เว็บพุทธภูมิ: พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี



ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยละเอียด  (อ่าน 57863 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยละเอียด
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2012, 01:38:10 PM »
"กาลต่อไปพระพุทธศาสนาจะไปตั้งมั่นนอกชมพูทวีป"
ในคราวสังคายนาพระพุทธศาสนา ครั้งที่ ๓ ดังได้กล่าวถึงมาแล้วข้างต้น พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระผู้เป็นประธานทรงเล็งเห็นการณ์ไกลอย่างยิ่ง โดยพิจารณาว่า กาลต่อไปพระพุทธศาสนาจะไปตั้งมั่นนอกชมพูทวีป จึงจัดส่งพระเถระพร้อมด้วยบริวารให้ไปเผยแฟ่พุทธศาสนา ในส่วนต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย ๙ สาย คือ

๑. พระมหินทเถระ พร้อมด้วยพระอิฏฏิยเถระ พระอุตติยเถระพระสัมพลเถระ พระภัททสาลเถระ และสุมนสามเณรไปเผยแผ่พระศาสนาที่เกาะลังกา ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ

๒.พระมัชฌันติกเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่แคว้นคันธาระและกาศมีระ ทรมานพวกนาคให้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา

๓. พระมหาเทวะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นมหิสสกมณฑล ได้แก่ แถบตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำโคธาวารี อันเป้นแคว้นไมซอร์ในปัจจุบัน

๔. พระรักขิตเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ วนวาสีประเทศ ได้แก่ แว่นแคว้นกนราเหนือ ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดียก่อให้เกิดวัดขึ้นถึง ๕๐๐ วัด ในดินแดนส่วนนี้

๕.พระโยนกธรรมรักขิต ซึ่งเป็นเถระอรหันต์ชนชาติกรีก ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ อปันตกชนบท เชื่อกันว่า ได้แก่ ดินแดนชายทะเลอันเป็นเมืองบอมเบย์ในปัจจุบัน

๖. พระมหารักขิตเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ โยนกประเทศคือดินแดนที่อยู่ในการยึดครองของผรั่งชาติ กรีก ในทวีปเอเชียตอนกลาง เหนืออิหร่าน ขึ้นไปจนถึงเตอรกีสถาน

๗. พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ อีก ๔ รูปคือ พระกัสสปโคตะ พระมูลกเทวะ พระทุนทภิสสร และพระเทวะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ดินแดนแถบภูเขาหิมาลัย

๘. พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนที่เรียกว่า สุวรรณถูมิ เชื่อกันว่าได้แก่ดินแดนที่เป็นจังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน

๙. พระมหาธรรมรักขิต ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่แว้นมหาราษฎร์ คือดินแดนแถบตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากเมืองบอมเบย์ในปัจจุบัน

การไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาของธรรมทูตทุกสาย เป็นการไปอย่างคณะสงฆ์ ซึ่งสามารถให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธาได้ มีหลักฐานซึ่งค้นพบที่จังหวัดนครปฐมระบุว่า พระโสณเถระกับพระอุตตรเถระมาประดิษฐานพระพุทธศาสนาในดินแดนส่วนนี้

พระพุทธศาสนาได้เจริญถึงขั้นสูงสุด โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ในโลกที่นับถือพระพุทธศาสนา และเผยแผ่พระพุทธศานาออกนอกชมพูทวีปสู่ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียแต่แล้วในกาลต่อมา พระพุทธศาสนาในดินแดนอินเดียค่อย ๆ เสื่อมแล้วได้มาสูญไปเกือบสิ้นเชิง เป็นเวลานานกว่า ๗๐๐ ปีที่พระพุทธศาสนาสูญไปจากประเทศนี้ จวบจนกระทั่งเมื่อประมาณ ๖๐ ปีที่ผ่านมามีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดียมากขึ้น มีชาวพุทธเพิ่มมากขึ้นมีการประมาณกันว่า ในปัจจุบันมีผู้นับถือพระพุทธศาสนา ในประเทศอินเดีย ๓๐-๔๐ ล้านคน จากจำนวนประชากรอินเดียประมาณเกือบพันล้านคน

ภัียอันตรายที่เป็นเหตุแห่งความเสื่อมของพระพุทธศาสนา ในอินเดียนั้น มีอยู่ ๒ ประเภทใหญ่ คือ ๑. ภัยภายใน ๒. ภัยภายนอก

ภัยภายใน เกิดจากพุทธบริษัท ๔ (ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา) โดยตรง พอจะจำแนกเป็น ๓ ประการคือ
๑. การเสื่อมทางศีลธรรมและการเสื่อมจากการบรรลุมรรคผลของชาวพุทธ
๒. ความแตกแยกทางนิกายและความขัดแย้งทางนิกาย
๓. ลัทธิมหายานและลัทธิตันตรยานเกิดขึ้น ทำให้เกิดพระสัทธรรมปฏิรูปต่าง ๆ ขึ้นในพระพุทธศาสนา

ภัยภายนอก การที่พระพุทธศาสนาต้องเสื่อมไปจากอินเดียนั้นหาได้เกิดจากภัยภายในอย่างเดัยวไม่ ภัยภายนอกก็จัดว่าเป็นอันตรายมากเช่นกันที่ทำให้พระพุทธศาสนาต้องเสื่อมไปจากดินแดนพุทธภูมิภัยภายนอกนั้นพอจะจำแนกได้ ๖ ประการคือ
๑. การปองร้ายของพวกพราหมณ์
๒.การฟื้นตัวใหม่ของพวกพราหมณ์
๓.การถูกศาสนาพราหมณ์กลืน
๔.การขาดราชูปถัมภ์
๕. การทำลายล้างของกษัตริย์ภายนอกพระพุทธศาสนา
๖. การทำลายล้างของพวกมุสลิม




"พุทธศาสนา ๒ นิกาย ใหญ่ มหายาน กับ หีนยาน"
หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วประมาณ ๑๐๐ ปี พระพุทธศาสนาก็เริ่มมีเค้าแตกแยกในด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระธรรมวินัย จนมาถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชก็แตกแยกกันออกเป็นนิกายใหญ่ ๆ ๒ นิกาย คือมหายาน กับหีนยาน

