เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



ผู้เขียน หัวข้อ: ทำสมาธิชอบกลืนน้ำลาย โดย พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง  (อ่าน 4769 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ศรีโคมคำ

  • สมาชิก
  • *
  • กระทู้: 35
  • ญาติธรรม
    • ดูรายละเอียด



ทำสมาธิชอบกลืนน้ำลาย

โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (ฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง.

ผู้ถาม : หลวงพ่อครับ กระผมสังสัยว่าเวลาภาวนา ทำไมจึงเป็นอย่างนี้ คือว่าอย่างนี้ เวลาภาวนาไป พอจิตจะสงบหรือเริ่มจะสงบ มีเหตุจะต้องกลืนน้ำลาย พอเอื๊อกสมาธิก็ตกทุกที.

หลวงพ่อ : เขาไม่เรียกว่ากลืนน้ำลาย เขาเรียกว่ากลืนสมาธิ คิดผิดเอง ของดีหาว่าเป็นของเลว กลืนสมาธิเลย กิเลสจับไม่ได้หลอก ความจริงเขาก็ดีนะ เขารู้ตัวนี่ ที่นี่ไม่มีอะไรไม่ดี คนไปสวรรค์ก็ดี ไปพรหมโลกก็ดี ไปนิพพานก็ดี ไปนรกก็ดี ไปเป็นเปรตก็ดี ไปเป็นอสุรกายก็ดี ไปเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ดี ไปเป็นมนุษย์ก็ดี.

ผู้ถาม : เป็นเปรตดียังไงครับ ?

หลวงพ่อ : ดีที่ได้เป็นเปรต ใครอยากเป็นเปรตก็ภาวนา เปตรจ๋า ๆ ๆ (หัวเราะ) เอ๊ะ! เมื่อกี้ว่ายังไงนะ ?

ผู้ถาม : คือทำสมาธิชอบกลืนน้ำลายครับ.

หลวงพ่อ : คือสมาธิมันมี ๒ แบบ คือ สมถะมันมี ๒ แบบ  อารมณ์ทรงตัว กับ อารมณ์คิด  อารมณ์คิดมันบวกวิปัสสนาไปด้วย ใช่ไหม ในเมื่อเราภาวนาจิตใจมันสบาย พอถึงเขตตรงนั้นปั๊บ อยากกลืนน้ำลายหรือเสมหะ ก็คิดว่าขึ้นชื่อว่าร่างกายมันเป็นอนิจจัง มันไม่เที่ยงอย่างนี้ นี่เราต้องสงบมันกลับเป็นอย่างนี้ เพราะว่าร่างกายเป็นทุกข์ นี่เป็น อนิจจัง มันไม่เที่ยง เราทุกข์เพราะมันไม่เที่ยง ในที่สุดมันก็เป็น อนัตตา ขึ้นชื่อว่าการเกิดเป็นคนอย่างนี้ เราไม่ต้องการมันอีก เราต้องการจุดเดียวคือนิพพาน แค่นี้ก็หมดเรื่องหมดราว.

ผู้ถาม : ทำสมาธิกลืนน้ำลายนี่ยังดีนะ เขาเล่ามาบอกว่าเวลาสวดมนต์ อิติปิ โส ภควา ขากถุย ขากตลอดเวลาเลย สู้กลืนสมาธิไม่ได้นะ.

หลวงพ่อ : ถ้าขาก อิติปิ โส บทต้นนะ ขากพระพุทธเจ้า ถ้าบทกลาง สวากขาโต เป็นธรรมคุณ ถ้า สุปฏิปันโน เป็นบทของพระสงฆ์ ขากตรงนั้นขากพระสงฆ์ทิ้ง

   รวมความว่า กำลังกรรมฐานต้องมี ๒ อย่าง ให้เข้าใจตามนั้นนะ ว่าการเจริญสมาธิไม่ใช่อารมณ์สงบอย่างเดียว ในกรรมฐาน ๔๐ มี “อารมณ์สงบ” ๑๑ กอง และก็มี “อารมณ์คิด” ๒๙ กอง เห็นไหม อารมณ์คิดมากกว่า ในมหาสติปัฏฐานสูตร หลายสิบกองมีกรรมฐานที่ทำให้จิตสงบกองเดียว นั่นคือ อานาปานุสสติกรรมฐาน นอกจากนั้นเป็นอารมณ์คิดหมด ก็ต้องฝึกทั้ง “อารมณ์สงบ” และ “อารมณ์คิด” คือคิดอยู่ในขอบเขตนะ.

ที่มา : นิตยสารธัมมวิโมกข์  ฉบับที่ ๓๑๐ ประจำเดือน มกราคม ๒๕๕๐ หน้าที่ ๘๒-๘๓. ถอดความโดย ศรีโคมคำ.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 01, 2014, 02:18:56 PM โดย ศรีโคมคำ »