เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



ผู้เขียน หัวข้อ: โอวาทพ่อแม่ครูบาอาจารย์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) วัดหนองป่าพง อ.วารินฯ จ.อุบลฯ  (อ่าน 50910 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... เราอบรมจิตของเราให้มีความอาย มีความกลัวต่อความผิดทั้งหมด นั่นแหละก็จะเป็นคนสำรวม จะเป็นคนสังวร จะเป็นคนระวัง เพราะความกลัว ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... เรื่องการทรมาน เรื่องการขบเรื่องการฉัน เรื่องการหลับการนอน เอาแท้ๆ เมื่อถึงคราวอันนี้แล้ว พอมาพิจารณาแล้ว มันไม่เป็นไป ประพฤติด้วยทิฏฐิ ประพฤติด้วยมานะ ด้วยความยึดมั่นถือมั่น คิดปรารภโลกว่าเป็นธรรม คิดปรารภตนว่าเป็นธรรม มันไม่ได้ปรารภธรรมะ
     
... อย่างว่าเราทรมานตน ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ก่อนจะทำอย่างนั้นก็ปรารภว่าให้โลกสรรเสริญ ให้เขาว่านี้แหละเป็นคนเอาจริงเอาจังก็เลยทำ อันนั้นเป็นโลกหมด ทำเพื่อความยกย่องสรรเสริญ ให้เขาว่าดี ให้เขาว่าเลิศ ให้เขาว่าประเสริฐ ให้เขาว่าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ คิดอย่างนี้แล้วจึงทำ เรียกว่า ปรารภโลก
     
... อีกอย่างหนึ่งคือปรารภตนเอง เชื่อมั่นในความเห็นของตนเอง เชื่อมั่นในการประพฤติปฏิบัติของตนใครจะว่าผิดก็ช่างถูกก็ตาม ไม่เอาเป็นประมาณ ชอบอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ไม่ได้คลำหน้าคลำหลัง นี่ปรารภตนเองอีกประเภทหนึ่ง เรื่องปรารภโลกกับปรารภตนนี้ มันมีแต่เรื่องอุปาทานแน่นหนาอยู่เท่านั้น ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... พระพุทธเจ้าของเราท่านเห็นว่าทำอย่างนั้นก็ตายเปล่า อดตายเปล่า ทำตามโลก ทำตามตน ท่านก็พิจารณาใหม่ หาสิ่งที่มันพอดี เป็นสัมมาปฏิปทา ส่วนจิตก็เป็นจิต ส่วนกายก็เป็นกาย
     
... เรื่องกายนี้มันใช่กิเลสตัณหากับใครหรอก ถ้าจะไปฆ่าอันนั้นเฉยๆ มันก็ไม่หมดกิเลส มันไม่ใช่ที่ของมัน แม้จะอดขบอดฉัน อดหลับอดนอนให้มันเหี่ยวมันแห้ง ว่าจะให้มันหมดกิเลสอย่างนั้นมันหมดไม่ได้ ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... ทีนี้ พระองค์ก็ได้พิจารณาธรรม ท่านก็เลยฉันให้สบาย อยู่ให้สบาย จิตก็ให้มันเป็นจิต กายก็ให้มันเป็นกาย จิตมันก็เป็นเรื่องของจิต กายมันก็เป็นเรื่องของกาย ท่านก็ไม่ได้บีบมันเท่าไร ไม่ได้บังคับมันเท่าไร พอแต่จะทำราคะโทสะโมหะให้บรรเทาลง
     
... แต่ก่อนท่านก็เดินอยู่สองทาง กามสุขัลลิกานุโยโค มีความสุขมีความรักเกิดขึ้นมาแล้วก็สนใจ เกาะด้วยอุปาทานเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา ไม่ได้ปล่อยได้วาง กระทบความสุขก็ติดในความสุข กระทบความทุกข์ก็ติดในความทุกข์ เป็นกามสุขัลลิกานุโยโค กับอัตตกิลมถานุโยโค พระองค์ติดอยู่ในสังขาร
     
