หมวดหลัก > อภิญญาปฎิบัติ

ธรรมของพระโพธิสัตว์

(1/2) > >>

Wisdom:
จริยธรรม 10 ประการ ของพระโพธิสัตว์

1. พระโพธิสัตว์ไม่ปรารถนาเลยว่า ร่างกายจะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ (มีความเจ็บไข้หรือ โรคภัยเป็นธรรมดา)

2.พระโพธิสัตว์ครองชีพ โดยไม่ปรารถนาว่า จะไม่มีภยันตราย (มีอันตรายเป็นธรรมดา)

3.พระโพธิสัตว์ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีอุปสรรคในการชำระจิตให้บริสุทธิ์ (ย่อมมีอุปสรรคเป็นธรรมดา)

4.พระโพธิสัตว์ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีมารขัดขวางการปฏิบัติภารกิจ (จะต้องมีมารขัดขวางการปฏิบัติโพธิจิตเป็นธรรมดา)

5.พระโพธิสัตว์คิดว่าจะทำงานให้นานที่สุด โดยไม่ปรารถนาจะให้สำเร็จผลเร็ว (ปล่อยวางเรื่องกาลเวลา ทำงานเพื่องาน)

6.พระโพธิสัตว์คบเพื่อน โดยไม่ปรารถนาจะได้ผลประโยชน์จากเพื่อน(รักผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ)

7.พระโพธิสัตว์ไม่ปรารถนาเลยว่า จะให้คนอื่นต้องตามใจตนเองเสมอไปทุกอย่าง (ไม่มีความเห็นแก่ตัว)

8.พระโพธิสัตว์ทำความดีแก่คนอื่น ไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทน (ต้องการให้ผู้อื่นพ้นทุกข์)

9.พระโพธิสัตว์เห็นลาภแล้วไม่ปรารถนาว่าจะมีหุ้นส่วนด้วย (ไม่ปรารถนาในลาภและสรรเสริญ)

10.พระโพธิสัตว์เมื่อถูกใส่ร้ายป้ายสี ติเตียน นินทาแล้ว ไม่ปรารถนาจะได้โต้ตอบหรือฟ้องร้อง (การใส่ร้ายป้ายสี ติเตียน นินทา เป็นธรรมดาของโลก)


ขอให้พิจารณาทบทวนดูให้ดี จริยธรรมทั้ง 10 ประการนี้ เป็นการปฏิบัติธรรมชั้นสูง ของพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ เรียกว่า มหาอุปสรรค หรือเครื่องกีดขวางโพธิจิต คือ ผู้ปฏิบัติทั้งหลายหนีไม่พ้นสิ่งแวดล้อมที่ขัดขวางอย่างแน่นอน หากไม่รู่เท่าทัน หรือเตรียมพร้อมไว้ก่อน ผู้ปฏิบัติธรรมจะท้อถอย หรือสูญเสียโอกาสไป

Wisdom:
ปณิธาน ๘ ประการ ของพระโพธิสัตว์

1. พระโพธิสัตว์จักต้องบำเพ็ญตนให้เป็นคุณประโยชน์ต่อปวงสัตว์ โดยไม่ปรารถนารับผลตอบแทนใดๆจากสัตว์ทั้งหลาย

2.พระโพธิสัตว์สามารถเสวยสรรพทุกข์แทนสรรพสัตว์ได้โดยมิย่นย่อท้อถอย

3.พระโพธิสัตว์สร้างคุณความดีไว้มีประมาณเท่าไร ก็สามารถอุทิศให้แก่สัตว์ทั้งหลายได้ ไม่หวงแหนตระหนี่ไว้

4.พระโพธิสัตว์ตั้งจิตอยู่ในสมถธรรมอันสม่ำเสมอในปวงสัตว์ ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ถ่อมตนไว้ ไม่ลำพองโดยปราศจากความข้องขัดใดๆ

5.พระโพธิสัตว์เห็นพระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ ปานประหนึ่งเห็นพระพุทธองค์ อนึ่งพระสูตรใดที่ยังมิได้สดับตรับฟัง ครั้นได้มีโอกาสสดับตรับฟังแล้ว ก็ไม่บังเกิดความคลางแคลงกังขาอย่างไร ในพระสูตรนั้นๆ

