เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ศรีโคมคำ

หน้า: 1 [2] 3
16


อานิสงส์ของบุญ

โดย พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

(เทศนา ณ. วันอังคารที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๓)

นโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( ๓ จบ )

“ ปุญญานิ ปรโลกัสมิง ปติฏฐา โหนติ ปาณินันตีติ ”

ณ.โอกาสบัดนี้ อาตมภาพจะแสดงพระสัทธรรมเทศนา ในเรื่อง อานิสงส์ของบุญ เพื่อเป็นเครื่องโสรจสรงองคศรัทธาบารมี ที่บรรดาท่านนริศราทานบดีทั้งหลาย ได้พร้อมใจกันมาบำเพ็ญกุศลประจำปักษ์ในวันนี้

   การทำบุญของบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ความต้องการก็มีอยู่ว่า ต้องการความพ้นทุกข์ ความพ้นของบรรดาท่านพุทธบริษัทจริงๆ มี ๓ ชั้นด้วยกันคือ
(๑)   สวรรค์
(๒)   พรหมโลก
(๓)   นิพพาน
และเวลานี้ ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัทท่านใดมีความปรารถนานิพพานไว้เป็นเบื้องหน้า แม้จะตายจากความเป็นคน เป็นเทวดาก็ตาม เป็นพรหมก็ตาม มีหวังพระนิพพานเป็นอย่างยิ่ง

ทั้งนี้ก็เพราะว่าในศาสนานี้ยังมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่ง มีนามว่า “ พระศรีอาริยเมตไตรย ” จะตรัสไม่นานนัก สมมติว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก บนดาวดึงส์นี่เขามีเวลาอยู่ ๑,๐๐๐ ปีทิพย์ แต่ว่าท่านจะอยู่เพียง ๓๐๐ ปีทิพย์ ก็พบ พระศรีอาริย์ แล้ว เมื่อพบองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว ฟังเทศน์เพียงจบเดียว คนที่ยังไม่ได้เป็นพระอริยเจ้า ก็จะเป็นพระโสดาบัน ถ้าฟังเทศน์เพียงครั้งที่ ๒ เทวดา นางฟ้าพวกนั้นก็จะเป็นพระอรหันต์ ต่อไปเป็นอันว่า ขณะใดที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ขณะที่พระองค์ทรงเทศน์จบ เทวดากับนางฟ้าและพรหมเป็นพระอริยเจ้ามากว่าเป็นมนุษย์

ในการบำเพ็ญกุศลของบรรดาพุทธบริษัทวันนี้มีอะไรบ้างที่เป็นบุญเป็นกุศล ในอันดับแรก บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนตั้งใจจะมาบำเพ็ญกุศลในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัด คำว่า “ วัด ” ก็มีทั้งพระพุทธรูป มีทั้งพระธรรม มีทั้งพระสงฆ์ การนึกถึงวัดก็คือว่านึกถึง ๓ อย่างคือ
(๑)   นึกถึงพระพุทธเจ้าด้วย
(๒)   นึกถึงพระธรรมด้วย
(๓)   นึกถึงพระอริยสงฆ์ด้วย

การนึกถึงพระพุทธเจ้าจัดว่าเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน
การนึกถึงพระธรรมคำที่พระสวด หรือคำที่พระเทศน์เป็น ธัมมานุสสติกรรมฐาน
การนึกถึงพระสงฆ์เป็น สังฆานุสสติกรรมฐาน
กรรมฐานทั้ง ๓ อย่างนี้ ถ้าบรรดาพุทธบริษัทท่านใดต้องการมีความมั่นคงอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะเป็นพุทธานุสสติ นึกถึงพระพุทธเจ้าก็ดี เป็นธัมมานุสสติ นึกถึงพระธรรมก็ดี เป็นสังฆานุสสติ นึกถึงพระสงฆ์ก็ดี
โดยเฉพาะไว้ กำลังใจมีความมั่นคงตรงต่อพระพุทธเจ้า หรือพระธรรม หรือพระสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งโดยเฉพาะ อย่างนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายตายแล้วลงนรกไม่ได้ อย่างน้อยที่สุดก็ต้องไปสวรรค์
นอกจากนั้นบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านตั้งใจไว้ว่า มาถึงวัดเราจะรับศีล ๕ ก็ดี ขึ้นชื่อว่าศีล อานิสงส์ของศีล ก็มีอยู่ว่า
ที่พระพุทธเจ้าตรับไว้ตอนท้ายว่า

“ สีเลนะ สุคติง ยันติ ”
ศีลเป็นปัจจัยให้เกิดบนสวรรค์
“ สีเลนะ โภคสัมปทา ”
ศีลเป็นปัจจัยให้เราเกิดไปชาติหน้า มีทิพยสมบัติมาก
“ สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ”
ศีลเป็นปัจจัยให้เข้าพระนิพพานได้โดยง่าย

รวมความว่า กำลังใจขั้นที่ ๒ ของบรรดาท่านพุทธบริษัททำให้เกิดบนสวรรค์ก็ได้ เกิดบนพรหมโลกก็ได้ บนนิพพานก็ได้
ในขั้นที่ ๓ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ตั้งใจรับรสพุทธพจน์เทศนาเป็นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันนี้เป็นตัว “ ปัญญา ” เป็นปัจจัยทำให้เข้าถึงนิพพานโดยง่ายเช่นเดียวกัน



สำหรับวันนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน จะขอนำเอาพระสูตร ที่บุคคลคนหนึ่งซึ่งไม่มีความเคารพในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระอริยสงฆ์มาก่อน แต่ว่าพอใกล้จะตายจิตใจนึกถึงองค์สมเด็จพระชินวรคือพระพุทธเจ้าเพียงชั่วขณะเดียว เขาตายจากความเป็นคน เขาเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก ต่อมาขณะที่เป็นเทวดาฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าจบเดียวเป็นพระโสดาบัน เวลานี้ท่านยังอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก เรื่องนี้ความก็มีอยู่ว่า

เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จประทับยับยั้งสำราญอิริยาบถปรากฏอยู่ใน พระเชตวันมหาวิหาร เวลานั้นองค์สมเด็จพระพิชิตมารเสด็จมาโปรดบรรดาท่านพุทธบริษัทในที่ต่างๆ ก็มีพราหมณ์คณะหนึ่ง ซึ่งเขาเป็นพราหมณ์ ความจริงพราหมณ์ที่นับถือพระพุทธเจ้าก็มีมาก ขณะที่บรรลุพระอรหันต์ทั้งหลายที่เป็นพราหมณ์น่ะมีมาก แต่ว่าพราหมณ์ก๊กนี้ เขาเป็นครูของพราหมณ์ เขาเป็นคณาจารย์สอนความรู้ของพราหมณ์ ก็เลยไม่นับถือพระพุทธเจ้า เขาถือว่าเขาก็หนึ่งในศาสนาเช่นเดียวกัน ฉะนั้น พราหมณ์ตระกูลนี้ เมื่อเห็นองค์สมเด็จภควันต์บรมศาสดาก็ดี พระสงฆ์ก็ดี
เขาไม่เคยยกมือไหว้ เขาไม่เคยใส่บาตร เขาไม่เคยฟังเทศน์ เพราะศาสนาของเขาก็มี และพราหมณ์ผู้นี้มีนามว่า “ อทินนกปุพพกพราหมณ์ ” แปลเป็นใจความว่า พราหมณ์ผู้ไม่เคยให้อะไรใครมาในกาลก่อน คือคำว่า
“ ทาน ” น่ะ เขาไม่เคยให้ เขาก็สอนลูก สอนหลาน สอนบริวาร ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน แม้แต่ทานก็ไม่เคยให้
แต่ว่าท่านพราหมณ์ผู้นี้มีลูกชายอยู่คนเดียว เป็นมหาเศรษฐีด้วย ต่อมาลูกชายเกิดอาการป่วยขึ้นมา แกจะไปหาหมอมารักษาเกรงว่าจะเสียสตางค์มาก ค่าหมอก็จะเสีย ค่ายาก็จะเสีย ถ้าจะซื้อยามาจากตลาดในร้านค้าของหมอมารักษาก็เกรงว่าจะเสียสตางค์มาก เสียดายทรัพย์ จึงได้ถามหมอ หมอก็ได้บอกยากลางบ้านสำหรับคนเป็นโรคผอมเหลืองให้มารักษาเอง แกก็เก็บสมุนไพรมารักษาเอง ในไม่ช้าลูกชายก็ตาย
แต่ว่าก่อนที่ลูกชายจะตาย ในขณะที่ลูกเจ็บหนัก พราหมณ์มีความรู้สึกว่า เราเป็นคนร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐี เวลานี้ลูกชายอยู่ในห้อง มีความสวยสดงดงาม เครื่องประดับประดามาก ดีไม่ดีพวกญาติทั้งหลายทราบว่าลูกชายของเราป่วย ถ้าเขามาเยี่ยมลูกชายของเรา เห็นของที่มีค่ามาก เขาขอเราก็จำจะต้องให้ ก็เกิดเสียดายของขึ้นมา เลยยกลูกชายมานอนที่ระเบียงหน้าบ้านออกนอกห้อง
ลูกชายก็มีความรู้สึกว่า เวลานี้พ่อก็ดี แม่ก็ดี ไม่ใช่ที่พึ่งของเรา เราป่วยหนักจะหาหมอมารักษา พ่อกับแม่ก็จะเสียดายเงิน จะซื้อยาจากร้านหมอมา พ่อกับแม่ก็ยังเสียดายเงิน เรานอนในห้องดีๆ เวลานี้เราป่วยหนักเอาเรามานอนไว้ที่ระเบียงบ้าน ไม่มีอะไรแวดล้อม ก็มีความรู้สึกว่า พ่อก็ดี แม่ก็ดี ทรัพย์สินก็ดี ไม่ใช่ที่พึ่งของเรา เวลานี้เราป่วยหนัก เราไม่มีที่พึ่ง เคยได้ยินข่าวเขาลือกันว่า สมเด็จพระสมณโคดม เป็นพระใจดีมาก สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์ไม่เลือกว่าผู้ใด เขาจึงคิดในใจว่า “ เวลานี้ ขอองค์สมเด็จพระจอมไตรคือ พระสมณโคดม มาช่วยโปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บด้วยเถิด ”

เวลานั้น ก็เป็นเวลาที่องค์สมเด็จพระชินศรีบรมศาสนาสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปบิณฑบาตพอดีกับพระอานนท์ พอถึงบ้านนั้น ก็ทรงเปล่งฉัพพรรณรังสีรัศมี ๖ ประการ เกิดเป็นแสงสว่างปรากฏข้างหน้าของเธอ ความจริงน่ะ มัฏฐกุณฆลี เธอหันหน้าเข้าข้างฝา พอเห็นแสงแปลกประหลาดก็เหลียวหน้าไปดู เห็นพระพุทธเจ้า ก็นึกในใจว่า “ ขอองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาได้โปรดสงเคราะห์ให้ข้าพระพุทธเจ้าหายจากโรคเดี๋ยวนี้เถิด ”



ขณะที่เขานึกถึงพระพุทธเจ้ามารักษาให้หายจากโรค แต่ความจริงเขาไม่ได้หาย คนมันถ้าจะตายเสียอย่างหนึ่งทำอย่างไรก็ตาย พระพุทธเจ้าเองก็ยังนิพพานเมื่อหมดอายุขัย แต่ว่าพระพุทธเจ้าก็ช่วยเขาได้ คือในขณะที่พระพุทธเจ้าเสด็จผ่านไปประเดี๋ยวเดียวเขาก็ตาย ตายทั้งๆ ที่จิตใจนึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่ อาศัยบารมีขององค์สมเด็จพระบรมครูและบุญที่เขานึกถึง ที่เรียกว่า “ พุทธานุสสติ ”
อย่างนี้เขาเรียกว่า “ พุทธานุสสติ ” นึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
แกตายจากความเป็นคน ก็ไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก มีวิมานทองคำเป็นที่อยู่ มีนางฟ้าหนึ่งพันเป็นบริวาร ตามธรรมดาเทวดาก็ดี นางฟ้าก็ดี พรหมก็ดี ทุกท่านมีสภาพเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง เมื่อตายจากความเป็นคนปั๊ป ไปเกิดในวิมาน มีวิมานเป็นที่อยู่ มีบริวารเป็นทิพย์ มีความสุข ก็มักจะนึกย้อนถอยหลังว่า “ เดิมทีเราเกิดเป็นมนุษย์ เราทำอะไรจึงได้สมบัติขนาดนี้ ”
มัฏฐกุณฆลี ก็เช่นเดียวกัน
มัฏฐกุณฆลี ก็มีความรู้สึกว่า “ เวลานี้ เรามีวิมานเป็นทิพย์ เรามีการเป็นทิพย์ เรามีนางฟ้าเป็นบริวารเป็นทิพย์ทั้งพันองค์ ทุกอย่างเป็นทิพย์หมดมีความสุขหมด เพราะอาศัยบุญอะไรเป็นเหตุ? ”
ก็ทราบว่าเพราะอาศัยนึกถึงองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ คือพระพุทธเจ้าให้ช่วยรักษาโรคให้หาย แต่กาลเวลาชีวิตของเราเข้ามาถึง โรคไม่สามารถจะหายได้
และแล้วเราก็ตาย เราตายจากความเป็นคนมาเกิดเป็นเทวดามีความสุขมากกว่า เขาก็คิดย้อนถอยหลังไปถึงพ่อของเขาด้วยว่า “ เวลานี้พ่อกับแม่มีความสุขดีหรือเปล่า ” ก็ทราบว่า เวลานี้ท่านผู้เป็นพ่อขี้เหนียวแสนขี้เหนียว เวลาลูกป่วยเสียดายเงินมากกว่าเสียดายชีวิตลูก คือเป็นมหาเศรษฐี เวลานี้มายืนที่ปากหลุมฝังศพ มายืนพรรณนาร้องไห้ลูกกลับมาเกิดใหม่ เพราะมีลูกคนเดียว ท่านจึงมีความรู้สึกว่า “ พ่อของเราเป็นคนพาล ”
คำว่า “ พาล ” น่ะ เขาแปลว่า โง่
พ่อของเราเป็นคนโง่ เวลานี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก ไม่มีความเคารพ ถือตัวว่าเป็นคนดีมีธรรมะ แต่ความจริงธรรมะของพ่อเป็นธรรมที่ผิด ไม่ใช่ถูก ไม่สามารถจะช่วยให้พ้นทุกข์ได้ จึงตั้งใจจะไปสงเคราะห์พ่อให้มีความสุข เธอจึงแปลงตัวของเธอเองให้เหมือนร่างเดิม มายืนร้องไห้ใกล้ๆ กับพ่อ
พอท่านพ่อเห็นเข้าก็นึกว่า เด็กหนุ่มคนนี้มีรูปร่างคล้ายๆ ลูกของเรา ถ้าเราได้ไว้แทนลูกก็จะดีจะมีความสุขขึ้น จึงหันไปถามว่า “ ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ พ่อหนุ่ม เธอร้องไห้อยากได้อะไร? ”
พ่อหนุ่มก็ถามว่า “ คุณลุงร้องไห้อยากได้อะไร? ”
คุณลุงก็เลยบอกว่า “ เวลานี้ลูกชายของฉันตาย รูปร่างคล้ายๆ เธอ รุ่นราวคราวเดียวกัน เขาตายศพเขาฝังอยู่ที่นี่ ลุงต้องการให้เขากลับมาเกิดใหม่ เป็นลูกใหม่ เพราะมีลูกชายคนเดียว และก็เธอล่ะร้องไห้เพราะอะไร? ”
เธอก็ตอบว่า “ ผมมีรถทองคำอยู่คันหนึ่ง สวยงามมาก แต่ว่าเวลานี้ไม่มีล้อ อยากจะได้ล้อรถ ”
ท่านลุงนึกในใจว่า “ ถ้าได้เด็กคนนี้ไว้แทนลูกของเรา ความสุขจะมีขึ้น ”
ท่านลุงจึงได้ถามว่า “ เจ้าต้องการอะไร ต้องการล้อทองคำ หรือต้องการล้อแก้วมณี ลุงจะหาให้ ”
มัฏฐกุณฆลี ก็คิดว่า พ่อของเรา เมื่อเรามีชีวิตอยู่ แม้แต่ค่ายาก็ยังขี้เหนียว ไม่อยากจะเสีย ค่าหมอก็ไม่อยากจะจ่าย กลัวเสียเงินมาก เวลานี้เราตายแล้วแปลงกายมาคล้ายรูปเดิมกลับจะให้ล้อรถเป็นแก้วมณี หรือเป็นทองคำ เธอจึงแกล้งบอกว่า “ คุณลุงครับ รถของผมน่ะสวยมาก แก้วมณีก็ดี ทองคำก็ดี นี่เป็นล้อรถไม่สมควรแก่ล้อรถของผม ”
ลุงก็ถามว่า “ อะไรล่ะที่พอสมควรแก่รถของเธอ? ”
เธอก็ตอบว่า “ ผมอยากจะได้ดวงจันทร์เป็นล้อข้างหนึ่ง กับดวงอาทิตย์เป็นล้อข้างหนึ่ง ถ้าได้ ๒ อย่างนี้ จะเป็นที่พอใจของผม ”
ท่านมหาเศรษฐีก็คิดว่า เด็กคนนี้บ้า!
จึงบอกว่า “ เจ้าบ้า! ใครเขาจะต้องการดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์มาทำเป็นล้อรถได้ ดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์เกินวิสัยที่คนจะนำมาใช้ได้ ”
มัฏฐกุณฆลี ก็ถามว่า “ ผมต้องการสิ่งที่ผมมองเห็น คือ ดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์ แต่เวลานี้คุณลุงต้องการลูกชายที่ตายไปแล้ว คุณลุงทราบหรือว่าลูกชายอยู่ที่ไหน? ”
พราหมณ์ก็ตอบว่า “ ฉันไม่ทราบ ”
มัฏฐกุณฆลี ก็ถามว่า “ คนที่ต้องการสิ่งที่มองเห็น กับคนที่ต้องการสิ่งที่มองไม่เห็น ใครจะบ้ามากกว่ากัน? ”
ก็รวมความว่า ลุงเสียท่า เธอจึงแสดงความเป็นจริงว่า “ ผมก็คือลูกชาย เวลานี้เกิดเป็นเทวดามีนามว่า มัฏฐกุณฆลีเทพบุตร มีวิมานทองคำเป็นที่อยู่ มีนางฟ้าหนึ่งพันเป็นบริวาร มีร่างกายเป็นทิพย์ ที่มานี่ก็ต้องการจะมาแนะนำพ่อกับแม่ให้รู้จักการทำบุญ ”
พราหมณ์ก็ถามว่า “ เจ้าไปเกิดเป็นเทวดาเพราะอาศัยบุญอะไร? ”
เธอก็ตอบว่า “ อาศัยวิชาความรู้ของพราหมณ์นี่ไม่เกิดผล ที่ได้เป็นเทวดาจริงๆ เพราะอาศัยบารมีขององค์สมเด็จพระทศพล คือพระพุทธเจ้า เพราะก่อนที่จะตายเพราะนึกถึงพระพุทธเจ้า ก็คือ พระสมณโคดม ให้มาช่วยรักษาโรคให้หาย แต่ความจริงร่างกายมันจะต้องตาย มันจะหายไม่ได้ แต่ว่าตายจากความเป็นคนไปเกิดเป็นเทวดา เพราะอาศัยนึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงแค่ชั่วขณะเดียว ถ้าอย่างนั้นก็ดี ขอพ่อขอแม่ก็ดี ทุกคนในบ้านนับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จงมีความเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา คือ พระพุทธเจ้า โดยเฉพาะ พระสมณโคดม และจงรู้จักให้ทาน รู้จักการยกมือไหว้ รู้จักการรักษาศีล รู้จักการฟังเทศน์ ต่อไปเบื้องหน้าจะมีความสุข ”
เมื่อเธอพูดอย่างนี้แล้ว เธอก็แสดงตนเป็นเทวดาสวยงามมาก และก็ลาหายไปในอากาศ ท่านพราหมณ์ฟังแล้วก็เกิดความดีใจว่า “ โอหนอ...พระสมณโคดม มีคุณใหญ่ เรานี้มีความโง่มาก ฉะนั้น วันนี้เราจะเลี้ยงอาหารพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมไปด้วยพระสงฆ์ทั้งหมด ”
เวลานั้นพระสงฆ์บริวารมี ๕๐๐ องค์เศษ จึงได้กลับบ้านไป บอกกับแม่บ้านว่า “ วันนี้ทำอาหารมากๆ หุงข้าวมากๆ ทำแกงมากๆ ทำขนมมากๆ ฉันจะเลี้ยงพระสมณโคดม พร้อมไปด้วยสาวกทั้งหมดประมาณ ๕๐๐ องค์ และก็จะนิมนต์ พระสมณโคดม เทศน์ ”
พราหมณ์ก็เล่าความเป็นมาให้ทราบ



ดังนั้น เมื่อพราหมณ์สั่งภรรยาแล้ว ก็เดินทางไปจะไปเฝ้าองค์สมเด็จพระจอมไตร คือ พระพุทธเจ้า เวลานั้นคนที่ฟังข่าวก็เกิดแตกเป็นสองพวก พวกที่เป็นพราหมณ์จริงๆ ไม่เคยเคารพพระพุทธเจ้า เขาก็มีความรู้สึกว่า
“ วันนี้เราอยากจะดูพราหมณ์ผู้นี้ไปย่ำยีพระสมณโคดม ”
พวกที่นับถึงพระพุทธเจ้าก็คิดในใจว่า “ วันนี้เราจะดูลีลาพระสมณโคดม คือพระพุทธเจ้าทรมานพราหมณ์ผู้นี้ ”
คนที่ไปก็ไปกันมาก พวกฟังข่าวก็ไปยืนเป็นสองพวกด้วยกัน เมื่อเข้าไปถึงแล้ว พราหมณ์แทนที่จะนั่งยกมือไหว้เขาก็ไม่ทำ เขายืนเฉยๆ แล้วก็กล่าววาจาเรียกชื่อพระพุทธเจ้า สมัยนั้นการเรียกชื่อกันเขาถือเป็นการไม่เคารพ แต่ว่าพระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงถือ เขาถามว่า “ พระสมณโคดม คนที่นึกถึงชื่อท่านอย่างเดียว ไม่เคยยกมือไหว้ ไม่เคยใส่บาตร ไม่เคยฟังเทศน์ ตายจากความเป็นคนเป็นเทวดามีไหม? ”
องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาจึงตรัสว่า “ พราหมณะ ดูก่อนพราหมณ์ คนที่นึกถึงชื่อตถาคตอย่างเดียว ไม่เคยใส่บาตร ไม่เคยฟังเทศน์ ตายแล้วไปเกิดบนสวรรค์ไม่ใช่นับร้อยนับพัน นับเป็นโกฏิ ”

หลังจากนั้น องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็โปรดเรียก มัฏฐกุณฆลีเทพบุตร ให้ มัฏฐกุณฆลีเทพบุตร มาพร้อมด้วยวิมาน
วิมานของ มัฏฐกุณฆลีเทพบุตร ก็ลอยมาใกล้ เมื่อต่ำลงมาใกล้แล้วเธอก็ลงจากวิมานเข้าไปกราบองค์สมเด็จพระพิชิตมาร แสดงความเคารพ คนที่นั่งทุกคนมองเห็นเหมือนกันหมด เห็นเทวดาด้วย เห็นวิมานของเทวดาด้วย เห็นบริวารของเทวดาด้วย ก็เกิดความเลื่อมใส ดังนั้น เมื่อเห็นเทวดามากราบองค์สมเด็จพระจอมไตร ก็เกิดความเลื่อมใสมากขึ้น นึกว่า พระพุทธเจ้านี่ดีกว่าเทวดาแน่ สำหรับคนที่ไม่เคยเลื่อมใสพระองค์นะ แต่คนที่มีความเลื่อมใสอยู่แล้ว ก็เกิดปีติมากขึ้น
เวลานั้น องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรด ตั้งใจโปรดเฉพาะ มัฏฐกุณฆลีเทพบุตร ก็ทรงเทศน์โปรด เมื่อเทศน์จบ มัฏฐกุณฆลีเทพบุตร ก็เป็นพระโสดาบัน
สำหรับคนที่ฟังทั้งสองฝ่ายนั้น ก็เป็นพระโสดาบันไปตามๆ กัน นี่ก็เป็นผลพลอยได้

หลังจากนั้น พราหมณ์ก็นิมนต์องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปบ้านเลี้ยงอาหารตามที่เขาคิดไว้
นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย การที่ท่านทั้งหลายตั้งใจมาทำบุญกันวันนี้ ถ้าจะเปรียบบุญบารมีที่ท่านทำกันกับ มัฏฐกุณฆลีเทพบุตร บุญบารมีและกำลังใจท่านดีกว่า มัฏฐกุณฆลีเทพบุตร มาก ทั้งนี้ก็เพราะว่า มัฏฐกุณฆลีเทพบุตร นี่ ไม่เคยเคารพพระพุทธศาสนามาก่อน ไม่เคยเคารพพระพุทธเจ้าด้วย ไม่เคยเคารพพระธรรมด้วย ไม่เคยเคารพพระอริยสงฆ์ด้วย เพราะตระกูลของเขาเป็นอย่างนั้น
แล้วประการที่ ๒ ตัว มัฏฐกุณฆลีเทพบุตร ไม่เคยให้ทานมาในกาลก่อน แต่อาศัยที่เขามานึกถึงพระชินวรคือพระพุทธเจ้าในเวลาป่วยหนัก แต่เขาก็ไม่ได้นึกถึงด้วยความเคารพอย่างที่บรรดาท่านพุทธบริษัทนึกอยู่เวลานี้ เขานึกถึงแต่เพียงว่า ขอองค์สมเด็จพระชินศรีทรงช่วยเขาให้หายจากการป่วย มันเป็นความรู้สึกที่เบามาก แม้เป็นความรู้สึกที่เบามากก็จริงแหล่ แต่ว่าเขาตายจากความเป็นคน เขาก็เป็นเทวดาได้
ในเมื่อคนที่นึกถึงพระพุทธเจ้าแล้วย่อมไม่พ้นพระพุทธเจ้าที่เขาเรียก “ พุทธานุสสติ ”
บรรดาท่านพุทธบริษัทก็เช่นเดียวกับ มัฏฐกุณฆลีเทพบุตร ตายจากความเป็นคนก็ไปเกิดเป็นเทวดา อาศัย พุทธานุสสติ เบื้องแรก ก็ไปพบพระพุทธเจ้าเป็นครั้งที่สอง ฟังเทศน์อีกจบเดียวเป็นพระโสดาบัน

แล้วเรื่องเทวดาก็ดี นางฟ้าก็ดี พรหมก็ดี ท่านเป็นพระโสดาบันมันน้อยที่จะโง่กลับลงมาเกิดเป็นมนุษย์ พวกเทวดา พวกนางฟ้า พวกพรหม มีร่างกายเป็นทิพย์ มีใจเป็นทิพย์ มีตาเป็นทิพย์ เขามองพวกเรา เขาเป็นทุกข์ทุกอย่าง เขาสามารถที่จะนึกถึงชาติต่างๆ ที่เขาเคยเกิดเป็นมนุษย์ได้ เป็นสัตว์เขาก็นึกได้ว่าการเกิดเป็นสัตว์มันลำบากแค่ไหน การเกิดเป็นคนมันลำบากแค่ไหน การเกิดในอบายภูมิเป็นสัตว์นรกมันลำบากแค่ไหน แต่ว่าทั้งนี้ต้องเป็นเทวดา นางฟ้า หรือพรหม ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปนะ
เพราะว่า เทวดา นางฟ้า หรือพรหม ถ้าไม่ได้เป็นพระโสดาบันยังมีความประมาท ยังมีความเมามันในความเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นพรหม ไม่บำเพ็ญกุศลต่อที่เรียกว่า “ เทวดาพาล พรหมพาล ” แบบนี้มีเยอะ
พาล แปลว่า โง่ ไม่บำเพ็ญบุญต่อ
สำหรับท่านที่เป็นพระโสดาบันแล้ว ย่อมมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ คือคนที่ต้องการเป็นพระโสดาบัน และเมื่อเป็นพระโสดาบันแล้ว เขาคิดอย่างอื่นไม่มี เขาคิดอย่างเดียวว่า “ เมื่อไรเราจะเข้าถึงนิพพาน มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ”
ฉะนั้น การบำเพ็ญกุศลต่อย่อมมีกับเทวดา นางฟ้า หรือพรหม ที่เป็นพระโสดาบัน
นี่ถ้าจะเทียบความดีของบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน เวลานี้ทำอะไรบ้าง ก่อนจะมาทุกท่านตั้งใจมาด้วยความเคารพ อันนี้ดีกว่า มัฏฐกุณฆลีเทพบุตร แล้ว
และคนที่จะมานี้ตั้งใจมาด้วยดี ถ้าไม่เคารพในพระพุทธศาสนาทุกคนไม่มา
ที่มานี้มาด้วยความเคารพดีกว่าเขา
ประการที่ ๒ เมื่อพบพระพุทธรูปก็ดี พบพระสงฆ์ก็ดี ไหว้ด้วยความเคารพ ไหว้ด้วยความตั้งใจจริง นี่เราก็ดีกว่าเขา
ประการที่ ๓ บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์เป็น สังฆทาน อันนี้ก็ดีกว่าเขา
มัฏฐกุณฆลีเทพบุตร ไม่ให้เลย
และอีกประการหนึ่ง ท่านทั้งหลายตั้งใจสมาทานศีล อันนี้ก็ดีกว่าเขาอีก
มัฏฐกุณฆลีเทพบุตร ไม่เคยทำเลย
และก็ตั้งใจฟังเทศน์ ก็ดีกว่าเขา
มัฏฐกุณฆลีเทพบุตร ไม่เคยฟังเทศน์ แต่เขาเป็นพระโสดาบันได้ ในขณะที่เขาเป็นเทวดาได้ด้วยฉันใด ในเมื่อบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายตั้งใจสร้างความดี ดีกว่าเขามากอย่างนี้ ก็จงอย่าทิ้งความดี
ความดี ที่ควรจะรักษาไว้ก็คือ ทุกวันทุกคืน เอาเฉพาะเวลาว่างหรือเฉพาะกลางคืนก็ได้ หรือเฉพาะทั้งสองเวลาก็ดี “ ตั้งใจไว้ว่าเราจะบูชาพระ ”
การบูชาพระจะสวดมนต์มาก สวดมนต์น้อย อันนี้ไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่กำลังใจ
ถ้าเราสวดมนต์ไม่ได้เลย ก็ตั้งใจว่า “ นะโม ตัสสะ ภะคะว ะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ” ซึ่งแปลว่า ข้าพเจ้าขอเคารพพระพุทธเจ้า พระอรหันต์องค์นี้
เพียงเท่านี้ ก็เหลือแหล่แล้ว ว่าด้วยความเคารพจริงๆ ตั้งใจจริงๆ
หรือถ้าว่ามากกว่านี้
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
ไปอีก ๓ วาระ ตามที่ว่ากันมา เวลาที่ว่านั้น ก็ว่าด้วยความตั้งใจ ด้วยเคารพ ด้วยความจริงใจ เวลานั้นอานิสงส์สูงขึ้น
เป็นทั้ง พุทธานุสสติ ด้วย
เป็นทั้ง ธัมมานุสสติ ด้วย
เป็นทั้ง สังฆานุสสติ ด้วย
เอาเพียงแค่อย่างเดียวแค่นี้
บรรดาท่านพุทธบริษัทให้ท่านสังเกตว่าถ้าถึงเวลาจะบูชาพระ ถ้าวันไหนยังไม่ได้บูชาพระ วันนั้นไม่สบายใจ ต้องบูชาพระให้ได้ ถ้าจิตใจของท่านเป็นอย่างนี้ แสดงว่าท่านมีกำลังใจเป็น ฌานในพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
คำว่า “ ฌาน ” นี่เป็นกำลังสูง
คำว่า “ ฌาน ” ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า ต้องไปนั่งขัดสมาธิจนเป็นฌาน ไอ้อย่างนั้นเรียกว่า “ ฝึกความเป็นฌาน ” ฌานจริงๆ ที่ทรงตัวก็คือ จิตนึกอยู่ เมื่อถึงวาระจริงๆ จิตต้องการบูชาพระ
ถ้ามีพระพุทธรูป นั่งมองดูพระพุทธรูปเป็น พุทธานุสสติ กล่าวถึงพระธรรมเป็น ธัมมานุสสติ กล่าวถึงพระสงฆ์เป็น สังฆานุสสติ ถ้าอย่างเก่งจริงๆ ก็ว่า อิติปิ โส อีกสักจบก็จะดีมาก
บท อิติปิ โส บทต้นพรรณนาความดีของพระพุทธเจ้า บท สวากขาโต พรรณนาความดีของพระธรรม บท สุปฏิปันโน พรรณนาความดีของพระสงฆ์



