เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



ผู้เขียน หัวข้อ: บทพิจารณาขัน ๕  (อ่าน 33714 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
บทพิจารณาขัน ๕
« เมื่อ: กันยายน 13, 2014, 04:47:59 PM »
บทพิจารณาขันธ์ ๕

... ร่าเริงอะไรกันหนอ ยินดีอะไรกัน ในเมื่อโลกสันนิวาสถูกไฟไหม้โพลงแล้วเป็นนิตย์ ท่านทั้งหลายถูกความมืดหุ้มห่อแล้ว เพราะเหตุไรจึงไม่แสวงหาประทีป ฯ.

... ท่านจงดูอัตภาพอันบุญกรรมทำให้วิจิตรแล้ว มีกายเป็นแผล อันกระดูกสามร้อยท่อนปรุงขึ้นแล้ว กระสับกระส่าย อันมหาชนดำริกันโดยมาก ไม่มีความยั่งยืนมั่นคง รูปนี้คร่ำคร่าแล้ว เป็นรังแห่งโรค ผุพัง กายของตนอันเปื่อยเน่าจะแตก เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด ฯ.

... กระดูกเหล่าใดเขาไม่ปรารถนาแล้ว เหมือนน้ำเต้าในสารทกาล มีสีเหมือนนกพิราบ จะยินดีอะไรเพราะได้เห็นกระดูกเหล่านั้น ฯ.

... สรีระอันกรรมสร้างสรรให้เป็นเมืองแห่งกระดูก มีเนื้อและเลือดเป็นเครื่องไล้ทา เป็นที่ตั้งแห่งความแก่ ความตาย ฯ.   

... ขันธ์ ๕ นี้ เป็นของไม่เที่ยง มันเกิดขึ้นในเบื้องต้น  ตั้งอยู่ในท่ามกลาง  แล้วดับไปในที่สุด ทุกขัง ขันธ์ ๕ นี้มันเต็มไปด้วยความทุกข์นานา  ทุกข์เพราะความเกิด ทุกข์เพราะเจ็บไข้ได้ป่วย  ทุกข์เพราะความแก่ชรา  ทุกข์เพราะความตาย ร่างกายนี้เป็นอนัตตา ไม่นานมันก็ต้องตายต้องสลายตัวไป  โรคะนิทัง  ร่างกายนี้มันเป็นรังของโรค  ปะพังคุณัง ร่างกายนี้มันเปื่อยเน่าของมันทุกวัน  ขะยะวัยยัง มันเสื่อมไปสิ้นไปอยู่ทุกขณะ  เหมือนก้อนน้ำแข็งที่วางอยู่กลางแดด ฯ.

... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! จงดูกายอันนี้เถิด  มีฟันหัก  ผมหงอก  หนังเหี่ยวยาน  มีอาการทรุดโทรมให้เห็นอย่างเด่นชัด  เหมือนเกวียนที่ชำรุดแล้วชำรุดอีก  ได้อาศัยแต่ไม้ไผ่มาซ่อมผูกกระหนาบคาบค้ำไว้  จะยืนนานไปได้สักเท่าใด  การแตกสลายย่อมจะมาถึงเข้าสักวันหนึ่ง  ภิกษุทั้งหลาย  พวกเธอจงมีธรรมเป็นที่เกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง  อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย แม้ตถาคตก็เป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้น ฯ.

... ดูกรภิกษุทั้งหลายดี  ! จงดูร่างกายอันเปื่อยเน่านี้เถิด มันอาดูรไม่สะอาด  มีสิ่งสกปรกไหลเข้าไหลออกอยู่เสมอ ถึงกระนั้นก็ตาม  มันยังเป็นที่พอใจปรารถนายิ่งนักของผู้ไม่รู้ความจริงข้อนี้ 

... ภิกษุทั้งหลาย  ร่างกายนี้ไม่นานนักหรอกคงจะนอนทับถมแผ่นดิน  ร่างกายนี้เมื่อปราศจากวิญาณครองแล้ว  ก็ถูกทอดทิ้งเหมือนท่อนไม้ที่ไร้ค่า  อันเขาทิ้งเสียแล้วไม่ใยดี ฯ.

... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! อันร่างกายนี้สะสมไว้แต่ของสกปรกโสโครก  มีสิ่งปฏิกูลไหลออกจากทวารทั้งเก้า มีช่องหู  ช่องจมูก  เป็นต้น  เป็นที่อาศัยของสัตว์เล็กสัตว์น้อย  เป็นป่าช้าแห่งซากสัตว์นานาชนิด เป็นรังแห่งโรค  เป็นที่เก็บมูตรและกรีส อุปมาเหมือนถุงหนังซึ่งบรรจุเอาสิ่งโสโครกต่างๆ เข้าไว้  แล้วซึมออกมาเสมอๆ  เจ้าของกายจึงต้องชำระล้างขัดถูวันละหลายๆ ครั้ง เมื่อเว้นจากการชำระล้างแม้เพียงวันเดียวหรือสองวัน  กลิ่นเหม็นก็ปรากฎเป็นที่รังเกียจ  เป็นของน่าขยะแขยง ฯ.

... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ร่างกายนี้เปรียบเป็นเหมือนเรือนซึ่งสร้างด้วยโครงกระดูก  มีหนังและเลือดเป็นเครื่องฉาบทา  ที่มองเห็นเปล่งปลั่งผุดผาดนั้นเป็นแต่เพียงผิงหนังเท่านั้น  เหมือนมองเห็นความงามแห่งหีบศพอันวิจิตรตระการตา  ผู้ไม่รู้ก็ติดในหีบศพนั้น  แต่ผู้รู้เมื่อทราบว่าเป็นหีบศพ  แม้ภายนอกจะวิจิตรตระการตาเพียงใด  ก็หาพอใจยินดีไม่  เพราะทราบชัดว่าภายในแห่งหีบอันสวยงามนั้นมีสิ่งปฏิกูลน่ารังเกียจ ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
Re: บทพิจารณาขัน ๕
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 13, 2014, 05:02:34 PM »
... " ดูก่อนมาร เพราะเหตุไรหนอ ความเห็นของท่านจึงหวนกลับมาว่าสัตว์ ในกองสังขารล้วนนี้ ย่อมได้นามว่าสัตว์ เหมือนอย่างว่าเพราะคุมส่วนทั้งหลายเข้า เสียงว่ารถย่อมมีฉันใด เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ การสมมติว่าสัตว์ย่อมมีฉันนั้น

... ความจริงทุกข์เท่านั้นย่อมเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นย่อมตั้งอยู่ และทุกข์เท่านั้นย่อมเสื่อมสิ้นไป

... นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ "

พระแม่เจ้าวชิราภิกษุณี

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
Re: บทพิจารณาขัน ๕
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2014, 11:09:46 PM »
โอวาทพระครูวิหารกิจจานุการ
หลวงปู่ปาน  โสนันโท  วัดบางนมโค
     
… ร่างกายของคนและสัตว์มันเป็นอนิจจัง มีสภาพไม่เที่ยง เวลาอยู่ก็เป็นทุกข์ แต่ในที่สุดก็เป็นอนัตตาคือตาย ใครบังคับบัญชาไม่ได้

... เวลาเผาศพอย่าตั้งหน้าตั้งตาเผาเขา เวลาเราไปเผาศพก็เผากิเลสในใจของเราเสียด้วย

... กิเลสส่วนใดที่มันสิงอยู่ที่เรา คิดว่าเราจะไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายน่ะ เผามันเสียให้หมดไป

... เราคิดว่าวันนี้เราเผาเขา ไม่ช้าเขาก็เผาเรา

... คนเกิดมาแล้วตายอย่างนี้เราจะเกิดมันทำไม ต่อไปข้างหน้าเราไม่เกิดดีกว่า เราไปพระนิพพานนั่นละดีที่สุด

... เรื่องอัตภาพร่างกายสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ไม่มีอะไรเป็นความหมาย ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง ตายแล้วหาสาระหาแก่นสารไม่ได้ หาประโยชน์ไม่ได้

... ให้ทุกคนเตรียมพร้อมที่จะตายได้ ให้ขยันหมั่นเพียร ชำระจิตใจให้สะอาด มีพระนิพพานเป็นอารมณ์

... จงวางภาระว่า เราของเรา เสียให้สิ้นด้วยไม่มีอะไรเลยเป็นของเรา แม้แต่ร่างกายก็มีเจ้าของ คือ มรณภัยมันมาทวงคืน

... ให้คิดว่าเราไม่มีอะไรเป็นของเรา เราไม่ต้องการมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก เรามีนิพพานเป็นที่ไป ฯ.


ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
Re: บทพิจารณาขัน ๕
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2014, 11:14:16 PM »
... พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสไว้ว่า สัตว์ก็ดี คนก็ดี หรือสิ่งที่ไม่มีชีวิตก็ดี มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แล้วมีความเปลี่ยนแปลงไปในระหว่างกลาง ที่สุดมันก็แตกทำลายหมด ถ้าเป็นสัตว์ เป็นบุคคลก็ตายในที่สุด ถ้าเป็นของวัตถุธาตุ ก็แตกทำลายในที่สุด

... ไอ้บ้านเรือนโรงภูเขา ลำเนาป่า อะไรมันก็เหมือนกัน ภูเขามันเป็นหินแข็ง แต่ว่านานๆ เข้าก็เป็นหินผุกลายเป็นดินไป

... ที่นี้ไอ้คนหรือสัตว์ก็เหมือนกัน มันเกิดขึ้นมาในตอนต้น มันตัวเล็กๆ แล้วมันก็เปลี่ยนแปลง มันเปลี่ยนสภาพเข้ามาทุกทีๆ ถึงความเป็นคน เป็นบุคคลใหญ่ เป็นหนุ่ม เป็นสาว แล้วก็แก่

... ในระหว่างนั้นสภาพของร่างกายก็ไม่ปกติ โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน นี่เป็นอาการเปลี่ยนแปลง จัดเป็นอนิจจัง

... ทีนี้ตัวอนิจจังไม่เที่ยง มีความทุกข์ก็บังเกิดขึ้น ไอ้ความทุกข์มันเกิดขึ้นก็เพราะตัวอนิจจังนี่แหละ ไม่มีใครต้องการให้มันเป็น " นิจจัง " คือมันเที่ยงแน่นอน มีสภาพปกติ

... แต่อนิจจังมันขับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เคลื่อนไปจากความปกติ ให้มีความเปลี่ยนแปลง แปรสภาพเสื่อมโทรมลงไปเป็นธรรมดา

... แล้วในเมื่อความเสื่อมโทรมมันปรากฏ ความทุกข์ใจของเจ้าของร่างกายก็ปรากฏ คือ โรคภัยไข้เจ็บมันก็เกิดขึ้น ความทุกข์ใจของเจ้าของร่างกายก็ปรากฏ นี่มันเป็นตัวทุกข์ อนิจจังมันทำให้ทุกข์

... ไม่มีใครจะห้ามความตาย ไม่มีใครจะห้ามความเสื่อมความสูญ ความสลายตัวได้

... คนทุกคนเกิดมาแล้วเป็นอย่างนั้น สัตว์ทุกตัวเกิดมาแล้วเป็นอย่างนั้น สภาพของวัตถุต่างๆ เป็นอย่างนั้น ตรงตามความเป็นจริงทุกอย่าง

... ซึ่งมนุษย์ทุกคนที่เกิดมาในโลก ยากนักที่จะคิดอย่างนี้ที่จะเห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้ ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
Re: บทพิจารณาขัน ๕
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2014, 11:17:45 PM »
... นี่พระพุทธเจ้าทรงสอนกฏของธรรมดา ซึ่งคนทั้งหลายที่เกิดมาแล้ว ด้วยอำนาจของกิเลสและตัณหาเข้าไปปิดบังใจ

... ไม่ยอมรับนับถือกฏธรรมดา เช่น กระดูกนี่เป็นของปฏิกูลน่าเกลียด ร่างกายเราเมื่อสภาพการหมดไปแล้ว ก็คงมีโครงกระดูกนี่เป็นเรือนร่าง เป็นแก่นของร่างกาย

... คนและสัตว์ที่เกิดมาแล้ว ไม่มีสภาพจะคงที่ได้ ถ้ามีร่างกายบริบูรณ์สมบูรณ์ เมื่อสิ้นลมปราณแล้ว ร่างกายก็จะผุพังน้ำเหลืองจะไหล

... ธาตุดินไปส่วนหนึ่ง ธาตุน้ำไปส่วนหนึ่ง ธาตุไฟไปส่วนหนึ่ง ธาตุลมไปส่วนหนึ่ง ผลที่สุดเนื้อหนังก็จะละลายไป เหลือแต่ธาตุกระดูก

