย บุพเพนิวาสานุสติญาณ ทรงเห็นโดยลำดับกัน ประจักษ์แจ้งในปฐมยามฯ ครั้นล่วงเข้ามัชฌิมยามทรงเห็นซึ่ง จุติ-ปฏิสนธิ แห่งสัตว์ทั้งหลาย ด้วยทิพย์จักษุญาณฯ ครั้นล่วงไปในปัจฉิมยามที่สุดนั้น พระองค์พิจารณาซึ่งปัจจัยการ อันประกอบไปด้วยองค์ ๒ ประการ ตามกระแสพระปฏิจจสมุปบาทธรรม ด้วยสามารถอนุโลม ตรัสรู้ตลอดกัน ในลำดับนั้นก็ได้สำเร็จแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ ทรงพระนามว่า อรหังสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอาทิ ปรากฏเป็นพระพุทธคุณทั่วโลกธาตุ แล้วพระองค์ก็ยังมนุษย์ทั้งหลายประมาณแสนโกฏิ ให้ดื่มกินซึ่งน้ำอมฤตรสคือพระสัทธรรม เห็นพระนิพพานอันมิได้รู้แก่ รู้ตาย เป็นธรรมาภิสมัย ให้บังเกิดแก่ฝูงเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ได้ตรัสรู้มรรคและผลหาประมาณมิได้ฯ - และองค์พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้าผู้ทรงพระภาคมีประเภทเป็นอันงามนั้น

- พระองค์มีพระวรกายสูงได้ ๘๘ ศอก
- พระองค์ใหญ่กว้างได้ ๒๕ ศอก
- ตั้งแต่พระบาทถึงพระชานุมณฑลมีประมาณ ๒๒ ศอก
- ตั้งแต่พระชานุมณฑลขึ้นไปถึงพระนาภีประมาณ ๒๒ ศอก
- ตั้งแต่พระนาภีขึ้นไปถึงพระรากขวัญทั้ง ๒ ประมาณ ๒๒ ศอก
- ตั้งแต่พระรากขวัญขึ้นไปถึงพระเศียรเกล้า ที่สุดยอดพระอุณหิส เปลวพระพุทธรัศมีนั้น ประมาณ ๒๒ ศอก เสมอกันทั้ง ๔ส่วน
- พระรากขวัญทั้ง ๒ แต่ละอันนั้นยาวได้ ๕ ศอก
- อันว่าพระหัตถ์ทั้ง ๒ ซ้าย-ขวานั้น ยาวได้ ๔๐ ศอก ( เข้าใจว่าความยาวจากหัวไหล่ถึงปลายนิ้วมือแต่ละข้าง ยาวได้ ๔๐ ศอก…..พีรจักร )
- ในระหว่างภายในแห่งพระพาหาทั้ง ๒ ซ้าย-ขวา นั้นมีประมาณ ๒๕ ศอก
- พระอังคุลีแต่ละอันยาวได้ ๕ ศอก
- ฝ่าพระหัตถ์แต่ละข้างกว้างได้ ๕ ศอก
- พระศอโดยกลมรอบมีประมาณ ๕ ศอก โดยยาวก็ ๕ ศอก
- พระโอษฐ์เบื้องบนเบื้องล่างกว้าง ๑๐ ศอกเสมอกัน เป็นอันดี
- พระชิวหาอยู่ภายในพระโอษฐ์ยาว ๑๐ ศอก
- พระนาสิกสูงยาวลงมาได้ ๗ ศอก
- ดวงพระเนตรทั้ง ๒ โดยกว้างได้ ๗ ศอก
- แววพระเนตรทั้ง ๒ ที่ดำ กลม เป็นปริมณฑลอยู่นั้น มีประมาณ ๕ ศอก - พระขนงแต่ละข้าง ยาวได้ ๕ ศอก
- ในระหว่างพระขนงทั้ง ๒ กว้างได้ ๔ ศอก
- พระกรรณทั้ง ๒ แต่ละข้าง ยาวได้ ๗ ศอก
- ดวงพระพักตร์นั้นเป็นปริมณฑล กลมดังดวงพระจันทร์เมื่อวันเพ็ญ มีประมาณกลมได้ ๒๕ ศอก
- พระอุณหิสที่เวียนเป็นทักขิณาวัฏรอบพระเศียร เป็นเปลวพระพุทธรัศมีขึ้นไปนั้น โดยกลมรอบได้ ๒๕ ศอกฯ

