เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



ผู้เขียน หัวข้อ: โอวาทพ่อแม่ครูบาอาจารย์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) วัดหนองป่าพง อ.วารินฯ จ.อุบลฯ  (อ่าน 50911 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... เราบวชกันมาทำไม เราปฏิบัติกันทำไม บวชมาปฏิบัติ ถ้าหากเราไม่ปฏิบัติก็อยู่เฉยๆ เท่านั้นแหละ ถ้าไม่ปฏิบัติก็เหมือนฆราวาส มันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ไม่ทำธุระหน้าที่การงานของเรา นี้มันก็เสียเพศสมณะ ผิดความมุ่งหวังมาแล้ว ถ้าเป็นเช่นนั้นก็เรียกว่า เราประมาทแล้ว เราประมาทแล้วก็เรียกว่าเราตายแล้ว อันนี้ให้เข้าใจ ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... อย่าไปลืมความตายนี้ ดูซิ ถามว่าเมื่อเราตายมีเวลาไหม ถามทวงเราเสมอแหละ “ ตาย...เมื่อไหร่ตาย ” ถ้าเราคิดเช่นนี้ จิตเราจะระวังทุกวินาทีเลยทีเดียว ความไม่ประมาทจะเกิดขึ้นมาทันที เมื่อความประมาทไม่มีแล้ว สติ ความระลึกได้ว่า อะไรเป็นอะไรก็เกิดขึ้นมาทันที ปัญญาก็แจ่มแจ้ง เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งชัดเจนในเวลานั้น เราก็มีสติประคองอยู่ รอบรู้อยู่ทางอารมณ์ทั้งกลางวันกลางคืน ทุกสิ่งสารพัดนั้นแหละ ก็เป็นผู้มีสติอยู่ ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... ถ้าเราเป็นผู้มีสติอยู่ ก็เป็นผู้สำรวม ถ้าเป็นผู้สำรวมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ประมาท ถ้าเป็นผู้ไม่ประมาท ก็เป็นผู้ปฏิบัติถูกต้องเท่านั้น อันนี้เป็นหน้าที่ของเราทั้งหลาย ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... การปฏิบัตินี้เป็นของยาก ฝึกอะไรอย่างอื่นๆ ทุกอย่างมันก็ไม่ยาก มันก็สบาย แต่ใจของมนุษย์ทั้งหลายนี้ฝึกได้ยาก ฝึกได้ลำบาก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ท่านก็ฝึกจิต จิตนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก อะไรทั้งหมดในรูปธรรมนามธรรมนี้มันรวมอยู่ที่จิต เช่นว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย เหล่านี้ ส่งไปให้จิตอันเดียวเป็นผู้บริหารการงาน รับรู้รับฟัง รับผิดชอบจากอายตนะทั้งหลายเหล่านั้น ฉะนั้น การอบรมจิตนี้จึงเป็นของสำคัญ ถ้าใครอบรมจิตของตนให้สมบูรณ์บริบูรณ์แล้ว ปัญหาอะไรทุกอย่างมันก็หมดไป ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราท่านมีรากฐาน ให้เราทั้งหลายปฏิบัติ ให้รู้ ธรรมะไม่เป็นของมาก มันเป็นของน้อย แต่เป็นของที่ถูกต้อง เช่นว่าจะเปรียบเทียบให้ฟังเรื่องขน
     
... ถ้าเรารู้จักว่าอันนี้มันเป็นขน รู้จักขนเส้นเดียวนั้น ขนในร่างกายเรานี้ทุกเส้น แม้ในร่างกายคนอื่นทุกเส้น ก็รู้กันหมดทั้งนั้นแหละ รู้ว่าเป็นขนทั้งนั้น หรือเส้นผม รู้จักผมเส้นเดียวเท่านั้น ผมบนศีรษะของเรา บนศีรษะของคนอื่นก็รู้หมดทุกเส้นเหมือนกัน ที่รู้ก็เพราะว่ามันเป็นเส้นผมเหมือนกัน เรารู้ผมเส้นเดียว แต่ก็รู้ทุกเส้นผม ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... การปฏิบัตินี้มันยาก มันยากเพราะอะไร มันยากเพราะตัณหาความอยาก ถ้าไม่อยากก็ไม่ได้ปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติเพราะความอยากก็ไม่พบธรรมะ อันนี้มันเป็นปัญหาอยู่อย่างนี้