มหายาน เป็นนิกายของภิกษุฝ่ายเหนือของอินเดีย บาทีเรียก "อุตรนิกาย" (นิกายฝ่ายเหนือ) บ้าง "อาจารยวาท" บ้าง ซึ่งมีจุดมุ่งสอนให้ระงับดับกิเลส ทั้งยังได้แก้ไขคำสอนในพระพุทธศาสนา ให้ผันแปรไปตามลำดับ พวกนี้เรียกลัทธิของตนว่า "มหายาน" ซึ่งแปลว่า "ยานใหญ่" อาจพาประชาชนให้ข้ามวัฏสงสาร คือ ความทุกข์จาการเวียนว่ายตายเกิดได้คราวละมาก ๆ นิกายนี้ได้เข้าไปเจริญรุ่งเรื่องอยู่ในประเทศทิเบต จีน มองโกเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม

หีนยาน เป็นนิกายของภิกษุฝ่ายใต้ของอินเดีย บางทีเรียก "ทักษิณนิกาย" (นิกายฝ่ายใต้) คือ "เถรวาท" ซี่งมุ่งสอนให้พระสงฆ์ปฏิบัติเพื่อดับกิเลสของตนเองก่อน และห้ามเปลี่ยนแลงแก้ไขพระธรรมวินัยอย่างเด็ดขาด คำว่า "หีนยาน" เป็นคำที่ฝ่ายมหายานตั้งให้ แปลว่า "ยานเล็ก" ส่วนภิกษุฝ่ายใต้เรียกตัวเองว่า "เถรวาท"หมายถึง ผู้ปฏิบัติตามพุทธบัญญัติอย่างเที่ยงตรง นิกายนี้มีผู้นับถือมากในประเทศศรีลังกา พม่า ลาว ไทย และกัมพูชา

สำหรับพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์โมริยะ ครองราชสมบัติ ณ พระนครปาฏลีบุตร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๖๐ เมื่อครองราชย์ได้ ๘ พรรษา ทรงยกทัพไปปราบแคว้นกลิงคะที่เป็นชนชาติเข้มแข็งลงได้ ทำให้อาณาจักรของพระองค์กว้างใหญ่ที่สุดในประวัติชาติอินเดีย พระเจ้าอโศกมหาราชนับเป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของชมพูทวีป

แต่ในการสงครามครั้งนั้น มีผู้คนล้มตายและประสบภัยพิบัติมากมาย ทำให้พระองค์ทรงสลดพระทัย ครั้นได้ทรงสดับคำสอนในพระพุทธศาสนา ทรงเลื่อมใส ได้ทรงเลิการสงครามหันมาทำนุบำรุงพระศาสนาและความรุ่งเรืองในทางสงบของประเทศ ทรงสร้างมหาวิหาร ๘๔,๐๐๐ แห่งทรงอุปถัมภ์การสังคายนา คือการประชุมตรวจชำระสอบทานและจัดหมวดหมู่คำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้าวางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวการสังคายนาครั้งที่ ๓ มีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๔ สิ้นเวลา ๙ เดือน จึงเสร็จ นอกจากนั้นยังอุปถัมภ์การส่งศาสนทูตออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในนานาประเทศพระเจ้าอโศกมหาราชนับเป็นพุทธศาสนูปถัมภกที่สำคัญยิ่ง

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยละเอียด
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2012, 01:38:23 PM »
"วันสำคัญในทางพระพุทธศาสนา"

วันสำคัญในทางพระพุทธศาสนา มีดังนี้



๑. วันวิสาขบูชา ซึ่งถือว่าเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค้ำ (วันเพ็ญ) เดือน ๖ ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองครั้ง ก็เลื่อนไปทำพิธีในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๗


๒.วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรก ซึ่งเรียกว่า "ปฐมเทศนา" ตรงกับ วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘





๓. วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถ้าหากปีใดมีเดือน ๘ สองครั้งก็เข้าพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง



๔. วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หลังจาก ออกพรรษาแล้ว รุ่งขึ้นวันแรม ๑ ค่ำมักนิยมบำเพ็ญกุศลเรียกว่า "ตักบาตรเทโว" คือ ตักบาตรเนื่องในวันที่พระพุทธเจ่าเสด็จลงจากเทวโลกหลังจากที่เสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาอยู่พรรษาหนึ่งแล้ว


๕. วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค้ำเดือน ๓ แต่ถ้าหากปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็เลื่อนไปทำในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ วันนี้ ถือว่าเป็นวัน "จาตุรงคสันนิบาต" คือมีเหตุการณ์ที่เกิดในวันนี้ ๔ อย่างคือ
ก. วันนั้นเป็นวันเพ็ญเดือน ๓
ข. เป็นวันที่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์ มาประชุมกันที่เวฬุวนาราม เมืองราชคฤห์ แคว้นนคธ
ค. พระอรหันต์เหล่านั้นล้วนได้รับ " เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือพระพุทธเจ้าทรงบวชให้เองทั้งสิ้น
ง. พระอรหันต์เหล่านั้นมาประชุมพร้อมกันเองโดยมิได้นัดหมาย

พระพุทธเจ้าจึงทรงถือเหตุนี้ประทาน "โอวาทปาติโมกข์" ซึ่งเท่ากับเป็นการวาง "ธรรมนูญสวฆ์" ขึ้น
คล้าย ๆ กับรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นแม่บทของกฎหมายทั้งหลายฉะนั้น โอวาทปาติโมกข์นี้เปรียบเสมือนหัวใจพระพุทธศาสนา มี ๓ ข้อ คือ
๑. งดเว้นจากาการทำชั่วทั้งปวง
๒. สร้างสมความดีให้บริสุทธิ์
๓. ชำระจิตตนให้บริสุทธิ์

นอกจากนั้น ในวันเพ็ญ เดือน ๓ นี้ ยังมีเหตุการณ์ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงปลงพระชนมายุสังขาร ว่าจะปรินิพพานในอีก ๓ เดือนข้างหน้า

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยละเอียด
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2012, 01:38:34 PM »
"เทศกาลวันสำคัญในทางพระพุทธศาสนา"