…..ลำดับนี้ จะพรรณนาไม้พระศรีรัตนมหาโพธิต่อไป อันว่า ต้นไม้กากะทิง ที่เป็นไม้ศรีมหาโพธินั้น

- มีปริมณฑลไปได้ ๑๒๐ ศอก
- มีกิ่งทั้ง ๕ โดยรอบครอบนั้นก็ได้ ๑๒๐ ศอก
- แต่ต้นขึ้นไปปลายสุดกิ่งนั้นได้ ๒๔๐ ศอก โดยสูง โดยสะกัดเป็นปริมณฑลเหมือนกัน
- มีใบสดเขียวอยู่เป็นนิจจกาล
- ทรงดอกและเกสรหอมฟุ้งขจรมิรู้ขาด เปรียบประดุจดอกปาริชาติ ในดาวดึงสาสวรรค์ก็เหมือนกันฯ

สมเด็จพระสัพพัญญูองค์พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ทรงทวัตติงสามหาปุริสลักษณะประกอบไปด้วยพระฉัพพรรณรังสี พระพุทธรัศมี ๖ ประการ สว่างออกจากพระสรีรกายเป็นอันงาม ประดุจดังท่อธารสุวรรณ ธาราน้ำทองอันไหลหลั่งออกมา เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ไปด้วยสุขทุกเมื่อ มีสติระลึกถึงพระพุทธคุณเป็นอารมณ์เนืองๆ ด้วยเดชานุภาพพระพุทธคุณนั้น มนุษย์ทั้งหลายได้บริโภคซึ่งโภชนาหารแต่เนื้อแห่งข้าวสาลี อันบังเกิดมีมาเอง ได้ประดับประดาสรีรกายและผ้านุ่งผ้าห่ม เครื่องอาภรณ์ต่างๆ แต่ต้นไม้กัลปพฤกษ์ ประพฤติเลี้ยงชีวิตเป็นบรมสุขฯ ปางเมื่อพระองค์ผู้ทรงสวัสดิภาคเป็นอันงาม ทรงพระนามว่า พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ตรัสแสดงพระสัทธรรมเทศนา
พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนั้น มนุษย์และเทพยดาทั้งหลายได้ซึ่งธรรมาภิสมัย มรรคและผลธรรมวิเศษ ประมาณ ๓ แสนโกฏิฯ

อันว่าองค์พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ทรงสร้างพระบารมีมาสิ้นกาลช้านานถึง ๑๖ อสงไขยกำไรแสนมหากัปป์ มีศีลบารมี ทานบารมี เป็นต้น เต็มบริบูรณ์ กองพระบารมีทั้งหลายที่สำเร็จเป็นองค์พระสรรเพ็ชญ์พุทธเจ้า นั้นคือ พระบารมีจองพระองค์ครั้ง ๑ ปรากฏชัดเจนเป็นปรมัตถบารมี อันยิ่งยอดกว่าพระบารมีทั้งปวงฯ

สมเด็จพระพุทธเจ้าของเราจึงนำมาซึ่งอดีตนิทาน แห่งกองพระบารมีของสมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยมาตรัสพระสัทธรรมเทศนาแก่พระสารีบุตรเถรเจ้าว่า อตีเต กาเล ในกาลล่วงลับมาแล้วช้านาน มีองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระสิริมิตร ได้ตรัสในโลก


