เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธปกิรณกกัณฑ์ ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า  (อ่าน 10456 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

พุทธปกิรณกกัณฑ์
ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า

ในกัปอันประมาณมิได้แก่ภัทรกัปนี้ มีพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกชั้น
พิเศษ ๔ พระองค์ คือ พระตัณหังกรสัมพุทธเจ้า ๑
พระเมธังกรสัมพุทธเจ้า ๑ พระสรณังกรสัมพุทธเจ้า ๑ และพระ
ทีปังกรสัมพุทธเจ้า ๑ ท่านเหล่านั้นเสด็จอุบัติในกัปเดียวกัน ต่อจาก
ที่พระทีปังกรสัมพุทธเจ้า พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ
พระองค์เดียวเสด็จอุบัติกัปหนึ่ง ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏสงสาร
ได้มากมาย ระหว่างพระผู้มีพระภาคทีปังกร และพระโกณฑัญญะ
บรมศาสดา เป็นอันตรกัป โดยจะคำนวณนับมิได้ ต่อจากพระโกณ
ฑัญญะบรมศาสดา มีพระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ แม้ระหว่าง
พระโกณฑัญญะและพระมังคละพุทธเจ้านั้น ก็เป็นอันตรกัป โดยจะ
คำนวณนับมิได้ พระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ สุมนะ เรวตะ และ
โสภิตะ ผู้เป็นมุนี มีจักษุ มีพระรัศมีสว่างไสว แม้พระพุทธเจ้า ๔
พระองค์นั้นก็เสด็จอุบัติขึ้นในกัปเดียว กันต่อจากพระโสภิตพุทธเจ้า
มีพระมหามุนีพระนามว่าอโนมทัสสี แม้ระหว่างพระพุทธเจ้าพระนาม
ว่าโสภิตะ และอโนมทัสสีนั้นก็เป็นอันตรกัป โดยจะคำนวณนับมิ
ได้ พระพุทธเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี ปทุมะ และนารทะ ผู้เป็น
มุนีกระทำที่สุดความมืด ก็เสด็จอุบัติขึ้นในกัปเดียว ต่อจากพระ
นารทสัมพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ เสด็จอุบัติใน
กัปหนึ่ง ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากมาย แม้ระหว่าง
พระผู้มีพระภาคนารทะและพระปทุมุตรศาสดานั้น ก็เป็นอันตรกัป
โดยจะคำนวณนับมิได้ในแสนกัป มีพระมหามุนีพระองค์เดียว คือ
พระปทุมุตระผู้รู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ในสามหมื่นกัป
ต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ มีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์
คือ พระสุเมธะและพระสุชาตะ ในพันแปดร้อยกัป (แต่กัปนี้) มี
พระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ คือ พระปิยทัสสี พระอัตถทัสสี และ
พระธรรมทัสสี ต่อจากพระสุชาตพุทธเจ้า พระสัมพุทธเจ้าผู้อุดม
กว่าสัตว์ ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบในโลก ๓ พระองค์นั้น เสด็จอุบัติใน
กัปเดียวกัน ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ มีพระมหามุนีพระองค์เดียว
คือ พระสิทธัตถะ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ยอดเยี่ยมโดยมีบุญสิริ ในกัป
ที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ มีพระสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือพระติสสะ
และพระปุสสะ ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบเสมอ ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้
มีพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ผู้มีพระกรุณาพระนามว่าวิปัสสี
ทรงเปลื้องสัตว์ทั้งหลายจากเครื่องผูก ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ มี
พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือพระสิขีและพระเวสสภู ผู้ไม่มีบุคคล
เปรียบเสมอ ในภัทรกัปนี้ มีพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ คือ พระ-
กุกกุสันธะ พระโกนาคมนะ และพระกัสสปะ บัดนี้เราเป็นพระ
สัมพุทธเจ้าและจักมีพระเมตไตรย์สัมพุทธเจ้า แม้พระพุทธเจ้า ๕
พระองค์นี้ ก็เป็นนักปราชญ์ อนุเคราะห์โลก บรรดาพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นธรรมราชาเหล่านี้ พระเมตไตรย์สัมพุทธเจ้าจักตรัสบอกมรรคา
นั้นแก่ผู้อื่นหลายโกฏิ แล้วจักเสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก
ฉะนี้แล.

