เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้เกี่ยวกับพระเจ้า“จักรพรรดิ”  (อ่าน 20530 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด
ความรู้เกี่ยวกับพระเจ้า“จักรพรรดิ”
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2012, 06:48:27 PM »
ความรู้เกี่ยวกับพระเจ้า“จักรพรรดิ”

พระเจ้าจักรพรรดิ คือ มนุษย์ผู้มีบุญ เพราะได้ทำบุญมาดีแล้วแต่ชาติก่อน ด้วยการให้ทาน รักษาศีล ๕ และศีล ๘ หรือได้บำรุงบำเรอพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอะระหันต์ พระภิกษุสงฆ์ ได้บำรุงพระพุทธศาสนา ได้ประกาศเผยแพร่พระพุทธศาสนา หรือได้ทำประโยชน์แก่สาธารณะชนด้วยกำลังศรัทธาที่แรงกล้า.

พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพระราชาโดยธรรมะ ไม่ต้องแย่งชิงอำนาจจากใครด้วยอุบายหรือการทำสงคราม ทรงชนะแล้ว มีอาณาจักรที่มั่นคง ทรงมีพระราชอำนาจสิทธิ์ขาดในโลกแต่ผู้เดียว ทรงมีพระปัญญาอันประเสริฐ ฉลาดรอบรู้ในสรรพวิชาการ ทรงบำรุงพัฒนาบ้านเมืองจนเจริญสูงสุด พระองค์มีแก้ว ๗ ประการ มีพระราชบุตรมากกว่าพันล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีระกษัตริย์ สามารถย่ำยีกองกำลังของข้าศึกได้ไม่ยาก ด้วยอานุภาพบุญฤทธิ์ของพระองค์ และอานุภาพแห่งแก้ว ๗ ประการ ทำให้พระองค์ทรงบริหารและปกครองราษฎรโดยไม่ต้องใช้ศาสตรา ไม่ต้องใช้อาวุธหรือเครื่องมือประหัตประหารใดๆ ไม่ต้องลงโทษ ไม่ต้องลงอาชญา.
สมัยใดโลกมีพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา สมัยใดโลกว่างเปล่าจากจากพระพุทธศาสนาและพระปัจเจกพุทธเจ้า สมัยนั้นได้ชื่อว่าโลกมืด โลกจะแบ่งแยกเป็นประเทศเล็กประเทศน้อยอย่างมากมาย มีเชื้อชาติมากมาย ภาษามากมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีมากมาย มีลัทธิศาสนาอันไม่ได้ช่วยให้พ้นทุกข์ได้มากมาย แล้วมวลมนุษย์ในโลกก็เกิดความขัดแย้งกัน ทะเลาะไม่สามัคคีกัน ด่ากัน แล้วลงท้ายด้วยการจับก้อนดินบ้าง ท่อนไม้บ้าง อาวุธอันมีคมบ้าง ประหัตประหารกัน รบกัน ทำสงครามกัน แล้วเกิดการจองเวรด้วยการลอบทำร้ายกัน ลอบสังหารกันและก่อวินาศกรรม กลายเป็นลัทธิก่อการร้ายล้างผลาญกันไป ล้างผลาญกันมาไม่จบสิ้น พระองค์ทรงเห็นโทษเห็นความลามกของความแตกแยกและความแตกต่าง พระองค์จึงทรงรวบรวมมนุษย์ทุกชาติทุกเผ่าพันธุ์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้มนุษย์โลกมีเพียงชาติเดียว เผ่าพันธุ์เดียว ภาษาเดียว ขนบธรรมเนียมประเพณีเดียว ใช้สกุลเงินเดียว แล้วพระองค์ทรงสอนศีล ๕ แก่มวลมนุษย์ในโลก เป็นหลักคำสอนเดียวศาสนาเดียว ดังนั้นมนุษย์ในยุคนั้นจึงมีพระเจ้าจักรพรรดิเป็นพระประมุขของชาวโลก และเป็นศาสดาของชาวโลก.

เมื่อประมุขของโลกและมนุษย์โลกต่างมีศีล ๕ มีธรรมะอันงาม ไม่มีแหล่งอบายมุขใดๆในแผ่นดิน ไม่แตกแยกไม่ขัดแย้งกันดังนี้ มวลมนุษย์ย่อมเห็นความสุขความเจริญในปัจจุบัน เหล่าเทวดาทั้งหลายย่อมปลื้มปีติยินดี ร่าเริงบันเทิงใจ ฝนฟ้าก็ตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารก็อุดมสมบูรณ์ มนุษย์ทั้งหลายก็มีสุขภาพจิตสุขภาพกายดี อายุยืน จำนวนมนุษย์ก็มากขึ้นแต่ไม่ขาดแคลน มวลมนุษย์ทั้งปวงต่างมองหน้ากันด้วยแววตาแห่งความรักความเมตตา เมื่อนั้นได้ชื่อว่าพระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้ประทานแสงสว่างให้แก่โลก ประทานความร่มเย็นให้แก่โลก.



ฤทธิ์ ๔ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ
๑. พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีพระรูปงาม น่าดู น่าชม น่าเลื่อมใส ทรงมีพระฉวีวรรณผ่องใสยิ่งกว่ามนุษย์ทั่วไป
๒. พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีพระชนมายุยืนนานกว่ามนุษย์ทั่วไป
๓. พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีอาพาธน้อย มีพระโรคน้อยกว่ามนุษย์ทั่วไป
๔. พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นที่รักที่ชอบใจของมนุษย์ทั้งหลาย และมนุษย์ทั้งหลายก็เป็นที่รักที่ชอบใจของพระเจ้าจักรพรรดิ
ดุจบุตรเป็นที่รักที่ชอบใจของบิดาทีเดียว เมื่อถึงคราวพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จเลียบพระนครออกเยี่ยมราษฎร ราษฎรทั้งหลายไปเฝ้า พระองค์พลางกราบทูลว่า “ขอเดชะ... ขอพระองค์อย่าด่วนเสด็จไป พวกข้าพระองค์จะได้เฝ้าพระองค์นานๆ”แม้พระเจ้าจักรพรรดิก็
ทรงตรัสกับนายสารถีว่า “นายสารถี เธออย่าด่วนขับรถไป เราจะได้เห็นราษฎรนานๆ”


ลักษณะ ๓๒ ประการของมหาบุรุษ

มหาบุรุษผู้มีลักษณะ ๓๒ ประการนี้ ย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หรือเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น คือ....

๑. มีพระบาทเรียบเสมอ
๒. ที่ฝ่าพระบาททั้งสองมีลายรูปจักร อันมีซี่พันหนึ่ง มีกง มีดุมบริบูรณ์
๓. ส้นพระบาทยาว
๔. มีพระองคุลี (นิ้ว) ยาว
๕. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม
๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาท มีลายดุจตาข่าย
๗. มีพระบาทนูนสูงดุจสังข์คว่ำ
๘. มีพระชงฆ์ (แข้ง) เรียวดุจแข้งเนื้อทราย
๙. เมื่อประทับยืนมิได้ก้ม พระหัตถ์ทั้งสองลูบพระชานุ (เข่า) ทั้งสองได้
๑๐. มีพระคุยหะ (องคชาติ) เร้นอยู่ในฝัก
๑๑. พระฉวีวรรณดุจสีทอง
๑๒. พระฉวีวรรณละเอียดฝุ่นไม่เกาะ
๑๓. พระโลมา (ขน) เกิดขึ้นขุมละเส้น
๑๔. พระโลมาทุกเส้นชี้ขึ้นข้างบน
๑๕. พระวรกายตรงดุจกายพระพรหม
๑๖. พระมังสะเต็มในที่ ๗ แห่ง คือ หลังพระหัตถ์ทั้งสอง, หลังพระบาททั้งสอง, พระอังสะ (บ่า) ทั้งสอง และพระศอ (คอ)
๑๗. พระวรกายท่อนบนดุจกายท่อนหน้าของราชสีห์
๑๘. แผ่นหลังมีพระมังสะเต็ม
๑๙. พระวรกายดุจต้นไทร มีพระวรกายเท่ากับวา
๒๐. ลำพระศอกลม
๒๑. เส้นประสาทรับรู้รสได้ดี
๒๒. พระหนุ (คาง) ดุจคางของราชสีห์
๒๓. พระทนต์ (ฟัน) ๔๐ ซี่
๒๔. พระทนต์เรียบเสมอ
๒๕. พระทนต์ไม่ห่าง
๒๖. พระเขี้ยวแก้วขาวงาม
๒๗. พระชิวหา (ลิ้น) ใหญ่
๒๘. พระสุรเสียงก้องกังวานดุจเสียงของพระพรหม ไพเราะดุจเสียงของนกการเวก
๒๙. พระเนตรดำสนิท
๓๐. ดวงพระเนตรดุจตาของลูกโค
๓๑. พระอุณาโลม (ขนระหว่างคิ้ว) ขาวอ่อนนุ่มดุจสำลี
๓๒. พระเศียรดุจสวมมงกุฎ

คุณธรรมของพระราชาผู้จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

๑. อาศัยธรรมะ สักการะเคารพธรรมะ นับถือธรรมะ บูชาธรรมะ ยำเกรงธรรมะ มีธรรมะเป็นธงชัย มีธรรมะเป็นใหญ่
๒. รักษาคุ้มครอง ป้องกันอย่างเป็นธรรมะในราชนิกุล ในกองพล ในกษัตริย์ เมืองขึ้น ในชาวเมือง ชาวชนบท สมณะ พราหมณ์
๓. รักษาคุ้มครองป้องกันอย่างเป็นธรรมะในเหล่าสัตว์เดรัจฉาน ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า
๔. ไม่ให้มีสิ่งผิดศีลธรรมในแผ่นดิน
๕. ให้ทรัพย์แก่ผู้ไม่มีทรัพย์
๖. เข้าไปหาสมณะพราหมณ์ผู้มีความอดทน มีความสงบระงับ ฝึกตนอยู่ผู้เดียว ดับกิเลสอยู่ผู้เดียว ล้วถามว่า“ท่านขอรับ...กุศล
คือ อะไร อกุศลคืออะไร กรรมใดไม่มีโทษ กรรมใดมีโทษ กรรมใดควรเสพ กรรมใดไม่ควรเสพ กรรมใดทำแล้วเป็นประโยชน์ กรรมใด
ทำแล้วไม่เป็นประโยชน์”
๗. เมื่อฟังคำของสมณะพราหมณ์นั้นแล้ว สิ่งใดเป็นอกุศลจงเว้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลจงถือมั่นประพฤติปฏิบัติ