เทศกาลสำคัญที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา โดยตรงคือ

การทอดกฐิน มีกำหนดระยะเวลา ๑ เดือน ระหว่างวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ การทอดกฐินนี้คนไทยนิยมทำกันมาก ถือว่าได้อานิสงฆ์แรงเพราะทำในระยะเวลาจำกัด และมักทำเป็นพิธีรีตองมโหฬารทีเดียว บางแห่งมีการแห่แหนประดับตกแต่งองค์กฐินพร้อมทั้งไทยธรรมที่เป็นของบริวาร ซึ่งจัดทำกันอย่างประณีตบรรจงบาทีก็มีฉลององค์กฐินก่อนที่จะแห่ไปวัด การแห่แหนนั้นมีทั้งทางบกทางน้ำ สมัยนี้ยังมีการแห่ผ้ากฐินไปทางอากาศ (เครื่องบิน) อีกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่จะนำผ้ากฐินไปทอด จะสะดวกทางใดก็ไปทางนั้น

 รายละเอียดการทอดกฐิน


นอกจากนั้น ก็มีเทศกาลที่ไม่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาโดยตรง แต่พุทธศาสนิกชนก็ได้บำเพ็ญกุศลกันตามแบบพระพุทธศาสนาเทศกาลเหล่านี้ ได้แก่


๑.วันตรุษ ตรงกับวันสิ้นเดือน ๔ เป็นพิธีแสดงความยินดีที่ได้มีชีวิตผ่านพ้นมาด้วยดีในรอบปีหนึ่ง ๆ เรียกว่าการ "ส่งปีเก่า"

๒. วันสงกรานต์ ตรงกับวันที่ ๑๓-๑๔-๑๕ เมษายน ของทุกปี วันที่ ๑๓ เป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า วันสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา และวันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศกถือว่าเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่

๓. วันสารท ตรงกับวันสิ้นเดือน ๑๐ นับว่าเป็นวันนักขัตฤกษ์ที่คนไทยเรานิยมทำกันมาก เพราะถือว่าเป็นสมัยที่จะได้ทำบุญในเมื่อวันเดือนได้ล่วงมาถึงรอบปี อันแสดงถึงความไม่ประมาทของชีวิตเพราะปลายปีทำพิธีตรุษ ต้นปีทำพิธีสงกรานต์ ดังนั้นกลางปีจึงทำพิธีสารท


ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข
และ http://dhammathai.org/indexthai.php

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยละเอียด
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2012, 02:07:32 PM »


พระมังคละพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระโกณฑัญญะพุทธเจ้าอันตรธานไป เป็นช่วงเวลาที่ไม่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติถึงอสงไขยหนึ่ง เรียกว่า ภาละอสงไขย ล่วงมาถึงสารมัณฑกัปหนึ่งจึงมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ๔ พระองค์ พระพุทธเจ้าองค์แรกในสารมัณฑกัปนี้ทรงพระนามว่า พระมังคละพุทธเจ้า
พระมังคละพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นมังคละราชกุมาร ในวงศ์กษัตริย์แห่งอุตตระนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าอุตตระ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางอุตตรา
มังคละราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๙,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ ยสวาปราสาท รุจิมาปราสาท และสิริมาปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า ยสวดี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๓๐,๐๐๐ นาง
วันหนึ่ง พระมังคละทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
เมื่อพระยสวดีเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า สีลวากุมาร จึงได้เสด็จออกบรรพชาด้วยม้าปัณฑระ มีผู้ออกบรรพชาตามจำนวน ๓ โกฏิ
มังคละราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่ ณ บ้านอุตตรคาม เป็นเวลา ๘ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางอุตตรา ธิดาของอุตตรเศรษฐี และรับหญ้า ๘ กำจากอุตตระอาชีวก ปูลาดใต้ต้นนาคะ (ต้นกากะทิง) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระวิริยาธิกะพุทธเจ้าในคืนนั้น
พระมังคละพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระภิกษุผู้บรรพชาตามจำนวน ๓ โกฏิ ที่ชัฏสิริวัน สิริวัฒนนคร ทำให้พระภิกษุ ๓ โกฏินั้นสำเร็จเป็นพระอริยบุคล

ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระมังคละพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๒ แสดงธรรมบนดาวดึงส์เทวโลกโปรดพุทธมารดา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่เทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๓ แสดงธรรมแก่พระเจ้าสุนันทะ
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๙๐ โกฏิ

พระมังคละพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
มีคู่อัครสาวกเป็นประธาน
ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ณ อุตตราราม
ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๙๐ โกฏิ
มีพระเจ้าสุนันทะซึ่งออกบวชเป็นประธาน

พระมังคละพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
พระอัครสาวก คือ พระสุเทวะเถระ และพระธรรมเสนะเถระ
พระอัครสาวิกา คือ พระสีวลาเถรี และพระอโสกาเถรี
พระอุปัฏฐาก คือ พระปาลิตะ

พระมังคละพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๘๘ ศอก มีพระรัศมีแผ่ไปทั่วหมื่นโลกธาตุ พระรัศมีนี้รุ่งเรืองกว่าพระพุทธเจ้าองค์ใดๆ เมื่อพระชนมายุได้ ๙๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพานที่พระวิหารอุตตราราม

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยละเอียด
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2012, 02:07:56 PM »


พระสุมนะพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระมังคละพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระสุมนะพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นในอันตรกัปถัดมาในสารมัณฑกัปเดียวกัน
พระสุมนะพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นพระสุมนะราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งเมขละนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าสุทัตตะ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางสิริมา
สุมนะราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๙,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ สิริวัฒนะปราสาท โสมวัฒนะปราสาท และอิทธิวัฒนะปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า พระนางวฏังสิกาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๓๖๐,๐๐๐ นาง
วันหนึ่ง พระสุมนะทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
เมื่อพระนางวฏังสิกาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า อนูปมะกุมาร จึงได้เสด็จออกบรรพชาด้วยคชยาน โดยมีผู้ออกบรรพชาตามจำนวน ๓๐ โกฏิ
สุมนะราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่ ณ อโนมนิคม เป็นเวลา ๑๐ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางอนุปมา ธิดาของอโนมเศรษฐี และรับหญ้า ๘ กำจากอนุปมาชีวก ปูลาดใต้ต้นนาคะ (ต้นกากะทิง) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
พระมังคละพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระภิกษุผู้บรรพชาตามจำนวน ๓๐ โกฏิ พร้อมสรณกุมารพระอนุชาต่างมารดา และภาวิตัตตมาณพบุตรปุโรหิต ที่ราชอุทยาน ในเมขละนคร ทำให้พระภิกษุ ๓๐ โกฏินั้น พร้อมพระอนุชาและบุตรปุโรหิต สำเร็จเป็นพระอริยบุคล

ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระสุมนะพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๒ แสดงธรรมย่ำยีพวกเดียรถีร์ ณ สุนันทวดีนคร
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑,๐๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๓ แสดงนิโรธปัญหาแก่พระเจ้าอรินทมะ
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๙๐,๐๐๐ โกฏิ

พระสุมนะพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑,๐๐๐ โกฏิ
ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๙๐,๐๐๐ โกฏิ
ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๘๐,๐๐๐ โกฏิ

พระสุมนะพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
พระอัครสาวก คือ พระสรณะเถระ และพระภาวิตัตตะเถระ
พระอัครสาวิกา คือ พระโสณาเถรี และพระอุปโสณาเถรี
พระอุปัฏฐาก คือ พระอุเทนะเถระ

พระสุมนะพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๙๐ ศอก เมื่อพระชนมายุได้ ๙๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพานที่พระวิหารอังคาราม
__________________

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยละเอียด
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2012, 02:08:19 PM »


พระเรวตะพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระสุมนะพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระเรวตะพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นในอันตรกัปถัดมาซึ่งเป็นสารมัณฑกัปเดียวกัน
พระเรวตะพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นพระเรวตะราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งสุธัญญวดีนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าวิปุลราช และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางวิปุลาเทวี
เรวตะราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๖,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ สุทัสสนะปราสาท รตนัคฆิปราสาท และอาเวฬะปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า สุทัสสนาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๓๓,๐๐๐ นาง
วันหนึ่ง พระเรวตะทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
เมื่อพระนางสุทัสสนาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า วรุณกุมาร จึงได้เสด็จออกบวชด้วยราชรถเทียมม้า โดยมีบุรุษ ๑ โกฏิออกบวชตาม
เรวตะราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่ ณ อโนมนิคม เป็นเวลา ๗ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางสาธุเทวี และรับหญ้า ๘ กำจากอาชีวกผู้หนึ่ง ปูลาดใต้ต้นนาคะ (ต้นกากะทิง) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
พระเรวตะพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระภิกษุผู้บรรพชาตามจำนวน ๑ โกฏิ ที่วิหารวรุณาราม ทำให้พระภิกษุ ๑ โกฏินั้น สำเร็จเป็นพระอริยบุคล

ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระเรวตะพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดาจำนวนเกินที่นับได้
วาระที่ ๒ แสดงธรรมแก่พระเจ้าอรินทมะ
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑,๐๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๓ แสดงอานิสงส์แห่งนิโรธสมาบัติ
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐ โกฏิ

พระเรวตะพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวกจำนวนเกินที่จะนับได้
ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ที่เข้าไปทูลถามอาพาธของพระวรุณเถระอัครสาวก

พระเรวตะพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
พระอัครสาวก คือ พระวรุณเถระ และพระพรหมเทวะเถระ
พระอัครสาวิกา คือ พระภัททาเถรี และพระสุภัททาเถรี
พระอุปัฏฐาก คือ พระสัมภวะเถระ

พระเรวตะพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก มีพระรัศมีแผ่ไปโยชน์หนึ่งโดยรอบ เมื่อพระชนมายุได้ ๖๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพานที่พระราชอุทยานมหานาควัน

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยละเอียด
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2012, 02:08:43 PM »


พระโสภิตะพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระเรวตะพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระโสภิตะพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นเป็นพระพุทธเจ้าองค์สุดท้ายในสารมัณฑกัปเดียวกัน
พระโสภิตะพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นพระโสภิตะราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งสุธัมมนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าสุธัมมราช และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางสุธัมมาเทวี
โสภิตะราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๑๐,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ สุทัสสนะปราสาท รตนัคฆิปราสาท และอาเวฬะปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า มขิลาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๗๐,๐๐๐ นาง
วันหนึ่ง พระโสภิตะทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
เมื่อพระนางมขิลาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า สีหกุมาร จึงได้ทรงเสด็จออกบรรพชาอยู่ในปราสาทนั้น โดยทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางมขิลาเทวี
เมื่อบำเพ็ญเพียรได้ ๗ วันก็อธิษฐานให้ปราสาทลอยไปจากพระราชนิเวศน์ และเสด็จประทับใต้ต้นนาคะ (ต้นกากะทิง) บำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้เป็นพระปัญญาธิกะพุทธเจ้า
พระโสภิตะพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระอนุชาต่างมารดา ๒ พระองค์ คือ อสมกุมาร และสุเนตตกุมาร ที่สุมธัมมราชอุทยาน ทำให้พระอนุชาทั้งสองสำเร็จเป็นพระอริยบุคล

ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระโสภิตะพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดาไม่อาจนับจำนวนได้
วาระที่ ๒ แสดงธรรมบนดาวดึงส์เทวโลกโปรดพุทธมารดา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่เทวดา ๙๐,๐๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๓ แสดงธรรมแก่ชัยเสนะ ราชบุตรแห่งกรุงสุทัสสนะ
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ

พระโสภิตะพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐ โกฏิ ณ สุนันทะวิหาร
ในโอกาสที่พระเจ้าอุคคตะแห่งกรุงสุนันทะน้อมถวายสุนันทะวิหาร
ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๙๐ โกฏิ ณ เมขลนคร
ในโอกาสที่ชาวนครถวายวิหารทาน
ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๘๐ โกฏิ ที่มาประชุมกัน
เพื่อรอรับเสด็จพระโสภิตะพุทธเจ้าเสด็จกลับดาวดึงส์

พระโสภิตะพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
พระอัครสาวก คือ พระอสมะเถระ และพระสุเนตตะเถระ
พระอัครสาวิกา คือ พระนกุลาเถรี และพระสุชาดาเถรี
พระอุปัฏฐาก คือ พระอโนมะ

พระโสภิตะพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก มีพระฉัพพรรณรังสีแผ่ไปทุกทิศดังอาทิตย์อุทัย เมื่อพระชนมายุได้ ๙๐,๐๐๐ ปี จึงดับขันธปรินิพพานที่พระราชอุทยานมหานาควัน

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยละเอียด
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2012, 02:08:52 PM »
พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระโสภิตะพุทธเจ้าอันตรธานไป เป็นช่วงเวลาที่ว่างเว้นจากพระพุทธเจ้าถึงอสงไขยหนึ่ง เรียกว่า ชัยยะอสงไขย ล่วงมาถึงวรกัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ๓ พระองค์ พระพุทธเจ้าองค์แรกทรงพระนามว่า พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า
พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นพระอโนมทัสสีราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งจันทวดีนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้ายสวา และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางยโสธรา
อโนมทัสสีราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๑๐,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ สิริปราสาท อุปสิริปราสาท และสิริวัฑฒะปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า สิริมาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๒๓,๐๐๐ นาง
วันหนึ่ง พระอโนมทัสสีทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
เมื่อพระนางสิริมาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า อุปวาณะกุมาร จึงได้เสด็จออกบรรพชาด้วยพระวอทอง มีผู้ออกบรรพชาตามจำนวน ๓ โกฏิ
อโนมทัสสีราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่ ณ หมู่บ้านอนูปมพราหมณ์ เป็นเวลา ๑๐ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากธิดาอนูปมเศรษฐี และรับหญ้า ๘ กำจากอนูปมาชีวก ปูลาดใต้ต้นอัชชุนะ (ต้นกุ่ม) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
พระอโนมทัสสีพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระภิกษุผู้บรรพชาตามจำนวน ๓ โกฏิ ที่สุธัมมราชอุทยาน ทำให้พระภิกษุ ๓ โกฏินั้น สำเร็จเป็นพระอริยบุคล

ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๒ แสดงธรรมบนดาวดึงส์เทวโลกโปรดพุทธมารดา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่เทวดา ๘๐ โกฏิ
วาระที่ ๓ แสดงมงคลปัญหา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๗๘ โกฏิ

พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๘๐๐,๐๐๐ โกฏิ
โดยมีพระเจ้าอิสิทัตตะ ซึ่งออกบวชเป็นประธาน
ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๗๐๐,๐๐๐ โกฏิ
โดยมีพระเจ้าสุนทรินธระ กรุงราธวดี ซึ่งออกบวชเป็นประธาน
ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๖๐๐,๐๐๐ โกฏิ
โดยมีพระเจ้าโสเรยยะ กรุงโสเรยยะ ซึ่งออกบวชแล้วเป็นประธาน

พระอโนมทัสสีพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
พระอัครสาวก คือ พระนิสภะเถระ และพระอโนมะเถระ
พระอัครสาวิกา คือ พระสุมนาเถรี และพระสุนทรีเถรี
พระอุปัฏฐาก คือ พระวรุณะ

พระอโนมทัสสีพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก มีพระรัศมีแผ่ออกไปเหมือนดวงอาทิตย์ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยละเอียด
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2012, 02:09:04 PM »
พระปทุมะพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระปทุมะพุทธเจ้า ซึ่งอยู่ในอันตรกัปถัดมาในวรกัปเดียวกัน
พระปทุมะพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นพระมหาปทุมราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งจัมปกะนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าอสมราช และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางอสมา
มหาปทุมราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ในปราสาท ๓ หลัง คือ นันทุตตระปราสาท วสุตตระปราสาท และยสุตตระปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า อุตตราเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๓๓,๐๐๐ นาง
วันหนึ่ง พระมหาปทุมทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
เมื่อพระนางอุตตราเทวีทรงประสูติพระโอรส พระนามว่า รัมมราชกุมาร จึงได้เสด็จออกบรรพชาด้วยราชรถเทียมม้า มีผู้ออกบรรพชาตามจำนวน ๑ โกฏิ
มหาปทุมราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่เป็นเวลา ๘ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางธัญญวดี ธิดาของสุธัญญเศรษฐี กรุงธัญญวดี และรับหญ้า ๘ กำจากติตถกะอาชีวก ปูลาดใต้ต้นมหาโสณะ (ต้นอ้อยช้างใหญ่) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
พระปทุมะพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระภิกษุผู้บรรพชาตามจำนวน ๑ โกฏิ ที่ธนัญชัยราชอุทยาน ใกล้กรุงธัญญวดี ทำให้พระภิกษุ ๑ โกฏินั้น สำเร็จเป็นพระอริยบุคล

ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระปทุมะพุทธเจ้า บังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๒ แสดงธรรมแก่พระประยูรญาติ
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๙๐ โกฏิ
วาระที่ ๓ แสดงธรรมแก่พระโอรส
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๘๐ โกฏิ

พระปทุมะพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
โดยมีพระเจ้าสุภาวิตัตตะ ซึ่งนำข้าราชบริพารออกบวชเป็นประธาน
ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๓๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ณ กรุงอุสภวดี ในพิธีกรานกฐิน
ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๒๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ซึ่งตามเสด็จมาประชุมในป่าใหญ่

พระปทุมะพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
พระอัครสาวก คือ พระสาละเถระ และพระอุปสาละเถระ
พระอัครสาวิกา คือ พระราธาเถรี และพระสุราธาเถรี
พระอุปัฏฐาก คือ พระวรุณะ

พระปทุมะพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก มีพระรํสมีแผ่ออกไปทุกทิศ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยละเอียด
« ตอบกลับ #39 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2012, 02:09:20 PM »
พระนารทะพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระปทุมะพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระนารทะพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าองค์สุดท้ายในวรกัปเดียวกัน
พระนารทะพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นนารทะราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งธัญญวดีนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าสุเทวะ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางอโนมา
นารทะราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๙,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ วิชิตะปราสาท วิชิตาวีปราสาท และวิชิตาภิรามะปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า วิชิตเสนาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๑๒๐,๐๐๐ นาง
วันหนึ่ง พระนารทะทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
เมื่อพระนางวิชิตเสนาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า นันทุตตรกุมาร จึงได้เสด็จด้วยพระบาทออกบรรพชาในธนัญชัยราชอุทยานนอกพระนคร โดยมีผู้ออกบรรพชาตามจำนวน ๑ แสนคน
นารทะราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่ในพระราชอุทยานเป็นเวลา ๗ วัน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากพระนางวิชิตเสนาเทวีอัครมเหสี และรับหญ้า ๘ กำจากพนักงานเฝ้าอุทยาน ปูลาดใต้ต้นมหาโสณะ (ต้นอ้อยช้างใหญ่) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระปัญญาธิกะพุทธเจ้าในคืนนั้น
พระนารทะพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พระภิกษุ ผู้บรรพชาตามจำนวน ๑ แสนในราชอุทยานนั้นเอง

พระนารทะพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมาภิสมัยให้บังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๒ แสดงธรรมแก่พระยานาคโทณะ
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๙๐,๐๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๓ แสดงธรรมแก่พระโอรส
ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๘๐,๐๐๐ โกฏิ

พระนารทะพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๙๐,๐๐๐ โกฏิ
ที่มาประชุมกันในสมาคมพระญาติ
ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๘,๐๐๐,๐๐๐
ที่มาประชุมกันในคราวเสด็จโรงทานของพระยานาคชื่อ เวโรจนะ

พระนารทะพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
พระอัครสาวก คือ พระภัททสาละเถระ และพระชิตมิตตะเถระ
พระอัครสาวิกา คือ พระอุตตราเถรี และพระผัคคุนีเถรี
พระอุปัฏฐาก คือ พระวาเสฏฐะ

พระนารทะพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๘๘ ศอก มีพระรัศมีวาหนึ่ง เมื่อพระชนมายุได้ ๙๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน พระศาสนาดำรงมาได้อีก ๙๐,๐๐๐ ปีก็อันตรธาน

ออฟไลน์ Wisdom

  • สมาชิก
  • ***
  • กระทู้: 242
  • ใครจะใหญ่เกินกรรม
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยละเอียด
« ตอบกลับ #40 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2012, 02:09:58 PM »


เกร็ดความรู้เพื่อศึกษาในบทต่อๆไป
ลองมาดูกันถึงเรื่องของเวลาความยาวนาน
เพื่อพิจารณาเห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ท่าน
ได้เสียสละตรากตรำสร้างบารมีมานานแสนนานแค่ไหนเพื่อมาโปรดสัตว์


ต่อไปจะเทียบระยะเวลา 1 กัป 1 อสงไขย และ 1 ปทุมะนรก

ให้พิจารณากันดู เพื่อปลงสังเวชกับอัตตา(อวิชชา)ของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นค่าโดยประมาณ อาจจะมีความคลาดเคลื่อนมากกว่านี้ก็ได้ใครมีความรู้ในทางคณิตศาสตร์ ก็สามารถช่วยแสดงความคิดเห็น เพื่อจะได้ค่าที่ถูกต้องมากขึ้น
เรื่องของกัปจากพระไตรปิฏกประมาณคำว่า 1 กัปได้ดังนี้
สมมุติมีกล่องใบหนึ่ง กว้าง 100 โยชน์ ยาว 100โยชน์ และ สูง 100 โยชน์ ในเวลา 100 ปี ให้เอาเมล็ดผักกาด 1 เมล็ด ใส่ลงไปในกล่องนั้น ทำอย่างนี้จนเมล็ดผักกาดนั้นเต็มเสมอเรียบปากกล่องนั้นละจึงเท่ากับ 1 กัป
(บางตำรากล่าวว่า กว้าง 1 โยชน์ยาว 1 โยชน์สูง 1 โยชน์)
วิเคราะห์คำนวณ 1 โยชน์ = 16 กิโลเมตร
ดังนั้นกล่องใบนี้มีปริมาตร = 1600X1600X1600 = 4,096,000,000 ลูกบาตกิโลเมตร
ประมานว่า เมล็ดผักกาด มีขนาด .5 มิลลิเมตร
1 กิโลเมตรเทียบเป็นมิลลิเมตรได้ดังนี้ 10X100X1000 = 1,000,000 มิลลิเมตร
จะได้ 1 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน = (1,000,000)/0.5 = 2,000,000 เมล็ด
ดังนั้น 1600 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน = 1600X2,000,000 = 3,200,000,000 เมล็ด
ถ้าเป็นปริมาตร คือ กว้าง*ยาว*สูง ต้องใช้เมล็ดผักกาดทั้งหมด คือ
3,200,000,000X3,200,000,000X3,200,000,000 = 32,768,000,000,000,000,000,000,000,000 เมล็ด
ใน 100 ปี ใส่เมล็ดผักเพียง 1 เมล็ด ดังนั้นต้องใช้เวลาทั้งหมดคือ
32,768,000,000,000,000,000,000,000,000X100 = 3,276,800,000,000,000,000,000,000,000,000 ปี
จึงได้เวลา 1 กัป ประมาณ สามล้านสองแสนเจ็ดหมื่นหกพันแปดร้อยล้านล้านล้านล้านปี
ประมาณ 3.3 X 10**30 ปี
เครื่องหมาย ** เป็นเครื่องหมาย ยกกำลัง
(หมายเหตุบางตำรากล่าวว่ากว้าง 1 โยชน์ ยาว 1 โยชน์สูง 1 โยชน์ จึงได้ 1 กัป ประมาณ 3.3
X 10**24 ปี โดยเอา 0 ออกไป 6 ตัว จากค่าที่คำนวณได้ในครั้งแรก)


เรื่องของอสงไขยจากหนังสือสัมภาระโพธิญาณ (จำไม่ค่อยได้) เป็นหนังสือเก่ามากแล้วค่าที่ได้ก็ตรงกับผู้ที่คำนวณไว้ก่อน สามารถนับ 1 อสงไขย และเทียบ