แค่เท่านี้ บรรดาท่านพุทธบริษัท เพียงแค่นี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ถ้าทำได้ทุกวัน เวลาจะตายมันลงนรกกันไม่ได้แน่
เวลาเหลือ ๒ นาทีจะหมดเวลา
ทางที่ดีบรรดาท่านพุทธบริษัทตัด สังโยชน์ ๓ ให้ได้จะดีมาก ค่อยๆ ทำ สังโยชน์ ๓ นะ เป็นพระโสดาบัน
และเวลานี้ทุกท่านได้ ๒ แล้ว คือ
(๑)   นึกถึงความตาย ทุกคนถ้าไม่นึกถึงความตายจะไม่มีใครทำบุญ เพราะเกรงว่าจะตายจะไปลำบาก จึงทำบุญ อันนี้เรามีแล้ว ที่เรียกว่า “ สักกายทิฏฐิ ”
(๒)   ตัด สังโยชน์ ข้อที่ ๒ วิจิกิจฉา คือ ตัดความสงสัยในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ทุกอย่างมีแล้ว ท่านตัดได้แล้ว ท่านมีความเคารพ
(๓)   ก็เหลือตัวเดียว สีลัพพตปรามาส การรักษาศีลให้เคร่งครัด รักษาศีลอย่างจริงใจ อย่าให้ขาด เคยขาดมาในกาลก่อน ก็เป็นเรื่องของมัน เวลานี้เรารักษาอย่าให้ขาด บางครั้งมันจะเผลอบ้างอะไรบ้าง เป็นของธรรมดา เวลาใหม่ๆ แต่ว่าเมื่อตั้งใจรักษาจริงๆ ในไม่ช้าไม่นานไป ศีลก็จะครบถ้วยบริบูรณ์
ก่อนจะหลับให้นึกทบทวนว่า เวลานี้ศีล ๕ เรามีครบถ้วนไหม วันนี้มันบกพร่องข้อไหนบ้าง ถ้าทราบว่าบกพร่องข้อไหน คิดว่าพรุ่งนี้เราจะไม่ให้บกพร่อง พอตื่นเช้าเราคิดว่า วันนี้ศีล ๕ ของเราจะไม่ยอมให้บกพร่อง พอก่อนจะหลับก็นึกทบทวนใหม่ ทำอย่างนี้ทุกวัน
บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน อาตมาคิดว่า ไม่เกิน ๓ เดือน ทุกท่านจะมีศีลบริสุทธิ์ ถ้ามีศีลบริสุทธิ์ ก็นึกถึงใจว่าใจเราต้องการสวรรค์หรือพรหมโลก หรือว่านิพพาน ถ้าความเป็นพระโสดาบันเข้าถึงใจท่านจริงๆ ท่านจะมีความต้องการอย่างเดียวคือ นิพพาน โดยเฉพาะ
เพียงเท่านี้แหละ บรรดาท่านพุทธบริษัทถ้าตายจากความเป็นคน ก็จะลงอบายภูมิไม่ได้ จะเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นพรหมก็ตาม ต่อไปก็นิพพานกันแน่ไม่ต้องลงมา

เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยถ้วนหน้า เวลาหมดพอดี ก็ขอยุติพระธรรมเทศนาลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้
ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนานี้ อาตมภาพขอตั้งสัตยาธิษฐาน อ้างคุณพระศรีรัตนตรัยมีพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ ทั้ง ๓ ประการ ขอจงดลบันดาลให้บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน มีแต่ความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล และจงเจริญไปด้วยจตุรพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการ มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ หากทุกท่านปรารถนาสิ่งใด ก็ขอให้ได้สิ่งนั้นสมความปรารถนาทุกประการ
อาตมภาพประทานวิสัชนามา ในธัมมิกถาก็ยุติพระธรรมเทศนาลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้
เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้

ที่มา : นิตยสารธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๒๖ ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๑
หน้า ๓๒-๔๒. ถอดความโดย ศรีโคมคำ

17


ผู้ถาม: “กราบเท้าหลวงพ่อที่เคารพอย่าสูง ลูกสงสัยว่า ถ้าฆราวาสที่มีจิตเข้าถึงพระโสดาบันแล้ว เวลาประสบสิ่งที่ทำให้ไม่สบายเช่นเรื่องเกี่ยวกับการทำมาหากิน การกระทบอารมณ์ต่างๆ อยากทราบว่า อารมณ์เขาตอนนั้นจะเป็นอย่างไรเจ้าคะ?”

หลวงพ่อ: “พระโสดาบันก็มีอารมณ์คล้ายคลึงกับคนธรรมดา ยังมีความรักในระหว่างเพศ ยังต้องการความร่ำรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง แต่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในขอบเขตของศีล ฉะนั้นความสะเทือนใจย่อมมี แต่ว่าพระโสดาบันไม่ละเมิดศีล ไม่ผิดกาเม ความต้องการรวยยังมีแต่ว่าไม่โกงใคร ไม่ละเมิดศีล โกรธได้แต่ไม่ฆ่าใคร หลงในชีวิตแต่ไม่คิดว่าร่างกายจะไม่ตาย ขอบเขตเขามีแค่นั้นนะ จะไปนึกว่าโสดาบันเขาไม่มีความรู้สึกไม่ได้ ถือว่าชาวบ้านชั้นดี”

ที่มา : หนังสือหลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๑๐ หน้า ๑๒๓-๑๒๔

18


ผู้ถาม :- "การทอดผ้าป่า บางแห่งเขามีชะนีกับพุ่มไม้ แต่ที่วัดท่าซุงนี่ไม่เห็นมีอะไรเลย อานิสงส์จะสู้มีชะนีได้หรือเปล่าคะ...?"

.....หลวงพ่อ :- "สู้ไม่ได้หรอก เพราะไม่มีร้อง "ผัวโว้ยๆๆ" คือว่าผ้าป่านี่นะ เดิมทีเดียวพระพุทธเจ้าท่านแนะนำให้ถวายสังฆทาน ท่านบอกว่าถวายของไม่เจาะจงรูปหนึ่งรูปใด มีอานิสงส์มากเป็นสังฆทาน

.....ทีนี้ต่อมาญาติโยมมีน้อย พระมาก แกจะประเคนองค์ใดองค์หนึ่งก็เกรงใจองค์อื่น เลยเอาแบบนี้ก็แล้วกัน เราไม่เจาะจงพระ เอาไปแขวนตามต้นไม้ใกล้กุฏิหรือป่าช้า ถ้าพระองค์ไหนมาพบ ชักเอาไปก็ถือว่าเป็นสังฆทาน เขาถือตามรูปนี้นะ

.....ต่อมาญาติโยมอยู่ไกลป่า เลยตัดกิ่งไม้มา ชะนีก็ชะนีปลอม คือไม่มีความจำเป็นนะ ถวายผ้าป่าก็คือการถวายสังฆทานนั่นเอง ก็ทำมันตรงไปตรงมา ก็หมดเรื่อง"

.....ผู้ถาม :- "ที่วัดท่าซุง ชอบใจอยู่อย่างครับ คือไปถึงก็ถวายได้เลย ไม่ต้องไปว่า อิมานิ อิมาแนะ สู้สะดวกนิของหลวงพ่อไม่ได้"

.....หลวงพ่อ :- "จะไปว่าอะไร เขาตั้งใจมาตั้งแต่บ้านแล้ว ที่นำน่ะหมายถึงหลายๆคนด้วยกัน ต้องว่านำ ดีไม่ดีหัวหน้าว่ามากเกินไป รำคาญ บุญหล่นอีก อันที่จริงพระท่านก็ทราบแล้วว่าเป็นสังฆทาน ผู้รับองค์เดียวไม่มีสิทธิ์ใช้แต่ผู้เดียว"

.....ผู้ถาม :- "ปัจจุบันโรงเรียนหลายแห่งมักจะหาเงินเข้าโรงเรียนโดยการทอดผ้าป่า ผ้าไตรจีวร เสร็จ แล้วก็แบ่งถวายพระเล็กน้อย ส่วนใหญ่ก็เข้าโรงเรียน ลูกมีความไม่สบายใจ เกรงว่าบุญอันนี้จะไม่สมบูรณ์แบบ เกรงว่าจะเป็นของสงฆ์ไปด้วย ลักษณะอย่างนี้ อยากเรียนถามหลวงพ่อว่า ได้บุญมากกว่าหรือบาปมากกว่าเจ้าคะ...?"

.....หลวงพ่อ :- "ความจริงถ้าบอกเขาตรงๆว่าจะไปช่วยโรงเรียนนะ แล้วก็บอกว่าส่วนหนึ่งก็จะถวายพระ ถ้าทำตามนั้นอานิสงส์สมบูรณ์แบบ พูดตรงไปตรงมานะ โกงไปโกงมาไม่ได้ หมายความว่าส่วนใดถวายพระ นั่นเป็นสังฆทานแท้ ส่วนใดที่ให้โรงเรียน ก็เป็นทานบารมีไป เป็นทานส่วนบุคคลนะ อานิสงส์ต่ำหน่อย"

.....ผู้ถาม :- "เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ กระผมเป็นหัวหน้าจัดทอดผ้าป่าหลายครั้ง ได้เงินเป็นจำนวนมาก แต่เวลาเดินทางไปผมก็ซื้อขนมเลี้ยงกันในรถ เลี้ยงเหล้าเลี้ยงอาหารกันก็หลายครั้ง ตอนนี้ผมหูตาสว่างเมื่อได้พบหลวงพ่อ จึงอยากจะชดใช้เวรกรรมที่กระทำไว้ จึงขอปรึกษาหลวงพ่อว่า เราควรจะเพิ่มดอกเบี้ยเท่าใด พระยายมจึงจะอโหสิครับ...?"

.....หลวงพ่อ :- "เอ...เดี๋ยวๆ ขอคิดค่าติดต่อ ได้ตังค์แล้วตอนนี้ (หัวเราะ) มิน่าเล่าตอนนั่งสมาธิท่านลุง (พระยายม) ถึงได้ขึ้นมา ถาม “มีเรื่องอะไรลุง” บอก “วันนี้มีธุระ” อันนี้จริงๆนะ"

.....ผู้ถาม :- "แสดงว่าท่านรู้ล่วงหน้าหรือครับ..?"

.....หลวงพ่อ :- "ใช่ ท่านรู้ว่าฉันจะได้สตางค์ เอายังงี้ก็แล้วกันนะ ประเดี๋ยวก่อน คนที่ไปกินด้วยกันคือพวกเดียวกันหรือเปล่า พวกออกสตางค์หรือเปล่า ต้องดูก่อนนะ ถ้าเงินที่อื่น คนอื่นด้วย ก็ควรชำระหนี้สงฆ์ไป

.....ถ้าหากว่าคนที่ไปเป็นคณะ เราเรี่ยไรเฉพาะคณะนั้นนะ แล้วไปด้วยกัน ซื้อแบ่งกันกิน อันนี้ไม่เป็นไร ต่างคนต่างกิน ลงก็ลงด้วยกัน แต่คนไม่ลง คือว่าเรี่ยไรเฉพาะคนนั้น เขาทราบอยู่ อันนี้ไม่เป็นไร ถ้าเอาเงินจากคนอื่นไปด้วย อันนี้ควรจะชำระหนี้สงฆ์"

.....ผู้ถาม :- "ต้องเป็นวัดที่เราเคยไปทอดใช่ไหมครับ...?"

.....หลวงพ่อ :- "วัดไหนก็ได้ เข้าเขตสงฆ์ก็แล้วกัน ใครทำบ่อย ก็จัดการแก้ไขเสีย"

.....ผู้ถาม :- "หลวงพ่อคะ การทอดผ้าป่า กับ การทอดกฐิน อย่างไหนได้อานิสงส์มากน้อยกว่ากันคะ...?"

.....หลวงพ่อ :- "ความจริง ผ้าป่า กับ กฐิน เป็นสังฆทานด้วยกันทั้งคู่นะ แต่ถ้าว่าอานิสงส์โดยเฉพาะ กฐิน ได้มากกว่า เพราะว่ากฐินมีเวลาจำกัด จะทอดตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ แต่อานิสงส์ได้ทั้งสองฝ่าย คือ ผู้ทอดก็ได้ พระผู้รับก็ได้ พระผู้รับมีอำนาจคุ้มครองพระวินัยได้หลายสิกขาบท ทำให้สบายขึ้น

.....ต้นเหตุแห่งการทอดกฐินนี้ ก็มีนางวิสาขาเป็นคนแรก ในสมัยนั้นพระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติการจำพรรษา เพื่อป้องกันพระไปเดินเหยียบต้นพืชต้นข้าว ที่ชาวบ้านเขาปลูกไว้ในฤดูฝนไม่ให้เสียหาย

.....ครั้นเมื่อออกพรรษาแล้ว ภิกษุชาวปาฐา ๓๐ รูป เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ในเวลานั้นพระสงฆ์ทั้งหลายมีผ้าจำกัดเพียง ๓ ผืนท่านั้น เมื่อมาถึงในขณะที่นางวิสาขาเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่พอดี เห็นพระมีผ้าสบงจีวรเปียกโชกด้วยน้ำฝนและน้ำค้าง จึงได้กราบทูลขอพรแด่พระพุทธเจ้าว่า “หลังจากออกพรรษาแล้ว ขอบรรดาประชาชนทั้งหลาย มีโอกาสถวายผ้าไตรจีวรแก่คณะสงฆ์ด้วยเถิด” พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุมัติ

.....ส่วน ผ้าป่า ก็เป็นสังฆทาน แต่อานิสงส์จะน้อยไปนิดหนึ่ง แต่ทั้งสองอย่างก็เป็นสังฆทานเหมือนกัน แต่เป็นสังฆทานเฉพาะกิจ กับสังฆทานไม่เฉพาะกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผ้าป่า ผู้ให้ก็ได้อานิสงส์ ผู้รับก็มีอานิสงส์แต่เพียงแค่ใช้

.....เป็นอันว่าทั้งสองอย่างนี้ ถือว่าอานิสงส์การทอดกฐินมากกว่าผ้าป่า แต่ว่าการทอดกฐินปีหนึ่งครั้งเดียว ผ้าป่าทอดได้ตั้งหลายครั้ง อานิสงส์ผ้าป่าย่อมได้มากกว่านะ"

.....ผู้ถาม :- "แล้วองค์กฐินที่แท้จริงเป็นอย่างไรคะ...?"

.....หลวงพ่อ :- "องค์กฐินจริงๆ คือ ผ้าไตร นอกนั้นเป็นบริวาร เวลากรานกฐินจริงๆ เรากรานกันแต่ผ้า การถวายก็ไม่ยาก เรามีผ้าจีวรผืนหนึ่งหรือว่าสบงผืนหนึ่ง หรือว่าสังฆาฏิผืนหนึ่ง อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เขาเรียกว่า จุลกฐิน หรือจะถวายทั้งไตรก็ได้ เขาเรียกว่า ปกติกฐิน แต่ถ้าถวายไตรจีวรครบทั้งวัด เรียกว่า มหากฐิน

.....ฉะนั้นจะถวายมากก็ได้ ถวายน้อยก็ได้ อานิสงส์เท่ากัน โดยเฉพาะวัดท่าซุง จัดเป็นกฐินสามัคคี เป็นเจ้าภาพร่วมกันทุกคน ได้อานิสงส์เท่ากันหมด

.....สำหรับ การทอดกฐิน ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าท่านเคยเทศน์ คือพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระปทุมุตตระ ท่านเคยเทศน์วาระหนึ่ง สมัยที่พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เป็นมหาทุคคตะ

.....คำว่า มหาทุคคตะ นี้จนมาก เป็นทาสของคหบดี ได้ไปฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าว่า อานิสงส์กฐินนี้มีมาก ท่านจึงกลับไปชวนนาย แต่นายก็มอบหมายทรัพย์สมบัติให้ท่านเป็นผู้จัดการทุกอย่าง ท่านมหาทุคคตะอยากมีส่วนร่วมทานนี้ด้วย แต่ไม่มีอะไร มีแต่เสื้อผ้าเก่าๆ ของตนที่มีติดตัวอยู่เพียงชุดเดียว จึงนำไปแลกที่ร้านในตลาด มีด้าย ๑ กลุ่ม เข็ม ๑ เล่ม เอามาร่วมในการทอดกฐินกับเจ้านาย เพื่อปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล

.....พระองค์ทรงตรัสว่า คนถวายผ้ากฐิน หรือร่วมในการถวายกฐินทานครั้งหนึ่ง จะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ จะปรารถนาเป็นพระอัครสาวกก็ได้ จะปรารถนาเป็นพระอรหันต์ก็ได้

.....แต่ถ้าหากว่ายังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด อานิสงส์จะให้ผลทานแก่ผู้นั้น เมื่อตายจากความเป็นคน ไปเกิดเป็นเทวดา แล้วก็จะลงมาเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ปกครองโลก ๕๐๐ ชาติ

.....บุญน้อยลงมา จะเป็นพระมหากษัตริย์ ๕๐๐ ชาติ เป็นมหาเศรษฐี ๕๐๐ ชาติ เป็นอนุเศรษฐี ๕๐๐ ชาติ เป็นคหบดี ๕๐๐ ชาติ

.....แต่คนที่ทอดผ้ากฐิน หรือว่าร่วมในการทอดผ้ากฐินครั้งหนึ่งก็ดี บุญบารมีส่วนนี้ยังไม่ทันจะหมดก็ปรากฏว่า ท่านเจ้าของทานไปนิพพานก่อน"

หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๑ หน้า ๙-๑๔
ท่านหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง)

19


นางขุชชุตตรา

โดย พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

 ( เทศนา ณ. วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๔ )

   ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายวันนี้เป็นวันเริ่มต้นของเดือนเมษายน การเจริญกรรมฐานของบรรดาท่านพุทธบริษัท ก่อนอื่นก็ขอชมความดีของบรรดาท่านทั้งหลาย เฉพาะวันนี้คนที่ฝึกมโนยิทธิไปนิพพานได้ ๑๔๔ คน ไปนิพพานได้ ๑๔๔ คนไม่ใช่เรื่องเล็ก คำว่า “นิพพาน” อย่าไปนึกว่าของง่ายๆ ถ้าบารมีไม่ถึงปรมัตถบารมี แม้แต่เงาของนิพพานเราก็ไม่มีโอกาสได้เห็น ทั้งนี้เพราะว่าบารมีที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้มี ๓ ชั้น
   บารมีต้น ท่านเรียก บารมีเฉยๆ
   บารมีกลาง ท่านเรียก อุปบารมี
   บารมีสูงสุด เรียก ปรมัตถบารมี

   สำหรับคนที่มี บารมีขั้นต้น (เอากันขั้นเต็มนะ) บารมีขั้นต้นเต็มนี่ถ้าอย่างเก่งก็แค่ ทานกับศีล ถ้าจะชวนภาวยาเขาจะบอกว่าไม่ไหว ทำไม่ได้ กำลังใจไม่พอ เพราะว่าบารมีท่านแปลว่าเต็ม แต่พระพุทธเจ้าให้แปลว่ากำลังใจเต็ม ถ้าอุปบารมี ถ้ากำลังใจของบุคคลใดเข้าถึงอุปบารมี ถ้าเจริญฌานสมาบัติอันนี้ทำได้แน่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือฌานโลกีย์เขาจะเที่ยวได้ตั้งแต่มนุษย์ยันพรหม อันนี้ไปได้แน่ ถ้าจะชวนบอกว่า “ไปนิพพานกันเถอะ” เขาจะบอกว่า “ไม่ไหว” ต่อมาถ้าหากว่าท่านที่มีบารมีเป็นปรมัตถบารมี อันดับแรกจะรู้ว่าใครมีปรมัตถบารมีน่ะมันรู้ไม่ได้ แต่เมื่อได้ยินฟังคำเขาพูดเรื่องนิพพาน ฟังเข้าๆ หนักเข้ามีความพอใจ ว่าเราหวังใจและตั้งใจไปนิพพาน อันนี้เป็นปรมัตถบารมี ตอนนี้การฝึกกรรมฐานก็เหมือนกันจะให้ไปถึงนิพพาน ไปถึงพรหม ไปเทวดา ไปสวรรค์ ไปนรกนี่ ก็ไม่แน่นอนนัก ทั้งนี้ก็สุดแล้วแต่หมวดของกรรมฐาน กรรมฐานจริงๆ หลักใหญ่มี ๔๐ กอง อย่าลืมนะต้นไม้ยังมี ๔๐ ต้น กิ่งมีกี่กิ่ง ก้านมีกี่ก้าน ใบมีกี่ใบ นี่เป็นลีลาการสอนการแนะนำ กรรมฐาน ๔๐ กองจะมีทั้งหมด คือ

๑.   สุกขวิปัสสโก
๒.   เตวิชโช
๓.   ฉฬภิญโญ
๔.   ปฏิสัมภิทัปปัตโต



แต่กรรมฐานหมวดพิเศษมีอยู่หมวดหนึ่งคือ มหาสติปัฏฐานสูตร อันนี้พระพุทธเจ้าสอนเฉพาะสุกขวิปัสสโกอย่างเดียว ฉะนั้น การเจริญกรรมฐานเพื่อนต้องการเห็นสวรรค์ เห็นนรก ก็ต้องใช้หลักสูตรที่ ๒. คือ เตวิชโช คือวิชชาสาม หลักสูตรเบื้องต้น คือ สุกขวิปัสสโก อันนี้คือฌานทำได้ มีสมาธิได้ มีฌานสมาบัติได้ เป็นพระอริยเจ้าได้ ไปนิพพานได้ แต่ไม่มีความเป็นทิพย์ของจิต เขาไม่เคยเห็นเทวดา ไม่เคยเห็นนรก ไม่เห็นสวรรค์ แต่เป็นพระอรหันต์ได้ ถ้าเตวิชโชจะต้องได้ ๒ อย่างในขณะที่เจริญฌานโลกีย์ คือ ทิพจุดขญาณ เห็นสวรรค์ก็ได้ เห็นนรกก็ได้ เห็นผีก็ได้ เห็นเทวดาเห็นพรหมได้ ตามบาลีท่านว่าอย่างนี้นะ “นั่งอยู่ตรงนี้สามารถจะคุยกับเทวดา คุยกับสัตว์นรกได้ คุยกับพรหมได้ แต่ไปไม่ได้” ถ้าหมวดที่ ๓. เรียกว่า ฉฬภิญโญ คือ อภิญญา “มโนมยิทธิ” นี่เป็นหมวดที่ ๓. เป็นหมวดของอภิญญา เห็นแล้วสามารถไปสู่ที่นั่นได้ สำหรับหมวดที่ ๔. เรียกว่า ปฏิสัมภิทาญาณ หมวดนี้มีความฉ,ดมาก คือรอบรู้ทุกอย่าง อย่าลืมนะสู่พระพุทธเจ้าไม่ได้นะ เพราะว่าปฏิสัมภิทาญาณต้องแบ่งเป็นชั้น ปฏิสัมภิทาญาณของปกติสาวกนี่ชั้นหนึ่งมีความฉลาดยิ่งกว่าสาวกธรรมดา แต่ก็ยังสู้มหาสาวกไม่ได้ มหาสาวกจะมีความฉลาดกว่า มหาสาวกก็ยังสู้อัครสาวกเบื้องซ้ายไม่ได้นะเรื่องความฉ,ด แต่ตัดกิเลสได้เหมือนกัน อัครสาวกเบื้องซ้ายมีความฉลาดกว่า แต่อัครสาวกเบื้องซ้ายก็ฉลาดสู้อัครสาวกเบื้องขวาไม่ได้ อัครสาวกเบื้องขวาก็ฉลาดสู้พระพุทธเจ้าไม่ได้ เพราะเป็นสัพพัญญู วันนี้จะแนะนำกรรมฐานกัน ก็แนะนำกันให้รู้ ความจริงวันนี้ไม่ได้ตั้งใจพูดเรื่องนี้ ตั้งใจจะพูดเรื่องอื่น แต่ท่านให้พูก็พูดไป ก็เป็นอันว่าการเจริญกรรมฐานของบรรดาท่านพุทธบริษัทวันนี้มีหลายคน เขาเรียกว่าไปถึงเขตพระนิพพาน และวันก่อนๆ ก็มีกันมาก ทุกคนที่นั่งที่นี่ใครเห็นพระนิพพานบ้างหรือยังก็ไม่ทราบนะ ที่ไม่เคยเห็นก็พึงทราบว่า “นิพพานไม่ใช่มีสภาพสูญ มีสถานที่อยู่ ท่านเรียกว่าทิพย์พิเศษ เป็นทิพย์เหมือนกัน” อย่างเทวดานางฟ้านี่ท่านมีกายเป็นทิพย์ พรหมก็มีกายเป็นทิพย์ นิพพานก็มีกายเป็นทิพย์ แต่นิพพาน ท่านเรียก วิสุทธิเทพ คือ เทวดาผู้มีความบริสุทธิ์ หมายความว่าหมดจดจากกิเลสทั้งหมด กิเลสทุกอย่างไม่มี เทวดา นางฟ้า ยังมีกิเลส พรหมก็ยังมีกิเลส กิเลสยังไม่หมด สำหรับพระอรหันต์ที่นิพพานแล้วกิเลสหมด เมื่อไปอยู่ที่นั่นแล้วก็ไม่มีการเคลื่อนไปไหนอีก อยู่นิพพานที่เดียวนะ ถ้าจะถามว่า “มีหลักฐานตอนไหนที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าพระนิพพานมีที่อยู่” ก็ต้องตอบว่า “ตามพระไตรปิฎกมีอยู่” ที่พราหมณ์ถามพระพุทธเจ้าว่า “พระสมณโคดม นิพพานมีสภาพสูญใช่ไหม เหมือนกับควันไฟที่ลอยไปในอากาศ ไม่มีที่เกาะที่จับ” พระพุทธเจ้าบอก “ไม่ใช่” เขาก็ถามว่า “ถ้างั้นนิพพานก็เป็นที่เกิดใช่ไหม?” พระพุทธเจ้าบอก “ไม่ใช่” เขาถามว่า “ทำไมจึงไม่ใช่” พระพุทธเจ้าบอกว่า “ถ้าเกิดก็ต้องมีคำว่าตาย เพราะของในโลกเป็นของคู่กัน แต่นิพพานมีสภาวะเป็นที่อยู่ แต่ไม่ตาย ที่เรียกกว่าวิสุทธิเทพ” ก็รวมความว่านิพพานเป็นแดนไม่ไหว ที่เรียกว่าเป็นแดนไม่ไหว เพราะว่าแม้แต่คนที่ขโมยของอยู่ก็สามารถเข้าถึงเขตนิพพานได้ (ถ้ากลับไปแล้วจะกลายเป็นขโมยไม่ได้นะ) พูดมากไปเดี๋ยวจะรำคาญเพราะมันร้อน เล่านิทานสู่กันฟังเอาไหม จะเล่านิทานเรื่องขโมยไปนิพพานไปให้ฟัง อาจไปถึงหรือยังก็ไม่ทราบ แต่ว่าท่านเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบัน ท่านแปลว่า “ผู้เข้าถึงกระแสพระนิพพาน” คนที่เข้าถึงกระแสพระนิพพานแล้วบาปเก่าๆ ทั้งหมดไม่มีโอกาสให้ผล คือไม่มีโอกาสจะเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉานอีก บาปทั้งหมดไม่มีโอกาสให้ผล มีทางเดียวคือเดินเข้าสู่เขพพระนิพพานไปเลย ตัวอย่างของขโมยสดๆ ขโมยสดนะไม่ใช่ขโมยแห้ง ขโมยทุกวันคือ ท่านขุชชุตตรา ที่อาตมาเรียกว่า ท่านขุชชุตตรา ก็หมายความว่าท่านเป็นพระอริยเจ้า  ก่อนที่ท่านจะถูกไฟไหม้ ท่านเป็นพระอนาคามีหรือสกิทาคามีก็ไม่ทราบ แต่ตอนต้นเป็นพระโสดาบัน ยังไงท่านก็เป็นพระอริยเจ้าแล้ว ท่านก็คงไม่โง่ที่จะกลับมาเกิดใหม่ ท่านขุชชุตตรานี่เป็นหญิงรับใช้ของพระนางสามาวดี และก็เป็นหญิงหลังค่อม (ไอ้เรื่องนี้น่ะมันจะไม่จบนะ เวลา ๒๐ นาทีมันจะไม่พอนะ ถ้าไม่พอก็จบแค่หมดเวลานะ) เป็นอันว่าท่านเป็นหญิงหลังค่อม พระเจ้าอุเทนซึ่งเป็นพระราชสวามีของพระนางสามาวดี พระราชทานทรัพย์ให้ซื้อดอกไม้วันละ ๘ ตำลึง (๑ ตำลึง เท่ากัน ๔ บาท) แต่ว่าทุกคนอาจจะลืมแล้วก็ได้นะ เพราะเดี๋ยวนี้เขาใช้กิโลกรัมใช่ไหม ทีนี้การที่จะใช้คนอื่นไปซื้อดอกไม้นอกวังก็ไม่เหมาะ นางขุชชุตตรานี่เป็นหญิงหลังค่อมคงไม่เป็นที่สนใจของใคร ก็ใช้นางขุชชุตตราไปซื้อดอกไม้ทุกวัน ขุชชุตตรานี้เป็นคนดีมาก คือเขาให้ไป ๘ ตำลึง แกก็ซื้อมา ๔ ตำลึง คิดค่าเดินทางไป ๒ ตำลึง เดินทางกลับอีก ๒ ตำลึง ว่ากันไม่ได้นะ เขาไม่ได้จ้างแต่เธอคิดเองนะ ล่อเสียแบบนี้ทุกวัน เอาของเขาทุกวันเลยไม่ได้เว้น อย่าลืมว่านี่ขโมยเป็นปกติเลย เป็น อาจิณกรรม นะ บาปหนักเลย บาปไม่เบานะ คัพท์ว่า อาจิณกรรม คือ “กรรมที่ทำอยู่เสมอ หรือทำเป็นประจำ” แม้แต่บาปเล็กน้อยอย่างแม่ครัวที่ฆ่าสัตว์ ฆ่าปลากินทุกวัน อย่างนี้ถือว่าเป็น อาจิณกรรม ลงอเวจีได้ มีสิทธิลงอเวจี ใช่ไหม แต่ว่าทีนี้การขโมยทุกวันล่ะ? ก็มีสิทธิลงอเวจิเหมือนกัน แต่ก็เป็นการบังเอิญวันสุดท้าย นายมาลาการ นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอรหันต์ทั้งหมด เพื่อถวายภัตตาหารในตอนเช้า พอท่านขุชชุตตราไปซื้อดอกไม้ นายมาลาการก็บอกว่า “ดอกไม้นี่เตรียมไว้แล้วไม่ต้องเป็นห่วง แต่ว่าวันนี้เราจะเลี้ยงพระพุทธฌจ้า ถวายทานพระพุทธเจ้า มีพระอรหันต์ทั้งหมด มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เธอจงอยู่ถวายภัตตาหารช่วยกันก่อน” นางขุชชุตตราก็ยอมรับ ในเมื่อพระพุทธเจ้าฉันเสร็จ ก็ทรงเทศน์ ตามบาลีไม่ได้บอกว่าเรื่องอะไร ฉันก็เดาเอาเองนะ (ขอเดานะ) พอเทศน์จบแล้วนายมาลาการก็เป็นพระโสดาบัน ขุชชุตตราก็เป็นโสดาบัน ฉะนั้นการเทศน์ของพระพุทธเจ้าในวันนั้นก็ต้องเทศน์เรื่องของพระโสดาบัน คือ

