หมวดหลัก > พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี

ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยละเอียด

<< < (9/9)

Wisdom:


เกร็ดความรู้เพื่อศึกษาในบทต่อๆไป
ลองมาดูกันถึงเรื่องของเวลาความยาวนาน
เพื่อพิจารณาเห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ท่าน
ได้เสียสละตรากตรำสร้างบารมีมานานแสนนานแค่ไหนเพื่อมาโปรดสัตว์


ต่อไปจะเทียบระยะเวลา 1 กัป 1 อสงไขย และ 1 ปทุมะนรก

ให้พิจารณากันดู เพื่อปลงสังเวชกับอัตตา(อวิชชา)ของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นค่าโดยประมาณ อาจจะมีความคลาดเคลื่อนมากกว่านี้ก็ได้ใครมีความรู้ในทางคณิตศาสตร์ ก็สามารถช่วยแสดงความคิดเห็น เพื่อจะได้ค่าที่ถูกต้องมากขึ้น
เรื่องของกัปจากพระไตรปิฏกประมาณคำว่า 1 กัปได้ดังนี้
สมมุติมีกล่องใบหนึ่ง กว้าง 100 โยชน์ ยาว 100โยชน์ และ สูง 100 โยชน์ ในเวลา 100 ปี ให้เอาเมล็ดผักกาด 1 เมล็ด ใส่ลงไปในกล่องนั้น ทำอย่างนี้จนเมล็ดผักกาดนั้นเต็มเสมอเรียบปากกล่องนั้นละจึงเท่ากับ 1 กัป
(บางตำรากล่าวว่า กว้าง 1 โยชน์ยาว 1 โยชน์สูง 1 โยชน์)
วิเคราะห์คำนวณ 1 โยชน์ = 16 กิโลเมตร
ดังนั้นกล่องใบนี้มีปริมาตร = 1600X1600X1600 = 4,096,000,000 ลูกบาตกิโลเมตร
ประมานว่า เมล็ดผักกาด มีขนาด .5 มิลลิเมตร
1 กิโลเมตรเทียบเป็นมิลลิเมตรได้ดังนี้ 10X100X1000 = 1,000,000 มิลลิเมตร
จะได้ 1 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน = (1,000,000)/0.5 = 2,000,000 เมล็ด
ดังนั้น 1600 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน = 1600X2,000,000 = 3,200,000,000 เมล็ด
ถ้าเป็นปริมาตร คือ กว้าง*ยาว*สูง ต้องใช้เมล็ดผักกาดทั้งหมด คือ
3,200,000,000X3,200,000,000X3,200,000,000 = 32,768,000,000,000,000,000,000,000,000 เมล็ด
ใน 100 ปี ใส่เมล็ดผักเพียง 1 เมล็ด ดังนั้นต้องใช้เวลาทั้งหมดคือ
32,768,000,000,000,000,000,000,000,000X100 = 3,276,800,000,000,000,000,000,000,000,000 ปี
จึงได้เวลา 1 กัป ประมาณ สามล้านสองแสนเจ็ดหมื่นหกพันแปดร้อยล้านล้านล้านล้านปี
ประมาณ 3.3 X 10**30 ปี
เครื่องหมาย ** เป็นเครื่องหมาย ยกกำลัง
(หมายเหตุบางตำรากล่าวว่ากว้าง 1 โยชน์ ยาว 1 โยชน์สูง 1 โยชน์ จึงได้ 1 กัป ประมาณ 3.3
X 10**24 ปี โดยเอา 0 ออกไป 6 ตัว จากค่าที่คำนวณได้ในครั้งแรก)


เรื่องของอสงไขยจากหนังสือสัมภาระโพธิญาณ (จำไม่ค่อยได้) เป็นหนังสือเก่ามากแล้วค่าที่ได้ก็ตรงกับผู้ที่คำนวณไว้ก่อน สามารถนับ 1 อสงไขย และเทียบ