กับหน่วยนับปัจจุบันได้ดังนี้
สิบ สิบหนเป็น ร้อย 10**2
สิบร้อยเป็น พัน 10**3
สิบพันเป็น หมื่น 10**4
สิบหมื่นเป็น แสน 10**5
ร้อยแสนเป็น โกฏิ 10**7
ร้อยแสนโกฏิเป็น ปโกฏิ 10**7 X 10**7 = 10**14
ร้อยแสนปโกฏิเป็น โกฏิปโกฏิ 10**7 X 10**14 = 10**21
ร้อยแสนโกฏิปโกฏิเป็น นนุตหนึ่ง 10**7 X 10**21 = 10**28
ร้อยแสนนนุตเป็น นินนนุตหนึ่ง 10**7 X 10**28 = 10**35
ร้อยแสนนินนุตเป็น อักโขภินีหนึ่ง 10**7 X 10**35 = 10**42
ร้อยแสนอักโขภินีเป็น พินทะหนึ่ง 10**7 X 10**42 = 10**49
ร้อยแสนพินทะ เป็น อัพภูทะหนึ่ง 10**7 X 10**49 = 10**56
ร้อยแสนอัพภูทะ เป็น นิรพุทะหนึ่ง 10**7 X 10**56 = 10**63
ร้อยแสนนิรพุทะ เป็น อหนะหนึ่ง 10**7 X 10**63 = 10**70
ร้อยแสนอหนะ เป็น อพพะหนึ่ง 10**7 X 10**70 = 10**77
ร้อยแสนอพพะ เป็น อฏฏะหนึ่ง 10**7 X 10**77 = 10**84
ร้อยแสนอฏฏะ เป็น โสคันธิกะหนึ่ง 10**7 X 10**84 = 10**91
ร้อยแสนโสคันธิกะ เป็น อุปละหนึ่ง 10**7 X 10**91 = 10**98
ร้อยแสนอุปละ เป็น กมุมะหนึ่ง 10**7 X 10**98= 10**105
ร้อยแสนกมุมะ เป็น ปทุมะหนึ่ง 10**7 X 10**105= 10**112
ร้อยแสนปทุมะเป็น ปุณฑริกะหนึ่ง 10**7 X 10**112= 10**119
ร้อยแสนปุณฑริกะ เป็น อกถานหนึ่ง 10**7 X 10**119= 10**126
ร้อยแสนอกถาน เป็น มหากถานหนึ่ง 10**7 X 10**126= 10**133
ร้อยแสนมหากถาน เป็น อสงไขยหนึ่ง10**7 X 10**133= 10**140
ดังนั้น 1 อสงไขย = สิบยกกำลัง หนึ่งร้อยสีสิบ หรือ 1 ตามด้วย 0 จำนวน 140 มหากัป

ข้อสังเกตจำนวนปีของมนุษย์โลกเทียบกับ 1 กัปนั้นยังมีความคลาดเคลื่อนอีกมากมายจึงไห้ถือกำหนดเอา โลกจักรวาลเมื่อก่อกำเนิดขึ้นจนกระทั้งพังทลายศูนย์หายไป 1 ครั้ง เป็น 1 กัปแต่จำนวน 1 อสงไขยมีกี่กัปนั้นเป็นจำนวนที่แน่นอนคือ 1 ตามด้วยเลข 0 จำนวน 140 ตัว หรือ 1 X 10**140


อายุขัยของเทวดาเทียบกับปีของมนุษย์โลก
หนึ่ง 1 ปีทิพย์ของสวรรค์แต่ละชั้นเท่ากับ 360 วันทิพย์ของสวรรค์แต่ละชั้น
ชั้นจาตุมีอายุ 500 ปีทิพย์ 1 วันทิพย์ เท่ากับ 50 ปีโลกมนุษย์ดังนั้นเท่ากับ 500X360X50 = 9,000,000 ปี
ชั้นดาวดึงส์ " " 1000 " " 1 " " 100 " " เท่ากับ 36,000,000 ปี
ชั้นยามา " " 2000 " " 1 " " 200 " " เท่ากับ 144,000,000 ปี
ชั้นดุสิต " " 4000 " " 1 " " 400 " " เท่ากับ 576,000,000 ปี
ชั้นนิมมา " " 8000 " " 1 " " 800 " " เท่ากับ 2,304,000,000 ปี
ชั้นปรมิน " " 16000 " " 1 " " 1600 " " เท่ากับ 9,216,000,000 ปี


อายุของพระพรหม รูปฌาน 1 ถึง รูปฌาน 4
รูปฌาน 1 มีอยู่ 3 ชั้น
สมาธิอย่างอ่อนปาริสัชนาพรหมมีอายุ 1/3 กัป
สมาธิอย่างกลางปุโรหิตพรหมมีอายุ 1/2 กัป
สมาธิอย่างสูงมหาพรหมมีอายุ 1 กัป
รูปฌาน 2 มีอยู่ 3 ชั้น
สมาธิอย่างอ่อนปริตตาภาพรหมมีอายุ 2 กัป
สมาธิอย่างกลางอัปปมาณภาพรหมมีอายุ 4 กัป
สมาธิอย่างสูงอาภัสสราพรหมมีอายุ 8 กัป
รูปฌาน 3 มีอยู่ 3 ชั้น
สมาธิอย่างอ่อนปริตตสุภาพรหมมีอายุ 16 กัป
สมาธิยย่างกลางอัปปมาณสุภาพรหมมีอายุ 32 กัป
สมาธิอย่างสูงสุภกิณหาพรหมมีอายุ 64 กัป
รูปฌาน 4 มีอยู่ 2 ชั้น
เวหัปผลพรหมมีอายุ 500 กัป
อสัญญสัตราพรหมมีอายุ 500 กัป

สุทธาวาสพรหมมี 5 ชั้น เป็นภพของพระอนาคามี
1. อวิหามีอายุ 1,000 กัป
2. อตัปปามีอายุ 2,000 กัป
3. สุทัสสามีอายุ 4,000 กัป
4. สุทัสสีมีอายุ 8,000 กัป
5. อกนิฏฐามีอายุ 16,000 กัป
อรูปพรหมมี 4 ชั้น
1.อากาสานัญจายตนพรหมมีอายุ 20,000 กัป
2.วิญญาณัญจายตนพรหมมีอายุ 40,000 กัป
3.อากิญจัญญายตนพรหมมีอายุ 60,000 กัป
4.เนวสัญญานาสัญญายตนาพรหมมีอายุ 84,000 กัป