... กระดูกก็จะเป็นโครงอย่างนี้ หาความสวยไม่ได้ หาความงามไม่ได้

... อัตตภาพร่างกายอย่างนี้ มันเกิดขึ้นในเบื้องต้น มันเป็นอนิจจังคือ เปลี่ยนแปลงมาในระหว่างกลาง แล้วต่อไปก็ผุพังทำลายไปในที่สุด เป็นอนัตตาอย่างนี้

... ไม่มี นิจจัง สุขขัง อัตตา หมายความว่า นิจจังมีสภาพคงที่ สุขขังไม่มีทุกข์ อัตตามีสภาพ เป็นตัวตน ยืนยาวตลอดกาลตลอดสมัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างนั้นไม่มีในร่างกายนี้ ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
Re: บทพิจารณาขัน ๕
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2014, 11:19:48 PM »
... สำหรับอัตตภาพที่มีขันธ์ ๕ มันต้องเป็นอนิจจัง คือ เปลี่ยนแปลงไม่เที่ยงอยู่เรื่อยไป

... เพราะความไม่เที่ยงมันจึงเป็นทุกข์

... เพราะเป็นทุกข์นี่แหละสภาวะอนัตตาจึงปรากฏ คือ ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน มันพัง มันทำลาย

... นี่ร่างกระดูกที่เราเห็นนี่ เมื่อก่อนก็มีเรือนร่างครบถ้วนบริบูรณ์อย่างเรา มีลมปราณเหมือนกัน มีชีวิตจิตใจเหมือนกัน แต่ว่านี่เนื้อหนังมังสามันหมดไปแล้วเหลือแต่กระดูก อันเป็นส่วนแก่นแท้ภายในร่างกาย

... เมื่อพิจารณาไปส่วนไหนมันก็ไม่น่ารัก ไม่น่าดู ไม่น่าชม มันน่าเกลียด ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
Re: บทพิจารณาขัน ๕
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2014, 11:21:44 PM »
... จึงกล่าวได้ว่า ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง

... แต่ความตายเป็นของเที่ยง

... การเกิดเป็นมนุษย์มันเต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขไม่ได้

... จงอย่าอาลัยในชีวิต มันจะตายเมื่อไหร่ก็ได้ช่างมัน เอาดีเข้าไว้

... ดีนั่น คือ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

... ที่ให้คิดว่าร่างกายมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา

... ร่างกายเป็นเพียงธาตุ ๔ เข้ามาประชุมกัน มีธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ มันก็ปั้นเป็นก้อนขึ้นมา เขาแยกเป็นอาการ ๓๒

... ในไม่ช้าก็ตาย อย่าลืมความตายเป็นสำคัญ ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
Re: บทพิจารณาขัน ๕
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2014, 11:25:09 PM »
... ถึงแม้เราจะมีคาถาอาคมของดีอะไรก็ตาม เราก็ต้องตาย

... ก่อนตายควรเลือกทางเดินเอาอย่างน้อยที่สุด

... เราควรไปสวรรค์ชั้นกามาวจรให้ได้

... ขอให้ทุกคนนะ เวลาก่อนจะหลับ ให้นึกถึงความดีที่ตนเคยทำ

... ทรัพย์สินที่สละเป็นวิหารทาน ธรรมทาน สังฆทาน เลี้ยงพระ

... นึกถึงศีลที่ตนเคยรับมา เทศน์ที่ตนเคยฟัง

... แล้วหมั่นภาวนาถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

... พุทโธ ธัมโม สังโฆ

... เมื่อจะเจริญกรรมฐาน ให้ตั้งอยู่ในพรหมวิหาร ๔

... ให้เป็นฌานสมาธิแน่วแน่ ให้แผ่เมตตาไปทั่วจักรวาล

...  แล้วจึงพิจารณาตามอารมณ์วิปัสสนาหรือภาวนาตามแบบสมถะ

... ทุกคนตายแล้วจงไปสวรรค์ จงไปพรหมโลก จงไปนิพพาน ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
Re: บทพิจารณาขัน ๕
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2014, 11:37:15 PM »
   ... เข้าถึงปฐมฌานก็ดี ฌานที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ถึงฌานที่ ๘ ก็ตาม