จักรแก้ว

พระราชาผู้ที่จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงศีล ๕ อยู่เป็นนิตย์ ในวันอุโบสถ ๘ ค่ำ ๑๔ – ๑๕ ค่ำ พระองค์จะทรงจัดการงานแผ่นดิน
ทั้งหลายให้เสร็จแต่เช้าตรู่ แล้วทรงถวายมหาทาน ทรงสรงน้ำชำระพระเศียรแล้วฉลองพระองค์ด้วยชุดขาว เสวยพระกระยาหารประทับนั่ง
สมาธิอยู่บนปราสาทสมาทานศีล ๘ ทรงลำลึกถึงเหตุแห่งบุญที่สำเร็จด้วย ทาน ศีล การข่มใจ และการฝึกตนของพระองค์ จนกระทั่งวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง คืนหนึ่งขณะที่พระองค์ทรงถือศีล ๘ และเจริญสมาธิอยู่ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ก็ปรากฏแก่พระองค์ จักรแก้วอันเป็นทิพย์นั้นบริบูรณ์ด้วย ดุม กง และซี่พันซี่ ล้วนสำเร็จด้วยทองและเงิน ประดับด้วยรัตนะชาติ ๙ ประการ ที่ได้รับการสลักลวดลายอย่างวิจิตรงดงาม มีแสงรัศมีซ่านออกโดยรอบดุจดวงอาทิตย์ จักรแก้วเมื่อต้องลมแล้วมีเสียงไพเราะยวนใจ ชวนให้ฟัง ชวนให้เคลิบเคลิ้ม เหมือนเสียงดนตรีทั้ง ๕ ที่บรรเลงโดยนักดนตรีผู้ชำนาญดีแล้ว
จักรแก้วนั้นลอยมาจากทิศตะวันออกเปล่งแสงสุกสว่างดุจพระจันทร์ดวงที่ ๒ มาวนเวียนรอบพระนครแล้วหยุดอยู่ที่สีหะบัญชรด้านทิศเหนือของปราสาท มหาชนเห็นแล้วแตกตื่นพากันวิ่งตามมาดูและสักการบูชา พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นจักร
แก้วแล้วทรงดำริว่า “เราเคยได้ฟังมาว่า พระราชาผู้ได้รับการราชาภิเษ แล้วองค์ใด ทรงสรงน้ำชำระพระวรกาย สระพระเศียร แล้วรักษาอุโบสถศีลอยู่บนปราสาทในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ จักรแก้วอันเป็นทิพย์จะปรากฏแก่พระราชาพระองค์นั้น ผู้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เราเห็นจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิแล้วหรือ?” จึงทรงออกจากสมาธิลุกขึ้นมาทรงผ้าสไบเฉวียงบ่า พระหัตถ์ซ้ายจับพระเต้าทองหลั่งน้ำทักษิโณทก พระหัตถ์ขวาชูจักรขึ้น แล้วตรัสว่า “โอ... จักรแก้วอันเจริญ จงหมุนไปพิชิตจักรวรรดิเถิด” ทันใดนั้นจักรแก้วก็หมุนลอยนำไปทางทิศตะวันออก พระราชาพร้อมด้วยกองทัพ ๔ เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า อีกทั้งมหาชนทั้งหลายก็ติดตามไป ด้วยอานุภาพของจักรแก้วพาให้พระราชาและผู้ติดตามทั้งหมดเหาะลอยไปได้ในอากาศ ข้ามภูเขา ข้ามแม่น้ำ ข้ามทะเล จักรแก้วนำพาไปสู่อาณาจักรของประเทศใด ก็หยุดลงที่หน้าพระราชนิเวศของพระราชาประเทศนั้น พระองค์พร้อมผู้ติดตามก็หยุด ณ ที่นั้น พระราชาของประเทศนั้นๆก็นำเครื่องบรรณาการเสด็จเข้ามาเฝ้าพระองค์ แล้วน้อมพระเศียรอันทรงมหามงกุฎซบพระบาทของพระองค์ กราบทูลด้วยวจนะว่า “ข้าแต่มหาราช... ขอพระองค์ทรงเสด็จมาเถิด การเสด็จมาของพระองค์เป็นความดี ข้าพระองค์ขอถวายการต้อนรับพระองค์ด้วยราชสมบัติของหม่อมฉันขอยกถวายแก่พระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดประทานพระราชโอวาทแก่หม่อมฉันเถิด”.

พระองค์ไม่ทรงตรัสว่า “ท่านทั้งหลายจงนำเครื่องราชพลีมาให้เรา” พระองค์ไม่ทรงเอาโภคทรัพย์ของพระราชาองค์ใดไป แต่ทรงตรัสด้วยพระปัญญาอันสมควรที่พระองค์เป็นธรรมราชา ทรงแสดงธรรมะด้วยพระวจนะอันเป็นที่รัก อันละเอียดอ่อนว่า

“ดูก่อนพ่อทั้งหลาย.... การฆ่าสัตว์ก็ดี การลักทรัพย์ก็ดี การประพฤติผิดในกามก็ดี การพูดโกหกก็ดี การเสพสุราเมรัยและสิ่งเสพติดก็ดี บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทุกข์ในโลกนี้ เมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่นรก การไม่เสพกรรมทั้ง ๕ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อสุขในโลกนี้ เมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่สวรรค์ ดังนั้นพ่อทั้งหลายไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์ ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงพูดโกหก ไม่พึงเสพสุราเมรัยและสิ่งเสพติด แล้วพ่อทั้งหลายจงเสวยราชสมบัติตามเดิมเถิด”.
จักรแก้วนำพาพระราชาพิชิตประเทศต่างๆทางทิศตะวันออก... พระราชาของประเทศเหล่านั้นก็ออกมาสวามิภักดิ์โดยดี ทรงเป็นบริวารของพระองค์โดยทั่วแล้ว จักรแก้วก็นำเสด็จสู่ทิศใต้... พระราชาแห่งประเทศทั้งหลายทางทิศใต้ก็ออกมาสวามิภักดิ์ จักรแก้วนำเสด็จสู่ทิศตะวันตก... พระราชาแห่งประเทศทั้งหลายทางทิศตะวันตกก็ออกมาสวามิภักดิ์ จักรแก้วนำเสด็จสู่ทิศเหนือ... พระราชาแห่งประเทศทั้งหลายทางทิศเหนือก็ออกมาสวามิภักดิ์ พระราชาทั้งหลายที่จะประชุมกองกำลังเตรียมรบหรือพยายามยก

อาวุธขึ้นต่อกรไม่มีเลยพระราชาของประเทศทั้งหลายย่อมเข้าถึงการฝึกอบรมแล้วด้วยอานุภาพของจักรแก้ว พระองค์ก็บรรลุความเป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งปฐพี โดยมีมหาสมุทรทั้งหมดเป็นขอบเขต ถึงซึ่งความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิปกครองโลกด้วยประการฉะนี้ เมื่อจักรแก้วนำพิชิตทั่วพื้นปฐพีนี้แล้ว ก็นำเสด็จกลับสู่ราชธานีตั้งประดิษฐานอยู่ในประตูเมืองให้สง่างาม มหาชนทั้งหลายก็นำเครื่องสักการะบูชาอันมีดอกไม้และของหอมเป็นต้นมาสักการะบูชา กิจที่จะต้องทำด้วยการจุดคบเพลิง ด้วยการจุดตะเกียงในราชธานีไม่มี แสงสว่างแห่งจักรแก้วย่อมกำจัดความมือแห่งราตรี บุคคลใดต้องการแสงสว่าง แสงสว่างก็เกิดแก่บุคคลนั้น บุคคลใดต้องการความมืด ความมืดก็เกิดแก่บุคคลนั้น.

ช้างแก้ว

ช้างแก้วได้ปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาช้างชื่อ อุโบสะถะ ตระกูลอุโบสถ เป็นช้างเผือกขาวปลอด มีลักษณะถูกต้องตามตำราคชลักษณ์ทั้งปวง มีฤทธิ์เหาะได้ พระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรด้วยความเลื่อมใสตรัสว่า “โอ... ผู้เจริญ ช้างเชือกนี้ถ้าได้รับการฝึกหัดก็จะดี” ช้างแก้วก็เป็นช้างแสนรู้ในทันทีเหมือนช้างที่ได้รับการฝึกอย่างดีมาเป็นเวลานาน ในเวลาเช้าพระองค์ทรงทดลองช้างแก้วด้วยการเสด็จขึ้นคอแล้วให้พาเที่ยวไปทั่วแผ่นดินจนสุดราชอาณาจักร เหาะไปรอบโลกแล้วกลับสู่ราชธานีทันเสวยพระกระยาหารเช้า.

ม้าแก้ว

ม้าแก้วได้ปรากฏขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาม้าชื่อ วลาหะกะ ตระกูลสินธพ มีสีขาวล้วน ศีรษะดำเหมือนกา มีผมเป็นพวงเหมือนหญ้าปล้อง มีฤทธิ์เหาะได้ พระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรด้วยความเลื่อมใสตรัสว่า “โอ... ผู้เจริญ ม้าตัวนี้ถ้าได้รับการฝึกหัดก็จะดี” ม้าแก้วก็เป็นม้าแสนรู้ในทันที เหมือนม้าที่ได้รับการฝึกหัดอย่างดีมาเป็นเวลานาน ในเวลาเช้าพระองค์ทรงทดลองม้าแก้วด้วยการเสด็จขึ้นขี่หลังแล้วให้พาเที่ยวไปทั่วแผ่นดินจนสุดราชอาณาจักร เหาะไปรอบโลกแล้วกลับสู่ราชธานีทันเสวยพระกระยาหารเช้า.

แก้วมณี

แก้วมณีได้ปรากฏขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นแก้วไพฑูรย์น้ำงามโดยกำเนิด แปดเหลี่ยมเจียรนัยดีแล้ว กว้างยาว ๔ ศอก ลักษณะงามพร้อมทุกประการ มีแสงสุกใสแวววาว มีรัศมีส่องแสงแผ่ออกไปไกล ๑ โยชน์ ถ้าติดไว้ที่ปลายยอดธงในเวลากลางคืนที่มืดมิด จะมีแสงสว่างดุจกลางวัน ชาวบ้านพากันประกอบการงานนึกว่าเป็นกลางวัน.

นางแก้ว

นางแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นสตรีรูปร่างสวยงาม น่าดู น่าชม น่าเลื่อมใส ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก เอวเล็กและบาง สะโพกผาย ทรวดทรงงามระหงอรชรได้สัดส่วน ผิวพรรณเปล่งปลั่งเกินมนุษย์ มีรัศมีสว่างไสวแผ่ไปไกล ๑๒ ศอก มีร่างกายอ่อนนุ่มเหมือนนุ่นหรือปุยฝ้าย เมื่ออากาศเย็นเนื้อตัวจะอุ่น เมื่ออากาศร้อนเนื้อตัวจะเย็น มีกลิ่นจันทร์ฟุ้งออกจากกาย กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปาก นางแก้วย่อมตื่นก่อนนอนทีหลังพระเจ้าจักรพรรดิ คอยรับฟังคำสั่ง คอยขับกล่อมพัดวี ประพฤติปฏิบัติเป็นที่พอพระราชหฤทัย พูดจาไพเราะอ่อนหวานด้วยคำที่น่ารัก ใจของนางไม่นอกพระหฤทัยของพระเจ้าจักรพรรดิแล้วทางกายจะประพฤติชั่วแต่ที่ไหน นางมีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสไม่บูดบึ้ง ชวนทัศนา.

