หมวดหลัก > อภิญญาปฎิบัติ

ผู้ที่จะฝึกอิทธิฤิทธิ์อภิญญาให้เกิดขึ้นแก่ตนได้ต้องมีคุณธรรมตามนี้

(1/2) > >>

tutong:
ผมได้อ่านหนังสือธรรมะของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน(วัดท่าซุง)
ท่านกล่าวไว้ว่าบุคคลที่จะมีอภิญญาได้ต้องมี อิทธิบาท๔,บารมี๑๐ครบถ้วน พร้อมกับมี จรณะ ๑๕
และได้ฌาณ๔ในกสิณ๑๐ ตามนี้แต่ละหัวข้อธรรมมีอะไรบ้างและอย่างไรจะนำมากล่าวในที่นี้ภายหลัง
 แต่สิ่งที่ผมอยากให้ท่านทั้งหลาย ทำให้ได้ก่อนในอันดับแรกคือรักษาศีล(ตามแต่ใจชอบและกาลเทศะไม่ว่าจะเป็นศีล๕หรือศีล๘สำหรับฆาราวาสศีล๑๐,ศีล๒๒๗สำหรับสามเณรและพระภิกษุ)และระงับนิวรณ์๕ประการให้ได้ กรรมฐานที่เป็นพื้นฐานของกรรมฐานทั้ง๔๐กองคือ
อานาปานุสสติ(การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก)โดยต้องกำหนดรู้ลมหายใจสามฐานให้ได้ฤิทธิ์จึงจะเกิด
กำหนดลมหายใจสามฐานยังไง?การกำหนดลมหายใจสามฐานคือฐานที่๑หายใจเข้าลมกระทบจมูกหายใจออกลมกระทบจมูก ฐานที่สองหายใจเข้าลมกระทบจมูกและยอดอกหายใจออกลมกระทบยอดอกและจมูก ฐานที่สามลมหายใจเข้ากระทบจมูกกระทบยอดอกและศูนย์เหนือสะดือหายใจออกลมผ่านศุนย์เหนือสะดือผ่านยอดอกและผ่านจมูก คราวหลังจะกล่าวถึงคุณธรรมต่างๆที่ทำให้เกิดอภิญญานะครับ

tutong:
 เริ่มต้นด้วย อิทธิบาท๔   - ฉันทะ มีความพอใจ
                            - วิริยะ  พากเพียรทำลายอุปสรรคไม่ท้อถอย
                            - จิตตะ สนใจในสิ่งนั้นไม่วางมือ
                            - วิมังสา ใช้ปัญญาพิจารณาให้เข้าใจ

tutong:
ระงับนิวรณ์๕
1.เห็นโทษของกามฉันทะ ความมั่วสุมในกามารมณ์ว่าเป็นทุกข์เป็นภัยอย่างยิ่ง
2.เห็นโทษของการจองล้างจองผลาญ เพราะการพยาบาทมาดร้ายซึ่งกันเเละกัน เป็นเสมือนไฟคอยผลาญความสุข
3.คอยกำจัดความง่วงเหงาห้าวนอน เมื่อขณะปฏิบัติสมณธรรม
4.คอยควบคุมอารมณ์ไม่ให้ฟุ้งส่าน ออกนอกลู่นอกทางเมื่อขณะภาวนา
5.ตัดความสงสัยในมรรคผลเสีย โดยคำนึงถึงว่าผลของการปฏิบัติ มีแน่นอนถ้าเราทำถึง

tutong:
                                           บารมี๑๐
๑.ทานบารมี  มีกำลังใจพร้อมจะให้เสมอไม่ต้องการสิ่งของหรือคำชมตอบแทน
๒.ศีลบารมี   มีกำลังใจรักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต
๓.เนกขัมมบารมี พยายามระงับนิวรณ์ ในเบื้องต้นป้องกันความวุ่นวายของจิต
๔.ปัญญาบารมี  พิจารณาว่าการเกิดเป็นต้นเหตุของทุกข์ยอมรับนับถือกฏความเป็นจริง
๕.วิริยะบารมี   มีกำลังใจต่อสู้อุปสรรคไม่ยอมเเพ้แม้ตายก็ยอม
๖.ขันติบารมี   อดทนต่ออุปสรรค สู้ให้ถึงที่สุดไม่ถอยหลัง
๗.สัจจบารมี   ทรงความจริงไว้ให้เป็นปกติ ตั้งใจว่าจะทำอะไรทำอย่างนั้นไม่ยอมละ
๘.อธิษฐานบารมี  ตั้งใจว่าเราจะทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพาน
๙.เมตตาบารมี   ตั้งใจว่าจะเมตตาคำว่าศัตรูจะไม่มีสำหรับเรา
๑๐.อุเบกขาบารมี เฉยต่ออุปสรรค

tutong:
                                                   จรณะ ๑๕
๑.สีลสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยศีล
๒.อินทรียสังวร สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้อยู่ในระบอบของธรรมหมด อย่าไปสนใจกับอะไรทั้งหมด
๓.โภชเนมัตตัญญุตา  รู้จักประมาณในการกินอาหารแต่พอสมควร คือพิจารณาอาหาเรปฏิกูลสัญญา ไม่เมาในรสอาหาร ไม่โลภในอาหาร
๔.ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่
๕.ศรัทธา ความเชื่อ ใช้ปัญญาพิจารณาคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นจริง รู้จริง เห็นแน่นอน มีเหตุมีผล เราเชื่อ
๖.หิริ อายความชั่วไว้เสมอ
๗.โอตตัปปะ เกรงกลัวผลของความชั่ว ผลของความผิด
๘.พาหุสัจจะ  เป็นผู้ได้รับฟังมาก ปฏิบัติดีด้วยฟังมาแล้วด้วยดี ปฏิบัติดีด้วย
๙.วิริยะ เพียรทำลายความชั่วให้พินาศไป เพียรสร้างความดีให้มันเกิดขึ้น
๑๐.สติ ระลึกได้เสมอในด้านอริยสัจ ในมหาสติปัฏฐานสูตร ในกรรมฐาน๔๐ เอามาตั้งไว้ในอารมณ์ใจตลอดเวลาตั้งเเต่ลืมตารู้สึกตื่นนอน กว่าจะหลับ
๑๑. ปัญญา เห็นว่าทุกอย่างในโลก มันจะมีสภาวะเกิดขึ้นมายังไงก็ตาม ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา
๑๒.ปฐมฌาน ฌานที่หนึ่ง ทำให้เกิดขึ้นเป็นประจำ
๑๓.ทุติยฌาน ฌานที่สอง ทำให้เกิดขึ้นเป็นประจำ
๑๔.ตติยฌาน ฌานที่สาม ทำให้เกิดขึ้นเป็นประจำ
๑๕.จตุตถฌาน ฌานที่สี่ ทำให้เกิดขึ้นเป็นประจำ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version