ประการที่ ๑. ให้ทุกคนนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ให้มีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่า “ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง เราต้องตายแน่นอน”

ประการที่ ๒. ก่อนที่เราจะตายคราวนี้ เราจะไม่ยอมไปอบายภูมิ คือยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง คือยอมรับนับถือตามความเป็นจริงและด้วยความจริงใจ

ประการที่ ๓. ละความชั่ว ๕ อย่างคือ
๑.   ฆ่าสัตว์
๒.   ลักทรัพย์
๓.   ประพฤติผิดในกาม
๔.   มุสาวาท
๕.   ดื่มสุราและเมรัย



เข้าใจว่าท่านเทศน์แบบนี้นะ ในบาลีไม่ได้บอก บาลีไม่ได้บอก ฉันก็บอกของฉันเองก็ได้ หรือใครไม่เชื่อว่าฉันพูดตรงให่ถามพระพุทธรูป หรือถามพระพุทธเจ้าโดยตรงก็ได้นะ ถ้าถามพระพุทธเจ้าไม่ได้ก็ถามพระพุทธรูป พระพุทธรูปไม่ตอบไม่ปฏิเสธ ฉันพูดถูก (ลองดูสิท่านนั่งอยู่ตรงหลายองค์ใช่ไหม) ก็เป็นอันว่านางขุชชุตตราฟังเทศน์จบก็เป็นพระโสดาบัน พอได้เป็นพระโสดาบันแล้ววันนั้นก็ขโมยของไม่ได้ซิ เพราะทรงศีล ๕ บริสุทธิ์ ก็ต้องซื้อดอกไม้มาถึง ๘ ตำลึง พอมาถึงพระนางสามาวดี พระนางสามาวดีก็ถามว่า “วันนี้พระราชาพระราชทานเงินซื้อดอกไม้เพิ่มหรืออย่างไร ดอกไม้ถึงได้มากนัก” เป็นพระโสดาบันโกหกไม่ได้อีก ไม่มีใครบังคับนะ ท่านรักษาจริงๆ นะ ท่านก็เลยบอกตามความจริงว่า “ความจริงพระราชาพระราชทานทรัพย์วันละ ๘ ตำลึง แต่ว่าหม่อมฉันยักเอาไว้เสีย ๔ ตำลึง” พระนางสามาวดีก็บอกว่า “เอ้า วันนี้ทำไมไม่ชักเอาไปล่ะ ความจริงเอาไว้ก็ได้ฉันไม่ว่าอะไรหรอก ดอกไม้แค่ ๔ ตำลึงก็พอ” เธอก็บอกว่า “ไม่ได้ วันนี้ฟังเทศน์ พระพุทธเจ้าเทศน์บอกว่ามันบาป บาปที่แปลว่าชั่ว ตายแล้วต้องตกนรก ต่อไปนี้ขโมยไม่ได้แล้ว เลิก ต้องซื้อวันละ ๘ ตำลึง” พระนางสามาวดีก็ถามว่า “พระพุทธเจ้าเทศน์ว่าอย่างไรบ้าง ขอฟังเทศน์” นางขุชชุตตราก็บอกว่าการฟังเทศน์

๑.   การฟังเทศน์ต้องมีอาสนะที่นั่งสูงกว่า
๒.   อาบน้ำให้เรียบร้อย แต่งตัวให้ดี

พระนางสามาวดีก็สั่งให้นำน้ำหอม ๑๖ หม้อมาอาบ หาเครื่องแต่งตัวใหม่ จัดอาสนะพร้อมกับหญิง ๕๐๐ คน นางขุชชุตตราขึ้นธรรมาสน์แล้วก็เทศน์ เทศน์ในลีลาแนวของพระพุทธเจ้าตรง เทศน์คล้ายคลึงพระพุทธเจ้ามาก พอทุกคนทั้ง ๕๐๐ คนฟังเทศน์จบ ทุกคนก็เป็นพระโสดาบันหมด (โอ้โห ดีกว่าฉันเทศน์ตั้งเยอะ) แต่ความจริงแล้วนางขุชชุตตราเทศน์ไม่ได้อะไรนะ นี่ฉันเทศน์ได้สตางค์นะเนี่ย ในเมื่อท่านเป็นพระโสดาบันทั้งหมดแล้ว นี่บรรดาท่านพุทธบริษัท เป็นอันว่าบาปเก่าทั้งหมดไม่มีโอกาสจะให้ผล ทีนี้มาวันนี้จะคุยเรื่องกรรมฐาน เดี๋ยวจะไม่ได้พูดนะเรื่องกรรมฐาน นี่พูดเรื่องกรรมฐานนะเนี่ย พระโสดาบันนี่สำคัญนะ ถ้าท่านภาวนาว่า พุทโธ บ้าง สัมมาอรหัง บ้าง นะมะ พะธะ บ้าง อิติสุคโต บ้าง ถ้าภาวนาไปเฉยๆ อย่างนี้จิตสามารถเป็นฌานได้ แต่ก็ไม่มีโอกาสที่จะหนีอบายภูมิได้ ถึงแม้จะได้ฌานสมาบัติ ณาน ๑, ๒, ๓, ๔ หรือ ๘ ก็ตาม หรือจะได้ภิญญาโลกีย์ก็ตามไม่สามารถจะหนีอบายภูมิได้ ฉะนั้นทุกคนจะต้องเป็นพระโสดาบันให้ได้ ถ้าเราเป็นไม่ได้ เราก็ปฏิบัติตามแบบฉบับของพระโสดาบัน หรือว่าปฏิบัติตามท่าน ถ้าเราเผลอบ้างไม่เผลอบ้าง ทำได้บ้างลืมไปบ้างก็ถือเป็นของธรรมดา แต่คราวนี้ การที่เราจะทำจิตจนชินในด้านของความดี ซึ่งมีดังนี้ คือ

คิดว่าชีวิตนี้ต้องตาย
ชีวิตเราเป็นของไม่เที่ยง
ความตายเป็นของเที่ยง
สักวันหนึ่งข้างหน้าเราก็ต้องตายแน่
ความตายไม่มีนิมิตเครื่องหมาย
เราอาจจะตายเมื่อไหร่ก็ได้

สังเกตกันดูให้ดีว่า เราจะนึกว่าทุกคนจะต้องแก่แล้วจึงตาย แต่บางคนแก่แล้วยังนึกว่าเรายังแก่ไม่พออีก ยังไม่ตายอีก (อย่างฉันนี่ ฉํนยังไม่นึกว่าฉันจะตายเลยนะ) ถ้านึกว่าตายเวลานี้พูดเรื่องอื่นไม่ได้ ต้องพูดเรื่องตายอย่างเดียว ทีนี้ความจริงมันต้องตาย ให้คิดไว้ว่าวันนี้เราอาจจะตายก็ได้ อย่างเมื่อคืนวานนี้ใครจะรู้ว่าใครจะตาย อยู่ดีๆ ก็มีรางวัลปุ้งๆๆ “เมื่อชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ความตายเป็ยของเที่ยง” ให้คิดไว้อย่างนี้ว่า ก่อนที่เราจะตาย อย่างน้อยที่สุดเราจะยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ด้วยปัญญา คือว่าต้องใช้ปัญญาพิจารณานะว่าท่านดีอย่างไร พระพุทธฌจ้าที่ว่าดีก็มีสิ่งที่ให้เป็นสังเกตคือ แนวการสอนของพระพุทธฌจ้าให้แนะนำพระสงฆ์ทั้งหลายในวันวิสาขบูชา พระที่มารวมพร้อมกันเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ๒,๕๐๐ องค์ (ไม่ใช่เลขหวยนะ” ก็เป็นอันว่าท่านบอกท่านแนะนำว่า ต่อไปนี้ให้สอนแบบนี้ให้เหมือนกัน

๑.   สัพพะปาปัสสะ อะระกะณัง
จงแนะนำให้ทุกคนไม่ทำความชั่วทั้งหมด

๒.   กุสะลัสสูปะสัมปะทา
แนะนำให้ทำแต่ความดี

๓.   สะจิตตะปะริโยทะปะนัง
ทำจิตใจให้ผ่องใสจากกิเลส
   
และลงท้ายว่า เอตัง พุทธานะสาสะนัง พระพุทธเจ้าทุกองค์ตรัสอย่างนี้เหมือนกันหมด ก็รวมความว่าพระพุทธฌจ้าท่านสอนว่า

๑.   ให้ละความชั่ว
๒.   พระพฤติความดี
๓.   ทำจิตใจให้ผ่องใสจากกิเลส



ก็ถือพระพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้าที่ดี จริงๆ เราควรยอมรับนับถือท่าน และคำสอนอันนี้เป็นพระธรรม เราก็ยอมรับ และบรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายที่ปฏิบัติตามนี้จึงเป็นพระอริยสงฆ์ได้ ก็รวมความว่าพระพุทธเจ้าก็ดี พระธรรมก็ดี พระอริยสงฆ์ก็ดี เราควรยอมรับนับถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเอากันน้อยๆ ไม่ต้องมาก เอาแค่นับถือพระพุทธเจ้าองค์เดียวก็เยอะแยะไปแล้ว หรือว่าจะยอมรับนับถือพระสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งโดยเฉพาะก็ได้ ขอให้เป็นพระก็แล้วกันนะ ถ้านึกถึงพระพุทธเจ้าก็เป็น พุทธานุสสติ ถ้านึกถึงพระสงฆ์ก็เป็น สังฆานุสสติ ใช้ได้เหมือนกันไม่ลงนรก หรือว่านึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนอย่างใดอย่างหนึ่งที่เราชอบก็เป็น ธัมมานุสสติ ก็ใช้ได้ ทำกันแค่อย่างเดียว เรียกว่าทำกันอย่างชนิดที่เรียกว่า คนขี้เกียจแล้วได้ดี ถ้าจะถามว่า ถ้านึกแล้วก็ยังทำบาปอยู่ล่ะ? ต้องถือว่าเป็นเรื่องธณรมดา ถ้าเรายังไม่ถึงพระโสดาบันเพียงใด เราย่อมทำบาปอยู่บ้างเป็นของธรรมดา แต่ว่าถ้าเรานึกถึงความตาย นึกถึงเรื่องทำบาปมันลดลงไป ทำน้อยลงใช่ไหม แต่ว่ามันเผลอบ้างอะไรบ้างก็เป็นของธรรมดา รวมความว่าการนึกถึงพระพุทธเจ้าองค์เดียวโดยเฉพาะ อย่างที่บรรดาท่านพุทธบริษัทเจริญกรรมฐานอันนี้ได้กำไรมาก อย่างภาวนาว่า พุทโธ บ้าง สัมมาอรหัง บ้าง อิติสุคโต บ้าง อะไรก็ตาม หรือ นะมะ พะธะ บ้างก็ช่างเถอะ ทุกอย่าง การภาวนาทุกอย่างก่อนที่เราจะภาวนาเรานึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน ทุกอย่างต้องถือว่าเป็นพุทธานุสสติ ทีนี้ยังเอิญเรามีครูผู้สอนเป็นพระสงฆ์ เราก็นึกถึงพระสงฆ์องค์นั้นด้วยเป็นสังฆานุสสติ คำภาวนาเป็นธัมมานุสสติ โอ้..ได้ตั้ง ๓ อย่าง ใช่ไหม ทีนี้การปฏิบัติกรรมฐานทำไมพระพุทธเจ้าจึงแนะนำให้ปฏิบัติสมาธิกันเป็นปกติ คำตอบคือ ก็เพื่อให้จิตมันมีอารมณ์ชิน ชินในด้านของความดี คือการนึกถึงพระพุทธเจ้าก็ดี นึกถึงพระธรรมก็ดี นึกถึงพระอริยสงฆ์ก็ดี เป็นความดีของจิต ทุกคนยังมีบาป พระอรหันต์ที่นิพพานไปแล้วทุกองค์บาปยังเหลือตั้งเยอะแยะ ยังไม่มีพระอรหันต์องค์ไหนหมดบาปถ้าท่านไปนิพพานได้ ทีนี้ถ้าพวกเราปฏิบัติภาวนาจนชิน ถ้าได้เวลาต้องภาวนา หรือยามว่างมันก็ภาวนาขึ้นมาเองจนชิน คำว่า ชินก็คือฌาน ฌานก็คือชิน อารมณ์ชินเรียกว่าฌาน นี่เป็ฯการทรงตัว ถ้าเราทำอย่างนี้แล้วและบังเอิญนะ บางท่านอาจจะคิดว่ามีปัญญามากขึ้น มีบารมีเป็นปรมัตถบารมี จิตมีความรู้สึกบางครั้งบางวันว่าโลกนี้มันเต็มไปด้วยความทุกข์จนกว่าจะหลับ หลับแล้วบางทียังทุกข์ต่อไปอีกเพราะฝันไม่ดี ใช่ไหม จิตคิดว่า “ถ้าตายคราวนี้ก็ไม่อยากจะเกิดต่อไปอีก ไม่อยากจะเป็นเทวดา ไม่อยากเป็นพรหม แต่อยากจะไปนิพพาน” ถ้าบางครั้งคิดนะ (เอาแค่บางครั้ง) คิดบ้างไม่คิดบ้าง แต่ว่าภาวนาเป็นปกติ คำว่าภาวนาก็ดีบ้างไม่ดีบ้าง บางวันเราก็ตำหนิตัวเราว่าภาวนาจิตใจไม่ดีไม่สงบ บางวันเราก็นิยมว่าสงบ อันนี้ไม่สำคัญ แต่การกระทำอย่างนี้มันเป็นอารมณ์ชิน ถ้าญาติโยมพุทธบริษัทถ้าเคยตายมาก่อนละก็อาจจะรู้สึกว่ารู้เรื่อง ทีนี้ทุกคนเคยลองตายบ้างไหม ฉันลองตายมาหลายครั้งนะ ไม่ได้ลองตายนะมันตายเอง แต่ว่าเขาไล่กลับ และการภาวนาว่า พุทโธ นี่แม่สอนมาตั้งแต่เด็ก แม่สอนให้ภาวนาว่าพุทโธตั้งแต่เด็ก ก่อนจะหลับให้ว่าพุทโธดังๆ ให้ท่านได้ยิน ๓ ครั้ง (พุทโธๆๆ) เท่านี้ก็พอแล้ว แต่ก่อนจะนอนต้องกราบพระก่อน แต่เราก็กราบส่งเดชอย่างเด็กใช่ไหใ แล้วก็ว่าพุทโธส่งเดชอย่างเด็ก แล้วต่อมาเมื่อโตขึ้นมาหน่อยมันกลัวผี แม่ก็เลยบอกว่า “ถ้าภาวนาพุทโธนี่ผีไม่หลอก ผีกลัวพุทโธ” ตอนนี้เลยขยันหน่อย ถ้าผู้ใหญ่อยู่ด้วยไม่ภาวนา ผู้ใหญ่ใช้เข้าห้องเนี่ย (กลางวันนะ) เข้าห้องน่ะเข้าได้ ขาออกต้องถอยหลังออกเพราะกลัวผีจับหลัง นี่ขนาดนี้นะ เราต้องภาวนาเป็นปกติ คือต้องภาวนาพุทโธ นี่เล่าประวัติให้ฟัง ความจริงเรื่องนี้มันราคาแพงนะ ในกาลต่อมาไม่ใช้ ไม่นานนักอายุประมาณ ๑๒ ปี เขาเป็น อหิวาตกโรค กัน ท้องมันถ่าย ๓ ครั้งลุกไม่ขึ้นหมดแรง แม่ก็บอกว่า “ให้ภาวนาพุทโธไว้ พุทโธจะช่วยให้ลูกหายจากโรค” ท่านเอาพระพุทธรูปมาตั้งให้ดูนะ (ให้เห็น) พระพุทธรูปอย่างตั้งหัวนอน ให้ตั้งข้างๆ ให้มองเห็นถนัดๆ แล้วเอาตาจับพระพุทธรูป ท่านบอกว่า “ถ้าภาวนาพุทโธประเดี๋ยวพระจะช่วยให้หายจากโรค” เราก็เชื่อท่านนะ ก็มีภาวนาไป ภาวนาไปประเดี๋ยวเดียว พระก็กลายเป็นพระใหญ่ แต่ยังเป็นพระพุทธรูปนะ เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้นมา ใหญ่ขึ้นๆ หน้าตักประมาณสัก ๔ ศอก ประเดี๋ยวก็กลายเป็นพระคน ไม่ใช่พระเนื้อแล้วนะ มีฉัพพรรณรังสี เห็นท่านยิ้ม ประเดี๋ยวเดียวมีความรู้สึกว่าตัวเองไปยืนอยู่ข้างนอก และมองดูตัวเก่า และคนทุกคนที่มานั่งที่นั้นเขามองดูที่ตัวเก่า แต่ตัวเก่าไม่หายใจแล้วนะ ทีนี้เราก็ไปถามคนนั้นถามคนนี้ เรียกใครๆ ก็ตามไม่มีใครเขาสนใจ ตามปกติแม่ท่านดุ ถ้าอยู่ข้างล่างจะขึ้นข้างบนต้องขออนุญาตก่อน ไม่งั้นจะถูกตี วันนั้นก็ไปถามใคร ก็ไม่มีใครเขาพูด คือจะไปขออนุญาตท่านว่าจะออกไปยืนหลังบ้านก็ไม่มีใครเขาพูดด้วย แต่ไอ้รูปร่างหน้าตานี่มันไม่เหมือนเดิม มองตัวเนื้อเห็นเป็นสีทองคำ แต่ความจริงมันเป็นแก้วนะ เครื่องประดับแพรวพราวหมด แต่เครื่องประดับมันเป็นทองคำ พอแสงทองคำออกก็ทับสีแก้วกลายเป็นสีทองคำ และตัวมันเบาทุกอย่าง ก็เลยไปยืนหลังบ้าน เห็นคนประมาณสัก ๒๐๐ คนเดินผ่านมา พอเดินใกล้เข้ามามีคน ๔ คนนำคุมมา ก็ไปถามคนข้างหน้าว่า “ลุงจะไปไหนครับ?” ตัวเขาใหญ่มากนะ คนที่เดินตามหัวแค่เอง ท่านก็เปิดบัญชีบอกว่า “ไอ้หนู ชื่อเอ็งไม่มีในบัญชีไปไม่ได้” เรานึกว่าตานี่น่ากลัวจะบ้า เราถามว่าไปไหน เสือกบอกว่าไม่มีในบัญชี พอเจอลุงคนกลางอีก ก็บอกแบบนั้นอีก อีตาลุงคนหลังดึงเข้าบ้าน พอดึงเข้ามาหน่อยแกก็ปล่อยมือ ก็คิดในใจว่า “เขาไปไหนเราต้องรู้” เลยตามไปห่างๆ พอไปถึงภูเขา พอขึ้นเขาลงเขา มีเขาเล็กเขาใหญ่ เข้าป่ารก และต่อมาเขายาวเหยียด ขึ้นไปยอดเขานะ เจาไปยืนข้างบน แล้วกางบัญชี แล้วนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า ครบสองร้อยเศษ พอบอกครบ เราโผล่หัวพอดี เขาบอก “ไอ้หนูมาทำไม” ผมถามลุงแล้วว่า “ลุงไปไหน ลุงไม่ตอบผมนี่” เขาถามว่า “เอ็งต้องการมาทำไม” บอก “อยากจะรู้ว่าลุงไปไหนผมต้องรู้ ไม่รู้ไม่ได้ คนอย่างผม” ก็เลยชี้ให้ดูว่า โน่นดูซิมีคนยืนเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ ๑๐๐ คนนะ แต่ละกลุ่มก็มีตัวใหญ่ๆ ใหญ่สูงมาก ถือง้ามบ้างถือหอกบ้าง คุมกลุ่มละคน บอกว่านั่นเป็นแดนของพระยายม แล้วชี้ไปด้านตะวันออก มีแดงไกลมาก บอกนั่นนรก (แต่ที่อยู่ของพระยายมกับนรกนี่ไกลกันมาก) พวกนี้เคยทำความชั่วมาก่อน เขาถูกลงโทษมาแล้ว เขาปล่อยให้มาแต่กลับมาทำความชั่วใหม่ แล้วกลับมาถูกลงโทษใหม่ (ก็เป็นอันว่าวันนี้ขอจบแค่นี้มันหมดเวลาประเดี๋ยวจะเลยเวลาไป) ก็เป็นอันว่าท่านก็เลยสั่งว่า “นับตั้งแต่นี้เป็นต้นไปนะ ถ้าเอ็งต้องการรู้อะไร ให้มาที่นี่ และให้นึกถึงลุง ลุงจะให้รู้ทุกอย่าง” ก็เป็นความจริงตายนั้น นี่เห็นไหมล่ะ พุทโธเล็กๆ เห็นไหม ต่อมาก็อยากจะรู้ก็ไปทุกวัน ไปวันแรกพอไปถึงปั๊บ นึกถึงลุง ลุงก็มาทันที ท่านแต่งตัวเหมือนพรหม บอกท่านบอก “ผมอยากดูนรกขุมที่ ๑ ครับ” ท่านก็บันดาลให้ นรกขุมที่ ๑ เลื่อนเข้ามาอยู่ข้างหน้าเรา เห็นชัดทุกอย่าง อยากดูอะไรก็เห็นหมด แต่ว่าท่านบันดาลให้เห็นนะ ไม่อนุญาตให้ไป แต่ความจริงมาตอนหลัง พอมาพบหลวงพ่อปาน แล้วท่านบอกว่า “ถ้าเรามีกำลังใจเข้มแข็งก็สามารถไปได้” แต่เวลานั้นไม่ได้มีครูนี่ แม่สอนคำว่าพุทโธเฉยๆ ใช่ไหม ก็รวมความว่า รู้จักนรกสวรรค์มาตั้งแต่อายุ ๑๒ ปี แต่จะรู้ได้ต้องไปดูเขายอดนั้น ถามว่า “ไปได้อย่างไรต้องเข้าฌานไหม?” ไอ้เข้าฌานหรือไม่เข้าฌานนี่ไม่รู้เรื่อง นึกว่าจะไปมันถึงเลย (นี่พุทโธนะ) ก็รวมความว่า ต่อนี้ไปขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ตั้งใจนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์นะ ท่านจะภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ อย่างไรก็ตาม ไม่สำคัญ คำภาวนานี่ไม่จำกัดกัน แต่ว่าก่อนที่จะภาวนาให้นึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน ถ้านึกถึงพระพุทธเจ้าก่อนเวลาจะตาย บาปทั้งหมดจะเข้าถึงเราไม่ได้ บุญจะเข้ามาก่อนด้วยบารมีของพระพุทธเจ้า เพียงเท่านี้อย่างน้อยบรรดาท่านพุทธบริษัทถ้าตายเวลานั้น อย่างน้อยก็ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงสในสเทวโลก ถ้าคนที่นึกถึงนิพพานไว้ก่อน ถ้าเวลายามป่วย ถ้านึกถึงพุทโธไว้ตามเดิม คิดว่าจะไปนิพพาน จิตมันจะเฉยต่ออารมณ์ต่างๆ อันนี้จะเข้าเล่าให้วันพรุ่งนี้ดีกว่านะ เรื่องตายเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ นะ ต่อไปนี้ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายตั้งใจสมาทานศีลสมาทานกรรมฐาน สวัสดี.

ที่มา : นิตยสารธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๑๑ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
หน้า ๔๔-๕๓. ถอดเทปโดย ณัชชา , ถอดความโดย ศรีโคมคำ


20


ธัมมิกอุบาสก

โดย พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

( เทศนา ณ.วันพุธที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๒๔ )

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
 
“ ปุญญานิ ปรโลกัสมิง ปติฏฐา โหนติ ปาณินังติ ”

ณ โอกาสบัดนี้ อาตมภาพจะแสดงพระสัทธรรมเทศนาในปุญญาภิกถา เพื่อเป็นเครื่องโสรจสรงองคศรัทธาบารมี ที่บรรดาท่านนริศราทานบดีทั้งหลาย ได้พร้อมใจกันมาบำเพ็ญกุศลประจำปักษ์ คือ วันพระ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๒ วันนี้ ทั้งนี้ก็เพราะว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายมีความเลื่อมใสในสมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเหตุ จึงได้พากันมาบำเพ็ญกุศลในศาสนาขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ แต่ทว่าอานิสังสคุณบุญราศีในเรื่องการทำบุญประจำวันพระนี้ ก็ได้แสดงพระธรรมเทศนามาแล้วโดยลำดับ วันนี้อาตมภาพจะนำพระธรรมเทศนา ที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ สมัยที่พระองค์ทรงพระชนม์อยู่ ความมีอยู่ว่า ในสมัยนั้น องค์สมเด็จพระบรมครูเสด็จประทับอยู่ที่มหาวิหาร ที่ นางวิสาขา ถวาย มีนามว่า “พระคันธกุฎิ” ตอนนั้นองค์สมเด็จพระชินศรีบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารภ ธัมมิกอุบาสก เป็นเหตุ โดยฉะนั้นองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ได้แสดงพระธรรมเทศนาเป็นพุทธภาษิตว่า

“ปุญญานิ ปรโลกัสมิง ปติฏฐา โหนติ ปาณินัง”

ซึ่งแปลเป็นใจความว่า บุญกุศลย่อมเป็นเหตุให้ประชาชนมีความสุขต่อไปในภายภาคหน้า ความมีอยู่ว่าในสมัยนั้น องค์สมเด็จพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดบรรดาท่านพุทธบริษัท ให้เข้าถึงธรรม หมายความว่า ทำคนให้เข้าถึงธรรมะ คือมีใจประกอบไปด้วยธรรม มีการไม่ละเมิดศีล ๕ เป็นต้น และในชั้นสุดท้ายของบุคคลที่เข้าถึงอรหัตผลเป็นพระอริยเจ้าสูงสุดในพระพุทธศาสนา ในขณะที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่ในเวลานั้น ก็มีอุบาสกท่านหนึ่งตามพระบาลีชื่อ “ธัมมิกอุบาสก”คำว่า “ธัมมิกอุบาสก” แปลว่า อุบาสกผู้มีใจประกอบไปด้วยธรรม คือว่าทรงศีลบริสุทธิ์ มีการบริจาคทาน สดับพุทธพจน์เทศนาตัดสินใจตามกำลังที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ละสักกายทิฏฐิ ท่านบำเพ็ญกุศลอย่างนี้ตลอดมา ด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ด้วยปัญญาที่พิจารณาแล้ว จึงได้มีความเชื่อถือในสมเด็จพระประทีปแก้ว ต่อมาในวันหนึ่ง อาการไข้หนักขึ้นมา ท่านก็คิดว่าชีวิตนี้ มันจะทรงอยู่ได้หรือไม่ได้ ก็ไม่แน่ แต่ทว่าจะอยู่หรือจะตายก็ตามที ร่างกายมีทุกขเวทนาเบียดเบียนแบบนี้ ก็อยากจะฟังพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินศรีบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ว่าการจะนิมนต์พระพุทธเจ้ามาเทศน์ เป็นของยาก เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามีภาระมาก ฉะนั้น ธัมมิกอุบาสก จึงได้บอกกับบุตรภรรยาว่า “เธอทั้งหลาย เวลานี้พ่ออยากจะฟังพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตร แต่โอกาสนั้นคงไม่มี แต่กระไรก็ดี ขอลูกทั้งหลายจงไปนิมนต์พระสาวกขององค์สมเด็จพระชินศรี มาเจริญ พระปริตร คือการสวดมนต์” และการสวดมนต์เวลานั้น การสวดพระปริตร ที่เราเรียกว่า สวดมนต์เย็น สวดมนต์เช้า เป็นภาษาของชาวบ้านนั้น ว่าไปแล้วชาวบ้านรู้เรื่องทุกตอน ทุกบท บรรดาลูกทั้งหลายก็ไปอาราธนาบรรดาสาวกขององค์สมเด็จพระจอมไตรมาจำนวนหนึ่ง พระที่ส่งมานั้น พระบาลีก็ไม่ได้บอกว่ามีพระมากี่องค์ แต่ว่ามี พระอานนท์ มาเป็นหัวหน้า ในขณะที่พระมาแล้ว บรรดาลูกหลายทั้งหลายก็แจ้งแก่พ่อว่า “เวลานี้พระมาแล้วคุณพ่อ” แต่ว่าท่านป่วยหนัก หูก็ไม่ค่อยจะดีนัก แต่ว่าใจของท่านดี จับภาพพระรูปพระโฉมขององค์สมเด็จพระชินศรีไว้เป็นปกติ มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ และจิตใจก็ทำตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมความว่า ท่านป่วย จิตครุ่นคิดอยู่ใน พุทธานุสสติกรรมฐาน ธัมมานุสสติกรรมฐาน สังฆานุสสติกรรมฐาน การนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน การนึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินวรเป็น ธัมมานุสสติกรรมฐาน การนึกถึงพระสงฆ์ที่มีความเลื่อมใสเป็น สัมฆานุสสติกรรมฐาน ในเมื่อจิตตั้งอยู่ในแบบนี้ ก็แสดงว่าจิตมีความผ่องใสเป็นทิพย์ เมื่อบรรดาลูกหลานบอกว่าพระมาแล้ว ท่านก็ตั้งใจยกมือนมัสการทั้งๆ ที่นอนอยู่ หลังจากนั้น บรรดาสาวกขององค์สมเด็จพระบรมครู ซึ่งมี พระอานนท์ เป็นหัวหน้าก็เริ่มสวดพระปริตร ที่เราเรียกกันว่า “สวดมนต์” พระอานนท์ ก็ขึ้นต้นด้วย



“นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ”