พิจารณาดูจะเห็นว่า เมื่อมีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น 1 พระองค์ ขณะที่พระองค์มีพระชนชีพอยู่แสงสว่างของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กระจายไปทั่วสากลจักวาลอย่างรวดเร็วเหมือนกับสายฟ้าแลบ และแสงสว่างแห่งธรรมนั้นยังคงสว่างสไหวอยู่
เมื่อพระองค์ดับขันท์ปรินิพพานแม้อายุขัยของภพมนุษย์นั้นจะเพียงน้อยนิดแต่แสงสว่างในธรรมนั้นก็ค่อยทยอยดับอย่างช้าๆ เริ่มต้นจากโลกมนุษย์นี้ก่อนแล้วทยอยดับไปยัง สวรรค์ชั้นจาตุชั้นดาวดึงส์ชั้นยามาชั้นดุสิตชั้นนิมมาชั้นปรมิน
แล้วทยอยดับไปที่รูปพรหมของฌานทั้ง 4 ซึ่งทยอยดับไปที่ละชั้น จนถึงสุทธาวาสพรหมทั้ง 5 ชั้นทยอยดับที่ละชั้นจนถึงอรูปพรหม ที่พระอริยะบางท่านจุติอยู่ ถ้ายังไม่มีพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่บังเกิดขึ้นในโลกแสงสว่างของธรรมจากพระพุทธองค์นั้นเมื่อบังเกิดขึ้น แล้วทยอยดับจนหมดสิ้นใช้เวลาเป็นแสนกัปรอจนพระพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นมาใหม่ในโลก แสงสว่างแห่งธรรมนี้ไม่มีมนุษย์หรือเทพหรือพระพรหมองค์ใดจะกระทำได้ มีแต่เพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้นจึงทำให้บังเกิดขึ้นได้


เปรียบเทียบอายุในอเวจีนรก 1 ปทุมนรก กับมนุษย์โลกได้ ดังมีในพระไตรปิฏกดังนี้
เมล็ดงา 1 เกวียน มีอัตรา 20 ขารี 1 ขารีเท่ากับ 256 ทะนาน เมื่อล่วงไป 1 แสนปีเอาเมล็ดงาออกจากเกวียน 1 เมล็ดทำจนหมดจากเกวียน ก็ยังไม่ถึง 1 อัพพุทะในนรกเลยการเปรียบเทียบ 1 อัพพุทะ ตามมาตรตราปัจจุบันอย่างคล่าวๆ
1 ทะนาน เท่ากับ 1 ลิตร
1 ลิตร เท่ากับ 1000 ลูกบาศเชนติเมตร
เมล็ดงา 1 เมล็ด ประมาณ 1 มิลิเมตร ดังนั้น 1 เชนติเมตร เอาเมล็ดงาเรียงกันได้ 10 เมล็ด
จะได้ 1 ลูกบาศเชนติเมตร จะมีจำนวน เมล็ดงา ประมาณ 10 X10 X 10 = 1000 เมล็ด
จะได้ 1 ลิตรมีเมล็ดงาประมาณ 1000X1000 ประมาณ 1,000,000 เมล็ด
จะได้ 1 ทะนานจะมีเมล็ดงาประมาณ 1,000,000 เมล็ด
จะได้ 1 ขารีจะมีเมล็ดงาประมาน 256 X 1,000,000 ประมาณ 256,000,000 เมล็ด
จะได้ 1 เกวียนจะมีเมล็ดงาประมาณ 20 X 256,000,000 ประมาณ 5,120,000,000 เมล็ด
จะได้เวลาทั้งหมดเมื่อหยิบเมล็ดงาออกหมดเกวียน ประมาณ 100,000 X 5120,000,000 ปี
ประมาณ 512,000,000,000,000 ปี
ซึ่งยังไม่ถึง 1 อัพพุทะแต่ก็ประมาณ 512,000,000,000,000 ปีหรือ 5.12 X 10**14 จึงเอาไปแทนค่าตามข้างล่าง
20 อัพพุทะ เป็น 1 นิรัพพุทะ 20**1 X 5.12 X 10**14
20 นิรัพพุทะเป็น 1 อพัพพะ 20**2 X 5.12 X 10**14
20 อพัพพะเป็น 1 อหหะ 20**3 X 5.12 X 10**14
20 อหหะเป็น 1 อฏฏะ 20**4 X 5.12 X 10**14
20 อฏฏะเป็น 1 กุมุทะ 20**5 X 5.12 X 10**14
20 กุมุทะเป็น 1 โสคันธิกะ 20**6 X 5.12 X 10**14
20 โสคันธิกะเป็น 1 อุปปละ 20**7 X 5.12 X 10**14
20 อุปปละเป็น 1 ปุณฑริกะ 20**8 X 5.12 X 10**14
20 ปุณฑริกะเป็น 1 ปทุมะ 20**9 X 5.12 X 10**14
และ 20**9 = 512,000,000,000 = 5.12 X 10**11

ดังนั้น 1 ปทุมะนรก ประมาณ 5.12 X 10**11 X 5.12 X 10**14 ประมาณ 26.2144 X 10**25
ประมาณ 2.62 X 10**26 หรือ 1 ปทุมะนรก ประมาณ 262,144,000,000,000,000,000,000,000 ปีมนุษย์โลก
เมื่อเปรียบเทียบปีมนุษย์ กับ 1 ปทุมะนรก และปีของมนุษย์กับ 1 กัป ดังที่คำนวณมาแล้วจะเห็นว่า มีเวลายาวนานมาก ดังนั้นในตำราของพระพุทธศาสนาจึงกล่าวว่า ผู้ที่ตกนรกอเวจีต้องทรมานอยู่ตลอดกัป หรือชั่วกัปชั่วกัลป์ เหมือนดังพระเทวทัต ที่ตกอเวจีนรกและจะหมดกรรมจากอเวจีนรกก็เกือบจะสิ้นสุดของกัปนี้

ทังหมดนี้คงจะทำให้ท่านปลงสังเวช กับความโง่ หรือ อวิชชา ที่หาเบื้องต้นไม่ได้ถ้ายังไม่ชำละอวิชชาออกไปด้วยปัญญา นิพพาน ก็ไม่รู้ว่าจะหาที่สุดได้เมื่อใด?