คฤหบดีแก้ว

คฤหบดีแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นคนมีตาทิพย์ สามารถเห็นขุมทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของ ทั้งบนดินใต้ดิน ทั้งบนน้ำใต้น้ำ ได้ไกล ๑ โยชน์ เขากราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิว่า “ขอเดชะ... พระองค์ไม่ต้องทรงเป็นห่วงเรื่องทรัพย์ ข้าพระองค์จะกระทำหน้าที่จัดหาจัดการพระราชทรัพย์แก่พระองค์” พระเจ้าจักรพรรดิทรงทดลองคฤหบดีแก้ว ด้วยการเสด็จพาประทับบนเรือลอยสู่กลางแม่น้ำคงคา แล้วทรงรับสั่งคฤหบดีแก้ว “ดูก่อน... ท่านคฤหบดี ฉันต้องการเงินทอง”
คฤหบดี “มหาราชเจ้า... ถ้ากระนั้นขอพระองค์จงทรงให้เทียบเรือที่ริมตลิ่งเถิด”
พระเจ้าจักรพรรดิ “ท่านคฤหบดี... ฉันต้องการเงินทองตรงกลางแม่น้ำนี้แหละ”
ทันใดนั้น คฤหบดีแก้วก็เอามือทั้งสองจุ่มลงไปใต้น้ำ แล้วยกเอาหม้อที่เต็มไปด้วยเงินทองขึ้นมาพลางกราบทูลว่า “มหาราชเจ้า... เท่านี้พอ
หรือยังพระเจ้าข้า?”
พระเจ้าจักรพรรดิ “ท่านคฤหบดี... เท่านี้พอแล้ว ทำเพียงเท่านี้เถิด เท่านี้ก็เป็นอันท่านบูชาฉันแล้ว”

ปริณายกแก้ว

ปริณายกแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป้นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์เอง เป็นบัณฑิต เป็นนักปราชญ์ มีวิชาความรู้ทุกด้าน เฉลียวฉลาดสามารถรู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์ สามารถรู้วาระจิตของผู้อื่น เข้มแข็ง สามารถชี้แนะให้พระเจ้าจักรพรรดิเสด็จไปยังที่ๆควรไป ให้หลีกในที่ๆควรหลีก ให้ยับยั้งในที่ๆควรยับยั้ง เขากราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิว่า “ขอเดชะ... พระองค์ไม่ต้องทรงเป็นห่วง ข้าพระองค์จะทำหน้าที่จัดการปกครองและบริหารราชการแผ่นดินแทนพระองค์ พระองค์จะวางนโยบายอย่างไร ขอพระองค์จงทรงตรัสบอกเถิด พระเจ้าข้า” แก้วเจ็ดประการเห็นป่านนี้ปรากฏแล้วปรากฏแล้วแก่พระเจ้าจักรพรรดิ

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้เกี่ยวกับพระเจ้า“จักรพรรดิ”
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2012, 06:48:40 PM »
ลักษณะของพระเจ้าจักรพรรดิ


สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระมหาบุรุษผู้สมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการเหล่านี้ ย่อมมีคติ
เป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือน จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม
เป็น พระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะ แล้ว มีราช
อาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้าง แก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี
นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้วเป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ
มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม โดยเสมอ
มิต้องใช้ ศัสตรา มิต้องใช้อาชญา มิได้มีเสนียด ครอบครองแผ่นดิน มีสาครเป็น ขอบเขต มิได้
มีเสาเขื่อน มิได้มีนิมิต ไม่มีเสี้ยนหนาม สำเร็จ แพร่หลาย มีความเกษม สำราญ ถ้าเสด็จ
ออกผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคา คือ กิเลสอันเปิด
แล้วในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการนั้น เป็นไฉน ซึ่งพระมหา
บุรุษประกอบแล้วย่อม มีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ฯลฯ อนึ่ง ถ้าพระมหาบุรุษนั้น เสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะ ได้เป็นพระอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พระมหาบุรุษในโลกนี้


๑. มีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดี ภิกษุทั้งหลาย การที่พระมหาบุรุษ มีพระบาท
ประดิษฐานเป็นอันดี นี้เป็นมหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษ ฯ


๒. ณ พื้นภายใต้ฝ่าพระบาท ๒ ของพระมหาบุรุษ มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำ ข้างละพัน
มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ภิกษุทั้งหลาย แม้การที่พื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒
ของพระมหาบุรุษ มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำข้างละพัน มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง นี้ก็
มหาปุริสลักษณะของพระมหาบุรุษ ฯ


๓. มีส้นพระบาทยาว ฯ
๔. มีพระองคุลียาว ฯ
๕. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม ฯ
๖. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย ฯ
๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ ฯ
๘. มีพระชงฆ์รีเรียวดุจแข้งเนื้อทราย ฯ
๙. เสด็จสถิตยืนอยู่มิได้น้อมลง เอาฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบคลำได้ถึง พระชาณุทั้งสอง ฯ
๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก ฯ
๑๑. มีพระฉวีวรรณดุจวรรณะแห่งทองคำ คือ มีพระตจะ ประดุจหุ้ม ด้วยทอง ฯ
๑๒. มีพระฉวีละเอียด เพราะพระฉวีละเอียด ธุลีละอองจึงมิติดอยู่ใน พระกายได้ ฯ
๑๓. มีพระโลมชาติเส้นหนึ่งๆ เกิดในขุมละเส้นๆ ฯ
๑๔. มีพระโลมชาติมีปลายขึ้นช้อยขึ้นข้างบน มีสีเขียว มีสีเหมือนดอก อัญชัญ ขดเป็น
กุณฑลทักษิณาวัฏ ฯ


๑๕. มีพระกายตรงเหมือนกายพรหม ฯ
๑๖. มีพระมังสะเต็มในที่ ๗ สถาน ฯ
๑๗. มีกึ่งพระกายท่อนบนเหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของสีหะ ฯ
๑๘. มีระหว่างพระอังสะเต็ม ฯ
๑๙. มีปริมณฑลดุจไม้นิโครธ วาของพระองค์เท่ากับพระกายของพระองค์ พระกายของ
พระองค์ก็เท่ากับวาของพระองค์ ฯ


๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากัน ฯ
๒๑. มีปลายเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารอันดี ฯ
๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์ ฯ
๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ ฯ
๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน ฯ
๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่าง ฯ
๒๖. มีพระทาฐะขาวงาม ฯ
๒๗. มีพระชิวหาใหญ่ ฯ
๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงแห่งพรหม ตรัสมีสำเนียงดังนกกรวิก ฯ
๒๙. มีพระเนตรดำสนิท [ดำคม] ฯ
๓๐. มีดวงพระเนตรดุจตาแห่งโค ฯ
๓๑. มีพระอุณณาโลมบังเกิด ณ ระหว่างพระขนง มีสีขาวอ่อน ควร เปรียบด้วยนุ่น ฯ
๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้การที่พระมหาบุรุษ มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์นี้
ก็เป็นมหาปุริสลักษณะของพระมหาบุรุษนั้น ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการเหล่านี้แล ที่มหาบุรุษ ประกอบแล้ว
ย่อมเป็นเหตุให้มีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครอง เรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์
ฯลฯ อนึ่งถ้าพระมหาบุรุษนั้นออกจากเรือนทรง ผนวชเป็นบรรพชิต จะเป็นพระอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอัน เปิดแล้วในโลก ภิกษุทั้งหลาย พวกฤาษีแม้เป็นภายนอก
ย่อมทรงจำมหาปุริส ลักษณะของพระมหาบุรุษ ๓๒ เหล่านี้ได้ แต่ฤาษีทั้งหลายนั้น ย่อมไม่ทราบว่า
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก สัตว์ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนี้อันตนทำสั่งสม
พอกพูนไพบูลย์ สัตว์ที่บำเพ็ญกุศลกรรมนั้น ย่อมครอบงำเทวดา ทั้งหลายอื่นในโลกสวรรค์ โดย
สถาน ๑๐ คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ ความสุข ทิพย์ ยศทิพย์ ความเป็นอธิบดีทิพย์ รูปทิพย์
เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ และโผฏฐัพพทิพย์ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์นั้นแล้ว มาสู่ความ
เป็นอย่างนี้ ย่อมได้เฉพาะ ซึ่งมหาปุริสลักษณะนี้ ฯ

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้เกี่ยวกับพระเจ้า“จักรพรรดิ”
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2012, 06:48:58 PM »
กำหนดด้วยคำว่า “จักรพรรดิ”
คำว่า "จักรพรรดิ" ที่ได้กำหนด และเลือกสืบค้น พบว่า ปรากฏในพระไตรปิฎกทั้งหมด 25 เล่ม ตำแหน่งที่พบมีจำนวน 594 แห่ง เมื่อเปิดศึกษาแล้ว ได้เลือกพระสูตรเล่มที่ 11 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ซึ่งเป็นเนื้อหาในจักกวัตติสูตร พระสูตรที่ว่าด้วย จักรวรรดิวัตร 12 ประการ หลังจากที่พระพุทธเจ้า ได้ตรัสสอนธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องการปฏิบัติที่ต้องยึดตนเองเป็นที่ตั้ง ทำตัวเองให้เป็น ประทีปแก่ตัวเอง อย่าพึงยึดถือ พึ่งพาสิ่งอื่น ก่อนตนเอง ทรงสอนเรื่องการพิจารณาตัวเองด้วยแนวสติปัฏฐาน 4 แล้ว ทรงยกเรื่องราวของพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า ทัฬหเนมิ มาเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟัง ซึ่งพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นี้ ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม มีพระราชอาณาเขตกว้างขวาง
มีมหาสมุทร ทั้ง 4 เป็นขอบเขต พร้อมพรั่งสมบูรณ์ ด้วยสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิทั้ง 7 ประการ ได้แก่ 1) จักรแก้ว
2) ช้างแก้ว 3) ม้าแก้ว 4) แก้วมณี 5) นางแก้ว 6) ขุนคลังแก้ว 7) ขุนพลแก้ว แต่สมบัติทั้ง 7 ประการนี้ก็ยังไม่ยิ่งใหญ่ หรือยืนยาวเท่ากับการได้ประพฤติอยู่ใน จักรวรรดิวัตร 12 ประการ ภิกษุทั้งหลายจึงพากันทูลถามว่า แล้วจักรวรรดิวัตร นั้นเป็นอย่างไร ควรประพฤติอย่างไร
พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้โดยสรุปเป็นใจความว่า จักรวรรดิวัตรทั้ง 12 ข้อนั้น มีดังนี้ คือ
1) คุ้มครองสงเคราะห์แก่ชนในพระราชฐานและพยุหเสนา
2) แก่กษัตริย์เมืองขึ้นหรือผู้ครองนครภายใต้พระบรมเดชานุภาพ
3) แก่กษัตริย์ที่ตามเสด็จคือเหล่าเชื้อพระวงศ์ผู้เป็นข้าราชบริพาร
4) แก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
5) แก่ชาวนิคมและชาวชนบทคือราษฎรพื้นเมืองทั้งหลาย
6) แก่เหล่าสมณพราหมณ์
7) แก่เหล่าเนื้อนกอันพึงบำรุงไว้ให้มีสืบพันธุ์
8 ) ห้ามปรามมิให้มีความประพฤติการอันไม่เป็นธรรม
9) เจือจานทรัพย์ทำนุบำรุงแก่ผู้ขัดสนไร้ทรัพย์
10) เข้าไปไต่ถามสนทนาอรรถปริศนากับสมณพราหมณ์
11) เว้นความกำหนัดในกามโดยอาการไม่เป็นธรรม
12) เว้นโลภกล้า ไม่เลือกควรไม่ควร

_________________________________

พุทธพจน์ที่ทรงกล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าจักรพรรดิ

[๔๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นนั่นแลประพฤติสุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงสุคติซึ่งเขาพูดหมายถึงสวรรค์นั้นแลโดยชอบ พึง
กล่าวได้ว่า เป็นสถานที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ส่วนเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพียง เท่านี้แม้จะเปรียบอุปมาจน
ถึงสวรรค์เป็นสุข ก็ไม่ใช่ง่ายนัก ฯ
[๔๘๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ อาจเปรียบอุปมาได้หรือไม่ พระผู้ มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ อาจเปรียบได้ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เปรียบเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการและความ สัมฤทธิผล ๔ อย่าง
จึงเสวยสุขโสมนัสอันมีสิ่งประกอบนั้นเป็นเหตุได้ พระเจ้า- จักรพรรดิทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการเป็นไฉน ฯ