6.พระโพธิสัตว์ไม่หันปฤษฎางค์ให้แก่ธรรมะของพระอรหันตสาวก แต่สมัครสมานเข้ากันได้กับธรรมะดังกล่าวนั้นๆ

7.พระโพธิสัตว์ไม่เกิดความริษยาในลาภสักการะอันบังเกิดแก่ผู้อื่น และไม่เกิดความหยิ่งทะนงในลาภสักการะ อันบังเกิดแก่ตนเอง สามารถควบคุมจิตของตนไว้ได้

8.พระโพธิสัตว์จักต้องหมั่นพิจารณาโทษของตนอยู่เป็นนิจ ไม่เที่ยวเพ่งโทษ โพนทะนาโทษของผู้อื่น ตั้งจิตมั่นคงเด็ดเดี่ยวในการสร้างบารมีโกยสัตวโลกให้พ้นทุกข์

นี้แลชื่อว่าคุณธรรมอันเป็นคุณสมบัติ 8 ประการ ของพระโพธิสัตว์ ผู้ใดปฏิบัติได้ตามนี้ ผู้นั้นก็จักได้เป็นพระโพธิสัตว์

Wisdom:
จริยธรรมของพระโพธิสัตว์ ๑๐ ประการ

๑. พระโพธิสัตว์ไม่ปรารถนาเลยว่าร่างกายจะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
( มีโรคภัยไข้เจ็บเป็นธรรมดา )

๒. พระโพธิสัตว์ครองชีพโดยไม่ปรารถนาว่าจะไม่มีภยันตราย
( มีภัยอันตรายเป็นธรรมดา )

๓. พระโพธิสัตว์ไม่ปรารถนาเลยว่าจะไม่มีอุปสรรคในการชำระจิตให้บริสุทธิ์
( ย่อมมีอุปสรรคเป็นธรรมดา )

๔. พระโพธิสัตว์ไม่ปรารถนาเลยว่าจะไม่มีมารขัดขวางการปฏิบัติภารกิจ
( จะต้องมีมารมาขัดขวางการปฏิบัติโพธิจิตเป็นธรรมดา )

๕. พระโพธิสัตว์คิดว่าจะทำงานให้นานที่สุด โดยไม่ปรารถนาจะให้สำเร็จผลเร็ว
( ปล่อยวางเรื่องกาลเวลา ทำงานเพื่องาน )

๖. พระโพธิสัตว์คบเพื่อนโดยไม่ปรารถนาว่าจะได้ผลประโยชน์จากเพื่อน
( รักผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ )

๗. พระโพธิสัตว์ไม่ปรารถนาเลยว่าจะให้คนอื่นตามใจตนเองเสมอไปทุกอย่าง
( ไม่มีความเห็นแก่ตัว )

๘. พระโพธิสัตว์ทำความดีกับคนอื่น ไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทน
( ต้องการให้คนอื่นพ้นทุกข์ )

๙. พระโพธิสัตว์เห็นลาภแล้ว ไม่ปรารถนาจะมีหุ้นส่วนด้วย
(ไม่ปรารถนาในลาภและสรรเสริญ)

๑๐. พระโพธิสัตว์ เมื่อถูกใส่ร้ายป้ายสี ติเตียน นินทาแล้ว ไม่ปรารถนาจะได้โต้ตอบหรือฟ้องร้อง
( การใส่ร้ายป้ายสี ติเตียน นินทา เป็นธรรมดาของโลก )

จริยธรรมทั้ง ๑๐ ประการนี้ เป็นการปฏิบัติธรรมชั้นสูงของพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์