... ท่านมองพิจารณาเห็นชัดเข้าไปว่า อันนี้ไม่ใช่หน้าที่ของสมณะที่จะเดินไปในทางนั้น สุขแล้วยึดสุข ทุกข์แล้วยึดทุกข์คุณสมบัติของผู้เป็นสมณะไม่ใช่อย่างนั้น ไม่ใช่เรื่องยึดเรื่องมั่นเรื่องหมายในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... เราอบรมจิตของเราให้มีความอาย มีความกลัวต่อความผิดทั้งหมด นั่นแหละก็จะเป็นคนสำรวม จะเป็นคนสังวร จะเป็นคนระวัง ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... อะไรทั้งหมดนี่ ท่านไปดูนะ มันขึ้นต่อจิตทั้งนั้น ถ้าท่านยังไม่อบรมจิตของท่านให้มีความรู้ มีความสะอาด ท่านจะมีความสงสัยอยู่เรื่อยไป วิจิกิจฉาอยู่ตลอดเวลา

... ดังนั้น ท่านจงรวมธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้ที่จิต สำรวมอยู่ที่จิต อะไรที่มันเกิดขึ้นมาแล้ว สงสัยแล้ว เลิกมัน ถ้ายังไม่รู้แจ้งเมื่อใดแล้วอย่าพึงทำมัน อย่าพึงพูดมัน เช่นว่า อันนี้ผิดไหมนอ หรือไม่ผิด อย่างนี้ คือยังไม่รู้ตามความเป็นจริง อย่าทำมัน อย่าไปพูดมัน อย่าไปละเมิดมัน ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
     ... ธรรมอันใดเป็นไปเพื่อความสะสมซึ่งกิเลส

... ธรรมอันใดเป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์

... ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความกำนัดย้อมใจ

... ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความมักมาก

... ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความมักใหญ่ใฝ่สูง

... ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความคลุกคลีหมู่คณะ

... ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน

... ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก

... ลักษณะตัดสินพระวินัยแปดประการนั้น รวมกันลงไปแล้ว อันนี้เป็นสัตถุคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... ปริยัติและปฏิบัติมันเป็นคู่กันโดยตรง คือว่า ปริยัติกับปฏิบัตินี้เป็นของคู่กันมา ยังพระพุทธศาสนาให้เจริญถาวรรุ่งเรืองตลอดถึงบัดนี้ ก็เพราะการศึกษาแล้วก็รู้ รู้แล้วก็ปฏิบัติตามความรู้ของเรา นั้นเรียกว่าการประพฤติปฏิบัติ ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... การศึกษาในทางกรรมฐานเรานี้ ศึกษาเรื่องการบำเพ็ญและการละ ที่ว่าศึกษานี้ ถ้าหากว่าเราถูกอารมณ์มา เรายังยึดไหม ยังมีวิตกไหม ยังมีความน้อยใจไหม มีความดีใจไหม พูดง่ายๆ เรายังหลงอารมณ์เหล่านั้นอยู่ไหม หลงอยู่ เมื่อไม่ชอบก็แสดงความทุกข์ขึ้นมา เมื่อชอบก็แสดงความพอใจขึ้นมา จนเกิดกิเลส จนใจเราเศร้าหมอง อันนั้นเราจะมองเห็นได้ว่า เรายังบกพร่องอยู่ ยังไม่สมบูรณ์บริบูรณ์
     
... เราจะต้องศึกษา จะต้องมีการละ การบำเพ็ญอยู่เสมอมิได้ขาด นี่ผู้ศึกษาอยู่ มันติดอยู่ตรงนี้ เราก็รู้จักว่าติดอยู่ตรงนี้ เราเป็นอย่างนี้ เราจะต้องแก้ไขตัวเราเอง ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... การอยู่กับครูบาอาจารย์ หรืออยู่นอกครูบาอาจารย์ก็เหมือนกัน ไอ้ความกลัวนั้น บางคนก็มีความกลัว ถ้าไม่เดินจงกรมก็กลัวครูบาอาจารย์จะดุจะว่า นี่ก็ยังดีอยู่ แต่ว่าข้อประพฤติปฏิบัติที่แท้นั้นไม่ต้องกลัวใคร  กลัวแต่ความประมาทมันจะเกิดขึ้นมา กลัวความผิดมันจะเกิดขึ้นมาที่กาย ที่วาจา ที่ใจของเรานี้เอง