[๔๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชามหากษัตริย์ในโลกนี้ผู้ทรงได้มุรธาภิเษก แล้ว ทรงสรงสนานพระเศียร
ทรงรักษาอุโบสถในดิถีที่ ๑๕ ซึ่งวันนั้นเป็น วันอุโบสถ เมื่อประทับอยู่ในพระมหาปราสาทชั้นบน ย่อมปรากฏจักรแก้ว
ทิพมีกำตั้งพัน พร้อมด้วยกงและดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ครั้นทอดพระเนตร แล้วได้มีพระราชดำริดังนี้ว่า ก็เราได้สดับมาดังนี้แล พระราชาพระองค์ใด ผู้ทรง ได้มูรธาภิเษกแล้ว ทรงสรงสนานพระเศียร ทรงรักษาอุโบสถในดิถี
ที่ ๑๕ ซึ่งวัน นั้นเป็นวันอุโบสถ เมื่อประทับอยู่ในพระมหาปราสาทชั้นบน ย่อมปรากฏจักรแก้วทิพ มีกำตั้งพัน
พร้อมด้วยกงและดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง พระราชานั้นย่อมเป็น พระเจ้าจักรพรรดิ เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
หรือหนอ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อนั้น พระองค์เสด็จลุกจากราชอาสน์ ทรงจับพระเต้าน้ำ ด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงหลั่งรดจักร
แก้วด้วยพระหัตถ์ขวา รับสั่งว่า จงพัดผันไปเถิด จักรแก้วผู้เจริญ จักรแก้วผู้เจริญจงพิชิตให้ยิ่งเถิด ลำดับนั้น
จักรแก้วนั้นก็พัดผันไป ทางทิศตะวันออก พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาก็เสด็จตามไป จักรแก้ว ประดิษ
ฐานอยู่ ณ ประเทศใด พระเจ้าจักรพรรดิก็เสด็จเข้าประทับ ณ ประเทศ นั้น พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา บรรดาพระราชา
ที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันออก เข้า มาเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วทูลอย่างนี้ว่า เชิญเสด็จเถิด มหาราช พระองค์เสด็จ
มาดีแล้ว มหาราช ข้าแต่มหาราช แผ่นดินนี้เป็นของพระองค์ ขอพระองค์จง สั่งการเถิด พระเจ้าจักรพรรดิรับสั่งอย่าง
นี้ว่า ท่านทุกคนไม่ควรฆ่าสัตว์ ไม่ควร ลักทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ ไม่ควรประพฤติผิดในกาม ไม่ควรพูดเท็จ ไม่ควรดื่ม
น้ำเมา และท่านทั้งหลายจงครอบครองบ้านเมืองกันตามสภาพที่เป็นจริงเถิด บรรดา พระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ใน
ทิศตะวันออกเหล่านั้นแล ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้า จักรพรรดิ ต่อนั้น จักรแก้วนั้นได้พัดผันไปจดสมุทรด้านทิศ
ตะวันออก แล้วกลับขึ้น พัดผันไปทิศใต้ ฯลฯ พัดผันไปจดสมุทรด้านทิศใต้แล้วกลับขึ้นพัดผันไปทิศ- ตะวันตก ฯลฯ
พัดผันไปจดสมุทรด้านทิศตะวันตก แล้วกลับขึ้นพัดผันไปทิศเหนือ พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จ
ตามไป จักรแก้วประดิษฐาน อยู่ ณ ประเทศใด พระเจ้าจักรพรรดิก็เสด็จเข้าประทับ ณ ประเทศนั้น พร้อม ด้วยจตุรงคิ
นีเสนา บรรดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศเหนือเข้ามาเฝ้าพระเจ้า จักรพรรดิ แล้วทูลอย่างนี้ว่า เชิญเสด็จเถิด
มหาราช พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราช ข้าแต่มหาราช แผ่นดินนี้เป็นของพระองค์ ขอพระองค์จงสั่งการเถิด
พระเจ้าจักรพรรดิรับสั่งอย่างนี้ว่า ท่านทุกคนไม่ควรฆ่าสัตว์ ไม่ควรลักทรัพย์ที่ เจ้าของมิได้ให้ ไม่ควรประพฤติผิดใน
กาม ไม่ควรพูดเท็จ ไม่ควรดื่มน้ำเมา และ ท่านทั้งหลายจงครอบครองบ้านเมืองกันตามสภาพที่เป็นจริงเถิด บรรดา
พระราชาที่ เป็นปฏิปักษ์ในทิศเหนือเหล่านั้นแล ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าจักรพรรดิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล
จักรแก้วนั้นพิชิตยิ่งตลอดแผ่นดินมีสมุทรเป็น ขอบเขต แล้วกลับมาสู่ราชธานีเดิม ประดิษฐานอยู่เป็นเสมือนลิ่มสลัก
พระทวาร ภายในพระราชวังของพระเจ้าจักรพรรดิ ทำให้งดงามอย่างมั่นคงอยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ย่อมปรากฏจักร
แก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ ฯ

[๔๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏช้างแก้ว เป็นช้างหลวงชื่ออุโบสถ
เผือกทั่วสรรพางค์กาย มีที่ตั้งอวัยวะ ทั้งเจ็ดถูกต้องดี มีฤทธิ์เหาะได้ ครั้นพระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรเห็นแล้ว
ย่อมมีพระราชหฤทัยโปรดปรานว่า จะเป็นยานช้างที่เจริญหนอ พ่อมหาจำเริญ ถ้าสำเร็จการฝึกหัด ต่อนั้น
ช้างแก้วนั้นจึงสำเร็จการฝึกหัดเหมือนช้างอาชาไนย ตัวเจริญ ที่ฝึกปรือดีเป็นเวลานาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมี
มาแล้ว พระเจ้า จักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองช้างแก้วนั้น จึงเสด็จขึ้นทรงในเวลาเช้า เสด็จเวียน รอบปฐพีมีสมุทรเป็น
ขอบเขต เสด็จกลับมาราชธานีเดิม ทรงเสวยพระกระ- ยาหารเช้าได้ทันเวลา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏช้างแก้ว
เห็นปานนี้แก่พระเจ้า จักรพรรดิ ฯ

[๔๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏม้าแก้ว เป็นอัสวราชชื่อวลาหก
ขาวปลอด ศีรษะดำเหมือนกา เส้นผม สลวยเหมือนหญ้าปล้อง มีฤทธิ์เหาะได้ ครั้นพระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรเห็น
แล้ว ย่อมมีพระราชหฤทัยโปรดปรานว่า จะเป็นยานม้าที่เจริญหนอ พ่อมหา- จำเริญ ถ้าสำเร็จการฝึกหัด ต่อนั้น
ม้าแก้วนั้นจึงสำเร็จการฝึกหัดเหมือนม้า อาชาไนยตัวเจริญ ที่ฝึกปรือดีแล้วเป็นเวลานาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมี
มาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองม้าแก้วนั้น จึงเสด็จขึ้นทรงในเวลาเช้า เสด็จ เวียนรอบปฐพีมีสมุทรเป็น
ขอบเขต เสด็จกลับมาราชธานีเดิม ทรงเสวยพระกระ- ยาหารเช้าได้ทันเวลา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏม้าแก้ว
เห็นปานนี้แก่พระเจ้า จักรพรรดิ ฯ

[๔๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏมณีแก้ว เป็นแก้วไพฑูรย์
งามโชติช่วง แปดเหลี่ยม อันเจียระไนไว้ อย่างดี มีแสงสว่างแผ่ไปโยชน์หนึ่งโดยรอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมี
มาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองมณีแก้วนั้น จึงสั่งให้จตุรงคินีเสนา ยกมณีขึ้นเป็นยอดธง แล้วให้เคลื่อน
พลไปในความมืดทึบของราตรี ชาวบ้าน ที่อยู่รอบๆ พากันประกอบการงานด้วยแสงสว่างนั้น สำคัญว่าเป็นกลางวัน
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏมณีแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ ฯ

[๔๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏนางแก้วรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส
ประกอบด้วยความงามแห่งผิวพรรณ อย่างยิ่ง ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนักล่วงผิว
พรรณของมนุษย์ แต่ยังไม่ถึงผิวพรรณทิพ มีสัมผัสทางกายปานประหนึ่ง สัมผัสปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย นางแก้วนั้นมีตัวอุ่น
ในคราวหนาว มีตัวเย็นในคราวร้อน มีกลิ่นดังกลิ่นจันทรฟุ้งไปแต่กาย มีกลิ่นดังกลิ่นอุบลฟุ้งไปแต่ปาก นางแก้วนั้น
มีปรกติตื่นก่อนนอนทีหลัง คอยฟังบรรหารใช้ ประพฤติถูกพระทัย ทูลปราศรัย เป็นที่โปรดปรานต่อพระเจ้าจักรพรรดิ
และไม่ประพฤติล่วงพระเจ้าจักรพรรดิแม้ ทางใจ ไฉนเล่า จะมีประพฤติล่วงทางกายได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏ
นางแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ ฯ

[๔๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏคฤหบดีแก้ว ผู้มีจักษุเพียงดัง
ทิพเกิดแต่วิบากของกรรมปรากฏ ซึ่งเป็นเหตุ ให้มองเห็นทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของ ทั้งที่ไม่มีเจ้าของได้ เขาเข้าเฝ้าพระเจ้า
จักรพรรดิ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ พระองค์จงทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด ข้าพระองค์จักทำหน้าที่การคลังให้
พระองค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองคฤหบดีแก้วนั้น จึงเสด็จลงเรือพระ
ที่นั่งให้ ลอยล่องกระแสน้ำกลางแม่น้ำคงคา แล้วรับสั่งกะคฤหบดีแก้วดังนี้ว่า ดูกรคฤหบดี ฉันต้องการเงินและทอง
คฤหบดีแก้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ถ้าเช่นนั้น โปรดเทียบเรือเข้าฝั่งข้างหนึ่งเถิด พระเจ้าจักรพรรดิตรัสว่า ดูกร
คฤหบดี ฉันต้อง การเงินและทองตรงนี้แหละ ทันใดนั้น คฤหบดีแก้วจึงเอามือทั้ง ๒ หย่อนลง ในน้ำ ยกหม้อเต็มด้วย
เงินและทองขึ้นมา แล้วกราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิดังนี้ว่า ข้าแต่มหาราช พอหรือยังเพียงเท่านี้ ใช้ได้หรือยังเพียง
เท่านี้ บูชาได้หรือยัง เพียงเท่านี้ พระเจ้าจักรพรรดิจึงรับสั่งอย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดี พอละ ใช้ได้แล้ว บูชาได้แล้วเพียง
เท่านี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏคฤหบดีแก้วเห็นปานนี้ แก่พระเจ้าจักรพรรดิ ฯ

[๔๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏปริณายกแก้ว ปริณายกนั้นเป็น
บัณฑิต ฉลาด มีปัญญา สามารถถวาย ข้อแนะนำให้พระองค์ทรงบำรุงผู้ที่ควรบำรุง ทรงถอดถอนผู้ที่ควรถอดถอน
ทรง แต่งตั้งผู้ที่ควรแต่งตั้ง เขาเข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอ เดชะขอพระองค์จงเป็นผู้
ขวนขวายน้อยเถิด ข้าพระองค์จักสั่งการถวาย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏปริณายกแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้า
จักรพรรดิ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ นี้ พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบ
ด้วยความสัมฤทธิผล ๔ อย่างเป็นไฉน ฯ