จบพุทธปกิรณกกัณฑ์.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๘๕๖๓ - ๘๖๐๖. หน้าที่ ๓๖๖ - ๓๖๘

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด
......ปฏิปทาพิเศษของพระโพธิญาณที่บำเพ็ญบารมีเฉพาะกิจ นอกเหนือจาก ปัญญาธิกะ สัทธาธิกะ วิริยะธิกะ ตัวอย่างเป็นบารมีเฉพาะกิจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุธเจ้า ๒๘ พระองค์
.......ความเสียสละของพระโพธิญาณที่ทำบารมีเกิน จึงถือว่าท่านหาความประเสริฐสุดให้แก่เหล่าพุทธบริษัทแต่ละยุคแต่ละสมัยที่บำเพ็ญบารมีเกินปกติ
........ใคร่ให้พวกเราทั้งหลายมีความนอบน้อมในพระพุทธเจ้า แล้วระลึกถึงคุณท่านด้วยความจริงใจด้วยการปฏิบัติบูชา

๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑


นมัสการพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์

นะโม เม สัพพะพุทธานัง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง
อุปปันนานัง มะเหสินัง
ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ซึ่งได้อุบัติแล้ว คือ
๑. ตัณหังกะโร มะหาวีโร
ปฏิปทาพิเศษของพระตัณหังกรผู้กล้าหาญ
.๒. เมธังกะโร มะหายะโส
ปฏิปทาพิเศษของพระเมธังกรผู้มียศใหญ่
๓. สะระณังกะโร โลกะหิโต
ปฏิปทาพิเศษของพระสรณังกรผู้เกื้อกูลต่อชาวโลก
๔. ทีปังกะโร ชุตินธะโร
ปฏิปทาพิเศษของพระทีปังกรผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง
๕. โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข
ปฏิปทาพิเศษของพระโกณฑัญญะผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน
๖. มังคะโล ปุสิสาสะโก
ปฏิปทาพิเศษของพระมังคละผู้เป็นบุรุษประเสริฐ
๗. สุมะโน สุมะโน ธีโร
ปฏิปทาพิเศษของพระสุมนะผู้เป็นธีรบุรุษมีพระหฤทัยงาม
๘. เรวะโต ระติวัฑฒะโน
ปฏิปทาพิเศษของพระเรวะตะผู้เพิ่มพูนความยินดี
๙. โสภิโต คุณสัมปันโน
ปฏิปทาพิเศษของพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ
๑๐. อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม
ปฏิปทาพิเศษของพระอโนมทัสสีผู้สูงสุดอยู่ในหมู่ชน
๑๑. ปะทุโม โลกะปัชโชโต
ปฏิปทาพิเศษของพระปทุมะผู้ทำให้โลกสว่าง
๑๒. นาระโท วาระสาระถี
ปฏิปทาพิเศษของพระนารทะผู้เป็นสารถีประเสริฐ
๑๓. ปะทุมุตโต สัตตะสาโร
ปฏิปทาพิเศษของพระปทุมุตตระผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์
๑๔. สุเมโธ อัปปะฏิบุคคะโล
ปฏิปทาพิเศษของพระสุเมธะผู้หาบุคคลเปรียบมิได้
๑๕. สุชาโต สัพพะโลกัคโค
ปฏิปทาพิเศษของพระสุชาตะผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง
๑๖. ปิยะทัสสี นะราสะโภ
ปฏิปทาพิเศษของพระปิยทัสสีผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน
๑๗. อัตถะทัสสี การุณิโก
ปฏิปทาพิเศษของพระอัตถทัสสีผู้มีพระกรุณา
๑๘. ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท
ปฏิปทาพิเศษของพระธรรมทัสสีผู้บรรเทาความมืด
๑๙. สิทธัตโถ อะสะโม โลเก
ปฏิปทาพิเศษของพระสิทธัตถะผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก
๒๐. ติสโส จะ วะทะตัง วาโร
ปฏิปทาพิเศษของพระติสสะผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย
๒๑. ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ
ปฏิปทาพิเศษของพระปุสสะผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ
๒๒. วิปัสสี จะ อะนูปะโม
ปฏิปทาพิเศษของพระวิปัสสสีผู้ที่หาเปรียบมิได้
๒๓. สิขี สัพพะหิโต สัตถา
ปฏิปทาพิเศษของพระสิขีผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
๒๔. เวสสะภู สุขะทายะโก
ปฏิปทาพิเศษของพระเวสสภูผู้ประทานความสุข
๒๕. กะกุสันโธ สัตถะวาโท
ปฏิปทาพิเศษของพระกกุสันโธผู้นำสัตว์ออกจากสันดารตัวกิเลส
๒๖. โกนาคะมะโน ระณัญชะโห
ปฏิปทาพิเศษของพระโกนาคมนะผู้หักเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส
๒๗. กัสสะโป สิริสัมปันโน
ปฏิปทาพิเศษของพระกัสสปะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ
๒๘. โคตะโม สักยะปุงคะโว
ปฏิปทาพิเศษของพระโคตมะผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช

เตสาหัง สิระทา ปาเท วันทามิ ปุริสัตตะเม วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระบาทของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยเศียรเกล้า และขอกราบไหว้พระพุทธเจ้าเหล่านั้นผู้เป็นบุรุษอันสูงสุด ผู้เป็นตถาคตด้วยวาจาและใจทีเดียว

สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา
ทั้งในที่นอนในที่นั่ง ในที่ยืน และแม้ในที่เดินด้วย ในกาลทุกเมื่อฯ

ตัณ เม สะ ที โก มัง สุ เร โส อะ ปะ นา ปะ สุ สุ
ปิ อะ ธะ สิ ติ ปุ วิ สิ เว กุ โก กะ โค นะมามิหัง

พระนามพระพุทธเจ้าตั้งแต่องค์แรกถึงองค์ปัจจุบัน โบราณจารย์ท่านถือว่าเป็นพระคาถาแก้วสารพัดนึก

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด
พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล ของมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่ 15 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ตั้งแต่หน้า 99 จักกวัตติสูตร
----------------------------------------------------------------------------------

จักกวัตติสูตร

ว่าด้วยอกุศลกรรมทำให้อายุเสื่อม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณามานี้ เมื่อพระมหากษตริย์ ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสน ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนทรัพย์ถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออทินนาทานถึงความ แพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจารก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อกาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย แม้อายุสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้างเสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุหนึ่งหมื่นปี ก็มีอายุถอยลงเหลือห้าพันปี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุห้าพันปี ธรรม ๒ ประการ คือ ผรุสวาจาและสัมผัปลาปะ ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการ ถึงความแพร่หลาย แม้อายุสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้างเสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุห้าพันปี ก็มีอายุถอยลงเหลือสองพันห้าร้อยปี บางพวกมีอายุถอยลงสองพันปี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุสองพันปี อภิชฌาและพยาบาท ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออภิชฌาและ พยาบาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้างเสื่อม
ถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุสองพันห้าร้อยปี ก็มีอายุถอยลงเหลือหนึ่งพันปี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุหนึ่งพันปี มิจฉาทิฏฐิก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมิจฉาทิฏฐิถึงความแพร่หลาย
แม้อายุสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้างเสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของ
มนุษย์ที่มีอายุหนึ่งพันปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๕00 ปี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๕00 ปี ธรรม ๓ ประการคือ อธรรมราคะ ( ความกำหนัดในฐานะอันไม่สมควร เป็นต้น
ว่า มารดา๑ น้า ๑ บิดา ๒ อาหญิง ๑ ป้า ๑ )วิสมโลภ ( ความโลภที่รุนแรงในฐานะแม้ที่ควรบริโภค ) มิจฉาธรรม ( ความกำหนัดด้วยอำนาจความ
พอใจระหว่าง ชายกับชาย หญิงกับหญิง ) ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๓ ประการถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้น ก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้างเสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๕00 ปี บางพวกมีอายุถอยลง ๒๕0 ปี บางพวกมีอายุถอยลง ๒00 ปี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒๕0 ปี ธรรมเหล่านี้คือ ความไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ความไม่ปฏิบัติชอบ ในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้ถึงความแพร่หลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออทินนาทานได้ ถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความแพร่หลาย ปาณาติบาตก็ถึงความแพร่หลาย เมื่อ
ปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย มุสาวาทก็ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย ปิสุณาวาทก็ถึงความแพร่หลาย
เมื่อปิสุณาวาทถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจารก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อกาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย ธรรม ๒ ประการ คือ ผรุสวาจาและสัมผัปปลาปะก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการถึงความแพร่หลาย อภิชฌาและพยาบาท
ก็ได้ถึงความแพร่หลาย มิจฉาทิฏฐิก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมิจฉาทิฏฐิถึงความแพร่หลาย ธรรม ๓ ประการ คือ อธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๓ ประการถึงความแพร่หลาย ธรรมเหล่านี้คือ ความไม่ปฏิบัติชอบใน มารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ความไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ในตระกูล ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรมเหล่านี้ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้น ก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อม
ถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้างเสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๕0 ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑00 ปี