Wisdom:
ทศภูมิของพระโพธิสัตว์

ทศภูมิของพระโพธิสัตว์ คือภูมิจิตของพระโพธิสัตว์ มี ๑๐ ภูมิดังนี้
๑. มุทิตาภูมิ พระโพธิสัตว์มีความยินดีในความไร้ทุกข์ของสัตว์ (ภูมินี้บำเพ็ญหนักในทานบารมี)
๒. วิมลาภูมิ (ปราศจากมลทิน) พระโพธิสัตว์ละมิจฉาจริยาได้เด็ดขาด ปฏิบัติแต่ในสัมมาจริยา (ภูมินี้มีศีลบารมีเป็นใหญ่)
๓. ประภาการีภูมิ (มีความสว่าง) พระโพธิสัตว์ทำลายอวิชาได้เด็ดขาด มีความอดทนทุกประการ (ภูมินี้มีขันติบารมีเป็นใหญ่)
๔. อรรถจีสมดีภูมิ (รุ่งเรือง) พระโพธิสัตว์มีความเพียรในการบำเพ็ญธรรม (ภูมินี้มีวิริยะบารมีเป็นใหญ่)
๕. ทุรชยาภูมิ (ผู้อื่นชนะยาก) พระโพธิสัตว์ละสภาวะสาวกญาณ กับปัจเจกโพธิญาณ ซึ่งเป็นธรรมเครื่องกั้นพุทธภูมิ (ภูมินี้มีญาณบารมีเป็นใหญ่)
๖. อภิมุขีภูมิ (มุ่งหน้าต่อทางนิพพาน) พระโพธิสัตว์บำเพ็ญยิ่งในปัญญาบารมี เพื่อรู้แจ้งเห็นชัดในปฏิจจสมุปบาท (ภูมินี้มีปัญญาบารมีเป็นใหญ่)
๗. ทูรังคมาภูมิ (ไปไกล) พระโพธิสัตว์มีอุบายอันฉลาดแม้บำเพ็ญกุศลน้อย แต่ได้ผลแก่สรรพสัตว์มาก (ภูมินี้มีอุบายบารมีเป็นใหญ่)
๘. อจลาภูมิ (ไม่คลอนแคลน มั่นคง) พระโพธิสัตว์บำเพ็ญหนักในปณิธานบารมี
๙. สาธุบดีภูมิ พระโพธิสัตว์แตกฉานในอภิญญา และปฏิสัมภิทาญาณ (ภูมินี้บำเพ็ญหนักในพลบารมี)
๑๐. ธรรมเมฆภูมิ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญหนักในญาณบารมีมีจิตอิสระ ไม่ติดในรูปธรรม นามธรรม (บำเพ็ญหนักญาณบารมี)

เมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญทศภูมิเต็มบริบูรณ์แล้ว ย่อมมีพระคุณเทียบเท่าพระพุทธเจ้า เหลืออีกชาติเดียวก็จักตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เช่นเดียวกับพระศรีอริยเมตตไตรยโพธิสัตว์

__________________________________________


จริยธรรมของพระโพธิสัตว์ ๑๐ ประการ

๑. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า ร่างกายจะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
๒. พระโพธิสัตว์ ครองชีวิตโดยไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีภยันตราย
๓. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีอุปสรรคในการชำระจิตให้บริสุทธิ์
๔. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีมารมาขัดขวางการปฏิบัติภารกิจ
๕. พระโพธิสัตว์ คิดว่าจะทำงานให้นานที่สุด โดยไม่ปรารถนาจะให้สำเร็จผลเร็ว
๖. พระโพธิสัตว์ จะคบเพื่อน โดยไม่ปรารถนาจะได้รับผล
๗. พระโพธิสัตว์ จะไม่ปรารถนาว่า จะให้คนอื่นต้องตามใจตนเองเสมอทุกอย่าง
๘. พระโพธิสัตว์ จะทำความดีกับคนอื่น โดยไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทน
๙. พระโพธิสัตว์ เห็นลาภแล้ว ไม่ปรารถนาจะมีหุ้นส่วนด้วย
๑๐ พระโพธิสัตว์ เมื่อถูกใส่ร้ายป้ายสี ติเตียน นินทาแล้ว ไม่ปรารถนาจะโต้ตอบ หรือฟ้องร้อง

ทิพย์สิงขรณ์:
สาธุครับ (-/\-)

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version