[๔๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิในโลกนี้ย่อมทรงพระสิริ โฉมงดงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วย
ความงามแห่งพระฉวีวรรณอย่างยิ่ง เกินมนุษย์อื่นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความ
สัมฤทธิผลข้อแรกดังนี้ ฯ

[๔๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ทรงพระชนมายุยืน ทรงดำรงอยู่นานเกิน
มนุษย์อื่นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้า จักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๒ ดังนี้ ฯ

[๔๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม เป็นผู้มีพระโรคาพาธน้อย ไม่ทรงลำบาก
ทรงประกอบด้วยพระเตโชธาตุย่อย พระกระยาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เกินมนุษย์อื่นๆ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๓ ดังนี้ ฯ

[๕๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ทรงเป็นที่รักใคร่ พอใจ ของพราหมณ์และ
คฤหบดีเหมือนบิดาเป็นที่รักใคร่พอใจ ของบุตรฉะนั้น พราหมณ์และคฤหบดีก็เป็นที่ทรงโปรดปราน พอพระราชหฤทัย
ของพระเจ้าจักรพรรดิเหมือนบุตรเป็นที่รักใคร่พอใจของบิดาฉะนั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักร
พรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาออก ประพาสพระราชอุทยาน ทันทีนั้น พราหมณ์และคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระองค์แล้ว
กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์อย่ารีบด่วน โปรดเสด็จโดยอาการที่ พวกข้าพระองค์ได้ชมพระบารมีนานๆ
เถิด แม้พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงสั่งสารถีว่า ดูกรสารถี ท่านอย่ารีบด่วน จงขับไปโดยอาการที่ฉันได้ชมบรรดาพราหมณ์
และ คฤหบดีนานๆ เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความ สัมฤทธิผลข้อที่ ๔ ดังนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผล ๔ อย่างนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระเจ้าจักร- พรรดิทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ
และความสัมฤทธิผล ๔ อย่างดังนี้ พึง เสวยสุขโสมนัสอันมีสิ่งประกอบนั้นเป็นเหตุบ้างไหมหนอ ฯ
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าจักรพรรดิทรง ประกอบด้วยแก้วแม้ประการหนึ่งๆ
ก็ทรงเสวยสุขโสมนัสอันมีแก้วประการนั้น เป็นเหตุได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงแก้วทั้ง ๗ ประการ และความสัมฤทธิผล
ทั้ง ๔ อย่าง ฯ

[๕๐๑] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหยิบแผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่า ฝ่ามือ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่เราถือนี้กับภูเขาหลวง
หิมพานต์ อย่างไหนหนอแลใหญ่กว่ากัน ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่ทรงถือนี้มี ประมาณน้อยนัก เปรียบเทียบ
ภูเขาหลวงหิมพานต์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้ความนับ ย่อมไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้ ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล พระเจ้าจักรพรรดินี้ ทรง ประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการและความ
สัมฤทธิผล ๔ อย่าง ย่อมทรงเสวยสุข โสมนัสอันมีสิ่งประกอบนั้นเป็นเหตุได้ สุขโสมนัสนั้นเปรียบเทียบสุขอันเป็น
ทิพย์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้การนับย่อมไม่เข้าถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้ ฯ

[๕๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นนั่นแล ถ้ามาสู่ความเป็นมนุษย์ ในบางครั้งบางคราวไม่ว่ากาลไหนๆ
โดยล่วงระยะกาลนาน ก็ย่อมเกิดในสกุล สูง คือ สกุลกษัตริย์มหาศาล หรือสกุลพราหมณ์มหาศาล หรือสกุลคฤหบดี
มหาศาล เห็นปานนั้นในบั้นปลาย อันเป็นสกุลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจ
และทรัพย์ธัญญาหารอย่างเพียงพอ และเขา จะเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความงามแห่งผิวพรรณ
อย่างยิ่ง มีปรกติได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ อาศัย และเครื่องตามประทีป
เขาจะประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ครั้นแล้วเมื่อตายไปจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

[๕๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนนักเลงการพนัน เพราะฉวยเอา ชัยชนะได้ประการแรกเท่านั้น จึงบรรลุโภค
สมบัติมากมาย การฉวยเอาชัยชนะ ของนักเลงการพนันที่บรรลุโภคสมบัติมากมายได้นั้นแล เพียงเล็กน้อย ที่แท้แล
การฉวยเอาชัยชนะใหญ่หลวงกว่านั้น คือ การฉวยเอาชัยชนะที่บัณฑิตนั้น ประ- พฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
แล้วตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นั่นเอง ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ภูมิของบัณฑิตครบถ้วนบริบูรณ์ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ



ส่วนหนึงจาพาลบัณฑิตสูตร

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้เกี่ยวกับพระเจ้า“จักรพรรดิ”
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2012, 06:49:22 PM »
เหตุที่พระเจ้าจักรพรรดิไม่อุบัติร่วมกัน(เมื่ออุบัติขึ้นก็อุบัติขึ้นทีละองค์ไม่ซ้อนกัน)
บทว่า เอกิสฺสา โลกธาตุยา ได้แก่ ในจักรวาลเดียว ก็หมื่น
จักรวาลแม้จะถือเอาด้วยบทนี้ในตอนต้น ก็ควรที่จะกำหนดเอาจักรวาลเดียว
เท่านั้น เพราะว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อจะอุบัติขึ้นย่อมอุบัติขึ้นในจักรวาล
นี้เท่านั้น ก็เมื่อห้ามสถานที่ที่เสด็จอุบัติย่อมเป็นอันห้ามเด็ดขาดว่าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ไม่เสด็จอุบัติในจักรวาลอื่นนอกจากจักรวาลนี้.

ในบทว่า อปุพฺพํ อจริมํ นี้ มีความหมายว่า ไม่ก่อน (คือ) ไม่
ก่อนแต่ความปรากฏขึ้นแห่งจักรรัตนะ ไม่หลัง (คือ) ไม่หลังจากจักรรัตนะ
นั้นอันตรธาน ในข้อที่ว่าไม่ก่อน ไม่หลังนั้น จักรรัตนะย่อมอันตรธานไป
โดยส่วน ๒ คือ โดยพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จสวรรคต หรือโดยเสด็จออก
ทรงผนวช ก็แหละจักรรัตนะนั้น เมื่อจะอันตรธาน ย่อมอันตรธานไปใน
วันที่ ๗ แต่การเสด็จสวรรคต หรือแต่การเสด็จออกทรงผนวช ต่อแต่นั้น
ไม่ห้ามการปรากฏขึ้นแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์จึงไม่ทรง
อุบัติขึ้นในจักรวาลเดียวกัน.

ตอบว่า เพราะจะตัดการวิวาท เพราะจะให้เป็นความอัศจรรย์ และ
เพราะจักรรัตนะมีอานุภาพมาก.

ก็เมื่อ พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ องค์ อุบัติขึ้น การวิวาทก็จะพึงเกิด
ขึ้นว่า พระราชาของพวกเราใหญ่ พระราชาของพวกเราก็ใหญ่. ในทวีปหนึ่ง
มี พระเจ้าจักรพรรดิ (อีก) ทวีปหนึ่งก็มี พระเจ้าจักรพรรดิ ดังนั้น
จะพึงไม่เป็นของอัศจรรย์ และอานุภาพอันยิ่งใหญ่ของจักรรัตนะอันสามารถ
มอบให้ซึ่งความเป็นใหญ่ในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวารก็
จะหมดคุณค่า พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์ ก็ย่อมไม่อุบัติขึ้นในจักร-
วาลเดียวกัน ก็เพราะจะตัดการวิวาทกัน เพราะไม่เป็นความอัศจรรย์ และ
เพราะจักรรัตนะมีอานุภาพมาก ด้วยประการดังนี้.

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้เกี่ยวกับพระเจ้า“จักรพรรดิ”
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2012, 06:49:33 PM »
พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตพระองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

เพื่อทรงแก้ทิฏฐิมานะ ของพญามหาชมพูบดี

ในสมัยพุทธกาล มีพระมหากษัตริย์ผู้เรืองอำนาจพระองค์หนึ่ง ซึ่งปกครองเมืองปัญจาลราษฐ พระนามว่า "พญาชมพูบดี" กล่าวกันว่า พร้อม ๆ กับการประสูติของพญาชมพูบดี ขุมทองในที่ต่างๆ ก็ผุดขึ้นมากมายอันแสดงถึงบุญญาธิการของพระองค์ ประชาชนในเมืองนี้จึงมีฐานะความเป็นอยู่ที่มั่งคั่งสมบูรณ์ พญาชมพูบดี ทรงมีอาวุธวิเศษ 2 อย่าง คือ
ฉลองพระบาทแก้ว ซึ่งเมื่อสวมเข้าไปแล้วก็จะพาพระองค์เหาะไปในที่ต่างๆ ได้ ทั้งยังใช้อธิษฐานแปลงเป็นนาคราชเข้าประหัตประหารศัตรูได้อีกด้วย
อาวุธวิเศษอย่างที่สอง คือ วิษศร ซึ่งเป็นศรวิเศษใช้ต่างราชทูต หากกษัตริย์เมืองใดไม่มาอ่อนน้อมขึ้นต่อพระองค์ วิษศรนี้ก็จะไปร้อยพระกรรณพาตัวเข้าเฝ้าพระองค์จนได้ ทำให้กษัตริย์ทั้งหลายพากันยำเกรงในพระเดชานุภาพแห่งพญาชมพูบดี
ด้วยอาวุธคู่พระวรกาย พญาชมพูบดีได้ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง กระทั้งถึงกรุงราชคฤห์ของพระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นอุบาสกแห่งสมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้า พญาชมพูบดีส่งอาวุธวิเศษของพระองค์ ไปทำอันตรายต่อพระเจ้าพิมพิสาร แต่ไม่อาจทำอันตรายแก่พระเจ้าพิมพิสารได้ ด้วยอาศัยพระพุทธานุภาพ ทำให้พญาชมพูบดีแค้นพระทัยมาก แม้ส่งอาวุธวิเศษอย่างใดไป ก็พ่ายแพ้แก่พระพุทธานุภาพแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นว่า พญาชมพูบดีประสบความพ่ายแพ้ และมีทิฏฐิมานะเบาบางลง ประกอบด้วยกับทรงเล็งเห็นวาสนาปัญญาของพญาชมพูบดีว่าสามารถสำเร็จมรรคผลได้ จึงมีพุทธฎีกาตรัสใช้ให้พระอินทร์แปลงเป็นราชทูตพาพญาชมพูบดีมาเข้าเฝ้า ส่วนพระองค์ทรงเนรมิตองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงมงกุฎ พร้อมเครื่องราชาภรณ์ แต่ล้วนงดงาม ส่วนพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานเถระเจ้า พร้อมด้วยเหล่าภิกษุสงฆ์สาวก ก็เนรมิตกายเป็นเสนาอำมาตย์ใหญ่น้อย ล้วนแล้วแต่น่าเกรงขาม ทั้งเนรมิตเวฬุวัน (ป่าไผ่) ให้เป็นพระนครใหญ่ประกอบด้วยกำแพงถึง 7 ชั้น และมีพุทธฎีกาตรัสสั่งให้เทวดา พรหม ทั้งหลาย ร่วมเนรมิตเป็นตลาดน้ำ ตลาดบก
เมื่อพระอินทร์ซึ่งเนรมิตกายเป็นราชทูต ไปถึงเมืองปัญจาลราษฐ เห็นพญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ยังถือดี จึงแสดงฤทธานุภาพเป็นที่ประจักษ์ พญาชมพูบดีไม่อาจแข็งขืนจำยอม ต้องยกพลเดินทัพเพื่อเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้า
เมื่อพญาชมพูบดี เดินทางเข้าเขตพระนคร ก็ตกตะลึงกับความยิ่งใหญ่อลังการแห่งพระนครที่พระพุทธองค์ทรงเนรมิต แม้แต่เหล่าแม่ค้าริมทาง ก็ยังงดงามกว่าพระอัครมเหสีของพญาชมพู จนชวนให้รู้สึกขวยเขินก้าวเดินไม่ตรงทาง และเมื่อผ่านทางยังกำแพงพระนครแต่ละชั้น ทอดพระเนตรเห็นเหล่าเสนาอำมาตย์ที่รักษาพระนคร พระทัยก็ประหวั่นพรั่นกลัวพระเสโทไหลโทรมทั่วพระสกลกาย ถึงกำแพงชั้นในซึ่งเป็นแก้ว ก็ทำท่าจูงกระเบนเหน็บรั้ง ด้วยเข้าพระทัยผิดคิดว่ามีเสียงนางในร้องเย้ยเยาะว่ากษัตริย์บ้านนอก กระทำเชยๆ พญาชมพูบดีก็รู้สึกได้รับความอัปยศอย่างยิ่ง
เมื่อพญาชมพูบดีมาถึงต่อหน้าพระพักตร์แห่งพระบรมศาสดา ซึ่งเนรมิตกายเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ยังไม่หมดทิฏฐิมานะ พระพุทธองค์ทรงเชื้อเชิญให้แสดงฤทธิ์เดชอำนาจและของวิเศษทุกสิ่งทุกอย่างออกมา เมื่อพญาชมพูบดีทรงแสดงแล้ว ก็ต้องได้รับความอัปยศยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยไม่อาจทำอันตรายพระพุทธองค์ได้เลยแม้แต่น้อย
เมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าพญาชมพูบดีคลายทิฏฐิมานะลงมากแล้ว จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพญาชมพูบดี และเหล่าเสนาอำมาตย์ที่ติดตามมาด้วยจำนวนมากมายให้เห็นสิ่งที่เป็นสาระและมิใช่สาระ ให้เห็นโทษแห่งการเวียนเกิด เวียนตาย ในวัฏสงสาร ทั้งให้เห็นคุณแห่งพระนิพพาน พญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ต่างรู้สึกปีติ โสมนัส จึงปลดมงกุฎและเครื่องประดับของตนวางแทบพระบาทแห่งองค์พระสัมพัญญูบรมศาสนา เพื่อสักการะด้วยความรู้สึกเทิดทูน จากนั้นจึงทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธองค์
จากนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้าบรมครู พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวก เทวดา พรหม ก็คล้ายฤทธานุภาพกลับสู่สภาพเดิม (เป็นป่าไผ่และสภาพทั้งหลายตามความเป็นจริง) สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานอุปสมบถแก่พญาชมพูบดี พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ และทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้คลายความลุ่มหลงในเบญจขันธ์ มีรูป เป็นต้นว่า อุปมาดั่งพยับแดด หาสาระตัวตนที่เที่ยงแท้อันใดมิได้ และแสดงเทศนาต่างๆ เป็นอเนกปริยาย พญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ ก็ดื่มดำในพระอมตธรรมสลัดเสียซึ่ง ตัณหา อุปาทาน จิตของท่านก็เข้าอรหันตผล สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลในพระบวรพุทธศาสนา

