หมวดหลัก > อภิญญาปฎิบัติ

มรณานุสสติเพื่อความไม่ประมาทในการสร้างบารมี

(1/4) > >>

Wisdom:


"อายุของพวกมนุษย์น้อย
บุรุษผู้ใคร่ความดี พึงดูหมิ่นอายุที่น้อยนี้
พึงรีบประพฤติให้เหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น
เพราะความตายจะไม่มาถึงมิได้มี
วันคืนย่อมล่วงเลยไป
ชีวิตก็กระชั้นเข้าไปสู่ความตาย
อายุของสัตว์ทั้งหลายย่อมสิ้นไป
เหมือนน้ำในแม่น้ำน้อยย่อมสิ้นไป ฉะนั้น..."

พุทธพจน์

Wisdom:
ความตาย เอ๋ย ความตายหนอ...

นึกถึงความตาย สบายนัก มันหักรัก หักหลง ในสงสาร(วัฏ)

ความตายเป็นของเที่ยงที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน
ได้ทุกเมื่อทุกวันทุกเวลาไม่ว่าจะใครก็ตาม

เมื่อเธอเดินตามรอยชาวโลกไปจนสุดปลายทาง
เธอจะพบกับน้ำตาแห่งความพลัดพรากในที่สุด
เพราะทุกสิ่งล้วนแตกดับและสลายไป
เช่นเดียวกับชีวิตเธอและคนที่เธอรัก
ที่สุดแห่งความรัดคือการพลัดพราก
ไม่จากเป็น ก็จากตาย

สักวันต้องเป็นเรา ไม่รู้วันไหน
ทุกวินาทีที่ผ่านไป ก็คือความตายที่ใกล้เข้ามา...แล้วกับ
ลมหายใจที่เหลืออยู่ซึ่งริบหรี่ลงทุกวัน ถามตนเองว่า

เราทำอะไรอยู่...

Wisdom:
ความตายเป็นของเที่ยง ความมีชีวิตอยู่เป็นของไม่เที่ยง

ภาวนาอยู่ดังนี้เรื่อยๆ ไป ถ้าเป็นผู้มีปัญญินทรีย์แก่กล้า
จะสามารถข่มนิวรณ์ธรรมต่างๆ เสียได้ มีมรณารมณ์ตั้งมั่น
เข้าถึงอุปจารสมาธิโดยไม่ยาก นอกจากนั้นยังบังเกิดมรณสัญญา
ที่น่าปรารถนาถึง ๘ ประการ คือ เกิดความรู้สึกเกี่ยวกับความตายขึ้นมาว่า

๑. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกประมาณแค่วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือ ๒๔ ชั่วโมงเท่านั้น

๒. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกประมาณแค่วันหนึ่ง คือ ๑๒ ชั่วโมงเท่านั้น

๓. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกประมาณเพียงครึ่งวัน คือ ๖ ชั่วโมงเท่านั้น

๔. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกชั่วเวลาเพียงกินข้าวอิ่มหนึ่งเท่านั้น

๕. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกชั่วครึ่งเวลากินข้าวอิ่มเท่านั้น

๖. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อได้อีกชั่วเวลากินข้าวได้เพียง ๔ หรือ ๕ คำเท่านั้น

๗. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกชั่วเวลาเคี้ยวข้าวคำหนึ่งเท่านั้น

๘. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกชั่วระยะเวลาหายใจเข้าออกเท่านั้น

มรณสัญญาข้อ ๗ และ ๘ ทำให้มีสติเจริญดีเยี่ยม ถูกต้องตามพุทธประสงค์
ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสชมเชยไว้ ส่วนข้อที่ ๑ - ๖ สำหรับผู้คนในสมัยปัจจุบันนี้
ผู้ใดสามารถทำได้ก็นับว่าดีมากแล้ว