หนึ่งในอดีตชาติของพระศรีอาริยะเมตไตรยที่ได้ทรงบำเพ็ญบารมีไว้

ครั้งนั้น องค์พระศรีอาริยเมตไตรย ได้เสวยศิริราชสมบัติ ในเมืองอินทปัตต์มหานคร ทรงพระนามว่าบรมสังขจักร มีแก้ว ๗ ประการ อยู่มาในกาลวันหนึ่ง พระเจ้าสังขจักรเสด็จทรงนั่งอยู่ภายใต้เศวตฉัตร มีพระทัยปรารถนาว่า ผู้ใดมาบอกข่าวว่า พระพุทธรัตนะพระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ บังเกิดมีแล้ว พระองค์จะสละศิริราชสมบัติบรมจักร พระราชทานให้แก่บุคคลผู้นั้นแล้ว พระองค์ก็จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังองค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ในกาลนั้น ยังมีกุลบุตรเข็ญใจผู้หนึ่ง ไปบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ในพระพุทธศาสนา ด้วยมารดาของสามเณรเป็นทาสทาสีอยู่ในตระกูลหนึ่ง สามเณรนั้นคิดแสวงหาทรัพย์จะไปให้แก่มารดา ให้พ้นจากทาสทาสี จึงเที่ยวไปโดยลำดับจนถึงกรุงอินทปัตต์มหานคร ฝูงมหาชนชาวพระนคร ไม่รู้จักว่าสามเณรเป็นอย่างไร ครั้นเห็นเข้าก็สงสัยว่าเป็นมหายักษ์ ก็พากันจับไม้ไล่ทุบตีสามเณรฯ สามเณรนั้นก็กลัว วิ่งหนีมหาชนเข้าไปจนถึงพระราชวัง ไปยืนอยู่ตรงพระพักตร์ของพระองค์ พระองค์จึงตรัสถามว่ามาณพนี้มีนามชื่อใด เจ้าสามเณรกราบทูลว่า อาตมภาพมีนามว่าสามเณร จึงตรัสถามว่าสามเณรนั้นด้วยเหตุดังฤา สามเณรจึงทูลว่าข้าพเจ้ามีนามว่าสามเณรนั้น ด้วยเหตุว่าข้าพเจ้ามิได้กระทำบาปในภายนอก แล้วตั้งอยู่ภายในแห่งกุศล เหตุดังนั้นจึงมีนามว่าสามเณร พระองค์ก็ทรงตรัสถามว่า นามกรของท่านนั้นบุคคลผู้ใดให้แก่ท่าน สามเณรจึงทูลว่า พระอาจารย์ของข้าพเจ้าให้แก่ข้าพเจ้า พระองค์จึงตรัสถามว่า อาจารย์ของท่านนั้นชื่อดังฤา สามเณรจึงทูลว่าอาจารย์ของอาตมามีนามว่าภิกษุ จึงทรงตรัสถามต่อไปว่าพระอาจารย์ของท่านนั้นมีนามว่าภิกษุนั้นด้วยเหตุดังฤา สามเณรจึงทูลว่าอาจารย์ของข้าพเจ้านั้น ชื่อรัตนะเป็นแก้วอันหาค่ามิได้

237


คำนำ

พระอนาคตวงศ์นี้ เป็นเรื่องกล่าวถึงประวัติย่อของพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย ผู้บำเพ็ญพระบารมีในชาติหนึ่ง
ซึ่งปรากฏเป็นยอดปรมัตถบารมีอันประเสริฐ เกิดสำเร็จผล ทรงพระอภินิหาร ประกอบด้วยพระเดชามหานุภาพ
เป็นพุทธสมบัติที่จะมาอุบัติตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสิบพระองค์ในโลก ณ อนาคตกาลภายหน้า นั้นคือ

- พระศรีอาริยเมตไตรย์ พระองค์หนึ่ง
- พระราม พระองค์หนึ่ง
- พระธรรมราช พระองค์หนึ่ง
- พระธรรมสามี พระองค์หนึ่ง
- พระนารท พระองค์หนึ่ง
- พระรังสีมุนีนาถ พระองค์หนึ่ง
- พระเทวเทพ พระองค์หนึ่ง
- พระนรสีหะ พระองค์หนึ่ง
- พระติสสะ พระองค์หนึ่ง
- พระสุมงคล พระองค์หนึ่ง

ซึ่งต่อจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราไป โดยลำดับกัปป์ นับตั้งแต่ภัทรกัปป์นี้เป็นต้นไป
พระพุทธเจ้าสิบพระองค์นี้ ทรงสร้างพระบารมีสิบทัศครบบริบูรณ์แล้ว จึงทรงพระคุณ มีอภินิหารต่างๆ
ยิ่งหย่อนกว่ากัน ด้วยสามารถพระบารมีนั้นๆของพระองค์ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ตรัสไว้แก่พระสารีบุตร
โดยพุทธภาษิตบรรยาย จัดเป็นพุทธประวัติกาลอนาคตเรื่องหนึ่งฯ


238


ขอต้อนรับท่านทั้งหลายไม่ว่าจะปราถนา พุทธภูมิ ปัจเจกภูมิ หรือสาวกภูมิ
สู่เว็บ พุทธภูมิ มาร่วมกันสร้างบารมี และ ร่วมศึกษา
เรื่องราวการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์
ขอเชิญท่านทั้งหลายแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล ต่างๆ
เพื่อเป็นบุญ เพื่อร่วมสร้างบารมีร่วมกันด้วยเทิอญ

โมทนาบุญกับทุกดวงจิต . . .  :)

หน้า: 1 ... 14 15 [16]