กับหน่วยนับปัจจุบันได้ดังนี้
สิบ สิบหนเป็น ร้อย 10**2
สิบร้อยเป็น พัน 10**3
สิบพันเป็น หมื่น 10**4
สิบหมื่นเป็น แสน 10**5
ร้อยแสนเป็น โกฏิ 10**7
ร้อยแสนโกฏิเป็น ปโกฏิ 10**7 X 10**7 = 10**14
ร้อยแสนปโกฏิเป็น โกฏิปโกฏิ 10**7 X 10**14 = 10**21
ร้อยแสนโกฏิปโกฏิเป็น นนุตหนึ่ง 10**7 X 10**21 = 10**28
ร้อยแสนนนุตเป็น นินนนุตหนึ่ง 10**7 X 10**28 = 10**35
ร้อยแสนนินนุตเป็น อักโขภินีหนึ่ง 10**7 X 10**35 = 10**42
ร้อยแสนอักโขภินีเป็น พินทะหนึ่ง 10**7 X 10**42 = 10**49
ร้อยแสนพินทะ เป็น อัพภูทะหนึ่ง 10**7 X 10**49 = 10**56
ร้อยแสนอัพภูทะ เป็น นิรพุทะหนึ่ง 10**7 X 10**56 = 10**63
ร้อยแสนนิรพุทะ เป็น อหนะหนึ่ง 10**7 X 10**63 = 10**70
ร้อยแสนอหนะ เป็น อพพะหนึ่ง 10**7 X 10**70 = 10**77
ร้อยแสนอพพะ เป็น อฏฏะหนึ่ง 10**7 X 10**77 = 10**84
ร้อยแสนอฏฏะ เป็น โสคันธิกะหนึ่ง 10**7 X 10**84 = 10**91
ร้อยแสนโสคันธิกะ เป็น อุปละหนึ่ง 10**7 X 10**91 = 10**98
ร้อยแสนอุปละ เป็น กมุมะหนึ่ง 10**7 X 10**98= 10**105
ร้อยแสนกมุมะ เป็น ปทุมะหนึ่ง 10**7 X 10**105= 10**112
ร้อยแสนปทุมะเป็น ปุณฑริกะหนึ่ง 10**7 X 10**112= 10**119
ร้อยแสนปุณฑริกะ เป็น อกถานหนึ่ง 10**7 X 10**119= 10**126
ร้อยแสนอกถาน เป็น มหากถานหนึ่ง 10**7 X 10**126= 10**133
ร้อยแสนมหากถาน เป็น อสงไขยหนึ่ง10**7 X 10**133= 10**140
ดังนั้น 1 อสงไขย = สิบยกกำลัง หนึ่งร้อยสีสิบ หรือ 1 ตามด้วย 0 จำนวน 140 มหากัป

ข้อสังเกตจำนวนปีของมนุษย์โลกเทียบกับ 1 กัปนั้นยังมีความคลาดเคลื่อนอีกมากมายจึงไห้ถือกำหนดเอา โลกจักรวาลเมื่อก่อกำเนิดขึ้นจนกระทั้งพังทลายศูนย์หายไป 1 ครั้ง เป็น 1 กัปแต่จำนวน 1 อสงไขยมีกี่กัปนั้นเป็นจำนวนที่แน่นอนคือ 1 ตามด้วยเลข 0 จำนวน 140 ตัว หรือ 1 X 10**140


อายุขัยของเทวดาเทียบกับปีของมนุษย์โลก
หนึ่ง 1 ปีทิพย์ของสวรรค์แต่ละชั้นเท่ากับ 360 วันทิพย์ของสวรรค์แต่ละชั้น
ชั้นจาตุมีอายุ 500 ปีทิพย์ 1 วันทิพย์ เท่ากับ 50 ปีโลกมนุษย์ดังนั้นเท่ากับ 500X360X50 = 9,000,000 ปี
ชั้นดาวดึงส์ " " 1000 " " 1 " " 100 " " เท่ากับ 36,000,000 ปี
ชั้นยามา " " 2000 " " 1 " " 200 " " เท่ากับ 144,000,000 ปี
ชั้นดุสิต " " 4000 " " 1 " " 400 " " เท่ากับ 576,000,000 ปี
ชั้นนิมมา " " 8000 " " 1 " " 800 " " เท่ากับ 2,304,000,000 ปี
ชั้นปรมิน " " 16000 " " 1 " " 1600 " " เท่ากับ 9,216,000,000 ปี