อันดับแรกแปลเป็นใจความว่า ข้าพเจ้าขอนอบน้อม คือนมัสการแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ พระองค์นั้น
พอพระขึ้นนะโมไม่ทันจะจบ ก็ปรากฏว่าจิตใจของท่านกลายเป็นทิพย์ เวลานี้กลับเห็นเทวดากับสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น นำรถทิพย์มาลอยอยู่ในอากาศ เทวดาแต่ละกลุ่มมีเทวดา ชั้นจาตุมหาราช เธอบอกว่า “บรรดาข้าพเจ้าเป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราชนำรถทิพย์มารับท่าน ขอเชิญท่านจงไปอยู่ในชั้นจาตุมหาราช ไปขึ้นรถกับเรา” ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ก็กล่าวเช่นเดียวกัน เทวดาทั้ง ๖ ชั้น เทวดาทั้ง ๖ กลุ่ม ต่างก็ชักชวน ท่านธัมมิกอุบาสก ให้ไปอยู่ด้วยกัน เสียงของเทวดาก็เซ็งแซ่ ปรากฏว่าไม่ได้ยินเสียงพระสวด ใจของท่านเองก็ตั้งใจจะฟังพระสวดมนต์ แต่ว่าเทวดาเห็นว่าท่านมีจิตเป็นกุศล ต่างคนก็ต่างชวน เสียงเทวดามากกว่าเสียงพระ เลยไม่ได้ยินเสียงพระ ท่านก็โบกมือให้เทวดาหยุดก่อน โบกมือว่าหยุดก่อน เมื่อพระได้ยินเสียงของ ท่านธัมมิกอุบาสก โบกมือห้ามบอกให้หยุดก่อนๆ แต่ว่าบรรดาพระที่ไปทั้งหมดนั้นไม่มีใครได้ ทิพพจักขุญาณ เลย ความจริงหัวหน้าที่ไปคือ พระอานนท์ ก็เป็นพระโสดาบัน ในตอนนั้น พระอานนท์ ยังไม่ได้ ปฏิสัมภิทาญาณ มาได้ ปฏิสัมภิทาญาณ ตอนหลัง ความจริงพระที่ได้ ปฏิสัมภิทาญาณ หรือว่าคนที่ได้ ปฏิสัมภิทาญาณ ต้องไม่เคยได้ในส่วนของ วิชชาสาม คือ ทิพพจักขุญาณ หรือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ มาก่อน หรือว่าไม่เคยได้ อภิญญาห้า ในส่วนของ อภิญญาหก มาก่อน ในขั้นฌานโลกีย์ จะต้องปฏิบัติตนให้ถึง สมาบัติ ๘ และก็เอา สมาบัติ ๘ เป็นพื้นฐานแห่งการเจริญวิปัสสนาญาณ ถ้าจิตใจของท่านผู้นั้นเข้าถึงพระอนาคามีจะได้ ปฏิสัมภิทาญาณ เมื่อนั้น ทีนี้การเห็นผี เห็นเทวดา เห็นนรก เห็นสวรรค์ พระประเภทนี้จึงไม่เห็น จะต้องไปเห็นได้ต่อเมื่อถึงพระอนาคามี แต่ว่าท่านที่ได้ สมาบัติ ๘ มาก่อนนี้ ก็ไม่มีใครไปพักแค่พระอนาคามี เมื่อจับวิปัสสนาญาณตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินศรี ไม่เกิด ๑๐ วันก็ได้อรหัตผลพร้อม ปฏิสัมภิทาญาณ ฉะนั้น พระที่ไปวันนั้น ถึงแม้ พระอานนต์ จะเป็นหัวหน้า จะเป็นพระโสดาบัน แต่ท่านก็ไม่ได้เจริญขั้นพื้นฐานคือขั้นต้น คือ วิชชาสาม อภิญญาหก มาก่อน จึงไม่มีโอกาสจะเห็นเทวดาที่มาร้องเซ็งแซ่เรียก ธัมมิกอุบาสก เมื่อท่านเห็น ธัมมิกอุบาสก โบกมือไปมา บอกว่าหยุดก่อนๆ ท่านก็พากันเข้าใจว่า เวลานี้ ธัมมิกอุบากสก แกไม่สบาย ฟังเสียงพระสวดเวลานั้นคล้ายกับว่าจะเป็นการรำคาญใจ ธัมมิกอุบาสก จึงให้หยุดก่อน ฉะนั้น บรรดาพระสงฆ์ทั้งหมดจึงได้หยุดสวด เมื่อหยุดสวดแล้ว ธัมมิกอุบาสก ก็ยังโบกมือว่าหยุดก่อนๆ อยู่นั่น พระทั้งหลายทั้งหมดที่มี พระอานนท์ เป็นหัวหน้า ก็มีความเข้าใจว่า บางที ธัมมิกอุบาสก ยังไม่ต้องการฟังพระปริตร และอีกประการหนึ่ง เห็นว่าคนไม่ต้องการฟัง ความปรารถนาไม่มีอย่างนี้ ก็ควรจะกลับ ก็พากันลาลูกลาหลานของ ธัมมิกอุบาสก กลับ กว่าเสียงเทวดาจะจบ กว่าเสียงเทวดาจะเงียบก็ใช้เวลานาน เมื่อเทวดาเงียบลงจากการชักชวนแล้ว ก็ตั้งใจจะฟังพระปริตร แต่ว่าได้ยินเสียงพระเงียบไปเสียแล้ว จึงได้ลืมตาขึ้นมาดู ไม่พบสาวกขององค์สมเด็จพระบรมครู พระไม่มีสักองค์ ท่านจึงถามลูกถามหลานว่า “บรรดาพระไปไหน พ่อตั้งใจจะฟังพระปริตร” บรรดาลูกหลายเมื่อเห็นท่านโบกมือโบกไม้ แสดงว่าหยุดก่อน หยุดก่อน อย่างนั้นก็พากันเสียใจ คิดว่าบิดาของเรานี้ไซร้ เดิมเป็นคนดี มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีความเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันต์ก็ดี เข้ามาในเขตเมืองพาราณสีนี้ พ่อเราไม่เคยขาดจากการฟังเทศน์สักวัน แต่ว่าความป่วยไข้ไม่สบายตอนนี้นั้น เป็นปัจจัยให้สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ เพ้อคลั่ง จึงได้พากันเสียใจ ร้องไห้ พอได้ยินพ่อว่าพระไปไหน ต้องการฟังธรรม เธอก็บอกตามความจริงว่า “เมื่อพระเริ่มสวด พ่อก็โบกมือ ขอจงหยุดก่อนๆ เพราะสาวกขององค์สมเด็จพระชินวร ถ้าจะแสดงธรรมที่ไหน ต้องอาศัยกำลังใจของท่านผู้ฟัง มีความเชื่อ มีความเลื่อมใส จึงจะเทศน์ หรือจึงจะสวด ในเมื่อพระเริ่มสวด พ่อบอกให้หยุด พระท่านก็กลับ ท่านหยุดแล้วท่านก็กลับ” ธัมมิกอุบาสก ท่านจึงบอกว่า “ที่พ่อโบกมือให้หยุด พ่อไม่ได้ห้ามพระ ความจริงพ่อตั้งใจจะฟังพระสวด เพราะว่าเป็นธรรมที่พ่อมีความต้องการ แต่ว่าที่โบกมือ แล้วบอกหยุดก่อนนั้น หยุดก่อนนั้น ความจริงพ่อห้ามเทวดา เพราะว่าเวลานี้เทวดาทั้ง ๖ ชั้น มีจาตุมหาราช เป็นต้น เทวดาแต่ละชั้นนำรถทิพย์มาหาพ่อ มาลอยอยู่ข้างบนอากาศใกล้ๆ แล้วต่างคนต่างก็ชวนพ่อว่า

ฉันเป็นเทวดา ชั้นจาตุมหาราช
ฉันเป็นเทวดา ชั้นดาวดึงส์
ฉันเป็นเทวดา ชั้นยามา
ฉันเป็นเทวดา ชั้นดุสิต
ฉันเป็นเทวดา ชั้นนิมมานรดี
ฉันเป็นเทวดา ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี

และก็ชักชวนพ่อว่าจงไปอยู่กับเขาตามชั้นนั้น พร้อมชวนให้ขึ้นรถ เมื่อเสียงเทวดาดังกลบไปหมดอย่างนี้ พ่อไม่ได้ยินเสียงพระสวดจึงได้โบกมือขอร้องให้เทวดาหยุดพูดเสียก่อน เพื่อจะฟังเสียงพระสวด แต่ว่ากว่าเทวดาจะหยุดก็ใช้เวลานาน ก็เทวดาหยุดพูดเวลานี้ ตั้งใจจะฟังพระสงฆ์ซึ่งเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระพิชิตมารมาสวด แต่พระก็ไม่มีเสียแล้ว”



บรรดาลูกทั้งหลายก็เข้าใจว่าพ่อเพ้อ ไม่ขอเชื่อคำพูดของพ่อ ท่านพ่อจึงได้บอกว่า “ถ้าอย่างนั้น ขอลูกจงนำพวงมาลัยให้พ่อหนึ่งพวง พ่อจะโยนขึ้นไปคล้องรถทิพย์ที่ลอยอยู่ในอากาศใกล้ๆ” บรรดาลูกทั้งหลายก็นำพวงมาลัยดอกไม้สด มาหนึ่งพวง ท่านพ่อก็ถามว่า บรรดาเทวดาทั้ง ๖ ชั้น คือ

(๑)   ชั้นจาตุมหาราช
(๒)   ชั้นดาวดึงส์
(๓)   ชั้นยามา
(๔)   ชั้นดุสิต
(๕)   ชั้นนิมมานรดี
(๖)   ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี

ถามลูกว่าชั้นไหนดีที่สุด ที่ควรจะอยู่ บรรดาลูกที่เคยฟังเทศน์ของพระบรมสุคตเขารู้ภาษาว่า ดุสิตแปลว่าอะไร ดุสิต แปลว่า ยิ้มแย้มแจ่มใส มีแต่กำลังใจกำลังกาย มีความสุข เป็นชั้นที่มีความสุขที่สุด ในบรรดาสวรรค์ ๖ ชั้น ฉะนั้น บรรดาลูกหลายทั้งหลายจึงกล่าวว่า “ถ้าพ่อจะให้พวงมาลัยขึ้นไปแขวนที่งอนรถ ขอให้แขวนที่งอนรถของ ชั้นดุสิต” ท่านธัมมิกอุบาสก ก็โยนพวงมาลัยขึ้นไปคล้องอยู่ที่งอนรถของเทวดา ชั้นดุสิต แต่ว่าบรรดาลูก บรรดาหลานก็ไม่เห็นรถแล้วก็ไม่เห็นเทวดา แต่ก็เห็นแต่เพียงว่าพวงมาลัยลอยในอากาศเฉยๆ ไม่เคลื่อนไหวไปไหน ท่านจึงกล่าวว่า “บรรดาลูกรักทั้งหลาย พวงมาลัยที่คล้องอยู่นั้น เป็นพวงมาลัยที่คล้องในงอนรถของเทวดา ชั้นดุสิต” ลูกหลานทุกคนต่างก็มีความเลื่อมใสดีใจว่าพ่อเห็นเทวดา แต่ว่าภายในไม่ช้า บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยทั่วหน้า ท่านธัมมิกอุบาสก ถ้าจะใช้ภาษาไทย ก็เรียกว่า “ตาย” ใช้ภาษาบาลีก็เรียกว่า “กาลัง กตวา” ไอ้ กาลัง กตวา ตามที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกนี่ ก็คือคำว่า “ตาย” ถ้าตายมีอีกศัพท์หนึ่งเรียกกว่า “มรณัง” แต่ว่าเวลาคนตายก็ดี สัตว์ตายก็ดี องค์สมเด็จพระชินศรีทรงเรียกว่า “กาลัง กตวา” คำว่า “กาลัง กตวา” แปลว่า ถึงกาละที่จะต้องไปแล้ว ก็ไม่ได้หมายถึงตาย แต่ก็หมายความว่า อทิสสมานกาย หรือที่เรียกว่าจิตใจของ ท่านธัมมิกอุบาสก ก็เคลื่อนออกจากกาย การเคลื่อนออกจากกาย ไม่ใช่เป็นดวง มันเป็นตัวเป็นตน มีร่างกายเป็นทิพย์ ก็ไปสถิตอยู่บนรถของ ชั้นดุสิต บรรดาเทวดาทั้งหลายก็พาท่านเข้าไปอยู่ยัง ชั้นดุสิต ที่มีความสุข

ที่นำพระธรรมเทศนาเรื่องนี้มาแสดงแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท ตามพระบาลีก็ไม่ได้บอกว่า ท่านธัมมิกอุบาสิกา บรรลุมรรคผลขั้นไหน แต่ว่าตามคำแนะนำขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา คือตรัสว่า คนที่จะเกิดเป็นเทวดาทั้ง ๖ ชั้นได้นั้น ต้องปฏิบัติตามนี้ คือ

(๑) ชั้นจาตุมหาราช ต้องเคยได้ฌานสมาบัติมาก่อน แต่ไม่ถึงฌาน ๔ เป็นฌาน ๑ ถึง ฌาน ๓ ในขณะที่ยังดีอยู่ แต่เมื่อเวลาจะตาย ใจเป็นกศล แต่จิตของตนเข้าไม่ถึงฌานสมาบัติ แทนที่จะไปเกิดเป็นพรหมก็ไปเกิดเป็นเทวดา ชั้นจาตุมหาราช นี่เป็นคุณสมบัติของเทวดาแต่ละชั้น
(๒) ชั้นดาวดึงส์ ชั้นนี้ ต้องทำบุญทำกุศลด้วยความจริงใจ เป็นการตัดชีวิต หมายความว่า ทำบุญในคราวนั้นไม่ห่วงชีวิต นี่บรรดาท่านพุทธบริษัทที่มีจิตเมตตา เห็นสัตว์เดินมา เห็นคนเดินมา หรือว่าเห็นพระเดินมา มีความหิวโหยต้องการอาหาร หรือว่าต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญ แต่เวลานั้นอาหารของเรามีจำกัด ถ้าเราจะกินเข้าไป มันก็พออิ่ม ถ้าจะเหลืออิ่มก็เล็กน้อย ซึ่งไม่พอต่อการอิ่มของอีกหนึ่งคน เมื่อจิตใจของเราเป็นกุศลประกอบไปด้วยเมตตา คิดว่าเขาหิวมา ถ้าไม่ช่วย ชีวิตก็อาจจะตาย หรือมีความลำบาก ก็แบ่งสรรปันส่วนให้ การให้ก็ไม่จำเป็นต้องให้หมด แต่ว่าที่เหลืออยู่กับตัวเอง มันก็ไม่ถึงกับอด แต่กินไม่อิ่ม การให้บุญแบบทำบุญแบบนี้ จึงมีสิทธิ์เกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก นี่อย่างหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง กรรมที่ทำให้เกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้แก่การถวายสังฆทานการถวายสังฆทานนี้ ทำให้เกิดเป็นเทวดาชั้นดาวดึงส์แน่ อย่างที่บรรดาท่านพุทธบริษัทนำอาหารมาถวายทานแก่พระสงฆ์วันนี้ก็ดี หรือใส่บาตรหน้าบ้านก็ดี อันนี้เรียกว่า "สังฆทาน"
สังฆทานนี้บุญขั้นต่ำที่สุดที่จะพึงได้ อานิสงส์ที่จะพึงได้ คือต้องเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หรืออีกนัยหนึ่งก็เป็นการสร้างวิหารทาน คือ สร้างที่อยู่ สร้างบ่อน้ำ สร้างสาธารณประโยชน์ สร้างสะพานข้ามคลอง สร้างศาลา และที่พักอาศัยระหว่างทาง อย่างนี้เป็นปัจจัยให้เกิดเป็นเทวดาบน สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
(๓) สำหรับ ชั้นยามา ที่เราจะไปเกิดเป็นเทวดาชั้นยามาได้ ก็ต้องมีเหตุผล ประการแรกคือ
๑) พอใจในการสวดมนต์อย่างยิ่ง ถ้าเวลาสวดมนต์บูชาพระ ไม่ได้สวดจริงๆ ใจมันไม่สบาย ต้องสวดให้ได้
๒) การเจริญพระกรรมฐานในตอนต้นนั้น จิตไม่เข้าถึงฌานสมาบัติ แต่ว่ากำลังใจเข้าถึงอุปจารฌาน คือ เฉียดฌาน เมื่อจะตายจากความเป็นคน ใจของเราน้อมไปในกุศลทั้ง ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่งคือ จิตคิดติดอยู่ในสวดมนต์ อยากแต่จะสวดมนต์ และพอใจทั้งเสียงสวดมนต์ หรือว่า เวลานั้นจิตตกอยู่ในอุปจารสมาธิ หรือ อุปจารฌาน ถ้าจิตของเราเวลานั้นเป็นอย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ตายจากความเป็นคนก็ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นยามา
(๔) สำหรับ ชั้นดุสิต นี่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่าจะไปอยู่ได้ด้วยกัน ๓ ประการ คือ
๑) พระพุทธบิดา พระพุทธมารดาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาติสุดท้าย จึงจะไปเกิดบนชั้นดุสิตได้
๒) หน่อพระบรมโพธิสัตว์ ที่บำเพ็ญบารมีมาถึงปรมัตถบารมี เมื่อตายจากความเป็นคนก็ไปอยู่บนชั้นดุสิต ได้
๓) บุคคลทั้งหลายจะเป็นพระก็ดี เณรก็ดี อุบาสก อุบาสิกาก็ดี เจริญพระกรรมฐานในศาสนาขององค์สมเด็จพระชินศรี ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปคือมีผลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปถึงพระอนาคามี จึงจะมีสิทธิ์อยู่ชั้นดุสิตได้
ฉะนั้น ท่านธัมมิกอุบาสก ถึงแม้พระบาลีจะไม่ได้บอกว่าท่านเป็นพระอริยเจ้า แต่ท่านต้องเข้าใจตามกฎของการอยู่ ชั้นดุสิต ว่าอย่างน้อยที่สุดท่านต้องเป็นพระโสดาบันเป็นอย่างต่ำ จึงมีสิทธิ์เข้าอยู่ชั้นดุสิตได้
(๕) ขอพูดเรื่องเทวดาอีก ๒ ชั้นต่อไป เมื่อพูดแล้ว เป็นอันว่า สมเด็จพระประทีปแก้วทรงกล่าวถึงคุณธรรมของเทวดาชั้นนิมมานรดี ซึ่งเป็นชั้นที่ ๕ เทวดาชั้นนี้ชอบเนรมิตของทุกสิ่งในการเนรมิตขึ้นมา เมื่อเทวดาชั้นที่ ๖ คือ ปรนิมิตวสวัตดี ต้องการอะไรก็ตามที เทวดาชั้นที่ ๕ เนรมิตให้ทุกอย่าง ท่านที่จะตายจากความเป็นคน ไปเกิดเป็นเทวดาชั้นนี้ได้ ในสมัยที่เป็นมนุษย์มีชีวิตอยู่ ก็มีความเลื่อมใสในสมเด็จพระบรมครูได้ ๕ ในอภิญญา ๖ เว้น อาสวักขยญาณ และก็ชอบเล่นชอบเนรมิตของต่างๆ จุกจิกๆ เล่นอย่างโน้น เล่นอย่างนี้ ด้วยอำนาจของอภิญญาสมาบัติ ชอบเนรมิตเล่นตามความพอใจ เกิดความสบายในจิต ท่านผู้ที่มีจิตเข้าถึงฌาน ๔ จึงได้อภิญญา แต่ทว่าเวลาที่ท่านจะตาย ท่านไม่ได้เข้าฌานตาย จิตเข้าถึงกำลังของฌานเป็นอันว่าจิตของท่านนี้นั้น น้อมไปในกุศล ตายจากความเป็นคนจึงได้เกิดเป็นเทวดาชั้นที่ ๕ เรียกว่า "นิมมานรดี"
(๖) สำหรับเทวดาชั้นที่ ๖ นี้ เป็นผู้ที่ได้ฌานสมาบัติชั้นสูง คือ สมาบัติ ๔ แต่ทว่าเวลาตายนี่ ท่านเองไม่ได้เข้าฌานตายจึงไม่เป็นพรหม ต้องไปเกิดเป็นเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี



รวมความว่าเทวดา ๓ ชั้น ที่พ้นจากความเป็นเทวดาแล้วไปเป็นพรหมเลยก็คือ
(๑) ชั้นจาตุมหาราช
(๒) ชั้นนิมมานรดี
(๓) ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี

ทั้ง๓ ชั้นนี้ เพราะอาศัยมีฌานเป็นพื้นฐาน ถ้าเป็นเทวดาเมื่อไร ฌานเขาก็ตัดเป็นกำลังใจตามเดิม แต่ว่ายังเป็นพรหมไม่ได้ เพราะเวลาตายไม่ได้เข้าฌานตาย เมื่อหมดเวลาการที่อยู่บนสวรรค์เมื่อใด ท่านทั้ง ๓ ชั้นไปเป็นพรหมทันที

   เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยทั่วหน้า โดยจริยาของ ท่านธัมมิกอุบากสก เปรียบถึงว่าการบำเพ็ญกุศลในพระพุทธศาสนา ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยทั่วหน้า มีความพอใจในกุศล พยายามรักษากำลังใจของเราอยู่ในกุศลเป็นปกติ คือ

   (๑) มีปกติคือการให้ทาน และการให้ทานนั้น ต้องไม่หวังผลตอบแทน เป็นการสงเคราะห์คิดว่า ถ้าเราให้เป็นการสงเคราะห์หรือเป็นการตัดโลภะความโลภ
   (๒) จิตใจมีความเคารพอยู่ในศีล คือว่าเราจะไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นละเมิดศีล และก็ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีล
   (๓) จิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทพอใจในธรรม เพราะว่าธรรมะคือความดี เช่น ตั้งใจเคารพในกฎขององค์สมเด็จพระชินศรี พระธรรม พระอริยสงฆ์ แต่ความจริงใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทตั้งตรงในเหตุ ๓ ประการนี้ เขาเรียกกันว่า “พระโสดาบัน” เมื่อตายจากความเป็นคนเมื่อไร ขึ้นชื่อว่าอบายภูมิทั้ง ๔ นี้นั้นไม่ต้องไป ถ้าจะไปก็ไปเช่นเดียวกับ ธัมมิกอุบาสก เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยทั่วหน้า แสดงพระธรรมเทศนามาเหลืออีก ๑ นาที ก็ครบเวลา ๓๐ นาทีพอดี อาตมภาพก็ขอยุติพระธรรมเทศนาลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้ ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนานี้ อาตมภาพขอตั้งสัตยาธิษฐาน อ้างคุณพระศรีรัตนตรัย มีพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ ทั้ง ๓ ประการ ขอจงอภิบาลบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ให้มีแต่ความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายจงบรรลุธรรมนั้น ในชาติปัจจุบันนี้เทอญ เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้ สวัสดี*

ที่มา : นิตยสารธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๑๐ ประจำเดือนมกราคม ๒๕๕๐
หน้า ๓๐-๓๗.  ถอดความโดย ศรีโคมคำ.

21


   อาจารย์หง่า แย่ไหมนี่ พระพุทธเจ้าห้อยหนักนะ ไม่ใช่ห้อยเบานะ ความจริง แหม..นี่ทุกคนพอแล้วไม่ต้องไปทำอะไร รักษา กรรมบถ ๑๐ ประการ แล้วไปนิพพานได้สบาย ความโลภเป็นรากเหง้าของอกุศลตัวแรก
ที่เราสร้างความดีกันทั้งหมดนี่ พระพุทธเจ้าต้องการให้ตัดอกุศล รากเหง้าหรือโคตรเหง้าของอกุศล โคตรแล้วก็เหง้าด้วยนะ โคตรของอกุศลแล้วก็เหง้าของอกุศล ๓ ประการเท่านั้นคือ

(๑) ถอนความโลภให้ออกไปจากจิต
(๒) ถอนความโกรธ ความพยาบาทออกไปจากจิต
(๓) ถอนโมหะ ความหลงออกไปจากจิต

ใน กรรมบท ๑๐ ประการ นี้ องค์สมเด็จพระธรรมสามิสรว่า ท่านทั้งหลาย จงอย่ามีอารมณ์เป็น อนภิชฌา อย่างเพ่งเล็งทรัพย์สินทั้งหลายของบุคคลอื่น โดยอยากได้ทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาเป็นของตน นี่ตัดความโลภยกยอดกันไปเลย

ข้อที่ ๙ ท่านบอก อพยาบาท ตัดความโกรธ ความพยาบาท ไหนๆ เทศน์แล้วก็ตะบันมันไป มันหมดเวลาแล้ว ก็เทศน์ให้มันเลยเวลาไป เอาให้หมด

ข้อที่ ๑๐ ท่านบอก สัมมาทิฏฐิ มองไปมองมา โอ้โฮ! นี่พระพุทธเจ้าเล่นง่ายๆ แบบนี้นี่ เขาถึงได้เป็นพระอรหันต์กันวันนั้นน่ะ วันที่ท่านเทศน์นั้น ฆราวาสก็ดี พระก็ดี เทวดาก็ดี พรหมก็ดี พอฟังจบเท่านั้น ปรากฏว่าบรรลุอรหันต์กันเป็นแถว ก็เป็นอันว่า ถ้าเราจะฟังกันง่ายๆ ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงเทศน์ กรรมบท ๑๐ เพื่อมนุษยธรรม คือ ความเป็นมนุษย์หมายถึง ใจเป็นมนุษย์ ไอ้เราก็คิดว่า ไอ้มนุษย์นี่ มานั่งตาเห็นมั่งไม่เห็นมั่ง อย่าง อาจารย์หง่า นี่น่ะ ฮึ! ใช่ไหม ที่ว่านี่แค่เป็นมนุษย์ แต่ความจริง มนุษย์นี่เขาแปลว่าใจสูง สูงอันดับแรก คือ สูงจากอบายภูมิ ไม่มีทางลงอบายภูมิแล้ว เป็นอันว่า คนปฏิบัติ กรรมบถ ๑๐ อย่างเบาๆ อย่างเลวที่สุดนี่ ไม่ลงอบายภูมิเพราะเป็นวิสัยของพระโสดาบัน เห็นไหม อย่าง อาจารย์หง่า นี่คงเป็นพระโสดาตะบันล่ะมั้ง เห็น มยัง ภันเต อยู่เรื่อยนี่ รับศีลมาทุกวันพระ ไม่เห็นมีสักที ทุกวันพระก็ศีลหายหมดทุกที มารับใหม่ทุกที อย่างนี้เขาเรียกโสดาตะบันใช่ไหม นี่อย่างเลวที่สุดเป็นพระโสดาบัน ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูด มุสาวาท ไม่พูดวาจาส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดวาจาทำลายอารมณ์ใจบุคคลอื่น คือวาจาเพ้อเจ้อ อันนี้เป็นจริยาของพระโสดาบันเขานะ แล้วก็มีอารมณ์ไม่อยากจะขโมยทรัพย์ของใคร ไม่อยากจะโกรธใคร ไม่อยากจะมีความเห็นผิด นี่เป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน ใช่ไหม อย่างง่ายๆ คือ อย่างต่ำที่สุด ท่านบอกเป็นมนุษย์อย่างดี อันนี้มาข้อที่ ๘, ๙, ๑๐ นี่ องค์สมเด็จพระชินศรี นี่โอ้โฮ! ล่อกันถนัด
อนภิชฌา ไม่เพ่งเล็งอยากจะได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นมาเป็นของตน แก้ไขยังไง แก้ไขอารมณ์ใจตรงนี้ ก็มีเมตตาความรักกรุณาความสงสาร ให้ทานเป็นปกติ อย่างที่ท่านทั้งหลาย มาถวายทานแก่บรรดาพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาวันนี้ เป็นการทำลาย อนภิชฌา ความโลภ ถ้าจิตคิดอย่างนี้อยู่เป็นปกติ แล้วไม่อยากจะได้ทรัพย์บุคคลอื่นเขามาเป็นของตนโดยไม่ชอบธรรม เป็นอันว่าท่านทั้งหลายทำลายความโลภได้หมด จัดว่าเป็นการตัดรากเหง้าอกุศลรากที่ ๑ ได้ ไอ้ที่เราจะต้องเกิดนี่มันอาศัยความเลว ๓  อย่างเท่านั้นมันทำให้เกิด คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง

มาข้อที่ ๙ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า อพยาบาท อย่าคิดทำร้ายเขา อย่าจองล้างจองผลาญเขา แต่ถ้าเรามี เมตตา กรุณา ทั้ง ๒ ประการ ไอ้ความโกรธ ความพยาบาทมันก็หมดไป ถ้าเรามี เมตตา กรุณา ทั้ง ๒ ประการแล้ว  ไอ้การที่จะเพ่งโทษอยากจะได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นมันก็หมดไป เป็นอันว่า กำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทที่ทรงคุณธรรมทั้ง ๒ ประการนี่ ทรงกรรมบถ ๑๐ ได้ดี
ข้อที่ ๑๐ องค์สมเด็จพระมหามุนีทรงบอกว่า สัมมาทิฏฐิ ยกยอดไปเลย นี่เป็นตัวนิพพาน เพราะอะไร สัมมาทิฏฐิ เรามีความเห็นตรง มีความเห็นถูก มีความเห็นชอบ ตรงตรงไหน ตรงที่บอกว่า

ชาติปิ ทุกขา ความเกิดมันเป็นทุกข์
ชราปิ ทุกขา ความแก่มันเป็นทุกข์
มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์
โสกปริเทวทุกขโทมนัส เป็นต้น ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ ความพลักพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์



ถูกไหม อาจารย์หง่า ปวดท้องขี้กับเขาหรือเปล่า หา..ถ้าไม่ทุกข์เดี๋ยวไปพังส้วมที่บ้าน เข้าใจไหม นี่ท่านบอกว่า สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรง ตรงแล้ว ทรงบอก เออ..นี่อย่าฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เราจะไปฆ่าเขาทำไม ไม่เป็นเรื่องนี่วะ ใช่ไหม จะไปลักจะไปขโมยเขาทำไม ของเราเราก็รัก จะไปยื้อแย่งความรักเขาทำไม จะพูดไม่ดีทำไม จะลักจะขโมยเขาทำไม จะโกรธทำไม จะพยาบาททำไม เพราะว่าทุกคนมันเกิดมาแล้วมันทุกข์ทั้งหมด ในเมื่อเขาทุกข์แล้วเราก็ไม่ต้องไปทำให้เขาทุกข์ ถ้าเราอยากจะฆ่าให้เขาตาย ไม่ต้องฆ่าหรอก ไม่ทำมันก็ตาย ทุกคนน่ะ เรานั่งแช่งมันซะก็ได้ เราเป็นคนวาจาศักดิ์สิทธิ์ว่า ไอ้คนและสัตว์ทั้งโลกนี้ที่เกิดมาในโลกนี้ มันจงตายให้หมดรวมเราด้วย ใช่ไหม อาจารย์หง่า เราแช่งเขาก็ตาย เราไม่แช่งเขาก็ตาย ไอ้แช่งน่ะมันแช่งส่งเดช มันไม่ศักดิ์สิทธิ์อะไร แต่ความจริงเขาต้องตายอยู่แล้วเราจะไปนั่งคิดฆ่าเขาทำไม เป็นอันว่า องค์สมด็จพระจอมไตรบรมศาสดาให้ถอนความรู้สึกเสีย ตั้งใจว่าการเกิดเป็นคนมันเป็นทุกข์ การเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมพักทุกข์นิดเดียวกลับมาเกิดใหม่ ฉะนั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงบอก เราหนีความเกิดเสียดีกว่า หนีความเกิดครั้งแรกมีอะไร มีเมตตากรุณาทั้ง ๒ ประการ เป็นสมุฏฐานพื้นฐานแรก เมื่อเมตตา กรุณา ทั้ง ๒ ประการมีแล้ว เราก็ตัดความโลภได้ เราก็ตัดความโกรธได้
ทีนี้มาตัดความหลง เราก็ใช้ปัญญานิดเดียวว่า การเกิดมันเป็นทุกข์ ทำไมเราจึงจะพ้นความเกิดได้ สิ่งที่เราจะพ้นความเกิดได้ก็คือ

(๑) ตัดความโลภเสีย ความโลภมันทำให้เกิด ไอ้การตัดความโลภ เราตัดด้วยการให้ทาน
(๒) เราตัดความโกรธเสีย ตัดความโกรธด้วยเมตตาและกรุณา
(๓) ตัดความหลง ปลงใจยอมรับนับถือกฎของธรรมดา คือกฎของความจริง ว่าความเกิดมีอยู่แล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมันเป็น อนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ ทั้งคนทั้งสัตว์และวัตถุเกิดมาแล้วใหม่ ต่อไปเวลาสิ้นไป มันก็เก่าไปทุกทีๆ ผลที่สุดมันก็สลายตัวหมด ถ้าเราไปยึดถือร่างกายของเราก็ดี ว่าเป็นเรา เป็นของเรา ยึดถือร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี ว่าเป็นเรา เป็นของเรา ยึดถือทรัพย์สมบัติทั้งหลายในโลกทั้งหมด ว่านั่นทรัพย์ของกู บ้านของกู เรือนของกู ความของกู เงินของกู ทองของกู ที่ดินของกู ก็แบบไอ้จู้ฮุกกูแบบนกเขาไฟน่ะ มันตายไปหลายตัวแล้ว ฮึ! อาจารย์หง่า