... เป็นคุณธรรมที่จะทำให้บรรดาท่านพุทธบริษัทให้เกิดเป็นพรหม

... หากว่าท่านทรงความดีอย่างนี้ไว้ได้ เมื่อตายท่านก็เกิดเป็นพรหม

... ทีนี้ถ้าหากว่า บรรดาท่านพุทธบริษัทยังไม่นิยมว่า

... การเกิดเป็นพรหมยังไม่พ้นวัฏสงสาร ต้องการพระนิพพานเป็นที่ไป

... อันนี้ก็ขอให้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายจงคิดว่า


... โลกทั้งโลกมีตัวเราเป็นต้น และมีบุคคลอื่น สัตว์อื่น วัตถุอื่นทั้งหมดเป็นสภาวะไม่เที่ยง มันไม่มีอะไรทรงตัว

... มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง มีความทุกข์ในขณะที่ทรงอยู่ และมีการตายในที่สุด 

... ถ้าเรายังมีการยึดมั่นตัวเราเป็นของเราก็ดี ญาติพี่น้องหรือบุคคลที่เนื่องถึงเราก็ดี หรือวัตถุใดๆ ก็ตามที

... ถ้ายังถืออยู่แบบนี้ก็ได้ชื่อว่า เราต้องกลับมาเกิดในโลกมีความทุกข์อยู่ต่อไป


... องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงแนะนำว่า

... การเกิดเป็นทุกข์ แดนที่ไม่ทุกข์มีอยู่

... เราจะเกิดเป็นมนุษย์ก็ดี พรหมก็ดียังไม่สิ้นความทุกข์

... ยิ่งเกิดใน นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉานด้วยแล้ว กลับทุกข์ใหญ่


... องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงแนะนำว่า

... การถึงพระนิพพานสิ้นความทุกข์ ขึ้นชื่อว่าความขัดข้องของจิตนิดหนึ่งก็ไม่มี

... คนที่จะถึงพระนิพพานได้นี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงสอน ให้ปล่อยกายเสีย ถ้าเราปล่อยกายเสียได้อย่างเดียว วัตถุต่างๆ หรือบุคคลอื่นเราก็ปล่อยได้ เพราะสิ่งที่เรารักมากที่สุด ต้องการมากที่สุดก็ คือ กาย  ฯ.

     
... วิธีปล่อยกายก็ค่อยๆ คิดว่า

... เราเกิดมาจะต้องตาย เวลาที่ทรงกายอยู่ก็เต็มไปด้วยความทุกข์หาความสุขไม่ได้

... ถ้าเราเกิดมาใหม่ก็ดีไม่มีประโยชน์อะไร เพราะร่างกายก็ดี ทรัพย์สมบัติก็ดี นี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในมัน มันไม่มีในเรา

... ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะร่างกายเป็นธาตุ ๔ คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ

... เป็นเรือนร่างที่จิตเข้ามาอาศัยชั่วคราว เมื่อร่างกายพังแล้ว จิตก็ คือ เราต้องไปสู่ความสุขหรือความทุกข์ หาชาติหาภพเป็นที่เกิด

... เมื่อเกิดขึ้นอีกก็ต้องประสบกับความทุกข์แบบนี้ กระทบกับความไม่เที่ยง พบกับความเป็นทุกข์ พบกับการสลายตัว  ฯ.

ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
Re: บทพิจารณาขัน ๕
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2014, 09:49:27 PM »
... ถ้าหากว่าเราปล่อยร่างกายเสียได้เมื่อไร คิดเสียว่า

... " การเกิดเป็นทุกข์ เราไม่ต้องการความเกิด เกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นทุกข์ เกิดเป็นเทวดา หรือพรหมก็ไม่สิ้นความทุกข์ "

... ทำจิตไว้เป็นปกติ คิดไว้ว่า

... " การเกิดมีขันธ์ ๕ เป็นมนุษย์ก็ดี เป็นสัตว์ หรือว่าเกิดมีอทิสสมานกายเป็นเทวดา หรือพรหมก็ตามเราไม่ต้องการ สิ่งที่เราต้องการก็คือพระนิพพานอย่างเดียว "

... ต้องพยายามทำจิตปล่อย คิดเห็นอะไรก็ตาม เห็นว่ามันพังเป็นปกติ

... รู้ตัวร่างกายของเราว่า สักวันหนึ่งข้างหน้ามันจะต้องพัง มีญาติ มีพี่น้อง มีสามีภรรยา มีบุตรธิดา มีทรัพย์สินต่างๆ เราก็คิด