การเจริญมรณานุสสตินั้น ได้ผลอย่างมากเพียงอุปจารสมาธิ
ไม่เข้าถึงอัปปนาเนื่องจาก มรณะ ความตายที่นำมาใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน
นั้นเป็นสภาวะที่ทำให้เกิดความสังเวช เมื่อใช้ระลึกถึงอารมณ์ดังนี้เนืองๆ
ทำให้เกิดความสะดุ้งกลัวขึ้นกับจิต จิตจึงไปไม่ถึงอัปปนาสมาธิ

อานิสงส์อันเกิดแต่การเจริญมรณานุสสติมีดังนี้

- ทำให้ละความประมาทมัวเมาในชีวิตลง มองเห็นภัยในวัฏฏสงสาร

- ได้สัพพภเวสุอนภิรตสัญญา คือ ความกระสันที่จะเลิกอยู่ในภพทั้งปวง
   สำหรับหน่อเนื้อพุทธะทั้งหลาย จะเิกิดความตื่นตัว ไม่ประมาทในการสร้างบารมี
   เร่งบำเพียรบ่มเพาะจิตเพื่อพระโพธิญาณ เพื่อช่วยเหลือสัตว์ในวัฐสงสาร

- ละความยินดีในชีวิต ไม่รักชีวิต

- ติเตียนการกระทำอันเป็นบาป

- ยินดีด้วยสัลเลขะ ความมักน้อย สันโดษ ไม่สั่งสมของบริโภค

- สันดานปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน ไม่รักใคร่หวงแหนในสมบัติทั้งปวง

- จิตจะคุ้นเคยใน อนิจจสัญญา มองเห็นอนิจจังในรูปธรรม นามธรรม
   เป็นเหตุให้ได้ทุกขสัญญา อนัตตสัญญาตามมา เห็นพระไตรลักษณ์ชัดแจ้งในสันดาน

- เมื่อเห็นพระไตรลักษณ์แล้ว แม้ต้องตายย่อมไม่นึกหวาดกลัว สติไม่หลงเลอะเลือน

คนที่ไม่เจริญมรณานุสสติ เมื่อถึงเวลาใกล้ตายย่อมสะดุ้งตกใจกลัวตาย
เหมือนถูกเสือร้ายตะครุบตัวไว้กำลังจะกัดกินเป็นอาหาร หรือเหมือนคนอยู่ในเงื้อมมือโจร
หรือเพชฌฆาต หรือเหมือนคนอยู่ในมือยักษ์ หรือในปากอสรพิษ

Wisdom:
๑) น โข อหญฺเญเวโก มรณธมฺโม มรณํ อนตีโต
อถ โข ยาวตา สตฺตานํ อาคติ คติ จุติ อุปฺปตฺติ
สพฺเพ สตฺตา มรณธมฺมา มรณํ อนตีตาฯ

ความตายและการหนีความตายไม่พ้น
ไม่ใช่มีแต่เราเพียงผู้เดียว แท้ที่จริงสัตว์ทั้งหลาย
ที่มีสภาพเนื่องมาจากภพก่อนและเกิดขึ้นในภพนี้
แล้วย้ายจากภพนี้เกิดต่อไปในภพใหม่
สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นย่อมมีความตาย
และหนีไม่พ้นจากความตายด้วยกันทั้งสิ้น


๒) ยเมกรตฺตึ ปฐมํ คพฺเภ วสติ มาณโว
อพฺภุฏฺฐิโตว โส ยาติ สคจฺฉํ น นิวตฺตติฯ

ผู้ใดเกิดขึ้นในครรภ์มารดาครั้งแรกในคืนใดคืนหนึ่งนั้น
ผู้นั้นย่อมบ่ายหน้าไปหาแต่ความตาย
ผู้บ่ายหน้าไปหาความตายนี้ ไม่มีการกลับหลัง

๓) ทหรา จ หิ วุทฺธา จ เย พาลา เย จ ปณฺทิตา
อคฺฆา เจว ทลิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายณา

ผู้ที่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม วัยสาวก็ดี วัยแก่ก็ดี
ผู้ที่ไม่มีปัญญาความรู้ก็ดี ที่มีปัญญาความรู้ก็ดี
ผู้ที่ร่ำรวยก็ดี ยากจนก็ดี ทั้งหมดนี้ย่อมมีความตายเป็นที่สุด

๔) ผลานมิว ปกฺกานํ นิจจํ ปตนโต ภยํ
เอวํ ชาตานมจฺจานํ นิจฺจํ มรณโต ภยํฯ

สัตว์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมประสบกับภัย
คือความตายอย่างแน่นอน เสมือนหนึ่งผล
ไม้ที่สุกงอมต้องหล่นลงอย่างแน่แท้

๕) สายเมเก น ทิสฺสนฺติ ปาโต ทิฏฺฐา พหู ชนา
ปาโต เอเก น ทิสฺสนฺติ สายํ
ทิฏฺฐา พหุ ชนาฯ

ชนทั้งหลายในยามเช้ายังเห็นกันอยู่
พอตกเวลาเย็นบางคนก็ไม่เห็นกัน ตายเสียแล้ว
ชนทั้งหลายเมื่อตอนเย็นยังเห็นกันอยู่
พอถึงตอนเช้าบางคนก็ไม่เห็นกัน ตายเสียแล้ว

๖) อุสฺสาโวว ติณคฺคมฺหิ สุริยุคฺคมนํ ปติ
เอวมายุ มนุสฺสานํ มา มํ อมฺม นิวารยฯ

แม่จ๋า อายุของคนเรานี้น้อยเหลือเกิน
เสมือนหนึ่งหยาดน้ำค้างที่ติดอยู่บนใบหญ้า
เมื่อถูกแสงอาทิตย์เข้า ก็เหือดแห้งหายไปพลัน
ดังนั้น แม่อย่าได้ขัดขวางการบวชของลูกเลย

๗) สพฺเพ สตฺตา มรณา ธุวํ
สพฺเพ สตฺตา มรณา นิจฺจํ
สพฺเพ สตฺตา มรนฺติ จ มรึสุ จ มริสฺสเร
ตเถวาหํ มริสฺสามิ นตฺถิ เม เอตฺถ สํสโยฯ

สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้น มีความตายอย่างแน่นอน
เป็นของเที่ยง สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้น จักตาย
กำลังตาย และเคยตายมาแล้ว เราก็จักตายเช่นกัน
อย่าได้สงสัยความตายนี้เลย

Wisdom:


นอนทอดนิ่งร่างกายไร้ลมปราณ
สิ้นอาการตอบรับขยับไหว
หนึ่งชนชีพลาลับดับล่วงไป
สู่แห่งใดกันเล่าเฝ้าคำนึง

มีโลงไม้ห่อบังร่างเย็นชืด
คงจะมืดสิ้นแสงใดส่องไปถึง
เหลือไว้แต่ความหลังฝังตราตรึง
เพ้อรำพึงครวญคร่ำรินน้ำตา

ยินสดับนักบวชสวดบาลี
ฤๅจะชี้หนบรรจบสู่ภพหน้า
คีตประโคมก้องเชิดเปิดมรรคา
จงเดินทางไคลคลาผ่านราตรี

โชยกลุ่มควันพวยฟุ้งพุ่งจากเมรุ
เป็นกฎเกณฑ์ชีวิตไร้สิทธิ์หนี
ท้ายแค่เถ้าฝุ่นผุยขุยธุลี
สุดชีวีเคยเฟื่องจบเรื่องราว

จะล่องลอยไปไหนในคืนนี้
ห้วงราตรีอื่นแดนแสนเหน็บหนาว
ได้สัมผัสสุขสมชมดวงดาว
หรือจะร้าวร่อนคว้างทางมืดมน

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version