อย่างในมงคลสูตรท่านบอกว่านกเขาไฟนี่ ตะบันเทศน์มันไป เลยเวลาแล้วก็เลยไป ฮึ! นักเขาไฟจับอยู่บนต้นไม้ ต่างร้องจู้ฮุกกู ต้นก็ของกู กิ่งก็ของกู ใบก็ของกู ก้านก็ของกู ร้องไปร้องมาในที่สุดนกทั้งหลายเหล่านั้นตายหมด ไอ้ต้นไม้อยู่ตรงนั้นน่ะ ใช่ไหม ใครเป็นของกูล่ะเสร็จ เรานี่ก็เหมือนกัน มานั่งนึกว่าร่างกายนี่ก็ของกู บ้านก็ของกู เรือนก็ของกู ทองก็ของกู เงินก็ของกู ลูกของกู พ่อของกู แม่ของกู ผัวของกู ของกูหมด กูไปกูมา ไม่ช้ากูตายหมด ฮึ! ไอ้ของกูตาย ตัวกูก็ตาย มีอะไรเหลือ นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้คิดอย่างนี้ว่า โลกนี้เป็น อนิจจัง มันไม่เที่ยง ถ้ามันไม่เที่ยงเราไปนึกว่ามันเป็นเราเป็นของเรา ยึดถือมันทรงตัวอารมณ์มันก็เป็นทุกข์ ถ้าเรายอมรับนับถือกฎธรรมดาเสียอย่างเดียวว่าสภาวะของมันความจริงเป็นอย่างนี้ เกิดขึ้นในเบื้องต้น แล้วก็เสื่อมไปในท่ามกลาง สลายตัวไปในที่สุด ที่เราเกิดมาเป็นคนแบบนี้ต้องมีความทุกข์ ก็เพราะมีความหลงมีความเข้าใจผิด คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างนี่มันเป็นเรา เป็นของเราอยู่ตลอดเวลา แต่ความจริงทุกอย่างไม่มีอะไรเป็นของเรา ร่างกายนี้ก็เป็นเรือนร่างที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น ไม่ช้ามันก็พัง ถ้าเรายังยึดถือในมันอยู่ เราก็จะมีสภาพต้องเกิดแบบนี้ ต้องแก่แบบนี้ ต้องป่วยแบบนี้ ต้องเศร้าโศกเสียใจแบบนี้ ต้องตายแบบนี้ แล้วเราก็ตัดอารมณ์มันเสีย คือไม่ยึดถืออะไรๆ ทั้งหมด คิดไว้เสมอว่า ขึ้นชื่อว่าความเกิดมีขันธ์ ๕ อย่างนี้ ขึ้นชื่อว่าความเกิดมีบ้านมีเรือน มีคู่ครอง มีบุตร มีธิดา อย่างนี้ขึ้นชื่อว่าความเกิดเพื่อมาเกลือกกลั้วกับบุคคลผู้ประกอบไปด้วยอารมณ์ที่มีกิเลสแบบนี้ จะไม่มีที่สำหรับเราอีก ขันธ์ ๕ จะมีกับเราก็มีชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายเท่านั้น เราไม่ต้องการขันธ์ ๕ อีก แต่การที่เราไม่ต้องการขันธ์ ๕ อันดับแรก เราจะทรงใจไว้ในเมตตาความรัก กรุณาความสงสาร

 ประการต่อไป เราจะทำลายความโลภให้พินาศไปจากจิต โดยไม่คิดอยากจะได้ทรัพย์สินของบุคคลใดมาเป็นของตน เราจะหักล้างอารมณ์ที่เป็นอกุศลอย่างนี้ด้วยการให้ทานเป็นสำคัญ การให้ทานครั้งหนึ่ง ชื่อว่าเป็นการทำลายความโลภครั้งหนึ่ง เราจะทำลายความโกรธด้วยความเมตตาปรานี เมตตา ความรัก และกรุณา ความสงสาร เราจะทำลายความเห็นผิดอย่างที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงสอน โดยไม่ยึดถือร่างกายของเราว่าเป็นเรา เป็นของเรา ไม่ยึดถือร่างกายของบุคคลอื่นว่าเป็นเรา เป็นของเรา ไม่ยึดถือทรัพย์สมบัติทั้งหลายในโลกทั้งหมดว่าเป็นเรา เป็นของเรา เท่านี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านลง อริยสัจ ไว้เฉยๆ เทศน์ไปเทศน์มา ท่านก็ลง อริยสัจ
 เมื่อองค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ทรงเทศน์จบคราวนั้น บรรดาพระก็ดี บรรดาประชาชนก็ดี เทวดาและพรหมก็ดี พากันได้สำเร็จมรรคผลตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้นมากมาย แล้วอาตมาเทศน์วันนี้ไซร้ แหม..อยากจะทราบว่า แม้แต่เมตตาตัวเดียว มันจะเหลือติดใจใครบ้างหรือเปล่าก็ไม่รู้นะ ฮึ! อาจารย์หง่า ฮึ! องค์สมเด็จพระบรมครูท่านเทศน์ให้คนเป็นอรหันต์ แต่หลวงตาแก่เทศน์วันนี้น่ากลัวเทศน์แล้ว กรรมบถ ๑๐ จะพังไปไม่มีใครจำได้นะ เป็นอันว่า สำหรับการแสดงพระธรรมเทศนาในวันนี้ ว่ามากไปน้อ ความจริงถ้าเทศน์กันจริงๆ ไอ้ กรรมบถ ๑๐ ประการ นี่น่ะ เทศน์กันทุกวันๆ ละ ๑๒ ชั่วโมง จงถึง ๒๔ นาฬิกา ๓ เดือนมันก็ยังไม่จบ เมื่อเทศน์จริงๆ มันไม่จบ เราก็เทศน์หลอกๆ ซะกัณฑ์เดียวมันจบมันก็หมดเรื่องกัน

เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน การแสดงพระธรรมเทศนามาวันนี้เลยเวลาไปมาก ก็ขอยุติพระธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตามที่แสดงมาแล้วเพียงเท่านี้ ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนานี้ อาตมภาพขอตั้งสัตยาธิษฐาน ขออ้างคุณพระศรีรัตนตรัย มีพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ ทั้ง ๓ ประการ ขอจงอภิบาลบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ให้เป็นผู้ยึดมั่นถือมั่นทรงไว้ซึ่ง กรรมบถ ๑๐ ประการ และจงมีกำลังใจล้างผลาญโลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งเป็นรากเหง้าของอกุศล จงให้หมดไปจากจิตของตน ขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทุกท่านจงเป็นผู้เห็นธรรมตามที่พระพุทธเจ้าทรงเห็นแล้วในชาตินี้เถิด สวัสดี*

ที่มา : นิตยสารธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๑๒ ประจำเดือนมีนาคม ๒๕๕๐
หน้า ๓๓-๔๕.  ถอดความโดย ศรีโคมคำ.

22


กรรมบถ ๑๐

โดย พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

(เทศนา ณ. วันพุธที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๒๐ )
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)

“ ธัมโม หเว รักขติ ธัมมจาริง ติ ”

   ณ โอกาสบัดนี้ อาตมภาพจะแสดงพระสัทธรรมเทศนาใน กรรมบถทั้ง ๑๐ ประการ เพื่อเป็นเครื่องโสรจสรงองคศรัทธาบารมี ที่บรรดาท่านนริศราทานบดีทั้งหลายได้พร้อมใจกันมาบำเพ็ญกุศลประจำปักษ์ คือ วันพระแรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๐ ในวันนี้

   ทั้งนี้ก็เพราะว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ได้มี ศรัทธา ความเชื่อ ปสาทะ ความเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเหตุ จึงได้มาปฏิบัติความดีตามคำแนะนำขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่สำหรับวันนี้ อารัมภบททั้งหลาย อาตมาจะงดไว้ เพราะตั้งใจจะเทศน์ กรรมบถทั้ง ๑๐ ประการ ให้ครบถ้วน

   ความมีอยู่ว่า เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จประทับยับยั้ง สำราญอิริยาบถ ปรากฏว่าอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ในเวลานั้นองค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงปรารภพราหมณ์คนหนึ่งเป็นสำคัญ ว่าพราหมณ์นั้นได้ทูลถามองค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาว่า “ภันเต ภควา ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ธรรมใดที่บุคคลปฏิบัติแล้วไปให้เกิดในอบายภูมิก็ดี ไปเกิดในเทวโลกก็ดี ไปเกิดเป็นพรหมก็ดี ไปพระนิพพานก็ดี ข้อนี้องค์สมเด็จพระชินศรีบรมศาสดาตรัสแล้ว แต่ทว่าองค์สมเด็จพระประทีปแก้วยังไม่เคยตรัสธรรมที่ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ หรือว่าทรงความเป็นมนุษย์ไว้ได้” องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาจึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า “พราหมณะ ดูก่อนพราหมณ์ มนุสสธรรม หรือ ธรรมที่ทำให้บุคคลเกิดเป็นมนุษย์ นี้มี ๒ ประการด้วยกัน คือ

๑. สิกขาบท ๕ ประการ มี ปาณาติบาต เป็นต้น และมี สุราเมรัย เป็นปริโยสาน และอีกประการหนึ่งนั้น บุคคลที่จะเป็นมนุษย์สมบูรณ์ได้ก็ต้องอาศัย กรรมบถทั้ง ๑๐ ประการ เป็นสำคัญ เพราะว่าคำว่า “มนุษย์” นี้ แปลว่า เป็นผู้มีใจสูง คือมีอารมณ์ดี”
แล้วองค์สมเด็จพระชินศรีบรมศาสดาจึงได้นำมาซึ่ง กรรมบถ ๑๐ ประการ แสดงแก่พราหมณ์และบรรดาพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายโดยที่องค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสว่า “ ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดที่จะปฏิบัติตนเป็นมนุษย์ครบถ้วนบริบูรณ์ก็ดี หรือว่าจะสร้างกุศลบุญบารมีให้เกิดเป็นมนุษย์ต่อไป ต้องปฏิบัติด้วยเหตุ ๑๐ ประการนี้ คือ
(๑) ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หรือว่าประทุษร้ายสัตว์ทั้งหลายให้มีความลำบาก
(๒) อทินนาทานา เวรมณี จงเว้นการถือเอาของที่บุคคลอื่นไม่ให้ มาเป็นของตนโดยเจตนา
(๓) กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี จงเว้นจากการคบหาสมาคมกับบุตร ธิดา ภรรยาของบุคคลอื่น
(๔) มุสาวาทา เวรมณี จงเว้นจากการพูดเท็จ
(๕) ปิสุณาย วาจาย เวรมณี จงเว้นจากการพูดส่อเสียดยุยงส่งเสริมให้บุคคลทั้งหลายแตกร้าวกัน
(๖) ผรุสาย วาจาย เวรมณี จงเว้นจากการพูดคำหยาบให้เป็นคำสะเทือนใจของบุคคลอื่น
(๗) สัมผัปปลาปา เวรมณี จงเว้นจากการพูดวาจาเพ้อเจ้อ เหลวไหลไร้ประโยชน์
(๘) อนภิชฌา องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เห็นโทษของความโลภ ได้แก่ ไม่คิดเพ่งเล็งทรัพย์สินของบุคคลอื่นโดยอยากจะได้มาเป็นของตน
(๙) อพยาบาท จงเว้นจากความโกรธ ความพยาบาท นี่เป็นธรรมะ
(๑๐) สัมมาทิฏฐิ จงมีความเห็นถูก มีความเห็นตรง นี่เป็น ตัวปัญญา เป็นธรรมะ ”



เป็นอันว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พราหมณ์มีภิกษุทั้งหลายเป็นเบื้องหน้า ว่าคนทั้งหลายจะปฏิบัติตนเป็นมนุษย์ได้คือเกิดเป็นมนุษย์ต่อไปก็ดี หรือว่าการทรงชีวิตอยู่ จะอยู่ในฐานะมนุษย์ก็ดี จะต้องมีคุณธรรมทั้ง ๑๐ ประการนี้ครบถ้วน ถ้าบุคคลใดก็ตาม สมัยที่เกิดมาแล้วเป็นคน คำว่า “ คน ” นี้แปลว่า ยุ่ง ความจริงคนกับมนุษย์นี้มีอารมณ์ไม่เสมอกัน รูปร่างหน้าตาเหมือนกัน มีอาการ ๓๒ เหมือนกัน แต่ทว่าองค์สมเด็จพระภควันต์ทรงเรียกเป็น ๒ อย่าง คือ คน กับมนุษย์ คำว่า “ คน ” นี่แปลว่า ยุ่ง มีอารมณ์ยุ่งไปด้วยอาการที่เป็นอกุศลกรรมทั้งกาย วาจา และใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าใจยุ่งเสียอย่างเดียว วาจามันก็ยุ่ง กายมันก็ยุ่ง ถ้าหากว่าใจดีเสียอย่างเดียว กายมันก็ดี วาจาก็ดี ฉะนั้น องค์สมเด็จพระชินศรีบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ตรัสเป็นบาทคาถาว่า “ มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา ” แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จด้วยใจ รวมความว่า เมื่อใจเราคิดดี กายก็ทำดี วาจาก็พูดดี ถ้าใจคิดชั่ว วาจาก็พูดชั่ว กายก็ทำชั่ว รวมความว่า คนเรานี้จะดีหรือจะชั่วมันอยู่ที่อารมณ์ของใจเป็นสำคัญ เหตุฉะนั้น องค์สมเด็จพระพิชิตมารจึงทรงกล่าวว่า “ ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลใดที่เกิดมาแล้วในโลกนี้ ปรารถนาจะทำตัวเป็นมนุษย์ก็ดี หรือว่าเกิดไปชาติหน้าปรารถนาความเป็นมนุษย์ก็ดี คำว่า “ มนุษย์ ” หมายความถึงว่า คนดี ไม่ใช่คนเลว จงเว้นจากความชั่วทั้ง ๑๐ ประการนี้ คือ

(๑) ปาณาติปาตา เวรมณี จงมีอารมณ์คิดไว้เสมอว่า เราจะไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หรือทำอันตรายแก่ร่างกายของสัตว์และบุคคลทั้งหลายด้วยเจตนาร้าย ทั้งนี้ก็เว้นไว้แต่ว่าสิ่งนั้นทำไปโดยไม่มีเจตนา เช่น เดินไปไม่เห็นมด ไม่เห็นปลวก ตัวมันเล็กไปเหยียบมันเข้าตาย อย่างนี้ถือว่าไม่ขาดกรรมบถข้อนี้

(๒) องค์สมเด็จพระมหามุนีทรงกล่าวว่า จงเว้นจากการถือเอาของที่บุคคลอื่นไม่ให้มาเป็นของตน นี่มีความหมายว่า ทรัพย์สินใดๆ อันตนเองไม่มีสิทธิ์ที่จะพึงทำได้ หรือไม่มีสิทธิ์จะพึงยึดถือมาได้ คำว่า “ ทำได้” น่ะ หมายความว่า งานการบางอย่างสมัยนี้มีมาก ตามที่เขาประกาศกันว่า ที่โน่นก็จับยาปลอม ที่นี่ก็จับของปลอม อย่างนี้เป็นต้น จะไปนั่งนึกเอาแต่เพียงว่าทรัพย์สินของบุคคนอื่นใด ที่เขาวางไว้เราไม่ยึดถือแล้วก็ไม่เป็น อทินนาทาน ทีนี้ถ้าของสิ่งใดที่เจ้าของเขาทำไว้แล้ว เช่น ยา เขาทำยาไว้ขาย ทำวัตถุธาตุอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ขาย เราก็สร้างยี่ห้อปลอมเป็นยี่ห้อของเขาเป็นต้น อย่างนี้องค์สมเด็จพระทศพลก็ถือว่าเป็นอทินนาทาน เหมือนกัน
ฉะนั้น ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านพึงทราบว่า องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถทรงกล่าวว่า ถ้าเราจะเป็นมนุษย์กันจริงๆ อารมณ์ใจของเราจะไม่มีเจตนาตั้งใจจะลักขโมยของบุคคลอื่น จะคดโกงของบุคคลอื่น ไม่ตั้งใจจะปลอมสิ่งทั้งหลายที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่นที่เขาทำแล้ว

(๓) องค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงกล่าวว่า ถ้าท่านปรารถนาจะเป็นมนุษย์จริงๆ ก็ต้องเว้นจาก กาเมสุมิจฉาจาร คำว่า  “กาเมสุมิจฉาจาร” นี่ ยังมีคนเข้าใจยาก เข้าใจกันพลาด ถือว่าถ้าละเมิดไปร่วมรักในสามีและภรรยาของบุคคลอื่นเป็นสำคัญ อันนี้เป็น กาเมสุมิจฉาจาร สำหรับผู้ชายที่มีภรรยาอยู่แล้ว ถ้าผู้หญิงคนใดไปยุ่งกับผู้ชายคนนั้น ไปร่วมรักหรือยึดถือเอาเขามาเป็นสามี อย่างนี้องค์สมเด็จพระชินศรีทรงกล่าวว่า หญิงคนนั้นย่อมเป็นกาเม รวมทั้งผู้ชายด้วย แต่ว่าสำหรับผู้ชายที่ไปยุ่งกับสตรีใดที่กล่าวว่า เป็นภรรยาของบุคคลอื่นก็ดี เป็นลูก เป็นหลาน เป็นคนที่อยู่ในปกครองของบุคคลใดก็ดี ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ นี่ก็ถือว่าเป็นกาเมทั้งหมด ที่บรรดาประชาชนทั้งหลายมักจะเข้าใจผิดในคำสอนขององค์สมเด็จพระบรมสุคตในข้อนี้ ว่าย่อมต้องไปละเมิดเฉพาะภรรยาของบุคคลอื่นเท่านั้น ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น ท่านกล่าวไว้ในบาลีว่า สตรี ๒๐ จำพวก ลูกเขาก็ดี หลานเขาก็ดี เหลนเขาก็ดี ที่มีผู้ปกครอง หรือว่าบุคคลใดที่มีผู้บังคับบัญชาปกครองอยู่ ถือว่าเป็นผู้ปกครองควบคุมอยู่ ถ้าไปละเมิดประเภทนั้นเข้าเป็นโทษกาเมเหมือนกันหมด เพราะว่าเป็นการทำลายจิตใจของบุคคลผู้ปกครอง ฉะนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงให้ระมัดระวังเรื่องนี้เป็นสำคัญ ให้เว้นเสีย แต่อาการทุกอย่างนี้องค์สมเด็จพระทรงธรรมให้ถือใจเราเป็นเหตุ องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงปรารภว่า ถ้าเราเป็นผู้ปกครองบุคคลใดบุคคลหนึ่ง สตรีใดสตรีหนึ่ง ถ้าบุคคลอื่นเขามาทำอย่างนั้น เราจะมีความรู้สึกเป็นยังไง เราก็ไม่พอใจเป็นเหตุ เหตุฉะนั้น องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์จึงทรงกล่าวว่า “ ธรรมที่เรากล่าวนี้เป็นการรักษาน้ำใจคน ให้พยายามนึกถึงอารมณ์ของเราเป็นสำคัญ ”

ข้อที่ ๔ องค์สมเด็จพระภควันต์ทรงกล่าวว่า อย่า มุสาวาท คืออย่าพูดคำเท็จซึ่งไม่เป็นความจริง ความจริงวาจาที่เป็น มุสาวาท นี่ ต้องมีเจตนาทำลายประโยชน์เป็นสำคัญ ถ้าการกล่าววาจาที่ไม่ตรงความจริงนั้น เพื่อเป็นการรักษาประโยชน์ องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวว่า ไม่มีโทษตามนี้ ไม่เป็นการละเมิด กรรมบถ ๑๐ ประการ

ข้อที่ ๕ องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงกล่าวว่า ปิสุณาย วาจาย เวรมณี จงเว้นเสีย คำว่า “ ปิสุณาย วาจาย ” ก็หมายถึงว่า วาจาที่พูดส่อเสียด ยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นแตกร้าวซึ่งกันและกัน หมายความว่า เขามีความสามัคคีกันอยู่ เราหวังปรารถนาจะทำลายความสามัคคี ไปใช้เล่ห์เหลี่ยมวาจานี้พูดให้เขาแตกกันให้ได้ อย่างนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงกล่าวว่า เป็นผู้ละเมิด กรรมบถ ๑๐

ข้อที่ ๖ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า ผรุสาย วาจาย เวรมณี ข้อนี้องค์สมเด็จพระชินศรีทรงกล่าวว่า “ ท่านทั้งหลาย จงเว้นจากวาจาหยาบคายเป็นที่สะเทือนใจของบุคคลอื่น ”

ข้อที่ ๗ สัมผัปปลาปา เวรมณี จงเว้นจากการพูดจาเพ้อเจ้อเหลวไหล คือวาจาเพ้อเจ้อเหลวไหลที่เป็นวาจาที่สะเทือนใจบุคคลอื่น พูดไม่อยู่ในเกณฑ์คำหยาบ พูดไม่อยู่ในเกณฑ์มุสาวาท พูดไม่อยู่ในเกณฑ์ส่อเสียด แต่ว่าเป็นวาจาที่ยกตนข่มท่าน เขาเรียกว่า วาจาเหลวไหล หรือวาจาประการหนึ่ง วาจาที่พูดไปไม่ได้มีประโยชน์ หาประโยชน์มิได้อย่างหนึ่ง เป็นวาจาที่ยกตนข่มท่านอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นวาจาประเภทนี้ ที่องค์สมเด็จพระชินศรีทรงบอกว่า ต้องงดเว้นถ้าเราจะเป็นมนุษย์ หลังจากข้อ ๗ ไปแล้ว ข้อ ๑ ถึงข้อ ๗ องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวว่านี่เป็นศีล ที่เป็นศีลมากเพราะแยกจากมุสาวาท ออกมาเป็น ๔ ข้อด้วยกัน ละเอียดกว่าศีล ๕ ประการ ตั้งแต่ข้อที่ ๘ ถึงข้อที่ ๑๐ นั้น องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงกล่าวว่า นี่เป็นธรรมะ คือตอนนี้ให้รักษากำลังใจ ตั้งแต่ข้อที่ ๑ ถึงข้อที่ ๗ ให้รักษาส่วนในทางกายเป็นสำคัญ เช่น เราไม่ฆ่าสัตว์ เราไม่ทำร้ายสัตว์ นี่ต้องเป็นเรื่องของกายด้วย ใจด้วย ประกอบกัน
ข้อที่ ๒ อทินนาทาน มีทั้งใจ มีทั้งกายร่วมกัน ถ้าใจไม่นึกมือมันไม่หยิบ
ข้อที่ ๓ กาเมสุมิจฉาจาร ก็มีใจคิด มีการกระทำ
ข้อที่ ๔ มุสาวาท วาจาพูดจากใจนึก
ข้อที่ ๕ ปิสุณายวาจา วาจาส่อเสียด มีใจนึก ปากพูด
ข้อที่ ๖ ผรุสวาจา วาจาหยาบ ใจนึก ปากพูด
ข้อที่ ๗ สัมผัปปลาปา นี่ใจนึก ปากพูดเพ้อเจ้อ
ข้อที่ ๘ นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ควบคุมใจโดยตรง
ข้อที่ ๘ ถึงข้อที่ ๑๐ ก็ได้แก่
ข้อที่ ๘ อนภิชฌา ท่านกล่าวว่า จงอย่าใช้อารมณ์เพ่งเล็งในทรัพย์สินของบุคคลอื่น ตอนนี้จำให้ดี ว่าคุมเข้าถึงใจว่าใจของเรานี้จะไม่มองทรัพย์ของบุคคลอื่น ว่าไอ้ทรัพย์สิ่งนี้เราอยากจะได้มาเป็นของตน ถ้าเจ้าของเผลอเมื่อไหร่ เราจะยึดถือเอาทรัพย์ทั้งหลายเหล่านี้ไซร้มาเป็นของตนเมื่อนั้น อารมณ์อย่างนี้องค์สมเด็จพระทรงธรรม์ทรงกล่าวว่า จงอย่ามีแก่บุคคลผู้ปรารถนาในความเป็นมนุษย์
ข้อที่ ๙ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า จงละจากความโกรธ ความพยาบาทที่เป็นอารมณ์ของใจว่า ท่านทั้งหลาย จงทรงใจไว้ให้ดี จงตัดความโกรธ ความพยาบาท จงอย่าให้มีในจิตของตน นี่องค์สมเด็จพระทศพลถือใจเป็นสำคัญ นี่ว่ากันเรื่องใจเป็นธรรมะ
ข้อที่ ๑๐ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ ท่านทั้งหลาย จงมีความเห็นตรงในความดีโดยเฉพาะ
คำว่า “ เห็นตรงเห็นถูก ” ในข้อนี้ก็หมายความว่า
จงนึกว่าส่วนใดที่เป็นกุศลกรรม คือ ความดี ข้อนี้เราทำ
สิ่งใดที่เป็นอกุศลกรรม คือความชั่ว เราจะงดเว้นจากจิต
เป็นอันว่า  องค์สมเด็จพระธรรมสามิสรตรัส กรรมบถ ๑๐ ประการ แก่พราหมณ์และบรรดาภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ความจริงพราหมณ์เป็นผู้ถาม แต่ว่าเวลาเทศน์ องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงกล่าวว่า
“ ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ”
เป็นอันว่าเราฟังกันไปเหมือนกับพระพุทธเจ้าไม่ได้เทศน์กับพราหมณ์ แต่ความจริงนี่พระพุทธเจ้าเสด็จพระทับอยู่ที่ไหน จะมีบรรดาภิกษุสงฆ์ทั้งหลายแวดล้อมเต็มอยู่เบื้องหน้า และสำหรับบรรดาประชาชนทั้งหลาย ที่มาก็นั่งข้างหลังพระออกไป เหตุฉะนั้นเวลาที่จะเทศน์อะไรก็ตามที องค์สมเด็จพระชินศรีทรงปรารคำว่า “ ภิกขเว ” เป็นสำคัญ หมายความว่า องค์สมเด็จพระทรงธรรม์ทรงเทศน์กับพระ แต่ชาวบ้านจะฟังเอาไปปฏิบัติก็ใช้ได้ เมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องนี้จบ ก็ปรากฏว่าพระก็ดี บรรดาประชาชนก็ดี ที่ฟังในเวลานั้น ปรากฏว่าบรรลุมรรคผล ตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้นไปเป็นจำนวนมาก และการแสดงพระธรรมเทศนาครั้งหนึ่ง ปรากฏว่าเทวดาหรือพรหมที่มาร่วมฟังด้วยก็บรรลุมรรคผลมากกว่าคน



อันนี้เราก็มาสรุปย่นย่อพระธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระทศพลว่า การปฏิบัติกรรมบถ ๑๐ ประการ นี่รู้สึกว่าหนัก ถ้าเราจะไปนั่งไล่เบี้ยว่าพระพุทธเจ้าว่าอะไรบ้าง ดีไม่ดีท่านทั้งหลายที่ลุกไปจากศาลา เวลานี้เทศน์ครบ ๑๐ สิกขาบท แต่พอลุกแล้วปรากฏว่าหล่นหายไปเสียหลายข้อ อย่าง อาจารย์หง่า เป็นต้น หล่นหายใช่ไหม จำไม่ได้ว่าไอ้ ๑๐ ข้อนี่มันมีอะไรบ้าง เราก็มานั่งสรุปปฏิบัติกันแบบย่อๆ ว่าทำยังไงพระธรรมขององค์สมเด็จพระจอมไตรจึงจะทรงตัว เราก็มานั่งคิดว่าธรรมะที่องค์สมเด็จพระธรรมสามิสรตรัสไว้นี่ มันมีข้อปฏิบัติรวบๆ มีอยู่ คือว่าเราปฏิบัติไปตามคำสอนขององค์สมเด็จพระบรมครู ที่ว่าเป็นแก่นของธรรมะ คือ ได้ทั้งศีลได้ทั้งธรรม แล้วก็ กรรมบถ ๑๐ ประการ นี้ก็จะพ้นไป คือไม่มีโทษใน กรรมบถ ๑๐ ประการ นั่นก็คือ ขอบรรดาท่านทั้งหลายตั้งอยู่ใน พรหมวิหาร ๔ ได้แก่

(๑) เมตตา ความรัก สร้างอารมณ์ความรักไว้เป็นปกติ นับตั้งแต่ตื่นขึ้นมาถึงหลับ อารมณ์ของเราจะคิดไว้เสมอว่า เราจะไม่เป็นศัตรูกับใคร เราจะมีความรักในคนและสัตว์ในโลกนี้สม่ำเสมอกัน คนผู้นั้นจะเป็นญาติ จะเป็นคนเนื่องถึงเราหรือไม่ใช่ก็ตาม จะร่วมชาติศาสนาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม แต่ว่าเกิดในโลกเดียวกัน จะเป็นคนหรือสัตว์ก็ตาม เรามีความรู้สึกว่าเขามีความปรารถนาเช่นเดียวกับเรา คือ รักสุขเกลียดทุกข์ ไม่มีความต้องการจะให้บุคคลใดมาเป็นศัตรูสำหรับเรา เพราะว่าการเป็นศัตรูซึ่งกันและกัน เป็นปัจจัยของความเร่าร้อน ต้องระมัดระวังมีความลำบาก เมื่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำให้เราเป็นคนมีความรัก เราก็จะรักตัวเราเอง แล้วเราก็จะรักบุคคลอื่น เราจะรักสัตว์อื่นแม้แต่เป็นสัตว์เดรัจฉานเสมอด้วยตัวเรา เราไม่ปรารถนาสิ่งใด เราก็ไม่ทำกับบุคคลอื่นและสัตว์อื่นอย่างนั้น มีความรู้สึกว่าเขากับเรามีความรู้สึกเสมอกัน มีความต้องการเสมอกัน นี่ประการหนึ่ง