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้เกี่ยวกับพระเจ้า“จักรพรรดิ”
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2012, 06:50:32 PM »
ยกตัวอย่างประวัติโดยย่อพระเจ้าจักรพรรดิในอดีตกาล(องค์ที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นพระโพธิสัตว์ด้วย)

พระเจ้าสังขจักรพรรดิราช

พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดเป็นเทวบุตรนามว่า นฬการเทพบุตร เสวยทิพยสมบัติในฉกามาพจรสวรรค์เป็นเวลาช้านาน
ในกาลสมัยแห่ง สมเด็จพระสิริมัตตะพุทธเจ้านั้น นฬการเทพบุตร ได้จุติจากฉกามาพจรสวรรค์มาบังเกิดเป็น
พระเจ้าสังขจักรพรรดิราช ครองอินทปัตนคร ทรงถึงพร้อมด้วย แก้ว ๗ ประการ และมหาปราสาท ๗ ชั้น
พระเจ้าสังขจักรพรรดิราชซึ่งเป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร ได้ทรงตั้งสัจจาธิษฐานว่า “ เราจักมอบราชสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์แก่ผู้ที่แจ้งข่าว พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ แก่เรา แล้วจักไปสู่สำนักพุทธเจ้า “
ในกาลนั้น สามเณรในพระศาสนาของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าสิริมัตตะ ได้เดินทางผ่านมาพระนคร ชาวเมืองเห็นเข้าด้วยไม่รู้จึงนึกว่าเป็นยักษ์ จึงหมายจะเข้าไปทำร้ายสามเณร ด้วยความสะดุ้งกลัวอันตรายสามเณรจึงวิ่งไปสู่พระบรมราชวังแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ์
พระเจ้าสังขจักรบรมโพธิสัตว์ ได้ตรัสถามความเป็นมาของสามเณร จึงทรงทราบว่าขณะนี้ ได้มีพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า “สิริมัตตะ” บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว จึงตรัสถามสามเณรว่า
“ ข้าแต่สามเณรผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด”
สามเณรกล่าวตอบว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในบุพพารามไกล ๑๖ โยชน์ ทางทิศอุดรจากมหานครนี้”
ด้วยสัจจาธิษฐานที่ทรงตั้งไว้ จึงสละจักรพรรดิ์สมบัติอันประเสริฐแก่สามเณร และทรงผินพระพักตร์ไปสู่ทิศอุดรเสด็จไปสู่ที่ประทับของพระพุทธเจ้า ด้วยทรงเป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ เสด็จพระราชดำเนินด้วยการก้าวย่างพระบาทเพียงวันเดียว พระบาททั้ง ๒ ก็แตก พระโลหิตไหลออกจากฝ่าพระบาททั้ง ๒ เมื่อพระบาททั้ง ๒ แตกแล้ว พระบรมโพธิสัตว์จึงเสด็จคลานด้วยพระชงฆ์ทั้ง ๒ กับทั้งพระหัตถ์ทั้ง ๒ เป็นเวลา ๓ วัน ในวันที่ ๔ พระโลหิตจึงไหลออกจากพระหัตถ์ และพระชงฆ์ทั้ง ๒ ข้าง
ในกาลนั้น พระบรมโพธิสัตว์ ทรงตัดสินใจว่าจะดำเนินไปด้วยพระอุระ ครั้นแล้วพระบรมโพธิสัตว์จึงทรงกระเถิบไปด้วยพระอุระด้วยมุ่งหมายเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสำคัญ จึงทรงอดกลั้นความลำบากได้
ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเล็งข่ายพระพุทธญาณตรวจดูสัตว์โลก ทรงเห็นกำลังพระวิริยะบารมีของพระบรมโพธิสัตว์ จึงทรงใช้อำนาจพระพุทธบารมีแปลงเพศเป็นคน เนรมิตรถแล้ว เสด็จไปประทับอยู่ตรงหน้าพระพักตร์ของพระเจ้าสังขจักรพรรดิ์บรมโพธิสัตว์
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ ดูก่อนท่านผู้เจริญ จงหลีกทาง เราจักขับรถไป “
พระบรมโพธิสัตว์เมื่อทรงสดับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงตรัสว่า
“ ดูก่อนนายสารถีผู้เจริญ เมื่อเราเดินทางไปด้วยหน้าที่ที่ต้องทำ ทำไมจึงต้องถอยหลีก เรายึดถือพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ยึดถือพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ขอท่านจงบังคับรถของท่านให้วิ่งทับร่างของเราไปได้ เราจะไม่ยอมหลีกทางให้ท่าน “
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า “ดูก่อนมาณพผู้เจริญ ถ้าท่านจะไปสู่สำนักพระพุทธเจ้าแล้วไซร้ ขอจงขึ้นรถเถิด เราจักนำไปสู่สำนักพระพุทธเจ้า “
ในกาลนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จถึงสำนักบุพพารามแล้วจึงทรงแปลงพระวรกายจากเพศคน แล้วประทับนั่งพุทธอาสน์ เมื่อพระบรมโพธิสัตว์แล้ว ทอดพระเนตรแสงพระพุทธฉัพพรรณรังสีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นถึงกับสลบไป
เมื่อพระบรมโพธิสัตว์ทรงฟื้นแล้ว เสด็จเข้าไปใกล้พระบรมศาสดา ทรงประคองอัญชลีได้กราบทูลขอฟังธรรมอันสูงสุดจากพระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมบทหนึ่งแล้ว พระราชาทูลขอร้องให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพักการแสดงธรรมไว้ก่อน เหตุเพราะเกรงว่า ถ้าพระพุทธเจ้าแสดงธรรมมากแล้วไซร้ จะไม่มีไทยธรรมที่ควรแก่การบูชาพระธรรม
พระบรมโพธิสัตว์ กราบทูลต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า
“ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์ทรงแสดงพระนิพพานอันเป็นธรรมเอก เป็นธรรมที่สุดในสรรพธรรม แม้ข้าพระองค์ตัดศีรษะอันเป็นอวัยวะสูงสุดในอวัยวะทั้งปวงของข้าพระองค์ บูชาพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน “
ครั้นตรัสแล้ว จึงทรงใช้พระนขะ(เล็บ)ตัดพระเศียร ทรงวางพระเศียรไว้บนฝ่าพระหัตถ์ แล้วตรัสว่า
“ ข้าแต่พระสิริมัตตะพุทธเจ้า ขอพระองค์ทรงบรรลุอมตธรรมก่อนเถิด
ด้วยการถวายศีรษะนี้ ข้าพระองค์ขอบรรลุนิพพาน ในภายหลัง “ ดังนี้ฯ