... ร่างกายแต่ละบุคคล หรือทรัพย์สินทั้งหลายเหล่านี้เป็นของโลก เราไม่สามารถจะครองหรือจะอยู่ได้ตลอดกาลตลอดสมัย

... เมื่อถึงวาระที่สุดต่างคนก็ต่างตาย ต่างคนก็ต่างพัง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เราไม่ต้องการมันอีก ขึ้นชื่อว่ามนุษยโลกก็ดี เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี เราไม่ต้องการ

... และเราจะไม่เห็นว่ามนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก เป็นดินแดนที่สวยงาม เราเห็นว่าเป็นดินแดนประกอบไปด้วยความทุกข์ เราต้องการดินแดนที่มีความสุข คือ พระนิพพาน

... และจากนั้นก็ตั้งใจยอมรับนับถือกฎของธรรมดา

... ถ้าความแก่เกิดขึ้น ความป่วยไข้ไม่สบายเกิดขึ้น ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเกิดขึ้น ความตายเกิดขึ้นแก่เราหรือบุคคลอื่นก็ตาม ถือว่านี่เป็นเรื่องธรรมดาของโลก เราไม่ยุ่ง เราไม่หนักใจ

... และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกธรรมทั้ง ๘ ประการ ก็คือ  การได้ลาภแล้วก็เสื่อมลาภ ได้ยศแล้วยศก็เสื่อมไป นินทาหรือว่าสรรเสริญ  สุขหรือทุกข์

... เหตุทั้ง ๘ ประการนี้ เข้าใจ รู้ไว้เสมอว่า มันเป็นสมบัติของโลก เมื่อเกิดมาในโลกแล้ว มันต้องพบ เมื่อพบแล้วก็ทำใจเฉย ๆ

... มีลาภเกิดขึ้น ก็จงนึกว่าลาภ มันจะต้องเสื่อม เมื่อมันเสื่อมเราก็ไม่เสียใจ เกิดหามาได้ ก็ไม่ดีใจเกินไป

... ได้รับยศก็ไม่ดีใจเกินไป ถือว่ายศมันสลายตัวไป เมื่อยศสลายตัวก็ไม่เสียใจ เพราะรู้ตัวอยู่แล้ว

... เมื่อพบใครเขานินทา ก็คิดว่านี่มันเรื่องธรรมดาของคนที่เกิดมาจะต้องถูกนินทา แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีคุณประเสริฐก็ยังมีคนนินทาว่าร้าย เราก็ไม่สนใจกับคำนินทา

... ใครเขาสรรเสริญว่าดี ประเสริฐยังไงเราก็พิจารณาตัวเรา ถ้าเราไม่ดี ตามคำพูดของเขาเราไม่รับฟัง ฟังเหมือนกัน แต่ไม่ยินดีด้วยกับคำสรรเสริญ  ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
Re: บทพิจารณาขัน ๕
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2014, 09:51:04 PM »
... ทีนี้ความสุขกับความทุกข์อันเนื่องด้วยโลกียวิสัยเกิดขึ้นกับใจ ก็ถือว่า นี่เป็นเรื่องหลอกลวงหาความจริงมิได้ ขึ้นชื่อว่าโลกธรรมทั้ง ๘ ประการเราจะต้องวางเสีย จะต้องทิ้งเสีย คือค่อยๆ ทิ้ง ค่อยๆ วางไป

... เมื่อกระทบกับอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เราจะอดทนต่อสู้กับมันไปจนกว่าจะสิ้นลมปราณ เมื่อเราสิ้นลมปราณคือร่างกายนี้สลายตัวเมื่อไร เราจะไปพระนิพพานเมื่อนั้น ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
Re: บทพิจารณาขัน ๕
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2014, 09:53:48 PM »
... เราก็ต้องรู้ด้วยว่า

... ร่างกาย ความจริงมันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา

... เรา คือ จิตที่เรียกว่า อทิสมานกาย ที่เข้ามาอาศัยร่างกายเป็นเรือนร่างที่อาศัยอันนี้

... ร่างกายมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา แล้วมันก็ไม่อยู่ในอำนาจของเรา เราจะปรนเปรอบังคับบัญชามันอย่างไรก็ตาม มันจะไม่ยอมปฏิบัติตามด้วยประการทั้งปวง 