(๒) เรามี กรุณา ความสงสาร ไอ้กรุณา ความสงสารนี่วัดตัวเราเองเป็นสำคัญ เช่นเดียวกัน ว่าเรายามปกติ เราต้องการให้คนเกลียดเราหรือให้คนเมตตาปรานีสงสาร เกื้อกูลในเรา อารมณ์ของเราจริงๆ มีความรู้สึกอย่างเดียว คือต้องการให้คนทั้งโลกมีความเกื้อกูลสงเคราะห์ในเราเป็นสำคัญ ข้อนี้เมื่อเรามีอารมณ์อย่างนี้แล้วนั้น องค์สมเด็จพระภควันต์ทรงกล่าวว่า จงถือใจเราเองเป็นเหตุ สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ตรัสว่า เมื่อเราต้องการให้ชาวบ้านเขาสงสาร ต้องการให้ชาวบ้านสงเคราะห์เกื้อกูลเราฉันใด จิตใจของเรานับตั้งแต่ตื่นจนกว่าจะหลับ คิดไว้เสมอว่าเราจะสงสารบุคคลอื่นนอกจากตัวเรา เราจะสงสารบรรดาสัตว์ทั้งหลายแม้แต่เป็นสัตว์เดรัจฉาน เราตั้งใจไว้เสมอว่า ถ้าเขาขาดแคลนสิ่งหนึ่งสิ่งใด ถ้าสิ่งนั้นไม่เกินวิสัยของเราที่จะพึงสงเคราะห์ได้ เราจะเกื้อกูลท่านผู้นั้นให้มีความสุขไม่ว่าคนหรือสัตว์ ความจริงถ้าปฏิบัติเพียง ๒ ข้อ เพียงเท่านี้ กรรมบถ ๑๐ ประการ มันก็ไม่ขาด เอา ๒ ข้อก็พอ ที่ว่าเอ้า ๒ ใน ๔ นี่ องค์สมเด็จพระมหามุนีตรัสไว้ใน กรรมบถ ๑๐ เพราะว่าเอาถึง ๔ ข้อ จะหนักสำหรับบรรดาท่านพุทธบริษัท เราก็มานั่งพิจารณากันดูว่า คนที่เรารักก็ดี คนที่เราสงสารก็ดี เราจะฆ่า เราจะทำร้ายเขาได้ไหม เราจะยื้อแย่งความรัก จะทำลายประโยชน์ในทรัพย์สินของเขาได้ไหม เราจะแย่งบุคคลที่เขารักได้ไหม นี่เรารักเราสงสาร เราจะโกหก เราจะใช้วาจาส่อเสียดให้เขาแตกร้าวกัน เราจะพูดคำหยาบให้เป็นเครื่องสะเทือนใจ เราจะพูดวาจาเพ้อเจ้อเหลวไหลเป็นการข่มใจทำลายความสุขจิตใจ เราจะทำกับคนที่เรารักเราสงสารได้หรือไม่ นึกดูกันไป แล้วกำลังใจของเรา เราจะมานั่งนึกว่าไอ้ทรัพย์สินของคนที่เรารักเราสงสารอยู่น่ะ มันมีแหวนเพชร มันมีเงินมาก มันมีทองมาก ถ้ามันเผลอเมื่อไรเราจะลักจะขโมยเอาทรัพย์ทั้งหลายมาเป็นสมบัติของเรา อารมณ์อย่างนี้มันจะคิดไหม แล้วก็บุคคลใดที่เรารักเราสงสาร เราจะปลูกฝังตั้งใจสร้างความโกรธ ความพยาบาท คิดประทุษร้ายจะฆ่ามันให้ตาย จะทำร้ายให้มันมีความทุกข์ อย่างนี้เราจะคิดไหม ถ้าคิดก็เป็นคนที่ไม่มีความรักความสงสาร

ข้อที่ ๑๐ องค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสว่า สัมมาทิฏฐิ
สัมมาทิฏฐิ นี่แปลว่า มีความเห็นชอบ ในเมื่อจิตของเราตั้งอยู่ในเมตตา ความรักเป็นปกติ กรุณา ความสงสารเป็นปกติ อารมณ์มันก็เยือกเย็น อย่างนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า “ ท่านผู้นั้นมีความเห็นชอบแล้ว มีความเห็นดีแล้ว มีความเห็นตรงตามที่เราต้องการ ” นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ท่านทั้งหลาย จงพิจารณาคนที่เราเห็นเป็นสำคัญไม่ว่าคน ไม่ว่าพระ ไม่ว่าเณร ดูไว้ให้หมด แล้วก็มาเปรียบเทียบกับตัวเราว่า ที่เราเรียกบุคคลทั้งหลายว่า “ คน ” นี่ความจริงเรียกไม่ผิด เพราะอะไร เพราะว่าตามปกติคนที่เกิดมาในโลกนี้มีมนุษยสมบัติน้อยเต็มที มักจะมีอารมณ์ไม่ครบ กรรมบถ ๑๐ ประการ นี่ประเภทนี้เขาเรียกว่า “ คน ” ถึงแม้ว่าจะเป็น ภิกษุ สามเณร ผู้ทรงผ้ากาสาวพัสตร์ก็เหมือนกัน ทรงก็ทรงไปอย่างนั้น ยังไม่เป็นมนุษย์ ยังไม่เป็นพระ เป็นคน ไอ้คนน่ะมันแปลว่ายุ่ง ยุ่งไปในด้านของความชั่ว ทีนี้หากว่าท่านใดทรงตัวไว้ได้ ทรงกำลังไจไว้ได้ในด้าน กรรมบถ ๑๐ ประการ ท่านเรียกว่า “ มนุษย์ ” เพราะว่ามนุษย์แปลว่ามีใจสูง ใจไม่ต่ำ คำว่า “ มีใจสูง ” ในทีนี้ก็หมายความว่า มีกำลังใจไม่ต่ำลง คือจิตใจไม่เนื่องไปด้วยอบายภูมิทั้ง ๔ ประการ อารมณ์ใจของบุคคลที่เป็นมนุษย์นั้นคือ

(๑)   ไม่ไปยุ่งกับนรก
(๒)   ไม่ไปยุ่งกับเปรต
(๓)   ไม่ไปยุ่งกับอสุรกาย
(๔)   ไม่ไปยุ่งกับสัตว์เดรัจฉาน

อารมณ์ใจหลีกเลี่ยงจากอบายภูมิทั้ง ๔ ประการ ถึงจะเรียกว่าใจสูง คือสูงจากอบายภูมิทั้ง ๔ ประการ ขึ้นมาแล้วอย่างดี อย่างเลวที่สุดตามจากความเป็นมนุษย์ มาเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นมนุษย์ดี เวลามันหมดแล้ว ถ้ามิฉะนั้นตายแล้วก็เกิดในสวรรค์ ถ้ารักษากำลังใจของท่านทั้งหลายในส่วนทั้ง ๑๐ ประการนี้มั่นคงดำรงอยู่ในจิต อย่างนี้องค์สมเด็จพระธรรมสามิสรว่า ตายจากคนเป็นพรหม ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายมีความนิยมเป็นปกติ คือใช้กำหนดอารมณ์ทั้งหมดนี้เป็น วิปัสสนาญาณ ความจริง กรรมบถ ๑๐ ประการนี้ ปฏิบัติได้ทุกอย่าง

(๑)   ต้องการเป็นมนุษย์ก็ได้
(๒)   ต้องการเป็นเทวดาก็ได้
(๓)   ต้องการเป็นพรหมก็ได้

เพียงแค่มี กรรมบถ ๑๐ ประการ นี้ ต้องการไปนิพพานก็ได้ เพราะสัมมาทิฏฐิ
อพยาบาท ไม่โกรธนี่ก็เป็นพระอนาคามี
แล้วก็ อนภิชฌา ไม่โลภ ก็ตัดความโลภ
อพยาบาท ตัดความโกรธ
สัมมาทิฏฐิ ตัดความหลง
เป็นอันว่า การตัดทั้งหมดนี้ เป็นการตัดอกุศลมูลทั้งหมด เห็นว่าตอนท้ายนี่ พระพุทธเจ้าทรงห้อยไว้ มีความสำคัญ ๗ ข้อ เบื้องต้นนั้นเป็นศีล ศีลเป็นปัจจัยให้เราเกิดเป็นมนุษย์อย่างหนึ่ง ศีลเป็นปัจจัยให้เราเกิดเป็นเทวดาอย่างหนึ่ง การทรงศีลไว้ทั้งหมด ศีลทรงกำลังใจเต็มอารมณ์เป็นพรหมได้ แต่ว่าข้อสุดท้าย องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาห้อยไว้ โอ้โฮ! เมื่อกี้ลืมดูไป ห้อยหนัก

(๑) อนภิชฌา อารมณ์จิตไม่ปรารถนาในการเพ่งเล็งทรัพย์สินของบุคคลอื่น นี่เป็นอันว่าตัดความโลภไปจากจิต ฟังกันให้ดีนะ
(๒) อพยาบาท ไม่โกรธ ไม่พยาบาท คือจิตใจของเราไม่มีความโกรธ จิตใจไม่มีความพยาบาท โอ้โฮ! อย่างนี้ตัดรากเหง้าทิ้งหมด


23


ผู้ถาม : แล้วก็มีอีกครับ...คนนี้จับอานาปาเป็นประจำ แต่ปรากฏว่า
พอเคลิ้ม ๆ ก็ถูกผีอำเป็นประจำไปเมืองนอกก็อำ กลับมา
เมืองไทยก็อำ ภาวนา พุทโธ ก็อำ ภาวนา นะมะพะธะ ก็อำ
อำอย่างนี้จะกราบเรียนหลวงพ่อว่า เป็นเพราะเหตุใดครับ.?

หลวงพ่อ : เป็นเพราะผีชอบอำ!

ผู้ถาม : ?...?...?

หลวงพ่อ : อาการที่ผีอำทำยังไง ยังไม่ได้เล่าให้ฟังเลย.?

ผู้ถาม : เขาบอกว่ากระดุกกระดิกไม่ได้เลยครับ มันอื้ออ้า ๆ

หลวงพ่อ : ผีทับหรือเปล่า...ถ้าผีทับหรือเหยียบ หรือผีปล้ำ อันนี้เป็น
ลักษณะผีอำ ถ้ามันอึดอัดเหมือนกับขยับตัวไม่ไหว อันนี้
ไม่ใช่ผีอำ เป็นเพราะขณะเริ่มต้นภาวนาลมหายใจหยาบไป
ถ้าอาการอย่างนี้ ก็ต้องแก้ด้วยวิธีนี้ พอจะเริ่มภาวนาก็หายใจ
ยาว ๆ หายใจแรง ๆ อย่างทหารสัก ๕-๖ ครั้ง จะคลายลม
หยาบทิ้งแล้วจะไม่เป็น ที่ฉันว่าไม่ได้อำ เป็นลักษณะของ
ลมหายใจมากกว่า

ผู้ถาม : แล้วเขายังเล่าต่ออีกครับ เขาบอกว่ามีอยู่คราวหนึ่ง
ทำสมาธิเห็นหัวกระโหลกตัวเองเป็นสีทอง...

หลวงพ่อ : ดีมาก ๆ

ผู้ถาม : เป็นยังไงถึงดีครับ.?

หลวงพ่อ : ทองกำลังมีราคา!

ผู้ถาม : อ๋อ...แต่ตอนนี้ได้ข่าวว่าจะลงเสียอีกแล้วซิ...แล้วเขาบอกว่า
พอเห็นกระโหลกตัวเองเป็นสีทองนึกว่าจะพ้นเวรพ้นกรรม
แต่แหม...มันก็อำอีกน่ะแหละ ถ้าเหตุการณ์แบบนี้บ่อย ๆ
ผมจะไปนิพพานได้ไหมครับ.?

หลวงพ่อ : ได้แน่...ถ้ามี อิทธิบาท ๔
ฉันทะ มีความพอใจในการตัดกิเลส
วิริยะ มีความพากเพียรต่อสู้อุปสรรค อุปสรรคตัวนี้ต้องต่อสู้มัน
ถ้าเวลามันเข้ามาทำยุ่ง จิตตั้งไว้เลย

"เอ้า! เชิญถ้าต้องการทำลายกายทำลายไป กูจะไปนิพพาน"

ถ้าตั้งอารมณ์แบบนี้จริง ๆ นะ ครั้งสองครั้งมันก็เลิกแล้ว
นี่ฉันสงสัยว่าคนนี้สมาธิดีมาก การที่สมาธิดีหรือจิตจะ
ก้าวขึ้นสู่เบื้องสูงนั้น จิตจะพบกับอุปสรรคแบบนี้ แต่ว่า
อุปสรรคจะไม่ซ้ำกัน

แล้วก็มาสงสัยอยู่อย่าง สงสัยว่าคนนี้จะเป็นพวกปรารถนา
พุทธภูมิ มาก่อน ถ้าไม่ใช่พุทธภูมิอุปสรรคประเภทนี้ไม่มี
พวกสาวกภูมิเขาไม่ค่อยเจอะ ถ้าพวกพุทธภูมิกว่าจะไป
แต่ละขั้น ฟัดกันเอาการเลย

จากหนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม 7

24


ผู้ถาม : ทางที่ทำให้ดับทุกข์นั้น จะต้องเป็นทางสมถะทางเดียวใช่ไหมคะ?
หลวงพ่อ: ดับทุกข์ไปได้หลายทางหนู ถ้า ดับทุกข์ถาวร คือทำกรรมฐานทางเดียว
ถ้า ดับทุกข์ถาวร คือทำกรรมฐานทางเดียว ถ้า...ดับทุกข์ชั่วคราว เชือดคอตาย
ก็ดับทุกข์ แล้วไปทุกข์ใหม่ ใช่ไปไหม...?
ผู้ถาม : กรรมฐานคืออะไรครับคะ.....

หลวงพ่อ :กรรมฐานมันรวม 2 อย่างคือ สมถกรรมฐาน
กับ วิปัสสนากรรมฐาน ตัวที่ทำให้อารมณ์จิตไม่ฟุ้งซ่าน
ทำให้สมาธิทรงตัวเรียกว่า สมถกรรมฐาน

ตัวที่ใช้ปัญญารู้เท่าทันสภาวะตามความตามความเป็นจริง
ไม่หลงสถาวะของโลก นี่เป็น วิปัสสนากรรมฐาน สองอย่างนี้
เราเรียกว่า กรรมฐาน เข้าใจหรือยัง ?

ผู้ถาม: เข้าใจแล้วค่ะ แต่ว่ายังมีอีกเรื่องหนึ่งนะคะ
เมื่ออาทิตย์ก่อนหนูไปเจอหนังสือเล่มหนึ่งนะคะ
เขาบอกว่า คนที่หัดภาวนาอย่าหลับตา ถ้าหลับตาแล้ว
จะหลับไปเลย ให้ลืมตาแล้วพยายามดึงสายตาเข้ามา
เรื่อยๆ จนใกล้ๆ ปลายจมูกแล้วให้เพ่งอยู่อย่างนั้น
วันหนึ่งหนูลองทำดู ภาวนาว่า พุทธโธๆ ๆ
แล้วก็พยายามดึงสายตาเข้ามาเรื่อยๆ จนรู้สึกว่า
ไม่ได้ภาวนา ทีแรกหนูก็เห็นภาพลางๆเหมือนคนนั่ง
แบบหนู นั่งหันหน้ามาทางหนู หนูตกใจรีบลุกขึ้นทันที
อย่างนี้จะเป็นจะเป็นการหลอกหรือคิดไปเองทันที
อย่างนี้จะเป็นการหลอกหรือคิดไปเองหรือเปล่าคะ?

หลวงพ่อ :แล้วคิดไปหรือเปล่าล่ะ?
ผู้ถาม:ไม่คิดค่ะ
หลวงพ่อ: อ้าว ไม่ได้คิด แต่ถามว่า คิดไปเองรึเปล่า ?
ผู้ถาม :คือมองเพลินไป คิดว่ามันคิดไปเองค่ะ
หลวงพ่อ : ไม่ใช่หรอก มันเป็นของจริง เราไม่ได้คิด
ไว้ก่อนนี่ ตอนนั้นก็ต้องถือว่า จิตเข้าอุปจารสมาธิ
จึงเป็นภาพขึ้นได้ ถ้าจิตต่ำกว่าอุปจารสมาธิ หรือ
สูงกว่าอุปจารสมาธิก็ดี มันไม่เห็น

ผู้ถาม:แล้วบางคนเหมือนกับเราไม่มีจิต
ไม่มีอะไรทั้งสิ้น เลยค่ะ....?

หลวงพ่อ: ก็บอกแล้วว่า ระหว่างนั้น จิตเข้าสู่
อุปจารสมาธิอยู่ จิตเราบังเอิญเข้าจังหวะพอดี
ตามธรรมดาเรามีสมาธิอยู่แล้วทุกคน ไม่ใช่ว่าไม่มี
ถ้าเราเกิดมาไม่มีสมาธิมันพูดกันไม่รู้เรื่องหรอก ใช่ไหม..
คิดว่าจะกินข้าว ดีไม่ดีไปเข้าส้วม นี่ไม่มีสมาธิ สมาธิ
คือการตั้งใจ ตั้งใจว่าจะทำอะไรนี่เป็นสมาธิ

ผู้ถาม : แสดงว่าเรามีสมาธิจึงจะเห็นใช่ไหมคะ?
หลวงพ่อว่า : แสดงว่ามี สมาธิมันมีหลายอย่างนะ
มีขณิกสมาธิ คือสมาธิเล็กน้อย
อุปจารสมาธิ คือสมาธิ ใกล้เฉียดตายฌาน
และอัปปนาสมาธิ ก็หมายถึงฌาน
ฌานแบ่งออกเป็น 4 ขั้น ฌาน 1 2 3 4
แต่จุดที่เราจะเห็นจริงๆ คืออุปจารสมาธิจุดเดียว

ผู้ถาม:หลวงพ่อค่ะ ถ้าขณะภาวนาหลับตาได้ไหมคะ?
หลวงพ่อ:หลับตาลืมตาก็ใช้ได้หมด ถ้าไม่ลืมตา
ไม่ถึงยาย ก็ลืมทั้งตาทั้งยายใช่ไหม ...ลืมตาหรือ
หลับตาไม่มีความหมายหรอกหนู การเจริญกรรมฐาน
มิใช่หลับตาเสอมไป ถ้าเราลืมตามองเห็นอย่างอื่น
แล้วมันฟุ้งซ่านก็หลับตาเสีย ถ้าหลับตาแล้วจิต
มันซ่านเกินไปก็ไปลืมตา

เวลานั่ง นั่งหน้าพุทธรูป เวลาหลับตาภาวนา
แล้วฟุ้งซ่าน ให้ลืมตามองพระพุทธรูป ถ้าจิตเรา
นึกว่าพระพุทธรูปนี่เป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน
ถ้าคิดว่าพระพุทธรูปนี่มี สีเหลือง ก็เป็น ปิตกสิณ
เลยได้ 2 อย่างควบ ใช่ไหม

คือการเจริญพระกรรมฐานเราฝึกที่ใจไม่ใช่ฝึกที่ตา
สมาธิมันอยู่ที่ใจ ใช่ไหมล่ะ?

ที่มา...
http://board.palungjit.org/f23/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B8%E0%B8%87-532857.html

25


ผู้ถาม: มีผู้ถามว่า ที่บ้านของลูกมีทุกอย่าง
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เทพเทวะ อะไรต่างๆ มีคนเขาบอกว่า ...
ลองเอา เจ้าแม่กวนอิม ไปบูชาบ้าง
จะทำให้เจริญรุ่งเรือง แล้วลูกก็เลยซื้อมา
เมื่อนำมาแล้วก็ไม่รู้ว่าจะตั้งตรงไหนดี
จะตั้งกับพระพุทธก็เห็นว่าเป็นผู้หญิง
จะซื้อโต๊ะใหม่สะตุ้งสะตังค์ก็ไม่มี
ขอให้หลวงพ่อช่วยชี้แนะวิธีตั้งสักครั้งเถิดเจ้าค่ะ

หลวงพ่อ: ไม่ต้องตั้ง...ห้อยก็ได้ ใช้ห้อยคอไว้...(หัวเราะ)
ก็หาโต๊ะเล็กๆ ซิ ม้าเล็กๆ ถ้าตั้งโต๊ะพระพุทธรูป ก็ตั้ง
ให้ต่ำกว่า ขั้นต่ำกว่าไม่เป็นไรนะ
เพราะท่านกวนอิมจริงๆ เดิมทีเป็น พระโพธิสัตว์
ตั้งแต่สมัยยังเป็นผู้หญิง และต่อมานานๆ เข้า
ใกล้จะบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ เอาแค่ใกล้นะ
บารมีเริ่มเป็นปรมัตถบารมีก็ขอลาพุทธภูมิ เวลานี้
เป็นพระอรหันต์ไปนิพพานแล้ว

ผู้ถาม: เจ้าแม่กวนอิมไม่ใช่พระศรีอาริย์หรือครับ?

หลวงพ่อ: ไม่ใช่...คนละองค์ ไกลกันลิบลับ
พระศรีอาริย์ท่านจะบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ
อยู่แล้วแต่เจ้าแม่กวนอิมนี่ยัง
ความจริงก่อนนั้นฉันก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน
ไปพบกันจริงๆ จึงรู้เรื่อง
ไปควานหาประวัติตามหนังสือเอาแน่นอนไม่ได้
หาตัวไม่พบ

ผู้ถาม: เอ...หลวงพ่อ อย่างงานเทศกาลไหว้พระจันทร์
เอารูปเจ้าแม่กวนอิมมาไหว้
อยากจะทราบว่าองค์จริงท่านจะมาหรือเปล่าครับ?

หลวงพ่อ: ความเป็นทิพย์มี ถ้าเรานึกด้วยความเคารพ
ก็ถึงทันที

ผู้ถาม: ถ้าไหว้พร้อมกันทั่วโลกล่ะครับ?

หลวงพ่อ: อย่าลืมว่าความเป็นทิพย์น่ะ ท่านจะไปพบ
กับคนได้ทุกคนในขณะเดียวกันทั่วโลก ทั้งภาษา
ต่างกันใครต้องการอะไรก็ได้

ที่มา...
http://board.palungjit.org/f23/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A4%E0%B9%85%E0%B8%A9%E0%B8%B5-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B8%E0%B8%87-532450.html

26


ผู้ถาม : หลวงพ่อครับ พระปัจเจกพุทธเจ้า ท่านต้อง
บำเพ็ญบารมีนานไหมครับ จึงจะตรัสรู้ได้....?

หลวงพ่อ : พระปัจเจกพระพุทธเจ้า ท่านบำเพ็ญบารมี...
เท่ากับพระอัครสาวก คือ 2 อสงไขยกับแสนกัป

ผู้ถาม : ท่านตรัสรู้เองใช่ไหมครับ.....?

หลวงพ่อ : ใช้ ลงคำว่า พุทธเจ้า ต้องตรัสรู้เอง
คือไม่ต้องรับคำสอนจากคนอื่น

ผู้ถาม :  มีเฉพาะตอนที่มีพระพุทธเจ้าใช่ไหมครับ....?

หลวงพ่อ : เจ๊ง...พระปัจเจกพระพุทธเจ้าจะมีขึ้นก็ต่อเมื่อ
วางจากพระพุทธเจ้า ไม่ใช้มีพร้อมพระพุทธเจ้า อย่าง
ศาสนานี้สิ้นไป ในช่วงว่างก่อนจะถึงพระศรีอาริย์
ในช่วงนี้มีพระปัจเจกพระพุทธเจ้า

สมัยพระปัจเจกพระพุทธเจ้าเวลานั้นไม่มีสาวก
ก็มีพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ทั้งหมด
เพราะปัจเจกพุทธเจ้าไม่ได้บรรลุเพียงองค์เดียว
อย่างพระพุทธเจ้า ก็มีได้เป็นหมื่นเป็นแสน
แต่พระพุทธเจ้าจะต้องมีองค์เดียว มีซ้อนไม่ได้

ผู้ถาม : แล้วทำไมพระปัจเจกพระพุทธเจ้าเมื่อท่าน
ตรัสรู้แล้วจึงไม่สอนเหมือนกับพระพุทธเจ้าครับ....?

หลวงพ่อ : เกิดทันรึ...รู้เหรอว่าท่านไม่สอน เคยพบ
หรือเปล่า....?

ผู้ถาม : ?....?....?

หลวงพ่อ : ท่านสอน จะว่าไม่สอนเลยนั้นไม่ใช่
แต่ว่าไม่สอนถึงอริยสัจ ถ้าไปศึกษากับท่าน
ท่านก็สอนแค่อภิญญาโลกีย์ ส่วนที่ตัดเข้าถึง
มรรคผลนั้นเป็นเรื่องของบุคคลนั้นเอง
ปัจเจก เขาแปลว่า รู้เฉพาะตน ความจริง
คำว่า "เฉพาะ" ก็มีเฉพาะส่วนที่เป็นอริยสัจ
เท่านั้นเองนะ

ผู้ถาม : ถ้าอย่างนั้นพระปัจเจกพระพุทธเจ้าก็รู้หมด
ทุกอย่างใช่ไหมครับ....?

หลวงพ่อ : รู้หมด....พระสัมมาสัมพุทธเจ้าซิ รู้ไม่หมด

ผู้ถาม : อ้าว...ทำไมยังงั้นล่ะครับ

หลวงพ่อ : ถ้าถามปัญหาพระพุทธเจ้า ท่านรู้ทุกอย่าง
รู้ไม่หมดสักที พระปัจเจกพระพุทธเจ้าถามไปถามมา
หมด นี่เขา เรียกว่า รู้หมด

ผู้ถาม : อ๋อ...แหมศัพท์ภาษาไทยนี่ไม่รู้เรื่อง อยู่ห่างวัด
เป็นอย่างนี้

หลวงพ่อ : เป็นอันว่าพระปัจเจกพระพุทธเจ้าท่านสอน
เรื่องสวรรค์ เรื่องพรหม แต่เรื่องนิพพานท่านไม่สอนใคร
เพราะไม่ใช้หน้าที่ของท่าน ฉะนั้นพระถ้าเข้าถึงจุดหมาย
ปลายทาง ท่านจะรู้หน้าที่ของท่าน อย่างพระที่ยังไม่เป็น
อรหันต์ เป็นหมอดู เป็นหมอรักษาโรค เราใช้ได้ทุกอย่าง
ท่านจะทำให้ทุกอย่าง พอถึงอรหันต์ปั๊บ ท่านรู้เลยว่า
ท่านเกิดมานี่เพื่อทำกิจอะไร.....อย่างอื่นที่ไม่ใช่ของท่าน
ท่านจะไม่ทำ จะงดหมด ท่านทำเฉพาะกิจ
พระปัจเจกพุทธเจ้าก็เหมือนกัน ท่านสอนเรื่องสวรรค์
เรื่องพรหม แต่เรื่องนิพพานท่านไม่สอน

จากหนังสือ หลวงพ่อตอบปัญญาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม 4
 

27


ผู้ถาม :- "หลวงพ่อครับ ผมก็คิดเรื่องการเรื่องงาน
เป็นประจำเลยครับ ทีนี้อยากถามว่ากรรมฐาน
บทไหนที่ทำให้ค้าขายดีครับ...?"...

หลวงพ่อ :- "อ๋อ...ก็บทค้าขายราคาถูกซิ เขาขาย 1 บาท
เราขายห้าสิบสตางค์ รับรองพรึบเดียวหมด บทนี้ดีมาก
เพราะเมตตาบารมีไงล่ะ"

ผู้ถาม :- "โอ้โฮ...ตรงเปี๊ยบเลยหลวงพ่อ..."

หลวงพ่อ :- "ยังมีอีกนะ ถ้าบทที่สองดีกว่านี้อีก
จาคานุสสติ แจกดะเลย"

ผู้ถาม :- (หัวเราะ) "โอ...บทนี้น่ากลัวจนแย่เลย"

หลวงพ่อ :- "ไอ้เรื่องค้าขายดีมีคาถาตกอยู่บทหนึ่ง"

ผู้ถาม :- "เดี๋ยวผมขอจดก่อนครับ"

หลวงพ่อ :- "ไม่ต้องจดหรอก คาถามหาโต๊ะ
มหาโต๊ะนี่สมัยนั้นบวชด้วยกัน มีโยมคนหนึ่ง
แกหาบข้าวแกงมาขาย หาบไปตั้งแต่เช้า
กลับมาบ่ายมันก็ไม่หมด"

วันหนึ่งมหาโต๊ะยืนล้างหน้าอยู่ที่หน้าต่าง
แกก็บอก "ท่านมหามีคาถาอะไรดีๆ ทำน้ำมนต์
ให้ทีเถอะ จะได้หมดเร็วๆ"

มหาโต๊ะแกไม่ใช่นักคาถาอาคมกะเขานี่ ก็นึกไม่ออก
แต่ไอ้นี่น่าจะดีว่ะ "อนัตตา" แกนึกในใจนะ แกไม่ได้บอก
แกก็เอาน้ำล้างหน้าพรม ๆ ยายนั่นแกก็กลับไป พอสายๆ
แกก็กลับ ปรากฏว่าหมด"

ผู้ถาม :- "อะไรหมดครับ...?"

หลวงพ่อ :- "ของหมด ข้าวแกงหมด แต่หม้อยังอยู่
หาบยังอยู่ และคนหาบยังอยู่ แหม....นี่ต้องให้อธิบาย
ให้ละเอียดเลยนะ"

ผู้ถาม :- (หัวเราะ) "คือสงสัยครับ"

หลวงพ่อ :- "ก็เป็นอันว่าวันต่อมา โยมคนนั้นแกก็
มาหาเรื่อยๆ แกก็สังเกตมหาโต๊ะ ในที่สุดมหาโต๊ะ
ต้องทำน้ำมนต์ด้วยคาถาบทนี้เอาไว้ที่บูชา
แกก็ไปขายหมดทุกวัน ก็แปลกเหมือนกัน
เพราะจิตตรงใช่ไหม...อนัตตา นี่เขาแปลว่า
สลายตัวไงล่ะ"

ผู้ถาม :- "ลูกหลานเอาไปใช้ได้ไหมครับหลวงพ่อ...?"