ว่าด้วยความเสื่อมของกุศล อกุศล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักมีสมัยที่มนุษย์เหล่านี้ มีบุตร อายุ ๑0 ปี ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑0 ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ปี จักสม ควรมีสามีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑0 ปี หญ้ากับแก้ จักเป็นอาหารอย่างดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้าวสาลี
เนื้อ ข้าวสุก จักเป็นอาหารอย่างดี ในบัดนี้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑0 ปี หญ้ากับแก้ ก็จักเป็นอาหาร
อย่างดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑0 ปี กุศลกรรมบถ ๑0 จักอันตรธานหายไปหมดสิ้น
อกุศลกรรมบถ ๑0 จักเจริญรุ่งเรืองเหลือเกิน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑0 ปี แม้แต่ชื่อว่ากุศลก็จักไม่มี และคน ทำกุศลจักมีแต่ที่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑0 ปี คนทั้งหลายจักไม่ปฏิบัติชอบในมารดา จักไม่ปฏิบัติชอบ
ในบิดา จักไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ จักไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ จักไม่ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล เขาเหล่านั้น
จักได้รับการบูชา และได้รับการสรรเสริญ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนปฏิบัติชอบในมารดา ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล เขาเหล่านั้นจักได้รับการบูชาและได้รับการสรรเสริญฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑0 ปี เขาจักไม่ปฏิบัติชอบในมารดา บิดา สมณพราหมณ์ ไม่ประพฤติอ่อนน้อมต่อ
ท่านผู้ใหญ่ในตระกูล เขาเหล่านั้น จักได้รับการบูชาและได้รับการสรรเสริญฉันนั้นเหมือนกัน ในบัดนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑0 ปี เขาจักไม่คิดเคารพยำเกรงว่า นี่แม่ นี่น้า นี่พ่อ นี่อา นี่ป้า นี่ภรรยา ของอาจารย์ หรือว่านี่คือภรรยาของท่านที่เคารพทั้งหลาย สัตว์โลกจักถึงความสมสู่ปะปนกันหมด เปรียบเหมือนแพะ ไก่ สุกร สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑0 ปี สัตว์เหล่านั้นต่างก็จักเกิดความอาฆาต ความ พยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่า อย่างแรงกล้าในกันและกัน มารดากับบุตรก็ดี บุตรกับมารดาก็ดี บิดากับบุตรก็ดี บุตร กับบิดาก็ดี พี่ชายกับน้องหญิงก็ดี น้องหญิงกับพี่ชายก็ดี จัดเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่ากัน อย่างแรงกล้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายพรานเนื้อเห็นเนื้อเข้า เกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่า อย่างแรงกล้า ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑0 ปี สัตว์เหล่านั้นจักมีความอาฆาต...ความคิดจะฆ่าอย่างแรง
กล้าในกันและกัน ฉันนั้นเหมือนกัน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑0 ปี จักมีสัตถันตรกัป สิ้น ๗ วัน มนุษย์เหล่านั้นจักสำคัญกันและกันว่าเป็น เนื้อ ศัสตราทั้งหลายอันคม จักปรากฏมีในมือของพวกเขา พวกเขาจะฆ่ากันเองด้วยศัสตราอันคมนั้นโดยสำคัญว่า นี้เนื้อ
( มิคสัญญี ) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นสัตว์เหล่านั้น บางพวกมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราอย่าฆ่าใครๆ และใครๆ ก็อย่าฆ่า
เรา อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปตามป่าหญ้า สุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ หรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร เลี้ยงชีวิตอยู่ซัก ๗ วัน เขาพากันเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะหรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร เลี้ยงชีวิตอยู่ตลอด ๗ วัน เขาพากันออกจากสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะซอกเขา แล้วต่างสวมกอดกันและกัน จักขับร้องปลอบใจ กันในที่ประชุมว่า สัตว์ผู้เจริญ เราพบเห็นกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือๆ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น สัตว์เหล่านั้นจักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรทำกุศลยิ่งๆ ขึ้นไป ควรทำกุศลอะไร พวกเราควรงดเว้นจาก อทินนาทาน ควรงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ควรงดเว้นจากปิสุณาวาจา ควรงดเว้นจากผรุสวาจา ควรงดเว้นจาก
สัมผัปปลาปะ ควรละอภิชฌา ควรละพยาบาท ควรละมิจฉาทิฏฐิ ควรละธรรม ๓ ประการ คือ อธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉา
ธรรม อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรปฏิบัติชอบในมารดา ควรปฏิบัติชอบในบิดา ควรปฏิบัติชอบในสมณะ ควรปฏิบัติชอบใน
พราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ควรสมาทานกุศลนี้แล้วประพฤติ เขาเหล่านั้นจักปฏิบัติชอบในมารดา ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล จักสมาทานกุศล ธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรมเหล่านั้น เขาเหล่านั้นจักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง เมื่อ เขาเหล่านั้นเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตรของคนผู้มีอายุ ๒0 ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔0 ปี บุตรของคนผู้มี
อายุ ๔0 ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘0 ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๘0 ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๑๖0 ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๑๖0 ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๓๒0 ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๓๒0 ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๖๔0 ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๖๔0 ปี จักมีอายุ
เจริญขึ้นถึงสองพันปี บุตรของคนผู้มีอายุสองพันปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึงสี่พันปี บุตรของคนผู้มีอายุสี่พันปี จักมีอายุเจริญ
ขึ้นถึงแปดพันปี บุตรของคนผู้มีอายุแปดพันปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึงสองหมื่นปี บุตรของคนผู้มีอายุสองหมื่นปี จักมีอายุเจริญ
ขึ้นถึงสี่หมื่นปี บุตรของคนผู้มีอายุสี่หมื่นปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึงแปดหมื่นปี