อายุของพระพรหม รูปฌาน 1 ถึง รูปฌาน 4
รูปฌาน 1 มีอยู่ 3 ชั้น
สมาธิอย่างอ่อนปาริสัชนาพรหมมีอายุ 1/3 กัป
สมาธิอย่างกลางปุโรหิตพรหมมีอายุ 1/2 กัป
สมาธิอย่างสูงมหาพรหมมีอายุ 1 กัป
รูปฌาน 2 มีอยู่ 3 ชั้น
สมาธิอย่างอ่อนปริตตาภาพรหมมีอายุ 2 กัป
สมาธิอย่างกลางอัปปมาณภาพรหมมีอายุ 4 กัป
สมาธิอย่างสูงอาภัสสราพรหมมีอายุ 8 กัป
รูปฌาน 3 มีอยู่ 3 ชั้น
สมาธิอย่างอ่อนปริตตสุภาพรหมมีอายุ 16 กัป
สมาธิยย่างกลางอัปปมาณสุภาพรหมมีอายุ 32 กัป
สมาธิอย่างสูงสุภกิณหาพรหมมีอายุ 64 กัป
รูปฌาน 4 มีอยู่ 2 ชั้น
เวหัปผลพรหมมีอายุ 500 กัป
อสัญญสัตราพรหมมีอายุ 500 กัป

สุทธาวาสพรหมมี 5 ชั้น เป็นภพของพระอนาคามี
1. อวิหามีอายุ 1,000 กัป
2. อตัปปามีอายุ 2,000 กัป
3. สุทัสสามีอายุ 4,000 กัป
4. สุทัสสีมีอายุ 8,000 กัป
5. อกนิฏฐามีอายุ 16,000 กัป
อรูปพรหมมี 4 ชั้น
1.อากาสานัญจายตนพรหมมีอายุ 20,000 กัป
2.วิญญาณัญจายตนพรหมมีอายุ 40,000 กัป
3.อากิญจัญญายตนพรหมมีอายุ 60,000 กัป
4.เนวสัญญานาสัญญายตนาพรหมมีอายุ 84,000 กัป

พิจารณาดูจะเห็นว่า เมื่อมีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น 1 พระองค์ ขณะที่พระองค์มีพระชนชีพอยู่แสงสว่างของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กระจายไปทั่วสากลจักวาลอย่างรวดเร็วเหมือนกับสายฟ้าแลบ และแสงสว่างแห่งธรรมนั้นยังคงสว่างสไหวอยู่
เมื่อพระองค์ดับขันท์ปรินิพพานแม้อายุขัยของภพมนุษย์นั้นจะเพียงน้อยนิดแต่แสงสว่างในธรรมนั้นก็ค่อยทยอยดับอย่างช้าๆ เริ่มต้นจากโลกมนุษย์นี้ก่อนแล้วทยอยดับไปยัง สวรรค์ชั้นจาตุชั้นดาวดึงส์ชั้นยามาชั้นดุสิตชั้นนิมมาชั้นปรมิน
แล้วทยอยดับไปที่รูปพรหมของฌานทั้ง 4 ซึ่งทยอยดับไปที่ละชั้น จนถึงสุทธาวาสพรหมทั้ง 5 ชั้นทยอยดับที่ละชั้นจนถึงอรูปพรหม ที่พระอริยะบางท่านจุติอยู่ ถ้ายังไม่มีพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่บังเกิดขึ้นในโลกแสงสว่างของธรรมจากพระพุทธองค์นั้นเมื่อบังเกิดขึ้น แล้วทยอยดับจนหมดสิ้นใช้เวลาเป็นแสนกัปรอจนพระพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นมาใหม่ในโลก แสงสว่างแห่งธรรมนี้ไม่มีมนุษย์หรือเทพหรือพระพรหมองค์ใดจะกระทำได้ มีแต่เพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้นจึงทำให้บังเกิดขึ้นได้