หลวงพ่อ :- "ปู่ย่าตายายก็ใช้ได้"

ที่มา...
http://board.palungjit.org/f23/คาถามหาโต๊ะทำให้ขายของดี-โดยหลวงพ่อฤๅษี-วัดท่าซุง-533696.html

28


สังโยชน์ของพระโสดาบัน

โดย พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลายลำดับต่อไปนี้ก็จะขอนำเอาสังโยชน์ ๑๐ ประการ คือเป็นหลักสูตรสำคัญขั้นสุดท้ายในพระพุทธศาสนามาแสดงแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท ทั้งนี้ก็เพราะว่าการศึกษาอย่างอื่นได้ให้การศึกษามาแล้วตามสมควร หวังว่าคงจะเป็นที่อิ่มสำหรับบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทและบรรดาพระโยคาวจรทั้งหลายแล้ว ทั้งนี้ก็เหมือนกับหมอผู้ให้ยา ตามธรรมดาการให้ยาแก่คนที่เป็นโรคก็จะต้องให้ยาทุกๆ อย่างที่มีความจำเป็น เมื่อโรคเป็นมาประเภทใดก็ให้ยาประเภทนั้น เมื่อหายจากไข้หรือว่าอาการไข้ดีขึ้นแล้ว หมอก็ให้ยาตัดตอน หมายความว่า เป็นยาตัดรากของโลก ไข้จะได้หายเด็ดขาด ข้อนี้มีอุปมาฉันใด แม้แต่การฟังพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เหมือนกัน สำหรับนักปฏิบัติก็ต้องพยายามศึกษาทุกอย่างเพื่อความเข้าใจในเรื่องราวของพระพุทธศาสนาในการที่จะริดรอนกิเลสให้หมดไป สำหรับเวลานี้ อาตมาคิดว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายคงจะมีความเข้าใจในข้อวัตรปฏิบัติที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์สอนมาแล้ว

สำหรับในตอนนี้ก็จะขอให้ยาตัดรากของโรค คือสังโยชน์ ๑๐ ประการ คำว่า สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดใจ ทำให้จิตใจของเราตกอยู่ภายในอำนาจของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม ทีนี้การที่จะปฏิบัติตนให้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าก็ต้องรู้จักกฎรู้จักเกณฑ์ รู้จักทางเดิน ถ้าเราไม่รู้จักกฏไม่รู้จักเกณฑ์ ไม่รู้จักทางเดิน เข้าไปสู่จุดตรง ผลแห่งการปฏิบัติก็ย่อมมีผลไม่สมบูรณ์ ทีนี้การที่จะปฏิบัติให้มีผมสมบูรณ์ก็ต้องมุ่งความเป็นพระอริยเจ้าเป็นอันดับต้น และก็มุ่งพระนิพพานเป็นอันดับสุดท้าย การจะมุ่งพระนิพพาน ความเป็นพระอรหัตผล บางทีท่านพุทธศาสนิกชนอาจจะหนักใจ ว่าอยู่ๆ จะเป็นพระอริยเจ้าได้อย่างไร ทำอย่างไรจึงจะเข้าถึงพระนิพพาน ฉะนั้น จึงขอให้บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านศึกษาข้อวัตรปฏิบัติตามขั้นตามตอนดังต่อไปนี้
   สำหรับขั้นตอนที่เราจะเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าคืออรหัตผล องค์สมเด็จพระทศพลทรงจัดไว้เป็น ๔ ขั้นตอน คือ
๑.   อย่างเบาเรียกว่า พระโสดาบัน
๒.   กิเลสบางไปนิด เรียกว่า พระสกิทาคามี
๓.   จัดว่าเป็นอันดับสำคัญ ตัดโลกีย์วิสัยได้ เรียกว่า พระอนาคามี
๔.   ตัดกิเลสทั้งหมดเป็นสมุจเฉทปหาน เรียกว่า พระอรหันต์
สำหรับในตอนต้นเป็นจริยาที่ปฏิบัติแบบเบาๆ พอที่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายเป็นผู้ใหม่ในพระพุทธศาสนาจะพึงปฏิบัติได้ แต่ทว่าขอบรรดาท่านทั้งหลายโปรดสร้างความเข้าใจว่าพระอริยเจ้านี่มีปฏิปทาคือตัดกิเลสได้ไม่เสมอกัน อย่างพระโสดาบันยังไม่ถือว่าตัดกิเลสได้เด็ดขาด เป็นแต่เพียงขังกิเลสเข้าไว้ เหมือนกับเราจับเสือเข้ามาขังไว้ในกรง เสือยังมีกำลังทุกอย่างพอที่จะกัดคนได้ พอที่จะทำร้ายคนได้ แต่ว่าเสือไม่สามารถออกจากกรงได้ ความดุร้ายของเสือยังมีอยู่ ข้อนี้มีอุปมาฉันใดพระโสดาบันก็เหมือนกัน ยังมีความรักในเพศ ยังมีความโลภความอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง ตามที่ท่านเขียนกันไว้บอกว่า มีความรัก มีความโลภ ความโกรธ ความหลง เบาลง แต่สำหรับจิตใจของอาตมายังถือว่าไม่เบา เป็นแต่เพียงขังเสือไว้ในกรง หรือขังกิเลสไว้ในกรงเท่านั้น



ทั้งนี้ก็เพราะว่าเราจะเห็นได้ว่า ดูตัวอย่างท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี หรือว่า นางวิสาขามหาอุบาสิกา นางวิสาขามหาอุบาสิกาเป็นพระโสดาบันตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ อายุเพียง ๗ ปีได้พบกับองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า นางฟังเทศน์จบเดียวได้พระโสดาบัน และต่อมาเมื่ออายุ ๑๖ ปี นางก็แต่งงานและมีบุตร ๒๐ คน และก็มีเครื่องประดับประดาที่เรียกว่า เครื่องมหาลดาปสาธน์ ราคาถึง ๑๖ โกฏิ ยังมีการทำไร่ไถนา ทำมาหากินเป็นปกติ เราจะเห็นว่าพระโสดาบันยังมีอะไรทุกอย่างอย่างคนธรรมดา และทำไมจึงเรียกกันว่าพระโสดาบัน เป็นพระโสดาบันหรือเป็นพระอริยเจ้าได้อย่างไร ฟังกันต่อไป

ที่บอกไว้อย่างนี้ก็เพื่อความเบาใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท เพราะว่าความเป็นพระโสดาบันไม่ใช่สิ่งเกินวิสัยสำหรับเราที่จะทำได้ มาดูสังโยชน์ที่พระโสดาบันตัด คือ
๑. สังกายทิฏฐิ พระโสดาบันตัดได้เพียงเบาๆ เพียงแค่รู้ตัวว่าจะตายเท่านั้น มีความรู้สึกอยู่เสมอว่ายังไงๆ เราก็ตายแน่ ชีวิตของเราไม่สามารถจะทรงอยู่ตลอดกาลตลอดสมัยได้ พระโสดาบันมีความรู้สึกอยู่เสมอว่าเราแก่ลงไปทุกวันๆ แล้วก็มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าร่างกายของเรามีความทรุดโทรมมันจะมีความป่วยไข้ไม่สบายเป็นปกติ นี่เป็นความรู้สึกของพระโสดาบันในขั้นสักกายทิฏฐิ ยังไม่ถึงกับตัดเด็ดขาด ตามที่องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถทรงแนะนำว่าท่านทั้งหลายจงเจริญมรณานุสสติไว้เสมอ ให้รู้ตัวว่าเราจะต้องตาย นี่เมื่อรู้ตัวว่าจะต้องตายแล้ว พระโสดาบันมีความเชื่อในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่สงสัย ทั้งนี้เพราะว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าเราตายแล้วจากความเป็นคน ถ้ากิเลสหรือสิ่งที่เป็นอกุศลมันยังมีอยู่ เราก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ทีนี้อาการเวียนไปเวียนมานี่มันไม่แน่ ถ้ากุศลนำไปก็ไปสู่แดนของความสุข ถ้าอกุศลนำไปก็ไปสู่แดนของความทุกข์ ฉะนั้น พระโสดาบันจึงเลือกทางเฉพาะทางเดียว คือทางด้านกุศลโดยเฉพาะ เรียกว่าไม่สงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาตามเหตุตามผล หลังจากนั้นแล้วคนที่จะเป็นพระโสดาบันก็ต้องหาทางเลือกว่าการตายแล้วเราจะต้องไปนรกบ้าง ไปเป็นเปรตบ้าง เป็นอสุรกายบ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง มาเป็นมนุษย์บ้าง เป็นเทวดาบ้าง เป็นพรหมบ้าง ถ้ายังไม่หมดกิเลสการเกิดมันยังมีอยู่ เราก็แสวงหาที่เกิดที่ดีที่จะพึงหาได้ อย่างน้อยที่สุด เราก็จะเกิดเป็นคนประเภทชนิดที่จำกัดการเกิด จะไม่ยอมเกิดประเภทที่เรียกว่านับชาติกันไม่ถ้วน เพราะว่าพระโสดาบันมีกระบวนการเกิดอยู่ ๓ แบบ คือ
๑. เป็นพระโสดาบันขั้นหยาบที่เรียกกันว่า สัตตักขัตตุง อย่างนี้ต้องเกิดเป็นมนุษย์อีก ๗ ชาติ แต่การเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉานไม่มี จะเกิดในช่วงเทวดาหรือพรหมหรือมนุษย์เท่านั้น แต่ว่าต้องเกิดเป็นมนุษย์อีก ๗ ชาติ จึงจะถึงอรหัตผล
๒. โกลังโกละ ถ้ามีอารมณ์อย่างกลางก็จะเกิดอีก ๓ ชาติ
๓. เอกพิชี ถ้ามีอารมณ์ใจอย่างเข้มก็จะเกิดอีกชาติเดียว
ทีนี้ทำอย่างไร พระโสดาบันก็มีทางทางเดียวคือตัดอบายภูมิเสีย จะไม่พยายามให้ตนต้องตกลงไปสู่อบายภูมิ คือเกิดเป็นสัตว์นรก เกิดเป็นอสุรกาย เกิดเป็นเปรต เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ถ้าจะเป็นมนุษย์ก็ต้องอยู่ในเกณฑ์ดี บุคคลผู้จะเป็นพระโสดาบันจะได้เลือกหนทางจุดหนึ่งเป็นทางที่จะกำจัดอบายภูมิทั้ง ๔ ประการ นั่นก็คือรักษาศีลให้บริสุทธิ์ มีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์อย่างจริงจัง เมื่อมีความเคารพในพระรัตนตรัยอย่างจริงจังแล้ว ก็พยายามตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ไม่ยอมเป็นผู้บกพร่องในศีล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฆราวาสมีศีล ๕ บริสุทธิ์ สำหรับสามเณรมีศีล ๑๐ บริสุทธิ์ พระภิกษุมีศีล ๒๒๗ บริสุทธิ์ มีอารมณ์จิตยับยั้ง
ถ้าจะถามว่าพระโสดาบันยังมีความรักไหม ก็ต้องตอบว่าพระโสดาบันมีความรักในเพศ ยังมีการแต่งงาน แต่ว่าความรักของพระโสดาบันอยู่ในขอบเขต คำว่าขอบเขตหมายถึงว่าขอบเขตของความรัก ไม่นอกใจคนรัก ไม่ทำกาเมสุมิจฉาจาร เพราะเกรงว่าจะขาดศีล
พระโสดาบันยังมีความโลภไหม ก็เห็นจะต้องตอบว่าพระโสดาบันยังต้องการความร่ำรวย จะตอบว่ามีความโลภมันก็ไม่ชัดหรือจะตอบว่าไม่โลภเลยมันก็ไม่ชัด ก็ยังอยากรวยอยู่ แต่ว่าความร่ำรวยของพระโสดาบันไม่ผิดศีล คือไม่คดไม่โกง ไม่ยื้อไม่แย่งทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่ได้มาโดยไม่ชอบธรรม อันนี้เป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน



ถามว่าพระโสดาบันยังมีความโกรธไหม ก็ต้องตอบว่า พระโสดาบันยังมีความโกรธ แต่ว่าความโกรธของพระโสดาบันนี้มันยังคึกคักๆ อยู่ในใจ ที่เคยกล่าวมาแล้วในตอนต้นว่าจับเสือขังกรงเข้าไว้ โกรธแต่ว่าไม่ทำอันตรายให้แก่บุคคลอื่นให้ได้รับความเดือดร้อน ความไม่พอใจมีอยู่ แต่ว่าการลงมือกระทำความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นไม่มี นี่เป็นจริยาของพระโสดาบัน

ถ้าจะถามว่า “พระโสดาบันยังมีความหลงไหม” ก็ต้องตอบว่าพระโสดาบันยังมีความหลง คือยังมีความหลงในการมีคู่ผัวตัวเมีย คนถ้ายังรักยังแต่งงานอยู่ก็ถือว่ามีความหลง แต่ว่าความหลงของพระโสดาบันก็ยังมีขอบเขต ไม่เลยอำนาจของศีล คือไม่ทำลายศีล พระโสดาบันมีความโกรธ ความโกรธจะเกิดขึ้นมาได้ก็เพราะอำนาจของความหลง อันนี้ความโกรธมีขึ้นมาได้ก็อยู่ในขอบเขตของศีล ได้แต่โกรธอย่างเดียวไม่ทำลายใคร พระโสดาบันยังมีความอยากร่ำรวย ก็ยังถือว่าหลงเหมือนกัน เพราะทรัพย์สมบัติทั้งหลายนำไปไม่ได้เวลาตาย แต่ยังถือว่ายังมีความจำเป็นที่จะต้องกินที่จะต้องใช้ ก็เลยยังถือว่ายังมีความหลง แต่ว่าหลงอยู่ในขอบเขตของศีล ไม่คดไม่โกงใคร นี่เรียกว่าหลงเหมือนกัน แต่ว่าหลงสั้น ไม่หลงยาว ถ้าเราจะมองดูหน้าของพระโสดาบันหรือจริยาของพระโสดาบันแล้วบรรดาท่านพุทธบริษัทจะเห็นว่าไม่มีอะไรหนัก ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายมีกำลังใจสักนิดหนึ่ง พยายามรักษาอารมณ์สมาธิตามที่เคยปฏิบัติมา และพยายามแก้ไขอารมณ์ของสมาธิว่า ที่สมาธิของเราทรงตัวอยู่ไม่ได้เพราะอะไร
เพราะ ราคะจริต เพราะจิตรักสวยรักงามเกินไป จนกระทั่งมีอารมณ์ฟุ้งซ่านทนไม่ไหว ถ้าไม่ได้ของสิ่งนั้นมาเป็นของตน อย่างนี้ก็แก้อารมณ์ฟุ้งซ่านอันนั้นเสียด้วยการเจริญ กายคตานุสสติกรรมฐาน และ อสุภกรรมฐาน เพียงแค่ยับยั้งความต้องการไว้ตามสมควร ถ้าจิตของเราเป็น โทสะจริต ชอบโกรธ ชอบพยาบาท ก็ยับยั้งอารมณ์นั้นได้ด้วย เมตตาพรหมวิหาร ๔ ถ้าหากว่าจิตของท่านมีความรู้สึกตัดสินใจไม่ตก ที่เรียกว่า โมหะจริต หรือ วิตกจริต ชอบคิดอยู่เสมอ ไม่แน่ใจในทุกสิ่งทุกอย่าง เราก็พยายามระงับอาการนั้นด้วย อานาปานุสสติกรรมฐาน ถ้าจิตของท่านมีความเชื่อมั่นในองค์พระรัตนตรัย องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาก็ทรงแนะนำให้ใช้พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ จาคานุสสติ สีลานุสสติ เทวตานุสสติ เป็นเครื่องประคับประคองใจ ถ้ากำลังใจของท่านมีความปลอดโปร่ง มีความเฉลียวฉลาด องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถก็ให้เจริญมรณานุสสติกรรมฐาน หรือว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัฏฐาน ๔ อุปสมานุสสติคือนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่เป็นการบังคับไม่ให้จิตของเราฟุ้งซ่านมากเกินไป ให้ทรงกำลังใจอยู่โดยเฉพาะ หลังจากนั้นเมื่อกำลังใจทรงดีแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็ให้พิจารณาว่า โลกเต็มไปด้วยความทุกข์ ทุกข์ในอริยสัจคิดว่า ชาติปิ ทุกขา ความเกิดมันเป็นทุกข์ เพราะเกิดมาต้องเลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงพี่เลี้ยงน้อง เหนื่อยยากไปด้วยการงานต่างๆ ต้องมีความทุกข์เพราะการกระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่เราไม่พอใจ และมีความป่วยไข้ไม่สบาย มีความตายไปในที่สุดและต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ถ้าเราเกาะมันเกิดไป อารมณ์ใจมันก็จะมีความทุกข์ เราก็พยายามวางอารมณ์เสีย หาเหตุผลว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันเป็นของธรรมดา เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วมันก็ต้องแก่ เกิดขึ้นมาแล้วมันก็ต้องป่วย เกิดขึ้นมาแล้วมันก็ต้องรับภาระในเรื่องของตนเอง เรื่องของครอบครัว เกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องกระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่ชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้าง ยอมรับนับถือว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นของธรรมดาที่เราจะปฏิเสธไม่ได้ แล้วพยายามทำใจให้สบาย มีความรู้สึกเป็นสุข ถือว่าธรรมดามันเกิดมาอย่างนี้ เราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ เราก็ไม่หลีกและก็ไม่เลี่ยง เรายอมสู้มัน แต่อาการที่เราจะสู้ เราก็จะต้องสู้ด้วยการยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริงว่า ถ้าหากว่าเราขืนดิ้นรนไปตามอาการอย่างนั้น เราทะเยอทะยานในความรักไม่มีขอบเขต เราก็ต้องตกอบายภูมิ เรื่องของความรักเป็นปัจจัยให้มีความทุกข์ รักมากทุกข์มาก รักน้อยทุกข์น้อย ถ้าหากว่าเราไม่รักอะไรเลย เราก็ไม่มีความทุกข์ ทั้งนี้บรรดาท่านพุทธบริษัทศึกษากันมามากแล้วก็ขอพูดแต่โดยย่อ



ทีนี้ความโกรธเป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ ถ้าเราไปคิดจะฆ่าเขา คิดจะตีเขา จิตใจของเราก็ไม่มีความสุข ความทุกข์ความดิ้นรนมันย่อมจะเกิดขึ้นกับจิต ความไม่สบายกายไม่สบายใจมันก็เกิดขึ้น อยากจะฆ่าเขา อยากจะทำร้ายเขา ก็ต้องวางแผน คนที่เขาจะถูกทำร้ายยังไม่มีความทุกข์อะไรเลย เราเองเป็นผู้มีความทุกข์ กินไม่ได้นอนไม่หลับ มันไม่ดีก็หาทางตัดมันไป

อำนาจความหลงว่าร่างกายเรานี้มันจะอยู่ได้ตลอดกาลตลอดสมัย หรือว่าทรัพย์สินทั้งหลายที่มีอยู่มันจะอยู่กับเราตลอดไป อำนาจความหลงอย่างนี้เราก็โยนมันไปเสีย ยอมรับนับถือคือว่ายอมเอาบุคคลอื่นเป็นตัวอย่าง ชาวบ้านที่เขาเกิดมาพร้อมเราบ้าง เกิดก่อนเราบ้าง เกิดที่หลังเราบ้าง ที่เขาตายให้เราดูเราเห็นหรือยัง เราก็เห็นแล้วนี่ว่าเขาตายให้เราดู และขณะที่เขาตายนี่ทรัพย์สินทั้งหลายหรือว่าคนที่เรารัก เขาพาไปด้วยหรือเปล่า ก็เป็นอันว่าไม่มีใครเขาพาไปได้เลย แม้แต่ร่างกายอันเป็นที่รักยิ่งก็ปล่อยให้ทับถมพื้นแผ่นดินลงไป ฉะนั้นสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันไม่เป็นปัจจัยที่จะติดตามเราไปในชาติหน้า แล้วอะไรล่ะที่จะตามเราไป คือกรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ฉะนั้นเราในฐานะที่เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระทรงธรรมบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็ต้องเลือกทางเดินเอา เพราะเรารู้จักทางเดิน ทางเดินที่เราจะเดินนั่นก็คือเลือกทางเดินตัดอบายภูมิทั้ง ๔ ประการ ตัดความเป็นสัตว์นรก ตัดความเป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน ถ้าจะเกิดเป็นคน เราก็จะเป็นคนแบบประเภทจำกัดกาล อย่างเลวที่สุดเราจะเกิดอีก ๗ ชาติถึงพระนิพพาน อย่างกลางเราจะเกิดอีก ๓ ชาติถึงพระนิพพาน อย่างดีที่สุดเราจะเกิดอีกชาติเดียวถึงพระนิพพาน และเราก็จะทำอย่างไร มันจึงจะถึงพระนิพพาน



เราก็มานั่งพิจารณาถึงความตายที่มันจะปรากฏ ถึงความเสื่อมโทรมในวัตถุและสิ่งมีชีวิตที่มันปรากฏ คิดว่าโลกนี้เต็มไปด้วย “อนิจจัง” หาความเที่ยงไม่ได้ หาอะไรที่ทรงตัวไม่ได้เลย คนเกิดมาแล้วก็แก่ แล้วก็ตาย ทรัพย์สินทั้งหลายเกิดมาแล้วมันก็มีการสลายตัวไปในที่สุด ข้าวของต่างๆ ที่เป็นวัตถุเป็นของใหม่แล้วก็กลายเป็นของเก่า ในที่สุดมันก็พังมันก็สลายตัว

เราจะเอาอะไรเป็นจุดยืน ก็ต้องแสดงหาจุดยืน หาสิ่งที่ทรงตัว คือความดีของพระรัตนตรัย มีความเชื่อในความดีของพระพุทธเจ้า เชื่อในความดีของพระธรรม เชื่อในความดีของพระสงฆ์ ที่เขาเรียกกันว่ามั่นในพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการ คือตามที่กล่าวกันว่า “พุทธัง สรณัง คัจฉามิ” ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง “ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ” ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระธรรมเป็นที่พึ่ง “สังฆัง สรณัง คัจฉามิ” ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ในเมื่อเรากล่างอย่างนี้แล้ว พระก็บอกว่า “ปานาติปาตา เวรมณีฯ” เป็นต้น หมายความว่าเราเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จริงๆ ประกาศขอยอมรับนับถือ พระก็ให้สิ่งที่เรานำไปปฏิบัติ ฆราวาสท่านก็ให้ศีล ๕ ประการ สามเณรให้ศีล ๑๐ พระให้ศีล ๒๒๗ เมื่อเรารักษาศีลบริสุทธิ์เมื่อไร ขณะนั้นชื่อว่าเรามีความเคารพในพระรัตนตรัยอย่างจริงจัง

แต่ขณะใดที่เรายังปฏิบัติในศีลให้ครบถ้วนไม่ได้ ในขณะนั้นเรายังไม่มีความเคารพในพระรัตนตรัย ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเรายอมรับนับถือในท่าน ท่านให้รักษาศีล และลงท้ายท่านบอกว่า “สีเลนะ สุคติง ยันติ” ถ้ามีศีลบริสุทธิ์ ย่อมไปสู่สุคติ โลกสวรรค์ “สีเลนะ โภคสัมปทา” ศีลจะเป็นปัจจัยให้เธอมีโภคสมบัติมาก “สีเลนะ นิพพุติงยันติ” ศีลเป็นปัจจัยให้เข้าสู่พระนิพพาน คนที่จะเป็นพระโสดาบันได้ก็มีอารมณ์อยู่ตอนหนึ่งที่เรียกกันว่าเข้าสู่ โคตรภูญาณ หรือความเป็นพระโสดาบัน



เมื่อพิจารณาเป็นของธรรมดาที่เรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ คือวางเฉยต่ออารมณ์ต่างๆ ที่เป็น โลกธรรม ที่มันเกิดขึ้นมาแล้วถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีจิตดิ้นรน ร่างกายป่วยถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ถูกนินทาว่าร้ายถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ทรัพย์สินจะต้องหมดไปเพราะเหตุใดเหตุหนึ่งถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา จิตใจไม่หวั่นไหว แม้แต่ร่างกายจะตายถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ถือว่าของธรรมดามันจะต้องตายอย่างนี้เรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ เมื่อจิตเข้าถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว ตอนนั้นมีอารมณ์ใจรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ มีความต้องการอย่างเดียวคือพระนิพพาน การเกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เทวดาก็ดี พรหมก็ดี เราไม่รัก แต่ทว่าถ้ายังจะไปนิพพานไม่ได้ มันจะไปพักแค่มนุษย์ แค่เทวดาหรือแค่พรหมเราก็พอใจ แต่เนื้อแท้ของกำลังใจจริงๆ แล้วต้องการเฉพาะพระนิพพาน อันนี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัทุกท่าน อารมณ์ของพระโสดาบันที่แท้จริงก็คือรักษาศีล ๕ บริสุทธิ์ เคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างเคร่งครัด แล้วก็มีจิตรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ เพียงเท่านี้ก็ชื่อว่าเราได้เป็นพระอริยเจ้าเบื้องต้นคือพระโสดาบัน เป็นปัจจัยตัดอบายภูมิทั้ง ๔ ได้ คือไม่ต้องไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เห็นว่าไม่นอกเหนือจากกำลังสติปัญญาหรือความสามารถของบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยถ้วนหน้า เอาละ สำหรับวันนี้เวลาที่จะพูดก็หมดแล้ว ก็จะขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผลจงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนผู้รับฟังทุกท่าน สวัสดี.

ที่มา : นิตยสารธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๑๖ ประจำเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๐
หน้า ๘๑-๘๘. ถอดเทปโดย ณัชชา, ถอดความโดย ศรีโคมคำ

29


พระมหากัจจายนะ

โดย พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

แหม...ฉันเห็นเขาปั้นรูปพระมหากัจจายนะ ฉันรู้สึกสลดใจ ความจริง พระสังขจาย หรือ พระมหากัจจายนะ ท่านเป็นพระที่มีบุญญาธิการมาก เคยปรารถนาพุทธภูมิมาในกาลก่อน และก็มีบารมีจวนจะเต็มอยู่แล้ว อาศัยที่มาพบองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว ท่านก็มานึกในใจว่า ท่านจะรอเป็นพระพุทธเจ้าก็ต้องบำเพ็ญบารมีต่อไปอีก แต่ละชาติสภาวะมันเป็นทุกข์ เพราะเราต้องเกิดในกองทุกข์ คือขันธ์ ๕ ขณะใดที่เราอาศัยร่างกายอยู่ขณะนั้นเราก็เป็นทุกข์ จะเกิดอยู่ในโลกก็เป็นสังคมของความทุกข์ มันหาความสุขจริงๆ ไม่ได้ ดังนั้น ท่านจึงตัดสินใจขอลาพุทธภูมิกลับมาเป็นสาวกภูมิ การบำเพ็ญบารมีเป็นพุทธภูมิปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าใกล้ความจริง บารมีท่านเกินความเป็นอรหันต์ แต่ว่าการบำเพ็ญบารมีเป็นพระอรหันต์และสาวกปกติต้องบำเพ็ญบารมี ๑ อสงไขย กับแสนกัป ถ้าปรารถนาเป็นอัครสาวกหรือว่าปัจเจกพุทธเจ้า ๒ อย่าง บำเพ็ญบารมีจริง ๒ อสงไขยกับแสนกัป ถ้าต้องการบำเพ็ญบารมีเป็นพระพุทธเจ้าขั้นปัญญาธิกะ ก็ต้องใช้เวลาบำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขยกับแสนกัป ถ้าเป็นศรัทธาธิกะก็ต้องใช้เวลาบำเพ็ญบารมี ๘ อสงไขยกับแสนกัป ถ้าเป็นวิริยาธิกะก็ต้องใช้เวลาบำเพ็ญบารมี ๑๖ อสงไขยกับแสนกัป สำหรับพระมหากัจจายนะนี่ไม่ทราบ พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่าท่านปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าประเภทไหน คำว่าใกล้เป็นพระพุทธเจ้า อย่างน้อยบำเพ็ญบารมีเกินกว่า ๓ อสงไขยกับแสนกัปเลยกำลังของพระสาวกถือว่าสูงมาก ฉะนั้น ในชาติหลังที่ท่านจะเป็นพระพุทธเจ้า ในชาตินั้นมีลักษณะพิเศษ คือ มีอาการครบถ้วน ๓๒ และมีลักษณะพิเศษอีก ๘๐ สมบูรณ์ทุกแบบ



พระพุทธเจ้าท่านสวยจริงๆ เมื่อเกิดมาแล้วจะมีอาการ ๓๒ ไม่บกพร่องสมบูรณ์แบบทุกอย่าง ลักษณะทุกส่วนของร่างกายได้สัดส่วนได้ส่วนกันหมด และมีลักษณะเล็กๆ อีก ๘๐ จุด จึงแก้ความบกพร่องของร่างกาย จะมองตรงไหนที่น่าตำหนิไม่มี การบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าชาติเดิมจริงๆ จะมีลักษณะอย่างนี้ ดังนั้น พระมหากัจจายนะท่านบำเพ็ญบารมีมามาก ใกล้จะเป็นพระพุทธเจ้า ท่านจึงมีรูปร่างหน้าตาสวยมาก ไม่สวยเท่าพระพุทธเจ้า แต่ก็ใกล้ ลักษณะผิวพรรณเหลือง เป็นคนเนื้อขาวเหลือง หน้าตาสวย ทรวดทรงดีมาก เมื่อท่านเห็นองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตั้งมโนปณิธานปรารถนาใหม่ว่า ต้องการเป็นสาวก ฉะนั้น เมื่อฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าเพียงจบเดียว จึงบรรลุ พระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ และก็เป็นพระที่มีความฉลาดในการอธิบายธรรมมะมาก อย่างที่พระพุทธเจ้าเทศน์มาอย่างย่อๆ สั้นๆ แล้ว ถ้าไม่เข้าใจถามพระมหากัจจายนะ ท่านก็อธิบายอย่างละเอียด คนที่ได้รับฟังแล้ว ก็กลับมาถามพระพุทธเจ้าใหม่ว่า พบพระมหากัจจายนะท่านอธิบายแบบนี้ ที่พระองค์ทรงเทศน์ย่อถูกหรือผิด พระพุทธเจ้าก็จะทรงรับรองว่า “ถ้าให้ตถาคตอธิบายก็พูดเหมือนพระมหากัจจายนะนั่นแหละ” เป็นอันว่า พระมหากัจจายนะเป็นพระอรหันต์มาจากพุทธภูมิและก็มีความฉลาดมาก มีระเบียบวินัย



ต่อมาอาศัยความสวยของท่านเป็นภัยกับคน คือมีลูกมหาเศรษฐีคนหนึ่ง ท่านมีภรรยาแล้ว มีลูก ๒ คน วันหนึ่งพบพระมหากัจจายนะเข้า เห็นความสวยของพระมหากัจจายนะ ท่านก็ปรารภว่า “ถ้าเมียเราสวยอย่างนี้เราจะรักมาก หรือว่าพระองค์นี้เป็นเมียเรา เราจะรักมากจริงๆ เพราะสวยมาก” อาศัยที่มีอธิษฐานบารมีดีมาก แกก็เลยกลายเป็นผู้หญิงไป อีตาคนนั้นน่ะ แกอาย เลยต้องไปอยู่ที่อื่น ผลที่สุดแกก็ไปแต่งงาน เป็นผู้หญิงทั้งตัวไม่ใช่ผู้หญิงปลอม เมื่อแต่งงานแล้ว แต่งกับผู้ชายคนใดคนหนึ่ง ท่านไม่บอกชื่อ หรือท่านบอกแล้วก็ลืมไม่ทราบ ท่านมีบุตร ๒ คน วันหนึ่งเพื่อนเก่าของท่านไปพบเข้า ถามว่า “มันเป็นอย่างไรกันนี่พ่อคุณ เป็นผู้ชายดันเสือกเป็นผู้หญิงและก็มีลูก ๒ คน” ก็เลยเล่าให้ฟังว่า “ไปเจอะพระมหากัจจายนะเข้า ไปนึกเข้า ไปปรารถนาเข้า ก็เลยกลายเป็นผู้หญิง” ท่านผู้นั้นก็เลยบอกว่า “สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นพระอรหันต์ ท่านทำอย่างนั้นเป็นการปรามาส ไปขอขมาเสีย” พอขอขมาโทษเสร็จ ก็กลับมาเป็นผู้ชายตามเดิม เหมือนเล่นลิเก เหมือนเล่นละคร ก็แปลกดีเหมือนกัน พอกลับเป็นผู้ชายตามเดิม เพื่อนก็ถาม “เดิมทีที่ท่านเป็นผู้ชายก่อนแต่งงานกับภรรยา ท่านมีลูก ๒ คน และตอนท่านเป็นผู้หญิงท่านแต่งงาน และท่านมีลูก ๒ คน อยากจะถามว่า ความรักที่มีอยู่ในลูกทั้ง ๒ คนเป็นอย่างไร รักลูกที่เกิดจากภรรยามาก หรือที่เกิดกับตนเองมาก” ชายคนนั้นก็บอกว่า “รักลูกที่เกิดกับตนเองมากกว่า” ที่พูดตามนี้เพราะว่าพระมหากัจจายนะท่านสวย มีระเบียบ เพราะท่านเป็นอรหันต์



ต่อมาเมื่อข่าวนี้ปรากฏขึ้น เห็นว่าความสวยของร่างกายนี้ มันเป็นโทษกับคน ก็เพราะพระอรหันต์ไม่ได้ปรารภถึงความสวยสดงดงาม ท่านไม่คำนึงถึงเรื่องร่างกาย ร่างกายมันเป็นอย่างไรมันเป็นเรื่องของร่างกาย ร่างกายมันก็เป็นโทษทำให้คนเกิดเป็นทุกข์ ชายกลายเป็นผู้หญิง หญิงเป็นผู้ชายมันก็ยุ่ง ท่านก็เลยจะตัดเรื่องนี้ให้มันหมดไป
เพราะอำนาจของพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณก็ดี หรือพระอรหันต์ฉฬภิญโญก็ดี อภิญญา ๖ ก็ดี สามารถทำได้ ท่านจึงอธิษฐานตัวของท่านให้อ้วนเตี้ยคลายความสวยงามลงไปเสีย เอาแค่อ้วนกับเตี้ย และอย่าลืมพระอรหันต์ต้องมีระเบียบ เคารพในระเบียบพระวินัย แค่อ้วนเตี้ยลงมาช่วงอกขึ้นไปหน่อย เรียกว่า คนอ้วนเนื้อเต็มพุงพลุ้ยนิดๆ แต่เตี้ยกว่าเดิม ดูทรวดทรงไม่สวยกว่าเก่า ก็เหมือนคนธรรมดาที่มีลักษณะดี แต่ว่าสมัยนี้การปั้นรูปพระมหากัจจายนะสะดือจุ่น ไม่รู้เอาแบบมาจากไหน ฉันเห็นเข้าก็สลดใจจริงๆ ไม่รู้ว่าพระอรหันต์องค์ไหนเขาทำกันแบบนั้น ใช่ไหม? สวัสดี. 