... ฉะนั้น การประพฤติปฏิบัตินี้มันมีความยุ่งยาก มีความลำบาก ถ้าไม่มีความอยากก็ไม่มีกำลังที่จะปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติเพราะความอยากก็วุ่นวายไม่มีความสงบ ทั้งสองอย่างนี้เป็นเหตุอยู่เสมอ ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... ที่เราไม่เห็นธรรมะก็เพราะตัณหา บางทีมันอยากอย่างรุนแรง คืออยากจะเห็นเดี๋ยวนี้ ธรรมะนี้ไม่ใช่ใจเรา ใจเราไม่ใช่ธรรมะ ธรรมะมันเป็นอย่างหนึ่ง ใจเรามันเป็นอย่างหนึ่ง มันคนละอย่างกัน

... ฉะนั้นแม้เราจะคิดอย่างไรก็ตาม อันนี้เราชอบเหลือเกิน แต่มันไม่ใช่ธรรมะ อันนี้เราไม่ชอบ ก็ไม่ใช่ธรรมะ ไม่ใช่ว่าเราคิดชอบใจอะไร อันนั้นเป็นธรรมะ เราคิดไม่ชอบใจอะไร อันนั้นไม่ใช่ธรรมะ...ไม่ใช่อย่างนั้น ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... ขี้เกียจหรือขยันก็ต้องทำอยู่เรื่อย พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนั้น โดยมากคนธรรมดานั้นขยันจึงค่อยทำ ขี้เกียจไม่ทำ นี่มันเป็นเสียอย่างนี้ มันปฏิบัติอยู่แค่นี้ ก็เรียกว่า มันวิบัติเสียแล้ว ไม่ใช่ปฏิบัติ
     
... การปฏิบัติจริงๆ แล้วมันสุขก็ปฏิบัติ มันทุกข์ก็ปฏิบัติ มันง่ายก็ปฏิบัติ มันยากก็ปฏิบัติ มันร้อนก็ปฏิบัติ มันเย็นก็ปฏิบัติ นี่เรียกว่าตรงไปตรงมาอย่างนี้

... ปฏิปทาที่เราต้องยืนหรือเดิน หรือนั่ง หรือนอน การมีความรู้สึกนึกคิดที่เราจะต้องปฏิบัติในหน้าที่การงานของเรานั้น ต้องสม่ำเสมอ ทำสติให้สม่ำเสมอในอิริยาบถ การยืน การเดิน การนั่ง การนอน ฯ.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 09, 2014, 12:40:40 AM โดย DHAMMASAMEE »

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... นี่เมื่อพิจารณาดูแล้ว ก็เหมือนอิริยาบถยืนให้เท่ากับเดิน เดินก็เท่ากับยืน ยืนก็เท่ากับนั่ง นั่งก็เท่ากับนอนนะ อันนี้ผมทำแล้ว ทำไม่ได้ ถ้าว่านักปฏิบัตินี้ต้องทำการยืน การเดิน การนั่ง การนอนให้ได้เสมอกัน จะทำได้สักกี่วันล่ะ จะยืนให้เสมอกับนั่ง ยืน ๕ นาที นั่ง ๕ นาที นอน ๕ นาที อะไรทั้งหลายนี้ ผมทำไม่นาน ก็มานั่งคิดพิจารณาใหม่ อะไรกันหนอ อย่างนี้คนในโลกนี้ทำไม่ได้หรอก ผมพยายามทำไปค้นไปคิดไป ...อ้อ มันไม่ถูกนี่ มันไม่ถูก ดูแล้วมันไม่ถูก ทำไม่ได้ นอนกับนั่งกับเดินกับยืน ทำให้มันเท่ากัน จะเรียกว่าอิริยาบถมันสม่ำเสมอกัน แบบท่านบอกไว้ว่า ทำอิริยาบถให้สม่ำเสมอ
     
... แต่ว่าเราทำอย่างนี้ได้ จิต...พูดถึงส่วนจิตของเรา ให้มีสติความระลึกอยู่ สัมปชัญญะความรู้ตัวอยู่  ปัญญาความรอบรู้อยู่ อันนี้ทำได้ อันนี้น่าจะเอาไปปฏิบัติ

... คือเรียกว่า ถ้าเราปฏิบัติ เราจะยืนอยู่ก็มีสติ เราจะนั่งอยู่ก็มีสติ เราจะเดินอยู่ก็มีสติ เราจะนอนก็มีสติอยู่สม่ำเสมออย่างนี้ อันนี้เป็นไปได้ จะเอาตัวรู้ไปเดิน ไปยืน ไปนั่ง ไปนอน ให้เสมอกันทุกอิริยาบถเป็นไปได้

... ดังนั้น เมื่อเราฝึกจิตของเรา จิตจะมีความรู้สม่ำเสมอในการปฏิบัติกับทุกอิริยาบถว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ

... คือความรู้ รู้จักอะไร รู้จักภาวะที่ถูกต้อง รู้จักลักษณะที่ถูกต้องอยู่เสมออยู่นั้น จะยืนก็มีจิตอยู่อย่างนั้น จะเดินก็มีจิตเป็นอยู่อย่างนั้น