ว่าด้วยการงดเว้นอกุศลกรรมบถ ๑0 อายุยืน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี เด็กหญิงที่มีอายุ ๕00 ปี จึงจักควรมีสามีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี จักมีอาพาธ ๓ อย่าง คือ ความอยากกิน ๑ ความไม่อยากกิน ๑ ความแก่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี ชมพูทวีปนี้ จักมั่งคั่งและรุ่งเรือง มีบ้านนิคมและราชธานีพอชั่วไก่บินตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี ชมพูทวีปนี้ประหนึ่งอเวจีนรก จักยัดเยียดไปด้วยผู้คนทั้งหลาย เปรียบเหมือนป่าไม้อ้อ หรือป่า
ไม้แก่น ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี เมืองพาราณสีนี้ จักเป็นราชธานีมีนามว่าเกตุมดี เป็นเมืองที่มีมั่งคั่ง
และรุ่งเรืองมีพลเมืองมาก มีผู้คนคับคั่ง และมีอาหารสมบูรณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี ในชมพูทวีปนี้ จักมีเมืองแปดหมื่นสี่พันเมือง มีเกตุมดีราชธานีเป็นประมุข

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี จักมีพระเจ้าจักรพรรดิ์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าสังขะ ทรงอุบัติขึ้น
ณ เมือง เกตุมดีราชธานี เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะ
แล้ว มีราชอาณาจักรมั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คหบดีแก้ว ปริณายกแก้วเป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์สามารถย่ำยีเสนาของ
ข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศัตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าเมตไตรย์ จักเสด็จอุบัติขึ้นใน
โลก พระองค์เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงความพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึก
บุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม เหมือน
ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกบัดนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระ
ธรรม พระผู้มีพระภาคพระนามว่า เมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงทำโลกนี้ พร้อมเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัด ด้วย
พระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม เหมือนตถาคตในบัดนี้ ทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตถาคตเองแล้วสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตามอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงพระผู้มีพระภาค
เจ้าพระนาม ว่าพระเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงบริหารภิกษุสงฆ์ หลายพัน เหมือนตถาคต บริหารภิกษุสงฆ์หลายร้อย ในบัด
นี้ ฉันนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าสังขะ จักทรงให้ยกขึ้น ซึ่งปราสาทที่พระเจ้ามหาปนาทะทรงสร้างไว้ แล้วประทับอยู่ แลัวจักทรงสละ จักทรงบำเพ็ญทาน แก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก และยาจกทั้งหลายจักทรงปลงพระเกศา
และพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกจากเรือน ทรงผนวชเป็นบรรพชิตในสำนักของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้า พระนามว่าเมตไตรย์ ท้าวเธอทรงผนวชอย่างนี้แล้ว ทรงปลีกพระองค์อยู่แต่ผู้เดียวไม่ประมาท มีความเพียรมีตน
ส่งไปแล้ว ไม่ช้านัก ก็จักทรงทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลาย พากันออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดย
ชอบ อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เอง ในทิฏฐธรรมเทียว เข้าถึงอยู่

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด
อรรถกถาขุททกนิกาย พุทธวงศ์
ปธานเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งการตั้งความเพียร

ที่ชื่อว่า ปธานเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งการตั้งความเพียร
ได้แก่ พระพุทธเจ้าคือพระทีปังกร พระโกณฑัญญะ พระสุมนะ พระอโนมทัสสี.พระสุชาตะ พระสิทธัตถะและพระกกุสันธะ ทรงบำเพ็ญเพียร ๑๐ เดือน.