เปรียบเทียบอายุในอเวจีนรก 1 ปทุมนรก กับมนุษย์โลกได้ ดังมีในพระไตรปิฏกดังนี้
เมล็ดงา 1 เกวียน มีอัตรา 20 ขารี 1 ขารีเท่ากับ 256 ทะนาน เมื่อล่วงไป 1 แสนปีเอาเมล็ดงาออกจากเกวียน 1 เมล็ดทำจนหมดจากเกวียน ก็ยังไม่ถึง 1 อัพพุทะในนรกเลยการเปรียบเทียบ 1 อัพพุทะ ตามมาตรตราปัจจุบันอย่างคล่าวๆ
1 ทะนาน เท่ากับ 1 ลิตร
1 ลิตร เท่ากับ 1000 ลูกบาศเชนติเมตร
เมล็ดงา 1 เมล็ด ประมาณ 1 มิลิเมตร ดังนั้น 1 เชนติเมตร เอาเมล็ดงาเรียงกันได้ 10 เมล็ด
จะได้ 1 ลูกบาศเชนติเมตร จะมีจำนวน เมล็ดงา ประมาณ 10 X10 X 10 = 1000 เมล็ด
จะได้ 1 ลิตรมีเมล็ดงาประมาณ 1000X1000 ประมาณ 1,000,000 เมล็ด
จะได้ 1 ทะนานจะมีเมล็ดงาประมาณ 1,000,000 เมล็ด
จะได้ 1 ขารีจะมีเมล็ดงาประมาน 256 X 1,000,000 ประมาณ 256,000,000 เมล็ด
จะได้ 1 เกวียนจะมีเมล็ดงาประมาณ 20 X 256,000,000 ประมาณ 5,120,000,000 เมล็ด
จะได้เวลาทั้งหมดเมื่อหยิบเมล็ดงาออกหมดเกวียน ประมาณ 100,000 X 5120,000,000 ปี
ประมาณ 512,000,000,000,000 ปี
ซึ่งยังไม่ถึง 1 อัพพุทะแต่ก็ประมาณ 512,000,000,000,000 ปีหรือ 5.12 X 10**14 จึงเอาไปแทนค่าตามข้างล่าง
20 อัพพุทะ เป็น 1 นิรัพพุทะ 20**1 X 5.12 X 10**14
20 นิรัพพุทะเป็น 1 อพัพพะ 20**2 X 5.12 X 10**14
20 อพัพพะเป็น 1 อหหะ 20**3 X 5.12 X 10**14
20 อหหะเป็น 1 อฏฏะ 20**4 X 5.12 X 10**14
20 อฏฏะเป็น 1 กุมุทะ 20**5 X 5.12 X 10**14
20 กุมุทะเป็น 1 โสคันธิกะ 20**6 X 5.12 X 10**14
20 โสคันธิกะเป็น 1 อุปปละ 20**7 X 5.12 X 10**14
20 อุปปละเป็น 1 ปุณฑริกะ 20**8 X 5.12 X 10**14
20 ปุณฑริกะเป็น 1 ปทุมะ 20**9 X 5.12 X 10**14
และ 20**9 = 512,000,000,000 = 5.12 X 10**11

ดังนั้น 1 ปทุมะนรก ประมาณ 5.12 X 10**11 X 5.12 X 10**14 ประมาณ 26.2144 X 10**25
ประมาณ 2.62 X 10**26 หรือ 1 ปทุมะนรก ประมาณ 262,144,000,000,000,000,000,000,000 ปีมนุษย์โลก
เมื่อเปรียบเทียบปีมนุษย์ กับ 1 ปทุมะนรก และปีของมนุษย์กับ 1 กัป ดังที่คำนวณมาแล้วจะเห็นว่า มีเวลายาวนานมาก ดังนั้นในตำราของพระพุทธศาสนาจึงกล่าวว่า ผู้ที่ตกนรกอเวจีต้องทรมานอยู่ตลอดกัป หรือชั่วกัปชั่วกัลป์ เหมือนดังพระเทวทัต ที่ตกอเวจีนรกและจะหมดกรรมจากอเวจีนรกก็เกือบจะสิ้นสุดของกัปนี้

ทังหมดนี้คงจะทำให้ท่านปลงสังเวช กับความโง่ หรือ อวิชชา ที่หาเบื้องต้นไม่ได้ถ้ายังไม่ชำละอวิชชาออกไปด้วยปัญญา นิพพาน ก็ไม่รู้ว่าจะหาที่สุดได้เมื่อใด?

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version