เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



ผู้เขียน หัวข้อ: การวางอารมณ์จิตไม่ให้ทุกข์จากสิ่งที่เข้ามากระทบ  (อ่าน 5684 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด


ธรรมดาของโลก

"การที่คนเราแม้แต่ในวงนักปฎิบัติธรรมะ
ตราบใดที่เรายังเป็นปถุชนคนมีกิเลศอยู่
ก็ย่อมที่จะมีการกระทบกระทั่งกันเป็นเรื่องธรรมดา
แต่เราควรพึงระลึกถึงประโยชน์เพื่อคนส่วนใหญ่ไว้ก่อน
ยิ่งหากการที่เราเข้ามาเกี่ยวข้องกันเป็นไปเพื่องานบุญไดๆ
หรือประโยชน์แก่พระศาสนา เราต้อง
มีขันติในส่วนที่จะขัดกับจุดสำเร็จของงานให้ได้
ซึ่งเข้ามากระทบเรา แม้ว่าซ้ำแล้วซ้ำอีก
เมื่อเราคล่องแล้วการรู้จักปล่อยวางและให้อภัย
จะเป็นสิ่งไม่ยากเลยและเราจะสามารถเป็นผู้ไม่หวั่นไหว
ไปตามโลกธรรมที่เข้ามากระทบได้ง่ายจนในที่สุด
ไม่เลยหากเราทำถึง...

แม้แต่การถูกกระทบจาก
ผู้ไม่หวังดีก็ควรพิจารณาตามนี้
เพื่อความไม่ทุกข์ตามสิ่งเร้านั้นๆ

...โลกธรรม เป็น ธรรมดาของโลก อย่าไปหวั่นไหว
น้อมใจสู่คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
แล้วปฎิบัติจิต อารมณ์ของจิตตามนี้ จับจิตสู่สมาธิ วิธีง่ายๆ
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ สบายๆ ถอนลมหายใจออกอย่างผ่อนคลาย
ยาวๆ สบายๆ(ระบายลมหยาบออก)
แล้วระลึกรู้ลมหายใจเข้า ออก
หรือระลึกรู้ฐานของสมาธิฐานใดก็ได้ที่เราถนัด"


สติ...

พิจารณา...ให้

ขันติ...เกิด(เพราะยับยั่งอารมณ์ชั่ววูบนั้นกดไว้ได้ด้วยการระลึกรู้ทันอารมณ์นั้น)

แล้วมาผลิกอารมณ์จิตโดยการ

ยังกำหนดสติ สตินั้นจึง..พิจารณา...แล้วก่อให้

เกิด...เมตตา(โดยการระลึกถึงผลเสียที่จะตามมาและสงสารในความทุกข์ผู้อื่นนั้นที่ต้องทุกข์เพราะอวิชชาและไฟที่แผดเผาจิตผู้นั้น)

เมตตา...ก่อให้

อภัยทาน...เกิด(เพราะไม่เห็นประโยชน์ของการที่จะบันดาลโทสะประกอบกับเมตตาสงสารที่เขาต้องมาทุกข์เพราะความไม่รู้)

น้อมระลึกสติไว้...จนอารมณ์จิต

ปล่อยวางได้(เพราะอภัยทานก่อให้เกิด)...จึงยกจิตเหนือปัญหานั้นโดยการ

น้อมสู่อุเบกขา(การมีอารมณ์ไปตามสิ่งที่เข้ามากระทบก่อให้เกิดทุกข์ เราพึงวางเฉยต่อสิ่งนั้นๆเสีย)

...แล้วยังคงระลึกถึง

สติอยู่เสมอตลอดกระบวนการ...อันนำไปสู่การ

พิจารณาไตร่ตรองกระบวนการทั้งหมดด้วยจิตที่โล่ง สบายและปล่อยวาง

...อัน

นำไปสู่...ผล


ผลลัพธ์ที่เกิดจากการไตร่ตรองด้วยจิตอันเป็นกุศล
การกระทำสิ่งใดๆด้วยจิตอันเป็นกุศล
และพิจารณาดีแล้วนั้น
ผลย่อมแตกต่างจากจิตที่ขุ่นมัว...

และท้ายที่สุดตัวเราเองนั้นละจะเป็นผู้สบายกายสบายใจ...แม้เราเป็นฝ่ายกระทำ
เพียงฝ่ายเดียวก็ตาม...บุคคลผู้มีเมตตาบริสุทธิ์แม้ศัตรูที่ร้ายกาจที่สุด
สักวันหนึงย่อมระลึกรู้ถึงกระแสตัวนี้ได้...ที่สำคัญการทรงจิตให้ตั้งอยู่ใน
ความไม่หวั่นไหวต่อกิเลศและตั้งจิตเป็นกุศล ฟ้าดินย่อมแลเห็นและคุ้มครองเอย...