พระพุทธเจ้าคือพระมังคละ พระสุเมธะ พระติสสะและพระสิขี ทรงบำเพ็ญเพียร ๘ เดือน.

พระเรวตพุทธเจ้า ๗ เดือน.
พระโสภิตพุทธเจ้า ๔ เดือน.
พระพุทธเจ้าคือ พระปทุมะ พระอัตถทัสสีและพระวิปัสสี ครึ่งเดือน.
พระพุทธเจ้าคือ พระนารทะ พระปทุมุตตระ พระธัมมทัสสีและพระกัสสปะ ๗ วัน.
พระพุทธเจ้าคือ พระปิยทัสสี พระปุสสะ พระเวสสภู และพระโกนาคมนะ ๖ เดือน.
พระพุทธเจ้าของเราทรงบำเพ็ญเพียร ๖ ปี.
นี้ชื่อว่า ปธานเวมัตตะ.

รัศมีเวมัตตะ

ที่ชื่อว่ารัศมีเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งพระรัศมี ได้ยินว่า พระมังคลสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระรัศมีแห่งพระสรีระ แผ่ไปในหมื่นโลกธาตุ.

พระปทุมุตตรพุทธเจ้า แผ่ไป ๑๒ โยชน์.
พระวิปัสสีพุทธเจ้า แผ่ไป ๗ โยชน์.
พระสิขีพุทธเจ้า แผ่ไป ๓ โยชน์.
พระกกุสันธพุทธเจ้า แผ่ไป ๑๐ โยชน์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ประมาณหนึ่งวาโดยรอบ.
พระพุทธเจ้านอกนั้น ไม่แน่นอน.
นี้ชื่อว่า รัศมีเวมัตตะ.



ยานเวมัตตะ

ที่ชื่อว่ายานเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งพระยาน ได้แก่ พระพุทธเจ้าบางพระองค์ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง บางพระองค์ด้วยยานคือม้า บางพระองค์ด้วยยานคือรถ ดำเนินด้วยพระบาท ปราสาทและวอเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง.

พระพุทธเจ้าคือพระทีปังกร พระสุมนะ พระสุเมธะ
พระปุสสะ พระสิขิ และพระโกนาคมนะ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง
พระโกณฑัญญะ พระเรวตะ พระปทุมะ พระปิยทัสสี พระวิปัสสีและพระกกุสันธะ ด้วยยานคือรถ.
พระมังคละ พระสุชาตะ พระอัตถทัสสี พระติสสะ และพระโคตมะด้วยยานคือม้า.
พระอโนมทัสสี พระสิทธัตถะ พระเวสสภู ด้วยยานคือวอ.
พระนารทะเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยพระบาท.
พระโสภิตะ พระปทุมุตตระ พระธัมมทัสสีและพระกัสสปะออกอภิเนษกรมณ์ด้วยปราสาท.
นี้ชื่อว่า ยานเวมัตตะ.

โพธิรุกขเวมัตตะ

ที่ชื่อว่า โพธิรุกขเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งโพธิพฤกษ์ ได้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร มีโพธิพฤกษ์ ชื่อต้นกปิตนะ มะขวิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าโกณฑัญญะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อต้นสาลกัลยาณี ขานาง
พระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระโสภิตะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อต้นนาคะ กากะทิง.
พระอโนมทัสสี มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอัชชุนะ กุ่ม.
พระปทุมะและพระนารทะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นมหาโสณะ อ้อยช้างใหญ่.
พระปทุมุตตระ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นสลละหรือสาละ.
พระสุเมธะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นนีปะ กะทุ่ม.
พระสุชาตะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นเวฬุ ไผ่.
พระปิยทัสสี มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นกกุธะ กุ่ม.
พระอัตถทัสสี โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นจัมปกะ จำปา.
พระธัมมทัสสี โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นรัตตกุรวกะ๑ ซ้องแมวแดง.
พระสิทธัตถะ. โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นกณิการะ กรรณิการ์.
พระติสสะ. โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอสนะ ประดู่.
พระปุสสะ โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอาลมกะ มะขามป้อม.
พระวิปัสสี โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นปาฏลี แคฝอย.
พระสิขี โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นปุณฑรีกะ กุ่มบก.
พระเวสสภู โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นสาละ.
พระกกุสันธะ โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นสรีสะ ซึก.
พระโกนาคมนะ โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอุทุมพระ มะเดื่อ.
พระกัสสปะ โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นนิโครธ ไทร.
พระโคตมะ โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอัสสัตถะ โพธิใบ.
นี้ชื่อว่า โพธิเวมัตตะ.