... เมื่อเราเห็นความบกพร่องที่กาย ที่วาจา ที่ใจของเราแล้ว เราก็ต้องพิจารณาควบคุมจิตใจของเราอยู่เสมอ อัตตะนา โจทะยัตตานัง จงเตือนตนด้วยตนเอง ไม่ต้องทิ้งการงานอันนั้นให้คนอื่นช่วย เรารีบปรับปรุงตัวเองเสีย ให้รู้จักอย่างนี้ ฯ.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 06, 2014, 01:08:29 AM โดย DHAMMASAMEE »

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
การประพฤติปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนานั้น มันเป็นเรื่องของจิต ถึงแม้ไม่แสดงทางกาย ทางวาจา เรื่องจิตมันก็เป็นส่วนจิต ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... ให้เรายึดเอาคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า อย่าประมาท ความไม่ประมาทนี่แหละเป็นสิ่งที่ไม่ตาย ความประมาทนั่นแหละคือความตาย ให้ถืออย่างนี้ ใครทำอย่างไรก็ช่างใครเถอะ เราอย่าประมาทเท่านั้น อันนี้เป็นของสำคัญ ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... ขอให้ท่านทั้งหลายมีความสำนึกรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า เราเป็นผู้ปฏิบัติ เป็นผู้ปฏิบัติต้องสังวรสำรวมระวัง อย่างคำสอนที่ท่านสอนว่า ภิกขุ ท่านแปลว่า ผู้ขอ ถ้าแปลอย่างนี้การปฏิบัติมันก็ไปรูปหนึ่ง...หยาบๆ
     
... ถ้าใครเข้าใจอย่างพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ภิกขุ แปลว่า ผู้เห็นภัยในสงสาร นี่มันลึกซึ้งกว่ากันทั้งนั้น ผู้เห็นภัยในสงสารก็คือเห็นโทษของวัฏฏะทั้งหลายนั้น ในวัฏฏะสงสารนี้มันมีภัยมากที่สุด แต่ว่าคนธรรมดาสามัญไม่เห็นภัยในสงสารนี้ เห็นความสนุก เห็นความสนาน ความรื่นเริงบันเทิงในโลกอันนี้ ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... สงสารนั้นคืออะไร สังสาเรสุขัง สังสาเรทุกขัง ทุกข์ในสงสารนี้เหลือที่จะทนได้ มันมากเหลือเกินแหละ อย่างความสุขนี่มันก็เป็นสงสาร ท่านก็ไม่ให้เอาไปยึดมั่น
     
... ถ้าเราเข้าใจการประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ว่า ภิกขุ ผู้เห็นภัยในสงสาร ถ้ามีธรรมะข้อนี้ เข้าใจอย่างนี้ มันจมอยู่ในใจของผู้ใด ผู้นั้นจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ที่ไหนก็ตาม ก็เกิดความสลด เกิดความสังเวช เกิดความรู้ตัว เกิดความไม่ประมาทอยู่นั่นแหละ ถึงท่านจะนั่งอยู่เฉยๆ ก็เป็นอยู่อย่างนั้น ท่านจะทำอย่างไรอยู่ ท่านก็เห็นภัยอยู่อย่างนั้น ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
... เราบวชมาในพระพุทธศาสนานี้ก็เพื่อหวังการประพฤติปฏิบัติ เพราะเราละมาแล้ว ไม่เอาอะไรแล้ว เราจะมาคิดเอาอะไรอีก จะมาเอาโลภอีก จะมาเอาโกรธอีก จะมาเอาหลงอีก จะมาเอาอะไรต่างๆ ไว้ในใจของเราอีก อันนี้มันไม่สมควรแล้ว ฯ.