ที่มา : นิตยสารธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๑๖ ประจำเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๐
หน้า ๓๕-๓๗.  ถอดความโดย ศรีโคมคำ.

30



อริยผล

โดย พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
   

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลายบารมี ๑๐ จบไปแล้ว ต่อแต่นี้ไปก็มาพูดกันถึงพระสกิทาคามี การปฏิบัติเพื่อมรรคผลพระนิพพานคงจะเป็นของไม่ยากของท่านพุทธบริษัท พระโสดาบันเท่านั้นที่เราจะขึ้นกันได้ยาก เพราะว่าเป็นของใหม่ ถ้าถึงพระโสดาบันแล้ว เราจะปฏิบัติตนเพื่อพระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ตอนนี้เป็นของง่าย พระพุทธโฆษาจารย์ท่านพูดไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ถ้าบุคคลใดเป็นพระโสดาบันในที่นั่งใด จงทำตอนให้เข้าถึงพระอรหันตผลในที่นั่งอันนั้น เป็นเจตนาของท่านที่กล่าวไว้ด้วยดี แต่ความจริงก็เป็นอย่างนั้น เพราะการเป็นพระโสดาบันนี้ยาก คำว่ายากก็เพราะว่าเป็นของใหม่แก่จิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท เพราะจิตใจของเราคบกับอกุศลอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราจะมีตั้งหน้าตั้งตาคิดว่า จะทำตนให้เป็นพระโสดาบัน อกุศลที่เป็นเพื่อนเก่าของเรานั้นมันก็จะเข้าประหัตประหาร มันจะเข้ามาพยายามทำลาย แต่ก็ไม่เป็นไร เราฟังบารมีกันมาแล้วนี่ ถึงแม้จะฟังบารมีแต่เพียงย่อๆ ก็พอเข้าใจแล้วว่ากำลังใจของเราครบถ้วนบริบูรณ์ ถ้ากำลังใจของเรายังไม่ครบถ้วนบริบูรณ์เราก็ไม่ต้องยุ่ง ทำให้มันครบถ้วนบริบูรณ์เสียก่อน ถ้ากำลังใจในด้านปฏิบัติบารมี ๑๐ ประการครบถ้วนเป็นปกติ คำว่าบริบูรณ์คือเห็นตามนั้นเป็นปกติ ไม่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง จะนั่งอยู่ ยืนอยู่ เดินอยู่ นอนอยู่ ทำกิจการงานใดก็ตาม จะไปนั่งในวงเหล้าเมากัญชาก็ช่าง เราจะไปอยู่ในสังคมไหนก็ช่าง เราอาจจะพูดคุยตามใจเขาได้แต่ว่าจิตใจของเราไม่เป็นไปตามนั้น อันนี้เป็นสิ่งที่เราควรสนใจ ท่านเห็นดีด้วยไหม เห็นดีหรือไม่เห็นดีด้วยก็ตามใจ



ตอนนี้เรามาพูดกันถึงพระสกิทาคามี เราเป็นพระโสดาบันแล้วมีศีลบริสุทธิ์ รู้แล้วว่าอัตภาพร่างกายของเรามันจะพัง เราเชื่อคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราไม่สงสัยในคำสอนของพระองค์ว่า อัตภาพร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ร่ายกายเป็นปัจจัยของความทุกข์ เราจะหาความสุขด้วยการตัดร่างกาย คือหนีร่างกายให้พ้นไป พระโสดาบันนี่ถ้าเราปฏิบัติได้มันก็ยังดีไม่มากนัก เพียงแค่คุมศีลไว้ให้เป็นปกติ ไม่ละเมิดในศีล ยังมีความพอใจในกามารมณ์แต่ก็ยังอยู่ในของเขตของศีล แล้วเราไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า พระโสดาบันไม่ประมาทคิดว่าเราจะต้องตายเป็นปกติ ถ้าเราตายแล้วเราปรารถนาพระนิพพาน พระโสดาบันเป็นผู้มีสติปัญญาและเป็นผู้มีศรัทธาสูง มีความมั่นในคุณพระรัตนตรัย เรามานั่งมองดูพระโสดาบันก็คิดว่าการเป็นพระโสดาบันก็ดี แต่ทว่าเวลาที่ความวุ่นวายของจิตนี้มันยังมาก เราเห็นว่าไม่เป็นเรื่องเปลืองเวลา ทำไมเราจึงจะต้องไปยุ่งกับกามราคะ ความพอใจในกามคุณ การมีผัวมีเมียซึ่งเต็มไปด้วยความสกปรก หรือพอใจอยู่ในความร่ำรวยเกินไป แล้วเราก็ยังมีความพอใจในขันธ์ ๕ ความสวยสดงดงาม ความจริงพระโสดาบันไม่ละเมิดในศีล ๕ แต่ทว่ายังอยู่ในกามารมณ์ ยังยุ่งอยู่ในความรวย เรายังเห็นว่ากามารมณ์ทำให้เราเป็นทุกข์ ความร่ำรวยไม่ได้สร้างความสุขใจให้เกิดแก่บุคคลใด เป็นปัจจัยของความทุกข์ เราจะทำอย่างไรล่ะ? ก็ใช้ปัญญาบารมีหรือบารมีทั้ง ๑๐ ประการ เข้ามาประหัตประหารอารมณ์ที่เห็นว่าอัตภาพร่างกายนี้มันเป็นเราเป็นของเราให้หนักขึ้น นอกจากจะเห็นว่ามันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราแล้ว เราก็ยังเห็นความสกปรกโสมมของมันหนักขึ้น จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย มีความสะอิดสะเอียนในร่างกายของเราและบุคคลอื่น ตอนนี้จะถามว่ามีกรรมฐานบทไหนเป็นเครื่องยึด ไม่ตอบแล้วเพราะการจะขึ้นเป็นพระโสดาบันนี่มันต้องพบมาทุกอย่างแล้ว จะมานั่งบอกกันอยู่อีกเหรอ ไม่มีความจำเป็น ถ้ายังต้องมานั่งบอกกันอยู่อีกก็แสดงว่าท่านยังไม่ได้เป็นพระโสดาบัน จะเป็นกันได้อย่างไร ถ้ากรรมฐานหยาบๆ ในด้านสมถภาวนา เขาต้องบุกแหลกกันมาตั้งแต่ก่อนเป็นพระโสดาบัน มันจึงจะเป็นพระโสดาบันได้ แต่ว่าสมถภาวนาก็ต้องคุมให้อยู่ ไม่ใช้ผ่านแล้วก็ทิ้งกันไป แล้วจะมานั่งถามกันว่าตัดเพราะอะไร ถ้ามาถามด้วยตนเองจะไม่บอกให้ฟังเลย ทั้งนี้เพราะว่าสิ่งที่จะต้องถามมันไม่มี มันผ่านมาแล้ว แต่ตอนนี้เป็นตอนพูดให้ฟังก็จะพูด



เพราะการที่เราจะมาห้ำหั่นด้วยอำนาจสักกายทิฏฐิ ทำลายกามฉันทะ หรือทำลายความรู้สึกของกามให้มันลดน้อยถอยลงไป ถ้าเราจะพูดกันถึงสกิทาคามี อาตมาว่าไม่ดี เอาอนาคามีเลยดีกว่า พระสกิทาคามีก็ละสังโยชน์ได้แค่พระโสดาบัน เป็นแต่เพียงว่าอารมณ์จิตละเอียดกว่า ความรู้สึกในกามยังพอมี แต่เบาบางมาก มันมีอาการคล้ายกับว่าคนที่ความรู้สึกในกามมันไม่มีนะ มีความรู้สึกในกามน้อยแต่มันก็ยังมีอยู่ ความโกรธความพยาบาทมันก็น้อยแต่ก็ยังมีอยู่ เราเอาแบบไม่มีเลยดีกว่า เป็นพระอนาคามีเลยดีไหม เลือกเอาพระอนาคามี จากพระโสดาบันเป็นพระสกิทาคามีมันก็เป็นของง่าย ขยับใจขึ้นไปนิดไปหน่อยมันก็ถึง ถ้าเราจะตั้งเป้าหมายเข้าหาพระอนาคามี เขาทำกันอย่างไร? กรรมฐานตัวสำคัญคืออสุภกรรมฐานกับกายคตานุสสติกรรมฐานเอาเป็นตัวยืนโรงเข้าไว้ มองเห็นอัตภาพร่างกายเราหรือบุคคลอื่นมันเป็นซากศพไปหมด มันเป็นของสกปรกทำให้เกิดนิพพิทาญาณ ความเหนื่อยหน่ายจริงๆ รังเกียจด้วยประการทั้งปวง จนกระทั่งไม่มีความรู้สึกว่ามีความต้องการ และพิจารณาด้วยอำนาจของสักกายทิฏฐิว่า นอกจากมันสกปรกแล้วยังเป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ ความจริงมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของใครทั้งหมด มันเป็นเรือนร่างที่กิเลสตัณหาอุปาทานสร้างขึ้นมาล่อคนโง่ให้หลงอยู่เท่านั้น เราจะยุ่งอะไรมัน มองตรงไหนก็สกปรกมองตรงไหนก็เลอะเทอะเต็มไปด้วยความสกปรกโสมม มีแต่ปฏิกูลโสโครกหาความดีอะไรไม่ได้ ทำใจให้มันเต็ม ตอนนี้ใช้ปัญญาพิจารณาจริงๆ มองเข้าไปทะลุภายใน อย่าทำปัญญาลอยชายอยู่ภายนอก ทำเป็นบุคคลเจ้าสำรวย คิดบ้างไม่คิดบ้าง อันนี้ใช้ไม่ได้ คิดมันอยู่เสมอในอารมณ์ใจมันปรกติเป็นของธรรมดาไปเลย เห็นใครก็สกปรก เห็นใครก็น่าเกลียด นอกจากสกปรก นอกจากน่าเกลียดแล้ว มันเป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ คือตัวทุกข์ทั้งนั้น ของเหม็นเราเข้าไปใกล้มันสุขหรือมันทุกข์ ของทรุดโทรมที่มันไม่มีการทรงตัวเรารักษามันไว้ เราสุขหรือเราทุกข์ เรามันก็เต็มไปด้วยความทุกข์ น่าเบื่อหน่าย ทำลายให้มันพินาศไปจากอำนาจของความรักความพอใจ ใช้พิจารณาให้มันเห็นจริงๆ จนกระทั่งจิตมันยืนนิ่ง เห็นคนสวยคนสมาร์ทแทนที่เราจะนึกว่าสวยนึกว่าจะสมาร์ท แต่ทว่าเราเห็นเป็นซากศพไป เป็นของสกปรก เป็นที่น่าสะอิดสะเอียน ไม่มีอะไรที่จะเป็นที่พอใจสำหรับเรา รังเกียจด้วยประการทั้งปวง อันนี้เป็นอารมณ์ของพระอนาคามี ถ้าจิตเข้าถึงจุดนี้แล้วอำนาจของกามารมณ์ในใจมันไม่มีเลย มันกลายเป็นคนไม่สู้คนไปเสียแล้ว พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ถ้าจิตเข้าถึงจุดนี้น้ำอสุจิมันเหือดแห้งไป แล้วความรู้สึกในใจมันไม่มีเรื่องกามารมณ์ องค์กำเนิดของแต่ละคนจะหมดฤทธิ์ ไม่มีกำลัง ถ้าหากว่าท่านสงสัยก็ปฏิบัติให้มันถึงก็แล้วกัน ถ้าถามว่าเพราะอะไรร่างกายมันจึงสร้างสภาวะขึ้นมาเป็นอย่างนั้นใจจึงทำลายได้อันนี้ไม่ตอบ จะตอบได้อย่างไรล่ะ ตอบไปเท่าไรก็ไม่หมดสงสัย ถ้าทำให้มันถึงแล้วมันหมดสงสัยเอง เพราะมันถึงจริงๆ มาว่าถึงอำนาจของความโกรธและความพยาบาท พระโสดาบันกับพระสกิทาคามียังมี แต่กำลังมันน้อยมันทรุดตัวแล้ว พอถึงพระอนาคามี ใช้พรหมวิหาร ๔ หรือกสิณ ๔ เป็นตัวยืนโรง คราวนี้ไม่ต้องเกะกะมาก เรื่องอารมณ์ที่จะเข้าสู่อกุศลมันไม่มีอีกแล้วนี่ มันมีอย่างเดียวคือพุ่งขึ้น การแสวงหาพระกรรมฐานให้ตรงอัธยาศัยตอนนี้ไม่มี ตัดไปแล้ว ใช้เมตตาบารมีคือพรหมวิหาร ๔ หรือกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กล่าวมาแล้วตั้งทรงตัวเข้าไว้ เห็นโทษแห่งความโกรธความพยาบาท จิตใจจะทรงไปด้วยอำนาจพรหมวิหาร ๔ เป็นปรกติ มีแต่ความเยือกเย็น ถ้าเรารักและสงสารกันแล้วเราจะโกรธกันได้อย่างไร เมื่อใช้พรหมวิหาร ๔ แล้วก็ใช้กายคตานุสสติว่า เราจะโกรธเขาเพื่อประโยชน์อะไร เขาต้องตาย เขาต้องมีทุกข์ เขามีทุกข์อยู่แล้ว เขาตายอยู่แล้ว ไม่ต้องไปเข่นฆ่า มีแต่น่าเวทนาเท่านั้น ที่เขาทั้งหลายเหล่านั้นมีความผิดคิดชั่ว ทำตัวให้เกิดความทุกข์ ถ้าอารมณ์อย่างนี้มันทรงตัวแล้วเอาอะไรไปโกรธ เอาอะไรไปคิดประทุษร้ายเขา เท่านี้ก็เป็นพระอนาคามีแล้ว ไม่ยากอะไรเลยนี่ มันยากอยู่ที่พระโสดาบันเท่านั้น จบกันรึยังล่ะ จะจบทำไมเวลาเหลืออีก ๑๕ นาที วิ่งชนอรหันต์เลยวันนี้ เพราะบารมีของท่านเต็มแล้วมันเป็นของง่าย พระพุทธโฆษาจารย์จึงได้กล่าวไว้ว่า ถ้าเป็นพระโสดาบันในที่นั่งอันใด จงทำใจของท่านเองให้เข้าถึงความเป็นอรหันตผลในที่นั่งอันเดียวนั้น เพราะตอนหลังนี้มันง่าย พอถึงอนาคามีแล้วเหลืออะไรอีกที่เป็นกิเลส มันเป็นอุปกิเลสหรืออนุสัยตัวเล็กๆ เป็นของเด็กเหมือนกับลูกน้ำ เราฆ่าตะเข้ตะโขงตายหมด เสือสางช้างม้าฆ่าตายหมด เหลือแต่มดกับลูกน้ำ แต่ก็ต้องระวังให้ดีเพราะลูกน้ำหรือมดมันจับยากเหมือนกัน เพราะตัวมันเล็ก แต่ถ้าอารมณ์จิตของเราเข้าถึงอนาคามีเสียแล้ว รู้สึกว่าจะเล็กขนาดไหนเราก็จับไหว อารมณ์ที่มันยังขังใจอยู่มีตรงไหนล่ะ เหลืออีก ๕ ข้อเท่านั้น คือ รูปราคะ เห็นว่ารูปฌานเป็นของดี อรูปราคะ เห็นว่าอรูปฌานเป็นของดี แต่ความจริงมันก็ดี แต่ว่าดีกว่านี้มันยังมีอยู่อีก เราไม่หยุดดีกันแค่การทรงรูปฌานและอรูปฌาน ก้าวดีต่อไป มานะ คือถือตัวถือตน เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน คนจนคนรวย คนสกปรกคนสะอาด เข้ากันไม่ได้ คนกับสัตว์เดรัจฉานถือตัวว่าเหนือกว่ากัน อย่างนี้มันเป็นกิเลส มันเป็นตัวถ่วง อารมณ์อย่างนี้ยังพอเหลืออยู่ ทำลายมันให้พินาศไป อุทธัจจะ อารมณ์ที่ฟุ้งซ่าน ตอนนี้พระมหานามเคยถามพระพุทธเจ้าว่า พระองค์บอกว่าข้าพระพุทธเจ้าเป็นพระอนาคามี แต่ว่าอารมณ์ฟุ้งซ่านทำไมยังมีอยู่ แต่ว่าฟุ้งซ่านในด้านกุศล องค์สมเด็จพระทศพลก็ตอบว่า มันยังมี ไปตัดได้ตอนเป็นพระอรหันต์ อารมณ์ที่ไม่ฟุ้งซ่านน่ะเป็นอรหันต์เท่านั้น นอกนั้นยังมีอยู่ ยังปักหลักไม่หยุด คือหลักมันยังมีความหวั่นไหวอยู่บ้าง ไม่ไหวมากมันก็ไหวน้อย ถ้าพระอรหันต์มันก็เหมือนเสาเขื่อน ไม่หวั่นไม่ไหว



 อวิชชา ความโง่ ตอนนี้เราจะเข้ามาตัดกันตอนไหน ของทั้ง ๕ ประการนี้ รูปฌานและอรูปฌานนี้เป็นของง่าย แต่เรารู้ว่าความเป็นอรหันต์ยังดีกว่านี้ เราก็ใช้รูปฌานและอรูปฌานทั้ง ๒ ประการ เป็นกำลังช่วยประคับประคอง เป็นพาหนะเพื่อวิ่งไปหาความเป็นพระอรหันตผล คือเราไม่หยุดอยู่ตรงนั้น เท่านี้มันก็หมดไป ตัวที่ถือตัวถือตนก็ดี อารมณ์ฟุ้งซ่านก็ดีไม่ต้องตัด คือไปตัดตัวปลายคืออวิชชาเลยดีกว่า ตัดอวิชชามันตัดกันตรงไหนล่ะ ก็จับสักกายทิฏฐิตัวนั้นตัวเดียว คือเห็นว่าร่างกายเป็นเราเป็นของเรา เรามีในร่ายกาย ร่างกายมีในเรา ตอนนี้นักเจริญวิปัสสนาหรืออาจารย์ทั้งหลายจะเห็นว่าอาตมาพูดย่อเกินไป เขาใช้คำว่าขันธ์ ๕ แต่อาตมาไม่ชอบ เวลาปฏิบัติมาจริงๆ ก็ไม่ชอบเหมือนกัน เพราะเราก็รู้กันอยู่แล้วว่าร่างกายก็คือ ขันธ์ ๕ และขันธ์ ๕ ก็คือร่างกาย และเราก็พูดกันจนชินแล้วว่าร่างกาย จะไปนั่งเรียกว่าขันธ์ ๕ ให้มันยุ่งเพื่อประโยชน์อะไร เรามานั่งตัดนั่งคิดพิจารณาดูว่า ร่างกายมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราแล้ว ความปรารถนาคือฉันทะ ความพอใจ ในการที่เราจะยึดถือความเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดาหรือพรหม ทำไมจึงจะต้องมีสำหรับเราอีก เพราะว่าการเกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เป็นเทวดาก็ดี เป็นพรหมก็ดี ยังอยู่ในเกณฑ์ของความเป็นทุกข์ หรือจะมีคือว่ามนุษย์ไม่ดี ร่างกายที่ประกอบไปด้วยขันธ์ ๕ ไม่ดี มันมีความทุกข์เราไม่ต้องการ เราต้องการกายทิพย์ คือกายของเทวดาหรือกายพรหม นี่ถ้าหลงอยู่ในกายเทวดาหรือกายพรหมก็ชื่อว่ายังหลงอยู่ในรูปฌานหรืออรูปฌาน เราก็มานั่งนึกว่า เทวดาหรือพรหมนี่ดีไหม ถ้าเราจะพูดกับคนธรรมดาก็ต้องตอบว่าดี ทำไมมันจะไม่ดี เพราะว่าเทวดาก็มีร่างกายเป็นทิพย์ พรหมก็มีร่างกายเป็นทิพย์ มันเป็นทิพย์เหมือนกันนี่มันก็ต้องดี แล้วมีดีกันตรงไหนล่ะ ดีที่ร่างกายเป็นทิพย์ไม่ต้องกิน ไม่ต้องอาบน้ำ ไม่ต้องหาอะไร มีไว้แล้วทุกอย่าง แต่ว่าส่วนที่ไม่ดีมันยังมีอยู่อีก ถ้าหมดบุญวาสนาบารมีจากเทวดาหรือพรหม เราก็ต้องโดดมาเป็นมนุษย์ มาเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย เป็นต้น มาพบกับความทุกข์อีก พบกับความยุ่งยากใจอีก นี่มันจะดีตรงไหน แล้วก็เลยหาความดีกันไม่ได้ ใช้ปัญญาบารมี อย่าลืมนะ ปัญญาบารมีเป็นบารมีครอบจักรวาล เอาปัญญามานั่งพิจารณาว่ามีไหมเทวดาหรือพรหมที่หมดบุญวาสนาบารมีแล้วลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย มีไหม เราก็จะเห็นว่ามีถมเถไป ถ้าเข้าถึงอนาคามีแล้วก็สบาย คลำเอาสบายเลย ตัวที่โยกโคลงทั้งหลายมันไม่มีแล้ว มันมีแต่ตัวตรง ตัวหยาบก็หมดไปแล้วเหลือแต่กิเลสละเอียด ช้อนลูกน้ำหรือช้อนมด จับมดจับลูกน้ำมันตัวเล็กแต่ว่าจับยาก แต่ไม่เป็นไร ปัญญาบารมีนี้ถ้าเป็นแหหรือสวิงก็เป็นแหหรือสวิงที่ตาถี่ ช้อนอะไรก็ติดทั้งหมด ก็มีนั่งคลำกันให้ดีว่าพรหมกับเทวดานี่ถึงที่สุดแล้วรึยัง พระพุทธเจ้าท่านบอกเสมอว่า “พรหมกับเทวดาก็ต้องจุติ ยังไม่พ้นจากความเป็นมนุษย์ ไม่พ้นจากความเกิด” แล้วเราจะนั่งสนใจอะไรกับการเป็นพรหมเป็นเทวดาเพื่อประโยชน์อะไร ยกเลิก ความต้องการคือราคะ ความรักใจความเป็นเทวดาหรือพรหมยกเลิกกันไป ตอนนี้ไม่ต้องมานั่งยกเลิกมนุษย์แล้ว ความเป็นมนุษย์มันไม่มีสำหรับเราอีกแล้ว เพราะว่าถ้าเราเป็นพระอนาคามี ตายจากความเป็นคนไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม ก็บำเพ็ญบารมีบนนั้นเป็นอรหันต์ไปนิพพานเลย เราไม่ต้องมานั่งมองมนุษย์ให้มันเหนื่อยเมื่อยลูกตา เมื่อยใจ นั่งมองพรหมกับเทวดาดีกว่า ถ้าเราไปอยู่ที่เทวดาหรือพรหมก็ยังมีกิจที่จะต้องทำ เวลานี้เวลาของเราก็ยังมีอยู่นี่ ใช้เวลาอีกไม่กี่นาทีมันก็เสร็จแล้ว เพราะว่าเราเชื่อองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว เป็นอนาคามีหรือเป็นอรหันต์ไม่ใช่ของยาก ง่ายมาก เป็นของตัวเล็ก ถ้ามีกำลังใจเข้มแข็งไม่เกิน ๓๐ นาทีก็เป็นพระอรหันต์ จะเป็นได้เราก็มานั่งมองว่า เทวดาหรือพรหมไม่ดีเราไม่รัก และความรักความพอใจมันไม่มีแล้ว เรามานั่งเชือดเฉือนความดีของเทวดาหรือพรหมเพื่อประโยชน์อะไร มันก็พ้นไป นี่เราก็มานั่งกลับหน้ากลับหลัง ทวนไปทวนมา ไปเอาปัญญาบารมีเป็นเครื่องใช้ ใช้จิตอนุโลมพยายามค้นคว้ากำลังใจว่า เวลาที่จิตของเราเข้าถึงพระโสดาบันมันเป็นอย่างไร



ตอนจิตของเราที่เข้าถึงพระโสดาบัน เราจะมองได้เฉพาะที่เห็นชัดคือศีลบริสุทธิ์ เรามั่นคงอยู่ในศีล การละเมิดศีลของเราไม่มี เรามีความเคารพในพระพุทธเจ้าจริงๆ ในพระธรรมจริงๆ ในพระสงฆ์จริงๆ อารมณ์ของเราจับเฉพาะอย่างเดียวคือมีนิพพานเป็นอารมณ์ นี่นั่งมองพระโสดาบันมีตัวนี้ มันไม่หวั่นไม่ไหวไปจากตรงนี้ ตัวนี้ทรงอยู่ ความรักความโลภความโกรธความหลงยังมี แต่ว่าศีลไม่ขาด ไม่ฝืนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จริง ตัวนี้เป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน

ทีนี้ตอนที่เราเข้าถึงอนาคามี สกิทาคามีจะไม่พูดเพราะไม่จำเป็น ของเล็กๆ นี่พูดทำไม พระสกิทาคามีกับพระโสดาบันก็ใกล้เคียงกัน จะว่ากันไปอีกทีก็เป็นคนรุ่นพี่รุ่นน้องเท่านั้น ถ้าจะเปรียบเทียบแบบนายทหารก็คือร้อยตรีเหมือนกัน เพราะว่าร้อยตรีรุ่นพี่กับรุ่นน้องมันก็แค่นั้นแหละ แต่ว่าเงินดาวน์เงินเดือนเขามันสูงกว่านิดหน่อยนี่ก็เป็นเรื่องธรรมดา การงานอาจจะก้าวหน้าไปกว่ากันหน่อยมันก็เป็นของเล็กน้อยไม่ต้องมานั่งพูด
นี่เราพูดกันถึงนายพันกันเลยดีกว่า ถ้าอารมณ์จิตเข้าถึงพระอนาคามีมันถึงจริงๆ แล้วมันเป็นอย่างไร รู้เลยว่าเรามีกำลังใจสิ้นแล้วจากกามคุณ เป็นคนกามตายด้าน อารมณ์จิตมันตายด้านในกามจริงๆ ถ้าเราไม่แน่ใจก็ไปหาหมอ ให้เขาฉีดยาบำรุงกามให้ ยาอะไรก็ตามอย่างแรงที่สุด อย่างเบาอย่างกลาง ให้หมอเขาวินิจฉัย ไปบอกเขาว่าเราเป็นโรคกามตายด้าน ถ้าหมอทำอย่างไรก็หมดท่า แล้วยกเลิกไป นั่นใช่แล้ว เราเข้าถึงพระอนาคามีแล้ว



คนสวยไม่มีมีแต่คนสกปรก วัตถุสวยไม่มีมีแต่วัตถุสกปรก ความติดความพอใจในความสวยสดงดงามในคนและวัตถุก็ไม่มีสำหรับเรา ใจมันทรงอารมณ์เป็นปกติอย่างนี้นั่นคือพระอนาคามีอันดับที่หนึ่ง ยังไม่เต็ม พระอนาคามีอันดับที่ ๒ ก็ต้องไปดูความโกรธความพยาบาท เขาด่าปาวๆ เราฟังแล้วมีความรู้สึกอย่างไร? เฉย...ยิ้มได้สบายๆ มีอารมณ์ปกติ เขาจะด่ามากด่าน้อย เขาจะด่าว่าเป็นหมูเป็นหมาก็ช่าง เรารู้ตัวของเราว่าเราไม่ใช่หมา เราไม่ใช่หมู และเราก็ไม่ใช่คน ร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราคือพระอนาคามี เพราะเป็นบุคคลที่มีความโกรธความพยาบาทสิ้นไปแล้ว มีแต่แมตตาปรานีมีอารมณ์ยิ้มเป็นปกติ มันยิ้มเป็นปกติไม่ใช่ฝืนยิ้ม ยิ้มแบบธรรมดาๆ ยิ้มด้วยอาการสดชื่น จิตใจมันไม่กระทบกับอารมณ์แบบประเภทนี้ความเร่าร้อนไม่มี มีแต่ความเยือกเย็นใจ ตอนนี้เราเป็นพระอนาคามีเต็มที่แล้ว ความสบายมันเกิดขึ้นมาก แต่ก็ยัง จุดเบ่งมันยังมี คืออารมณ์ในบางครั้งมีอารมณ์ฟุ้งซ่านคือถือตัวถือตน แยกสัตว์กับคนว่ามีค่าไม่เสมอกัน คนรวยกับคนจนมีค่าไม่เสมอกัน คนสกปรกกับคนสะอาดมีค่าไม่เสมอกัน ยังมีอารมณ์รังเกียจ ตอนนี้ก็จับสักกายทิฏฐิเข้าไปตัดมันเลย ตัดฉันทะกับราคะคือความพอใจในความเป็นเทวดาหรือพรหม หรือความรักในความเป็นเทวดาหรือพรหม ความนิยมใดๆ ในโลกโยนทิ้งไปหมดเลย โลกทั้งโลกโยนทิ้งไป ร่างกายของเรามันเลว มันจะไปชนกับใครก็ได้ เห็นคนสกปรก เราก็สกปรก เห็นคนจน เราก็จน มันจะไปรวยอะไร มันไม่จนจริงแล้วมันจะตายทำไม แล้วมันจนจากความเป็นอิสรภาพ จากกิเลสมันบังคับให้แก้ก็ต้องแก่ มันบังคับให้ป่วยก็ต้องป่วย บังคับให้ตายก็ต้องตาย เราไม่มีสมบัติใดๆ ที่จะไปต่อต้านกิเลส ในเมื่อร่างกายมันจะเป็นอย่างนั้น มันก็จนเท่ากันแหละ ความฟุ้งซ่านของอารมณ์  เพราะอำนาจว่าเรายังหลงในรูปฌานและอรูปฌาน เรารู้จักมานะทิฏฐิ พอตัดตัวนี้ได้เสียแล้ว ความฟุ้งซ่านมันก็ไม่มี อารมณ์พอมันก็เกิด ความสบายใจมันก็เกิด เพราะว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา โลกนี้ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา ความเป็นมนษย์ความเป็นเทวดา ความเป็นพรหมไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา เราเอาจิตใจของเราจับอารมณ์เฉพาะพระนิพพานอย่างเดียว มีแต่ความสุข เห็นใครเขารวยก็ดี เห็นใครเขาสวยก็ดี เห็นใครเขาโมโหโทโส รบราฆ่าฟันกันก็ดี เห็นใครเขาถือโน่นถือนี่ว่าเป็นเราเป็นของเรา เรานอนสบายยิ้มแฉ่ง นายถืออย่างไรก็ถือไปฉันสบายใจแล้ว นี่ก็ฟุ้ง โลกนี้เธออยู่กันเถอะ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันตระการดุจราชรถที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่ว่าท่านผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ เวลานี้เรามีกำลังใจถึงแล้วนี่ ถึงแล้วเราวางโลกเสียได้แล้ว อะไรเป็นเราเป็นของเราไม่มีแล้ว มีแต่ความสดชื่นมีแต่ความหรรษา มีแต่ความสุขกายสุขใจ กายมันจะเป็นอย่างไรก็ช่างหัวมัน ใจเป็นสุข ถือว่าเป็นกฎธรรมดา อารมณ์อย่างนี้เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์ เมื่อจิตใจของทุกท่านวางเสียได้หมดอย่างนี้ว่าช่างมันๆ หรือ ธรรมดาๆ ก็ชื่อว่าท่านทั้งหลายเป็นผู้จบกิจของพระพุทธศาสนา เรื่องนี้ก็ขอยุติไว้เพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน สวัสดี.

ที่มา : นิตยสารธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๑๓ ประจำเดือนเมษายน ๒๕๕๐
หน้า ๗๙-๘๖. ถอดเทปโดย ณัชชา, ถอดความโดย ศรีโคมคำ

หน้า: 1 [2] 3