ที่ชื่อว่า บัลลังกเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งบัลลังก์ ได้แก่ พระพุทธเจ้า คือ พระทีปังกร พระเรวตะ พระปิยทัสสี พระอัตถทัสสี พระธัมมทัสสีและพระวิปัสสี มีบัลลังก์ ๕๓ ศอก. พระโกณฑัญญะ พระมังคละ พระนารทะและพระสุเมธะ มีบัลลังก์ ๕๗ ศอก. พระสุมนะ มีบัลลังก์ ๖๐ ศอก.

พระโสภิตะ พระอโนมทัสสี พระปทุมะ พระปทุมุตตระ และพระปุสสะมีบัลลังค์ ๓๘ ศอก.
พระสุชาตะ มีบัลลังก์ ๓๒ ศอก.
พระสิทธัตถะ พระติสสะ และพระเวสสภู มีบัลลังก์ ๔๐ ศอก.
พระสิขี มีบัลลังก์ ๓๒ ศอก.
พระกกุสันธะ มีบัลลังก์ ๒๖ ศอก.
พระโกนาคมนะ มีบัลลังก์ ๒๐ ศอก.
พระกัสสปะ มีบัลลังก์ ๑๕ ศอก.
พระโคตมะ มีบัลลังก์ ๑๔ ศอก.
นี้ชื่อว่า บัลลังกเวมัตตะ
เหล่านี้ชื่อว่า เวมัตตะ ๘.

เรื่องสถานที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงละ

ก็พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ไม่ทรงละสถานที่ ๔ แห่ง. จริงอยู่ โพธิบัลลังก์ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่ทรงละ เป็นสถานที่แห่งเดียวกันนั่นเอง,ไม่ทรงละการประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนะมิคทายวัน, ไม่ทรงละสถานที่เหยียบพระบาทครั้งแรก ใกล้ประตูสังกัสสนคร ครั้งเสด็จลงจากเทวโลก,ไม่ทรงละสถานที่วางเท้าเคียง ๔ เท้าแห่งพระคันธกุฎีในพระวิหารเชตวัน.พระวิหารเล็กก็มี ใหญ่ก็มี ทั้งพระวิหารก็ไม่ละ ทั้งพระนครก็ไม่ละ.

เรื่องการกำหนดสหชาตและกำหนดนักษัตร์

ยังมีอีกข้อหนึ่ง ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย แสดงกำหนดสหชาต และกำหนดนักษัตร ของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราเท่านั้น. สิ่งที่เกิดร่วมกันกับพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ของเรามี ๗ เหล่านี้ คือ พระมารดาพระราหุล ๑พระอานันทเถระ ๑ พระฉันนะ ๑ พระยาม้ากัณฐกะ ๑ หม้อขุมทรัพย์ ๑ พระมหาโพธิ ๑ พระกาฬุทายี ๑ นี้ชื่อว่ากำหนดสหชาต.

โดยนักษัตรคือดาวฤกษ์ในเดือนอุตตราสาธ พระมหาบุรุษ ลงสู่พระครรภ์พระชนนี เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงประกาศพระธรรมจักรทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์, โดยนักษัตรคือดาวฤกษ์ในเดือนวิสาขะ ประสูติตรัสรู้ และปรินิพพาน, โดยนักษัตรคือดาวฤกษ์เดือนมาฆะ พระองค์ทรงประชุมพระสาวก และทรงปลงอายุสังขาร, โดยนักษัตรคือดาวฤกษ์เดือนอัสสยุชะเสด็จลงจากเทวโลก นี้ชื่อว่า กำหนดนักษัตร.