... การถือตัวถือตนว่า เราเสมอเขาก็ดี เราดีกว่าเขาก็ดี เราเลวกว่าเขาก็ดี เป็นปัจจัยของความทุกข์

... อย่ามองคนด้วยฐานะ อย่ามองคนด้วยศักดิ์ศรี อย่ามองคนด้วยความรู้ความสามารถ มองคนแต่เพียงว่าสภาพของเขาเป็นวัตถุเหมือนสภาพของเรา จิตใจของเราพร้อมในการเมตตาปรานีไม่ถือตน เขาจะมาในฐานะเช่นใดก็ช่าง ถือว่าเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนกันหมด การกำหนดอารมณ์อย่างนี้ เราก็สามารถจะกำจัดตัวมานะ การถือตัวถือตนเสียได้ อย่างนี้เรียกว่า อรหัตมรรค ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
Re: บทพิจารณาขัน ๕
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2014, 09:57:19 PM »
... จงเห็นว่าไม่มีอะไรเหลือเลยในโลกนี้ เห็นทุกอย่างเป็นเรื่องสมมุติทั้งสิ้น แปรปรวน เสื่อมไป สลายไป ทุกอย่างไม่มีอะไรควรยึดถือทั้งสิ้น 
     
... เห็นใครเขาแก่ ก็นึกว่าไม่ช้าเราก็ต้องแก่ตามเขา

... เห็นใครเขาป่วย ก็นึกว่าไม่ช้าเราก็ป่วยอย่างเขา

... เห็นใครเขาตาย ก็นึกว่าไม่ช้าเราต้องตายอย่างเขา
     
... ร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของเขาก็ดี ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน 

... มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความแปรปรวนไปในท่ามกลาง มีการสลายตัวไปในที่สุด 

... และร่างกายของแต่ละร่างกาย ก็เต็มไปด้วยความสกปรกโสมม มันไม่มีอะไรเป็นจริงเป็นของเราจริงๆ
     
... จำไว้ว่าโลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยง  ถ้าเราเกาะความเที่ยงมันก็ทุกข์ 

... แต่ทว่าจะสุขหรือทุกข์ก็ตาม อนัตตามันก็เข้ามาถึง อย่ายึดอย่าถือว่ามันเป็นเราเป็นของเรา 

... คิดไว้เสมอว่าชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายที่เราจะอยู่กับมัน ตายจากความเป็นคนเมื่อไหร่ ขอไปพระนิพพานเมื่อนั้น ฯ.

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
Re: บทพิจารณาขัน ๕
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2014, 09:06:39 PM »
...  "เรา" คือ "จิต" ที่สิงในกาย หรือที่เรียกว่า "อทิสมานกาย" 

... "เรา" จริง ๆ คือ "จิต" ร่างกายเป็นแต่เพียงเรือนร่างที่อาศัยชั่วคราว

... เมื่อเรานึกถึงอารมณ์ของจิต คำว่าเราคือจิต เราไม่เคยคิดเลยว่าต้องการให้ร่างกายของเราแก่ ไม่ต้องการให้หิว ไม่ต้องการให้ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ ไม่ต้องการให้ป่วยไข้ไม่สบาย ไม่ต้องการให้มีทุกข์อย่างอื่น ไม่ต้องการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ไม่ต้องการตายในที่สุด แล้วร่างกายมันตามใจเราไหม

... อารมณ์ที่เราต้องการแบบนี้ มีความปรารถนาเหมือนกันหมดทุกคน แล้วก็ร่างกายมันตามใจเราไหม ลองนึกดู เวลานี้เราอายุเท่าไรแล้ว ถ้าร่างกายมันเป็นของเราจริง เราพอใจอยู่แค่ไหน ถึงความเป็นหนุ่มเป็นสาวร่างกายสมบูรณ์บริบูรณ์ ก็เพราะว่าเราไม่อยากจะแก่แล้ว  มันเชื่อไหมล่ะ อยากจะกินอาหารอย่างไหนที่ว่ามันดีที่สุดที่มันมีประโยชน์แก่ร่างกายที่สุด ร่างกายจะได้ไม่ทรุดโทรม แต่กินเข้าไปเท่าไรก็โทรมก็แก่ ยาขนานไหนดีที่สุดกินแล้วไม่แก่ ไม่ป่วย ไม่ตาย กินเข้าไปเถอะ ไม่ช้ามันก็ตาย มันก็แก่