พระเจ้าจักรพรรดิ คือ มนุษย์ผู้มีบุญ เพราะได้ทำบุญมาดีแล้วแต่ชาติก่อน ด้วยการให้ทาน รักษาศีล ๕ และศีล ๘ หรือได้บำรุงบำเรอพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอะระหันต์ พระภิกษุสงฆ์ ได้บำรุงพระพุทธศาสนา ได้ประกาศเผยแพร่พระพุทธศาสนา หรือได้ทำประโยชน์แก่สาธารณะชนด้วยกำลังศรัทธาที่แรงกล้า.
พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพระราชาโดยธรรมะ ไม่ต้องแย่งชิงอำนาจจากใครด้วยอุบายหรือการทำสงคราม ทรงชนะแล้ว มีอาณาจักรที่มั่นคง ทรงมีพระราชอำนาจสิทธิ์ขาดในโลกแต่ผู้เดียว ทรงมีพระปัญญาอันประเสริฐ ฉลาดรอบรู้ในสรรพวิชาการ ทรงบำรุงพัฒนาบ้านเมืองจนเจริญสูงสุด พระองค์มีแก้ว ๗ ประการ มีพระราชบุตรมากกว่าพันล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีระกษัตริย์ สามารถย่ำยีกองกำลังของข้าศึกได้ไม่ยาก ด้วยอานุภาพบุญฤทธิ์ของพระองค์ และอานุภาพแห่งแก้ว ๗ ประการ ทำให้พระองค์ทรงบริหารและปกครองราษฎรโดยไม่ต้องใช้ศาสตรา ไม่ต้องใช้อาวุธหรือเครื่องมือประหัตประหารใดๆ ไม่ต้องลงโทษ ไม่ต้องลงอาชญา.
สมัยใดโลกมีพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา สมัยใดโลกว่างเปล่าจากจากพระพุทธศาสนาและพระปัจเจกพุทธเจ้า สมัยนั้นได้ชื่อว่าโลกมืด โลกจะแบ่งแยกเป็นประเทศเล็กประเทศน้อยอย่างมากมาย มีเชื้อชาติมากมาย ภาษามากมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีมากมาย มีลัทธิศาสนาอันไม่ได้ช่วยให้พ้นทุกข์ได้มากมาย แล้วมวลมนุษย์ในโลกก็เกิดความขัดแย้งกัน ทะเลาะไม่สามัคคีกัน ด่ากัน แล้วลงท้ายด้วยการจับก้อนดินบ้าง ท่อนไม้บ้าง อาวุธอันมีคมบ้าง ประหัตประหารกัน รบกัน ทำสงครามกัน แล้วเกิดการจองเวรด้วยการลอบทำร้ายกัน ลอบสังหารกันและก่อวินาศกรรม กลายเป็นลัทธิก่อการร้ายล้างผลาญกันไป ล้างผลาญกันมาไม่จบสิ้น พระองค์ทรงเห็นโทษเห็นความลามกของความแตกแยกและความแตกต่าง พระองค์จึงทรงรวบรวมมนุษย์ทุกชาติทุกเผ่าพันธุ์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้มนุษย์โลกมีเพียงชาติเดียว เผ่าพันธุ์เดียว ภาษาเดียว ขนบธรรมเนียมประเพณีเดียว ใช้สกุลเงินเดียว แล้วพระองค์ทรงสอนศีล ๕ แก่มวลมนุษย์ในโลก เป็นหลักคำสอนเดียวศาสนาเดียว ดังนั้นมนุษย์ในยุคนั้นจึงมีพระเจ้าจักรพรรดิเป็นพระประมุขของชาวโลก และเป็นศาสดาของชาวโลก.
เมื่อประมุขของโลกและมนุษย์โลกต่างมีศีล ๕ มีธรรมะอันงาม ไม่มีแหล่งอบายมุขใดๆในแผ่นดิน ไม่แตกแยกไม่ขัดแย้งกันดังนี้ มวลมนุษย์ย่อมเห็นความสุขความเจริญในปัจจุบัน เหล่าเทวดาทั้งหลายย่อมปลื้มปีติยินดี ร่าเริงบันเทิงใจ ฝนฟ้าก็ตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารก็อุดมสมบูรณ์ มนุษย์ทั้งหลายก็มีสุขภาพจิตสุขภาพกายดี อายุยืน จำนวนมนุษย์ก็มากขึ้นแต่ไม่ขาดแคลน มวลมนุษย์ทั้งปวงต่างมองหน้ากันด้วยแววตาแห่งความรักความเมตตา เมื่อนั้นได้ชื่อว่าพระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้ประทานแสงสว่างให้แก่โลก ประทานความร่มเย็นให้แก่โลก.
ฤทธิ์ ๔ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ

๑. พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีพระรูปงาม น่าดู น่าชม น่าเลื่อมใส ทรงมีพระฉวีวรรณผ่องใสยิ่งกว่ามนุษย์ทั่วไป
๒. พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีพระชนมายุยืนนานกว่ามนุษย์ทั่วไป
๓. พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีอาพาธน้อย มีพระโรคน้อยกว่ามนุษย์ทั่วไป
๔. พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นที่รักที่ชอบใจของมนุษย์ทั้งหลาย และมนุษย์ทั้งหลายก็เป็นที่รักที่ชอบใจของพระเจ้าจักรพรรดิ
ดุจบุตรเป็นที่รักที่ชอบใจของบิดาทีเดียว เมื่อถึงคราวพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จเลียบพระนครออกเยี่ยมราษฎร ราษฎรทั้งหลายไปเฝ้า พระองค์พลางกราบทูลว่า “ขอเดชะ... ขอพระองค์อย่าด่วนเสด็จไป พวกข้าพระองค์จะได้เฝ้าพระองค์นานๆ”แม้พระเจ้าจักรพรรดิก็
ทรงตรัสกับนายสารถีว่า “นายสารถี เธออย่าด่วนขับรถไป เราจะได้เห็นราษฎรนานๆ”

ลักษณะ ๓๒ ประการของมหาบุรุษ

มหาบุรุษผู้มีลักษณะ ๓๒ ประการนี้ ย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หรือเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น คือ....

๑. มีพระบาทเรียบเสมอ
๒. ที่ฝ่าพระบาททั้งสองมีลายรูปจักร อันมีซี่พันหนึ่ง มีกง มีดุมบริบูรณ์
๓. ส้นพระบาทยาว
๔. มีพระองคุลี (นิ้ว) ยาว
๕. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม
๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาท มีลายดุจตาข่าย
๗. มีพระบาทนูนสูงดุจสังข์คว่ำ
๘. มีพระชงฆ์ (แข้ง) เรียวดุจแข้งเนื้อทราย
๙. เมื่อประทับยืนมิได้ก้ม พระหัตถ์ทั้งสองลูบพระชานุ (เข่า) ทั้งสองได้
๑๐. มีพระคุยหะ (องคชาติ) เร้นอยู่ในฝัก
๑๑. พระฉวีวรรณดุจสีทอง
๑๒. พระฉวีวรรณละเอียดฝุ่นไม่เกาะ
๑๓. พระโลมา (ขน) เกิดขึ้นขุมละเส้น
๑๔. พระโลมาทุกเส้นชี้ขึ้นข้างบน
๑๕. พระวรกายตรงดุจกายพระพรหม
๑๖. พระมังสะเต็มในที่ ๗ แห่ง คือ หลังพระหัตถ์ทั้งสอง, หลังพระบาททั้งสอง, พระอังสะ (บ่า) ทั้งสอง และพระศอ (คอ)
๑๗. พระวรกายท่อนบนดุจกายท่อนหน้าของราชสีห์
๑๘. แผ่นหลังมีพระมังสะเต็ม
๑๙. พระวรกายดุจต้นไทร มีพระวรกายเท่ากับวา
๒๐. ลำพระศอกลม
๒๑. เส้นประสาทรับรู้รสได้ดี
๒๒. พระหนุ (คาง) ดุจคางของราชสีห์
๒๓. พระทนต์ (ฟัน) ๔๐ ซี่
๒๔. พระทนต์เรียบเสมอ
๒๕. พระทนต์ไม่ห่าง
๒๖. พระเขี้ยวแก้วขาวงาม
๒๗. พระชิวหา (ลิ้น) ใหญ่
๒๘. พระสุรเสียงก้องกังวานดุจเสียงของพระพรหม ไพเราะดุจเสียงของนกการเวก
๒๙. พระเนตรดำสนิท
๓๐. ดวงพระเนตรดุจตาของลูกโค
๓๑. พระอุณาโลม (ขนระหว่างคิ้ว) ขาวอ่อนนุ่มดุจสำลี
๓๒. พระเศียรดุจสวมมงกุฎ

คุณธรรมของพระราชาผู้ที่จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

คุณธรรมของพระราชาผู้จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

๑. อาศัยธรรมะ สักการะเคารพธรรมะ นับถือธรรมะ บูชาธรรมะ ยำเกรงธรรมะ มีธรรมะเป็นธงชัย มีธรรมะเป็นใหญ่
๒. รักษาคุ้มครอง ป้องกันอย่างเป็นธรรมะในราชนิกุล ในกองพล ในกษัตริย์ เมืองขึ้น ในชาวเมือง ชาวชนบท สมณะ พราหมณ์
๓. รักษาคุ้มครองป้องกันอย่างเป็นธรรมะในเหล่าสัตว์เดรัจฉาน ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า
๔. ไม่ให้มีสิ่งผิดศีลธรรมในแผ่นดิน
๕. ให้ทรัพย์แก่ผู้ไม่มีทรัพย์
๖. เข้าไปหาสมณะพราหมณ์ผู้มีความอดทน มีความสงบระงับ ฝึกตนอยู่ผู้เดียว ดับกิเลสอยู่ผู้เดียว ล้วถามว่า“ท่านขอรับ...กุศล
คือ อะไร อกุศลคืออะไร กรรมใดไม่มีโทษ กรรมใดมีโทษ กรรมใดควรเสพ กรรมใดไม่ควรเสพ กรรมใดทำแล้วเป็นประโยชน์ กรรมใด
ทำแล้วไม่เป็นประโยชน์”
๗. เมื่อฟังคำของสมณะพราหมณ์นั้นแล้ว สิ่งใดเป็นอกุศลจงเว้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลจงถือมั่นประพฤติปฏิบัติ