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด
เรื่องธรรมดาของพระพุทธเจ้า

บัดนี้ เราจะประกาศธรรมดาทั่วไปของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ธรรมดาของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ มี ๓๐ ถ้วน คือ

๑. พระโพธิสัตว์ผู้มีภพสุดท้าย มีสัมปชัญญะรู้ตัว ลงสู่พระครรภ์ของพระชนนี
๒. พระโพธิสัตว์นั่งขัดสมาธิในพระครรภ์ของพระชนนีหันพระพักตร์หันพระพักตร์ออกไปภายนอก
๓. พระชนนีของพระโพธิสัตว์ยืนประสูติ
๔. พระโพธิสัตว์ออกจากพระครรภ์พระชนนีในป่าเท่านั้น
๕. พระโพธิสัตว์วางพระบาทลงบนแผ่นทอง หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ย่างพระบาท ๗ ก้าว เสด็จไปตรวจดู ๔ ทิศแล้วเปล่งสีหนาท
๖. พระมหาสัตว์ พอพระโอรสสมภพ ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ แล้วออกมหาภิเนษกรมณ์
๗. พระมหาสัตว์ ทรงถือผ้าธงชัยแห่งพระอรหันต์ ทรงผนวช ทรงบำเพ็ญเพียรกำหนดอย่างต่ำที่สุด ๗ วัน
๘. เสวยข้าวมธุปายาส ในวันที่ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ
๙. ประทับนั่งเหนือสันถัตหญ้าบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
๑๐.ทรงบริกรรมอานาปานัสสติกัมมัฏฐาน
๑๑. ทรงกำจัดกองกำลังของมาร
๑๒. ณ โพธิบัลลังก์นั่นเอง ทรงได้คุณมีอสาธารณะญาณ ตั้งแต่วิชชา ๓ เป็นต้นไปเป็นอาทิ
๑๓. ทรงยับยั้งใกล้โพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์
๑๔. ท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาเพื่อให้ทรงแสดงธรรม
๑๕. ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนะ มิคทายวัน
๑๖. ในวันมาฆบูรณมี ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในที่ประชุมสาวกประกอบด้วยองค์ ๔
๑๗. ประทับอยู่ประจำ ณ ที่พระวิหารเชตวัน
๑๘. ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ใกล้ประตูกรุงสาวัตถี
๑๙. ทรงแสดงพระอภิธรรม ภพดาวดึงส์
๒๐. เสด็จลงจากเทวโลก ใกล้ประตูสังกัสสนคร
๒๑. ทรงเข้าผลสมาบัติต่อเนื่องกัน
๒๒. ทรงตรวจดูเวไนยชน ๒ วาระ
๒๓. เมื่อเรื่องเกิดขึ้น จึงทรงบัญญัติสิกขาบท
๒๔. เมื่อเหตุต้นเรื่องเกิดขึ้น จึงตรัสชาดก
๒๕. ตรัสพุทธวงศ์ในสมาคมพระประยูรญาติ
๒๖. ทรงทำปฏิสันถารกับภิกษุอาคันตุกะ
๒๗. พวกภิกษุจำพรรษาแล้วถูกนิมนต์ ไม่ทูลบอกลาก่อน ไปไม่ได้
๒๘. ทรงทำกิจก่อนและหลังเสวย ยามต้น ยามกลางและยามสุดท้ายทุก ๆ วัน
๒๙. เสวยรสมังสะ ในวันปรินิพพาน
๓๐. ทรงเข้าสมาบัติยี่สิบสี่แสนโกฏิสมาบัติแล้วจึงปรินิพพาน

ธรรมดาของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์มี ๓๐ ถ้วนดังกล่าวมาฉะนี้.

เรื่องอนันตรายิกธรรม

พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ มีอนันตรายิกธรรม (คือ ไม่มีอันตรายเป็นธรรมดา) ๔ คือ

๑. ใครๆ ไม่อาจทำอันตรายแก่ปัจจัย๔ ที่มีเฉพาะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
๒. ใครๆ ไม่อาจทำอันตรายแก่พระชนมายุของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ข้อที่บุคคลพึงใช้ความพยายามปลงพระชนม์ชีพพระตถาคตไม่เป็นฐานะ ไม่เป็นโอกาส [คือเป็นไปไม่ได้]
๓. ใครๆ ไม่อาจทำอันตรายแก่พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการและแก่พระอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ
๔. ใคร ๆ ไม่อาจทำอันตรายแก่พระพุทธรังสีได้

เหล่านี้ ชื่อว่า อนันตรายิกธรรม ๔.