... เออ อันนี้ได้ใกล้เข้าไปเหลือเกิน เฉียดๆ เข้าไปมากเหลือเกิน เรียกว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอนอยู่นี้ มันมีสติอยู่เสมอทีเดียว ฯ.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 09, 2014, 12:48:49 AM โดย DHAMMASAMEE »

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... รู้จักธรรมที่ควรละ รู้ธรรมที่ควรปฏิบัติ สุขก็รู้ ทุกข์ก็รู้ เมื่อมันรู้สุขรู้ทุกข์ จิตใจเราจะวางตรงที่ว่า มันไม่สุขไม่ทุกข์ เพราะว่าสุขนั้นมันก็เป็นทางหย่อน กามสุขัลลิกานุโยโค ทุกข์มันก็เป็นทางตึง คือ อัตตกิลมถานุโยโค ถ้าเรารู้สุขรู้ทุกข์อยู่ เรารู้จักสิ่งทั้งสองนี้ ถึงแม้ว่าจิตใจเรามันจะเอนไปเอนมา เราก็ชักมันไว้ เรารู้อยู่ว่ามันจะเอนไปทางสุขก็ชักมันไว้มันจะเอนไปทางทุกข์ก็ชักมันไว้  ไม่ให้มันเอนไป รู้อยู่อย่างนี้ น้อมเข้ามาเส้นทางเดียว เอโก ธมฺโม นี้ น้อมเข้ามาในทางที่รู้ ไม่ใช่ว่าเราปล่อยไปตามเรื่องของมัน ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... ถ้าหากว่ามันสุขจะปฏิบัติไหม มันสุขก็ไม่ปฏิบัติอีก มันติดสุขเท่านั้นแหละ แต่ทุกข์มันไม่ปฏิบัติ ก็ติดทุกข์อยู่นั่นแหละ ไม่รู้จะไปปฏิบัติกันเมื่อไหร่ ได้แต่รู้ว่ามันป่วย มันเจ็บ มันไข้จวนจะตาย ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... สองอย่างนี้หมายความว่า จะเป็นสุขก็ต้องปฏิบัติ จะเป็นทุกข์ก็ต้องปฏิบัติ จะอยู่สบายๆ ก็ต้องปฏิบัติ จะเป็นไข้อยู่ก็ต้องปฏิบัติ มันถึงจะถูกแบบ ฯ.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 11, 2014, 01:25:17 AM โดย DHAMMASAMEE »

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... ดูไปมันมีอารมณ์ดีอารมณ์ชั่วสลับซับซ้อนกันไปเป็นธรรมดาของมัน อย่าไปสรรเสริญจิตของเราอย่างเดียว อย่าไปให้โทษมันอย่างเดียว ให้รู้จักกาลรู้จักเวลามัน เมื่อถึงคราวสรรเสริญก็สรรเสริญมันหน่อย สรรเสริญให้พอดีอย่าให้หลง ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
.... ฉะนั้น การปฏิบัติของท่านทั้งหลายนี้ อย่าพึงถือว่าการหลับตาอย่างเดียวเป็นการปฏิบัติ เมื่อออกจากนั่งแล้วก็ออกจากการปฏิบัติ อย่าเข้าใจอย่างนั้น ถ้าเข้าใจอย่างนั้นก็รีบกลับมันเสีย ที่เรียกว่าการปฏิบัติสม่ำเสมอ คือ เราจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ให้มีความรู้สึกอยู่อย่างนั้น เมื่อเราออกจากสมาธิ ก็อย่าเข้าใจว่าออกจากสมาธิ เพียงแต่เปลี่ยนอิริยาบถเท่านั้น ถ้าท่านทั้งหลายคิดอย่างนี้ก็จะสุขใจ เมื่อท่านไปทำงานอยู่ที่ไหน ไปทำอะไรอยู่ก็ดี ท่านจะมีการภาวนาอยู่เสมอ ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... ถ้าหากท่านองค์ใดตอนเย็นๆ ก็มานั่ง เมื่อออกจากสมาธิแล้ว ก็เรียกว่าได้ออกแล้ว ไม่มีเยื่อใย ออกไปเลย ส่งอารมณ์ไปเลย ตลอดทั้งวันก็ปล่อยตามอารมณ์ไป ไม่มีสติ เย็นต่อไปนึกอยากจะนั่ง พอไปนั่งปุ๊บก็มีแต่เรื่องใหม่ทั้งนั้นเข้ามาสุมมัน ปัจจัยเรื่องเก่าที่มันสงบก็ไม่มี เพราะทิ้งไว้ตั้งแต่เช้า มันก็เย็นนะสิ ทำอย่างนี้เรื่อยๆ มันก็ยิ่งห่างไปทุกปี ทุกปี ฯ.