จักรแก้ว

พระราชาผู้ที่จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงศีล ๕ อยู่เป็นนิตย์ ในวันอุโบสถ ๘ ค่ำ ๑๔ – ๑๕ ค่ำ พระองค์จะทรงจัดการงานแผ่นดิน
ทั้งหลายให้เสร็จแต่เช้าตรู่ แล้วทรงถวายมหาทาน ทรงสรงน้ำชำระพระเศียรแล้วฉลองพระองค์ด้วยชุดขาว เสวยพระกระยาหารประทับนั่ง
สมาธิอยู่บนปราสาทสมาทานศีล ๘ ทรงลำลึกถึงเหตุแห่งบุญที่สำเร็จด้วย ทาน ศีล การข่มใจ และการฝึกตนของพระองค์ จนกระทั่งวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง คืนหนึ่งขณะที่พระองค์ทรงถือศีล ๘ และเจริญสมาธิอยู่ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ก็ปรากฏแก่พระองค์ จักรแก้วอันเป็นทิพย์นั้นบริบูรณ์ด้วย ดุม กง และซี่พันซี่ ล้วนสำเร็จด้วยทองและเงิน ประดับด้วยรัตนะชาติ ๙ ประการ ที่ได้รับการสลักลวดลายอย่างวิจิตรงดงาม มีแสงรัศมีซ่านออกโดยรอบดุจดวงอาทิตย์ จักรแก้วเมื่อต้องลมแล้วมีเสียงไพเราะยวนใจ ชวนให้ฟัง ชวนให้เคลิบเคลิ้ม เหมือนเสียงดนตรีทั้ง ๕ ที่บรรเลงโดยนักดนตรีผู้ชำนาญดีแล้ว
จักรแก้วนั้นลอยมาจากทิศตะวันออกเปล่งแสงสุกสว่างดุจพระจันทร์ดวงที่ ๒ มาวนเวียนรอบพระนครแล้วหยุดอยู่ที่สีหะบัญชรด้านทิศเหนือของปราสาท มหาชนเห็นแล้วแตกตื่นพากันวิ่งตามมาดูและสักการบูชา พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นจักร   
แก้วแล้วทรงดำริว่า “เราเคยได้ฟังมาว่า พระราชาผู้ได้รับการราชาภิเษ แล้วองค์ใด ทรงสรงน้ำชำระพระวรกาย สระพระเศียร แล้วรักษาอุโบสถศีลอยู่บนปราสาทในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ จักรแก้วอันเป็นทิพย์จะปรากฏแก่พระราชาพระองค์นั้น ผู้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เราเห็นจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิแล้วหรือ?” จึงทรงออกจากสมาธิลุกขึ้นมาทรงผ้าสไบเฉวียงบ่า พระหัตถ์ซ้ายจับพระเต้าทองหลั่งน้ำทักษิโณทก พระหัตถ์ขวาชูจักรขึ้น แล้วตรัสว่า “โอ... จักรแก้วอันเจริญ จงหมุนไปพิชิตจักรวรรดิเถิด” ทันใดนั้นจักรแก้วก็หมุนลอยนำไปทางทิศตะวันออก พระราชาพร้อมด้วยกองทัพ ๔ เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า อีกทั้งมหาชนทั้งหลายก็ติดตามไป ด้วยอานุภาพของจักรแก้วพาให้พระราชาและผู้ติดตามทั้งหมดเหาะลอยไปได้ในอากาศ ข้ามภูเขา ข้ามแม่น้ำ ข้ามทะเล จักรแก้วนำพาไปสู่อาณาจักรของประเทศใด ก็หยุดลงที่หน้าพระราชนิเวศของพระราชาประเทศนั้น พระองค์พร้อมผู้ติดตามก็หยุด ณ ที่นั้น พระราชาของประเทศนั้นๆก็นำเครื่องบรรณาการเสด็จเข้ามาเฝ้าพระองค์ แล้วน้อมพระเศียรอันทรงมหามงกุฎซบพระบาทของพระองค์ กราบทูลด้วยวจนะว่า “ข้าแต่มหาราช... ขอพระองค์ทรงเสด็จมาเถิด การเสด็จมาของพระองค์เป็นความดี ข้าพระองค์ขอถวายการต้อนรับพระองค์ด้วยราชสมบัติของหม่อมฉันขอยกถวายแก่พระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดประทานพระราชโอวาทแก่หม่อมฉันเถิด”.
พระองค์ไม่ทรงตรัสว่า “ท่านทั้งหลายจงนำเครื่องราชพลีมาให้เรา” พระองค์ไม่ทรงเอาโภคทรัพย์ของพระราชาองค์ใดไป แต่ทรงตรัสด้วยพระปัญญาอันสมควรที่พระองค์เป็นธรรมราชา ทรงแสดงธรรมะด้วยพระวจนะอันเป็นที่รัก อันละเอียดอ่อนว่า “ดูก่อนพ่อทั้งหลาย.... การฆ่าสัตว์ก็ดี การลักทรัพย์ก็ดี การประพฤติผิดในกามก็ดี การพูดโกหกก็ดี การเสพสุราเมรัยและสิ่งเสพติดก็ดี บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทุกข์ในโลกนี้ เมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่นรก การไม่เสพกรรมทั้ง ๕ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อสุขในโลกนี้ เมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่สวรรค์ ดังนั้นพ่อทั้งหลายไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์ ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงพูดโกหก ไม่พึงเสพสุราเมรัยและสิ่งเสพติด แล้วพ่อทั้งหลายจงเสวยราชสมบัติตามเดิมเถิด”.
จักรแก้วนำพาพระราชาพิชิตประเทศต่างๆทางทิศตะวันออก... พระราชาของประเทศเหล่านั้นก็ออกมาสวามิภักดิ์โดยดี ทรงเป็นบริวารของพระองค์โดยทั่วแล้ว จักรแก้วก็นำเสด็จสู่ทิศใต้... พระราชาแห่งประเทศทั้งหลายทางทิศใต้ก็ออกมาสวามิภักดิ์ จักรแก้วนำเสด็จสู่ทิศตะวันตก... พระราชาแห่งประเทศทั้งหลายทางทิศตะวันตกก็ออกมาสวามิภักดิ์ จักรแก้วนำเสด็จสู่ทิศเหนือ... พระราชาแห่งประเทศทั้งหลายทางทิศเหนือก็ออกมาสวามิภักดิ์ พระราชาทั้งหลายที่จะประชุมกองกำลังเตรียมรบหรือพยายามยก
อาวุธขึ้นต่อกรไม่มีเลยพระราชาของประเทศทั้งหลายย่อมเข้าถึงการฝึกอบรมแล้วด้วยอานุภาพของจักรแก้ว พระองค์ก็บรรลุความเป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งปฐพี โดยมีมหาสมุทรทั้งหมดเป็นขอบเขต ถึงซึ่งความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิปกครองโลกด้วยประการฉะนี้ เมื่อจักรแก้วนำพิชิตทั่วพื้นปฐพีนี้แล้ว ก็นำเสด็จกลับสู่ราชธานีตั้งประดิษฐานอยู่ในประตูเมืองให้สง่างาม มหาชนทั้งหลายก็นำเครื่องสักการะบูชาอันมีดอกไม้และของหอมเป็นต้นมาสักการะบูชา กิจที่จะต้องทำด้วยการจุดคบเพลิง ด้วยการจุดตะเกียงในราชธานีไม่มี แสงสว่างแห่งจักรแก้วย่อมกำจัดความมือแห่งราตรี บุคคลใดต้องการแสงสว่าง แสงสว่างก็เกิดแก่บุคคลนั้น บุคคลใดต้องการความมืด ความมืดก็เกิดแก่บุคคลนั้น.

ช้างแก้ว

ช้างแก้วได้ปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาช้างชื่อ อุโบสะถะ ตระกูลอุโบสถ เป็นช้างเผือกขาวปลอด มีลักษณะถูกต้องตามตำราคชลักษณ์ทั้งปวง มีฤทธิ์เหาะได้ พระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรด้วยความเลื่อมใสตรัสว่า “โอ... ผู้เจริญ ช้างเชือกนี้ถ้าได้รับการฝึกหัดก็จะดี” ช้างแก้วก็เป็นช้างแสนรู้ในทันทีเหมือนช้างที่ได้รับการฝึกอย่างดีมาเป็นเวลานาน ในเวลาเช้าพระองค์ทรงทดลองช้างแก้วด้วยการเสด็จขึ้นคอแล้วให้พาเที่ยวไปทั่วแผ่นดินจนสุดราชอาณาจักร เหาะไปรอบโลกแล้วกลับสู่ราชธานีทันเสวยพระกระยาหารเช้า.

ม้าแก้ว

ม้าแก้วได้ปรากฏขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาม้าชื่อ วลาหะกะ ตระกูลสินธพ มีสีขาวล้วน ศีรษะดำเหมือนกา มีผมเป็นพวงเหมือนหญ้าปล้อง มีฤทธิ์เหาะได้ พระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรด้วยความเลื่อมใสตรัสว่า “โอ... ผู้เจริญ ม้าตัวนี้ถ้าได้รับการฝึกหัดก็จะดี” ม้าแก้วก็เป็นม้าแสนรู้ในทันที เหมือนม้าที่ได้รับการฝึกหัดอย่างดีมาเป็นเวลานาน ในเวลาเช้าพระองค์ทรงทดลองม้าแก้วด้วยการเสด็จขึ้นขี่หลังแล้วให้พาเที่ยวไปทั่วแผ่นดินจนสุดราชอาณาจักร เหาะไปรอบโลกแล้วกลับสู่ราชธานีทันเสวยพระกระยาหารเช้า.

แก้วมณี

แก้วมณีได้ปรากฏขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นแก้วไพฑูรย์น้ำงามโดยกำเนิด แปดเหลี่ยมเจียรนัยดีแล้ว กว้างยาว ๔ ศอก ลักษณะงามพร้อมทุกประการ มีแสงสุกใสแวววาว มีรัศมีส่องแสงแผ่ออกไปไกล ๑ โยชน์ ถ้าติดไว้ที่ปลายยอดธงในเวลากลางคืนที่มืดมิด จะมีแสงสว่างดุจกลางวัน ชาวบ้านพากันประกอบการงานนึกว่าเป็นกลางวัน.

นางแก้ว

นางแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นสตรีรูปร่างสวยงาม น่าดู น่าชม น่าเลื่อมใส ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก เอวเล็กและบาง สะโพกผาย ทรวดทรงงามระหงอรชรได้สัดส่วน ผิวพรรณเปล่งปลั่งเกินมนุษย์ มีรัศมีสว่างไสวแผ่ไปไกล ๑๒ ศอก มีร่างกายอ่อนนุ่มเหมือนนุ่นหรือปุยฝ้าย เมื่ออากาศเย็นเนื้อตัวจะอุ่น เมื่ออากาศร้อนเนื้อตัวจะเย็น มีกลิ่นจันทร์ฟุ้งออกจากกาย กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปาก นางแก้วย่อมตื่นก่อนนอนทีหลังพระเจ้าจักรพรรดิ คอยรับฟังคำสั่ง คอยขับกล่อมพัดวี ประพฤติปฏิบัติเป็นที่พอพระราชหฤทัย พูดจาไพเราะอ่อนหวานด้วยคำที่น่ารัก ใจของนางไม่นอกพระหฤทัยของพระเจ้าจักรพรรดิแล้วทางกายจะประพฤติชั่วแต่ที่ไหน นางมีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสไม่บูดบึ้ง ชวนทัศนา.

คฤหบดีแก้ว

คฤหบดีแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นคนมีตาทิพย์ สามารถเห็นขุมทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของ ทั้งบนดินใต้ดิน ทั้งบนน้ำใต้น้ำ ได้ไกล ๑ โยชน์ เขากราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิว่า “ขอเดชะ... พระองค์ไม่ต้องทรงเป็นห่วงเรื่องทรัพย์ ข้าพระองค์จะกระทำหน้าที่จัดหาจัดการพระราชทรัพย์แก่พระองค์” พระเจ้าจักรพรรดิทรงทดลองคฤหบดีแก้ว ด้วยการเสด็จพาประทับบนเรือลอยสู่กลางแม่น้ำคงคา แล้วทรงรับสั่งคฤหบดีแก้ว “ดูก่อน... ท่านคฤหบดี ฉันต้องการเงินทอง”
คฤหบดี “มหาราชเจ้า... ถ้ากระนั้นขอพระองค์จงทรงให้เทียบเรือที่ริมตลิ่งเถิด”
พระเจ้าจักรพรรดิ “ท่านคฤหบดี... ฉันต้องการเงินทองตรงกลางแม่น้ำนี้แหละ”
ทันใดนั้น คฤหบดีแก้วก็เอามือทั้งสองจุ่มลงไปใต้น้ำ แล้วยกเอาหม้อที่เต็มไปด้วยเงินทองขึ้นมาพลางกราบทูลว่า “มหาราชเจ้า... เท่านี้พอ
หรือยังพระเจ้าข้า?”
พระเจ้าจักรพรรดิ “ท่านคฤหบดี... เท่านี้พอแล้ว ทำเพียงเท่านี้เถิด เท่านี้ก็เป็นอันท่านบูชาฉันแล้ว”


ปริณายกแก้ว

ปริณายกแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป้นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์เอง เป็นบัณฑิต เป็นนักปราชญ์ มีวิชาความรู้ทุกด้าน เฉลียวฉลาดสามารถรู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์ สามารถรู้วาระจิตของผู้อื่น เข้มแข็ง สามารถชี้แนะให้พระเจ้าจักรพรรดิเสด็จไปยังที่ๆควรไป ให้หลีกในที่ๆควรหลีก ให้ยับยั้งในที่ๆควรยับยั้ง เขากราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิว่า “ขอเดชะ... พระองค์ไม่ต้องทรงเป็นห่วง ข้าพระองค์จะทำหน้าที่จัดการปกครองและบริหารราชการแผ่นดินแทนพระองค์ พระองค์จะวางนโยบายอย่างไร ขอพระองค์จงทรงตรัสบอกเถิด พระเจ้าข้า” แก้วเจ็ดประการเห็นป่านนี้ปรากฏแล้วปรากฏแล้วแก่พระเจ้าจักรพรรดิ