โอวาทหลวงปู่พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

ออฟไลน์ DHAMMASAMEE

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
Re: บทพิจารณาขัน ๕
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2014, 11:21:41 PM »
... นี่เป็นอันว่าเราห้ามร่างกายไม่ได้ ในเมื่อร่างกายเราห้ามมันไม่ได้แล้ว เราก็ต้องรู้ว่าร่างกายความจริงมันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา เราคือจิตที่เรียกว่า อทิสมานกาย ที่เข้ามาอาศัยร่างกายเป็นเรือนร่างที่อาศัยอันนี้ ร่างกายมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา แล้วมันก็ไม่อยู่ในอำนาจของเรา

... เราจะปรนเปรอบังคับบัญชามันอย่างไรก็ตาม มันจะไม่ยอมปฏิบัติตามด้วยประการทั้งปวง ถึงเวลาที่มัน จะแก่ มันก็ต้องแก่ ถึงเวลาที่มันจะต้องป่วยก็ต้องป่วย ถึงเวลาเวทนาต่างๆ เวทนาจะเกิดขึ้นมันก็เกิด ถึงเวลามันจะตาย จ้างมันเท่าไรมันก็ไม่เอา
   
... แต่พอตายแล้ว ไปสวรรค์บ้าง ไปนรกบ้าง ไปเกิดเป็นเปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉานบ้าง ไปเป็นพรหมบ้าง ไปนิพพานกันบ้าง ไอ้ที่ไปจริงๆ ร่างกายมันไปด้วยรึเปล่า มันก็เปล่า ร่างกายเน่าทับถมพื้นแผ่นดินอยู่ บางทีเขาก็เผา บางรายไม่ได้เผาก็เละกระจายเป็นกรวดเป็นดิน อันนี้ร่างกายมันไม่ได้ไป ผู้ที่ตกนรก ไปสู่สวรรค์ มันเป็นใคร นั่นแหละคือเราที่เรียกกันว่าอทิสมานกายหรือจิตที่สิงในกาย
   
... นี่มาถึงตรงนี้เราจะเห็นได้ทันทีถ้าไม่โง่เกินไป หรือว่าไม่ฉลาดเกินพอดีก็จะเห็นว่าร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราจริงๆ ในเมื่อมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราจริงๆ จะไปนั่งเมาเพื่อประโยชน์อะไร ต้องการมันหรือเกิดมาชาตินี้ความทุกข์โถมเต็มกำลังอยู่แล้ว เกิดในชาติต่อๆ ไป มันก็เป็นรูปนี้ ไม่ว่าชาติไหน แต่เกิดเป็นคนมันก็ยังดี แต่ถ้าเป็นคนเลวลงนรกไป มันก็นานนักถึงจะกลับมา
   
... นี่พระพุทธเจ้าพิจารณาให้เห็นว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราก็จงวางภาระเสีย ทำใจให้สบายว่าร่างกายนี้เกิดขึ้นมาในเบื้องต้น แล้วมีความเสื่อมโทรมไปในท่ามกลาง มีการแตกสลายไปในที่สุดเป็นของธรรมดา เอาใจเข้าไปรับตัวธรรมดาเข้าไว้ ตนของตนเองก็ยังไม่มี ทรัพย์หรือบุตรจะมีแต่ไหน

... " เจ้าจงใคร่ครวญอย่างนี้ จงคิดว่าเราเป็นผู้ไม่มีอะไรเลย ทรัพย์สินก็ไม่มี ญาติ เพื่อน ลูก หลาน เหลน ไม่มี แม้ร่างกายเราก็ไม่มี เพราะทุกอย่างที่กล่าวมามีสภาพพังหมด เราจะทำกิจที่ต้องทำตามหน้าที่ เมื่อสิ้นภาระคือร่างกายพังแล้ว เราจะไป พระนิพพาน เมื่อความป่วยไข้ ปรากฏจงดีใจว่า วาระที่เราจะมีโอกาสเข้าสู่พระนิพพานมาถึงแล้ว เราสิ้นทุกข์แล้ว "
   
... คิดไว้อย่างนี้ทุกวันจิตจะชินจะเห็นเหตุผล เมื่อจะตายอารมณ์จะสบายดี แล้วก็จะเข้านิพพานได้ทันที ฯ.

                         
หลวงปู่พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี